Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 135

Full-Text Articles in Arts and Humanities

เรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในประเทศไทย: การศึกษาปริจเฉทเรื่องเล่าและอารมณ์ขัน, วีณา วุฒิจำนงค์ Jan 2020

เรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในประเทศไทย: การศึกษาปริจเฉทเรื่องเล่าและอารมณ์ขัน, วีณา วุฒิจำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ตึงเครียดหรือโศกเศร้าเป็นประเด็นที่น่าสนใจศึกษา อีกทั้งในปริบทที่ดูไม่น่าจะมีอารมณ์ขันเกิดขึ้นนั้นก็กลับปรากฏการใช้อารมณ์ขันได้อีกด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง ประเด็น และกลวิธีทางภาษาในปริจเฉทเรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่ทำให้เกิด อารมณ์ขันและหน้าที่ของอารมณ์ขันในปริจเฉทดังกล่าว และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะของปริจเฉทเรื่องเล่าของผู้ที่สูญเสียและผู้ที่ไม่ได้สูญเสียบุคคลใกล้ชิด ข้อมูลมาจากการบันทึกเสียงการเล่าเรื่องการประสบภัยพิบัติของผู้มีประสบการณ์ตรงในเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย จำนวน 60 เรื่อง รวมความยาว 15 ชั่วโมง 14 นาที 10 วินาที ผู้เล่าเรื่องประกอบด้วยกลุ่มผู้ที่สูญเสียและกลุ่มผู้ที่ไม่ได้สูญเสียบุคคลใกล้ชิดจำนวนกลุ่มละ 30 คน ผลการวิจัยพบว่าปริจเฉทเรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิมีองค์ประกอบโครงสร้างของเรื่องเล่า 5 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่พบมากคือส่วนดำเนินเรื่อง ส่วนปูเรื่อง และส่วนประเมินค่า ปริจเฉทเรื่องเล่าส่วนใหญ่ เรียบเรียงความตามลำดับเวลา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิแตกต่างกับเรื่องเล่า อื่น ๆ เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เป็นจุดสูงสุดของเรื่องหลายเหตุการณ์ และมักไม่ค่อยปรากฏส่วนคลายปม ในด้านประเด็นที่เล่า พบ 54 ประเด็น จัดกลุ่มได้เป็น 10 กลุ่ม ประเด็นที่พบมากคือเรื่องการได้รับข้อมูลจากบุคคลอื่น ภูมิหลังของตนเอง และการหนีเพื่อเอาชีวิตรอด ส่วนกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการเล่าเรื่องมี 18 กลวิธี จัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกลวิธีที่นำเสนอภาพให้รู้สึกเสมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์และกลุ่มกลวิธีที่ช่วยให้การเล่าเรื่องดำเนินไปอย่างราบรื่น กลวิธีที่พบมากคือการกล่าวซ้ำตนเองเพื่อเน้นย้ำประเด็นที่กล่าวไปก่อนหน้า การกล่าวซ้ำตนเองเพื่อทอดเวลาเพื่อคิดสิ่งที่จะพูดต่อไป และการใช้ถ้อยคำของผู้อื่นที่ยกมา กล่าวใหม่แบบตรง ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ผู้เล่าเรื่องจะมิได้เป็นนักเล่าเรื่องมืออาชีพ และแม้ภัยพิบัตินี้จะเกิดขึ้น เมื่อนานมาแล้ว แต่ผู้เล่าเรื่องก็ยังสามารถเล่าเรื่องให้รู้สึกเสมือนได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วยได้ แสดงให้เห็นว่าภัยพิบัตินี้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านอารมณ์ขันพบว่าประเด็นที่ทำให้เกิดอารมณ์ขันมี 12 ประเด็น ประเด็นที่พบมากคือเรื่องหายนะของตนเอง หน้าที่ของอารมณ์ขันมี 4 หน้าที่ ได้แก่ การแสดงการมีทัศนคติเชิงบวก การแสดงความสามารถในการจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกด้านลบ การลดน้ำหนักการวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น และการแสดงความกลัว โดยไม่เสียภาพลักษณ์ หน้าที่ที่พบมากคือการแสดงการมีทัศนคติเชิงบวก อันสะท้อนให้เห็นการมองโลกในแง่ดีของคนไทย เมื่อเปรียบเทียบปริจเฉทเรื่องเล่าของผู้ประสบภัยพิบัติทั้ง 2 กลุ่มพบว่าประสบการณ์ความสูญเสียมีผลต่อประเด็นที่เล่า กลวิธี ทางภาษา ประเด็นที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน และหน้าที่ของอารมณ์ขัน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเวลาที่ทอดผ่านมาอย่างยาวนานนั้นทำให้ผู้เล่าเรื่องยอมรับการประสบภัยพิบัติและเล่าถึงเหตุการณ์ภัยพิบัตินี้ได้อย่างมีอารมณ์ขัน สอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง T-Timing ในแนวคิดเรื่อง BET ของบุกซ์แมน (Buxman, 2008)


Systematicity Of L1 Thai Learners’ L2 English Interlanguage Of ‘Wish-Clauses’, Rawisiree Suteerapongsit Jan 2020

Systematicity Of L1 Thai Learners’ L2 English Interlanguage Of ‘Wish-Clauses’, Rawisiree Suteerapongsit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The current study aimed to investigate the production of L2 English ‘wish-clauses’ by L1 Thai learners, based on the Interlanguage Hypothesis (Corder, 1981; Selinker, 1972, 1992). It was hypothesized that L1 Thai learners showed systematicity in their interlanguage in the use of ‘wish-clauses’ and that their IL was shaped by language transfer and transfer of training, which are among the psychological processes of IL construction. English ‘wish-clauses’ examined in the study were three types of hypothetical or counterfactual wish: wish about the present, wish about the past, and wish about the future. A Cloze Test and a Situation Task were …


การออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ, พิมพ์นารา เรขะธีระโรจน์ Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ, พิมพ์นารา เรขะธีระโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบเรขศิลป์ปฏิทินวันสำคัญทางพุทธศาสนาสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการของงานวิจัยดังนี้ 1.เพื่อหากลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ 2.เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ 3.เพื่อค้นคว้าสื่อทางเรขศิลป์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการและเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนและวิธีการวิจัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฏกและอรรถกถา เอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความทางอินเตอร์เน็ต นำข้อมูลมาประมวลและวิเคราะห์ สร้างแบบสอบถามออนไลน์ สนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบต่อไป ผลการวิจัยสามารถชี้ให้เห็นดังนี้ 1.) กลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพได้สารที่ต้องการสื่อ (Concept) คือธัมมแมชชีน และบุคลิกภาพของงาน คือเก๋เท่ ทันสมัย (Modern) แบบผู้ดี (Chic) ชัดเจน โปร่งใส ไม่มีข้อสงสัย (Clear) 2.) แนวทางการออกแบบที่เหมาะสมใช้หลักธรรมะผสมผสานกับเทรนด์การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ 2021 (UI Trends 2021) 3.) สื่อทางเรขศิลป์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้และเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แอปพลิเคชันปฏิทินวันสำคัญทางพุทธศาสนา และวิดเจ็ต สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ อาทิ เว็บไซด์ แฟนเพจในเฟสบุ๊ค แบนเนอร์ บิลบอร์ด ปฏิทินโปสเตอร์


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์, เจตวัฒน์ วิริยรัต Jan 2020

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์, เจตวัฒน์ วิริยรัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์ เป็นการวิจัยเพื่อหานวัตกรรมเครื่องแต่งรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องผจญกับปัญหามลภาวะทางอากาศและสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน นำมาพัฒนาในรูปแบบของฟังก์ชั่นการใช้งานที่ปรับเปลี่ยนได้และปกคุมร่างกายในส่วนที่ต้องการได้รับการป้องกัน และในส่วนของสิ่งทอที่มีการนำนวัตกรรมตกแต่งสิ่งทอด้วยสารเคลือบนาโนที่เพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับสิ่งทอ ออกแบบให้สร้างสรรค์และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายบุรุษและสตรีที่มีวิถีชีวิตที่ต้องผจญกับปัญหามลภาวะทางอากาศ ตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมายถึงข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเพื่อเข้าใจถึงรูปแบบ และหลักเกณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้ารวมถึงช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายจะตัดสินใจเลือกบริโภค ตลอดจนการศึกษาถึงลักษณะแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานที่ปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภคประกอบด้วย เพศหญิง เพศชาย และ อื่นๆ จำนวน 136 คน จากแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมายมีแนวทางการแต่งตัวในรูปแบบของ street wear ที่เน้นความเป็นตัวตนเฉพาะตัวสามารถ mix&match เพื่อสร้างสรรค์ความน่าสนใจใหม่ๆแบบไร้รูปแบบตายด้วมีความสนใจในนวัตกรรมที่เกี่ยวกับมลภาวะในปัจจุบัน ดังนั้นเครื่องแต่งกายที่สามารถสร้างความสบายใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการป้องกันมลภาวะ และปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามการใช้งานที่หลากหลาย จึงเป็นที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมายแต่ต้องอยู่ในการออกแบบที่คำนึงถึงความสวยงามด้วย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้มักมีการใช้ชีวิตที่ต้องเดินทางที่ต้องพบเจอมลภาวะต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และมีการพิธีพิถันในการแต่งกาย


คำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์, นลินภัสร์ เมฆเกรียงไกร Jan 2020

คำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์, นลินภัสร์ เมฆเกรียงไกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาคำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค เป็นการศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ วัตถุประสงค์ของ การศึกษามี 3 ประการ ได้แก่ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายและมิติแห่งความแตกต่างทางความหมายของคำเรียกการ ประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค (2) เปรียบเทียบคำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค (3) วิเคราะห์วัฒนธรรมด้าน อาหารของคนไทยในท้องถิ่นต่าง ๆ ที่สะท้อนจากคำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค ขอบเขตของการวิจัยมีดังนี้ ศึกษา เฉพาะคำเรียกการประกอบอาหารที่เป็นคำกริยาเท่านั้น ไม่รวมการทำขนม ของว่าง เครื่องดื่มและของมึนเมา คำที่นำมาศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมวัตถุดิบ การทำอาหารและการจัดการหลังการทำอาหาร การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยคัดเลือกจุดเก็บข้อมูลโดยพิจารณาการแบ่งพื้นที่ใน 4 ภูมิภาค จากนั้นคัดเลือกจังหวัดพื้นที่ละ 1 จังหวัด แล้วคัดเลือกผู้บอกภาษา จุดเก็บข้อมูลละ 3 คน รวม 30 คน ผู้บอกภาษามีคุณสมบัติดังนี้ ต้องเป็นผู้ใช้ภาษาถิ่นนั้นเป็นภาษาแม่ เพศใด ก็ได้ มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ไม่เคยย้ายภูมิลำเนาไปจังหวัดอื่นมากกว่า 3 ปี และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาหารพื้นเมือง จากการศึกษาพบคำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค แบ่งตามขั้นตอนการประกอบอาหาร 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้น การเตรียมวัตถุดิบ ภาคกลาง 119 คำ เหนือ 110 คำ อีสาน 110 คำ ใต้ 123 คำ ขั้นการทำอาหาร ภาคกลาง 32 คำ เหนือ 47 คำ อีสาน 39 คำ ใต้ 27 คำ ขั้นการจัดการหลังการทำอาหาร ภาคกลาง 7 คำ เหนือ …


มหายุทธการวงส์ : ราชาธิราชฉบับภาษาบาลี, เจียระไน วิทิตกูล Jan 2020

มหายุทธการวงส์ : ราชาธิราชฉบับภาษาบาลี, เจียระไน วิทิตกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มหายุทธการวงส์ คือเรื่องราชาธิราชภาษาบาลี ประพันธ์โดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม เมื่อ พ.ศ. 2349 ทว่าต้นฉบับสาบสูญไปเป็นเวลานาน แม้ภายหลังเมื่อมีการค้นพบ ต้นฉบับแล้วก็ยังไม่มีการตีพิมพ์และเข้าถึงไม่ได้ ทำให้แทบไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องนี้มา ก่อน จุดประสงค์ประการแรกของวิทยานิพนธ์นี้จึงเป็นการปริวรรตต้นฉบับมหายุทธการวงส์จากอักษร ขอมเป็นอักษรโรมันและแปลตัวบทจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย เพื่อรักษาและเผยแพร่ตัวบทมหา ยุทธการวงส์ให้กว้างขวาง นอกจากนี้ ยังมุ่งศึกษาที่มาและลักษณะภาษาของวรรณคดีเรื่องนี้ด้วย ผล การศึกษาพบว่า มหายุทธการวงส์แปลมาจากเรื่องราชาธิราชภาษาไทยสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หน) โดยตรง ไม่ได้ใช้ตัวบทราชาธิราชสำนวนอื่นหรือเอกสารอื่นร่วมในการแปล หลักฐานสำคัญคือวรรณคดี ทั้งสองมีโครงเรื่อง ลำดับเหตุการณ์ รายละเอียด ชื่อตัวละคร และสำนวนภาษาตรงกัน ข้อความโดยมาก สามารถเทียบได้ระดับประโยคต่อประโยค และบางตอนเทียบได้กระทั่งระดับคำต่อคำ องค์ประกอบที่ไม่ ตรงกันมีน้อยมากและไม่มีนัยยะสำคัญ ความแตกต่างบางส่วนสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการตั้งใจ สร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์มหายุทธการวงส์เอง ขณะที่บางส่วนเกิดจากการใช้ตัวบทราชาธิราชสำนวน เจ้าพระยาพระคลัง(หน)ต่างสาขากับที่มีหลักฐานในปัจจุบัน ทางด้านภาษา ภาษาบาลีของมหายุทธการ วงส์มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างกับในวรรณคดีบาลีอื่นๆมาก ทั้งด้านรูปสะกด คำ ศัพท์ และไวยากรณ์ โดย ภาษาบาลีของมหายุทธการวงส์มีอิทธิพลจากภาษาไทยแทรกแซงอยู่อย่างเข้มข้น เนื่องจากกระบวนการ สัมผัสภาษาของผู้ประพันธ์ ทำให้ภาษาในมหายุทธการวงส์มีลักษณะเป็นภาษาบาลีปนไทย แตกต่างกับ วรรณคดีบาลีที่ประพันธ์ขึ้นนอกอาณาจักรสยามอย่างชัดเจน


พื้นที่ในนวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะ, ศิริวรรณ ปรีชานฤตย์ Jan 2020

พื้นที่ในนวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะ, ศิริวรรณ ปรีชานฤตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพื้นที่ที่มีต่อแก่นเรื่องและพฤติกรรมของตัวละครในนวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะ จากหนังสือ ผลงานรวมเล่มของโยะฌิโมะโตะบะนะนะ: เรื่องคัดสรรโดยผู้เขียน 『吉本ばなな自選全集 Collected Works of Yoshimoto Banana: an Author’s Selection』ผู้วิจัยเน้นศึกษานวนิยายที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ความตาย ความรักและเรื่องลึกลับ โดยมีสมมติฐานการวิจัย คือ พื้นที่ในนวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะมีบทบาทในการสะท้อนแก่นเรื่อง เช่น ความรัก ความตาย การเยียวยาและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิดจิตใจของตัวละคร ทำให้ตัวละครค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตนเองและตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิต จากการศึกษาพบว่านวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะมักเริ่มต้นเรื่องด้วยการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รักของตัวละครเอกและนำเสนอภาพครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 1. พื้นที่แห่งการสูญเสียและพื้นที่แห่งความเจ็บปวดซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตัวละครเอกสูญเสียตัวตนและมีปมในใจ เป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่าชีวิตและความตายมีความเกี่ยวข้องกัน 2. พื้นที่แห่งการเยียวยาและพื้นที่แห่งความหวังเป็นพื้นที่ที่ทำให้ตัวละครเอกตระหนักว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิต โดยพื้นที่แห่งการเยียวยาช่วยสร้างพฤติกรรมให้ตัวละครเอกกลับมามีชีวิตใหม่และตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิต 3. พื้นที่ลี้ลับและพื้นที่ต้องคำสาปจะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเหนือธรรมชาติ และ 4. พื้นที่ของความรักต้องห้ามสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประพฤติตัวไม่เหมาะสม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ถ่ายทอดผ่านพื้นที่หลัก ได้แก่ บ้าน ชนบท ต่างประเทศ และในพื้นที่อื่น ได้แก่ โรงพยาบาล สะพาน ชายหาด เป็นต้น พื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกันและมีบทบาทสำคัญในการสะท้อนแก่นเรื่องอันสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของตัวละครในเรื่อง ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าโยะฌิโมะโตะ บะนะนะมุ่งเน้นความสำคัญของการเยียวยาจิตใจเพื่อมนุษย์จะได้ตระหนักถึงคุณค่าของการมีชิวิตอยู่


การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง, กิตติกานต์ หะรารักษ์ Jan 2020

การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง, กิตติกานต์ หะรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางของนวนิยายที่เล่าผ่านมุมมองของสัตว์สามเรื่อง ได้แก่ อะ ด็อกส์ เพอร์โพส โดย ดับเบิลยู. บรูซ แคเมอรอน, เดลตา เดอะ แดนซิง เอลิเฟนท์ : อะ เมมมัวร์ โดย เค. เอ. มอนโร. และ เดอะ ทราเวลลิง แคต ครอนิเคิลส์ โดย ฮิโระ อะริกะวะ ผลการศึกษาพบว่านวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้สัตว์ต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในมิติเรื่อง ภาษา เหตุผล และจริยธรรม สำหรับในมิติของภาษา นวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้เห็นว่าสัตว์ต่อรองกับคุณค่าที่มนุษย์กำหนดให้กับพวกมัน เช่น การเป็นสินค้าหรือการเป็นภาพแทนของสิ่งที่มนุษย์ปรารถนา โดยตัวละครสัตว์สามารถวิพากษ์วิจารณ์หรือชี้แจงต่อการถูกกำหนดนิยามดังกล่าว ต่อมาในมิติเรื่องเหตุผล นวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้เห็นความสามารถในการคิดและการตระหนักรู้ของสัตว์ สิ่งที่ถูกเสนอในมิตินี้นำไปสู่การปลูกฝังให้มนุษย์เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งมีชีวิตอื่นเพราะมนุษย์เล็งเห็นคุณสมบัติที่สายพันธุ์มนุษย์มีร่วมกับสายพันธุ์เหล่านั้น สำหรับมิติด้านจริยธรรม นวนิยายสะท้อนให้เห็นว่าสัตว์สามารถแสดงออกในเชิงจริยธรรมได้ แม้ว่าการแสดงออกดังกล่าวจะถูกขับเคลื่อนด้วยสัญชาตญาณ นอกจากนี้ การพิจารณาสัตว์อย่างใคร่ครวญยังอาจทำให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงแง่มุมด้านจริยธรรมของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายทั้งสามเรื่องข้างต้นยังไม่สามารถก้าวข้ามแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากตัวละครสัตว์ยังคงถูกมนุษย์ควบคุมผ่านการทำให้ตัวละครสัตว์เหล่านี้ต้องพึ่งพิงมนุษย์ หรือทำให้มนุษย์ยอมรับ


การแปลบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko, นิดา สุสัณฐิตพงษ์ Jan 2020

การแปลบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko, นิดา สุสัณฐิตพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลบทร้อยกรองจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ซึ่งผู้วิจัยได้หยิบยกบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko มาเป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีการแปลและแนวทางการแปลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทบทร้อยกรองอิสระซึ่งมีลักษณะเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษาถิ่นและความเชื่อของชนพื้นเมืองอเมริกันอินเดียน เพื่อให้สามารถแปลส่วนหนึ่งของตัวบทที่คัดสรรจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม สำหรับแนวทางการวิเคราะห์ตัวบท ผู้วิจัยได้เลือกใช้แนวทางการวิจารณ์วรรณกรรมอเมริกันร่วมสมัยผ่านมุมมองวรรณกรรมเชิงนิเวศ ของดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติที่ได้ถ่ายทอดผ่านเนื้อหาและกลวิธีการประพันธ์ นอกเหนือจากนั้น ผู้วิจัยยังได้ใช้ประยุกต์ใช้แนวทางการวิเคราะห์องค์ประกอบแปดประการของกวีนิพนธ์ ของจอห์น แมกเร เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะและรูปแบบการประพันธ์ของบทร้อยกรองแต่ละบท ในส่วนของแนวทางการถ่ายทอดบทร้อยกรองอิสระจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผู้วิจัยได้เลือกใช้กลวิธีการแปลแบบตีความตามแนวทางการแปลกวีนิพนธ์ของอังเดร เลอเฟอแวร์ ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้รูปแบบและลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมมุขปาฐะที่พบในวัฒนธรรมไทย โดยมีจุดประสงค์ที่จะถ่ายทอดบทร้อยกรองอิสระซึ่งสามารถรักษาความหมายได้อย่างครบถ้วนและสามารถสร้างผลกระทบทางอารมณ์แก่ผู้อ่านได้อย่างทัดเทียมและสอดคล้องกับหน้าที่ของตัวบทต้นฉบับ


การแสดงคณะเสียงอิสาน, ปัณณทัต ลำเฟือย Jan 2020

การแสดงคณะเสียงอิสาน, ปัณณทัต ลำเฟือย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การแสดงคณะเสียงอิสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติคณะ การแสดง และการจัดการของคณะเสียงอิสาน วิธีดำเนินการวิจัยด้วยการ ค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า คณะเสียงอิสานเป็นคณะแสดงสัญจรขนาดใหญ่แสดงไปทั่วประเทศ มีคนนิยมมากมานานถึง 45 ปี เริ่มแสดงเวลา 21.00 น. ด้วยการร้องเพลงลูกทุ่งกลุ่มนักร้องประกอบหางเครื่อง ต่อด้วยนกน้อย อุไรพร หัวหน้าคณะเป็นนักร้องนำออก แสดงเวลา 22.30 น. พร้อมความอลังการของชุดการแสดง เวลา 24.00 น. เป็นการแสดงตลกเสียดสีสังคมนาน 30 นาที จึงเริ่มการแสดงลำเรื่องต่อกลอนแสดงวิถีชีวิตของชาวบ้านอีสานแทรกคติธรรม จนถึงเวลา 04.00 น. แสดงเต้ยลาที่ศิลปินทุกคนออกแสดงอำลาผู้ชมให้จดจำและประทับใจ การรับงานมี 3 แบบ คือ งานจัดแสดงเอง งานเจ้าภาพจ้างแสดงให้คนดูฟรี และงานเจ้าภาพจ้างแสดงเพื่อเก็บค่าเข้าชม ในการแสดงเริ่มด้วยการจัดตั้งเวทีเสร็จใน 2 ชั่วโมง เวทียกพื้น 1.6 เมตร กั้นเป็นส่วนการแสดงและวงดนตรี มีหลังเวทีสำหรับเตรียมอุปกรณ์ ใต้ถุนเวทีเป็นที่เก็บและเปลี่ยนชุดของหางเครื่องซึ่งใช้เวลาเปลี่ยนเพียง 2 นาที เมื่อแสดงจบทุกคนต้องเก็บอุปกรณ์ให้เสร็จใน 2 ชั่วโมงแล้วออกเดินทางไปยังที่ใหม่ คณะเสียงอิสานที่นำทีมโดยนกน้อย อุไรพร ประสบความสำเร็จรุ่งเรืองมานานกว่า 45 ปี ด้วยการแสดงที่ความยิ่งใหญ่ทันสมัย ปรับปรุงการแสดงให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทุกเพศทุกวัยและทุกวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่เสมอ มีการจัดการเรื่อง บุคลากร เวลาและวัสดุอุปกรณ์อย่างประหยัดมีคุณภาพและคุณธรรม สามารถฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจได้ด้วยปัญญาภาวะผู้นำและความสามัคคี


การแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, กนกพัชร์ แจ่มฟ้า Jan 2020

การแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, กนกพัชร์ แจ่มฟ้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยศึกษาข้อมูลด้านการแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้เครื่องมือในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1) สำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร 2) สัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ 4) เก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า การแสดงที่พบในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บริเวณ วงเวียนใหญ่ มีรูปแบบที่หลากหลายและคัดเลือกแสดงที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การแสดงแต่ละชุดนั้นมีเรื่องราวสื่อถึงพระราชประวัติของพระองค์ผ่านการแสดง หรือมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องในสมัยธนบุรี โดยแบ่งรูปแบบการแสดงที่พบในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่วงเวียนใหญ่ ปี พ.ศ. 2561 เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการแสดงละคร เป็นละครอิงประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับพระราชประวัติ ตลอดจนจำลองสถานการณ์การกอบกู้อิสรภาพสมัยธนบุรี 2) รูปแบบเบ็ดเตล็ด แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 2.1 การแสดงมหรสพจีน ได้แก่ การเชิดสิงโต – มังกรทอง และอุปรากรจีน 2.2 การแสดงมหรสพไทย ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อน ศิลปะการต่อสู้ไทย 2.3 การแสดงดนตรีขับร้องประกอบการแสดง โดยมีสำนักงานเขตคลองสานร่วมกับสำนักงานเขตธนบุรีเป็นประธานในการจัดงานในครั้งนี้ อีกทั้งในการจัดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยังถือเป็นการร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามของฝั่งธนบุรีให้คงอยู่ต่อไป


