Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 121

Full-Text Articles in Arts and Humanities

Impacts Of Communication Technology And Social Media On Intergenerational Relationships In Bangkok, Marie-Helene Thomas Jan 2018

Impacts Of Communication Technology And Social Media On Intergenerational Relationships In Bangkok, Marie-Helene Thomas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to explore how communication technology and social media affects the intergenerational relationships between older persons and their adult children in Bangkok. Using Bengston and Schrader's (Bengtson and McChesney 1998) measurement framework for intergenerational relationships, this study examines how communication technology, namely the smart phone and its accompanying applications, Line and Facebook, has impacted the relationship between thirty older persons and their adult children. Purposive sampling was used to select participants from three elderly associations located in different neighbourhoods around Bangkok, data was collected using semi-structured interviews and data was analysed via thematic analysis. The …


การแสดงเดี่ยวกีตาร์โดย เกียรติก้อง สุภายน, เกียรติก้อง สุภายน Jan 2018

การแสดงเดี่ยวกีตาร์โดย เกียรติก้อง สุภายน, เกียรติก้อง สุภายน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวกีตาร์ครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทประพันธ์ของ โทรุ ทาเคมิทสึ ซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง โดยจะรวบรวมผลงานหลักทั้งหมดที่ทาเคมิทสึประพันธ์สำหรับการเดี่ยวกีตาร์มาศึกษาวิเคราะห์ทั้งในเรื่องของเทคนิคการบรรเลง รูปแบบการประพันธ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและแนวคิดที่มีต่อดนตรีคลาสสิกของเขา รวมถึงเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการบรรเลงกีตาร์ของผู้แสดงและเพื่อเผยแพร่ผลงานการแสดงเดี่ยวกีตาร์ต่อผู้ที่ความสนใจในงานประพันธ์ของทาเคมิทสึ


การถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายเรื่อง Days Without End ของ เซบาสเตียน แบร์รี่, ณัฐกรณ์ อังสิริเสณี Jan 2018

การถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายเรื่อง Days Without End ของ เซบาสเตียน แบร์รี่, ณัฐกรณ์ อังสิริเสณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของวัจนลีลา วิเคราะห์ปัญหา การแปล รวมถึงแก้ปัญหาโดยการหาแนวทางการแปล เพื่อถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง Days Without End ของเซบาสเตียน แบร์รี อันไม่เป็นไปตามขนบการประพันธ์นวนิยายบางส่วน ให้ได้บทแปลที่ทำหน้าที่ทั้งสื่อความหมาย และให้อรรถรสแก่ผู้อ่านได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับ การถ่ายทอดวัจนลีลาเริ่มจากการศึกษาแนวคิดและระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวัจนลีลาประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ทฤษฎีวัจนลีลา ของ พอล ซิมป์สัน (Paul Simpson) ทฤษฎีวัจนลีลาเชิงวจนปฏิบัติศาสตร์ ของ เอลิซาเบธ แบล็ค (Elizabeth Black) และแนวทางการแปลวัจนลีลา ของ ฌ็อง โบส-ไบเออร์ (Jean Boase-Beier) รวมถึงลักษณะการประกอบสร้างทางภาษาเพื่อสร้างความ โดดเด่นให้กับวัจนลีลา และผลงานด้านการแปลวัจนลีลาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอันปรากฎในวรรณกรรมเรื่องอื่น หลังจากที่ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิด ระเบียบวิธี และทฤษฎีข้างต้นแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และการแปลเพื่อถ่ายทอดวัจนลีลา พบว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาการถ่ายทอดวัจนลีลาจากภาษาของต้นฉบับให้เป็นภาษาปลายทางได้เป็นผลสาเร็จ อย่างไรก็ตาม ยังต้องอาศัยองค์ประกอบด้านความรู้ทางประวัติศาสตร์และบริบททางสังคมที่เป็นฉากหลังของ นวนิยายอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อหาและสารของผู้ประพันธ์อันสะท้อนผ่านวัจนลีลาเหล่านั้นให้ได้ดียิ่งขึ้น


การแปลมุกตลกในการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของชาลส์ เอ็ม ชูลซ์, ชณิชชา พนาวัฒนวงศ์ Jan 2018

การแปลมุกตลกในการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของชาลส์ เอ็ม ชูลซ์, ชณิชชา พนาวัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาการแปลมุกตลกในตัวบทที่คัดสรรจากการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของ ชาลส์ เอ็ม ชูลซ์ สมมติฐานในการวิจัยคือ การแปลมุกตลกในตัวบทที่คัดสรรอาจใช้แนวทางของเคลาส์ ไคน์เดิล (Klaus Kaindl) เพื่อวิเคราะห์ตัวบทตามลักษณะสำคัญและโครงสร้างของการ์ตูนช่อง แนวคิด Visual Narrative Grammar ของ นีล โคห์น (Neil Cohn) เพื่อวิเคราะห์ลำดับการเล่าเรื่อง รายงานการวิจัยการนำเสนอความตลกที่รวบรวมโดย นารีรัตน์ บุญช่วย และทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีข่มท่าน (Disparage Theory) ของ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ทฤษฎีผิดฝาผิดตัว (Incongruity Theory) ของ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) และทฤษฎีปลดปล่อย (Release Theory) ของ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ (Sigmund Freud) เพื่อศึกษาลักษณะและกลวิธีการสร้างมุกตลกและวิเคราะห์มุกตลก รวมทั้งกลวิธีการแปล แบบตีความ (Interpretive Approach) และแนวทางการจัดการทางภาษา (Language Manipulation) ของฌอง เดอลิล (Jean Delisle) เพื่อแปลตัวบทให้เกิดสมมูลภาพเทียบเท่ากับตัวบทต้นฉบับทั้งในด้าน โครงสร้างและความหมาย ผลการศึกษาคือ แนวทางของเคลาส์ ไคน์เดิล และ Visual Narrative Grammar ของ นีล โคห์น สามารถใช้วิเคราะห์ตัวบทโดยรวมและลำดับการเล่าเรื่องของตัวบทที่คัดสรรได้ตามลำดับ และการ วิเคราะห์มุกตลกในตัวบทที่คัดสรรนั้นสามารถใช้การนำเสนอความตลกที่รวบรวมโดย นารีรัตน์ บุญช่วย และ ทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีข่มท่าน ของ โทมัส ฮอบส์ ทฤษฎีผิดฝาผิดตัว ของ อิมมานูเอล คานต์ และทฤษฎีปลดปล่อย ของ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ ได้ …


มโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในนิตยสารสตรีสาร พ.ศ. 2491-2539, ปวีณา กุดแถลง Jan 2018

มโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในนิตยสารสตรีสาร พ.ศ. 2491-2539, ปวีณา กุดแถลง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการให้ความหมาย การประกอบสร้างและการนำเสนอมโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในทศวรรษ 2490 – 2530 ผ่านปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว ที่ปรากฏในนิตยสาร สตรีสาร สองคอลัมน์หลัก ได้แก่ "ทรรศนะหญิง" และ "ทรรศนะชาย" จำนวน 576 ฉบับ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังมุ่งศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงและผู้ชายที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งมาถึงคอลัมน์ยอดนิยม "ตอบปัญหา" อีกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 475 ฉบับ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายซึ่งมิได้มุ่งเน้นเพียงการนำเสนอปิตาธิปไตยและการมองผู้หญิงในฐานะผู้ถูกกดขี่ แต่มุ่งพิจารณาการนำผู้ชายและผู้หญิงกลับไปยังหน่วย (unit) ที่เป็นพื้นฐานที่สุดในความสัมพันธ์ของมนุษย์นั่นก็คือครอบครัว โดยผ่านประเด็นหลักสามประเด็นคือ ลำดับชั้นทางเพศสภาพ, การปฏิบัติตัวตามบทบาทเพศสภาพ และผลกระทบของการปฏิบัติต่อปฏิสัมพันธ์ของหญิงและชายในครอบครัวและชีวิตของแต่ละบุคคล โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในมิติต่างๆ ได้แก่ การเป็นคู่รัก, การต่อรองบทบาทปิตาธิปไตยภายในครอบครัว, การมีเมียน้อย และการอกหักและการหย่าร้าง คำถามการวิจัยของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ ผู้หญิงและผู้ชายประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นหญิงและความเป็นชายของตนอย่างไรภายในครอบครัว, พัฒนาการในสังคมไทยระหว่าง พ.ศ. 2491 – 2539 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการสร้างมโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายภายในครอบครัวอย่างไร, บทบาทและหน้าที่ของหญิงและชาย รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศสภาพของสมาชิกในครอบครัวมีส่วนกำหนดการแสดงออกความเป็นหญิงและความเป็นชายใน พ.ศ. 2491 – 2539 อย่างไรบ้าง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า ครอบครัวคือสถานที่สำคัญในการประกอบสร้างและนำเสนอความเป็นหญิงและความเป็นชาย เนื่องจากทศวรรษ 2490 – 2530 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อความคิด ความหวัง อารมณ์และความรู้สึกของชายหญิงที่มีต่อกันและกัน และนำไปสู่ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งมีส่วนช่วยในการกำหนดและประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นหญิงและความเป็นชายโดยผ่านการปฏิบัติหน้าที่ในครอบครัว


