Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

History

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 9 of 9

Full-Text Articles in Arts and Humanities

Impacts Of Communication Technology And Social Media On Intergenerational Relationships In Bangkok, Marie-Helene Thomas Jan 2018

Impacts Of Communication Technology And Social Media On Intergenerational Relationships In Bangkok, Marie-Helene Thomas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to explore how communication technology and social media affects the intergenerational relationships between older persons and their adult children in Bangkok. Using Bengston and Schrader's (Bengtson and McChesney 1998) measurement framework for intergenerational relationships, this study examines how communication technology, namely the smart phone and its accompanying applications, Line and Facebook, has impacted the relationship between thirty older persons and their adult children. Purposive sampling was used to select participants from three elderly associations located in different neighbourhoods around Bangkok, data was collected using semi-structured interviews and data was analysed via thematic analysis. The …


มโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในนิตยสารสตรีสาร พ.ศ. 2491-2539, ปวีณา กุดแถลง Jan 2018

มโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในนิตยสารสตรีสาร พ.ศ. 2491-2539, ปวีณา กุดแถลง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการให้ความหมาย การประกอบสร้างและการนำเสนอมโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายในทศวรรษ 2490 – 2530 ผ่านปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว ที่ปรากฏในนิตยสาร สตรีสาร สองคอลัมน์หลัก ได้แก่ "ทรรศนะหญิง" และ "ทรรศนะชาย" จำนวน 576 ฉบับ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังมุ่งศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงและผู้ชายที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งมาถึงคอลัมน์ยอดนิยม "ตอบปัญหา" อีกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 475 ฉบับ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายซึ่งมิได้มุ่งเน้นเพียงการนำเสนอปิตาธิปไตยและการมองผู้หญิงในฐานะผู้ถูกกดขี่ แต่มุ่งพิจารณาการนำผู้ชายและผู้หญิงกลับไปยังหน่วย (unit) ที่เป็นพื้นฐานที่สุดในความสัมพันธ์ของมนุษย์นั่นก็คือครอบครัว โดยผ่านประเด็นหลักสามประเด็นคือ ลำดับชั้นทางเพศสภาพ, การปฏิบัติตัวตามบทบาทเพศสภาพ และผลกระทบของการปฏิบัติต่อปฏิสัมพันธ์ของหญิงและชายในครอบครัวและชีวิตของแต่ละบุคคล โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในมิติต่างๆ ได้แก่ การเป็นคู่รัก, การต่อรองบทบาทปิตาธิปไตยภายในครอบครัว, การมีเมียน้อย และการอกหักและการหย่าร้าง คำถามการวิจัยของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ ผู้หญิงและผู้ชายประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นหญิงและความเป็นชายของตนอย่างไรภายในครอบครัว, พัฒนาการในสังคมไทยระหว่าง พ.ศ. 2491 – 2539 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการสร้างมโนทัศน์ความเป็นหญิงและความเป็นชายภายในครอบครัวอย่างไร, บทบาทและหน้าที่ของหญิงและชาย รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศสภาพของสมาชิกในครอบครัวมีส่วนกำหนดการแสดงออกความเป็นหญิงและความเป็นชายใน พ.ศ. 2491 – 2539 อย่างไรบ้าง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า ครอบครัวคือสถานที่สำคัญในการประกอบสร้างและนำเสนอความเป็นหญิงและความเป็นชาย เนื่องจากทศวรรษ 2490 – 2530 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อความคิด ความหวัง อารมณ์และความรู้สึกของชายหญิงที่มีต่อกันและกัน และนำไปสู่ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งมีส่วนช่วยในการกำหนดและประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นหญิงและความเป็นชายโดยผ่านการปฏิบัติหน้าที่ในครอบครัว


The Creation Of A "Lanna Sense Of Place" Through Fine Arts In Northern Thailand : A Case Study Of Hotel Lobby Decorations In Chiang Mai And Chiang Rai, Muhammad Faizal Abdul Rani Jan 2018

The Creation Of A "Lanna Sense Of Place" Through Fine Arts In Northern Thailand : A Case Study Of Hotel Lobby Decorations In Chiang Mai And Chiang Rai, Muhammad Faizal Abdul Rani

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation will observe and evaluate how the Northern region of Thailand had applied various cultural elements and beliefs in creating a "Sense of Lanna" to attract visitors. How these cultural elements had been applied by the various parties will demonstrate the manner of their commercialization - whether in a positive or negative way. The scope of this research is focused on seven 5-star hotels in Chiang Mai and Chiang Rai. This area was chosen because Chiang Mai is the most award-winning province in Thailand when it comes to tourism especially. This is in addition to the area having many …