บทบาทการแสดงลิเกของครูสกุณา รุ่งเรือง, วรรณวิภา วงวาน Jan 2020

บทบาทการแสดงลิเกของครูสกุณา รุ่งเรือง, วรรณวิภา วงวาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทการแสดงนางลิเกของครูสกุณา รุ่งเรือง โดยใช้กระบวนการวิจัยคือ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และสังเกตการแสดงลิเก จากวีดิทัศน์ ฝึกกระบวนท่ารำจากครูสกุณา รุ่งเรืองเพื่อเรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล มีประเด็นในการศึกษาบทบาทการแสดงลิเกแบ่งออกเป็น 7 รูปแบบ ได้แก่ บทบาทนางเอก บทบาทนางร้าย บาทบาทนางตลก บทบาทผู้หญิงปลอมเป็นผู้ชาย บทบาทการรำเกี้ยวเข้าพระ-เข้านาง บทบาทการรำออกตัว บทบาทการรำอาวุธ จากการศึกษาพบว่าครูสกุณา รุ่งเรืองมีคุณสมบัติเป็นครูลิเกโดยมีคุณลักษณะแบ่งออก 7 ลักษณะได้แก่ 1. การประพันธ์บทและการกำกับการแสดง เนื่องจากมีประสบการณ์การแสดงตั้งแต่วัยเด็ก 2. การด้นกลอนและการเจรจาเป็นส่วนสำคัญของการแสดงลิเก ผู้แสดงสามารถด้นกลอนสดได้โดยใช้คำที่สัมผัสคล้องจองทั้งดัดแปลงโทนเสียงตามลักษณะตัวละคร 3. การออกแบบเครื่องแต่งกาย ผู้ออกแบบมีแนวคิดและจินตนาการที่โดดเด่นเป็นลักษณะเฉพาะเข้ากับผู้สวมใส่ 4. การแต่งหน้า เป็นงานประณีตที่ต้องอาศัยสมาธิและความชำนาญ 5. แสดงได้ทุกบทบาท เนื่องจากได้ฝึกหัดบทบาทของนางลิเกมา 6. ร้องและรำเป็น มีพื้นฐานมาจากละครรำ 7. แสดงลิเกได้ทั้งคืนโดยมีเสียงที่สม่ำเสมอ ซึ่งได้ฝึกฝนการขับร้องและเรียนรู้กลวิธีในการขับร้องเพื่อให้มีกระแสเสียงสม่ำเสมอ เห็นได้ว่าครูสกุณา รุ่งเรืองมีการพัฒนาบทบาทการแสดงลิเกมาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าสามารถต่อยอดความรู้ต่อไป


การอ้างเหตุผลสนับสนุนสิทธิที่จะทำอัตวินิบาตกรรมโดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ในกรอบคิดแบบเสรีนิยม, มณิสร โสนะมิตร์ Jan 2020

การอ้างเหตุผลสนับสนุนสิทธิที่จะทำอัตวินิบาตกรรมโดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ในกรอบคิดแบบเสรีนิยม, มณิสร โสนะมิตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดของการยอมรับ PAS (physician-assisted suicide / การทำอัตวินิบาตกรรมโดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์) แบบสิทธิเชิงลบที่เป็นเสรีภาพในการตกลงร่วมกันส่วนตัวระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งไม่มีบุคคลผู้รองรับสิทธิ์ที่จะเป็นผู้มีพันธะในการให้ความช่วยเหลือ ทำให้แม้ PAS จะไม่ผิดกฎหมาย ผู้ป่วยอาจยังไม่สามารถแสดงออกซึ่งสิทธิ์นั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีนักคิดเสรีนิยมเสนอให้ PAS เป็นสิทธิเชิงบวก เช่น เดวิด คัมมิสกี (David Cummiskey) เสนอว่ารัฐมีหน้าที่ในการอำนวยให้มี PAS แบบบริการด้านสุขภาพ โดยอ้างเหตุผลจากสิทธิพื้นฐานในการกำหนดชีวิตตนเอง (right to self-determination) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะเสนอวิธีอ้างเหตุผลสนับสนุนการทำ PAS ในข้อเสนอของคัมมิสกี โดยพิจารณาข้อโต้แย้งที่เป็นไปได้สามประการ คือ (1) การที่ผู้ป่วยเลือก PAS ภายใต้ความเจ็บปวดไม่ถือว่ามีอัตตาณัติเพราะไม่มีคุณค่าเชิงการใช้เหตุผล (2) ไม่ควรยอมรับ PAS เพราะเป็นตัวเลือกที่กดดันผู้ป่วย และ (3) ว่าไม่ควรยอมรับ PAS เพราะส่งผลกระทบคุณค่าสังคม และวิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าแนวคิดในทฤษฎีพันธสัญญาของโทมัส สแคนลอน (Thomas Scanlon) สามารถใช้เป็นฐานเพื่อตอบข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้ อันได้แก่ มโนทัศน์ในกระบวนการใช้เหตุผลเรื่อง “ทัศนคติที่แปรตามการตัดสิน” (judgment-sensitive attitude) ซึ่งมีบทบาทเป็นแกนหลักในการเป็นฐานที่ทำให้มโนทัศน์อื่นๆ มีความสมเหตุสมผล ทำให้อธิบายได้ว่า การที่ผู้ป่วยเลือกภายใต้แรงจูงใจอย่างความเจ็บปวดและความกดดันสามารถถือเป็นการตัดสินใจที่มีคุณค่าเชิงการใช้เหตุผลและมีอัตตาณัติ ผู้ป่วยจึงมีความรับผิดชอบต่อการเลือกของตนเองที่ไม่อาจโทษคนอื่นได้ ทำให้ฝ่ายค้านขาดฐานที่จะใช้ปฏิเสธนโยบายสนับสนุน PAS ได้อย่างสมเหตุสมผล และการตัดสินเปลี่ยนทัศนคติเรื่องคุณค่าในสังคมอาจไม่ใช่ผลลัพธ์ไม่ดีเสมอไป แนวคิดของสแคนลอนจึงสามารถเป็นบรรทัดฐานให้ฝ่ายเสรีนิยมใช้สนับสนุนข้ออ้างของตัวเองได้รัดกุมและแน่นหนามากขึ้น


การวิเคราะห์เรื่อง กายภิกษุณีกับการบรรลุธรรม, สุภัทรา วงสกุล Jan 2020

การวิเคราะห์เรื่อง กายภิกษุณีกับการบรรลุธรรม, สุภัทรา วงสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พุทธศาสนาเถรวาทมีความเข้าใจต่อความทุกข์เฉพาะทั้งห้าประการของสตรี ในอาเวณิกสูตร ว่าเป็นความทุกข์ของสตรีที่มีความเป็นเฉพาะต่างจากความทุกข์ของบุรุษ โดยที่กายในเชิงชีววิทยาและกายในบริบทเชิงสังคมวัฒนธรรมของสตรีเป็นเงื่อนไขของความทุกข์เฉพาะนี้ วิถีการดับทุกข์ของสตรีย่อมมีวิธีต่างจากวิถีการหลุดพ้นของบุรุษ วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดเรื่องกายภิกษุณีกับการบรรลุธรรมโดยเสนอว่ากายสามารถเป็นเงื่อนไขในการดับทุกข์ของสตรีอย่างมีนัยสำคัญ และมีกระบวนการปฏิบัติในฐานะภิกษุณีเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งต่อการบรรลุธรรมของสตรี วิทยานิพนธ์นี้ได้ใช้แนวคิดเรื่องกายเป็นกรอบการวิเคราะห์เทียบเคียงพระวินัย ว่าด้วยอาบัติปาราชิกของภิกษุณีที่แตกต่างจากอาบัติปาราชิกของภิกษุ และใช้แนวคิดเรื่องกายภิกษุณี วิเคราะห์พระวินัยภิกษุณีสงฆ์ 130 สิกขาบทในมิติทั้งสาม ได้แก่ 1. กายภิกษุณีในฐานะกายสตรี 2. กายภิกษุณีในชุมชนภิกษุณีสงฆ์ และ3.กายภิกษุณีกับภิกษุและกับฆราวาสในเชิงความสัมพันธ์ โดยพิจารณาว่าพระวินัยภิกษุณีสามารถเกื้อกูลต่อกายเชิงชีววิทยาและขจัดอุปสรรคที่เกี่ยวกับกายในเชิงบริบททางสังคมวัฒนธรรมเพื่อเกื้อกูลการบรรลุธรรมให้แก่สตรี วิทยานิพนธ์ยังได้วิเคราะห์เทียบเคียงคัมภีร์เถรีคาถา กับคัมภีร์เถรคาถา ด้วยกรอบคิดเรื่องกาย โดยพบว่าแง่มุมที่พระเถรีมีต่อกายของตนในฐานะเหตุแห่งทุกข์ กายในฐานะอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม และกายในฐานะเงื่อนไขของการบรรลุธรรมมีความแตกต่างจากที่พระเถระมีต่อกายของตน วิทยานิพนธ์นี้พบว่าพุทธศาสนาเสนอการรื้อสร้างกายให้แก่สตรีในฐานะภิกษุณี ในแง่ของการรื้อกายด้วยการทำกายานุปัสสนา การทำอสุภกรรมฐานคือการใช้กายเป็นเครื่องมือให้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงและความน่ารังเกียจเพื่อคลายความยึดมั่นต่อร่างกาย ขณะที่พุทธศาสนาสร้างกายสตรีในฐานะกายภิกษุณี ในแง่ของการบัญญัติพระวินัยภิกษุณีให้เกื้อกูลการปฏิบัติธรรมแก่ภิกษุณีในชุมชนภิกษุณีสงฆ์เพื่อเป็นวิถีสู่การดับทุกข์ของสตรี