Integration Of A Blended Learning And Extensive Reading Instructional Model For Enhancement Of English Reading Comprehension And Learner Autonomy Of Efl Undergraduate Students, Naruethai Chanthap Jan 2018

Integration Of A Blended Learning And Extensive Reading Instructional Model For Enhancement Of English Reading Comprehension And Learner Autonomy Of Efl Undergraduate Students, Naruethai Chanthap

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To be able to read well as well as to manage one's own reading is important because it leads to the development of learner autonomy, which is necessary for learners in the 21st century. The present study investigated the effects of integration of a blended learning and extensive reading instructional model on EFL students' English reading comprehension and learner autonomy. This study employed a one-group, pre-test post-test design to collect both quantitative data and qualitative data. The sample consisted of 40 English major students who enrolled in the Reading for Text Interpretation Course in the first semester of the academic …


ภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2557 ในพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ภาษาไทย : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์, สุจิตรา แซ่ลิ่ม Jan 2018

ภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2557 ในพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ภาษาไทย : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์, สุจิตรา แซ่ลิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอภาพตัวแทนผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2549-2557 ที่สื่อผ่านภาษาในพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ภาษาไทยตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และเพื่อวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมของวาทกรรมสื่อในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่นำเสนอข่าวการชุมนุมประท้วงทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2557 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยจำนวน 6 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด มติชน ผู้จัดการรายวัน และไทยโพสต์ โดยศึกษาภาพตัวแทนผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใน 3 ช่วงเวลาที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมและรัฐบาลที่ต่างกัน ได้แก่ 1) การชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ.2549-2551 2) การชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ.2552-2553 และ 3) การชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ.2556-2557 การวิเคราะห์ใช้แนวคิดเรื่องการนำเสนอผู้กระทาทางสังคมของฟาน ลีอูเวน (van Leeuwen, 1996) การวิเคราะห์ชนิดกระบวนการของฮัลลิเดย์ (Halliday, 1985) และการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาอื่น เช่น สหบท มาวิเคราะห์การนำเสนอภาพตัวแทนของผู้ชุมนุม ผลการศึกษาพบว่า ภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม คือ (1) ภาพตัวแทนที่เป็นกลางของผู้ชุมนุม ได้แก่ ผู้ชุมนุมเป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาล (2) ภาพตัวแทนที่สร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ชุมนุม ได้แก่ ผู้ชุมนุมเป็นกลุ่มประชาชนจำนวนมากที่มารวมตัวกันเพื่อต่อต้านรัฐบาล ผู้ชุมนุมเป็นผู้กระทำสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมโดยการต่อต้านรัฐบาลที่ลุแก่อำนาจ ผู้ชุมนุมเป็นผู้ถูกกระทำจากรัฐบาลและจากคนกลุ่มต่าง ๆ และผู้ชุมนุมเป็นผู้ที่ชุมนุมอย่างสันติ และ (3) ภาพตัวแทนที่ลดทอนความชอบธรรมของผู้ชุมนุม ได้แก่ ผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อความวุ่นวายและสร้างความเดือดร้อน ผู้ชุมนุมเป็นผู้ใช้ความรุนแรง ผู้ชุมนุมเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ผู้ชุมนุมเป็นผู้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย ผู้ชุมนุมเป็นผู้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม ผู้ชุมนุมเป็นผู้ขาดความน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเคารพ และผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเป็นชนชั้นที่มีฐานะซึ่งไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้พบว่าจุดยืนทางการเมืองของสื่อหนังสือพิมพ์และสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันมีส่วนสัมพันธ์กับการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองที่ต่างกันในแต่ละช่วงเวลาที่ศึกษา งานวิจัยเรื่องนี้ทำให้เห็นว่าภาพของผู้ชุมนุมทางการเมืองกลุ่มเดียวกันได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อในแง่มุมที่ต่างกัน ผ่านมุมมองที่ต่างกันและนำเสนอด้วยกลวิธีทางภาษาที่ต่างกัน ภาพตัวแทนที่สื่อนำเสนอมีส่วนในการสร้างความชอบธรรมหรือลดทอนความชอบธรรมของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองและน่าจะมีผลต่อความคิดและทัศนคติของผู้อ่านที่มีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ผลการวิจัยนี้ทำให้เห็นว่าภาพตัวแทนผู้ชุมนุมทางการเมืองเหล่านี้เป็นผลจากการประกอบสร้างทางภาษาของสื่อที่อาจมีจุดยืนต่างกัน ในบางครั้งผู้อ่านอาจจะไม่ทันได้ตระหนักถึงหรือสังเกตเห็นและเข้าใจว่าสิ่งที่นำเสนอเป็น "ความจริง" เพียงชุดเดียว ความตระหนักรู้หรือรู้เท่าทันวาทกรรมสื่อจะช่วยให้ผู้อ่านรับสารอย่างมีวิจารณญาณและตัดสินหรือประเมินค่าสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบยิ่งขึ้นอันอาจจะช่วยลดทอนความขัดแย้งที่มีต่อกันในสังคมได้ไม่มากก็น้อย


ละครซ้อนละครในละครเรื่องปริยทรรศิกาและพาลรามายณะ, สิทธิเชศวร์ เจนเรื่อย Jan 2018

ละครซ้อนละครในละครเรื่องปริยทรรศิกาและพาลรามายณะ, สิทธิเชศวร์ เจนเรื่อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ละครซ้อนละคร (play-within-a-play) เป็นกลวิธีการประพันธ์ที่ปรากฎในบทละครสันสกฤตเรื่องปริยทรรศิกา (Priyadrska) และพาลรามายณะ (Balaramayana) นักวรรณคดีสันสกฤตจำกัดความละครซ้อนในละครสันสกฤตแตกต่างกัน วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาลักษณะเฉพาะของละครซ้อนละคนในละครสันสกฤตทั้งสองเรื่อง พร้อมทั้งศึกษาบทบาทและความสำคัญที่ละครซ้อนแต่ละเรื่องมีต่อละครเรื่องหลัก ผลการศึกษาพบว่า มีคำอธิบาย "ละครซ้อนละคร" ในทฤษฎีการละครสันสกฤตเรื่อง สาหิตยทรรปณะ (Sahityadarpana) เรียกว่า ครรภางกะ (garbhanka) คือ ละครเล็กที่แทรกอยู่ในละครใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง มีบทเกริ่นนำ เนื่อเรื่อง และตอนจบของตนเอง จากนิยายดังกล่าวนำมาวิเคราะห์ละครซ้อนละครในปริยทรรศิกาและพาลรามายณะ ได้ผลว่า ละครทั้งสองเรื่องมีบทเกริ่นนำของตนเอง เรื่องปริทรรศิกามีนายโรงแนะนำละครซ้อนชื่อ "อุทัยนจริต" (Udayanacarita) เนื้อเรื่องแสดงความรักระหว่างพระเจ้าอุทัยน์ (วัตสราช) กับเทวีวาสวทัตตา แต่พระเจ้าอุทัยน์ที่ปลอมตนมาเล่นละครเป็นตนเองพลอดรักกับนางเอกจนเทวีวาสวทัตตาไม่อาจทนดูละครต่อได้จึ่งสั่งให้หยุดเล่น ละคนซ้อนเรื่องนี้จึ่งไม่มีตอนจบ ส่วนละครซ้อนละครในพาลรามายณะ ชื่อว่า "สีตาสวยัมวระ" (Sitasvayamvara) การเลือกคู่ของนางสีดา มีบทเกริ่นนำ เนื้อเรื่องเป็นการประลองยกธนูพระศิวะ พระรามสามารถยกได้พร้อมหักธนูและจัดพิธีอภิเษกสมรส ในเรื่องนี้มีบทอวยพรตอนจบเรื่อง ซึ่งสอดคล้องตามคำอธิบายในสาหิตยทรรปณะ บทบาทและความสำคัญของละครซ้อนต่อละครเรื่องหลัก ในบริบทของการพัฒนาปมเรื่อง ทำให้เรื่องเข้มข้นขึ้น ส่วนในบริบทการพัฒนารสและภาวะ ละครซ้อนเสริมให้ผู้ชมรับรู้รสซ้อนกัน แบ่งเป็นสองขั้น คือ รสของผู้ชมในละคร (ตัวละครที่เล่นเป็นผู้ชม) และรสของผู้ชมภายนอก (ผู้ชมจริง)


การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร, วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Jan 2018

การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร, วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร เนื่องจากอาหารมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น ทว่าอาหารยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อความหมายระหว่างกัน และเป็นวิถีปฏิบัติอันเกิดจากการประกอบสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้รวบรวมจากคอลัมน์ประจำที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารจากนิตยสารประเภทอาหาร 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ นิตยสารแม่บ้าน นิตยสารครัว นิตยสาร Gourmet & Cuisine และนิตยสาร Health & Cuisine ตั้งแต่ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 - ธันวาคม พ.ศ. 2558 รวม 48 ฉบับ การวิเคราะห์อาศัยกรอบแนวคิด (1) วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995a) (2) การบริโภคคุณค่าเชิงสัญญะของโบดริยาร์ (Baudrillard, 2001) และ (3) รสนิยมของบูร์ดิเยอ (Bourdier, 1984) ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า นิตยสารประเภทอาหารมิได้นำเสนอคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ที่แท้จริงของอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารในฐานะหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น หากแต่นิตยสารยังได้ประกอบสร้างชุดความคิดเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารให้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเชิงสัญญะ ดังปรากฏชุดความคิดสำคัญ 2 ประการด้วยกัน คือ (1) อาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารเป็นสิ่งแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ และเป็นเครื่องสถาปนาสถานภาพของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มเป็น "คนฉลาดเลือกบริโภคอย่างมีรสนิยม" (2) อาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารเป็นสิ่งแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ และเป็นเครื่องสถาปนาสถานภาพของเชฟ ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญการรังสรรค์เมนูอาหารอย่างมีรสนิยม ชุดความคิดเหล่านี้ถูกประกอบสร้างผ่านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ การเลือกใช้ชุดคำศัพท์ การใช้คำอ้างถึง การให้รายละเอียดโดยการระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบหรือสินค้าอย่างเฉพาะเจาะจง การให้รายละเอียดโดยการระบุราคา การให้รายละเอียดโดยการใช้รางวัลเป็นเครื่องยืนยัน การใช้ความเปรียบ การใช้มูลบท การใช้ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ การใช้โครงสร้างประโยคแสดงเหตุ-ผล การใช้สหบท และการใช้ภาพประกอบ ชุดความคิดเกี่ยวกับคุณค่าเชิงสัญญะเหล่านี้กลายเป็นชุดความรู้เกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารชุดหนึ่งที่นิตยสารประกอบสร้างขึ้นและทำให้ความรู้ชุดนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ คนเฉพาะกลุ่มซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นคนฉลาดบริโภคอย่างมีความรู้ แต่จะต้องเป็นผู้มีรสนิยมด้วย อุดมการณ์ที่มีอิทธิพลต่อตัวบท ได้แก่ แนวคิดวัฒนธรรมบริโภคนิยม แนวคิดชั้นทางสังคม แนวคิดสภาวะสมัยใหม่ และแนวคิดสุนทรียภาพ ตัวบทเหล่านี้จึงได้ผลิตซ้ำและตอกย้ำให้อุดมการณ์เหล่านี้คงอยู่ในสังคมต่อไป


กลุ่มการเมืองในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ.2550-2558, กรวุฒิ นิยมศิลป์ Jan 2018

กลุ่มการเมืองในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ.2550-2558, กรวุฒิ นิยมศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและกลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ. 2550-2558 และเพื่อศึกษาบริบททางการเมืองและสังคมที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองกับกลุ่มการเมืองเสื้อแดง ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นประเด็นให้นักเขียนแต่ละคนสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองที่ตนสนับสนุน และเสียดสีกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตรมีการเสียดสีผ่านโครงสร้างการ์ตูนการเมืองและกลวิธีทางภาษา โครงสร้างการ์ตูนการเมืองมีลักษณะคล้ายกับมุกตลก ส่วนกลวิธีทางภาษา คือ การใช้ภาษาที่ผิดจากขนบหรือมาตรฐานทางภาษา กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบของกลุ่มการเมืองเสื้อแดง ในฐานะผู้ทุจริตและก่อความวุ่นวายให้กับประเทศ ขณะเดียวกันมีการนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้ใช้สันติวิธี ในการเรียกร้องความยุติธรรม ในการ์ตูนการเมืองของบัญชา คามินมีการเสียดสีผ่านภาพล้อตัวละครซึ่งเป็นกลวิธีที่บิดเบือนเรือนร่างและพฤติกรรมของตัวละครนักการเมืองให้มีความผิดเพี้ยน กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของบัญชา คามินมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบให้กับกลุ่มการเมืองเสื้อแดงในฐานะผู้ที่มีความโลภ และตกเป็นทาสประชานิยม ขณะเดียวกันมีการนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในการ์ตูนการเมืองของเซียมีการเสียดสีผ่านการใช้สัญลักษณ์ เซียมักจะใช้สัญลักษณ์สองลักษณะ คือ สัญลักษณ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพื่อสื่อถึงพฤติกรรมการเมืองที่เป็นไปตามมาตรฐานของสังคม และสัญลักษณ์ที่เฉพาะของเซีย สื่อให้เห็นพฤติกรรมที่ก่อความวุ่นวายให้กับประเทศชาติ กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของเซียมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบให้กับกลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้สนับสนุนให้ทหารมีอำนาจในการบริหารประเทศ ส่วนกลุ่มการเมืองเสื้อแดงมีภาพลักษณ์เชิงบวกในฐานะผู้ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองของรัฐบาลทหาร


การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ โดยใช้แนวคิดดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สำหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม, ธโนทัย มงคลสินธุ์ Jan 2018

การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ โดยใช้แนวคิดดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สำหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม, ธโนทัย มงคลสินธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ กำลังได้รับความนิยมอย่างมากจากกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม หรือมิลเลนเนียลเจอเนอเรชั่น หรือเจนเนอเรชั่นวาย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจในการซื้อมากที่สุดในขณะนี้ และเป็นเจนเนอเรชั่นแรกที่ได้รับการอบรมจากชั้นเรียนเกี่ยวกับแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เจนเนอเรชั่นนี้ให้ความสำคัญและนิยมเลือกใช้สินค้าภายใต้แนวคิดดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งปัจจุบันการตลาดกำลังจะก้าวเข้ามาสู่ยุค 4.0 เป็นยุคที่การให้คุณค่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการให้มูลค่า ซึ่งสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เสาหลักที่สําคัญ หนึ่งในนั้นคือ เสาหลักด้านวัฒนธรรม ที่มีกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะใช้องค์ประกอบของ 5 ดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของคนไทย เพื่อนําไปสู่ 5 เอฟโมเดล ที่หนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมแฟชั่น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ โดยใช้แนวคิดดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สำหรับกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม เพื่อให้ทราบแนวทางรูปแบบการดำเนินชีวิต ประเด็นความสนใจ พฤติกรรม บุคลิกภาพ และรูปแบบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ และใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สไตล์แฟชั่นและองค์ประกอบหลักทางแฟชั่น โดยมีค่าดัชนีความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) เท่ากับ 0.921 และ 0.941 มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นหรือครอนบาคอัลฟ่า (Cronbach's Alpha) อยู่ที่ 0.72 ผลของงานวิจัยนี้ พบว่าแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์มัลติแบรนด์ โดยใช้แนวคิด 5 ดีเอ็นเอทางวัฒนธรรมของไทย สำหรับกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็ม สามารถสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าได้ 5 แบรนด์ ตามสไตล์แฟชั่น 5 สไตล์ และได้นำแนวทางดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการออกแบบสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ต่อไป


การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์, ลักขณา แสงแดง Jan 2018

การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์, ลักขณา แสงแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และแนวความคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ และการวิจัยเชิงคุณภาพที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลทางเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏยศิลป์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย การสังเกตการณ์ การสัมมนาในชั้นเรียน การสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมทางการวิจัย สื่อสารสนเทศ และเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน สู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการแสดงและแนวความคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงาน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการแสดงประกอบไปด้วยองค์ประกอบในการแสดงนาฏยศิลป์ทั้ง 8 ประการ ได้แก่ การออกแบบบทการแสดง การคัดเลือกนักแสดง การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ การออกแบบเสียง การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบพื้นที่แสดง และการออกแบบแสง ในส่วนของแนวความคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์งานใหม่ โดยการคำนึงถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์เป็นสาระสำคัญอันดับแรก การคำนึงถึงการแสดงที่สร้างสรรค์เพื่อกลุ่มของผู้ชมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงการสะท้อนสภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงแนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ การคำนึงถึงศิลปะการละครกับการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงสัญลักษณ์ในงานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงทฤษฎีด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ รวมทั้งการคำนึงถึงการสร้างสรรค์การแสดงที่เป็นศิลปะเพื่อศิลปะ ตามลำดับ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยนั้นตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนเปลือกนอกของคนในสังคมไทย, ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนเปลือกนอกของคนในสังคมไทย, ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแสวงหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนเปลือกนอกของคนในสังคมไทย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงสรรค์ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ครั้งนี้ เป็นการนำประเด็นเรื่องเปลือกนอกของคนในสังคมไทยเข้ามาเป็นสาระสำคัญในการออกแบบสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงโดยสามารถจำแนกองค์ประกอบทางนาฏยศิลป์ออกเป็น 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดงนำแนวคิดมาจากการตีความประเด็นเปลือกนอกของคนในสังคมไทยทางด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ 2) นักแสดงมีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์และการแสดงอารมณ์ความรู้สึกแบบละคร 3) ลีลาการเคลื่อนไหวใช้ลีลาที่หลากหลาย ได้แก่ ลีลาละครใบ้ (Mime) ลีลาในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) ลีลาการทำซ้ำ (Repetitive Movement) และลีลาการเคลื่อนไหวที่แสดงอารมณ์แบบละคร (Acting) 4) เครื่องแต่งกายคัดเลือกจากเสื้อผ้าในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องแต่งกายที่เรียบง่าย (Simplicity) และเครื่องแต่งกายที่เป็นเครื่องแบบ (Uniform) 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดงเน้นความเรียบง่าย โดยนำเสนอผ่านการใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายตรงและความหมายแฝง ได้แก่ หน้ากาก แท่นแสดงสินค้า (Display) และเก้าอี้ 6) เสียง เป็นการใช้ความเงียบเพื่อให้ความสำคัญกับภาพและลีลาการเคลื่อนไหว เสียงจากบทพูดของนักแสดง เสียงประกอบเรื่อง และเสียงสังเคราะห์จากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 7) แสงใช้ในการสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ เสริมอารมณ์ความรู้สึกและบรรยากาศ ตลอดจนใช้แสงสร้างพื้นที่การแสดงบนเวที และ 8) พื้นที่การแสดงใช้สถานที่ภายในโรงละคร นอกจากนี้แนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนเปลือกนอกในสังคมไทย ปรากฏแนวคิดที่สำคัญ 7 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงเปลือกนอกในสังคมไทย 2) การคำนึงถึงแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ 4) การคำนึงถึงสัญลักษณ์ในงานนาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงทฤษฎีทางด้านทัศนศิลป์ 6) การคำนึงถึงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อศิลปะ และ 7) คำนึงถึงความเรียบง่ายในงานนาฏยศิลป์ การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ เชื่อมโยงประสบการณ์และพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการและวงการนาฏยศิลป์ ตลอดจนเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานของผู้สร้างสรรค์ผลงานในอนาคต


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ, ธิติมา อ่องทอง Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ, ธิติมา อ่องทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการสร้างสรรค์และแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ งานวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การศึกษาสื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสัมมนา ประสบการณ์ของผู้วิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และการทดลองสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ผลจากการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธเป็นผลงานในรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ สามารถแบ่งตามองค์ประกอบการแสดง 8 องค์ประกอบ คือ 1) บทการแสดง แบ่งเป็น 3 องก์ ได้แก่ องก์ 1 กามภูมิ องก์ 2 รูปภูมิ และองก์ 3 อรูปภูมิ 2) การคัดเลือกนักแสดง คัดเลือกจากนักแสดงที่มีทักษะและประสบการณ์การเต้นที่หลากหลาย ได้แก่ นาฏยศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์อินโดนีเซีย และทักษะในการแสดงออกทางด้านละคร 3) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ ใช้ทักษะการเต้นที่หลากหลายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ คือ ลีลานาฏยศิลป์ตะวันตกและลีลานาฏยศิลป์ตะวันออก 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแต่งกายในบทบาทนักท่องเที่ยวที่ใช้เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันที่หลากหลาย และการแต่งกายในการแสดงหลักที่ใช้เครื่องแต่งกายที่มีความเรียบง่ายตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่ 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในชีวิตประจำวัน สามารถสื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา 6) การออกแบบดนตรีและเสียงประกอบ สร้างสรรค์เพลงขึ้นใหม่ด้วยเสียงสังเคราะห์จากการเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีจากวงกาเมลัน เสียงสังเคราะห์จากเครื่องดนตรีสากล และเสียงจากเครื่องดนตรีตาราวังซาของประเทศอินโดนีเซีย 7) การออกแบบฉากและพื้นที่การแสดง ใช้ฉากโครงสร้างแผนผังบุโรพุทโธ และจัดแสดง ณ โรงละครแบล็ค บ๊อกซ์ เธียร์เตอร์ 8) การออกแบบแสง เพื่อสร้างมิติให้กับสัดส่วนของฉากประกอบการแสดง และส่งเสริมการสื่ออารมณ์ ลีลาท่าการเคลื่อนไหวของนักแสดงให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ แนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ ประกอบด้วยแนวคิด 6 ประการ คือ 1) แนวคิดจากภาพแผนผังทางสถาปัตยกรรมและปรัชญาทางศาสนาของมหาสถูป 2) แนวคิดทางทัศนศิลป์ 3) แนวคิดเรื่องความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 5) แนวคิดพื้นที่การแสดงในงานนาฏยศิลป์ 6) แนวคิดพหุวัฒนธรรม


ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อบรรเทาภาวะวิตกกังวลในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ถูกเจาะเลือดในขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, วิศิษฎ์ ศุภางคะรัตน์ Jan 2018

ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อบรรเทาภาวะวิตกกังวลในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ถูกเจาะเลือดในขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, วิศิษฎ์ ศุภางคะรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาทางด้านจิตใจเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กที่เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเนื่องจากเป็นโรคที่มีความซับซ้อนในการรักษา และผู้ป่วยเด็กมักไม่ทราบถึงสิ่งที่ตนเองต้องเผชิญตลอดระยะเวลที่อยู่ในโรงพยาบาล โดยปกติเมื่อเด็กต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ เด็กจะมีวิธีในการเผชิญหน้ากับสภาวะนั้นด้วยการเล่นสมมติ โดยจะจินตนาการว่าตัวเองมีพลังอำนาจ สามารถต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ชอบได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่การค้นหาวิธีการออกแบบแอนิเมชั่นจากภาวะวิตกกังวลในเด็กป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในขั้นแรกได้ทำการศึกษาถึงภาวะวิตกกังวลในเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและประเภทของความแฟนตาซีที่มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชและพัฒนาการเด็กจำนวน 3 ท่านพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะวิตกกังวลในเด็กป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุดคือ การถูกพรากจากบุคคลที่เด็กรักหรือคุ้นเคยและความกลัวต่อความเจ็บปวด รวมถึงการถูกทำหัตถการต่าง ๆ ผู้ป่วยมักเป็นเด็กที่มีนิสัยขี้อาย ปรับตัวยาก และประเภทของความแฟนตาซีที่มีความเหมาะสมคือ Visual Fantasy จากนั้นได้นำผลการศึกษาที่ได้มาออกแบบบุคลิกภาพของตัวละครและฉากในแอนิเมชั่น โดยมุ่งเน้นให้ตัวละครหลักเป็นผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งมีนิสัยขี้อาย ปรับตัวยาก อสูรกายที่แทนความเจ็บปวดจากการรักษา และ ฉากโลกในจินตนาการที่แทนภาวะวิตกกังวลในใจผู้ป่วยเด็ก จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนิเมชั่นจำนวน 5 ท่านวิเคราะห์ถึงบุคลิกภาพจากตัวแปรที่กล่าวมาข้างต้นพบว่า คำสำคัญที่มีความเหมาะสมในการเลือกนำมาใช้ออกแบบตัวละครผู้ป่วยเด็กคือ Youthful, Casual, Friendly, Generous, Reflective and Elegant คำสำคัญที่มีความเหมาะสมในการเลือกนำมาใช้ออกแบบตัวอสุรกายคือ Large gesture, Addictions, Dynamic and Modern และคำสำคัญที่มีความเหมาะสมในการเลือกนำมาใช้ออกแบบโลกในจินตนาการคือ Classic, Dandy, Dynamic และ Modern


