Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

1988

Articles 1 - 26 of 26

Full-Text Articles in Arts and Humanities

วิจารณ์หนังสือ : ลอกคราบวัฒนธรรมฝรั่ง ของ ส. ศิวรักษ์, บุญส่ง ชัยสิงห์ภานานาท์ Jul 1988

วิจารณ์หนังสือ : ลอกคราบวัฒนธรรมฝรั่ง ของ ส. ศิวรักษ์, บุญส่ง ชัยสิงห์ภานานาท์

Journal of Letters

No abstract provided.


ในแวดวงอักษรศาสตร์ : ข้อคิดจากงานจุฬาวิชาการ ในเรื่องการฝึกฝนความเป็นบัณฑิต, ปราณี กุลละวณิชย์, ภาวรรณ หมอกยา Jul 1988

ในแวดวงอักษรศาสตร์ : ข้อคิดจากงานจุฬาวิชาการ ในเรื่องการฝึกฝนความเป็นบัณฑิต, ปราณี กุลละวณิชย์, ภาวรรณ หมอกยา

Journal of Letters

ในความคิดของคนทั่วไป บัณฑิตก็คือผู้ที่ได้รับการศึกษาในขั้นสูง และโดยความเชื่อถือที่ว่าการ ศึกษาช่วยให้คนมีความรู้ความคิดที่ดีขึ้น บัณฑิตก็ควรจะเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติที่ดี เป็นคนชั้นดีของสังคม เป็นความหวังของสังคม เพราะเป็นผู้ที่จะนำสังคมต่อไป คุณสมบัติที่ดีซึ่งคนทั่วไปคาดหวังว่าบัณฑิตจากมหา วิทยาลัยควรจะมีนั้น มิใช่แต่เพียงวิชาความรู้เท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการทุจริต หรือการกระทํา ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ถ้าผู้ที่กระทำการเช่นนั้นเป็นผู้สําเร็จการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยแล้ว หนังสือพิมพ์ มักไม่เว้นที่จะต้องลงข่าวอย่างเน้นย้ําว่า "บัณฑิต" เป็นผู้กระทํา เช่น "บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมีชื่อปลอม แปลงเอกสารราชการ" บัณฑิตร่วมค้าของต้องห้าม" การเสนอข่าวเช่นนี้สะท้อนให้เห็นความคิดที่ว่า บัณฑิต ไม่ควรกระทําการทุจริตดังกล่าว เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า บัณฑิตเป็นที่คาดหวังของชนทั่วไปในลักษณะ ที่มิใช่เป็นแต่เพียงผู้ทรงความรู้แต่เป็นผู้ที่ควรจะเป็นคนดี มีความประพฤติที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือความรู้สูงนั้นควรจะทำให้คนเป็นคนดีด้วย บัณฑิตในฐานะที่มีโอกาสเล่าเรียนมากกว่า คนอื่น ๆ อีกเป็นจํานวนมากก็ควรจะเป็นผู้มีคุณธรรมและเป็นคนดีด้วย


ผู้หญิงของผู้ชายสมัยวิกตอเรียน, ชาคริต ชุมวัฒนะ Jul 1988

ผู้หญิงของผู้ชายสมัยวิกตอเรียน, ชาคริต ชุมวัฒนะ

Journal of Letters

สมัยยวิกตอเรียน ซึ่งเรียกชื่อตามพระนามองค์ประมุขของอังกฤษที่ปกครองประเทศเป็นเวลายาว นานนั้น (๑๘๓๗ - ๑๙๐๒) เป็นสมัยที่ชนชั้นกลางแสดงสถานะและบทบาทผู้นำในสังคมอังกฤษอย่างชัดเจนทั้ง ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม แนวทางการประพฤติตนที่ชนชั้นนี้ต้องการให้สังคมถือเป็นแม่แบบ รวมเรียกว่าค่านิยมแบบวิกตอเรียน ซึ่งมีรายละเอียดอยู่หลายประการ ประการหนึ่งที่เด่นมากเกี่ยวกับเรื่องเพศ การพูดเรื่องนี้แทบจะเป็นข้อห้ามทางสังคมที่เดียว (social taboo) แต่ในความเป็นจริง หลายคนที่อ้างว่า เป็น "สุภาพบุรุษ" (gentlemen) ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการดำเนินชีวิตในสองลักษณะได้ จำนวนโสเภณีที่ ขายบริการให้แก่ชนชั้นนี้จึงมิได้ลดลงจากสมัยก่อน หากทว่ากลับเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้คนรุ่นหลังจึงเย้ยหยันค่า นิยมแบบวิกตอเรียนเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องของการสร้างภาพตบตามากกว่า


