Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 133

Full-Text Articles in Arts and Humanities

The Effects Of English Accented Speeches, Specific Content Knowledge, And Test-Taking Strategies On Listening Comprehension Of High And Low Efl Achievers, Pornchanok Sukpan Jan 2017

The Effects Of English Accented Speeches, Specific Content Knowledge, And Test-Taking Strategies On Listening Comprehension Of High And Low Efl Achievers, Pornchanok Sukpan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to examine (1) the effects of three main variables: English-accented speeches, specific content knowledge, and test-taking strategies on listening comprehension of high and low EFL learners. It also investigated (2) the relationship among these three variables on listening comprehension of high and low EFL achievers, and (3) the attitudes of both high and low EFL achievers towards English-accented speech. Eighty third-year university students from the Faculty of Communication Arts were purposively selected and classified into two different English proficiency groups: high and low regarding the z score of ±1 on the average grades of two prerequisite English …


Threshold Of Luminance Contrast And Chromaticity Contrast For Subjects Wearing Simulated Low Vision Glasses, Mintra Manavutt Jan 2017

Threshold Of Luminance Contrast And Chromaticity Contrast For Subjects Wearing Simulated Low Vision Glasses, Mintra Manavutt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As reported by WHO in 2010, there are 246 million people with low vision (total population in the world is 6,737 million). The proper environment is important for doing their daily activities not only to be safe and convenient but also to improve the quality of life. This research investigated the threshold of luminance contrast and chromaticity contrast for subjects wearing simulated low vision glasses. The subjests are color normal vision wearing simulated low vision glasses with visual acuity (VA) ranging between 0.05 and 0.3: narrow vision (NV), blur vision (BL), occlusion vision (OLS) and combination of blur and occlusion …


Preference In Hiring Interpreters- An Insight Into Recruiters' Persective A Case Study On Recruiters In A German Internatinal Organisation In Thailand, Nalina Hiranprueck Jan 2017

Preference In Hiring Interpreters- An Insight Into Recruiters' Persective A Case Study On Recruiters In A German Internatinal Organisation In Thailand, Nalina Hiranprueck

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research seeks to build upon the issue of recruiter's expectation toward interpreters, which is the realm less explored. As evident in previous research, criteria and expectations towards interpreters deviate among different stakeholders and user groups with different backgrounds. Though the major findings remained quite similar when it comes to the main criteria, the level of expectations is largely less among users of interpreting services, when compared to the interpreters. Thus, one can expect that recruiters are likely to anticipate differently than other stakeholders. This study is designed to understand the underlying rationality of interpreter recruiters in their choice of …


การถ่ายทอดความหมายของอวัจนภาษาโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบ (Multimodal Analysis) เพื่อสร้างทางเลือกในการแปลหนังสือการ์ตูน เรื่องอะเวนเจอร์ส : สการ์เลต วิช, เอกเทศ อินทกาญจน์ Jan 2017

การถ่ายทอดความหมายของอวัจนภาษาโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบ (Multimodal Analysis) เพื่อสร้างทางเลือกในการแปลหนังสือการ์ตูน เรื่องอะเวนเจอร์ส : สการ์เลต วิช, เอกเทศ อินทกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลตัวบทที่คัดสรรจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง อะเวนเจอร์ส : สการ์ เลต วิช (Avengers: Scarlet Witch) โดยเน้นที่การถอดความหมายของอวัจนภาษาโดยใช้การ วิเคราะห์หลากรูปแบบ (multimodal analysis) ร่วมกับกลวิธีการแปลตัวบทชนิดหนังสือการ์ตูนที่ เสนอโดยมิฮาล โบโรโด (Michał Borodo) 3 แบบ กล่าวคือ กลวิธีการแปลแบบลด (condensation) กลวิธีแบบเพิ่ม (addition) และกลวิธีแบบแปลง (transformation) ทั้งนี้เพื่อสร้างทางเลือกในการแปล สำหรับแก้ปัญหาด้านเทคนิคและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดของการ วิเคราะห์หลากรูปแบบและกลวิธีการแปลดังกล่าวช่วยให้แปลตัวบทที่คัดสรรได้สำเร็จ มีกรอบ ข้อความที่ใช้กลวิธีการแปลแบบลด 92 กรอบ แบบเพิ่ม 49 กรอบ แบบแปลง 104 กรอบ และที่ใช้ กลวิธีแบบตรงตัวหรือตีความ (ไม่ใช่กลวิธีแบบลด เพิ่ม หรือ แปลง) 339 กรอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในบรรดา 3 กลวิธีการแปลที่เสนอไปนั้น มีการใช้แบบแปลงมากที่สุด เพราะเป็นการผสมผสานกัน ระหว่างกลวิธีแบบลดและแบบเพิ่ม ไม่เน้นไปในทิศทางใดเพียงทิศทางเดียว มีความยืดหยุ่น เอื้อให้ ผู้แปลลดหรือเพิ่มบทแปลได้ตามความประสงค์ แม้ว่าการแปลตัวบทที่คัดสรรนี้จะสำเร็จและ ได้ผลดีเป็นส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาในต้นฉบับบางส่วนที่แนวคิดและกลวิธีดังกล่าวยังไม่สามารถ แก้ปัญหาที่พบได้ทั้งหมด เช่นปัญหาทางเทคนิค เพราะยังได้บทแปลที่มีความยาวมาก ยังไม่สามารถ บรรจุลงในกรอบข้อความได้ อีกทั้งการแปลโดยใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบนั้นมีความเป็นอัต วิสัยทำให้การถอดความหมายจากต้นฉบับเดียวกันนั้นมีความเป็นไปได้หลากหลาย


การศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube กรณีศึกษา : รายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf's English Room และรายการ Hello English, ณัฐกุล อินทร์มีสุข Jan 2017

การศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube กรณีศึกษา : รายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf's English Room และรายการ Hello English, ณัฐกุล อินทร์มีสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพในรายการต่าง ๆ ต้นฉบับที่นำมาศึกษาคือรายการ ภายใต้ช่องรายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf’s English Room (ผ่านทางช่อง GMM25) และรายการ Hello English (ผ่านทางช่อง NJ Digital) จำนวน 30 ตอนซึ่งออกอากาศในพ.ศ. 2560 การวิจัยฉบับนี้ได้นำบทบรรยายใต้ภาพของทั้งสามรายการมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์รูปแบบบทบรรยายใต้ภาพซึ่งทำโดยมือสมัครเล่น การใช้บทบรรยายใต้ภาพในการช่วยสอนภาษา และการทำหน้าที่สื่อพลเมืองของรายการ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพ อันได้แก่ ทัศนคติของผู้ผลิต กลุ่มผู้ชม แนวโน้มและกระแสของสังคม และ ผลตอบรับและข้อเสนอแนะของผู้รับชมรายการ ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสามรายการนั้นมีการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยทั้งสามรายการมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของบทบรรยายใต้ภาพ สี ขนาด การเพิ่มข้อมูลและการใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ภายในบทบรรยายใต้ภาพ โดยมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มบทบาทและหน้าที่ของบทบรรยายใต้ภาพให้เป็นเครื่องมือในการสอนภาษาเพิ่มเติมโดยไม่ยึดตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับปัจจัยอื่นที่มีผลต่ออการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพนั้น จากการศึกษาพบว่า ทั้งสามรายการต่างมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของคนทั่วไปในเรื่องการเรียนภาษา รวมทั้งทำให้ภาษาอังกฤษนั้นเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยมีกลุ่มผู้ชมเป้าหมายเหมือนกัน คือการเข้าถึงคนหมู่มากให้ได้มากที่สุดและหยิบยกประแสสังคมในขณะนั้นขึ้นมาใช้ อีกทั้งยังมีการเปิดรับผลตอบรับและความคิดเห็นของผู้ชมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ การศึกษายังค้นพบอีกว่า ทั้งสามรายการมีรายละเอียดของรูปแบบรายการที่แตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขและเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย