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย พิจารณาข้อมูลเชิงทฤษฎีเชื่อมโยงในประเด็นของรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ การสร้างสรรค์ และแนวคิดการแสดงนาฏยศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล ทดลองพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์เรียบเรียงข้อมูล แสดงขั้นตอนและผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแสดงผลงานสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่ปรากฏคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยการคัดเลือกนักแสดงที่มีความหลากหลายในทักษะการเต้นร่วมสมัยและแนวเต้นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้เสียงไวโอลินบรรเลงสดและเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ใช้พื้นที่ในและนอกวงกลมโดยมีเก้าอี้ 9 ตัววางเป็นวงกลมกลางเวที สวมใส่ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเหมาะสมกับสรีระและลีลานาฏยศิลป์ของนักแสดง ออกแบบแสงให้เห็นมิติของร่างกาย นำเสนอเป็น 3 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ 1 ยุคบุกเบิก แบ่งเป็น 4 ฉาก คือ ฉาก 1 แนวคิดของลอย ฟูลเลอร์ (Loie Fuller) ฉาก 2 แนวคิดของอิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ฉาก 3 แนวคิดของรุท เซนต์เดนนีส (Ruth St Denis) ต่อเนื่องถึงฉาก 4 แนวคิดของเดนนีส-ชอร์น (Denis Shawn) องก์ 2 ยุคสมัยใหม่ศิลปินรุ่น 1 และ 2 แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก 1 แนวคิดของมาธา เกรแฮม (Matha Graham) ฉาก 2 แนวคิดของดอริช ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) ฉาก 3 แนวคิดของเมอร์ซ คันนิงแฮม (Merce Cunningham) และฉาก 4 แนวคิดของโฮเซ ลีมอน (Jose Limon) องก์ 3 ยุคหลังสมัยใหม่ แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบนาฏยศิลป์ที่สร้างสรรค์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเพื่อค้นหาแนวคิดที่ได้หลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ การปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์โดยใช้ตำนานนกกิ่งกะหร่าเพื่อสื่อสารความเชื่อความศรัทธาของชาติพันธุ์ไทใหญ่กับพระพุทธศาสนา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงได้ 8 ประการ 1) บทการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยผสมผสานตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเรื่องชาติภพทั้ง 5 ของพระพุทธเจ้าในการกำเนิดเป็นนกกิ่งกะหร่า 2) นักแสดงมีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหวร่างกายที่หลากหลายตามทักษะความชำนาญของตนเอง 3) ลีลาที่นำเสนอผ่านการฝึกปฏิบัติวิธีการแสดงแบบเดอะเมธอด (The Method of Acting) 4) เครื่องแต่งกายที่แสดงถึงบุคลิกภาพของนกกิ่งกะหร่าทั้ง 5 ตัว ตามแนวคิดเรื่องศีล 5 ข้อ 5) ดนตรีและเสียงประกอบที่ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือด้นสดกับสถานการณ์ในการแสดง และการขับเพลงพื้นบ้านภาคเหนือเล่าเรื่องตำนานนกกิ่งกะหร่า 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่เน้นการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ ของนักแสดงเพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญของเรื่อง 7) พื้นที่การแสดงที่กำหนดความหมายเป็นสถานที่ต่าง ๆ ในการแสดงได้แก่ สถานที่ไร้กาลและเวลา ป่าหิมพานต์ และท้องฟ้า 8) แสงที่ใช้แนวคิดทางทัศนศิลป์ และสัญวิทยาออกแบบเสียงให้ที่สามารถสื่อสารความคิดและสถานการณ์ของตัวละครให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ยังได้ให้ความสำคัญใน 6 ประเด็น 1) แนวคิดจากตำนานนกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ 2) แนวคิดเกี่ยวกับชาติพันธุ์กับอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทใหญ่ 3) แนวคิดที่เกี่ยวกับรากฐานความคิดความเชื่อและศิลปวัฒนธรรม 4) แนวคิดสัญวิทยา 5) แนวคิด การแสดงเดอะเมธอด (The Method of Acting) และ 6) แนวคิดทางทัศนศิลป์


เทเลเอสเทติกส์: การสร้างสรรค์นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่, ให้แสง ชวนะลิขิกร Jan 2018

เทเลเอสเทติกส์: การสร้างสรรค์นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่, ให้แสง ชวนะลิขิกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันศิลปะสื่อใหม่มีบทบาทในศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ทว่าในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ในประเทศไทยนั้นไม่มีความแพร่หลาย คนรุ่นใหม่ที่สนใจศิลปะสื่อใหม่นั้นเข้าถึงข้อมูลได้ยาก มีช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลศิลปะสื่อใหม่ การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่มีการเน้นย้ำหรือกล่าวถึง งานเขียนภาษาไทยไม่มีการจัดทำเป็นตำรา และงานแปลมีจำกัดหนังสือเพียงไม่กี่เล่มเท่านั้น เมื่อกล่าวถึงธรรมชาติของการหาความรู้ของคนรุ่นใหม่ที่สนใจศิลปะพบว่ากลุ่มคนดังกล่าวได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการหาข้อมูลเป็นหลัก แต่น้อยที่จะมีความสนใจในเนื้อหาที่เป็นการเขียนที่มีรายละเอียดเยอะโดยเฉพาะข้อมูลภาษาอังกฤษ ดังนั้น จากแนวความคิดเพื่อออกแบบชุดความรู้ ลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่สำหรับคนไทยรุ่นใหม่ที่สนใจ มาสู่การวิจัยการทำความเข้าใจองค์ความรู้ศิลปะสื่อใหม่ นำมาสร้างชุดข้อมูลนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าถึงและพัฒนาองค์ความรู้ต่อได้ การออกแบบชุดความรู้ดังกล่าวได้ถูกนำเสนอผ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียออนไลน์บนเว็บไซต์ที่มีชื่อว่าเทเลเอสเทติกส์โดยมีการกำหนดขอบเขตของงานวิจัยของงานวิจัยเผยแพร่ออกมา 2 ฉบับคือ เทเลเอสเทติกส์ฉบับที่หนึ่งเน้นไปที่การปูพื้นความรู้เกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ ส่วนเทเลเอสเทติกส์ฉบับที่สองเป็นการนำต่อยอดองค์ความรู้จากฉบับที่หนึ่งและเน้นไปที่ศิลปะแห่งเสียงเป็นแขนงที่คาบเกี่ยวกับศิลปะสื่อใหม่ให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้เนื้อหาดังกล่าว


บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : ซิมโฟนี หมายเลข 1, นบ ประทีปะเสน Jan 2018

บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : ซิมโฟนี หมายเลข 1, นบ ประทีปะเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : ซิมโฟนี หมายเลข 1 ประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบรรยายเรื่องราวจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ ที่แฝงคำสอนและหลักความเชื่อ ซึ่งบูรณาการแนวคิดทางดนตรีระหว่างดนตรีตามแบบแผนและดนตรีร่วมสมัย โดยใช้บทบรรยายเรื่องราวร่วมกับวงดุริยางค์ซิมโฟนี จึงทำให้บทประพันธ์เพลงนี้มีรูปแบบเป็นดนตรีบรรยาย หรือเรียกว่าโปรแกรมซิมโฟนี ความยาวของบทประพันธ์เพลงประมาณ 30 นาที แบ่งเป็น 3 กระบวน ตามหลักข้อเชื่อของคริสต์ศาสนา คือ ตรีเอกานุภาพ ซึ่งคือ พระบิดา (พระเจ้า) พระบุตร (พระเยซูคริสต์) และพระจิต (พระวิญญาณบริสุทธิ์) โดยผู้ประพันธ์เพลงได้สร้างทำนองพระผู้สร้างเป็นทำนองหลัก เพื่อให้เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการประพันธ์เพลง ดังปรากฏในกระบวนที่ 1 นอกจากนี้ ยังมีส่วนย่อยของทำนองโมทีฟ X, Y และ Z รวมถึงโมทีฟจังหวะที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของทำนองหลักพระผู้สร้าง ได้ถูกนำไปพัฒนาต่อในกระบวนที่ 2 และ 3 บทประพันธ์เพลงนี้ ผสมผสานแนวคิดและเทคนิควิธีประพันธ์เพลงต่าง ๆ ทั้งเรื่องดนตรีอิงกุญแจเสียง ดนตรีอิงโมด เทคนิควิธีประพันธ์เพลงของดนตรีในศตวรรษที่ 20 ได้แก่ การดำเนินคอร์ดที่ไม่เป็นตามแบบแผนดั้งเดิม การวางแนวเสียงประสานเรียงซ้อนคู่สอง และคอร์ดเรียงซ้อนคู่สี่และคู่ห้า รวมถึงกลุ่มเสียงกัด การวางแนวเสียงประสานแบบชุดโอเวอร์โทน การใช้สีสันเสียงวงดนตรี เทคนิคการเล่นเครื่องดนตรีขยายขอบเขต และการให้อิสระแก่ผู้บรรเลงในการบรรเลง ร่วมกับการใช้บทบรรยายที่กล่าวถึงการสร้าง การทำลาย และการกำเนิดใหม่


การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม, สรายุทธ์ โชติรัตน์ Jan 2018

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม, สรายุทธ์ โชติรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความเชื่อ เชื้อชาติ ภาษา รูปแบบสถาปัตยกรรม ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และสร้างองค์ความรู้ด้านการประพันธ์เพลงแนวใหม่ และการสร้างเครื่องดนตรี โดยถ่ายทอดผลงานในรูปแบบดนตรีพรรณนาทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ พุทธเจดีย์ทวารวดี 7 องค์เป็นสิ่งปลูกสร้างแสดงถึงความรุ่งเรืองเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่ปรากฏมาในเมืองนครปฐมสมัยทวารวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-16 จนถึงปัจจุบันที่สมบูรณ์จำนวน 2 องค์คือ พระปฐมเจดีย์ พระประโทน-เจดีย์ และร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกจำนวน 5 องค์คือ จุลประโทนเจดีย์ พระเนินเจดีย์ สังฆรัตนธาตุเจดีย์ พระงามเจดีย์ และพระเมรุเจดีย์ การสร้างสรรค์ผลงานนี้เป็นการประพันธ์เพลงในรูปแบบของเพลงชุด ประกอบด้วยเพลงหลัก 8 เพลงคือ 1) เพลงพุทธเจดีย์บูชา 2) เพลงพระปฐมเจดีย์ 3) เพลงพระประโทนเจดีย์ 4) เพลงพระเนินเจดีย์ 5) เพลงสังฆรัตนเจดีย์ 6) เพลงจุลประโทนเจดีย์ 7) เพลงพระงามเจดีย์ 8) เพลงพระเมรุเจดีย์ และทำนองเชื่อมเจดีย์สำหรับบรรเลงเชื่อมเพลงหลัก 1 ทำนอง โดยรูปแบบวงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประสมวงขึ้นใหม่ประดิษฐ์เพิ่มขึ้นใหม่ 2 ชิ้นคือ ระฆังหินและระนาดหิน เพื่อใช้สำหรับบรรเลงเพลงชุดโดยเฉพาะประกอบด้วย ระนาดตัดขนาดใหญ่ ระนาดตัดขนาดเล็ก จะเข้ ปี่มอญ ขลุ่ยเพียงออ ระฆังหิน ระนาดหิน ปรับเปลี่ยนให้ความสอดคล้องกับลีลาทำนองของพุทธเจดีย์แต่ละองค์ กำหนดทำนองในอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว จังหวะฉิ่ง 3 รูปแบบ และหน้าทับ 12 รูปแบบ แสดงความเป็นอัตลักษณ์สำเนียงของบทเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, อภิโชติ เกตุแก้ว Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, อภิโชติ เกตุแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยศึกษาจากแนวคิดจากสัญลักษณ์โอม ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สัญศาสตร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เกณฑ์มาตรฐานศิลป์ ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย รวมไปถึงได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจำนวน 33 คน สื่อสารสนเทศอื่น ๆ สำรวจข้อมูลภาคสนามที่เทวสถานทั้งในประเทศไทยและประเทศอินเดีย ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ สรุปผล และนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดงมีองค์ประกอบทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง โดยวิเคราะห์จากแนวคิดองค์ประกอบทัศนศิลป์ที่ปรากฏบนสัญลักษณ์โอม แบ่งออกเป็น 3 องก์ ประกอบไปด้วย องก์ 1 จุดเริ่มต้น (Starting Point) องก์ 2 เส้นโค้งแห่งการปกป้องดูแล (The Curve of Protection) และองก์ 3 จุดสิ้นสุด (End Point) ผู้วิจัยใช้การจัดวางภาพในการแสดงจากแนวคิดการปะติดภาพ (Collage) 2) นักแสดง คัดเลือกจากผู้มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์อินเดียและนาฏยศิลป์ตะวันตก 3) การเคลื่อนไหวลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ โดยการนำแนวคิดของ อิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ในแนวคิดการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ (Free Spirit) พอล เทย์เลอร์ (Paul Taylor) แนวคิดการใช้ท่าทางในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) สตีฟ แพกซ์ตัน (Steve Paxton) แนวคิดการเคลื่อนไหวลีลาโดยใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายในแบบด้นสด (Body Contact Improvisation) อาครัมคาน (Akram Khan) แนวคิดการใช้ทักษะท่าทางนาฏยศิลป์อินเดียมาผสมผสานกับนาฏศิลป์แบบตะวันตก 4) เสียงเป็นการแสดงแบบดนตรีสดโดยใช้เครื่องดนตรีที่สามารถสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึก ได้แก่ ขันทิเบต เชลโล่ กลองตับบลา กลองไทโกะ 5) อุปกรณ์การแสดง ใช้แนวคิดสัญลักษณ์ที่เน้นความเรียบง่าย สามารถสื่อสารความหมายอย่างชัดเจน 6) เครื่องแต่งกาย เป็นการลดทอนการแต่งกายของอินเดียโดยการนำแนวคิดมินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ให้ความสำคัญกับความเรียบง่าย 7) …


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: เมนทัล ดิสทอร์ชัน สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี, นิธิ จันทร์ชมเชย Jan 2018

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: เมนทัล ดิสทอร์ชัน สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี, นิธิ จันทร์ชมเชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ เมนทัล ดิสทอร์ชัน (Mental Distortion) เป็นบทประพันธ์สำหรับวงวินด์ ซิมโฟนี มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอลักษณะของโรคทางจิตเวชที่มีสาเหตุมาจากความเครียด ทั้งการแสดงออกด้านอารมณ์และกายภาพ อันมีเอกลักษณะเฉพาะของแต่ละโรค โดยผู้วิจัยได้เลือกโรคทางจิตเวชที่มีการพบมากในปัจจุบัน ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคแพนิค และโรคไบโพลาร์ ในการสร้างสรรค์บทประพันธ์นี้ ผู้วิจัยได้ทำการตีความอาการของแต่ละโรคด้วยเทคนิคการประพันธ์เพลงร่วมสมัย เพื่อแสดงออกถึงอาการของแต่ละโรคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยบทประพันธ์นี้แบ่งออกเป็น 5 กระบวนได้แก่ จิตที่ถูกบิดเบือน ซึมเศร้า กดดัน ตระหนก และแปรปรวน จากการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเมนทัล ดิสทอร์ชัน ผู้วิจัยได้ประพันธ์ในลักษณะดนตรีพรรณาสำหรับวงวินด์ซิมโฟนีที่มีการแสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะของโรคทางจิตเวชที่มีสาเหตุจากความเครียด บทประพันธ์เป็นดนตรีตะวันตกร่วมสมัยซึ่งเกิดจากใช้วัตถุดิบ เทคนิคการประพันธ์ร่วมสมัย ผ่านการสร้างสรรค์ของผู้วิจัยเอง


An Investigation Of Beliefs And Classroom Asssessment Practices Of English Teachers In Primary Schools In Thailand, Arthitaya Narathakoon Jan 2018