Where Was Lake Anodat?, Frits Staal Jul 1988

Where Was Lake Anodat?, Frits Staal

Journal of Letters

The Pail Canon refers to a lake called Anotatta (in Pail; in Sanskrit: Anavatapta: in Thai oluan Anodat) which is not mentioned in any of the non-Buddhist literatures of India. In his Dictionary of Pali Proper Names, Malalasekera has conveniently summarized the salient features of this lake as described in various commentaries on the Suttanipata and the Dhammapada and in several Jātaka storries. The lake is said to be surrounded by five mountains, Sudassanakūta, Citrakuta, Kalakuta, Gandhamadana and Kelāsa. Four channels open out from it in the four directions: these are associated with lions, elephants, horses and cattle. Four rivers …


บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : ผู้เฒ่า, หลัวหลาน, สุภวรรณ ปันยารชุน Jul 1988

บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : ผู้เฒ่า, หลัวหลาน, สุภวรรณ ปันยารชุน

Journal of Letters

No abstract provided.


บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : นคร, แฮร์มันน์ เฮสเซอ, อำภา โอตระกูล Jul 1988

บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : นคร, แฮร์มันน์ เฮสเซอ, อำภา โอตระกูล

Journal of Letters

No abstract provided.


จุดเริ่มต้นและการสืบเนื่องแนวความคิด ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา, ฉันทนา ไชยชิต Jul 1988

จุดเริ่มต้นและการสืบเนื่องแนวความคิด ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา, ฉันทนา ไชยชิต

Journal of Letters

วันที่ ๑๗ กันยายน ค.ศ. ๑๙๘๗ คือวันฉลองครบรอบสองร้อยปีของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันทั่วโลกต่างพากันมีความรู้สึกปลื้มปิติที่มรดกตกทอดที่มีตัวตนชิ้นนี้ได้มีอายุยืนยาวอย่างหนักแน่น มั่นคงเคียงคู่กับประเทศที่ผู้คนอุดมด้วยความฝันและการมองโลกในแง่ดี โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค และการมีอิสรภาพ เสรีภาพ หลายคนเชื่อมั่นว่า รัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ "บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิ" เป็นแกนกลางนั้นคือจุดเริ่มต้นที่แสดงให้เห็นความรู้สึกนึกคิดแบบประชาธิปไตยของคนอเมริกัน แท้ที่จริงแล้ว ลมหายใจที่ใฝ่หาเสรีภาพและความเป็นเอกราชในรูปแบบนานัปการนั้นได้เริ่มต้นขึ้น อย่างเนิ่นนานแล้วในฤดูหนาว ปี ค.ศ. ๑๖๒๐ เมื่อคนพิลกริมกลุ่มแรกได้หนีห่างจากโลกเก่าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของความบีบคั้นนานัปการ ย่างเท้าลงบนโลกใหม่ที่เป็นดั่งตัวแทนของอุดมคติ หลากหลายที่พวกเขาพากัน แสวงหา นั่นก็คือ อิสรภาพ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกัน


คำแปลนาฏยศัพท์, เสาวนุช ภูวณิชย์ Jul 1988

คำแปลนาฏยศัพท์, เสาวนุช ภูวณิชย์

Journal of Letters

ปัจจุบันเอกสารเกี่ยวกับการศึกษานาฏศิลป์ไทยที่เขียนหรือแปลเป็นภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติยังมีไม่มากนัก ความรู้พื้นฐานสำคัญทั้งทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ผู้ศึกษานาฏศิลป์ ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ได้แก่ "นาฏยศัพท์" "Thai Classical Dance : Some Basic Terminology เป็นข้อเขียนที่นำคำอธิบายนาฏยศัพท์พื้นฐานบางคําที่ไม่ซับซ้อนนัก มาเรียบเรียงเป็นภาษาอังกฤษ


ฟรันซ์ คาฟคา และวรรณกรรมเรื่อง เมตามอร์โฟซิส, ถนอมนวล โอเจริญ Jul 1988

ฟรันซ์ คาฟคา และวรรณกรรมเรื่อง เมตามอร์โฟซิส, ถนอมนวล โอเจริญ

Journal of Letters

ฟรันซ์ คาฟคา (Franz Kafka) เป็นนักประพันธ์เยอรมันผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของ ศตวรรษที่ ๒๐ งานประพันธ์ของเขาเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปไม่เฉพาะแต่ในประเทศเยอรมัน หรือประเทศที่ใช้ ภาษาเยอรมันเท่านั้น คาฟคาได้กลายเป็นนักประพันธ์นานาชาติ เพราะได้มีผู้แปลผลงานของเขาเป็นภาษา ต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก รวมทั้งภาษาไทยด้วย งานประพันธ์ของคาฟคามีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เขาสามารถ นำเหตุการณ์ปกติในชีวิตประจำวันมาสร้างให้เป็นเรื่องที่แปลกประหลาด น่าหวาดกลัว แต่ก็สะท้อนให้เห็น สภาพที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์จริง ๆ ในวันใดวันหนึ่งได้ ผู้อ่านจึงรู้สึกหวาดหวั่นเพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ ใกล้ตัวมนุษย์ และบางครั้งมนุษย์ก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงสิ่ง ๆ นั้น หรือเหตุการณ์นั้น ๆ ได้เลย


ภาษามาเลย์กับศาสนาอิสลามใน ๕ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ในปัจจุบัน, อาณัติ หมานสนิท Jul 1988

ภาษามาเลย์กับศาสนาอิสลามใน ๕ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ในปัจจุบัน, อาณัติ หมานสนิท

Journal of Letters

ภาษามาเลย์และศาสนาอิสลามนอกจากจะมีบทบาท และมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อวิถีชีวิตของ ชาวมุสลิม ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ จนถึงปัจจุบันแล้ว ก็ยังได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตภายในสังคมมุสลิมใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปัจจุบันอีกด้วย อันได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ซึ่งมีประชากรมุสลิมในปัจจุบัน ประมาณ ๑,๐๖๙,๘๓๗ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๒,๐๕๕,๙๗๓ คน ถึงแม้ความผูกพันอย่างลึกซึ้ง ระหว่างภาษามาเลย์กับศาสนาอิสลามได้ทำให้การดำรงชีวิตของชาวมุสลิมใน ๕ จังหวัดชายแดนดังกล่าวมี ความหลากหลายแตกต่าง ไปจากวิถีชีวิตของสังคมกลุ่มใหญ่ภายในประเทศก็ตาม แต่ก็มิได้เป็นอุปสรรค หรือ ปัญหาร้ายแรงต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองสืบไปแต่อย่างใด จึงกล่าวได้ว่าทั้งภาษามาเลย์และศาสนา อิสลามต่างก็มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าภาษามาเลย์ไม่เพียงแต่ทำหน้า ที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทต่อการปลูกฝังและการอบรมบ่มนิสัย ให้สมาชิกภายในสังคมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองตามแนวทางอิสลามอีกด้วย