ประมวลศัพท์เรื่องระบบส่งกำลังรถยนต์, พัชรี มณีเนตร Jan 2017

ประมวลศัพท์เรื่องระบบส่งกำลังรถยนต์, พัชรี มณีเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีและกระบวนการทางศัพทวิทยา ตลอดจนระเบียบวิธีการประมวลศัพท์ และนำความรู้ที่ได้รับมาจัดทำประมวลศัพท์เรื่องระบบส่งกำลังรถยนต์ ประมวลศัพท์อันเป็นผลจากการวิจัยนี้มุ่งให้เกิดประโยชน์ในฐานะเครื่องมือสำหรับนักแปลในแวดวงยานยนต์ รวมทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป ในการประมวลศัพท์ครั้งนี้ ผู้จัดทำได้นำเอาทฤษฎีและแนวทางในการจัดทำประมวลศัพท์ที่นักศัพทวิทยาได้เสนอไว้มาประยุกต์ใช้ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 6 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดหัวข้อ วัตถุประสงค์ และขอบเขตในการจัดทำประมวลศัพท์ (2) ศึกษาทฤษฎี และระเบียบวิธีการทำประมวลศัพท์ (3) สร้างคลังข้อมูลภาษา ดึงและคัดเลือกศัพท์จากคลังข้อมูลภาษา (4) กำหนดมโนทัศน์สัมพันธ์ของศัพท์ทั้งหมด (5) จัดทำบันทึกข้อมูลศัพท์เบื้องต้น (6) จัดทำบันทึกข้อมูลศัพท์ ประมวลศัพท์เรื่องระบบส่งกำลังรถยนต์นี้ ประกอบด้วยศัพท์จำนวน 31 คำ โดยนำเสนอศัพท์ตามกลุ่มมโนทัศน์สัมพันธ์ ประกอบด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ศัพท์เทียบเคียงภาษาไทย ประเภททางไวยากรณ์ หมวดเรื่อง คำนิยาม บริบท หมายเหตุ รูปศัพท์อื่น ๆ และข้อมูลอ้างอิง


การแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ James Finn Garner, กมลสรร ทวีวงษ์ Jan 2017

การแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ James Finn Garner, กมลสรร ทวีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นศึกษาการแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ เจมส์ ฟินน์ การ์เนอร์ สมมติฐานในการวิจัยคือ นอกจากทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้องแล้ว การแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ เจมส์ ฟินน์ การ์เนอร์ ควรอาศัยทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ (Discourse Analysis) ของ ปีเตอร์ นิวมาร์ค ทฤษฎี Interpretive Approach ของ ฌอง เดอลีล แนวทางการแปลทางสตรีนิยมของ มาซาดิเออร์-เคนนี่, ลูอีส ฟอน โฟลโทว์, เชอร์รี ไซมอน, แนวคิดเสียดสีของ พอล ซิมป์สัน, แนวคิดแฝงนัยของ ลินดา ฮัตเชิน เพื่อแปลตัวบทคัดสรรจำนวน 26 หน้า ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบในการแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทมีดังนี้ (1) การแปลคำสร้างใหม่ (2) การแปลคำเป็นกลางทางเพศสภาพ (3) การแปลคำคุณศัพท์ที่ไม่ใส่อคติ (4) การแปลข้อความเสียดสีที่อยู่ในทำเนียบภาษา (register) ที่เป็นทางการ ผิดจากบริบท กลวิธีการแปลที่ผู้วิจัยใช้ คือ (1) แปลการเสียดสี คำแฝงนัย ให้แปลกแยกชัดเจน โดดเด่นออกมาจากตัวบทตามแนวคิดของ พอล ซิมป์สัน และ ลินดา ฮัตเชิน (2) ใส่คำนำผู้แปล ตามกลวิธีของ ลูอีส ฟอน โฟลโทว์


การแปลนิยายภาพ : กรณีศึกษาเรื่องการแปล Saga ของ Brian K. Vaughan และ Fiona Staples จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย, สุทธิณี เทพพันธ์กุลงาม Jan 2017

การแปลนิยายภาพ : กรณีศึกษาเรื่องการแปล Saga ของ Brian K. Vaughan และ Fiona Staples จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย, สุทธิณี เทพพันธ์กุลงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหากลวิธีการแปลนิยายภาพเรื่องซากา (Saga) ของ ไบรอัน เค วอว์น (Brian K. Vaughan) และฟิโอนา สเตเปิลส์ (Fiona Staples) เนื่องจากนิยายภาพ แตกต่างจากการแปลหนังสือทั่วไปตรงที่นอกจากการถ่ายทอดความหมายโดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านสำนวนภาษาหรือวัฒนธรรมแล้ว ภาพก็เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งนักแปล ต้องพิจารณาด้วย จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนคำในบทแปลให้สอดคล้องกับภาพที่ปรากฎเพื่อให้ฟังดูเป็นธรรมชาติในภาษาปลายทาง ไม่ขัดกับสิ่งที่เห็นในภาพหรือสีหน้าของตัวละคร ความท้าทายอีกประการหนึ่งคือการจัดวางจำนวนคำในบทแปลให้พอดีกับกรอบคำพูดซึ่งมีขนาดจำกัดในต้นฉบับ ด้วยเหตุนี้ ผู้แปลจึงสนใจศึกษาประเด็นดังกล่าวโดยอาศัยทฤษฏีการแปลที่เกี่ยวข้องคือกรอบการวิเคราะห์และแปลนิยายภาพของเคลาส์ ไคน์เดิล (Klaus Kaindl) และใช้ทฤษฏีการวิเคราะห์หลากรูปแบบ (Multimodal Theory) ตามหลักการและแนวทางของมิคัล โบโรโด (Michal Borodo) ปรับเปลี่ยนวัจนภาษาจากต้นฉบับให้ได้บทแปลซึ่งเหมาะสมกับอวัจนภาษาที่ปรากฎเพื่อให้ได้บทแปลที่เหมาะสมกับภาพที่ปรากฎ ผลการวิจัยคือเมื่อปรับเปลี่ยนคำที่เป็นประเด็นในภาษาปลายทางตามประเภทการปรับเปลี่ยนที่โบโรโดได้แบ่งไว้ก็ทำให้ได้บทแปลที่เข้ากับทั้งภาพและบริบทในหน้านั้น อีกทั้งได้รับการปรับให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้และวัฒนธรรมของผู้อ่านชาวไทย


การแปลหนังสือสำหรับเด็กแระเภทหนังสือภาพเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicles ของ Rod Green และ Stephen Biesty, ช่อแก้ว ดะห์ลัน เช็ค Jan 2017

