Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 121

Full-Text Articles in Arts and Humanities

การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร, วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Jan 2018

การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร, วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร เนื่องจากอาหารมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น ทว่าอาหารยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อความหมายระหว่างกัน และเป็นวิถีปฏิบัติอันเกิดจากการประกอบสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้รวบรวมจากคอลัมน์ประจำที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารจากนิตยสารประเภทอาหาร 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ นิตยสารแม่บ้าน นิตยสารครัว นิตยสาร Gourmet & Cuisine และนิตยสาร Health & Cuisine ตั้งแต่ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 - ธันวาคม พ.ศ. 2558 รวม 48 ฉบับ การวิเคราะห์อาศัยกรอบแนวคิด (1) วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995a) (2) การบริโภคคุณค่าเชิงสัญญะของโบดริยาร์ (Baudrillard, 2001) และ (3) รสนิยมของบูร์ดิเยอ (Bourdier, 1984) ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า นิตยสารประเภทอาหารมิได้นำเสนอคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ที่แท้จริงของอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารในฐานะหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เท่านั้น หากแต่นิตยสารยังได้ประกอบสร้างชุดความคิดเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารให้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเชิงสัญญะ ดังปรากฏชุดความคิดสำคัญ 2 ประการด้วยกัน คือ (1) อาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารเป็นสิ่งแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ และเป็นเครื่องสถาปนาสถานภาพของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มเป็น "คนฉลาดเลือกบริโภคอย่างมีรสนิยม" (2) อาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารเป็นสิ่งแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ และเป็นเครื่องสถาปนาสถานภาพของเชฟ ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญการรังสรรค์เมนูอาหารอย่างมีรสนิยม ชุดความคิดเหล่านี้ถูกประกอบสร้างผ่านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ การเลือกใช้ชุดคำศัพท์ การใช้คำอ้างถึง การให้รายละเอียดโดยการระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบหรือสินค้าอย่างเฉพาะเจาะจง การให้รายละเอียดโดยการระบุราคา การให้รายละเอียดโดยการใช้รางวัลเป็นเครื่องยืนยัน การใช้ความเปรียบ การใช้มูลบท การใช้ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ การใช้โครงสร้างประโยคแสดงเหตุ-ผล การใช้สหบท และการใช้ภาพประกอบ ชุดความคิดเกี่ยวกับคุณค่าเชิงสัญญะเหล่านี้กลายเป็นชุดความรู้เกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับอาหารชุดหนึ่งที่นิตยสารประกอบสร้างขึ้นและทำให้ความรู้ชุดนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ คนเฉพาะกลุ่มซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นคนฉลาดบริโภคอย่างมีความรู้ แต่จะต้องเป็นผู้มีรสนิยมด้วย อุดมการณ์ที่มีอิทธิพลต่อตัวบท ได้แก่ แนวคิดวัฒนธรรมบริโภคนิยม แนวคิดชั้นทางสังคม แนวคิดสภาวะสมัยใหม่ และแนวคิดสุนทรียภาพ ตัวบทเหล่านี้จึงได้ผลิตซ้ำและตอกย้ำให้อุดมการณ์เหล่านี้คงอยู่ในสังคมต่อไป


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์, ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย พิจารณาข้อมูลเชิงทฤษฎีเชื่อมโยงในประเด็นของรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ การสร้างสรรค์ และแนวคิดการแสดงนาฏยศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล ทดลองพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์เรียบเรียงข้อมูล แสดงขั้นตอนและผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแสดงผลงานสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่ปรากฏคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยการคัดเลือกนักแสดงที่มีความหลากหลายในทักษะการเต้นร่วมสมัยและแนวเต้นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้เสียงไวโอลินบรรเลงสดและเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ใช้พื้นที่ในและนอกวงกลมโดยมีเก้าอี้ 9 ตัววางเป็นวงกลมกลางเวที สวมใส่ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเหมาะสมกับสรีระและลีลานาฏยศิลป์ของนักแสดง ออกแบบแสงให้เห็นมิติของร่างกาย นำเสนอเป็น 3 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ 1 ยุคบุกเบิก แบ่งเป็น 4 ฉาก คือ ฉาก 1 แนวคิดของลอย ฟูลเลอร์ (Loie Fuller) ฉาก 2 แนวคิดของอิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ฉาก 3 แนวคิดของรุท เซนต์เดนนีส (Ruth St Denis) ต่อเนื่องถึงฉาก 4 แนวคิดของเดนนีส-ชอร์น (Denis Shawn) องก์ 2 ยุคสมัยใหม่ศิลปินรุ่น 1 และ 2 แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก 1 แนวคิดของมาธา เกรแฮม (Matha Graham) ฉาก 2 แนวคิดของดอริช ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) ฉาก 3 แนวคิดของเมอร์ซ คันนิงแฮม (Merce Cunningham) และฉาก 4 แนวคิดของโฮเซ ลีมอน (Jose Limon) องก์ 3 ยุคหลังสมัยใหม่ แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่, วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบนาฏยศิลป์ที่สร้างสรรค์จากตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเพื่อค้นหาแนวคิดที่ได้หลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ การปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์โดยใช้ตำนานนกกิ่งกะหร่าเพื่อสื่อสารความเชื่อความศรัทธาของชาติพันธุ์ไทใหญ่กับพระพุทธศาสนา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงได้ 8 ประการ 1) บทการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยผสมผสานตำนานนกกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ และเรื่องชาติภพทั้ง 5 ของพระพุทธเจ้าในการกำเนิดเป็นนกกิ่งกะหร่า 2) นักแสดงมีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหวร่างกายที่หลากหลายตามทักษะความชำนาญของตนเอง 3) ลีลาที่นำเสนอผ่านการฝึกปฏิบัติวิธีการแสดงแบบเดอะเมธอด (The Method of Acting) 4) เครื่องแต่งกายที่แสดงถึงบุคลิกภาพของนกกิ่งกะหร่าทั้ง 5 ตัว ตามแนวคิดเรื่องศีล 5 ข้อ 5) ดนตรีและเสียงประกอบที่ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือด้นสดกับสถานการณ์ในการแสดง และการขับเพลงพื้นบ้านภาคเหนือเล่าเรื่องตำนานนกกิ่งกะหร่า 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่เน้นการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ ของนักแสดงเพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญของเรื่อง 7) พื้นที่การแสดงที่กำหนดความหมายเป็นสถานที่ต่าง ๆ ในการแสดงได้แก่ สถานที่ไร้กาลและเวลา ป่าหิมพานต์ และท้องฟ้า 8) แสงที่ใช้แนวคิดทางทัศนศิลป์ และสัญวิทยาออกแบบเสียงให้ที่สามารถสื่อสารความคิดและสถานการณ์ของตัวละครให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ยังได้ให้ความสำคัญใน 6 ประเด็น 1) แนวคิดจากตำนานนกิ่งกะหร่าของชาวไทใหญ่ 2) แนวคิดเกี่ยวกับชาติพันธุ์กับอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทใหญ่ 3) แนวคิดที่เกี่ยวกับรากฐานความคิดความเชื่อและศิลปวัฒนธรรม 4) แนวคิดสัญวิทยา 5) แนวคิด การแสดงเดอะเมธอด (The Method of Acting) และ 6) แนวคิดทางทัศนศิลป์


การศึกษากลวิธีการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม "It" ประเภท Dummy Subject ในนวนิยายเรื่อง The Murder Of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ : กรณีศึกษาสำนวนแปลของพิรุณรัตน์, สุนันทา ชัยณรงค์เดชากุล Jan 2018

การศึกษากลวิธีการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม "It" ประเภท Dummy Subject ในนวนิยายเรื่อง The Murder Of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ : กรณีศึกษาสำนวนแปลของพิรุณรัตน์, สุนันทา ชัยณรงค์เดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม ‘it’ ประเภท Dummy subject ในตัวบทนวนิยาย จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และเพื่อประมวลกลวิธีการแปลจากกรณีศึกษาเรื่อง The Murder of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ และหนังสือแปลเรื่อง คดีฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์ โดยพิรุณรัตน์ เนื่องจากภาษาไทยไม่มีโครงสร้างประโยคที่เทียบเท่ากันทางความหมายกับโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์ จึงอาจเป็นปัญหาการแปลที่สำคัญได้ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่ประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม ‘it’ ประเภท Dummy subject จานวน 63 ประโยค และกลวิธีการแปลสองระดับ ได้แก่ ระดับโครงสร้างประโยคและระดับคำ ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณสรุปได้ว่า กลวิธีการแปลระดับโครงสร้างประโยคใช้การปรับโครงสร้างประโยคใหม่จำนวน 60 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 95.24 และใช้การรักษาโครงสร้างประโยคตามต้นฉบับจำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 4.76 ในการปรับโครงสร้างประโยคใหม่พบว่าผู้แปลใช้การหาประธาน หรือการปรับส่วนใด ส่วนหนึ่งของประโยคเป็นประธานมากที่สุด จำนวน 44 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 73.33 รองลงมาได้แก่การเปลี่ยนประโยคเป็นวลี ส่วนกลวิธีการแปลระดับคำใช้การเติมคำเน้นมากที่สุด จำนวน 17 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 26.98 รองลงมาได้แก่การเติมลักษณนาม ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพสรุปได้ว่า การแปลประโยคเคล็ฟต์ในนวนิยายเรื่องนี้ นักแปลใช้กลวิธี การปรับบทแปลระดับโครงสร้างประโยคและระดับคำร่วมกัน โดยไม่รักษารูปแบบโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์เสมอไป แต่ยังคงรักษาหน้าที่และเจตนาในการสื่อสารของโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวทาง การแปลที่นักแปลอาศัยการตีความและทำความเข้าใจความหมายโดยนัยที่สื่อผ่านการใช้ประโยคเคล็ฟต์เป็นหลักก่อน แล้วจึงถ่ายทอดความหมายนั้นเป็นภาษาปลายทางอย่างเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับแนวทางการแปลแบบตีความที่เดอลีลส์ (1988) นำเสนอ ทฤษฎี Skopostheorie ที่ไร้ส์และแฟร์เมียร์ (1984) นำเสนอ และทฤษฎีวัจนกรรมที่เฮอนิกช์และคุสเมาล์ (1982) นำมาใช้ในการแปล


การสืบทอดดนตรีไทยของเจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่), รัชดา ขัตติสะ Jan 2018

การสืบทอดดนตรีไทยของเจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่), รัชดา ขัตติสะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง การสืบทอดดนตรีไทยของเจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาชีวประวัติและผลงาน การถ่ายทอดดนตรีไทย และสายการสืบทอดดนตรีไทยของ เจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) ผลการวิจัยพบว่า เจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) เกิดในตระกูลเจ้านายฝ่ายเหนือ เมื่อเยาว์วัยได้ตามเสด็จฯ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ไปพำนัก ณ วังสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร ทำให้ได้เรียนจะเข้กับครูสังวาลย์ กุลวัลกี ผู้มีชื่อเสียงและมีฝีมือความสามารถในการบรรเลงจะเข้ นอกจากการเรียนจะเข้แล้ว เจ้าโสภายังเรียนซอเพิ่มเติมกับ ครูเจริญ พาทยโกศล เรียนขับร้องเพิ่มเติมกับคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ และขุนเสียงเสนาะกรรณ (พัน มุกตวาภัย) เมื่อกลับมาเชียงใหม่ เจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) สอนดนตรีไทยให้กับสถาบันต่าง ๆ โดยมีผลงานด้านการแผยแพร่ดนตรีและการแสดง ผลงานด้านวิชาการ และผลงานด้านการควบคุมการบรรเลงและการแสดง การถ่ายทอดดนตรีไทยพบว่า เจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านพื้นฐานดนตรีไทยและการบรรเลงเครื่องสาย ภายในระบบการศึกษาและภายนอกระบบการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับพื้นฐานดนตรีไทยและการบรรเลงดนตรีไทยตามขนบ คือ การไหว้ครู บุคลิกการบรรเลง รวมถึงข้อคิดสอนใจในการเป็นนักดนตรี แต่เนื่องจากเจ้าโสภาถ่ายทอดดนตรีไทยภายในและภายนอกระบบการศึกษา ที่มีการเรียนการสอนดนตรีไทยเป็นเพียงรายวิชาพื้นฐานและมีผู้ที่สนใจในจำนวนน้อย มิได้ถ่ายทอดให้กับศิลปินอาชีพหรือสถาบันที่มีการเรียนการสอนดนตรีไทยโดยตรง ทำให้สายการสืบทอดดนตรีไทยของเจ้าโสภา เพ็งพุ่ม (ณ เชียงใหม่) ไม่แพร่หลาย


ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา, วรพจน์ ไวยเวทา Jan 2018

ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา, วรพจน์ ไวยเวทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา เป็นการศึกษาทำความเข้าใจตั้งแต่ต้นกำเนิดศิลปะวิทยาการด้านศิลปะอิสลาม การนำมาปรับใช้ในยุคสมัยต่างๆของโลกอิสลาม ที่มาแนวคิด กฎเกณฑ์ สุนทรียศาสตร์ ความงาม จากความศรัทธาของศาสนา เกิดเป็นทฤษฎีโครงสร้างสู่การจัดระเบียบโครงสร้างต่างๆ รวมไปถึงลวดลายประดับ ศาสตร์และองค์ความรู้ที่ปราชญ์ชาวมุสลิมได้ให้คุณูปการกับโลกใบนี้นับพันปี ก่อเกิดเป็นทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลาม ศาสตร์แห่งเรขาคณิตอิสลามหรือ Islamic Geometry เป็นหนึ่งในองค์ความรู้เชิงช่างที่สำคัญ เป็นอัตลักษณ์ที่สรรค์สร้างให้ศิลปะอิสลามมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ประจักษ์และยกย่องของโลกถึงความงดงามเหล่านั้น รูปแบบสกุลช่างศิลปะอิสลามที่อาจส่งอิทธิพลผ่านความสัมพันธ์ระหว่างชาติ จากหลักฐานอันโดดเด่นในสมัยอยุธยาที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อชาวมุสลิมทั้งรูปแบบสกุลช่างศิลปะอิสลามเปอร์เซียและสกุลช่างศิลปะอิสลามอินเดีย มูลเหตุข้อสันนิษฐานของนักวิชาการไทยในอดีตที่กล่าวถึงลวดลายประดับศิลปะไทยในสมัยอยุธยาที่มีอิทธิพลลวดลายประดับจากศิลปะอิสลาม เมื่อนำมาตรวจสอบด้วยเครื่องมือทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามแล้วพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมากในเชิงลึกตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงอยุธยาตอนปลาย มิติของการถ่ายเทองค์ความรู้ ช่างสมัยอยุธยาจำเป็นต้องมีความเข้าใจและความชำนาญในทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามเป็นอย่างดี จึงได้นำระบบโครงสร้างเหล่านี้มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับลวดลายศิลปะไทยพื้นถิ่นได้อย่างลงตัวทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชาวไทยต่อชาวมุสลิมที่มีมาแต่อดีตมาช้านาน ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามนี้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระบวนการเชิงช่างศิลปะไทยในอดีตนั้นมีการคำนวณสัดส่วนอันงดงามต่างๆ อย่างเป็นระบบแบบแผนจากการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน ทฤษฎีเชิงช่างนี้อาจเป็นกุญแจไขความลับของความงดงาม ฟื้นความเข้าใจทฤษฎีเชิงช่างของศิลปะไทยสมัยอยุธยาที่ได้รับการยอมรับในความงดงามอันวิจิตรเหล่านั้นซึ่งได้สูญหายไปกับกาลสมัยอยุธยาก็เป็นได้


การออกแบบเรขศิลป์ที่แสดงถึงสุขภาพที่ดีโดยใช้ทฤษฏีหินสีบำบัด, นรินทร์ ปลื้มปรีดาพร Jan 2018