แนวคิดเรื่องการหลีกลี้ในคัมภีร์จวงจื่อ, วรท อุณหสุทธิยานนท์ Jan 2020

แนวคิดเรื่องการหลีกลี้ในคัมภีร์จวงจื่อ, วรท อุณหสุทธิยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มีความเข้าใจกันว่าคัมภีร์จวงจื่อเสนอความคิดเกี่ยวกับการหลีกลี้สังคมในรูปแบบของฤาษีที่ถอนตัวออกจากพื้นที่ทางสังคมและการเมืองโดยปลีกวิเวกไปอยู่ในที่ห่างไกลจากผู้คน อย่างไรก็ตาม วิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าแนวคิดการหลีกลี้ในคัมภีร์จวงจื่อมิได้มีเพียงการหลีกลี้แบบฤาษีเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของตนเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการหลีกลี้ภายในสังคมที่เป็นการหลีกลี้จากอำนาจทางการเมืองโดยดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายภายในสังคม และการหลีกลี้อีกแบบที่เรียกว่า “การเร้นการในฟ้า” ทั้งนี้เพราะในคัมภีร์จวงจื่อโดยเฉพาะกลุ่มบทในปรากฏตัวบทที่เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในพื้นที่ทางการเมืองอย่างชัดเจน “การเร้นกายในฟ้า” เป็นการหลีกลี้ที่ไม่จำเป็นต้องถอนตัวออกจากพื้นที่ทางสังคมและการเมือง เป็นการหลีกเร้นตนจากอันตรายด้วยการอยู่ร่วมกับสิ่งต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น โดยการคลายความยึดถือความคิดและเป้าหมายการขัดเกลาตัวตนทางสังคมให้กลายเป็นแบบใดแบบหนึ่งอย่างตายตัว ผ่านการตระหนักถึงการใช้ชีวิตร่วมกับสรรพสิ่งในฐานะสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาและการตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายของคุณค่าและตัวตน การเร้นกายในฟ้ายังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการหลีกลี้ของพวกสำนักเต๋าในฐานะเป็นวิธีการหนึ่งในการจัดการกับความตึงแย้งในตัวตน ซึ่งความตึงแย้งนี้มาจากอิทธิพลทางความคิดของขงจื่อเกี่ยวกับการสร้างตัวตนทางสังคม


กรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน, วิศรุต แซ่จุ่ง Jan 2020

กรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน, วิศรุต แซ่จุ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องกรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ และการประเมินคุณภาพกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน ผลการศึกษาพบว่า ช่างศุภาพล ไทรวิมาน ศึกษางานช่างสร้างเครื่องดนตรีกับบิดา ซึ่งเคยเป็นช่างสร้างเครื่องดนตรีคนสำคัญของร้านดุริยบรรณ และเรียนรู้ซึมซับวิชาความรู้ด้านงานช่างจากการเป็นช่างในโรงงานของบิดา จนมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นในการสร้างจะเข้ ต่อมาภายหลังได้ทดลองสร้างกระจับปี่ โดยใช้กระจับปี่ของช่างจรูญ คชแสง เป็นต้นแบบ แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขตามแนวทางของตนจนเกิดเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ โดยการสร้างหลักแบบไม่ใช้หย่องและไม่เจาะรูหน้ากะโหลก ซึ่งมีขั้นตอนใน การสร้างทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างคันทวน การสร้างกะโหลก การสร้างโขน การสร้างลูกบิด การสร้างหลัก การสร้างนมและซุ้ม การเคลือบผิวไม้และย้อมสีชิ้นงาน และการประกอบและ เทียบเสียง ทั้งนี้คุณภาพของชิ้นงานมีความละเอียด เรียบร้อยสวยงาม ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพเสียงที่ดังกังวาน มีเสียงที่ทุ้มลึก และมีลักษณะเสียงที่สั่นสะเทือน ตรงตามคุณลักษณะเสียงที่ไพเราะของกระจับปี่


ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี), สถิตย์สถาพร สังกรณีย์ Jan 2020

ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี), สถิตย์สถาพร สังกรณีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและคุณค่าทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) และศึกษาการประดิษฐ์ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดที่ปรากฏในทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ประกอบด้วย 5 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเรื่องเพลงเดี่ยวขั้นสูง แนวคิดความเชื่อเรื่องการสาปแช่ง แนวคิดเรื่องการสืบทอด แนวคิดเรื่องพิธีกรรมการถ่ายทอด และแนวคิดเรื่องการบรรเลง มีคุณค่าใน 4 ประการ คือ คุณค่าต่อตัวผู้รับการถ่ายทอด คุณค่าต่อตัวผู้ถ่ายทอด คุณค่าต่อสำนักซอสามสายพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตเสวี) และคุณค่าต่อสังคม การประดิษฐ์ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยว พบว่าซอสามสายมีความเหมาะสมในการบรรเลงเพลงทยอยเดี่ยว 3 ประการคือ การทำเสียงได้ยาวไม่ขาดกัน ความกว้างของช่วงเสียง และนิ้วโอดลอย มีการวางโครงสร้างทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวออกเป็น 8 ส่วน ได้แก่ ต้นทยอยเดี่ยว เที่ยวหวาน สามชั้น เที่ยวเก็บ สามชั้น เที่ยวหวาน สองชั้น เที่ยวเก็บ สองชั้น เที่ยวหวาน ชั้นเดียว เที่ยวเก็บ ชั้นเดียว และปลายทยอยเดี่ยว มีการใช้จังหวะฉิ่งและจังหวะหน้าทับสองไม้ ในอัตราจังหวะสามชั้นและอัตราจังหวะสองชั้นตีกำกับ มีการใช้กลุ่มทำนองโยน 4 เสียงคือ กลุ่มทำนองโยนลงเสียงเร กลุ่มทำนองโยนลงเสียงมี กลุ่มทำนองโยนลงเสียงซอล และกลุ่มทำนองโยนลงเสียงลา การขึ้นเพลงและการลงจบเพลงมีลักษณะอ่อนหวาน นอกจากนี้ยังมีการใช้กลวิธีพิเศษ 2 ลักษณะคือ กลวิธีพิเศษในการใช้นิ้ว จำนวน 11 กลวิธี ได้แก่ นิ้วประ นิ้วพรม นิ้วแอ้ นิ้วนาคสะดุ้ง นิ้วก้อง นิ้วชุน นิ้วควง นิ้วครั่น นิ้วชั่ง นิ้วสะบัด และนิ้วรูด มีกลวิธีพิเศษในการใช้คันชัก จำนวน 3 กลวิธี ได้แก่ คันชักจับกระตั้วแทงกระตั้ว คันชักงูเลื้อย และการชะงักซอ


วงสะล้อ ซอ ปิน ของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ คณะช่อแก้ว จังหวัดแพร่, วัชราภรณ์ มุ้งป่า Jan 2020

วงสะล้อ ซอ ปิน ของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ คณะช่อแก้ว จังหวัดแพร่, วัชราภรณ์ มุ้งป่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วงสะล้อ ซอ ปิน ของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ คณะช่อแก้ว จังหวัดแพร่ ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติชีวิต วิธีการบรรเลงวงสะล้อ ซอ ปิน ทำนองซอ และทำนองดนตรีของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ โดยเก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างปี พ.ศ. 2562-2563 ประวัติชีวิตแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ ท่านเป็นศิลปินพื้นบ้านล้านนาด้านการขับซอล่องน่าน และเป็นหัวหน้าคณะช่อแก้ว แม่ครูสั่งสมประสบการณ์ด้านการขับซอและการฟ้อนแง้นมาร่วม 50 ปี มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียง ศึกษาเพลงพื้นบ้านจากพ่อครูเมืองดี เทพประสิทธิ์ โดยเริ่มจากการยกขันตั้งขอเป็นศิษย์ การเข้าพิธีกินอ้อเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาหลักในการบรรเลงในแต่ละสถานการณ์ พิธีกรรม และพิธีการที่จะต้องปฏิบัติทุกครั้งในเวลาไปออกงานแสดงอย่างเคร่งครัด วิธีการบรรเลงของปิน มีการบรรเลงคู่ 2 และคู่ 4 เป็นส่วนมาก โดยปินมีการใช้กลวิธีพิเศษคือกลวิธีการสะบัด สะล้อพบว่ามีการใช้คู่เสียงทุกคู่เสียงในเพลงรูปแบบดำเนินทำนองและมีการใช้กลวิธีพิเศษได้แก่ การพรมนิ้ว การขยี้ และการสะบัด การบรรจุคำเพลงในแบบของแม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ โดยส่วนมากมักจะบรรจุ 2 คำ ต่อ 1 ห้อง เว้นแต่สถานการณ์ในการด้นสดที่จำเป็นจะต้องใช้คำหลายคำก็จะเป็นกรณีพิเศษ การเน้นคำจะเน้นตามสำเนียงภาษาของภาคเหนือ ตัวที่เน้นมักจะอยู่ในจังหวะที่ตรงกับลูกตกของแต่ละห้อง ในบางจุดที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษจะใส่กลวิธีพิเศษการซ้อนเสียงเข้าไป การใช้กลวิธีพิเศษของการขับซอนิยมใช้การเอื้อนมีใน 2 กรณี คือ ใช้ในคำที่มีการใช้วรรณยุกต์ไม้ตรีและไม้จัตวาและใช้เพื่อเชื่อมคำระหว่างห้อง นอกจากนี้มักจะใช้ในเพลงรูปแบบดำเนินทำนองมากกว่าเพลงบังคับทาง ทำนองดนตรีพบว่าใช้กลุ่มเสียงปัญจมูลของเพลงดาดน่าน เพลงลับแลง เพลงพม่าต๊ะโต๋งเต๋ง เพลงดาดแพร่ และเพลงจะปุเชียงกลาง มีจำนวน 3 กลุ่มเสียงได้แก่ กลุ่มเสียงทางเพียงออบน ชวา และกลางแหบ