การแปลหนังสือสำหรับเด็กแระเภทหนังสือภาพเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicles ของ Rod Green และ Stephen Biesty, ช่อแก้ว ดะห์ลัน เช็ค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการแปลตัวบทที่เป็นหนังสือสำหรับเด็ก ประเภทหนังสือภาพที่มีแผ่นเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicle เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาแนวทางการแปลที่เหมาะสม และให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร อันเป็นการทำให้ตัวบทแปลมีอรรถรสที่สามารถเทียบเคียงกับตัวบทต้นฉบับได้ ความรู้และทฤษฎีที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมเด็กที่ใช้รูปภาพ ความรู้เกี่ยวกับหนังสือภาพที่มีแผ่นเปิด-ปิด ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย การวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ด และทฤษฎีหลากรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการแปลสื่อที่เป็นหนังสือภาพ ผลการศึกษาพบว่า ความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ข้างต้นได้ช่วยให้ผู้วิจัยมีความเข้าใจในตัวบทต้นฉบับ รวมทั้งมองเห็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ทำให้ผู้วิจัยสามารถแปลหนังสือเล่มนี้ออกมาโดยใช้ภาษาที่เหมาะสม จัดเรียงเนื้อหาบนหน้ากระดาษโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปภาพและตัวหนังสือ เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ผู้จัดทำตั้งเอาไว้


การแปลนวนิยายเรื่อง Beloved : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, ประภาศรี เจตทรงกุล Jan 2017

การแปลนวนิยายเรื่อง Beloved : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, ประภาศรี เจตทรงกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลนวนิยายซึ่งใช้รูปแบบการนำเสนอเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดสารในต้นฉบับ โดยนำนวนิยายเรื่อง Beloved มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อแสวงหาแนวทางการแปลและวิธีการแก้ปัญหาในการแปลที่เหมาะสมกับตัวบทลักษณะดังกล่าว กรอบทฤษฎีหลักซึ่งนำมาใช้ในการศึกษาตัวบทต้นฉบับ ได้แก่ การแปลวรรณกรรมตามแนวคิดของฟอร์ตูนาโต อิสราแอล และทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้นำเอาทฤษฎีการแปลพื้นฐานอื่นๆ มาประกอบการศึกษาตัวบทต้นฉบับด้วย ซึ่งได้แก่ ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ ทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมาย การแปลวรรณกรรมตามแนวคิดของวัลยา วิวัฒน์ศร และทฤษฎีวัจนกรรม หลังจากที่ได้นำทฤษฎีข้างต้นมาประยุกต์ใช้แล้ว พบว่า แนวทางการแปลวรรณกรรมของฟอร์ตูนาโต อิสราแอลและทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันในการแปลและแก้ปัญหาที่พบในตัวบทประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี


Effects Of Different First-Person Pronouns And Politeness Sentence-Ending Particles In English-To-Thai Consecutives Interpretation : A Case Study, Thornwarat Laojariyakun Jan 2017

Effects Of Different First-Person Pronouns And Politeness Sentence-Ending Particles In English-To-Thai Consecutives Interpretation : A Case Study, Thornwarat Laojariyakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With various first-person pronouns to choose from, interpreters who render English into Thai language sometimes find themselves struggling to determine the most suitable pronoun, especially when they and their speakers are of the opposite sex. This is because the limitations of each pronoun concerning genders of word and the level of formality. Conducted in Le Cordon Bleu Dusit Culinary School (LCBD), this pilot case study explored whether different first-person pronouns as well as presence and absence of politeness sentence-ending particles, a characteristic of Thai language, affected Thai users' preference in consecutive interpreting from English into Thai. Three experiments in cooking …


Assessing The Quality Of English-To-Thai Machine Interpreting : Translating Google Translate, Pira Pewnim Jan 2017

Assessing The Quality Of English-To-Thai Machine Interpreting : Translating Google Translate, Pira Pewnim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to assess the quality and potential of Google Translate when used as an English-to-Thai Machine Interpreting (MI) tool. The paper explores MI’s distinct definitions and terminology as well as its relationship to other relevant technologies, i.e. Machine Translation (MT), Automatic Speech Recognition (ASR), and Text-to-Speech (TTS). Four five-minute English-language recordings from the European Commission's Directorate General for Interpretation Speech Repository were selected as samples for the MI to interpret. Human evaluation was used to evaluate the Comprehensibility, Accuracy, and Usability of MI with five final-year interpreting students and six professional interpreters performing as judges. Results show that …


การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย มันทนา ก่อพานิชกุล, มันทนา ก่อพานิชกุล Jan 2017

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย มันทนา ก่อพานิชกุล, มันทนา ก่อพานิชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการบรรเลงเปียโน โดยผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก บทประพันธ์สำหรับการแสดงในครั้งนี้คัดเลือกมาจากยุคสมัยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้แสดงจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ การตีความบทประพันธ์ การฝึกซ้อม การถ่ายทอดอารมณ์ และพัฒนาทักษะในการบรรเลง โดยผู้แสดงได้ทำการคัดเลือกบทเพลงสำหรับการแสดงครั้งนี้ไว้ 4 บทเพลงดังนี้ 1. Le Rappel Des Oiseaux ผลงานการประพันธ์ของ Jean-Philippe Rameau 2. Miroirs ผลงานการประพันธ์ของ Maurice Ravel 3. Trois Pièces for Piano ผลงานการประพันธ์ของ Francis Poulenc 4. Images (Book 1) ผลงานการประพันธ์ของ Claude Debussy การแสดงในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 14.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรีธงสรวง (Tongsuang Recital Hall) ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 54/1 ถนนสุขุมวิทซอย 3 กรุงเทพมหานคร การแสดงทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 83 นาที


Effect Of Overall Equipment Effectiveness Improvement Of Corrugating Machine Using Total Quality Management On Carbon Footprint Of Corrugated Board., Long Giang Nguyen Jan 2017

Effect Of Overall Equipment Effectiveness Improvement Of Corrugating Machine Using Total Quality Management On Carbon Footprint Of Corrugated Board., Long Giang Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Environmental friendly production is an emerging trend in industrial production. Enhancing environmental protection and ensuring company's profitability have gained great attention from manufacturers. The application of Overall Equipment Effectiveness (OEE) using Total Quality Management (TQM) to reflect efficiency of production has been widely implemented in the manufacturing process. However, the full advantage of OEE using TQM techniques as a measure to simultaneously facilitate reduction of carbon dioxide (CO2) emissions and to sustain the existing profitability has not been utilized. This study aimed to investigate the application of OEE using TQM techniques to improve the manufacturing process of corrugated board production …


กลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทย: กรณีศึกษาคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน, รัมภ์รดา กองช้าง Jan 2017

กลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทย: กรณีศึกษาคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน, รัมภ์รดา กองช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทย กับปัจจัยเรื่องชนิดของถ้อยคำนัยผกผัน และปัจจัยเรื่องเพศ ในกรณีที่คู่สนทนามีสถานภาพเท่ากัน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากคำตอบในแบบสอบถามแบบเติมเต็มบทสนทนาชนิดให้เขียนตอบ (Written Discourse Completion task หรือ WDCT) ซึ่งประกอบด้วยสถานการณ์ที่มีการใช้ถ้อยคำนัยผกผัน 10 สถานการณ์ แบ่งเป็นสถานการณ์ที่มีการใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชัน (sarcastic irony) และสถานการณ์ที่มีการใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อ (humourous irony) กรณีละ 5 สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่าง เพศชาย 200 คน เพศหญิง 200 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน และข้อมูลจากการบันทึกการสนทนาในชีวิตประจำวันแบบเผชิญหน้า จำนวน 20 สถานการณ์ ผลการวิจัยพบว่า การตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทยมี 3 รูปแบบตามลำดับความถี่ในการปรากฏ ได้แก่ การตอบคู่สนทนาโดยใช้ถ้อยคำ การตอบคู่สนทนาโดยวิธีอื่น และการไม่ตอบคู่สนทนา กลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชันโดยใช้ถ้อยคำ แบ่งเป็น 5 กลวิธีใหญ่ 13 กลวิธีย่อย เรียงตามลำดับความถี่ ได้แก่ 1) กลวิธีการตอบแบบสุภาพ ประกอบด้วย 3 กลวิธีย่อย ได้แก่ การขอโทษ การชี้แจงเหตุผล และการแสดงความรับผิดชอบ การหยอกล้อ 2) กลวิธีการตอบกลับแบบไม่สุภาพ ประกอบด้วย 5 กลวิธีย่อย ได้แก่ การใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชัน การบริภาษด้วยคำหยาบ การตำหนิ การตักเตือน และการปฏิเสธ 3) กลวิธีการหยอกล้อกลับไป ประกอบด้วย 2 กลวิธีย่อย ได้แก่ การใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อ และการหยอกล้อ 4) กลวิธีการพยายามยุติการสนทนา ประกอบด้วย 2 กลวิธีย่อย คือ การตอบแบบสั้น และการเปลี่ยนประเด็นสนทนา และ 5) กลวิธีการถามย้ำเจตนาผู้พูด ส่วนกลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อโดยใช้ถ้อยคำ แบ่งเป็น 4 กลวิธีใหญ่ 11 กลวิธีย่อย …


คัมภีร์ตรีนิสิงเห : การตรวจสอบชำระและบทบาทในสังคมไทย, ณัฐธัญ มณีรัตน์ Jan 2017

คัมภีร์ตรีนิสิงเห : การตรวจสอบชำระและบทบาทในสังคมไทย, ณัฐธัญ มณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิชาเลขยันต์เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาไสยศาสตร์ในประเทศไทย เลขยันต์มีบทบาทในวิถีชีวิตของผู้คนจากอดีตถึงปัจจุบัน การศึกษาวิชาไสยศาสตร์แบบโบราณ ผู้ศึกษาจะต้องศึกษาคัมภีร์ลบผงเป็นอย่างแรก เริ่มต้นด้วยคัมภีร์ปถมัง จากนั้นจึงศึกษาคัมภีร์ลบผงสำคัญอีก 4 คัมภีร์ เนื่องจากคัมภีร์ลบผงเป็นบาทฐานสำคัญในการเข้าใจระบบเลขยันต์ คัมภีร์ตรีนิสิงเหเป็นหนึ่งในคัมภีร์ลบผงสำคัญทั้ง 5 คัมภีร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเลข การแทนค่าตัวเลขและที่มาของตัวเลขต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจเลขที่ใช้ในระบบเลขยันต์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง คัมภีร์ตรีนิสิงเหเป็นคัมภีร์ที่หลงเหลือต้นฉบับอยู่น้อยที่สุด การสืบทอดองค์ความรู้ก็เหลืออยู่น้อยเช่นกัน การตรวจชำระต้นฉบับจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาองค์ความรู้ไว้ไม่ให้สูญหาย คัมภีร์ตรีนิสิงเหประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ บทนมัสการครู การทำอัตราทวาทสมงคล ที่มาของอัตราทวาทสมงคล การคูณหารอัตราทวาทสมงคลและอุปเท่ห์ ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้คัดเลือกต้นฉบับคัมภีร์ตรีนิสิงเหจำนวน 6 สำนวนมา ปริวรรตและตรวจสอบชำระ เพื่อศึกษาลักษณะภาษา เนื้อหา โครงสร้างและแนวคิดสำคัญในเนื้อหา โดยเฉพาะแนวคิดทางพุทธศาสนา และบทบาทสำคัญที่มีต่อสังคมไทย คัมภีร์ตรีนิสิงเหไม่เพียงประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับศาสนา แต่ยังมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ด้านวิทยาการความรู้โบราณ ด้านศาสนาและความเชื่อ ด้านสังคมและวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันความสำคัญของคัมภีร์ตรีนิสิงเหต่อสังคมไทย และความจำเป็นในการศึกษาและอนุรักษ์องค์ความรู้ของคัมภีร์นี้เอาไว้


การสร้างสรรค์เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถา, บุญเลิศ กร่างสะอาด Jan 2017

การสร้างสรรค์เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถา, บุญเลิศ กร่างสะอาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถานี้ เป็นงานวิจัยที่ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถา และเพื่อสร้างองค์ความรู้ในกระบวนการสร้างสรรค์เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถา พบว่า เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถา ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ เพลงช้า เพลงเร็ว และรัวเพลงฉิ่ง ใช้สำหรับบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ ในงานพิธีกรรมมงคล เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถา เป็นเพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง มีโครงสร้างตามขนบดุริยางคศิลป์ไทย ประพันธ์จากบทสวดชัยมงคลคาถา ใช้กลวิธีการประพันธ์ตามขนบ คือ การประพันธ์ทำนองจากต้นราก การยืดขยาย การยุบ การทอน และการประพันธ์แบบอัตโนมัติ ลักษณะพิเศษในการสร้างสรรค์เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถาคือ การประพันธ์ทำนองเพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง ขึ้นใหม่จากบทสวดมนต์ โดยใช้รูปแบบมือฆ้องวงใหญ่ สื่อถ้อยคำ ความหมาย ตลอดจนนัยแห่งหลักธรรมในพระพุทธศาสนา


แนวทางการออกแบบแฟชั่นเครื่องหนังส่งออกประเทศญี่ปุ่น : การสร้างสรรค์อัตลักษณ์หัตถกรรมไทยในรูปแบบอาวองท์-การ์ด หลังยุคสมัยใหม่, พรนารี ชัยดิเรก Jan 2017

