Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art and Design

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2020

Articles 1 - 13 of 13

Full-Text Articles in Arts and Humanities

การออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ, พิมพ์นารา เรขะธีระโรจน์ Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ, พิมพ์นารา เรขะธีระโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบเรขศิลป์ปฏิทินวันสำคัญทางพุทธศาสนาสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการของงานวิจัยดังนี้ 1.เพื่อหากลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ 2.เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ 3.เพื่อค้นคว้าสื่อทางเรขศิลป์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการและเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนและวิธีการวิจัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฏกและอรรถกถา เอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความทางอินเตอร์เน็ต นำข้อมูลมาประมวลและวิเคราะห์ สร้างแบบสอบถามออนไลน์ สนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบต่อไป ผลการวิจัยสามารถชี้ให้เห็นดังนี้ 1.) กลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพได้สารที่ต้องการสื่อ (Concept) คือธัมมแมชชีน และบุคลิกภาพของงาน คือเก๋เท่ ทันสมัย (Modern) แบบผู้ดี (Chic) ชัดเจน โปร่งใส ไม่มีข้อสงสัย (Clear) 2.) แนวทางการออกแบบที่เหมาะสมใช้หลักธรรมะผสมผสานกับเทรนด์การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ 2021 (UI Trends 2021) 3.) สื่อทางเรขศิลป์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้และเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แอปพลิเคชันปฏิทินวันสำคัญทางพุทธศาสนา และวิดเจ็ต สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ อาทิ เว็บไซด์ แฟนเพจในเฟสบุ๊ค แบนเนอร์ บิลบอร์ด ปฏิทินโปสเตอร์


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์, เจตวัฒน์ วิริยรัต Jan 2020

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์, เจตวัฒน์ วิริยรัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์ เป็นการวิจัยเพื่อหานวัตกรรมเครื่องแต่งรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องผจญกับปัญหามลภาวะทางอากาศและสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน นำมาพัฒนาในรูปแบบของฟังก์ชั่นการใช้งานที่ปรับเปลี่ยนได้และปกคุมร่างกายในส่วนที่ต้องการได้รับการป้องกัน และในส่วนของสิ่งทอที่มีการนำนวัตกรรมตกแต่งสิ่งทอด้วยสารเคลือบนาโนที่เพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับสิ่งทอ ออกแบบให้สร้างสรรค์และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายบุรุษและสตรีที่มีวิถีชีวิตที่ต้องผจญกับปัญหามลภาวะทางอากาศ ตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมายถึงข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเพื่อเข้าใจถึงรูปแบบ และหลักเกณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้ารวมถึงช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายจะตัดสินใจเลือกบริโภค ตลอดจนการศึกษาถึงลักษณะแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานที่ปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภคประกอบด้วย เพศหญิง เพศชาย และ อื่นๆ จำนวน 136 คน จากแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมายมีแนวทางการแต่งตัวในรูปแบบของ street wear ที่เน้นความเป็นตัวตนเฉพาะตัวสามารถ mix&match เพื่อสร้างสรรค์ความน่าสนใจใหม่ๆแบบไร้รูปแบบตายด้วมีความสนใจในนวัตกรรมที่เกี่ยวกับมลภาวะในปัจจุบัน ดังนั้นเครื่องแต่งกายที่สามารถสร้างความสบายใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการป้องกันมลภาวะ และปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามการใช้งานที่หลากหลาย จึงเป็นที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมายแต่ต้องอยู่ในการออกแบบที่คำนึงถึงความสวยงามด้วย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้มักมีการใช้ชีวิตที่ต้องเดินทางที่ต้องพบเจอมลภาวะต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และมีการพิธีพิถันในการแต่งกาย