การออกแบบเรขศิลป์ที่แสดงถึงสุขภาพที่ดีโดยใช้ทฤษฏีหินสีบำบัด, นรินทร์ ปลื้มปรีดาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พุทธศาสนสุภาษิตคำว่า "อโรคา ปรมา ลาภา" ที่มีความหมายว่าการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐนั้นดูจะเห็นได้ชัดเจน เพราะว่าในปัจจุบันนี้คนเราเริ่มที่จะหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น ห่วงใยสุขภาพมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากกระแสการออกกำลังกายและวีธีการรับประทานอาหารที่คำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น ซึ่งนอกจากการออกกำลังกายแล้วการบำบัดก็ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแลสุขภาพและมีมากมายหลายวิธี เช่น การนวดประเภทต่างๆ เป็นต้น จากการศึกษาวิจัยผู้วิจัยได้พบว่ามีวิธีการบำบัดซึ่งเคยได้รับความนิยมอย่างมากช่วงหนึ่งคือการบำบัดด้วยหินสีที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการนวด การทำสมาธิหรือแม้กระทั่งแค่พกพาติดตัวไว้เป็นเครื่องประดับเฉยๆ ซึ่งผู้วิจัยจึงได้แนวคิดที่ว่าทฤษฎีหินสีบำบัดนั้นก็น่าจะสามารถที่จะแสดงถึงความเป็นสุขภาพที่ดีได้ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยฉบับนี้ซึ่งได้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อหาองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่ได้จากทฤษฎีหินสีบำบัดเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบที่สามารถแสดงถึงสุขภาพที่ดีได้ โดยผู้วิจัยได้นำทฤษฎีหินสีบำบัดมาหาความเชื่อมโยงกับองค์ประกอบทางเรขศิลป์โดยการสัมภาษณ์และสร้างแบบสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อหาคำตอบของงานวิจัย จากผลวิจัยพบว่าสามารถระบุองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่สำคัญได้แก่ ตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กลุ่มบุคลิกภาพการสื่อสาร เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพประกอบ และโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม โดยแยกเป็นกลุ่มคำตอบที่สามารถแสดงถึงสุขภาพที่ดีตามรูปแบบต่างๆของการใช้การบำบัดด้วยทฤษฎีหินสีบำบัด


Third Language Acquisition Of Word Order In English Affirmative And Interrogative Structures By L1 Yi And L2 Mandarin Learners, Changyan Shi Jan 2018

Third Language Acquisition Of Word Order In English Affirmative And Interrogative Structures By L1 Yi And L2 Mandarin Learners, Changyan Shi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to test three hypotheses: 1) similarities and differences exist between the production and perception errors of word order in L3 English affirmative and interrogative structures by L1 Yi and L2 Mandarin learners; 2) positive and negative transfer from L1 Yi and L2 Mandarin to L3 English are evidenced in the production and perception of word order in affirmative and interrogative structures; 3) with respect to negative transfer, the production and perception of L3 English word order are negatively influenced by both L1 Yi and L2 Mandarin. However, the negative transfer is more influenced by L2 Mandarin learners …


The Relationship Between Attitudes Toward The Test Of English For International Communication (Toeic) And Scores Of Thai Test Takers, Danai Wongsa Jan 2018

The Relationship Between Attitudes Toward The Test Of English For International Communication (Toeic) And Scores Of Thai Test Takers, Danai Wongsa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Attitudes have played a pivotal role affecting not only English language learning but also language test performance. There have been some studies exhibiting that students' attitudes in English language learning were significantly related to their English test proficiency and their scores. The objectives of this study were to examine Thai test takers' attitudes toward the Test of English for International Communication (TOEIC) and explored the relationship between Thai test takers' attitudes toward the TOEIC and their scores. This study used quantitative and qualitative methods to collect and analyze the data under the research framework adapted from the ABC model of …


Improving Efl Undergraduate Students’ English Speaking Skill Through Dynamic Assessment, Prathana Siwathaworn Jan 2018

Improving Efl Undergraduate Students’ English Speaking Skill Through Dynamic Assessment, Prathana Siwathaworn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study focuses on the application of dynamic assessment (DA) for pedagogical purposes. It is aimed at investigating how the students' English speaking skill could be improved through DA, which is grounded in Vygotsky's zone of proximal development (ZPD). The objectives of this study were (1) to investigate to what extent DA assists EFL undergraduate students to improve their English speaking skill, (2) to explore the students' perceived self-efficacy in their English speaking skill through DA, and (3) to examine the students' attitudes toward DA. The participants of the study were 10 university students who studied in an EFL classroom …


Doctoral In Creative Music Research : The Musical Dialect In Modern Conventional Idiom Of The Piano Concertos, Paulo Ricardo Soares Zereu Jan 2018

Doctoral In Creative Music Research : The Musical Dialect In Modern Conventional Idiom Of The Piano Concertos, Paulo Ricardo Soares Zereu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore the musical dialect within the conventional idiom as well as the interpretational approach and analytical overview of the selected Piano Concertos. The three prominent and significant Piano Concertos were chosen as followed: 1) Concerto in E-flat major for Two Pianos and Orchestra, KV. 365 by Wolfgang Amadeus Mozart (1756-1791), 2) Concerto in C major for Piano, Violin, Cello, and Orchestra, Op.56 by Ludwig van Beethoven (1770-1827), and 3) Concerto for Two Pianos and Orchestra in D minor by Francis Poulenc (1899-1963). The research also presented the innovative revolutionary of the pianistic and interpretational challenges of …


Key Success Factors Of Starbucks Coffee In South Korea, Chandhit Sawangnate Jan 2018

Key Success Factors Of Starbucks Coffee In South Korea, Chandhit Sawangnate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Food and beverage is one of the industries that have been contributing economic growth toward South Korea economy for a decades; however, coffee market due to a relatively high competition and fierceness, coffee war, between international brands and local brands. This paper is trying to find the key success factors of Starbucks through various dimensions in South Korea market. This study is in order to find competitive advantages of Starbucks internationally and domestically. Observation is also held to find an insight data. The outcome shows that Korean coffee market has strength in it character conditions. The coffee quality and coffee …


Juche Realist Music : The Politicization Of Music In North Korea, Jungmin Heo Jan 2018

Juche Realist Music : The Politicization Of Music In North Korea, Jungmin Heo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In North Korea, music and songs have extensively been used as an effective political tool of state propaganda. Unlike previous research which overlooks the contents of the songs, this thesis examines how their lyrics reflect political ideologies and propaganda operation of North Korean regimes. Their lyrics are analyzed in light of the historical context they were written in and widely perceived. It aims at contributing to the knowledge of North Korean music and its relationship with the politics of the country. The study analyzes the lyrics of 100 North Korean songs from 4 different sources using qualitative contents analysis. The …


Korean Brand Ambassadors And Nationalism, Pacharawan Pathmanand Jan 2018

Korean Brand Ambassadors And Nationalism, Pacharawan Pathmanand

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study is to examine the expression of Nationalism that it is the main reason brands chosen the Korean Brand Ambassadors. The result of the study on the topic of Korean Brand Ambassadors and Korean nationalism explained that Korean domestic market needs a nationalist as a Brand Ambassadors to sell cultural products such as SoJu (Korean Beverage). Furthermore, in case of selling products in International market, being a nationalist is not the key for brands to have chosen the Brand Ambassador. However, if the Brand Ambassadors chose to represent himself or herself as a nationalist, they can …


Folklore Museums And Their Roles In Displaying And Preserving Communal Cultural Heritage : The Case Studies Of Yaowarat Chinatown Heritage Center, Bang Lamphu Museum And Bangkokian Museum, Xie Xiaoran Jan 2018

Folklore Museums And Their Roles In Displaying And Preserving Communal Cultural Heritage : The Case Studies Of Yaowarat Chinatown Heritage Center, Bang Lamphu Museum And Bangkokian Museum, Xie Xiaoran

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Communal cultural heritage as the embodiment of cultural diversity of the nation, plays more significant roles in the contemporary context. Adopted from the definitions of tangible and intangible heritages and their displaying in communities, the idea of preserving communal cultural heritage has extended its instruments to various fields and different forms. Among them, local folklore museum plays irreplaceable roles in the displaying and maintaining the cultural identity of the local community. In this research, three folklore museums in Bangkok, Thailand are chosen as study cases to examine the roles that folklore museum plays in the process of displaying and preserving …