แนวทางการออกแบบแฟชั่นเครื่องหนังส่งออกประเทศญี่ปุ่น : การสร้างสรรค์อัตลักษณ์หัตถกรรมไทยในรูปแบบอาวองท์-การ์ด หลังยุคสมัยใหม่, พรนารี ชัยดิเรก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นเครื่องหนังในตลาดโลกมีการแข่งขันด้านภาพลักษณ์สินค้าที่สูงมาก การส่งออกสินค้าประเภทนี้ไปประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ในระดับสากลให้มากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบแฟชั่นสินค้าที่สะท้อนถึงตัวตนของสินค้าเครื่องหนังไทยในรูปลักษณ์ใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการนำเสนอ2แนวคิดหลักที่สอดคล้องกับรสนิยมวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นได้แก่ด้านอัตลักษณ์ไทยในงานหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ผสานกับแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะและการออกแบบแฟชั่นตามแนวทางอาวองท์-การ์ดหลังยุคสมัยใหม่ ด้วยการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ วิเคราะห์ เชื่อมโยงกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การออกแบบแฟชั่นสินค้าเครื่องหนัง กลุ่มเป้าหมาย แนวโน้มแฟชั่น และตัวอย่างงานออกแบบสินค้าแบรนด์เนม ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามกับสตรีญี่ปุ่นอายุ20-45ปี จากการศึกษาพบว่า ด้านอัตลักษณ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ มีองค์ประกอบด้านการออกแบบที่สำคัญคือ รูปทรง โครงสร้าง สี ลวดลายและวัสดุ ด้านแนวคิดอาวองท์-การ์ดหลังยุคสมัยใหม่ มีแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานเน้นในด้านรูปแบบ เทคนิค วัสดุที่ใช้และการสื่อความหมาย และเพื่อให้ได้รูปแบบของสินค้าแฟชั่นเครื่องหนังส่งออกที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมมากที่สุดกับสไตล์การแต่งตัวของกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มที่สำคัญได้แก่ กลุ่มแคชวล และกลุ่มครีเอทีฟ ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบEDFR ด้วยการตัดสินด้านภาพลักษณ์สินค้าอีกครั้งจากคณะผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาเป็นคอลเลคชั่นสินค้าแฟชั่นเครื่องหนังที่มีรูปแบบล้ำสมัย มีเอกลักษณ์จากทุนวัฒนธรรมเดิม ต่อยอด เพิ่มรายได้การส่งออกให้มากขึ้น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนด้านธุรกิจสินค้าส่งออกเชิงสร้างสรรค์อีกด้วย


การออกแบบโฆษณาส่งเสริมสังคมสําหรับปัญหาสังคมที่มีอิทธิพลต่อมิลเลนเนียลเจนเนอเรชั่น, อภินันทน์ สุมทุมพฤกษ์ Jan 2017

การออกแบบโฆษณาส่งเสริมสังคมสําหรับปัญหาสังคมที่มีอิทธิพลต่อมิลเลนเนียลเจนเนอเรชั่น, อภินันทน์ สุมทุมพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบโฆษณาส่งเสริมสังคมสำหรับปัญหาสังคมที่มีอิทธิพลต่อมิลเลนเนียลเจนเนอเรชั่น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อค้นหาปัญหาสังคมที่มีอิทธิพลต่อมิลเลนเนียลเจอเนอเรชั่น 2) เพื่อค้นหาหลักการออกแบบโฆษณาส่งเสริมสังคมที่มีความเหมาะสมกับมิลเลนเนียลเจนเนอเรชั่น ประกอบด้วยกรอบทฤษฎีการกำหนดวัตถุประสงค์ (Purpose of Awareness) กลยุทธ์การสื่อสาร (Communication Strategies) การใช้จุดจับใจ (Advertising Appeal) และการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ (Creative Execution) และเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือการวิจัยประเภทแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) จากกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 18-38 ปี จำนวน 239 คน เพื่อจัดลำดับความสนใจในปัญหาสังคม และการวิจัยแบบสนทนากลุ่ม (Focus Group) 7 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน เพื่อคัดเลือกผลงานโฆษณาที่สามารถสร้างการรับรู้และการตอบสนองด้านอารมณ์และพฤติกรรม จากผลงานโฆษณาช่วงปี ค.ศ. 2011 ถึง ค.ศ. 2017 ที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติจำนวน 328 ชิ้นงาน และทำการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางการออกแบบโฆษณา จากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านโฆษณาที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 7 ปี จำนวน 15 ท่าน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทำการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ ในการออกแบบโฆษณาส่งเสริมสังคม ผลวิจัยพบว่า 1) ปัญหาสังคมที่มิลเลนเนียลเจนเนอเรชั่นมีความสนใจ 14 ประเด็นปัญหา อาทิ ปัญหาการศึกษา ปัญหาอาชญากรรมและความรุนแรง ปัญหาความเจ็บป่วยทางจิต 2) แนวทางการออกแบบโฆษณาส่งเสริมสังคมสำหรับมิลเลนเนียลเจนเนอเรชั่น การกำหนดวัตถุประสงค์การโฆษณา จำนวน 3 วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร จำนวน 14 กลยุทธ์ อาทิ กลยุทธ์การทำให้มีความรู้สึกไม่ดีถ้าตนไม่ได้ปฏิบัติตาม กลยุทธ์การใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ส่งสารโน้มน้าวไปในทางลบ กลยุทธ์ด้านศีลธรรม การใช้จุดจับใจ จำนวน 23 รูปแบบ อาทิ ด้านความรู้สึกผิด ด้านความกลัว ด้านความเห็นอกเห็นใจ การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 19 รูปแบบ อาทิ การใช้วิธีเปรียบเทียบแบบอุปมาอุปไมย การเปลี่ยนมุมมอง การใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมาย เป็นต้น


การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่าง พ.ศ. 2521-2532, กฤตวิชญ์ ปิ่มไพบูลย์ Jan 2017

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่าง พ.ศ. 2521-2532, กฤตวิชญ์ ปิ่มไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลไทยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างพ.ศ. 2521-2532 ภายใต้กรอบของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกระบวนการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงโดยมีเป้าหมายในการสร้าง "ทัศนคติที่ถูกต้องในความเป็นคนไทย" และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องที่โดยเฉพาะกลุ่มชาวมุสลิม การพัฒนาดังกล่าวก่อให้เกิดการขยายตัวในการใช้ภาษาไทยและการผ่านระบบการศึกษาแบบทางการในกลุ่มมุสลิมรุ่นใหม่ การขยายตัวของระบบชลประทานเพื่อแก้ปัญหาทางการเกษตร และการขยายตัวของหัตถอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายในการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น ทั้งยังเกิดการเชื่อมพื้นที่ตอนในของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าด้วยกันผ่านการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ในขณะเดียวกันกระบวนการพัฒนาของรัฐได้รับการต่อต้านโดยกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐ คือกลุ่ม "ขบวนการโจรก่อการร้าย" หรือ "ขจก." โดยเคลื่อนไหวตอบโต้การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมผ่านการคุกคามครูและโรงเรียนของรัฐ การโจมตีกลุ่มทุนในพื้นที่ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาของรัฐ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายพัฒนาของรัฐ และเคลื่อนไหวก่อความรุนแรงบนเส้นทางคมนาคมที่รัฐสร้างขึ้น กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อย่างกว้างขวาง แต่ในทางตรงข้ามการดำเนินการดังกล่าวก็เป็นแรงกระตุ้นที่นำไปสู่การต่อต้านรัฐไทยที่เพิ่มมากขึ้นด้วย


ปัญหาความไม่เสมอภาคในประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง, อรรคเดช แสงจันทร์ Jan 2017

