Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

1990

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Arts and Humanities

วรรณกรรมอเมริกันกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, อานันท์ชนก พานิชพัฒน์ Aug 1990

วรรณกรรมอเมริกันกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, อานันท์ชนก พานิชพัฒน์

Journal of Letters

การวิจัยนี้เป็นการสํารวจวรรณกรรมอเมริกันตั้งแต่สมัยแรกมาจนถึงสมัยปัจจุบันเพื่อวิเคราะห์วิจัย ว่านักเขียนอเมริกันให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากเพียงใดและอย่างไร วรรณกรรมที่สำรวจมีทั้ง ประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง ทั้งประเภทสาระและบันเทิง ผลการวิจัยได้พบว่านักเขียนอเมริกันเริ่มหัน สนใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษที่สิบเก้าเป็นต้นมา โดยเริ่มแทรกความคิดอ่านเรื่องการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ในงานประพันธ์ไม่มากก็น้อย ความสนใจด้านอนุรักษ์ได้เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในช่วง ปลายคริสตศตวรรษที่ยี่สิบ นับแต่ได้มีการกำหนดวันอนุรักษ์โลก (Earth Day) ขึ้นเมื่อปีคริสตศักราช ๑๙๗๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการวรรณกรรมประเภทนวนิยาย ช่วงปี ๑๙๗๐ ถึง ๑๙๘๐ เป็นช่วงเวลาที่นัก เขียนนวนิยายอเมริกันหลายคนนิยมผูกโครงสร้างหลักของนวนิยายให้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง เพื่อชี้แนะ ให้เห็นความเสื่อมโทรมต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมในโลกยุคเทคโนโลยีซึ่งมักส่งผลร้ายต่อผู้คนในเรื่อง อันเป็น เสมือนตัวแทนของคนทั่วไป ทั้งนี้มีเจตนาให้ผู้อ่านตื่นตัวเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องหันมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกทั้งในปัจจุบันและในอนาคต


คุณธรรมหลักของพระเอกในนวนิยาย ของ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ในทัศนะของผู้อ่านคนไทย, ฉันทนา ไชยชิต Aug 1990

คุณธรรมหลักของพระเอกในนวนิยาย ของ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ในทัศนะของผู้อ่านคนไทย, ฉันทนา ไชยชิต

Journal of Letters

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่องคุณธรรมที่เป็นหลักนำพฤติกรรมของตัวละครพระเอก ๔ คนในนวนิยาย สำคัญ ๔ เรื่องของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway, 1899-1961) นักเขียนอเมริกันใน ศตวรรษที่ยี่สิบ การวิจัยดำเนินไปในสองรูปแบบควบคู่กัน คือ การวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ ความคิดเห็นจากกลุ่มผู้อ่าน ผลการวิจัยในส่วนรวมได้พบว่าพระเอกทั้ง ๔ คนในนวนิยายดังกล่าวมีคุณธรรม หลัก คือความมีเหตุผลและความมีสติสัมปชัญญะ อยู่ในเกณฑ์สูงสุด นอกจากนั้น การวิจัยยังได้พบว่า ประสบการณ์ส่วนตนและพื้นภูมิหลังชีวิตของเฮมิงเวย์เอง คือปัจจัยสำคัญในการที่เฮมิงเวย์ได้ร้อยโยงชีวิตจริง ให้เข้ากับจินตนาการการสร้างสรรค์ ในการสร้างและเสนอให้เห็นลักษณะตัวละครที่ประกอบด้วยหลักคุณธรรม อันเป็นหลักความประพฤติสากล เพื่อแสดงให้เห็นชีวิตมนุษย์ที่มีคุณค่า ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน


แนวเขียนเชิงอัตชีวประวัติในผลงานของ Colette, พวงคราม พันธ์บูรณะ Aug 1990

แนวเขียนเชิงอัตชีวประวัติในผลงานของ Colette, พวงคราม พันธ์บูรณะ

Journal of Letters

ชื่อของ Colette โดดเด่นในโลกวรรณกรรมฝรั่งเศสในกึ่งแรกของศตวรรษที่ ๒๐ ผลงานของเธอมีจำนวนมหาศาลและมีรูปแบบหลากหลาย แต่ลักษณะเด่นที่สร้างเอกภาพของผลงานเหล่านี้ก็คือ การถ่าย ทอดชีวิตส่วนตัวของเธอลงในวรรณกรรม แม้ว่า Colette จะยืนกรานปฏิเสธที่จะเขียนอัตชีวประวัติเสมอมา อีกทั้งวิธีเล่าย้อนอดีตก็ขาดความต่อเนื่อง แต่ผลงานของเธอมีจุดหมายหลักร่วมกับวรรณกรรมอัตชีวประวัติ ทั่วไป คือการแสวงหาตนเองเพื่อกำหนดความหมายของชีวิต Colette เน้นความสำคัญของวัยเยาว์และวาด ภาพ Side มารดาของเธออย่างงดงาม สตรีผู้นี้คือสัญลักษณ์ของวัยเยาว์อันบริสุทธิ์และเป็นแบบอย่างการ ดำเนินชีวิตอย่างกลมกลืนกับวิถีธรรมชาติสําหรับ Colette เธอเชื่อว่าประสาทความรู้สึกทั้งห้าเป็นกุญแจเบิก ทางให้มนุษย์สามารถสมัครสมานเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล สันติสุขและเสรีภาพย่อมมีรากฐานบนการเคารพ กฎธรรมชาติเท่านั้น ลีลาร้อยแก้วอันไพเราะเพริดพริ้งของ Colette หลั่งไหลจากความรู้สึกชื่นชมในคุณค่าของ ชีวิต และช่วยส่งผลให้ผลงานของเธอมีลักษณะเฉพาะตน ซึ่งยั่งยืนเหนือกาลเวลา


จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า (ไม่ขอข้าวขอแกง) : เรื่องของเด็กกับสภาวะแวดล้อมที่กร่อนกินใจ, พรรัตน์ ดำรง Aug 1990

จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า (ไม่ขอข้าวขอแกง) : เรื่องของเด็กกับสภาวะแวดล้อมที่กร่อนกินใจ, พรรัตน์ ดำรง

Journal of Letters

No abstract provided.


ปัญหาการแปลหนังสือวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, ถาวร วัชราภัย Aug 1990

ปัญหาการแปลหนังสือวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, ถาวร วัชราภัย

Journal of Letters

No abstract provided.


ในแวดวงอักษรศาสตร์ : พัฒนาการของศาสตร์ "เยอรมันในฐานะภาษา ต่างประเทศ" ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, พรสรรค์ วัฒนางกูร Aug 1990

ในแวดวงอักษรศาสตร์ : พัฒนาการของศาสตร์ "เยอรมันในฐานะภาษา ต่างประเทศ" ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, พรสรรค์ วัฒนางกูร

Journal of Letters

No abstract provided.


ปรัชญากับวรรณคดี, ปรีชา ช้างขวัญยืน Aug 1990

ปรัชญากับวรรณคดี, ปรีชา ช้างขวัญยืน

Journal of Letters

No abstract provided.


บทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมภาษาและวรรณคดีไทย, นิธิ เอียวศรีวงศ์ Aug 1990

บทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมภาษาและวรรณคดีไทย, นิธิ เอียวศรีวงศ์

Journal of Letters

No abstract provided.


วชิรญาณ, ชลดา โกพัฒตา Jan 1990

วชิรญาณ, ชลดา โกพัฒตา

Journal of Letters

No abstract provided.


บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : คนขายถั่ว, ประเทือง ทินรัตน์ Jan 1990

บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : คนขายถั่ว, ประเทือง ทินรัตน์

Journal of Letters

No abstract provided.


ความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ : ศึกษากรณี ธรรมยุติกนิกาย (พ.ศ. ๒๓๖๘- พ.ศ. ๒๔๖๔), ศรีสุพร ช่วงสกุล Jan 1990

ความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ : ศึกษากรณี ธรรมยุติกนิกาย (พ.ศ. ๒๓๖๘- พ.ศ. ๒๔๖๔), ศรีสุพร ช่วงสกุล

Journal of Letters

No abstract provided.


ขบวนการเสรีไทยกับความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๙๒, สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ Jan 1990

ขบวนการเสรีไทยกับความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๙๒, สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ

Journal of Letters

No abstract provided.


แนวทางวรรณกรรมเยอรมัน ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๕ ถึงปัจจุบันโดยสังเขป, พรสรรค์ วัฒนางกูร Jan 1990

แนวทางวรรณกรรมเยอรมัน ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๕ ถึงปัจจุบันโดยสังเขป, พรสรรค์ วัฒนางกูร

Journal of Letters

การศึกษาแนวทางวรรณกรรมอาจกระทําได้โดยพิจารณาวรรณคดีของชาตินั้น ๆ ในช่วงเวลาที่ต่อ เนื่องในประวัติศาสตร์ หรืออาจศึกษา โดยเริ่มจากวรรณกรรมปัจจุบันหรืออดีตที่ใกล้ตัวเราที่สุดโดยไม่เรียง ลําดับตามยุคสมัยในประวัติศาสตร์ก็ได้ ข้อดีของการพิจารณาแนวทางวรรณกรรมด้วยวิธีหลังนี้ ทำให้ผู้ศึกษา สามารถเข้าถึงวรรณกรรมนั้น ๆ โดยประสบการณ์จากการอ่านได้ง่ายขึ้น เพราะการตีความงานวรรณศิลป์ร่วม สมัยหรือในยุคที่ไล่เลี่ยกับช่วงที่เรามีชีวิตอยู่ ย่อมง่ายกว่าการตีความวรรณกรรมที่เขียนขึ้นเมื่อหลายร้อยปีแล้ว ทั้งผู้อ่านยังสามารถเข้าใจสภาพสังคมและวัฒนธรรมในสมัยที่เป็นจุดกําเนิดวรรณศิลป์ได้ดีขึ้นด้วยความน่าสนใจของการศึกษาวรรณคดีมิได้อยู่ที่การมองวรรณกรรม ในแต่ละยุคสมัยว่ามีแนวทางอย่างไรในลักษณะการเสนอข้อมูลที่ตายตัว แต่อยู่ที่การพิจารณาว่า วรรณกรรมแต่ละยุคเปลี่ยนจากแนวหนึ่งไป สู่อีกแนวหนึ่งได้อย่างไร และเราได้พบว่า วรรณกรรมเยอรมันตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๕ ถึงปัจจุบันนั้น มัก จะเปลี่ยนแปลงในลักษณะวิภาษวิธี นั่นคือแนวทางของวรรณกรรมในยุคหนึ่งจะขัดแย้งกับแนวทางวรรณกรรม ของยุคก่อนหน้านั้นสลับกันไป ดังภาพรวมสรุปที่ผู้เขียนจะได้เสนอในบทความนี้


การศึกษาโครงสร้างรวมวรรณนิพนธ์เพื่อชีวิต เรื่อง "เพลงน้ำระบำเมฆ" ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, วัลยา วิวัฒน์ศร Jan 1990

การศึกษาโครงสร้างรวมวรรณนิพนธ์เพื่อชีวิต เรื่อง "เพลงน้ำระบำเมฆ" ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, วัลยา วิวัฒน์ศร

Journal of Letters

ในการตีพิมพ์รวมเล่มเรื่องสั้น นักเขียนแต่ละคนย่อมจะคัดสรรเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เป็นผู้มีผลงานเรื่องสั้นเป็นจำนวนมาก และมีเรื่องสั้นรวมเล่มอยู่หลายเล่มเช่นกัน เพลงน้ำระบำเมฆ เป็นการรวมเรื่องสั้นที่ท้าทายต่อการค้นหาจุดมุ่งหมายเฉพาะนั้นด้วยมีการเรียงเรื่อง ที่ย้อนลำดับเวลาไปมา จากของแต่ละเรื่องก็แตกต่างกันชนิดผิดสีผิดกลิ่น และแก่นเรื่องหลักนั้นก็ซ่อนอยู่ใน ระดับลึก การศึกษาโครงสร้างของรวมเรื่องสั้นเล่มนี้โดยพิจารณาจากองค์ประกอบด้านเวลา สถานที่ แก่นเรื่อง อาจนำไปสู่คำตอบที่ต้องการทราบนั้นได้