An Investigation Of Beliefs And Classroom Asssessment Practices Of English Teachers In Primary Schools In Thailand, Arthitaya Narathakoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of the present study is to investigate 1) the teachers' beliefs about classroom assessment in English classes, 2) their actual classroom practices, and 3) the extent to which their beliefs are congruent with their actual assessment practices. The participants were grade-6 English teachers in a school district from the northeastern part of Thailand. The study was conducted using a mix-methods approach. There were two phases. Phase 1 involved the administration of a questionnaire to 97 teachers. It aimed to gather data on the classroom assessment beliefs and practices of teachers in Thai primary schools. Phase 2 was comprised …


ดุษฎีนิพนธ์ด้านการประพันธ์เพลง: บทประพันธ์เพลงอีสานร่วมสมัยสำหรับกีตาร์คลาสสิก, ดนุเชษฐ วิสัยจร Jan 2018

ดุษฎีนิพนธ์ด้านการประพันธ์เพลง: บทประพันธ์เพลงอีสานร่วมสมัยสำหรับกีตาร์คลาสสิก, ดนุเชษฐ วิสัยจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน 5 ทศวรรษที่ผ่านมาในฐานะเครื่องดนตรีหลักในดนตรีตะวันตกร่วมสมัยและในวัฒนธรรมดนตรีที่หลากหลาย ในซีกโลกตะวันตกนั้นกีตาร์ถูกบรรเลงในดนตรีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบลูกราส บลูส์ ร็อก หรือฟลาเมงโก ส่วนในซีกโลกตะวันออกกีตาร์ก็มีรูปแบบการบรรเลงที่ต่างกันออกไปตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรม กีตาร์ในบริบทของดนตรีสมัยนิยมได้พัฒนาไปหลายแง่มุม แต่ที่สามารถนำไปใช้เป็นหลักในการศึกษานั้น ยังขาดแคลนบทเพลงที่จะตอบสนองต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการตอบสนองต่อนักกีตาร์ในเรื่องของการแสดงและการศึกษา เนื่องจากกีตาร์เป็นเครื่องมือมีความเฉพาะตัวสูง เห็นได้จากวัฒนธรรมดนตรีคลาสสิกตะวันตกในอดีต ซึ่งมีการนำบทเพลงที่ประพันธ์สำหรับเครื่องดนตรีอื่นมาเรียบเรียงใหม่สำหรับกีตาร์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้ประพันธ์เพลงกีตาร์มากขึ้น เช่น ลีโอ บราวเออร์ แห่งประเทศคิวบา ใช้อัตลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้านในการประพันธ์และสามารถถ่ายทอดองค์ประกอบดังกล่าวออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีเซอร์จิโอและโอแดร์ อัส-สาด แห่งประเทศบราซิล และโทรุ ทาเคมิตสึ แห่งประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะประพันธ์บทเพลงสำหรับกีตาร์คลาสสิกที่มีความหลากหลาย ตอบสนองรสนิยมร่วมสมัย โดยพัฒนาบทเพลงบนพื้นฐานของความเป็นไทยอีสานของจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นบ้านเกิดของผู้วิจัย นำเทคนิคการประพันธ์เพลงและการบรรเลงกีตาร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างผลงานที่มีอัตลักษณ์และมีคุณค่าทางศิลปะ


การศึกษากลวิธีการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม "It" ประเภท Dummy Subject ในนวนิยายเรื่อง The Murder Of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ : กรณีศึกษาสำนวนแปลของพิรุณรัตน์, สุนันทา ชัยณรงค์เดชากุล Jan 2018

การศึกษากลวิธีการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม "It" ประเภท Dummy Subject ในนวนิยายเรื่อง The Murder Of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ : กรณีศึกษาสำนวนแปลของพิรุณรัตน์, สุนันทา ชัยณรงค์เดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม ‘it’ ประเภท Dummy subject ในตัวบทนวนิยาย จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และเพื่อประมวลกลวิธีการแปลจากกรณีศึกษาเรื่อง The Murder of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ และหนังสือแปลเรื่อง คดีฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์ โดยพิรุณรัตน์ เนื่องจากภาษาไทยไม่มีโครงสร้างประโยคที่เทียบเท่ากันทางความหมายกับโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์ จึงอาจเป็นปัญหาการแปลที่สำคัญได้ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่ประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม ‘it’ ประเภท Dummy subject จานวน 63 ประโยค และกลวิธีการแปลสองระดับ ได้แก่ ระดับโครงสร้างประโยคและระดับคำ ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณสรุปได้ว่า กลวิธีการแปลระดับโครงสร้างประโยคใช้การปรับโครงสร้างประโยคใหม่จำนวน 60 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 95.24 และใช้การรักษาโครงสร้างประโยคตามต้นฉบับจำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 4.76 ในการปรับโครงสร้างประโยคใหม่พบว่าผู้แปลใช้การหาประธาน หรือการปรับส่วนใด ส่วนหนึ่งของประโยคเป็นประธานมากที่สุด จำนวน 44 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 73.33 รองลงมาได้แก่การเปลี่ยนประโยคเป็นวลี ส่วนกลวิธีการแปลระดับคำใช้การเติมคำเน้นมากที่สุด จำนวน 17 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 26.98 รองลงมาได้แก่การเติมลักษณนาม ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพสรุปได้ว่า การแปลประโยคเคล็ฟต์ในนวนิยายเรื่องนี้ นักแปลใช้กลวิธี การปรับบทแปลระดับโครงสร้างประโยคและระดับคำร่วมกัน โดยไม่รักษารูปแบบโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์เสมอไป แต่ยังคงรักษาหน้าที่และเจตนาในการสื่อสารของโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวทาง การแปลที่นักแปลอาศัยการตีความและทำความเข้าใจความหมายโดยนัยที่สื่อผ่านการใช้ประโยคเคล็ฟต์เป็นหลักก่อน แล้วจึงถ่ายทอดความหมายนั้นเป็นภาษาปลายทางอย่างเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับแนวทางการแปลแบบตีความที่เดอลีลส์ (1988) นำเสนอ ทฤษฎี Skopostheorie ที่ไร้ส์และแฟร์เมียร์ (1984) นำเสนอ และทฤษฎีวัจนกรรมที่เฮอนิกช์และคุสเมาล์ (1982) นำมาใช้ในการแปล


The Development Of Vocabulary Learning Model Based On The Cognitive Theory Of Multimedia Learning, Nopthira Jawa-Ut Jan 2018

The Development Of Vocabulary Learning Model Based On The Cognitive Theory Of Multimedia Learning, Nopthira Jawa-Ut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In learning a language, vocabulary is one of the most significant factors, lying as a solid basis for learners; however, the complex system of human's cognitive processing works under many constraints. Therefore this research incorporated the Cognitive Theory of Multimedia Learning and vocabulary learning together so as to promote better and deeper understanding. Mix Methods were used for the research conduct. The purposes were to (1) develop Vocabulary Learning Model based on Cognitive Theory of Multimedia Learning (VCML), (2) investigate the effects of VCML on the learners' vocabulary achievement, (3) investigate the effects of VCML on the learners' vocabulary retention, …


Effects Of Surfactants And Thickness Of Carbon Nanotube Film On Conductive Property For Touch Screen, Thimaporn Channarong Jan 2018

Effects Of Surfactants And Thickness Of Carbon Nanotube Film On Conductive Property For Touch Screen, Thimaporn Channarong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Conductive transparent film technology has been developed extensively for electronic industry such as touch panel and so on. In this study, single-wall carbon nanotubes (SWCNTs) was chosen to disperse in acrylic resin and homogenized by surfactant. The dispersion of SWNCT is one of the key factors that strongly influences the properties of these products. Thus Hydrocarbon and Silicone surfactant types were compared. The wire-bar coating technique was used to produce a conductive film PET base. Our objectives were to study the effects of surfactants and thickness of SWCNT film on conductivity and transparency. Surfactant concentration was varied 0.1 – 2.0 …


วรรณศิลป์ อำนาจ และการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท, สุพัชรี เมนะทัต Jan 2018