ปัญหาความไม่เสมอภาคในประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง, อรรคเดช แสงจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาในทฤษฎีประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรองในแง่ของความเสมอภาคเป็นสำคัญ โดยการศึกษาถึงข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้งของกระบวนการร่วมไตร่ตรองที่อาจสร้างผลกระทบต่อสังคมประชาธิปไตย จากการศึกษาพบว่าความเชื่อที่ว่ากระบวนการร่วมไตร่ตรองนั้นเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองมากที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กระบวนการร่วมไตร่ตรองเองมีกลไกบางประการในที่สร้างเงื่อนไขในการผูกขาดอำนาจซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประชาธิปไตย มีข้อเสนอหนึ่งที่มองว่ากระบวนการร่วมไตร่ตรองเป็นกระบวนการที่สมควรหลีกเลี่ยงเพื่อรักษาความเป็นประชาธิปไตยในอุดมคติ หากแต่ผู้เขียนมีความเห็นว่ากระบวนการร่วมไตร่ตรองที่มีความพยายามในการสร้างกระบวนการที่ใช้เหตุผลในฐานของความเสมอภาคและเสรีภาพนั้นเป็นสิ่งที่สมควรแก่การรักษามากกว่าละทิ้งออกจากสังคม โดยแนวคิดรูปแบบการร่วมไตร่ตรองอ้างอิงถึงแนวคิดของ แอนโทนี่ ไซมอน ลาเดน


การจัดการแสดง แสง เสียง ชุด “พนมรุ้งมหาเทวาลัย”, วิลาสินี น้อยครบุรี Jan 2017

การจัดการแสดง แสง เสียง ชุด “พนมรุ้งมหาเทวาลัย”, วิลาสินี น้อยครบุรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การจัดการแสดง แสง เสียง ชุด "พนมรุ้งมหาเทวาลัย" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการจัดการแสดงแสง เสียง ชุด "พนมรุ้งมหาเทวาลัย" ในประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2559 การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร วารสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการลงภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ ผลการศึกษาพบว่าการแสดงแสง เสียง ในประเทศไทยเกิดจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 โดยกรมศิลปากรร่วมกับกองทัพเรือที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กระทั่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดการแสดงแสง เสียง ชุด "รุ่งอรุณแห่งความสุข" ขึ้นที่จังหวัดสุโขทัย กิจกรรมดังกล่าวจึงได้รับความนิยมและเป็นที่แพร่หลายรวมถึงจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งในขณะนั้นนายพร อุดมพงษ์ (ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์) มีความคิดริเริ่มให้จัดประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งขึ้นส่งผลให้เกิดการแสดงแสง เสียง ชุด "พนมรุ้งมหาเทวาลัย" ในปี พ.ศ. 2534 จัดแสดง ณ สถานที่จริง เนื้อเรื่องอิงประวัติศาสตร์ความเป็นมาการสร้างปราสาทพนมรุ้งด้วยวิธีประพันธ์บทละครขึ้นใหม่ผ่านการแสดงของตัวละครโดยใช้กระบวนท่าที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวอย่างธรรมชาติ (กำแบ) และกระบวนท่ารำที่นำท่ารำมาตรฐานแบบหลวงผสมผสานกับท่าที่เลียนแบบจากภาพจำหลัก และการใช้ลิปซิ้ง (Lip - synch) ในการเล่าเรื่องราว รวมถึงดนตรี เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบการแสดงที่สื่อถึงเชื้อชาติและวัฒนธรรมอีสานใต้ รูปแบบการเข้า – ออก มีทั้งการทำท่านิ่งในตำแหน่งของตนและการเคลื่อนที่เข้า – ออก จากเวที นอกจากนี้ยังมีระบำในการแสดงจำนวน 2 ชุด และการรำเดี่ยวอีก 2 ชุด ประกอบการนำนวัตกรรมแสง สี เสียง และเทคนิคพิเศษเข้ามาในการแสดงทุกฉาก เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 1) ตลอดจนได้รับความอนุเคราะห์จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปัจจุบันคุณจเร สัตยารักษ์ และคุณธารณา คชเสนี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการจัดการแสดงโดยจัดตั้งเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายเข้ามาดำเนินงาน จึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญในประเพณีประจำจังหวัดและดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน


การปฏิสัมพันธ์ของชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยและชาวไทยในปริบทธุรกิจ : การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษาและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรม, ยางวอน ฮยอน Jan 2017

การปฏิสัมพันธ์ของชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยและชาวไทยในปริบทธุรกิจ : การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษาและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรม, ยางวอน ฮยอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิสัมพันธ์ของชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยและชาวไทยในปริบทธุรกิจโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน การศึกษาส่วนที่ 1 คือ การเปรียบเทียบวัจนกรรมที่มีแนวโน้มเป็นปัญหาในสถานที่ทำงาน ได้แก่ การตำหนิ การตอบคำแก้ตัว และการทวงถามของชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยและชาวไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษาโดยเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามแบบเติมเต็มของชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองจำนวน 63 คนและผู้พูดภาษาไทยจำนวน 66 คน ทั้งสองกลุ่มมีประสบการณ์การทำงานในองค์ธุรกิจอย่างน้อย 1 ปี ผลการวิจัยส่วนแรกพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการแสดงวัจนกรรมการตำหนิ การตอบคำแก้ตัว และการทวงถามของชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและชาวไทยมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน ความแตกต่างนั้นอาจเกิดจากการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์จากภาษาแม่มาสู่การใช้ภาษาในปริบทภาษาไทย การตำหนิเป็นวัจนกรรมที่อาจเป็นปัญหาการสื่อสารระหว่างชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยกับชาวไทยมากที่สุดเนื่องจากความถี่ในการปรากฏการกล่าวตำหนิระหว่างสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติ การศึกษาส่วนที่ 2 คือ การวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ของชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและชาวไทยในองค์กรธุรกิจเกาหลีที่อยู่ในประเทศไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรมโดยเก็บข้อมูลจากวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยและชาวไทยกลุ่มละจำนวน 10 คนและวิธีการสังเกตการณ์เป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการวิจัยส่วนที่ 2 พบว่า ปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยกับชาวไทยเกิดจากบรรทัดฐานในการปฏิสัมพันธ์ที่ต่างกัน การที่ชาวเกาหลีเข้าใจความหมายของถ้อยคำผิด และการตีความจุดมุ่งหมายวัจนกรรมผิดระหว่างกัน รวมถึงข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่แต่ละกลุ่มให้ความสำคัญแตกต่างกัน ในขณะที่ชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยมักคำนึงถึงสิทธิเชิงความสัมพันธ์หรือการปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร ชาวไทยมักคำนึงถึงหน้าด้านคุณภาพหรือการรักษาอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกเพื่อดำเนินการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรให้ราบรื่น ปัญหาในการปฏิสัมพันธ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมเกาหลี ได้แก่ วัฒนธรรมธุรกิจ วัฒนธรรมแบบอิงกลุ่มเสมือนกองทัพ และการเน้นบทบาทและหน้าที่ในสังคมตามหลักคำสอนแนวคิดขงจื๊อ และเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมไทย ได้แก่ แนวคิดเรื่องมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา แนวคิดเรื่อง ‘หน้า' และ ‘เกรงใจ'


ตัวละครหญิงกับปิตาธิปไตยในนวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัยของอเมริกา, สุทัตตา พาหุมันโต Jan 2017