อุดมการณ์ทางการเมืองในวรรณคดีควิเบค : ภาพสะท้อนของประเทศฝรั่งเศส, อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์ Jan 1990

อุดมการณ์ทางการเมืองในวรรณคดีควิเบค : ภาพสะท้อนของประเทศฝรั่งเศส, อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์

Journal of Letters

ควิเบคมีประวัติศาสตร์อันยาวนานนับตั้งแต่ชาดส์ คาร์ติเย (Jacques Cartier) ค้นพบประเทศ คานาดาเป็นต้นมา จากการเป็นดินแดนอาณานิคมฝรั่งเศสใหม่ (La Nouvelle France) เปลี่ยนมาเป็น ดินแดนอาณานิคมภายใต้การปกครองของอังกฤษ จนมาถึงระบอบสหพันธรัฐเป็นรัฐหนึ่งของคานาดาในปัจจุบัน นับว่าควิเบคได้ฝ่ากระแสคลื่นทางการเมืองมาอย่างโชกโชนจนหล่อหลอมอุดมการณ์แห่งชาติที่เป็นของตนเอง ขึ้นมาได้ เป็นที่น่าสนใจว่าวรรณคดีควิเบคได้ซึมซับและจารึกอุดมการณ์ทางการเมืองไว้มาก จนเราสามารถจะ นำวรรณคดีมาศึกษาเพื่อค้นหาพัฒนาการของอุดมการณ์ดังกล่าว และด้วยเหตุที่อุดมการณ์ทางการเมืองนี้ เกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับประเทศฝรั่งเศส เราจึงสามารถได้ภาพของประเทศฝรั่งเศสที่สะท้อนอยู่ในวรรณคดี ควิเบคไปพร้อม ๆ กัน


บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ Jan 1990

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์

Journal of Letters

No abstract provided.


ทวารวดีคือเมืองลพบุรี, พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์ Jan 1990

ทวารวดีคือเมืองลพบุรี, พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์

Journal of Letters

บทความทางวิชาการเรื่องนี้ เป็นการเสนอข้อมูลทฤษฎีใหม่ ทางประวัติศาสตร์ยุคต้นของเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดจากผลของการวิเคราะห์ศึกษาทางศิลปะและโบราณคดีของประเทศ โดยผู้เขียนเองได้ ร่วมดำเนินงานสอบสวนวิเคราะห์โบราณสถานวัตถุอย่างละเอียดกับทางราชการ คือหน่วยศิลปากรที่ ๑ โครงการ บูรณะโบราณสถานลพบุรี กองโบราณคดี กรมศิลปากร ตั้งแต่ระยะเวลาปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ตลอดมาถึง พ.ศ. ๒๕๓๐-กลางปี ๒๕๓๑ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของผู้เขียนเป็นเพียงการเสนอผลของการค้นคว้าสอบสวนใน ปัจจุบัน มิได้ตั้งใจจะคัดค้านทำลายสมมติฐานทฤษฎีความเชื่อเดิมโดยพลการ แต่ขอฝากงานการวิเคราะห์นี้ ไว้ในดุลยพินิจวิจารณญาณของผู้อ่าน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ของท่านเองเป็นสำคัญ...


แนวความคิดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์มนุษย์, ฉัตรชัย พงศ์ประยูร Jan 1990

แนวความคิดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์มนุษย์, ฉัตรชัย พงศ์ประยูร