วรรณศิลป์ อำนาจ และการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท, สุพัชรี เมนะทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง"วรรณศิลป์ อำนาจและการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท" มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางวรรณศิลป์ในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริทที่สัมพันธ์กับการสร้างอำนาจและการต่อสู้ทางการเมือง และศึกษาบริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมดังกล่าว กะต่าย โดนสะโสริท (1904-1959) เป็นนักต่อสู้กู้ชาติลาวในช่วงอาณานิคมฝรั่งเศส เป็นผู้บุกเบิกวงการวรรณกรรมสมัยใหม่ของลาวโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเขียนบันเทิงคดี สารคดีและงานเชิงวิชาการ ผลการวิจัยได้ข้อสรุปสามประการดังนี้ ประการแรก วรรณกรรมของกะต่ายมีวรรณศิลป์โดดเด่นเฉพาะตน ได้แก่การเสียดสียั่วล้อ การแฝงนัย การเล่นคำเล่นสำนวน เพื่อโจมตีเจ้าอาณานิคมและศัตรูทางการเมืองผ่านวรรณกรรมประเภทสารคดี อีกทั้งผสมผสานรูปแบบนิทานพื้นบ้านกับวรรณศิลป์ตะวันตกเพื่อประกอบสร้างความเป็นลาว นอกจากนี้ยังเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ตามรูปแบบตะวันตกเพื่อตอบโต้การเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวของชาวตะวันตก ประการที่สอง กะต่ายใช้วรรณกรรมเพื่อแสดงอำนาจและการตอบโต้ทางการเมืองกล่าวคือในยุคต่อสู้กู้ชาติกะต่ายใช้วรรณกรรมเพื่อวิพากษ์วิจารณ์เจ้าอาณานิคม อีกทั้งในเวลาเดียวกันก็เสนอแนวคิดโจมตีขั้วตรงข้ามทางการเมืองด้วย ประการที่สาม วรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท ปัญญาชนลาวผู้ได้รับการศึกษาในระบบฝรั่งเศส ใช้ภาษาและรูปแบบวรรณศิลป์รวมถึงแนวคิดแบบฝรั่งเศส ในขณะเดียวกันก็ผสมผสานความเป็นตะวันตกเข้ากับความเป็นพื้นบ้านลาว วรรณกรรมของเขาจึงมีลักษณะพันทางและใช้วรรณศิลป์ในรูปแบบนี้เพื่อโจมตีเจ้าอาณานิคมด้วยเช่นกัน


ภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง นิฮนจิน โอะอิน และเรื่อง นิตโต โนะ โบเก็นโอ, ชมพูนิกข์ ล้อมวัฒนธรรม Jan 2018

ภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง นิฮนจิน โอะอิน และเรื่อง นิตโต โนะ โบเก็นโอ, ชมพูนิกข์ ล้อมวัฒนธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง นิฮนจิน โอะอิน (1932) ของโอะซะระงิ จิโร และเรื่อง นิตโต โนะ โบเก็นโอ (1937) ของมินะมิ โยอิชิโร โดยเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่นในทศวรรษ 1930 จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมทั้งสองเรื่องนำเสนอภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในลักษณะที่ญี่ปุ่นเป็นมิตรกับไทยหรือสยาม และร่วมมือกันปกป้องสยามจากการรุกรานของศัตรูต่างชาติ ซึ่งมีนัยยะหมายถึงการเข้ามารุกรานแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศนักล่าอาณานิคมตะวันตก ภาพความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่ปรากฏในเรื่องสะท้อนถึงทัศนะของญี่ปุ่นต่อไทยในช่วงทศวรรษ 1930 ที่คล้ายคลึงกัน คือถูกกำหนดด้วยแนวคิดอาณานิคมนิยมแบบญี่ปุ่น หรือ "นันฌินรน" แนวคิดขยายดินแดนลงสู่ใต้ที่ส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นปรารถนาจะออกไปแสวงโชค ตั้งรกรากทำมากินในต่างแดน โดยเรื่อง นิฮนจิน โอะอิน นำเสนอภาพความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ส่วนเรื่อง นิตโต โนะ โบเก็นโอ สะท้อนภาพญี่ปุ่นกับสยามเป็นมิตรกันแบบพี่น้อง โดยญี่ปุ่นเป็นเสมือนพี่ผู้ให้ความช่วยเหลือปกป้องสยามจากการเอาเปรียบของชาติตะวันตก เน้นความร่วมมือกันเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของสองประเทศ แต่ในอีกทางหนึ่ง วรรณกรรมทั้งสองเรื่องก็นำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ญี่ปุ่นที่เหนือกว่าสยาม อันหมายถึงความพยายามในการครอบงำทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ประเทศเจ้าอาณานิคมมักใช้อ้างความชอบธรรมในการจะเข้าไปบุกเบิกครอบครองพื้นที่ แสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนอื่น นอกจากนั้น ในฐานะวรรณกรรมเยาวชน วรรณกรรมทั้ง 2 เรื่องยังมีบทบาทในการปลูกฝังแนวคิดอาณานิคมนิยมที่ถูกสอดแทรก ตอกย้ำอยู่ในตัวบทให้กับผู้อ่านซึ่งเป็นเยาวชนอีกด้วย


วัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น, ธนภัทร พิริย์โยธินกุล Jan 2018

วัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น, ธนภัทร พิริย์โยธินกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวัฒนธรรมอาหารและความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสังคมวัฒนธรรมที่ปรากฏในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยศึกษาจากวรรณคดีจำนวน 40 เรื่อง เช่น บทละครเรื่องรามเกียรติ์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทละครเรื่องอิเหนา โคลงนิราศพระยาตรัง นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี รำพันพิลาป เสภาขุนช้างขุนแผน โคลงภาพคนต่างภาษา เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่าวรรณคดีเหล่านี้ได้นำเสนอวัฒนธรรมอาหาร ทั้งในด้านประเภทอาหาร การผลิต การแสวงหาอาหาร การปรุงและการตกแต่งอาหาร การบริการอาหาร และการกินอาหาร ผลการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมอาหารที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก วัฒนธรรมอาหารเป็นสิ่งแสดงภูมิปัญญาไทย แสดงความรู้ในการเลือกสรร สร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากอาหารอย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทย ประการที่สอง วัฒนธรรมอาหารเป็นศิลปะอันประณีต แสดงความสำคัญของสุนทรียรสในการกิน ซึ่งสัมพันธ์กับสถานภาพของบุคคลทั้งผู้เสพอาหารที่เป็นชนชั้นสูงและผู้ปรุงอาหารที่ได้รับการยกย่องในฐานะศิลปิน ประการที่สาม วัฒนธรรมอาหารแสดง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งในลักษณะของการผสมผสานทางวัฒนธรรมและการแสดงความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม ภาพสะท้อนเหล่านี้สัมพันธ์กับหลักฐานและบริบททางสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทำให้อาหารกลายเป็นสิ่งบ่งบอกความมั่งคั่ง หรือสถานภาพและบทบาท ของชาติพันธุ์ต่างๆ ในสังคมที่มีผลให้มุมมองต่อคนแต่ละกลุ่มมีความต่างกัน นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าวัฒนธรรมอาหารมีบทบาทต่อการสร้างวรรณศิลป์ในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ บทบาทต่อการดำเนินเรื่อง ทั้งการสร้างปมและการคลี่คลายปมปัญหา ด้านบทบาท ในการแสดงลักษณะนิสัยตัวละคร วัฒนธรรมอาหารช่วยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แสดงความเป็นอื่นของตัวละครทั้งด้านชาติพันธุ์ ชนชั้น และถิ่นที่อยู่อาศัย และแสดงคุณลักษณะของผู้หญิง ด้านบทบาทในฐานะฉาก วัฒนธรรมอาหารทำหน้าที่หลายประการทั้งเป็นพื้นที่ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร การสร้างบรรยากาศแห่งความสุข การแสดงความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง และการแสดงวิถีชีวิตแบบไทย ส่วนบทบาทของอาหาร ในการสร้างความเปรียบ พบการใช้อาหารเป็นความเปรียบในลักษณะต่างๆ เช่น การเปรียบอาหารกับผู้หญิง การเปรียบอาหารกับความสุขสบายของชีวิต เป็นต้น เรื่องอาหารที่ปรากฏในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมไทยในยุคสมัยของการสร้างงาน แสดงให้เห็นความสำคัญของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในฐานะสื่อบันทึกและสร้างวัฒนธรรมอาหารจากการนำเสนอวัฒนธรรมอาหารอย่างมีวรรณศิลป์ นอกจากนี้ยังแสดงอัจฉริยภาพของกวีที่ทำให้วรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเด่นต่างจากยุคก่อนหน้า