การเรียบเรียงบทเพลงประเภทเพลงนางหงส์ของครูภัทระ คมขำ, ณัฏฐ์ฏาพร เขียวมณี Jan 2020

การเรียบเรียงบทเพลงประเภทเพลงนางหงส์ของครูภัทระ คมขำ, ณัฏฐ์ฏาพร เขียวมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแนวคิด วิธีการ และมูลบทที่เกี่ยวข้องกับวงปี่พาทย์นางหงส์ โครงสร้างบทเพลงและการเรียบเรียงบทเพลงประเภทเพลงนางหงส์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากการศึกษารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมถึงการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ครูผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญทางด้านดุริยางคศิลป์ไทย โดยทำการศึกษาข้อมูลหลักในกรณีศึกษาของครูภัทระ คมขำ ผลการวิจัย พบว่า ครูภัทระ คมขำมีแนวคิดที่เป็นลักษณะเฉพาะในการเรียบเรียงบทเพลงนางหงส์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ในระบบการศึกษาทางด้านดุริยางคศิลป์ไทย โดยมุ่งเน้นหลักวิชาการและการฝึกปฏิบัติเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์บทเพลงต่าง ๆ รวมถึงการใช้นัยยะการเรียนรู้ของโบราณาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ไทย การวิเคราะห์โครงสร้างและวิธีการเรียบเรียงบทเพลงนางหงส์ของครูภัทระ คมขำ มีจำนวน 10 เพลง ได้แก่ เพลงอนงค์สุชาดา เพลงมุล่ง เพลงแขกไทร เพลงเทพบรรทม เพลงกัลยาเยี่ยมห้อง เพลงสาลิกาชมเดือน เพลงวิเวกเวหา เพลงอาถรรพ์ เพลงการเวกใหญ่ และเพลงน้ำค้าง พบว่ามีกระบวนการในการเรียบเรียงเพลงนางหงส์แสดงถึงความสามารถในการสร้างสรรค์รูปแบบของโครงสร้างเพลงนางหงส์ จำนวน 8 รูปแบบ และในส่วนของวิธีการเรียบเรียงเพลงนางหงส์มีการเลือกใช้บทเพลงที่มีความสัมพันธ์ชององค์ประกอบสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ การใช้กลุ่มเสียงปัญจมูล ความเชื่อมโยงของเสียงลูกตก สำนวนเพลง สำเนียงภาษาของเพลงและนัยยะความหมายของบทเพลงที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนเป็นไปตามระเบียบแบบแผนทางหลักทฤษฎี ดุริยางคศิลป์ไทย


การแสดงขับร้องเดี่ยวระดับมหาบัณฑิตโดย ถิรพร ทรงดอน, ถิรพร ทรงดอน Jan 2020

การแสดงขับร้องเดี่ยวระดับมหาบัณฑิตโดย ถิรพร ทรงดอน, ถิรพร ทรงดอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงขับร้องเดี่ยวในครั้งนี้ มีจุดประสงค์ในการถ่ายถอดบทประพันธ์ชุดเพลงร้องในภาษาเยอรมัน โดยผู้ประพันธ์ดนตรีที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุค โรแมนติก การแสดงเดี่ยวในครั้งนี้ผ่านการฝึกซ้อม และวิเคราะห์บทประพันธ์ที่นำมาใช้แสดงอย่างละเอียดลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมาผู้แต่ง บทเพลง บทกวี วิธีการตีความหมาย รวมถึงการศึกษาบทเพลงและวิธีการร้องในเชิงเทคนิค เพื่อฝึกซ้อมและนำเสนออย่างมีเอกลักษณ์ของผู้แสดง โดยมีการเตรียมความพร้อมในการเลือกบทเพลงลักษณะชุดเพลงร้อง ที่มีความน่าสนใจ เป็นเรื่องราวที่เชื่อมต่อร้อยเรียงกันในความหมาย และลักษณะบทประพันธ์ ถึงแม้ว่าการแสดงในครั้งนี้จะไม่สามารถจัดเป็นคอนเสิร์ตการแสดงเดี่ยวได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ผู้แสดงได้ทำการบันทึกวิดีโอ ภาพและเสียงเพื่อเผยแพร่การแสดงนี้ทางออนไลน์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจด้านการขับร้องเพลงคลาสสิกขั้นสูง โดยมีการเตรียมจัดทำโปสเตอร์การแสดง และการจัดการเรื่องการฝึกซ้อมกับนักเปียโน บทเพลงชุดเพลงร้องที่นำมาจัดแสดงเดี่ยว มีชุดเพลงร้อง 2 ชุด ได้แก่ ชุดเพลงร้อง Frauenliebe und Leben โดย Robert Schumann จำนวน 8 บทเพลง และชุดเพลงร้อง Vier Letzte Lieder โดย Richard Strauss จำนวน 4 บทเพลง


การแสดงเดี่ยวคลาริเน็ตระดับมหาบัณฑิตโดย ภาณุพันธุ์ วัณณกุล, ภาณุพันธุ์ วัณณกุล Jan 2020

การแสดงเดี่ยวคลาริเน็ตระดับมหาบัณฑิตโดย ภาณุพันธุ์ วัณณกุล, ภาณุพันธุ์ วัณณกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวคลาริเน็ตในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับบทเพลงที่ใช้ในการแสดงคลาริเน็ต ประกอบด้วยประวัติผู้ประพันธ์เพลง ด้านเทคนิคการประพันธ์และแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง การตีความบทเพลง เปรียบเทียบการตีความบทเพลงของนักแสดงคลาริเน็ตแต่ละคน ศึกษาแนวคิดวิธีการบรรเลง และวิเคราะห์บทเพลงเพื่อเป็นประโยชน์ในการฝึกซ้อม การเตรียมความพร้อมและการจัดการแสดง การแสดงเดี่ยวคลาริเน็ตในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกบทเพลงมาด้วยกันทั้งหมด 4 บทเพลง โดยเป็นบทเพลงที่ทรงคุณค่าจากนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุคสมัย รวมทั้งสิ้น 3 ยุค ดังนี้(1) Clarinet Sonata in E-Flat Major, Op.120 No.2 ผลงานการประพันธ์ของ Johannes Brahms (2) Premiere Rhapsody ผลงานการประพันธ์ของ Claude Debussy (3) Hommage a Manuel de Falla ผลงานการประพันธ์ของ Bela Kovacs และ (4) Concerto for Clarinet and String Orchestra Arranged for Clarinet and Piano By Composer ผลงานการประพันธ์ของ Aaron Copland การแสดงเดี่ยวคลาริเน็ตครั้งนี้ได้จัดการแสดงในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ รวมเวลาที่ใช้ในการแสดงทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง


เพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์, ติณณภพ ถนอมธรรม Jan 2020

เพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์, ติณณภพ ถนอมธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับเพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์ และศึกษาเอกลักษณ์ของเพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ตระกูลจรรย์นาฏย์นับทายาทได้ 3 รุ่น 1. ครูเพชร จรรย์นาฏย์ 2. ครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ 3. ครูพิทักษ์ จรรย์นาฏย์ เป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นภายในสำนักและสู่สังคมดนตรีไทยโดยกว้างโดยวิธีการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะ วงปี่พาทย์มอญเกิดขึ้นโดยครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ เครื่องมอญชุดแรกที่สร้างคือ ฆ้องมอญจากร้านตุ๊กตาไทย ครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ เป็นผู้ประพันธ์เพลงมอญมีทั้งหมด 7 เพลง ได้แก่ เพลงมอญมอบเรือ เพลงสองกุมาร เพลงเขมรยวน เพลงพม่ารำขวาน เพลงม่านมงคล เพลงเร็วดาวกระจาย และ เพลงเร็วมะลิวัลย์ เอกลักษณ์ของเพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์ พบว่ามีรูปแบบโครงสร้างคล้ายเพลงเถา อนึ่งพบการประพันธ์หน้าทับตะโพนมอญที่ไว้ใช้สำหรับเพลงเขมรยวนโดยเฉพาะ พบบันไดเสียงทั้งหมด 4 บันไดเสียงคือ บันไดเสียงเพียงออบน กลาง ชวา และเพียงออล่าง