Folklore Museums And Their Roles In Displaying And Preserving Communal Cultural Heritage : The Case Studies Of Yaowarat Chinatown Heritage Center, Bang Lamphu Museum And Bangkokian Museum, Xie Xiaoran Jan 2018

Folklore Museums And Their Roles In Displaying And Preserving Communal Cultural Heritage : The Case Studies Of Yaowarat Chinatown Heritage Center, Bang Lamphu Museum And Bangkokian Museum, Xie Xiaoran

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Communal cultural heritage as the embodiment of cultural diversity of the nation, plays more significant roles in the contemporary context. Adopted from the definitions of tangible and intangible heritages and their displaying in communities, the idea of preserving communal cultural heritage has extended its instruments to various fields and different forms. Among them, local folklore museum plays irreplaceable roles in the displaying and maintaining the cultural identity of the local community. In this research, three folklore museums in Bangkok, Thailand are chosen as study cases to examine the roles that folklore museum plays in the process of displaying and preserving …


The Role Of Ancestral Halls And Ancestral Worship In Chinese Clan Associations In Thailand As Forms Of Cultural Integration In The Age Of Globalization, Ying Zhang Jan 2018

The Role Of Ancestral Halls And Ancestral Worship In Chinese Clan Associations In Thailand As Forms Of Cultural Integration In The Age Of Globalization, Ying Zhang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation focuses on studying the relationship between the ancestral hall and ancestral worship of Thai-Chinese clan associations in the context of contemporary Thai society, Thai local culture and the era of globalization. The research data mainly derives from the journals of the Thai-Chinese communities, news reports, on-site investigations and interviews. This study indicates that the Thai-Chinese had been living in Thai society and they had established Chinese traditional cultural practices in Thailand and enriched the culture of Thailand. With the development of contemporary Thai society, Thai-Chinese community associations have been transformed into non-governmental organizations and have become part of …


การพัฒนาทักษะของนักแสดงในการแสดงเดี่ยวเรื่อง เดอะ ไซริงกา ทรี ตามหลักการแสดงของม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล, เพียงดาว จริยะพันธุ์ Jan 2018

การพัฒนาทักษะของนักแสดงในการแสดงเดี่ยวเรื่อง เดอะ ไซริงกา ทรี ตามหลักการแสดงของม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล, เพียงดาว จริยะพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุลมีความเชื่อว่าหากนักแสดงที่มีจิตอิสระ รู้จักวางอัตตา มีสมาธิตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ทั้งกายและใจก็จะเป็นตัวละครได้โดยง่าย จึงออกแบบแบบฝึกหัดอันฝึกฝนให้กายและจิตของนักแสดงทำงาน ผสานกันด้วยแนวทางของการเจริญสติ/สมาธิของศาสนาพุทธ ผู้วิจัยทดลองนำหลักการแสดงนี้มาใช้ในการแสดง เดี่ยวเรื่อง เดอะ ไซริงกา ทรี โดยมีสมมติฐานว่าเมื่อนักแสดงใช้หลักการแสดงของม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุลนี้แล้ว จะสามารถเข้าถึงบทบาทและสามารถสื่อสารสารหลักของเรื่องได้ดีขึ้น ผู้วิจัยทดลองใช้หลักการแสดงฯ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ค้นหาสภาวะภายในของตัวละคร 2) เตรียมพร้อมนักแสดงก่อนการแสดง 3) พัฒนาทักษะโดยรวม ด้วยงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยแบบปฏิบัติการ ผู้วิจัยจึงเลือกวิธีการเก็บข้อมูลหลากหลายรูปแบบที่นอกเหนือ หนังสือและตำรา อันได้แก่ บันทึกการทำงานของผู้วิจัย, บันทึกคำสอน, การสังเกตการณ์, การสัมภาษณ์, แบบสอบถามผู้ชม และวีดิโอบันทึกการแสดงจริง ผลการศึกษาพบว่าการฝึกปฏิบัติด้วยแนวทางดังกล่าวอย่าง ต่อเนื่องช่วยเสริมความรู้สึก ไว้วางใจในศักยภาพของตนเอง ทำให้นักแสดงรู้สึกอิสระที่จะเป็น ทำ หรือรู้สึกโดยไม่ กลัวการถูกตัดสิน ทั้งจากผู้อื่นและตนเอง เมื่อนักแสดงค้นพบอิสรภาพบนเวทีแล้วการเข้าถึงบทบาทและสื่อสาร สารหลักของเรื่องก็เกิดขึ้นได้โดยง่าย