ภาษาหาเสียง, ราตรี ธันวารชร Jul 1988

ภาษาหาเสียง, ราตรี ธันวารชร

Journal of Letters

ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของมนุษย์ในการสื่อความคิดต่อกัน ในทางการเมืองก็มีภาษาเฉพาะที่ใช้ เป็นเครื่องมือในการหาเสียงของพรรคการเมืองและบุคคลที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกัน ก็เป็นเครื่องมือในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการด้วย ภาษาดังกล่าวนี้เรียกว่า "ภาษาเสียง" ซึ่งผู้เขียนบทความได้ศึกษาในแง่ของจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และรูปแบบ


บทบาทของวรรณกรรมและพันธกิจของนักเขียน ในทัศนะของ Emile Zola, ทัศนีย์ นาควัชระ Jul 1988

บทบาทของวรรณกรรมและพันธกิจของนักเขียน ในทัศนะของ Emile Zola, ทัศนีย์ นาควัชระ

Journal of Letters

การศึกษาวิเคราะห์ผลงานชิ้นเอกของ Emile Zola ได้แก่นวนิยายชุด Les Rougon-Mae- quart ทำให้เราเห็นประจักษ์ชัดว่าในทัศนะของนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้นี้วรรณกรรมมีบทบาทประการใดต่อ สังคม ตลอดช่วงเวลา ๒๒ ปี แห่งการเขียนนวนิยายชุดยาวนี้ ความคิดของ Zola ได้พัฒนาไปโดยลำดับ นับแต่การที่นักเขียนใช้วรรณกรรมเป็นสื่อกลางในการวิเคราะห์และตีแผ่ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ในการปลุกสํานึกสังคมให้ต่อต้านความยุติธรรม ตลอดจนใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือโจมตีผู้บริหารประเทศที่ ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาด ท้ายที่สุด สำนึกในพันธกิจของนักเรียนต่อสังคมทำให้ Zola ก้าวออก จากบรรณพิภพ เพื่อเผชิญหน้าโดยตรงกับศัตรูแห่งสัจจะและความยุติธรรมในการต่อสู้เพื่อปกป้องมนุษยชาติ ผู้บริสุทธิ์ ในคดี Dreyfus คดีการเมืองซึ่งสั่นสะเทือนยุโรปในปลายศตวรรษที่ ๑๙ศตวรรษที่ ๒๐


พระลอตามไก่ : ความงามหรือความเป็นความตาย, ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต Jan 1988

พระลอตามไก่ : ความงามหรือความเป็นความตาย, ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต

Journal of Letters

พระลอติดตามไก่ป่าที่หนุ่ม ปราดเปรียว แข็งแรง และมีรูปลักษณ์อันงดงาม มาอย่างกระชั้นชิด จนกระทั่งไก่บินหายลับไปในอากาศ พระลอตามไก่ไม่ใช่เพราะหลงใหลในความงามของไก่นั้น หากเป็น เพราะไก่ตัวนั้นมีความสําคัญต่อพระลอเป็นอย่างยิ่ง ความสำคัญของไก่นี้เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อบางอย่าง ซึ่ง ยังเหลือตกค้างอยู่ในไทยถิ่นเหนือและไทยอาหม รวมทั้งไทยถิ่นอีสาน


อาหารการกิน กินข้าว-กินผัก, บรรจบ พันธุเมธา Jan 1988

อาหารการกิน กินข้าว-กินผัก, บรรจบ พันธุเมธา

Journal of Letters

อาหารการกินและวิธีประกอบอาหารของชนชาติหนึ่งชาติใด ไม่เพียงแต่จะแสดงถึงวัฒนธรรมด้านการกินเท่านั้น แต่ยังให้ความรู้กว้างไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณี การดำเนินชีวิต ระบบความเชื่อ ตลอดไป จนถึงลักษณะวัฒนธรรมทางภาษาของชนชาตินั้น ๆ ด้วย ดังบทความนี้ได้เสนอเรื่องอาหารการกินของชาวไท-ใหญ่ แถบเมืองนาย ซึ่งให้ข้อมูลทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวไทใหญ่ ผ่านทางอาหารและ กรรมวิธีทำอาหารของชนกลุ่มนี้


