Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Arts and Humanities

Chang (Beer): A Social Marker, Ritual Tool, And Multivalent Symbol In Tibetan Buddhism, Kayla J. Jenkins May 2019

Chang (Beer): A Social Marker, Ritual Tool, And Multivalent Symbol In Tibetan Buddhism, Kayla J. Jenkins

MSU Graduate Theses

In this thesis, I analyze the use of beer (Tib. chang) in Tibetan tantric Buddhism and emphasize its importance for studying themes of purity and pollution, meaning, and power in this context. In doing so, I argue that beer functions as a social marker and influences gender dynamics in Tibet. Beer also functions as a religious ritual tool for transactions of power. Lastly, beer is present as a multivalent symbol in Tibetan tantric songs and stories, useful as both a negative and positive metaphor for qualities or states of mind. As something that informs social, religious, and literary worlds within …


Doing From Being: Creating Organizational Integrity Through Mindful Self-Leadership, Adam Stonebraker May 2019

Doing From Being: Creating Organizational Integrity Through Mindful Self-Leadership, Adam Stonebraker

Mindfulness Studies Theses

Mindfulness in the workplace is a subject that has seen significant growth in recent years. Mindfulness, which is rooted in ancient contemplative practice, has gained much traction among Western audiences over the last few decades. The application of Mindfulness practices is prevalent now in workplaces, where its efficacy has been well-documented, and impact has included the reduction of employee stress, increased productivity, and enhancement of one’s well-being.

The principles of mindfulness can be applied across disparate workplace settings and in nearly any situation to help bolster employees’ presence and focus in the day-to-day and retain them in the place of …


Moving Through, Moving On: Examining The Life Well Lived Through The Lense Of Impermanence, Aidan O'Leary May 2019

Moving Through, Moving On: Examining The Life Well Lived Through The Lense Of Impermanence, Aidan O'Leary

Honors Theses

This thesis explores the themes from Walking Each Other Home, the work I choreographed as part of my graduation requirements in the Alonzo King Lines BFA Program at Dominican University. I begin by making the case for the academic discussion of dance, including barriers to the development of the field and my place in it. Asserting that dance is a subject of religious merit, I place my piece within a broader context of dance pieces that deal with topic and themes of myth and spiritual truth. I then give a brief overview of Buddhism, centering around the Four Noble Truths …


A State Of Impermanence: Buddhism, Liberalism, And The Problem Of Politics, Cory Michael Sukala Mar 2019

A State Of Impermanence: Buddhism, Liberalism, And The Problem Of Politics, Cory Michael Sukala

LSU Doctoral Dissertations

This dissertation explores the relationship of Buddhist political thought and liberal political thought at the level of first principles. I will examine the tension created by the Buddhist view of political life as instrumental and secondary to man's being as a function of the transition of the Buddhist world into the sphere of Western political life, which views the role of politics as primary to man's nature. In Part I, this will be accomplished through a consideration of the origins of political life and the foundation of the political state in each tradition as viewed through the themes of human …


เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่ : การสร้างสรรค์และบทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย, ภัทรธรณ์ แสนพินิจ Jan 2019

เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่ : การสร้างสรรค์และบทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย, ภัทรธรณ์ แสนพินิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่และวิเคราะห์บทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย เรืองเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่ที่ศึกษามีทั้งหมด 45 แหล่ง ทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือและนิตยสาร มี 17 แหล่ง และสื่อดิจิทัล ได้แก่ เว็บไซต์, เฟซบุ๊กและยูทูบ มี 28 แหล่ง ผลการศึกษาพบว่าเรื่องเล่าราหูในหนังสือรวบรวมเรื่องของราหูฉบับเต็มและเป็นแหล่งข้อมูลต้นตอของเรื่องเล่าราหูในสื่ออื่นๆ เรียบเรียงขึ้นใหม่โดยอิงกับตำนานราหูจากวรรณคดีพราหมณ์-ฮินดู, วรรณคดีพุทธศาสนา และวรรณกรรมไทยด้วยกลวิธี 3 แบบ ได้แก่ (1) ตัดต่อ, (2) ปรับเปลี่ยนเนื้อหาโดยการดัดแปลงกับขยายความ และ (3)สร้างเรื่งอเล่าขึ้นใหม่ การตัดต่อคือการเลือกตำนานสำคัญเพื่ออธิบายภูมิหลังและชูบทบาทของราหูในเรื่องเล่า ได้แก่ ตอนกำเนิดเทพนพเคราะห์และตอนบุพกรรมกับพระอาทิตย์และพระจันทร์จากเฉลิมไตรภพ, พระพุทธเจ้าทรมานราหูจากจันทิมสูตรและสุริยสูตร ราหูฟังธรรมและได้รับพุทธพยากรณ์จากอรรถกถาโสณทัณฑสูตร การปรับเปลี่ยนเนื้อหาคือการดัดแปลงตำนานที่มีอยู่เดิมมาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ราหูมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นเทพที่ควรได้รับการบูชาในพุทธศาสนา ตำนานที่ดัดแปลง ได้แก่ ตอนราหูดื่มน้ำอมฤตเพื่อแสดงว่าราหูมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และตอนที่ได้รับพุทธพยากรณ์ การสร้างขึ้นใหม่เป็นเล่าที่มาของสถานะความเป็นเทพของราหู และประสบการณ์บุคคลซึ่งไม่อิงกับตำนานที่มีอยู่เดิม ได้แก่ โชคลาภจากราหู และความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องราง เรื่องเล่าราหูในสื่อดิจิทัลมีพื้นที่จำกัดจึงมีเฉพาะตอนสำคัญ ได้แก่ กำเนิดและพงศ์พันธุ์, การลักดื่มน้ำอมฤต, การพบพระพุทธเจ้าและได้รับพุทธพยากรณ์, และการร่วมรจนาบทนะโม เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญทำให้ตำนานราหูจากวรรณคดีศาสนาและวรรณกรรมไทยเป็นที่รู้จักในสังคมไทยปัจจุบัน ช่วยสร้างเสริมความมั่นใจของผู้บูชา รับรองหรือสนับสนุนการบูชาราหูทั้งในแง่อามิสบูชาและปฏิบัติบูชา และช่วยอธิบายรูปแทนและเครื่องรางพระราหูที่ถูกสร้างขึ้นภายหลัง รวมถึงพิธีทรงเจ้าซึ่งอ้างว่าราหูเข้าร่างทรงเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นบทบาทของตำนานเทพปกรณัมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูซึ่งเป็นพื้นฐานของตำนานเทวดาในพุทธศาสนาในการสร้างเรื่องเล่ารองรับความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีและวิญญาณในพุทธศาสนาปัจจุบัน


ลักษณะเด่นของตัวละครราวณะใน ปอุมจริยะ ของวิมลสูริ, บุณฑริกา บุญโญ Jan 2019

ลักษณะเด่นของตัวละครราวณะใน ปอุมจริยะ ของวิมลสูริ, บุณฑริกา บุญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปอุมจริยะของวิมลสูริเป็นวรรณคดีเรื่องรามายณะที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาเชนและมีอิทธิพลต่อรามายณะฉบับของศาสนาเชนฉบับอื่นที่แต่งขึ้นภายหลัง วรรณคดีเรื่องรามายณะของศาสนาเชนจัดอยู่ในวรรณคดีเรื่องเล่าประเภทปุราณะหรือจริตะ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวคิดศลากาปุรุษะซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับวีรบุรุษในศาสนาเชน วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาลักษณะเด่นของตัวละครราวณะในเรื่องปอุมจริยะ ซึ่งเป็นตัวละครปรปักษ์ของเรื่อง และศึกษาความสัมพันธ์ของแนวคิดทางศาสนาเชนที่มีต่อตัวละครราวณะ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะเด่นของราวณะในปอุมจริยะแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ลักษณะเด่นด้านรูปลักษณ์, ลักษณะนิสัย, ลักษณะเด่นด้านความสามารถ และลักษณะเด่นด้านลบจากมุมมองของตัวละครอื่น ลักษณะเด่นเหล่านี้ของราวณะมีทั้งด้านดีและด้านร้าย สะท้อนมิติตัวละครที่เป็นมากกว่าตัวละครปรปักษ์ผู้ประพฤติแต่ความชั่ว แต่ยังมีลักษณะวีรบุรุษผู้ทรงคุณธรรมซึ่งสอดคล้องกับบทบาทของราวณะในฐานะเชนศาสนิกผู้มีความภักดีต่อพระชินะ แนวคิดทางศาสนาเชนที่มีความสัมพันธ์ต่อตัวละครราวณะได้แก่แนวคิดทางจริยศาสตร์และแนวคิดเรื่องศลากาปุรุษะ กรอบแนวคิดทางจริยศาสตร์แบบเชนแสดงให้เห็นการสร้างตัวละครปรปักษ์ให้เป็นแบบอย่างของผู้ครองเรือนที่ไม่อาจรักษาอนุพรตไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และท้ายสุดเมื่อสิ้นชีวิตต้องตกนรกเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ ซึ่งเป็นภาพตรงกันข้ามกับตัวละครเอกคือพระรามผู้ประพฤติตามหลักศาสนาและตามหลักอหิงสา เมื่อถึงบั้นปลายของชีวิตก็ได้ออกบวชบำเพ็ญตบะจนบรรลุความหลุดพ้น ในขณะที่กรอบแนวคิดเรื่องศลากาปุรุษะมีอิทธิพลในการดัดแปลงบทบาทของตัวละครให้ต่างออกไปจากรามายณะฉบับของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตามแนวคิดศลากาปุรุษะ ราวณะเป็นประติวาสุเทวะซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกับพระลักษมณ์ผู้เป็นวาสุเทวะ ประติวาสุเทวะจะถูกวาสุเทวะสังหารด้วยจักรของตนเอง ส่วนพระรามเป็นพลเทวะผู้ประพฤติอหิงสาและจะบรรลุความหลุดพ้น ในขณะที่ทั้งวาสุเทวะและประติวาสุเทวะจะต้องตกนรกเพราะกรรมที่ได้กระทำไว้ จึงนับได้ว่ากรอบแนวคิดทั้งสองข้างต้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปอุมจริยะเป็นรามายณะของศาสนาเชนอย่างแท้จริง