ตัวละครหญิงกับปิตาธิปไตยในนวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัยของอเมริกา, สุทัตตา พาหุมันโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนตามขนบมักนำเสนออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคมควบคู่ไปกับการนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวละครนักสืบชายผู้ชาญฉลาดและตัวละครอาชญากรชายผู้ร้ายกาจ ในขณะที่ตัวละครหญิงมักได้รับบทบาทเหยื่อผู้อ่อนแอซึ่งเป็นเสมือนการขับเน้นให้เห็นถึงอำนาจของตัวละครชายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องความแตกต่างทางเพศที่นำไปสู่การกดทับผู้หญิงไว้ภายใต้อำนาจของผู้ชายนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปและถูกนำเสนอให้เห็นได้อย่างชัดเจนผ่านนวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัย จากการศึกษานวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัยของอเมริกาเรื่อง เดอะ เซอร์เจียน (The Surgeon, 2001) ของเทสส์ เกอร์ริตเซ่น (Tess Gerritsen) อโลน (Alone, 2005) และ ไฮด์ (Hide, 2007) ของลิซ่า การ์ดเนอร์ (Lisa Gardner) ฮาร์ทซิก (Heartsick, 2007) ของเชลซี เคน (Chelsea Cain) สเตรนเจอร์ส อิน เดธ (Strangers In Death, 2008) ของเจ ดี ร็อบบ์ (J.D.Robb) ชาร์ป ออปเจ็คส์ (Sharp Objects, 2006) และดาร์ก เพลสเซส (Dark Places, 2009) ของจิลเลียน ฟลินน์ (Gillian Flynn) ผู้วิจัยพบว่าตัวละครหญิงต้องเผชิญกับความรุนแรงอันเนื่องมาจากการกดขี่ทางเพศสภาพในสังคมปิตาธิปไตยที่กีดกันและแบ่งแยกให้ผู้ชายมีสถานะเหนือกว่าผู้หญิง อาทิ การกระทำความรุนแรงทางเพศที่ไม่เพียงแต่เป็นความรุนแรงทางกายแต่ยังสร้างบาดแผลไว้ในจิตใจของตัวละครหญิง และการกีดกันทางเพศในพื้นที่การทำงานที่เกิดขึ้นกับตัวละครนักสืบหญิง อย่างไรก็ตามผู้ประพันธ์ได้นำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิงเพื่อต่อรองกับแนวคิดดังกล่าว อาทิ ตัวละครเหยื่อผู้หญิงที่ตระหนักรู้คุณค่าในตนเองและพร้อมจะลุกขึ้นต่อกรกับอาชญากรเพื่อปกป้องตนเอง อาชญากรหญิงผู้กระทำความรุนแรงเพื่อเติมเต็มความปรารถนาในจิตใจ และนักสืบหญิงที่พิสูจน์ความสามารถของตนเองจนประสบความสำเร็จในการทำงาน บทบาทที่หลากหลายและซับซ้อนเหล่านี้สื่อให้เห็นอย่างชัดเจนว่านวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัยของอเมริกาไม่ได้ถูกจำกัดให้เป็นพื้นที่ของตัวละครชายเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ตัวละครหญิงก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นตัวละครสำคัญหรือแม้แต่ตัวละครเอกของเรื่องได้


การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในตลาดมินิบาร์ประเทศไทย, ธีร์ โคตรถา Jan 2017

การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในตลาดมินิบาร์ประเทศไทย, ธีร์ โคตรถา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันตลาดการขายสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์สำเร็จรูปในประเทศไทยมีวิกฤตการณ์อัตราความหนาแน่นสูงเมื่อเทียบจากจำนวนพื้นที่การขายสินค้ากับจำนวนผู้ประกอบการที่เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ประกอบการจากตราสินค้าแฟชั่นที่เกิดขึ้นใหม่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างช่องทางการเปิดพื้นที่การขายใหม่ในตลาดมินิบาร์ และแนวทางการออกแบบสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ของตลาดมินิบาร์ในประเทศไทย ด้วยการศึกษาระบบต้นแบบการขายสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในตลาดมินิบาร์จากตราสินค้า PIMKIE ประเทศฝรั่งเศส และแนวคิดอัตลักษณ์ไทยของแต่ละภูมิภาคในด้าน สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และหัตถกรรม จากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงการศึกษา วิเคราะห์ ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ การขายสินค้าในกลุ่มโรงแรมบูติค การตลาดสินค้าแฟชั่น แนวโน้มแฟชั่น และ ตัวอย่างผลงานออกแบบสินค้าแฟชั่นจากตราสินค้าคู่แข่งในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจพื้นที่การขายโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และการจดบันทึก การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการโรงแรมบูติค ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสินค้าในโรงแรม ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการตลาดสินค้าแฟชั่น และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสินค้าแฟชั่น ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้บริโภคเพื่อตามหากลุ่มเป้าหมายและลักษณะความพึงพอใจของกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในงานวิจัย จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่สนใจการซื้อสินค้าแฟชั่นในตลาดมินิบาร์ คือกลุ่มสตรีวัยทำงานเพศหญิงอายุระหว่าง 36-42 ปี มีรสนิยมแบบเรียบโก้ มีความสนใจกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในระบบมินิบาร์ที่มีราคาระหว่าง 1000 – 5000 บาท ด้านอัตลักษณ์ของระบบการขายสินค้า มีลักษณะสำคัญคือการแบ่งกลุ่มสินค้าพื้นฐาน (Basic's wear) และกลุ่มสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น (Signature's wear) ตามโอกาสการใช้งานของสินค้าชนิดลำลองตามกลุ่มประเภทโรงแรมบูติคที่อยู่ในสถานที่ตั้งที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มโรงแรมบูติคที่จัดตั้งในเขตพื้นที่เมืองหลวงหรือกรุงเทพมหานครจะมีลักษณะของกลุ่มสินค้าชนิดสังสรรค์แบบลำลอง (Casual Party's wear) กลุ่มโรงแรมบูติคในจังหวัดของหัวเมืองภูมิภาคจะมีลักษณะกลุ่มสินค้าชนิดทำงานแบบลำลอง (Casual Business's wear) และกลุ่มโรงแรมบูติคใกล้แหล่งท่องเที่ยวจะมีลักษณะกลุ่มสินค้าแบบรีสอร์ท (Resort's wear) ด้านการออกแบบกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในระบบมินิบาร์ มีลักษณะที่สำคัญคือรูปแบบที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บสินค้าเพื่อการเดินทางและรูปแบบที่สามารถนำไปผสมผสานให้เกิดรูปแบบการสวมใส่เฉพาะบุคคล โดยลักษณะดังกล่าวจะอยู่ในองค์ประกอบของ โครงร่างเงา (Silhouettes) รายละเอียดจำเพาะ (Technic details) สี (Colors) และ วัสดุภัณฑ์ (Materials) ที่แตกต่างกันตามอัตลักษณ์พื้นถิ่นของภูมิภาคประเทศไทย และเพื่อให้ได้รูปแบบของกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ผู้วิจัยอาศัยเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ด้วยการตัดสินด้านรูปแบบภาพลักษณ์ของกลุ่มสินค้าอีกครั้งจากคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาเป็นคอลเล็คชั่นของกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในตลาดมินิบาร์ประเทศไทยเป็นขั้นตอนสุดท้าย


ระเบียบวิธีการแสดง ทำนองร้องและรำมะนาลำตัด คณะกำนันสำเริง คนฑา จังหวัดระยอง, สุธินันท์ โสภาภาค Jan 2017