การขับร้องลำตัดพ่อผูกศรีราชา, นทีธร จุงเลียก Jan 2018

การขับร้องลำตัดพ่อผูกศรีราชา, นทีธร จุงเลียก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการขับร้องลำตัดพ่อผูกศรีราชา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและกลวิธีการขับร้องลำตัดของคณะลำตัดพ่อผูก ศรีราชา ผลการศึกษาพบว่าคณะลำตัดพ่อผูกศรีราชา ก่อตั้งโดยนายผูก เอกพจน์ ใน พ.ศ.2486 แม่ประพิมพ์ เอกพจน์ เป็นบุตรของพ่อผูก สืบบทลำตัดแบบเก่าและดั้งเดิมตามที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ในการแสดงลำตัดนั้น ใช้รำมะนา 4 ลูก ฉิ่ง และ คนร้อง ซึ่งบทเพลงที่โดดเด่นที่พ่อผูกได้ประพันธ์ไว้คือ ลำตัด ก ไก่-ฮ นกฮูก จากการวิเคราะห์การขับร้องลำตัด ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก สามารถชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประพันธ์ทางร้องและกลวิธีการร้อง โดยนางประพิมพ์ เอกพจน์ ได้รับการถ่ายทอดมาจากนายผูก เอกพจน์ ผู้เป็นบิดา พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 3 ช่วง คือช่วงเกริ่นนำ ช่วงเนื้อเพลง และช่วงท้าย โดยในช่วงเกริ่นนำ ใช้จังหวะอิสระ เริ่มเข้าจังหวะในช่วงเนื้อเพลงและช่วงท้าย กลวิธีที่ใช้ในการขับร้องทำนองลำตัดใช้กลุ่มเสียงเดียว การใช้ทางเอื้อน 2 เสียงโดยใช้เสียง 2 พยางค์ ติดกัน และใช้เสียง 3 พยางค์ การตกแต่งทำนองด้วยเสียงเอยต้นประโยค การใช้ลมหายใจตั้งแต่ 7-8 ห้อง และ แบ่งเป็น 4 ห้อง การใช้ลมหายใจ 3 ห้อง การเน้นเสียงในห้องที่ 3 และ 4 ที่ใช้สระเสียงยาว


ระเบียบวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบละครชาตรีคณะสุดประเสริฐ ในชุมชนเกาะบางปลา จังหวัดสมุทรปราการ, สุรศักดิ์ ปานลักษณ์ Jan 2018

ระเบียบวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบละครชาตรีคณะสุดประเสริฐ ในชุมชนเกาะบางปลา จังหวัดสมุทรปราการ, สุรศักดิ์ ปานลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องระเบียบวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบละครชาตรี คณะสุดประเสริฐ ในชุมชนเกาะบางปลา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการแสดงละครชาตรีของคณะสุดประเสริฐ ผลการวิจัยพบว่าละครชาตรีของคณะสุดประเสริฐ ได้รับการถ่ายทอดจากครูจิบ รุ่งไพโรจน์ เป็นการแสดงเพื่อแก้บน โดยจะใช้เวลาแสดง 1 วัน ลำดับการแสดงเริ่มจากการไหว้ครู ปี่พาทย์ทำเพลงโหมโรง ร้องเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และรำถวายมือ ทำการแสดงช่วงเช้า พักกลางวันเพื่อลาเครื่องสังเวย ทำการแสดงช่วงบ่ายจนจบเรื่อง ตามลำดับ เนื้อเรื่องที่ใช้ในการแสดงจะเลือกมาจากวรรณคดีไทย เรื่องที่ได้รับความนิยม ได้แก่ สังข์ทองและแก้วหน้าม้า ใช้วงปี่พาทย์ไทยในการบรรเลง เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบละครได้แก่เพลงหน้าพาทย์ใช้เมื่อตัวละครแสดงอากัปกิริยา เช่น เดินทาง ร้องไห้ แปลงกาย เป็นต้น และเพลงละครใช้รับร้องส่งร้องเมื่อตัวละครร้องเพลง นักแสดงเป็นผู้ร้องเพลงด้วยตัวเองโดยจะร้องเพลงขึ้นก่อนแล้วปี่พาทย์จึงบรรเลงรับร้อง เมื่อจบการแสดงจะร้องเพลงส่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์กลับสู่ที่ประทับ ปี่พาทย์บรรเลงเพลงรัวและกราวรำ ลำดับการบรรเลงและการแสดงปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ปรับปรุงตามความนิยมของผู้ชมมาโดยตลอด จึงทำให้ละครชาตรีคณะนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน


บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : ดอกไม้สีแดง, วิริทธิ์พล ปัญญาพฤกษ์ Jan 2018

บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : ดอกไม้สีแดง, วิริทธิ์พล ปัญญาพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์ ดอกไม้สีแดง มีวัตถุประสงค์ในการประพันธ์ขึ้นเพื่อสร้างบทประพันธ์ที่มี เอกลักษณ์ เฉพาะตัว เพื่อส่งเสริมและสร้างจินตนาการผู้สนใจฟังดนตรีคลาสสิกในประเทศไทย และ เพื่อสร้างผลงานที่มี สีสัน เทคนิค และลีลาผสมผสานวัฒนธรรมของตะวันตกและตะวันออก บทประพันธ์ดอกไม้สีแดง นี้ประพันธ์ ขึ้นโดยมีเนื้อหาบรรยายถึงไฟในทัศนะต่าง ๆ ซึ่งมีทัศนะหรือ มุมมองที่สามารถนำมาใช้เป็นปรัชญาในการ ดำรงชีวิตได้ ไฟนั้นถือเป็นตัวแทนของทั้งความดีและ ความชั่ว แต่ก็จะดับมอดลงหากไม่มีการเติมเชื้อไฟ ฉะนั้น เราจึงไม่ควรยึดติดอยู่กับไฟ หรือสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง บทประพันธ์นี้เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงออร์เคสตรา โดยใช้ระบบอิงกุญแจเสียง มี การผสมผสานระหว่างสำเนียงดนตรีตะวันตกกับดนตรีตะวันออกโดยผู้วิจัยแบ่ง บทประพันธ์ ออกเป็น 4 ท่อนดังนี้ ดังนี้ ท่อนที่ 1 เป็นการบรรยายลักษณะการกำเนิดของไฟ ท่อนที่ 2 ไฟใน ฐานะผู้สร้างสรรค์ ท่อนที่ 3 คือไฟในฐานะผู้ทำลาย และท่อนที่ 4 คือการดับสูญของไฟ


บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : "ไตรลักษณ์" บทเพลงสำหรับออร์เคสตรา, ชินภัทร เจริญรัตน์ Jan 2018

บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : "ไตรลักษณ์" บทเพลงสำหรับออร์เคสตรา, ชินภัทร เจริญรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงที่นำพุทธปรัชญาเข้ามาเชื่อมโยงกับบทประพันธ์เพลงร่วมสมัย ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของดนตรีประเภทนี้ และต้องการที่จะสร้างผลงานประเภทนี้ขึ้นมา และนำพุทธปรัชญาที่ชาวพุทธศาสนารู้จักเป็นอย่างดีคือ "ไตรลักษณ์" ไตรลักษณ์เหมือนเชือกที่มี 3 เกลียว หมายความว่า อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นที่เดียวกันคือ เมื่อมีอนิจจังหรือความไม่เที่ยงปรากฏขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ก็คือ เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์จึงมาจากอนิจจัง ส่วนอนัตตาหมายถึง ความไม่ใช่ตัวตนคือการบังคับบัญชาไม่ได้ บังคับให้ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อบังคับไม่ได้ก็เป็นทุกข์ ไตรลักษณ์นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่แล้ว ผู้วิจัยจึงเลือกไตรลักษณ์เป็นชื่อบทประพันธ์เพลงร่วมสมัยนี้ โดยมี 3 ท่อนที่บรรเลงต่อเนื่องกัน แต่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท่อนได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ตามลำดับ บทประพันธ์เพลงนี้เป็นบทประพันธ์เพลงสำหรับวงออร์เคสตรา ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน บทประพันธ์เพลงนี้ได้แสดงเทคนิคการประพันธ์เพลงแบบสมัยใหม่และใช้เทคนิคสมัยใหม่ในการประพันธ์เพลง โดยผู้วิจัยพยายามนำมาผสมผสานได้อย่างลงตัวและอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย บทประพันธ์เพลง "ไตรลักษณ์" เป็นบทเพลงสำหรับออร์เคสตรา โดยมีความยาวประมาณ 12 นาที


การศึกษาแนวทางการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามในวรรณกรรมเรื่อง "A Series Of Unfortunate Events" ของ Lemony Snicket แปลโดย อาริตา พงศ์ธรานนท์, ณัฐชนน หนูแดง Jan 2018

การศึกษาแนวทางการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามในวรรณกรรมเรื่อง "A Series Of Unfortunate Events" ของ Lemony Snicket แปลโดย อาริตา พงศ์ธรานนท์, ณัฐชนน หนูแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวทางการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามในนวนิยายชุด A Series of Unfortunate Events เขียนโดย Lemony Snicket แปลโดย อาริตา พงศ์ธรานนท์ โดยศึกษาจากข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามที่มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การอธิบายความหมายแบบตรงตัว 2) การอธิบายความหมายตามสถานการณ์ 3) การอธิบายความหมายด้วยการใช้ความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย และ 4) การอธิบายด้วยการหลากคำหรือการใช้คำที่ง่ายกว่าหรือซับซ้อนน้อยกว่า ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประกอบการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ของ Christiane Nord ทฤษฎี Scene-and-frame Semantics ของ Charles J. Fillmore และแนวทางการแปลแบบตีความ (Interpretative Approach) ของ Jean Delisle โดยผู้วิจัยใช้ทฤษฎีดังกล่าวในการวิเคราะห์แนวทางการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามว่าผู้แปลใช้วิธีการใดในการเลือกแปลข้อความลักษณะดังกล่าว หลังจากที่ได้นำทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมาวิเคราะห์แนวทางการแปลพบว่า ผู้แปลจำเป็นต้องวิเคราะห์ภาพ (Scene) ของต้นฉบับเพื่อให้เห็นภาพและความหมายที่ชัดเจนตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการสื่อสาร ก่อนถ่ายทอดฉบับแปลโดยใช้รูปแบบ (Frame) ที่ทำให้เห็นภาพเช่นเดียวกันกับต้นฉบับ ซึ่งในการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามทั้ง 4 รูปแบบ บางครั้งผู้แปลไม่สามารถแปลตรงตัวได้ จึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบทางภาษาให้แตกต่างจากต้นฉบับโดยยึดความหมายเป็นหลักเพื่อให้ผู้อ่านฉบับแปลเห็นภาพเช่นเดียวกับผู้อ่านต้นฉบับ กรณีที่ผู้แปลไม่สามารถแปลแบบตรงตัวได้ ผู้แปลจึงใช้วิธีอื่นในการแก้ปัญหาการแปล เช่น การแปลโดยการอธิบายขยายความ หรือการเลือกที่จะตัดเนื้อความบางส่วนเพื่อให้ข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามเป็นเหตุเป็นผลในภาษาไทย


แนวคิดของสจ๊วต ชาปิโรเรื่องโครงสร้างนิยมแบบเอนเท่ เร็มของจำนวน, ขวัญตา ทรัพย์สินบูรณะ Jan 2018

แนวคิดของสจ๊วต ชาปิโรเรื่องโครงสร้างนิยมแบบเอนเท่ เร็มของจำนวน, ขวัญตา ทรัพย์สินบูรณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินแนวคิดของสจ๊วต ชาปิโรเรื่องโครงสร้างนิยมแบบเอนเท่ เร็มของจำนวน ซึ่งเป็นแนวคิดที่พยายามตอบปัญหาสำคัญทางอภิปรัชญาและญาณวิทยาเกี่ยวกับสถานะความมีอยู่และการเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับวัตถุทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจำนวน สำหรับประเด็นทางอภิปรัชญานั้น ชาปิโรได้เสนอมุมมองตำแหน่งสองประเภท ได้แก่ มุมมองตำแหน่งเป็นออฟฟิศ และมุมมองตำแหน่งเป็นวัตถุ รวมทั้งภววิทยาแบบองค์รวม ซึ่งดีกว่าแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอย่างแนวคิดของเบนาเซอร์ราฟ แนวคิดสัจนิยมแบบดั้งเดิมของเพลโต และแนวคิดโครงสร้างนิยมแบบอื่น ได้แก่ แนวคิดของพาร์สันส์ ส่วนในประเด็นทางญาณวิทยาเกี่ยวกับความรู้เรื่องโครงสร้าง ชาปิโรได้เสนอแนวคิดการเข้าถึงแบบองค์รวม ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างมูลฐานนิยมแบบลดทอนกับญาณวิทยาเชิงธรรมชาติ และได้แบ่งการเข้าถึงโครงสร้างออกเป็นสามลำดับขั้น ได้แก่ การตระหนักรู้ถึงรูปแบบและการสกัดออกมา การคาดคะเนล่วงหน้า และการนิยามโดยปริยาย โดยชาปิโรมีเหตุผลสนับสนุนที่สำคัญคือ การสรุปอ้างอิงถึงการอธิบายที่ดีที่สุด มีข้อโต้แย้งสองประการต่อแนวคิดของชาปิโร ได้แก่ ปัญหาเอกลักษณ์ของการไม่สามารถแยกแยะได้ ซึ่งเสนอโดยเบอร์เจส เฮลล์แมน และเคราเนน และปัญหาการเข้าถึงความรู้ ซึ่งเสนอโดยแมคไบรด์ ชาปิโรพยายามตอบข้อโต้แย้งในทุกประเด็น อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะยังไม่ประสบผลสำเร็จในการตอบปัญหาบางประเด็น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับบางแนวคิดที่จัดเป็นโครงสร้างนิยมเหมือนกันอย่างแนวคิดของพาร์สันส์ แนวคิดของชาปิโรน่ายอมรับได้มากกว่า ดังนั้น แนวคิดของชาปิโรจึงยังคงเป็นแนวคิดหนึ่งที่เราสามารถยอมรับได้


อรรถกถามหาสุบินชาดก: ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย, ธนบัตร ใจอินทร์ Jan 2018

อรรถกถามหาสุบินชาดก: ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย, ธนบัตร ใจอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของอรรถกถามหาสุบินชาดกที่มีต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีเรื่องพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนความสัมพันธ์กับวรรณคดีเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าอรรถกถามหาสุบินชาดกมีเนื้อหาหลักคือความฝันและคำทำนายทั้ง 16 ประการที่กวีนำไปสร้างสรรค์เป็นวรรณคดีพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลสำนวนต่าง ๆ ทั้งฉบับหอสมุดแห่งชาติ ฉบับภูมิภาคท้องถิ่น รวมถึงวรรณกรรมและความเรียงอธิบายในปัจจุบัน โดยเรื่องพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลฉบับต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ การรักษาความฝันและคำทำนายทั้ง 16 ประการดังกล่าวไว้ตามอรรถกถามหาสุบินชาดก นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นที่แตกต่างกันไปของแต่ละภูมิภาคด้วย พุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศล ฉบับหอสมุดแห่งชาติที่ค้นพบจำนวน 17 เล่มสมุดไทย แบ่งได้ 3 กลุ่มสำนวน โดยคัดเลือกตัวแทนสำนวนของแต่ละกลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใช้สำนวนเลขที่ 7 กลุ่มที่ 2 ใช้สำนวนเลขที่ 10 และ กลุ่มที่ 3 ใช้สำนวนเลขที่ 196 ซึ่งพบว่าสำนวนเลขที่ 196 ของฉบับหอสมุดแห่งชาติมีความสัมพันธ์กับทุกฉบับที่ค้นพบในท้องถิ่นภาคกลางที่เป็นร้อยกรอง แสดงให้เห็นความนิยมในแบบสำนวนดังกล่าว พุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลในภาคเหนือแสดงให้เห็นถึงลักษณะความเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาที่ใช้ประกอบการเทศน์สอน โดยมีการใช้ถ้อยคำสำนวน และคาถาบาลีที่สัมพันธ์กับอรรถกถามหาสุบินชาดกอย่างชัดเจน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแสดงลักษณะเด่นที่ใช้พุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลสะท้อนสังคมปัจจุบัน ทั้งการเมืองการปกครองและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สังคมอีกวิธีหนึ่ง ขณะที่ภาคใต้นอกจากมีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมแล้วยังมีมุ่งให้ความรู้ทั้งทางศีลธรรมและเป็นตำราการประพันธ์อีกด้วย อรรถกถามหาสุบินชาดกยังมีความสัมพันธ์ทางด้านเนื้อหาและแนวคิดกับวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ ได้แก่ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา กาพย์พระไชยสุริยา และกาละนับมื้อส่วย โดยปรากฏเนื้อหาความฝันหรือคำทำนายจากอรรถกถามหาสุบินชาดกบางข้อ และแนวคิดที่กล่าวถึงอนาคตบ้านเมืองหรือทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองที่ซึ่งหวังผลที่จะเตือนสติแนะแนวทางการประพฤติด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างสรรค์วรรณกรรมปัจจุบันและข้อเขียนที่อธิบายอรรถกถามหาสุบินชาดก ที่เชื่อมโยงข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ของสังคม เพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้เนื้อหาของอรรถกถามหาสุบินชาดกสามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมร่วมสมัย นอกจากนี้อรรถกถามหาสุบินชาดกสามารถทำความเข้าใจผ่านการตีความได้ 2 ระดับได้แก่ การตีความแบบโลกียะเพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกเพื่อดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขในสังคม และการตีความแบบโลกุตตระที่ทำให้เห็นถึงความเป็นอนิจจลักษณะ อันเป็นหนทางนำไปสู่นิพพานหรือการหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยหลักธรรมสำคัญที่ปรากฏคือ กรรมและอนิจจัง ยังปรากฏอยู่ในพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลสำนวนต่าง ๆ ด้วย การสร้างสรรค์เรื่องพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลดังกล่าวจึงได้ตอกย้ำความสำคัญของอรรถกถามหาสุบินชาดกในฐานะที่เป็นต้นทางของการสร้างสรรค์วรรณคดีไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้อย่างชัดเจน