ตัวเอกและตัวร้ายในนิทานจักรๆ วงศ์ ๆ, ศิราพร ฐิตะฐาน Jan 1988

ตัวเอกและตัวร้ายในนิทานจักรๆ วงศ์ ๆ, ศิราพร ฐิตะฐาน

Journal of Letters

บทความนี้เป็นการศึกษานิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ ในเชิงมานุษยวิทยา ผู้เขียนต้องการเสนอว่านิทาน จักร ๆ วงศ์ ๆ เน้นเรื่องชีวิตครอบครัวไทย โดยเฉพาะชีวิตหลังการแต่งงาน ความขัดแย้งระหว่างตัวเอกและ ตัวร้าย แท้ที่จริงคือความขัดแย้งระหว่างบุคคลผู้ที่สภานภาพขัดแย้งกันในครอบครัวไทย นั่นคือ ระหว่างพ่อตา และลูกเขย และระหว่างภรรยาหลวงกับภรรยาน้อย นิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ ได้นำเสนอปัญหาและสนองความ พอใจให้บุคคลผู้มีความขัดแย้งกันได้ทั้งสองฝ่าย


ศรีธนญชัยเยอรมัน, อำภา โอตระกูล Jan 1988

ศรีธนญชัยเยอรมัน, อำภา โอตระกูล

Journal of Letters

ในวรรณคดีมุขปาฐะของเยอรมัน นิทานพื้นบ้านประเภท Schwank หรือนิทานมุขตลกนั้นมีอยู่ ด้วยกันหลายชุด แต่ชุดที่น่าสนใจที่สุดสําหรับคนไทยที่จะขอนํามาเล่าในที่นี้คือชุดที่เกี่ยวกับตัวเอกที่ชื่อ ทิล ออยเลนชะปีเกล (Till Eulenspiegel) ความน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของทิล ออยเลนชะปีเกล อยู่ที่ความ คล้ายคลึงกันของตัวทิลกับศรีธนญชัยของไทย จากเรื่องราวที่เล่ากันมาแต่สมัยโบราณ แสดงให้เห็นว่าที่ลม บุคลิกและพฤติกรรมที่เหมือนศรีธนญชัยมากจนเรียกได้ว่า ทิล ออยเลนชะปีเกลคือ ศรีธนญชัยของเยอรมัน


Braving The American Prairie, Ananchanok Pahnichaputt Jan 1988

Braving The American Prairie, Ananchanok Pahnichaputt

Journal of Letters

A study of O.E. Rölvaag's Giants in the Earth, a novel about the Norwegian immigrants' pioneering venture into the virgin American prairie in the early nineteenth century.


หน้าบรรณาธิการ, กองบรรณาธิการ Jan 1988

หน้าบรรณาธิการ, กองบรรณาธิการ

Journal of Letters

No abstract provided.


Gabriel Oak: A Pastoral Hero, อารยา ตันสวัสดิ์ Jan 1988

Gabriel Oak: A Pastoral Hero, อารยา ตันสวัสดิ์

Journal of Letters

Like other first-rank novelists such as George Eliot and D.H. Lawrence, Thomas Hardy uses the pastoral genre for conveying his complex attitudes towards human experience rather than allows himself to be limited by the form. This article analyses the portrayal of a pastoral hero in one of Hardy's masterpieces, Far from the Madding Crowd. While Hardy adopts several characteristics of traditional pastoral in depicting his hero, he modifies the original model by adding new elements to it. The result is a perfect blend of the traditional values and the more practical ones. Gabriel Oak, as a pastoral hero, is harmonious …


บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : ลำนำจากพม่า, จิราสุต Jan 1988

บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : ลำนำจากพม่า, จิราสุต

Journal of Letters

No abstract provided.