Leaves Of The Bodhi Tree From East To West: The Symbol Of The Sacred Fig Tree In Ancient India, Southeast Asia And Contemporary Contexts, Amanda J. Spradling Jan 2019

Leaves Of The Bodhi Tree From East To West: The Symbol Of The Sacred Fig Tree In Ancient India, Southeast Asia And Contemporary Contexts, Amanda J. Spradling

Graduate Research Theses & Dissertations

This thesis examines the depiction of the Bodhi Tree, a common Buddhist symbol. Bodhi tree simply means tree of enlightenment and Buddha Shakyamuni reached enlightenment while in meditation beneath the particular tree species of ficus religiosa, or sacred fig. Though the sacred fig tree, as a native tree to India, has historically held significance, today it is principally known for its association with the Buddha, particularly his single most important life event, his enlightenment.

Tree worship and its universal practice is well understood and many studies of the Bodhi Tree explore its associated pilgrimage site, Bodh Gaya, and monument, the …


การอุทิศบุญในประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของไทย : ความสำคัญและคำอธิบายร่วมสมัย, พระมหาอนุกูล เงางาม Jan 2019

การอุทิศบุญในประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของไทย : ความสำคัญและคำอธิบายร่วมสมัย, พระมหาอนุกูล เงางาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติเรื่องการอุทิศบุญในประเพณีเกี่ยวกับชีวิตจากวรรณคดีพระพุทธศาสนาภาษาบาลีที่สำคัญ และพิธีกรรมความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติในปัจจุบัน วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่ใช้ศึกษา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา มิลินทปัญหา มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ และมังคลัตถทีปนี ส่วนพิธีกรรมความเชื่อศึกษาจากบทกรวดน้ำที่ใช้ในพิธีและคำอธิบายของพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง 8 รูป ผลการศึกษาพบว่าพระไตรปิฎกมีความคิดเรื่องการอุทิศบุญจากการถวายทานแด่เทวดาหรือญาติผู้ล่วงลับ ในชั้นอรรถกถาเป็นต้นไป การอุทิศบุญถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งหลังจากการทำบุญใด ๆ ซึ่งผู้รับส่วนบุญจะต้องรับรู้และอนุโมทนา ในประเพณีไทย การอุทิศบุญอยู่ในช่วงที่พระภิกษุสงฆ์สวดอนุโมทนาบุญและผู้อุทิศบุญกรวดน้ำ บทกรวดน้ำที่ใช้ในประเพณีไทยมีเนื้อหาและความคิดสอดคล้องกับวรรณคดีพระพุทธศาสนาในชั้นอรรถกถา ส่วนคำอธิบายเรื่องการอุทิศบุญของพระภิกษุร่วมสมัยมีส่วนที่เหมือนและแตกต่างจากวรรณคดีพระพุทธศาสนา กล่าวคือ มีทั้งท่านที่อธิบายตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา, ท่านที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมโดยอาศัยประสบการณ์ทางจิต, และท่านที่ไม่ให้ความสำคัญกับการอุทิศบุญอันเป็นผลจากการเน้นคำสอนอื่นที่สำคัญ แสดงให้เห็นว่าความคิดเรื่องการอุทิศบุญในสังคมไทยมีความหลากหลายในภาพรวม การอุทิศบุญยังคงมีความสำคัญในประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของไทย เป็นการบำเพ็ญกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับรวมไปถึงมิตรสหายที่รู้จัก เจ้ากรรมนายเวร ทั้งสรรพสัตว์ต่าง ๆ ในโลก จึงถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งที่ไม่จำกัดขอบเขตและให้ผลมาก