การศึกษาเปรียบเทียบประโยคแสดงการดำรงอยู่ในภาษาจีนกลางกับประโยคที่สื่อความลักษณะเดียวกันในภาษาไทย, สุรกฤตย์ ใจบุญ Jan 2018

การศึกษาเปรียบเทียบประโยคแสดงการดำรงอยู่ในภาษาจีนกลางกับประโยคที่สื่อความลักษณะเดียวกันในภาษาไทย, สุรกฤตย์ ใจบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปประโยค องค์ประกอบ และความหมายของประโยคแสดงการดำรงอยู่ในภาษาจีนกลาง และการเปรียบเทียบกับภาษาไทย เพื่อให้ผู้เรียนภาษาจีนชาวไทยรู้จักและเข้าใจประโยคแสดงการดำรงอยู่ในภาษาจีนกลางอย่างถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่า การสื่อความหมายแสดงการดำรงอยู่มี 2 ลักษณะ ลักษณะที่หนึ่ง คือ "สถานที่หรือเวลาหนึ่งมีสิ่งบางสิ่งดำรงอยู่ ปรากฏขึ้น หรือหายไป" หรือลักษณะที่สอง คือ "มีสิ่งบางสิ่งดำรงอยู่ ปรากฏขึ้น หรือหายไป ณ สถานที่หนึ่ง" ซึ่งโครงสร้างของประโยคแสดงการดำรงอยู่ในภาษาจีนกลาง (存现句) จะมีลำดับคำตามการแสดงความหมายในลักษณะที่หนึ่งเท่านั้น หากจะแสดงความหมายตามลักษณะที่สองจะอยู่รูปประโยคอื่นที่สื่อความหมายเดียวกัน ประโยคที่สื่อความหมายแสดงการดำรงอยู่ในภาษาไทยใช้โครงสร้าง "มี..อยู่" มาเทียบเคียงกับการแสดงความหมายดำรงอยู่ได้ในทั้ง 2 ลักษณะ ต่างกันที่ตำแหน่งของวลีบอกสถานที่เท่านั้น ประโยคแสดงการดำรงอยู่แบ่งประเภทได้เป็น ประโยคแสดงการมีอยู่ (存在) ประโยคแสดงการปรากฏขึ้น (出现) และประโยคแสดงการหายไป (消失) ซึ่งประโยคแสดงการมีอยู่จะสามารถสื่อความได้ในรูปแบบแสดงสภาวะ (静态) เท่านั้น ส่วนประโยคแสดงการปรากฏขึ้นและประโยคแสดงการหายไปสามารถสื่อความได้ทั้งในรูปแบบแสดงสภาวะและรูปแบบแสดงการเคลื่อนไหว (动态) ภาษาไทยสามารถใช้กริยา "มี" คำเดียวโดยละคำว่า "อยู่" ได้ในรูปแสดงการมีอยู่โดยตรง และสามารถใช้กริยา "เกิด" หรือ "ปรากฏ" ในประโยคแสดงการแสดงการปรากฏขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้โครงสร้าง "มี...อยู่" ก็ได้ นอกจากนี้ ประโยคแสดงการดำรงอยู่ที่ใช้คำช่วย "过" หรือ "เคย" เรียกได้ว่าเป็น "ประโยคแสดงประสบการณ์การดำรงอยู่"


การถ่ายทอดองค์ประกอบทางวัฒนธรรมในบทแปลเรื่องสั้น “อสรพิษ” ฉบับภาษาสเปน, ทินประภา กรดนิยมชัย Jan 2018

การถ่ายทอดองค์ประกอบทางวัฒนธรรมในบทแปลเรื่องสั้น “อสรพิษ” ฉบับภาษาสเปน, ทินประภา กรดนิยมชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งวิเคราะห์ศึกษาการแปลองค์ประกอบทางวัฒนธรรมไทยในเรื่องสั้น "อสรพิษ" ของแดนอรัญ แสงทองสู่ฉบับแปลภาษาสเปน ผลงานนี้นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของผู้แปลที่ต้องถ่ายทอดเนื้อเรื่องที่สะท้อนวิถีชีวิตท้องถิ่นชนบทไทยสู่ภาษาของประเทศที่มีวัฒนธรรมแตกต่างจากไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ฉบับแปลนี้ไม่ได้แปลตรงจากต้นฉบับภาษาไทย แต่แปลผ่านต้นฉบับภาษาที่สองคือ ภาษาฝรั่งเศส การศึกษานี้ ผู้วิจัยเลือกองค์ประกอบทางวัฒนธรรมจากต้นฉบับไทย "อสรพิษ" (2545) ฉบับแปลภาษาฝรั่งเศส Venin (2544) และฉบับแปลภาษาสเปน Veneno (2545) รวม 83 ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นสี่หมวดหมู่ คือ ชื่อเฉพาะ มรดกทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมทางสังคม และวัฒนธรรมทางภาษา และนำตัวอย่างเหล่านี้มาศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายทอดความหมายและกลวิธีการแปล ผลการวิจัยพบว่ามีสองประเด็นที่สำคัญ ประการแรกคือ การถ่ายทอดองค์ประกอบทางวัฒนธรรมไทยสู่ภาษาฝรั่งเศสมาจากการผสมผสานกลวิธีการแปลหลากหลายเนื่องจากวัฒนธรรมไทยและฝรั่งเศสมีความแตกต่างกันอย่างมาก ในทางกลับกัน การแปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาสเปนส่วนใหญ่เป็นการใช้กลวิธีการแปลตรงตัว เนื่องจากฝรั่งเศสและสเปนมีลักษณะโครงสร้างภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน ประการที่สองคือ มีหลายกรณีที่ฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสมีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดองค์ประกอบทางวัฒนธรรมสู่ฉบับแปลภาษาสเปน อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ไม่พบอิทธิพลดังกล่าวในฉบับแปลภาษาสเปน เนื่องจากผู้แปลใช้วิธีการอื่นมาเสริม ได้แก่ การเลือกสรรคำแปล และการตีความเพิ่มเติมจากบริบท


การออกแบบระบบอัตลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร, กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ Jan 2018

การออกแบบระบบอัตลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร, กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาอาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ 4 ภูมิภาค ได้แก่ อาหารภาคเหนือ อาหารภาคกลาง อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอาหารภาคใต้ 2) เพื่อหาสัญลักษณ์ ตัวอักษร อารมณ์และสี ที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์อาหาร 4 ภูมิภาค 3) เพื่อหาสัญลักษณ์ ตัวอักษร อารมณ์และสี ที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์อาหารไทย ขั้นตอนและวิธีการวิจัย เก็บข้อมูลจากหนังสือ และบทความต่าง ๆ เพื่อสร้างแบบสอบถามสำหรับคนท้องถิ่น 200 ท่านและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร 3 ท่านด้วยเทคนิคเดลฟาย เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความเที่ยงที่ 0.9921 หลังจากนั้นสร้างแบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเรขศิลป์ 34 ท่านด้วยเทคนิคเดลฟาย เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 และ 3 แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความเที่ยงที่ 1.0000 ผลการวิจัยพบว่า อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภาคเหนือ ได้แก่ แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ไส้อั่ว ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย น้ำพริกหนุ่ม อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคกลาง ได้แก่ แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง ห่อหมกปลา แกงเผ็ด พะแนง แกงส้ม อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ไส้กรอกอีสาน ส้มตำ ลาบ น้ำพริกปลาร้า ปลาร้าบอง อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคใต้ ได้แก่ แกงไตปลา ข้าวยำ แกงเหลือง คั่วกลิ้ง ปลาทอดขมิ้น บูดูทรงเครื่อง ไก่กอ ผัดสะตอ การออกแบบระบบอัตลักษณ์ที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์อาหารภาคเหนือ สัญลักษณ์ ได้แก่ 1. แบบสมมาตรหลายแกน 2. แบบเปิด 3. แบบเส้นโค้ง 4. แบบไม่มีเส้นขวาง ตัวอักษรไทย ได้แก่ Handwriting และ Crossover ตัวอักษรอังกฤษ ได้แก่ Humanist และ …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความตายในบริบทของศาสนา, กชกร ชิตท้วม Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความตายในบริบทของศาสนา, กชกร ชิตท้วม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความตายในบริบทของศาสนา ในประเด็นพิธีศพและความเชื่อหลังความตายในศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดงมีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดงเป็นแบบการปะติด แบบไม่เรียงร้อยเรื่องราว แบ่งเป็น 2 องก์ ได้แก่ องก์ 1 ปลงสังขาร และองก์ 2 หลังความตาย 2) นักแสดงได้คัดเลือกโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับบทการแสดง และมีทักษะความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ 3) ลีลาการเคลื่อนไหว นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ประกอบด้วย ลีลา การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ลีลาการทำซ้ำ การด้นสดที่เกิดจากการสัมผัสระหว่างร่างกายของมนุษย์ การด้นสด และลีลาการเคลื่อนไหวที่แสดงอารมณ์แบบละคร 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่ใช้ร่วมกับลีลาการเคลื่อนไหว ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ปรากฏและสามารถสื่อความหมายตามแนวคิดความตายและพิธีศพ และอุปกรณ์ประกอบการแสดงที่สร้างบรรยากาศในการแสดง ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่สร้างกลิ่นหอมดอกไม้ กลิ่นพิมเสน กลิ่นน้ำอบ และกลิ่นธูป ซึ่งเป็นกลิ่นที่มีความสอดคล้องกับกลิ่นที่ปรากฏในพิธีศพ 5) เสียงประกอบการแสดง ประกอบด้วย ความเงียบ เสียงจากบทพูดของนักแสดง และเสียงสังเคราะห์ในการสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ 6) เครื่องแต่งกายเน้นความเรียบง่าย โดยการตัดเย็บแบบชุดลำลองด้วยผ้าด้ายดิบ 7) พื้นที่การแสดง ใช้สถานที่ภายในโรงละครแบล็ค บ็อกซ์ เธียร์เตอร์ มีการใช้เวทีที่เปิดออกด้วยระบบไฮโดรลิกส์ มีลักษณะเป็นช่องสี่เหลี่ยมอยู่บริเวณส่วนหน้าของเวทีในการสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ ตลอดจนมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงสร้างแบบรูป บนพื้นที่การแสดง และ 8) แสงประกอบการแสดงใช้สื่อความหมายผ่านการสร้างสัญลักษณ์ด้วยแสง ตลอดจนใช้เสริมอารมณ์ความรู้สึกและบรรยากาศ ส่วนแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความตายในบริบทของศาสนา ประกอบด้วยแนวคิด 5 ประการ ได้แก่ 1) แนวคิดความตายในปรัชญาทางศาสนา 2) แนวคิดพหุวัฒนธรรม 3) แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 4) แนวคิดความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ และ 5) แนวคิดความคิดสร้างสรรค์


การประพันธ์เพลงตับเรื่อง “บัวสามเหล่า”, ธิติ ทัศนกุลวงศ์ Jan 2018

การประพันธ์เพลงตับเรื่อง “บัวสามเหล่า”, ธิติ ทัศนกุลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การประพันธ์เพลงตับเรื่อง "บัวสามเหล่า" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของพระธรรมเรื่อง บัวสามเหล่า ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมณิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ และเพื่อสร้างสรรค์ บทเพลงมโหรี ตับเรื่อง "บัวสามเหล่า" เพื่อใช้เผยแพร่แก่พุทธศาสนิกชน ผลการวิจัยพบว่าบัวมีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนาและมีนัยยะไปในเรื่องของความเป็นมงคล เกี่ยวข้องกับคำสอนทางศาสนาอย่างเด่นชัด มีปรากฏเรื่องบัวทั้งในงานด้านวรรณกรรมและงานศิลปกรรม พระธรรมที่เกี่ยวข้องกับบัวสามเหล่า คือ การอุปมาเรื่องการจัดแบ่งบัวตามความหมายของศักยภาพการเข้าถึงความรู้ของคน ก่อนการเผยแพร่พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับบุคคลประเภทต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับบัวใต้น้ำ บัวปริ่มน้ำและบัวพ้นน้ำ การศึกษาบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิธีการประพันธ์เพลงสร้างสรรค์ครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดกลุ่มเสียง หากเป็นทำนองที่เป็นสำเนียงที่ไม่ใช่สำเนียงไทย จะกำหนดกลุ่มเสียงเดียวเป็นส่วนใหญ่ หากเป็นสำเนียงไทยจะมีการกำหนด 2 - 3 กลุ่มเสียง การใช้เสียงมาเรียงร้อยเป็นทำนองเพลงเกือบทั้งหมดใช้เสียงเรียงกันขึ้นลงอย่างเป็นระเบียบ ไม่เน้นทำนองที่ผันผวน และเพลงส่วนใหญ่จะขึ้นต้นเพลงปรากฏทั้งการเคลื่อนที่แนวเสียงวิถีขึ้นและลง และมักจะจบเพลงด้วยแนวเสียงวิถีลง สำหรับเพลงระบำของครูมนตรี ตราโมท การดำเนินทำนองปรากฏทำนองเกริ่น ทำนองจังหวะยก หากเป็นเพลงประเภทโหมโรงและเพลงเถามักมีทำนองลูกล้อลูกขัด อีกทั้งทำนองเพลงส่วนใหญ่เป็นทำนองลักษณะบังคับทางและเสียงลูกตกระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลังมีการกำหนดให้เป็นเสียงที่ห่างกันอย่างหลากหลาย การประพันธ์เพลงใหม่ ได้ทำการประพันธ์โดยใช้วิธีขยายทำนองจากเพลงต้นราก การประพันธ์ด้วยจินตนาการ การขยายและยุบทำนองหลังจากนั้นตบแต่งทำนองให้มีสำนวนใหม่ การประพันธ์ทำนองขึ้นใหม่จากโครงสร้างบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตรของพระภิกษุ การกำหนดทำนองเพลงมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน ส่วนแรก ทำนองส่วนต้น ประกอบด้วยทำนองเกริ่น ปฐมภูมิและเพลงบัว 3 เหล่า โดยเพลงบัว 3 เหล่ามีเพลงย่อยจำนวน 3 เพลง คือ เพลงเนยยะบุศย์ เพลงบุศย์น้ำดุล เพลงสุริยโกเมศ ส่วนที่สอง ทำนองส่วนท้าย ประกอบด้วยเพลง 3 เพลง ที่ประพันธ์ทำนองจากบทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกอบด้วย เพลงหันทะมะยัง เพลงบทขัดธัมมจักกัปปวัตนสูตร และเพลงธัมมจักกัปปวัตนสูตร สำหรับเพลงที่ 3 ประกอบด้วยเพลงย่อยอีก 7 เพลงคือ เพลงปฐมธัมมจักร เพลงคู่พยายาม เพลงปลายคู่พยายาม เพลงอริยสัจสี่ เพลงเทวานัง เพลงปิติศานติ์ และเพลงตติยภูมิ บทเพลงที่แต่งใหม่ใช้หลักการจากการวิเคราะห์เพลงที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้ได้แก่ การกำหนดทางการเลือกใช้เสียง การเลือกทำนองเกริ่น การเลือกทำนองลูกล้อลูกขัด การกำหนดเสียงลูกตก นอกจากนี้ การตกแต่งทำนองยังคงความหมายของเพลงต้นรากอย่างเคร่งครัด