โครงสร้างของการเสนอความตลก ในบทละครนอก, สุธา ศาสตร์ Jan 1988

โครงสร้างของการเสนอความตลก ในบทละครนอก, สุธา ศาสตร์

Journal of Letters

งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะแสดงว่า บรรดาบทละครนอกมีโครงสร้างร่วมกันอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งควบคุมวิธีการแต่งบทละครเพื่อเสนอความตลกตามที่เนื้อเรื่องอํานวย การวิจัยกระทำในสามประเด็น คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์สนองกับการแบ่งตัวละครเป็นประเภทตามลักษณะของความตลก ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเภทของตัวละครกับวิธีแสดงความตลกชนิดต่าง ๆ และโอกาสของตัวละครประเภทต่าง ๆ ที่จะเสนอความ ตลกจากโครงสร้างของความขัดแย้งในเนื้อเรื่อง พบว่าบทละครนอกมีโครงสร้างของการเสนอความตลกอย่างแน่นอน มีวิวัฒนาการและมีวิธีแสดงความตลกที่แบ่งเป็นประเภทได้อย่างชัดเจน ทั้งโครงสร้างนี้ยังมีความ สัมพันธ์ ทางเดียวกับโครงสร้างของความขัดแย้งในเนื้อเรื่องด้วย วิวัฒนาการขั้นสูงสุดโดยส่วนรวมพบในบท ละครกลุ่มพระราชนิพนธ์


ข้อควรคำนึงในการวิจัย เรื่อง "วัฒนธรรม พื้นบ้านเพื่อการพัฒนา" ในสังคมไทย, กาญจนา แก้วเทพ Jan 1988

ข้อควรคำนึงในการวิจัย เรื่อง "วัฒนธรรม พื้นบ้านเพื่อการพัฒนา" ในสังคมไทย, กาญจนา แก้วเทพ

Journal of Letters

No abstract provided.


บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : Au Village Des Manchots By M.R. Khukrite Pramaute, P. Boonyapaluk, O. Guitton Jan 1988

บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : Au Village Des Manchots By M.R. Khukrite Pramaute, P. Boonyapaluk, O. Guitton

Journal of Letters

No abstract provided.


การเลี้ยงผีที่เมืองแปดริ้ว, พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์, สุรศักดิ์ ศิริไพบูลย์สินธ์ Jan 1988

การเลี้ยงผีที่เมืองแปดริ้ว, พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์, สุรศักดิ์ ศิริไพบูลย์สินธ์

Journal of Letters

ชาวบ้านเชื้อชาติเขมร ที่ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพิธีเลี้ยงผีประจำปี และพิธีเลี้ยงผีเพื่อรักษาผู้ป่วย อันแสดงให้เห็นถึงรูปแบบคติความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ พิธีดังกล่าว กำหนดตัวผู้ประกอบพิธีและรูปแบบการทำพิธีไว้เป็นหลักฐานแน่นอน นอกจากนั้นยังมีการทำพิธีเพื่อเสี่ยงทาย ในการหาคู่หรือการแต่งงานของหนุ่มสาวด้วย แม้ว่าในปัจจุบัน พิธีเลี้ยงผีเหล่านี้จะสูญหายไปแล้วเป็นส่วน มาก แต่ก็กล่าวได้ว่ายังคงมีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจของชาวบ้านอยู่ไม่น้อยไปกว่าเดิม


โนกับเคียวเงิน, กัลยาณี สีตสุวรรณ Jan 1988

โนกับเคียวเงิน, กัลยาณี สีตสุวรรณ

Journal of Letters

บทความนี้พูดถึงละครโนกับละครเคียวเงิน และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของละครทั้งสอง ความหมายของคำว่า "โน" และ "เคียวเงิน" ประวัติและพัฒนาการของละครทั้งสองตลอดจนคุณสมบัติที่ต่างกัน และคล้ายกัน มีการแบ่งประเภทของละครทั้งสองตามหลัก jo-ha-kyu และจบลงด้วยบทแปลละครเดียวเงิน เรื่อง "MIKAZUKI" หรือ "เป็นกระด้งฝัดข้าว"


บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : ทองแดง" ต้นฤดูฝน, อัศศิริ ธรรมโชติ Jan 1988

บทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปล : ทองแดง" ต้นฤดูฝน, อัศศิริ ธรรมโชติ

Journal of Letters

No abstract provided.