การแสดงเดี่ยวเปียโนระดับมหาบัณฑิตโดย รวิสรา โสรัตน์, รวิสรา โสรัตน์ Jan 2020

การแสดงเดี่ยวเปียโนระดับมหาบัณฑิตโดย รวิสรา โสรัตน์, รวิสรา โสรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการบรรเลงเปียโน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และตีความบทเพลงประเภทเพรลูด ฝึกฝนและพัฒนาเทคนิคการบรรเลง ศึกษาการจัดการและเตรียมความพร้อมในการแสดงเดี่ยวเปียโนต่อหน้าสาธารณชน เพื่อเผยแพร่ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและ บุคคลทั่วไปที่สนใจดนตรีคลาสสิก โดยได้คัดเลือกเพรลูดจำนวน 3 ชุด จากผู้ประพนธ์เพลง 3 คน ที่อยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดังนี้ 1) Prelude No.2 (Voiles), Book I และ Prelude No.3 (La Puerta del Vino), Book II ผลงานของ โคลด เดอบุสซี ในกระแสอิมเปรชัน 2) Preludes, Op.11 No. 6, 9, 14, 15 ผลงานของ อะเลกซานเดอร์ ซคริอาบิน ในปลายยุคโรแมนติก 3) Twenty-four Preludes, Op.28 ผลงานของ เฟรเดริค โชแปง ในต้นยุคโรแมนติก การแสดงครั้งนี้จัดขึ้น ณ Tongsuang's Concert Salon & Gallery บ้านสวนตะวันธรรม คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 14.00 น. ใช้เวลาในการแสดง รวมประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที


การแสดงเดี่ยวเปียโนระดับมหาบัณฑิตโดย สุภัชชา เอกพิริยะ, สุภัชชา เอกพิริยะ Jan 2020

การแสดงเดี่ยวเปียโนระดับมหาบัณฑิตโดย สุภัชชา เอกพิริยะ, สุภัชชา เอกพิริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการบรรเลงเปียโนในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงจากหลากหลายยุคสมัย ซึ่งการแสดงบทเพลงในแต่ละยุคผู้แสดงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะดนตรีของแต่ละยุคด้วย เพื่อที่จะสร้างสรรค์เทคนิคการบรรเลงในรูปแบบของผู้แสดงเอง รวมถึงยังคงถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของบทเพลงได้ดีที่ตรงตามความต้องการของผู้ประพันธ์ การเตรียมตัวเพื่อจัดการแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้ผู้แสดงจึงได้ศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี การวิเคราะห์ การตีความ และเทคนิคการบรรเลงที่แตกต่างกัน หลังจากที่ผู้แสดงได้ศึกษาข้อมูลทุกเพลงแล้ว จึงวางแผนเตรียมตัวสำหรับการแสดงในครั้งนี้เพื่อเผยแพร่ผลงานการแสดงเดี่ยวเปียโนให้กับผู้ที่มีความสนใจในดนตรีคลาสสิก และได้ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ในการบรรเลงบทเพลงของผู้ประพันธ์จากต่างยุคสมัยกัน


บทประพันธ์เพลงระดับมหาบัณฑิต : "มัทนะพาธา" คีตวรรณกรรมสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา, วรชา ออกกิจวัตร Jan 2020

บทประพันธ์เพลงระดับมหาบัณฑิต : "มัทนะพาธา" คีตวรรณกรรมสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา, วรชา ออกกิจวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ “มัทนะพาธา” คีตวรรณกรรมสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณคดีไทย เรื่อง มัทนะพาธา บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยนำมาประพันธ์เป็นดนตรีพรรณนาเพื่อเล่าเรื่องและถ่ายทอดความรู้สึกในรูปแบบของดนตรีร่วมสมัยที่ผสมผสานหลักทฤษฎีแนวคิดและเทคนิควิธีการของดนตรีตะวันตกและตะวันออกได้อย่างประสานกลมกลืน รวมทั้งการนำรูปแบบ คีตลักษณ์ไทยมาพัฒนาเพื่อสร้างจินตนาการเรื่องราวของความรักในหลากหลายอารมณ์ บทประพันธ์สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรานี้ มีความยาวประมาณ 20 นาที แบ่งเป็น 4 กระบวน ประพันธ์ในระบบโทนาลิตี มีการใช้บันไดเสียงเพนตาโทนิก และโมด สีสันลีลาที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีการวางวงจรประสานเสียงอย่างประณีต เพื่อแสดงมิติความสำคัญของศูนย์กลางเสียง


บทประพันธ์เพลงระดับมหาบัณฑิต : "แม่น้ำลพบุรี", ขวัญ เภกะนันทน์ Jan 2020

บทประพันธ์เพลงระดับมหาบัณฑิต : "แม่น้ำลพบุรี", ขวัญ เภกะนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ “แม่น้ำลพบุรี” เป็นบทประพันธ์ประเภทดนตรีพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเพลงโดยใช้เทคนิคคัดทำนองและการพัฒนาโมทีฟมาประยุกต์ บรรเลงในรูปแบบวงออร์เคสตราขนาดมาตรฐานซึ่งมีความยาว 11 นาที โดยประมาณ บทประพันธ์ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงการเดินทางของลำน้ำเล็กๆจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ก่อเกิดเป็นแม่น้ำลพบุรี โดยจะเลือกเพลงไทยเดิมเพื่อคัดทำนองทั้งหมด 2 บทเพลงได้แก่เพลง “ระบำลพบุรี” เพื่อเป็นทำนองแทนแม่น้ำลพบุรี และเพลง “กำฟ้า” เพื่อเป็นทำนองแทนประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวนที่จังหวัดสิงห์บุรี นอกจากนี้ยังได้เลือกใช้เทคนิคประพันธ์ดนตรีร่วมสมัยเข้ามาร่วมด้วยโดยจะเลือกใช้การผสมผสานของโมด การปรับทำนองหลัก รวมไปถึงการใช้คอร์ดคู่ห้าเรียงซ้อนและคู่สี่เรียงซ้อน เพื่อเพิ่มสีสันให้กับบทประพันธ์


บทประพันธ์เพลงระดับมหาบัณฑิต : “เมตามอร์โฟซิส” สำหรับวงดุริยางค์เครื่องสาย, ภัทรา พงษ์แสงสุริยะ Jan 2020

บทประพันธ์เพลงระดับมหาบัณฑิต : “เมตามอร์โฟซิส” สำหรับวงดุริยางค์เครื่องสาย, ภัทรา พงษ์แสงสุริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์ : “เมตามอร์โฟซิส” สำหรับวงดุริยางค์เครื่องสายเป็นผลงานสร้างสรรค์ในประเภทดนตรีพรรณนา มีความยาวของบทประพันธ์ประมาณ 17 นาที ชิ้นงานมีการนำแนวคิดจากวรรณกรรม ชีววิทยา และจิตวิทยามาผนวกเข้าไว้ด้วยกัน โดยคำว่า “เมตามอร์โฟซิส” มีความหมายในทางชีววิทยาว่าเป็นประเภทการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นลำดับขั้น บทประพันธ์ชิ้นนี้ผู้ประพันธ์กำหนดให้ผีเสื้อ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในทางวรรณกรรมที่มีความหมายที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณมาเป็นหลักสำคัญในการตีความตามองค์ประกอบดนตรี ทั้งการเลือกใช้เทคนิคพิเศษของเครื่องสาย การควบคุมลักษณะเสียง รวมถึงการเลือกใช้สังคีตลักษณ์ในกระบวนทั้งสี่ตามลำดับขั้นการเจริญเติบโตในทางชีววิทยา โดยเริ่มจากไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ไปสู่ช่วงโตเต็มวัย นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ได้มีการตีความหมายคำว่าเมตามอร์โฟซิสในความหมายทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางชีววิทยาว่าเป็นการเปลี่ยนรูป ซึ่งผู้ประพันธ์ได้ตีความคำนี้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสภาวะจิตใจ และนำมาเป็นตัวกำหนดความเร็วช้า และเสียงประสาน รวมถึงการจัดการระบบศูนย์กลางเสียง ทั้งในรูปแบบดนตรีไร้กุญแจเสียงและอิงกุญแจเสียงลงในบทประพันธ์ ในการบรรยายกระบวนการแปรเปลี่ยนของสภาวะจิตใจจากความทุกข์ตรมไปสู่ความสุข