แนวคิดชาติ ศาสน์ กษัตริย์ : ความเป็นไทยกับการเข้าร่วมสงครามเกาหลี, เกษราภรณ์ หาญแกล้ว Jan 2018

แนวคิดชาติ ศาสน์ กษัตริย์ : ความเป็นไทยกับการเข้าร่วมสงครามเกาหลี, เกษราภรณ์ หาญแกล้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเหตุผลของรัฐไทยในการเข้าร่วมสงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950-1953) โดยพบว่าการสร้างวาทกรรมชาตินิยมของรัฐไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำปัจจัยบรรยากาศทางการเมืองสมัยใหม่มาเป็นประเด็นหลักสำคัญ เน้นย้ำไปยังความมั่นคงของประเทศที่กำลังถูกลัทธิคอมมิวนิสต์รุกรานโดยเชื่อมโยงเข้ากับสถานการณ์โลกการเมืองสมัยใหม่ที่เกิดการปะทะกันระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์และเสรีประชาธิปไตย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จนกระทั่งคาบสมุทรเกาหลีกลายเป็นพื้นที่การปะทะกันของอุดมการณ์ทางการเมืองจากทั้งสองฝ่าย เมื่อเกิดสงครามเกาหลีขึ้น ไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกาศเข้าร่วมสงคราม ซึ่งถือเป็นการแสดงท่าทีทางการเมืองอย่างชัดเจนว่า รัฐไทยนั้นสนับสนุนนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์และสนับสนุนอเมริกา อีกทั้งได้รัฐไทยนำเอาแนวคิดชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ขึ้นมาเป็นวาทกรรมหลักเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐไทยในการเข้าร่วมสงครามเกาหลี ดังนั้นนโยบายการสร้างชาติและต่อต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐไทยได้รับอิทธิพลจากบริบททางการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกคามจากคอมมิวนิสต์จีนและถูกกำหนดโดยเหตุการณ์ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกในช่วงสงครามเกาหลี


เรื่องผีของเหม เวชกร : ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทย (พ.ศ. 2475-2513), พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ Jan 2018

เรื่องผีของเหม เวชกร : ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทย (พ.ศ. 2475-2513), พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เรื่องผีของเหม เวชกร เผยแพรjระหว่างปี 2476-2513 เป็นวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาแห่ง ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 และความเป็นสมัยใหม่ ทั้ง ในทางการเมืองและสังคมวัฒนธรรม แต่ความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ไม่ได้ทำให้สิ่ง เก่าหายไป สิ่งเก่ายังคงดำรงอยู่ในพื้นที่และเวลาเดียวกันกับสิ่งใหม่ ผีในเรื่องผีของเหมจึงเกิดขึ้นด้วย เงื่อนไขเช่นนี้ และฉายภาพให้เห็นความกลัว ความตึงเครียด และความขัดแย้งในสังคมไทยในสามประเด็น ประการแรกคือ สังคมเก่ายังคงอยู่ในสังคมใหม่ อย่างที่สองคือ เมืองและชนบทยังคงเป็นสองโลกที่ แตกต่างกัน และสิ่งเก่าที่ความเป็นสมัยใหม่ต้องการกำจัดให้หมดไปยังคงมีอยู่ในชนบท อย่างที่สามคือ ความรักแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและเสรีภาพต้องปะทะกับความรักแบบเก่าที่ยึดมั่น ในชนชั้นและการตัดสินใจของพ่อแม่ สภาวะเช่นนี้แสดงให้เห็นสิ่งที่มากไปกว่า "การปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ)" แต่แสดงให้เห็น "การทำให้ทันสมัยที่ไม่สมบูรณ)" ด้วยความไม่สมบูรณ)เช่นนี้จึงทำให้เกิด "สิ่งตกค้าง" จากสังคมเก่าในสังคมใหม่ เรื่องผีของเหมจึงเป็นเรื่องผีที่หลอกหลอนคนที่อยู่ในสังคมใหม่ ความคิดใหม่นั่นเอง


The Construction Of Images Of "Vietnam" In Contemporary Thai Writings, Tran Cam Tu Jan 2018

The Construction Of Images Of "Vietnam" In Contemporary Thai Writings, Tran Cam Tu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation aims to examine the images of Vietnam portrayed in contemporary Thai writings (1990s-2015) and to analyse the construction of such images. Document research, textual analysis and interview reveal three outstanding images of Vietnam: (1) "Vietnam is a country of wars", which is initially constructed from old impressions about the Vietnam War of the Thai writers then are soon replaced by their first-hand experience in Vietnam with new aspects of the serious consequences of the wars as well as post-war struggles. (2) Next, Vietnam is in transition to modernity and integration, which is represented by the romanticised traditionality that …