ระเบียบวิธีการแสดง ทำนองร้องและรำมะนาลำตัด คณะกำนันสำเริง คนฑา จังหวัดระยอง, สุธินันท์ โสภาภาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องระเบียบวิธีการแสดงทำนองร้องและรำมะนาลำตัด คณะกำนันสำเริง คนฑา มีวัตถุประสงค์ศึกษาประวัติของคณะลำตัดและศึกษาระเบียบวิธีการแสดงทำนองร้องและรำมะนาลำตัดผลการศึกษาพบว่าคณะลำตัดกำนันสำเริง คนฑา เริ่มจากบิดาดำเนินกิจการรับงานลิเกและทำขวัญนาค ต่อมาศึกษาลำตัดจากครูสงวน เมตตา จึงชักชวนเพื่อนๆที่ร่วมเรียนออกมารับงานแสดง ใช้ชื่อคณะลำตัดว่าส.เริงศิลป์และเปลี่ยนชื่อคณะเป็นลำตัดคณะกำนันสำเริง คนฑาตามลำดับ ระเบียบวิธีการแสดงทำนองร้องและรำมะนาลำตัดพบว่า ระเบียบวิธีการร้องลำตัดมีทั้งหมด 11 ขั้นตอน ได้แก่ โหมโรง ร้องบันตน ออกแขก ผู้ชายยืนตน ผู้หญิงยืนตน ผู้ชายยืนสอง ผู้หญิงแก้ลำ ผู้ชายผู้หญิงสลับกันร้องแก้ ตัดเพลง ร้องลาและลงกลอง ทำนองร้องใช้กลุ่มเสียงปัญจมูลกลุ่มเสียงเดียวและไม่พบการร้องเสียงนอกบันไดเสียง ทำนองรำมะนาพบ 12 ทำนองและ 1 ทำนองลงกลอง คือ ทำนองเรียบ ทำนองจำปาเทศ ทำนองปรบไก่ ทำนองพม่า ทำนองลาว ทำนองมอญ ทำนองเขมร ทำนองญวน ทำนองจีน ทำนองโยน ทำนองฝรั่ง และทำนองแขก และทำนองลงกลอง คณะลำตัดกำนันสำเริงจะใช้ทำนองรำมะนาทั้งหมด 9 ทำนองและ 1 ทำนองลงกลอง คือ ทำนองเรียบ ทำนองจำปาเทศ ทำนองพม่า ทำนองลาว ทำนองมอญ ทำนองจีน ทำนองโยน ทำนองฝรั่ง และทำนองแขก ทำนองสุดท้ายคือ ทำนองลงกลอง ทำนองที่ใช้มากที่สุดคือทำนองพม่าและทำนองลาว


การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิก โดย ธาณิช แสงวิชัย, ธาณิช แสงวิชัย Jan 2017

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิก โดย ธาณิช แสงวิชัย, ธาณิช แสงวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะด้านการบรรเลงกีตาร์คลาสสิกโดยนักแสดงได้ตัดเลือกบทเพลงที่ต่างยุกคต่างสมัยกันเพื่อสาธิตความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของดนตรีในแต่ละยุคสมัย การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกในครั้งนี้ ผู้แสดงได้คัดเลือกไว้ทั้งหมด 5 บทเพลง ได้แก่ (1) Rondo Op.2 No.3 ประพันธ์โดย Dionisio Aguado (2) Suite Espanola, Op.47 ประพันธ์โดย Isaac Albeniz (3) Theme, Variations and Finale ประพันธ์โดย Manuel Ponce (4) Prelude, Fugue and Allegro, BWV 998 ประพันธ์โดย Johann Sebastian Bach และ (5) Sonata ประพันธ์โดย Antonio Jose การแสดงครั้งนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรี ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เวลาในการแสดงทั้งสิ้นประมาณ 1 ชั่วโมง This guitar recital aims to develop the performer's performance abilities. The performer chose a number of pieces to represent certain periods and characteristics of each era. The program consists of 5 pieces: (1) Rondo Op.2 No.3 by Dionisio …


การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย พรพิมล อ้นจู, พรพิมล อ้นจู Jan 2017

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย พรพิมล อ้นจู, พรพิมล อ้นจู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโน มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทประพันธ์ เพื่อใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับมหาบัณฑิตด้านการแสดงเดี่ยวเปียโนโดย พรพิมล อ้นจู เนื้อหาในการวิเคราะห์บทประพันธ์ประกอบไปด้วย การศึกษาชีวประวัติของผู้ประพันธ์ การวิเคราะห์และตีความบทประพันธ์ วิธีการนำเสนอ รวมไปถึงเทคนิคต่าง ๆ ในการบรรเลงบทเพลง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการฝึกซ้อมและการประกอบการแสดงบทเพลงได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการบรรเลงเปียโนของผู้แสดงและเพื่อเผยแพร่ผลงานการแสดงเดี่ยวเปียโนต่อผู้ที่ความสนใจในงานแสดงดนตรี โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกบทประพันธ์โซนาตาที่น่าสนใจจากยุคสมัยที่แตกต่างกัน นอกจากนี้การแสดงเดี่ยวเปียโน ยังเป็นเป้าหมายสำคัญในการถ่ายทอดความไพเราะของดนตรีคลาสสิกและเผยแพร่บทเพลงอันทรงคุณค่าต่อผู้ที่สนใจในดนตรีคลาสสิก เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงคุณค่าของดนตรีคลาสสิกสืบไป


Effects Of The Genre-Based Writing Instructional Module In A Blended Learning Environment On English Writing Ability And Thinking Skills Of Thai Undergraduate Students, Patricia Visser Jan 2017

Effects Of The Genre-Based Writing Instructional Module In A Blended Learning Environment On English Writing Ability And Thinking Skills Of Thai Undergraduate Students, Patricia Visser

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aim (1) to develop the genre-based writing instructional module in a blended learning environment, (2) to investigate the students' writing ability after implementing the genre-based writing instructional module in a blended learning environment, (3) to investigate the students' thinking skills after implementing the genre-based writing instructional module in a blended learning environment, (4) to investigate the relationship between writing ability and thinking skills, and (5) to investigate the students' attitude toward using genre-based writing instructional module in a blended learning environment. Thirty-five first-year undergraduate students in Srinakharinwirot University were chosen as the sample group. The study was a …


The Influence Of The Eu's Collective Identity On Smart Sanctions Imposed On Russia And Their Effect On Russian Financial Institutions, Sunil Kumar Dash Jan 2017

The Influence Of The Eu's Collective Identity On Smart Sanctions Imposed On Russia And Their Effect On Russian Financial Institutions, Sunil Kumar Dash

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Beginning in early 2014, the EU introduced and extended a range of smart sanctions against Russia in protest at Russian involvement in destabilizing Ukraine and violation of Ukraine's territorial integrity. By utilizing theoretical elements of constructivism with process tracing method, this thesis examines the influence of the EU's collective identity on smart sanctions imposed on Russia. The analysis finds that the EU's "collective identity" stipulated the "objective interests" and "subjective interests" to its actors and influenced the "actions" of smart sanctions by extending extra restrictive measures for Russian financial institutions to increase the cost of smart sanctions imposed on Russia. …