พหุวัฒนธรรมในจิตรกรรมสื่อประสม, ณัฐนันท์ เลิศประดิษฐ์ Jan 2020

พหุวัฒนธรรมในจิตรกรรมสื่อประสม, ณัฐนันท์ เลิศประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “พหุวัฒนธรรมในจิตรกรรมสื่อประสม (Mixed Media)” เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ทำขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าวิธีการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อประสมที่ถ่ายทอดพหุวัฒนธรรมผ่านจินตนาการและวัตถุทางวัฒนธรรม ประเทศไทยมีการแลกเปลี่ยนรับเอาอารยธรรม วัฒนธรรม ประเพณีมาจากหลายวัฒนธรรมตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันผสมกลมกลืนจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ผู้วิจัยเล็งเห็นสิ่งเหล่านี้ผ่านวัตถุต่างๆ หลากหลายประเภทซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติ ผลงานวิจัยนี้นำเสนอพหุวัฒนธรรมที่ปรากฎให้เห็นและซ่อนอยู่ภายในรูปแบบลักษณะของวัตถุและศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษา ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย และเนื้อหาสัญลักษณ์ในรูปแบบของวัตถุต่างๆ เมื่อศึกษาแล้ว ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความเชื่อมโยงกันของแง่มุมอันหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาผลงานจิตรกรรมสื่อประสมของศิลปินหลากหลายท่านทางด้านเทคนิควิธีการถ่ายทอดและสื่อความหมายผลงานจิตรกรรมสื่อประสม เพื่อนำมาต่อยอดความคิดอันได้รับแรงบันดาลใจมาจากพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย และผู้วิจัยได้ถ่ายทอดความคิดดังกล่าวผ่านผลงานด้วยวัตถุทางวัฒนธรรมในรูปแบบจิตรกรรมสื่อประสม


ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยสร้างสรรค์: วีรสตรี 'ย่าโม' สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี, สุพิชฌาย์ ยนต์สำอางค์ Jan 2020

ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยสร้างสรรค์: วีรสตรี 'ย่าโม' สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี, สุพิชฌาย์ ยนต์สำอางค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลง ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยสร้างสรรค์: วีรสตรี 'ย่าโม' สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี เป็นผลงานการประพันธ์ประเภทดนตรีพรรณนาเพื่อยกย่องเชิดชูวีรสตรีแห่งสยามผู้ปกป้องแผ่นดินเกิดอันเป็นที่รักจากการรุกรานของศัตรู ความกล้าหาญ ความจงรักภักดี และความรักชาติของย่าโม เป็นสัญลักษณ์และความภาคภูมิใจของชาวโคราช เมืองที่ได้รับสมญานามว่าเป็นประตูสู่อีสาน ผลงานประพันธ์นี้ยังต้องการสื่อถึงคุณความดีและเรื่องราวในประวัติศาสตร์ สุนทรียะของเพลงพื้นบ้านโคราชที่นำมาบูรณาการกับบทบาทลีลาดนตรีตะวันตก มีการพัฒนาทำนองเพลงด้วยเทคนิคการด้นสดและการแปรท่วงทำนอง โดยใช้เพลงพื้นบ้าน 3 เพลงเป็นหลัก คือ 1) เพลงรำวงโคราช 2) เพลงกล่อมลูกโคราช 3) เพลงพื้นเมืองโคราช นอกจากนั้นยังมีการใช้ทำนองแปรอิสระ การสร้างสีสันเสียง การผสมผสานดนตรีหลากมิติ การไล่เรียงเสียงโมทีฟ การทวนทำนอง การเอื้อนในโน้ตประดับ และการจัดพื้นผิวแนวตั้งและแนวนอน บทเพลงสะท้อนถึงความรักและศรัทธาในวัฒนธรรมถิ่นเกิด ความภาคภูมิใจในวีรสตรี 'ย่าโม' สุนทรียะและมรดกวัฒนธรรมเสียงถูกถ่ายทอดผ่านคีตลักษณ์ที่แบ่งเป็น 3 ท่อน คือ ท่อนที่ 1 บ้านเอ๋ง ท่อนที่ 2 อิสรภาพ และท่อนที่ 3 โคราชต้อนรับ บทประพันธ์ใช้เวลาในการแสดงทั้งสิ้น 40 นาที


ดุษฎีนิพนธ์ดนตรีวิจัยสร้างสรรค์: การแสดงฟลูตเชมเบอร์อองซอมเบิลผ่านการตีความเชิงทฤษฎีและประวัติศาสตร์, เศรษฐพงศ์ จรรยารยชน Jan 2020

ดุษฎีนิพนธ์ดนตรีวิจัยสร้างสรรค์: การแสดงฟลูตเชมเบอร์อองซอมเบิลผ่านการตีความเชิงทฤษฎีและประวัติศาสตร์, เศรษฐพงศ์ จรรยารยชน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาบทเพลงของฟลูตผ่านวรรณกรรมทางดนตรีในรูปแบบของการบรรเลงรวมวงเป็นการสะท้อนถึงอัจฉริยภาพของคีตกวีและระดับความสามารถของนักดนตรีที่บรรเลงในแต่ละยุคสมัย การศึกษาและตีความเพื่อสังเคราะห์ทักษะปฏิบัติผ่านการบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีที่หลากหลาย การบูรณาการทางความคิด การแลกเปลี่ยนมุมมอง และองค์ความรู้เชิงปฏิบัติดนตรี สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การตีความบทเพลงผ่านประสบการณ์ รสนิยม การนำเสนอแนวความคิดทางดนตรี ผ่านกระบวนการฝึกฝนอันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการบรรเลง งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา องค์ความรู้ พัฒนาการ แนวคิดและบทบาทของเครื่องดนตรีฟลูตในบริบทของการบรรเลงรวมวงจากกลวิธีการบรรเลงและบทประพันธ์ที่เปลี่ยนเพลงตามอิทธิพลแนวคิดของผู้ประพันธ์และยุคสมัยทางดนตรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบรรเลงจากวรรณกรรมทางดนตรี นำไปสู่การตีความวิเคราะห์สังคีตลักษณ์เพื่อสังเคราะห์ และพัฒนากลวิธีการบรรเลงฟลูตในบริบทของการบรรเลงรวมวง 3) เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการแสดงฟลูตในรูปแบบการบรรเลงรวมวง โดยนำแนวคิดและองค์ความรู้ที่ได้มาเป็นพื้นฐานและบูรณาการร่วมกับการแสดงดนตรีภายใต้กรอบของการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีหลักคือฟลูต นำเสนอผ่านการแสดงคอนเสิร์ต 3 รายการ ผ่านกระบวนการคัดเลือกวรรณกรรมการบรรเลงรวมวงที่สำคัญสำหรับเครื่องดนตรีฟลูต รูปแบบการประสมวงดนตรี เอกลักษณ์และมุมมองของคีตกวีทั้งต่อบทประพันธ์และเครื่องดนตรี และคุณค่าของบทประพันธ์ ภาพสรุปของการสังเคราะห์ประวัติศาสตร์สู่แนวคิดด้านพัฒนาการวรรณกรรมดนตรีฟลูต เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งมุมมองของคีตกวีต่อเอกลักษณ์เครื่องดนตรีฟลูต สังเกตได้ว่าฟลูตนั้นมีอัตลักษณ์ของเครื่องดนตรีในการนำเสนอบทบาทในสัญญะของนกหรือเสียงร้องได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้จะมีช่วงระยะเวลาที่เริ่มได้รับความนิยมและเป็นเครื่องดนตรีกระแสนิยมในแต่ละยุคสมัย แต่มิได้หมายความว่าหลังจากผ่านพ้นยุคสมัยเหล่านั้นค่านิยมจะหายสาบสูญจนหมดสิ้นไปทั้งหมด แนวคิดในการบรรเลงนั้นยังคงมีอยู่แม้ช่วงเวลาจะเปลี่ยนผ่านไป เพียงแต่อาจจะลดบทบาทลงเท่านั้น ซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ความคิดของสังคมต่อเครื่องดนตรีฟลูตได้อย่างมีนัยสำคัญ ความเป็นดนตรีแห่งมิตรภาพ เป็นภาพสะท้อนของการบรรยายคุณลักษณะของดนตรีเชมเบอร์ถึงกระบวนการทำงานร่วมกันของนักดนตรีอย่างเป็นระบบทั้งด้านการฝึกซ้อม การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการวิพากษ์เพื่อหาข้อสรุปอย่างเป็นประชาธิปไตยผ่านการพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ ของบทเพลง กล่าวได้ว่าการบรรเลงในวงดนตรีเชมเบอร์นั้นจะต้องมีทักษะพิเศษทั้งในเชิงดนตรีและสังคม โดยสิ่งที่สำคัญและเป็นหัวใจหลักของดนตรีแชมเบอร์นั้น คือ การสื่อสารและกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างนักดนตรี