วาดเส้นทัศนวัตถุกับความว่าง : บทสนทนากับปัจจุบันขณะและวัตถุที่ไร้การปรุงแต่ง, ตฤณภัทร ชัยสิทธิศักดิ์ Jan 2018

วาดเส้นทัศนวัตถุกับความว่าง : บทสนทนากับปัจจุบันขณะและวัตถุที่ไร้การปรุงแต่ง, ตฤณภัทร ชัยสิทธิศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสร้างสรรค์เรื่องวาดเส้นทัศนวัตถุกับความว่าง: บทสนทนากับปัจจุบันขณะและวัตถุที่ไร้ การปรุงแต่ง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์การวาดเส้นจากผลงานของ ศิลปินที่ทำให้เกิดสมาธิ 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นทัศนวัตถุกับความว่าง: บทสนทนากับปัจจุบันขณะ และวัตถุที่ไร้การปรุงแต่งด้วยกระบวนการวาดเส้นตามหลักการทัศนมิติเพื่อเรียนรู้เรื่องสมาธิ และ 3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากการสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้สร้างผลงานชุดนำร่องด้วยหลักการวาดเส้นทัศนมิติเป็นรูปทรงสิ่งของจำนวน 3 ภาพ เพื่อยืนยันว่าการลากเส้นสัมพันธ์กับสมาธิจดจ่อกับเวลาปัจจุบันขณะ จากนั้นจึงได้วิเคราะห์ผลงานศิลปกรรมจากศิลปินที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสมาธิ รวมทั้งศิลปินที่เน้นกระบวนการในการสร้างผลงาน ทำให้ได้วิธีการ สร้างสรรค์ที่มีเนื้อหาสะท้อนกระบวนการทางศิลปะ สมาธิจดจ่อ และเวลา นำไปสู่ผลงานวาดเส้นทัศนวัตถุกับ ความว่าง: บทสนทนากับปัจจุบันขณะและวัตถุที่ไร้การปรุงแต่งทั้งหมด 2 ชุด จำนวน 20 ชิ้น ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยวิธีการวาดเส้นทัศนมิติสามารถทำให้ เกิดสมาธิหรือการจดจ่อต่อการทำงาน 3 ระดับ นอกจากนั้นผลงานสร้างสรรค์ยังแสดงให้เห็นว่างานจิตรกรรม สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้ ผลงานที่ออกมาสามารถแสดงให้เห็นการจดจ่อกับเวลา ปัจจุบันขณะและพัฒนาการของสมาธิที่เกิดขึ้นในขณะสร้างงาน เวลาปัจจุบันของการสร้างงานยังสะท้อนอยู่ เพราะไม่มีเนื้อหาใดปรากฏให้เห็นนอกจากการลากเส้น แม้ผลงานจะเสร็จสิ้นแล้วก็ยังสามารถแสดงให้ผู้ชม เห็นถึงเวลาอันเป็นปัจจุบันของผู้สร้างอยู่เสมอ ผลงานมีสถานะเป็นงานสร้างสรรค์เนื่องจากผู้วิจัยได้ใช้เวลามา สนับสนุนความสามารถของมนุษย์โดยนำเวลาที่ใช้ในการทำงานอย่างต่อเนื่องในแต่ละวันมาแสดงให้เห็นว่า ผลงานนั้นเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจ ความจดจ่อและสมาธิที่เกิดขึ้น


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์, ตวงพร มีทรัพย์ Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์, ตวงพร มีทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ภายใต้หัวข้อ การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ และเพื่อหาแนวคิดหลังการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างเป็นการแสดงสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และทำการสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับองค์ประกอบทั้ง 8 ที่อยู่บนพื้นฐานจากการศึกษาวรรณกรรม เพื่อใช้ในการกำหนดองก์การแสดงต่าง ๆ ประกอบไปด้วย 2 องก์ องก์ที่ 1 ไฟแห่งรูปธรรม ได้แก่ กำเนิดไฟและลุยไฟ และองก์ที่ 2 ไฟแห่งนามธรรม ได้แก่ ไฟราคะและไฟแค้น พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ในเรื่อง การวิเคราะห์แนวคิดการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ของไฟกับมนุษย์ การคำนึงถึงบริบทของไฟในเชิงรูปธรรมและนามธรรม การคำนึงถึงทฤษฎีการเผาไหม้ ทฤษฎีอุปลักษณ์มโนทัศน์ และทฤษฎีสัญญะ และการคำนึงถึงภาพสะท้อนในสังคมปัจจุบันกับงานนาฏยศิลป์ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์คุณค่าของงานนาฏยศิลป์ด้วยการนำเกณฑ์มาตรฐานศิลปินมาร่วมประกอบการวิเคราะห์กับองค์ประกอบนาฏยศิลป์ทั้ง 8 ในการสร้างสรรค์ผลงาน งานวิทยานิพนธ์นี้จะมีคุณค่าต่อสังคมในการให้แนวคิดและปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ในด้านของการใช้ไฟเป็นสัญญะของการดำรงตนอยู่ในความซื่อสัตย์ การไม่ตกอยู่ในความลุ่มหลงที่นำไปสู่หายนะ และการสะท้อนผลแห่งการกระทำ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาไฟในบริบทต่าง ๆ จากวรรณกรรมที่หลากหลาย แล้วจึงคัดเลือกไฟที่มีบทบาทสำคัญ มาทำการต่อยอดเป็นผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ที่น่าสนใจ โดยการเล่าเรื่องราวผ่านวรรณกรรม นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ยังเป็นการศึกษาไฟในเชิงวิทยาศาสตร์และภาษาศาสตร์นำมาผนวกเข้ากับศิลปกรรมศาสตร์ได้อย่างลงตัว


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย, ภคพร หอมนาน Jan 2018

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย, ภคพร หอมนาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทยและการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ มาสร้างเป็นการแสดงสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์และดำเนินการสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบทั้ง 8 และการศึกษาจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดจนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ผู้วิจัยได้กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อนำมาใช้กำหนดองก์การแสดงทั้ง 6 องก์ ประกอบไปด้วยองก์ที่ 1 ห้องแห่งอดีต องก์ที่ 2 ห้องแห่งความหรูหรา องก์ที่ 3 ห้องแห่งข่าวสาร องก์ที่ 4 ห้องแห่งความลับ องก์ที่ 5 ห้องแห่งความเศร้า และองก์ที่ 6 ห้องแห่งวิถีสังคมเมืองของไทย พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์แนวคิดการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทยและการคำนึงถึงรูปแบบในการใช้ห้องน้ำในสังคมเมือง ทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยา ทฤษฎีทางด้านสัญวิทยา ทฤษฎีทางด้านทัศนศิลป์ และการคำนึงถึงภาพสะท้อนสังคมปัจจุบันและสภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์เป็นสื่อในการอธิบายความหมาย นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์คุณค่าของงานนาฏยศิลป์ด้วยการนำเกณฑ์มาตรฐานศิลปินมาร่วมประกอบการวิเคราะห์และองค์ประกอบนาฏยศิลป์ทั้ง 8 ในการสร้างสรรค์งาน วิทยานิพนธ์นี้มีคุณค่าต่อสังคมในด้านการสร้างสรรค์ฉากการแสดงที่มีนัยยะการแฝงความหมายของพฤติกรรมมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบันและรวมไปถึงภาพสะท้อนพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทยที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในแง่มุมต่าง ๆ ตามวิถีสังคมเมือง