Journal of Letters

ภูมิศาสตร์ในฐานะที่เป็นศาสตร์สาขาวิชาแบบผสมผสานระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพซึ่งมีต้นกำเนิด มานานแล้ว กับภูมิศาสตร์มนุษย์ซึ่งถือกำเนิดระยะหลัง ตกอยู่ในสภาพที่แตกแยกได้ความเป็นเอกภาพและก่อเกิดความเป็นอิสระขึ้นมากมายภายในสาขาวิชา ดังจะเห็นได้จากการถกเถียงกันมานานแล้วเกี่ยวกับคำจำกัด ความของสาขาวิชา และเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของวิชา รวมไปถึงความสัมพันธ์ร่วมกับสาขาวิชาอื่นด้วย (Johnston, ๑๙๘๖) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเรียกร้องให้สนใจในด้านความสัมพันธ์ระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพ และภูมิศาสตร์มนุษย์ซึ่งเข้าใจว่าไม่ได้อยู่ต่างสาขาวิชากัน แต่ก็แปลกที่นักภูมิศาสตร์กายภาพจะไม่สนใจ เกี่ยวกับภูมิศาสตร์มนุษย์ และนักภูมิศาสตร์มนุษย์ก็ไม่สนใจภูมิศาสตร์กายภาพ นักภูมิศาสตร์บางคนจึงเสนอ ให้ลืมภูมิศาสตร์กายภาพเสียทั้งหมดแล้วเอาภูมิศาสตร์มนุษย์เข้าแทนที่ภูมิศาสตร์ทั้งมวล (Gould, ๑๙๘๕)


ความเปลี่ยนแปรของสำนึกทางประวัติศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕, อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ Jan 1990

ความเปลี่ยนแปรของสำนึกทางประวัติศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕, อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

Journal of Letters

No abstract provided.


ขุนนางกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการปกครองในสมัยอยุธยา, มานพ ถาวรวัฒน์สกุล Jan 1990

ขุนนางกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการปกครองในสมัยอยุธยา, มานพ ถาวรวัฒน์สกุล

Journal of Letters

No abstract provided.


ความเห็นของดอสโตเยฟสกี ผ่านทางปากของคุณพ่อโซซิมา, สรยุทธ ศรีวรกุล Jan 1990

ความเห็นของดอสโตเยฟสกี ผ่านทางปากของคุณพ่อโซซิมา, สรยุทธ ศรีวรกุล

Journal of Letters

ดอสโตเยฟสกีได้แสดงความเชื่อมั่นในพระเจ้า ตลอดจนทัศนคติเกี่ยวกับโลก มนุษย์ และเสรีภาพ ผ่านทางนวนิยายเรื่อง พี่น้องคารามาซอฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางตัวละครคือ คุณพ่อโซซิมา เขาเห็นด้วย กับสังคมที่ยึดถือความรักเป็นเกณฑ์ แต่ความรักนั้นต้องเป็นความรักที่จริงแท้ มิใช่ความรักในเชิงจินตนาการ ส่วนเสรีภาพที่แท้ในความคิดเห็นของเขาคือการเป็นนายเหนือตัวเอง มนุษย์จะเข้าถึงเสรีภาพที่แท้ได้ก็โดยการ อธิษฐานภาวนา ความสำรวม และการนบนอบต่อตัวแทนที่แท้ของพระเจ้าบนโลกนี้


หนังสือสำหรับเด็กในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๙, กล่อมจิตต์ พลายเวช Jan 1990

หนังสือสำหรับเด็กในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๙, กล่อมจิตต์ พลายเวช

Journal of Letters

การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจปริมาณของหนังสือสำหรับเด็ก ของไทยที่จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ในช่วง ปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๙ จำแนกประเภท เนื้อหา และการจัดพิมพ์ อันได้แก่ ขนาดรูปเล่ม และราคาของ หนังสือ และศึกษาสภาพการผลิตหนังสือสำหรับเด็กในด้านผู้แต่ง ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ และผู้จัดพิมพ์ หรือสำนักพิมพ์ ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ช่วยให้มองเห็นสภาพและแนวโน้มของการผลิตหนังสือสำหรับเด็ก ของไทยในด้านปริมาณการผลิต เนื้อหา ขนาด รูปเล่ม ราคา รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง กับการผลิตหนังสือสําหรับ เด็ก อันได้แก่ ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ และผู้จัดพิมพ์หรือสํานักพิมพ์และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง กับวงการวรรณกรรมสำหรับเด็กได้ใช้เป็นแนวทางในการผลิตหนังสือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการให้บริการการอ่านแก่เด็ก