พหุวัฒนธรรมในจิตรกรรมสื่อประสม, ณัฐนันท์ เลิศประดิษฐ์ Jan 2020

พหุวัฒนธรรมในจิตรกรรมสื่อประสม, ณัฐนันท์ เลิศประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “พหุวัฒนธรรมในจิตรกรรมสื่อประสม (Mixed Media)” เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ทำขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าวิธีการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อประสมที่ถ่ายทอดพหุวัฒนธรรมผ่านจินตนาการและวัตถุทางวัฒนธรรม ประเทศไทยมีการแลกเปลี่ยนรับเอาอารยธรรม วัฒนธรรม ประเพณีมาจากหลายวัฒนธรรมตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันผสมกลมกลืนจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ผู้วิจัยเล็งเห็นสิ่งเหล่านี้ผ่านวัตถุต่างๆ หลากหลายประเภทซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติ ผลงานวิจัยนี้นำเสนอพหุวัฒนธรรมที่ปรากฎให้เห็นและซ่อนอยู่ภายในรูปแบบลักษณะของวัตถุและศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษา ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย และเนื้อหาสัญลักษณ์ในรูปแบบของวัตถุต่างๆ เมื่อศึกษาแล้ว ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความเชื่อมโยงกันของแง่มุมอันหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาผลงานจิตรกรรมสื่อประสมของศิลปินหลากหลายท่านทางด้านเทคนิควิธีการถ่ายทอดและสื่อความหมายผลงานจิตรกรรมสื่อประสม เพื่อนำมาต่อยอดความคิดอันได้รับแรงบันดาลใจมาจากพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย และผู้วิจัยได้ถ่ายทอดความคิดดังกล่าวผ่านผลงานด้วยวัตถุทางวัฒนธรรมในรูปแบบจิตรกรรมสื่อประสม


การออกแบบเรขศิลป์โครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานครโดยใช้การออกแบบคาร์แรคเตอร์เปรตในพุทธศาสนา, ฐิติชญา ปัทมดิลก Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์โครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานครโดยใช้การออกแบบคาร์แรคเตอร์เปรตในพุทธศาสนา, ฐิติชญา ปัทมดิลก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัฒนธรรมเป็นรูปแบบของกิจกรรมหรือโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ของมนุษย์ ที่คิดขึ้นและสืบสานโดยเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ผ่านทางภาษา ศิลปะ ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี ปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาโดยเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่หรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงวัฒนธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะสมกับคนยุคใหม่ หากแต่กลุ่มคนที่ไม่ได้รับการปลูกฝังเกี่ยวกับความสำคัญของวัฒนธรรมส่งผลให้คนมีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมน้อยลง ซึ่งสังเกตได้จากการสืบทอดหรือหลงเหลือต่อกันมาและการถูกลดความสำคัญลง ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสนใจในเรื่องวัฒนธรรม และแสดงความเห็นต่างๆดังต่อไปนี้ น่าเบื่อ, ไม่สนุกสนาน, ไม่มีแรงจูงใจในการสืบสานต่อ และไม่เหมาะสมต่อความต้องการของสังคมสมัยใหม่ ขณะที่การเติบโตของสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมนั้นได้เป็นกระแสความนิยมมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ผู้คนก็เริ่มหันมาให้ความสนใจเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นจำนวนมากขึ้น โดยคนกลุ่มนั้นคือ เจนเนอเรชั่น ซี อย่างไรก็ตามผู้วิจัยจะต้องตระหนักถึงการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายไม่ให้รู้สึกเบื่อกับการเข้าถึงวัฒนธรรมเสียก่อน โดยการศึกษาข้อมูลเพื่อเชิญชวนให้กลุ่มคนรุ่นใหม่มาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านสื่อต่างๆในช่องทางออนไลน์ เช่น อินสตาแกรม นอกจากนั้นการคัดกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพลักษณ์ที่ทันสมัยและความเหมาะสมของอุปนิสัยของกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่จะศึกษาข้อมูลเพื่อหาแนวทางออกแบบสื่อเรขศิลป์ และสร้างภาพลักษณ์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย


ระหว่างทางของความสับสนในการทำสมาธิสู่การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม, ธเนศ ดิ้นสกุล Jan 2020

ระหว่างทางของความสับสนในการทำสมาธิสู่การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม, ธเนศ ดิ้นสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและสร้างสรรค์ในครั้งนี้เกิดจากการพิจารณาถึงการเรียนรู้ให้รู้จักรักและเข้าใจจิตใจของตนเองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อเป็นเกราะคุ้มกันและเป็นยารักษาสภาวะทางใจให้มั่นคงอยู่ตลอดเวลา อันจะนำมาซึ่งความสมดุลและความแข็งแรงของจิตใจที่พร้อมจะเผชิญกับปัญหาได้อย่างชาญฉลาด วิธีหนึ่งในการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจจิตใจของตนเองหรือการใคร่ครวญให้เกิดการตระหนักรู้กระบวนการตามธรรมดาของชีวิตนั้นคือการปฏิบัติตามแนวทางพุทธศาสนา ในลักษณะจิตตปัญาศึกษา ในแง่มุมของการปฏิบัติภาวนา เป็นหนทางในการทำให้ธรรมชาติที่แท้จริงของจิตและประสบการณ์กระจ่างชัดเจนขึ้น โดยการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ปรัชญา และการฝึกจิตภาวนาของการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาและเพื่อนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม จากการศึกษาพบว่าการเดินทางภายในสภาวะจิตใจของผู้วิจัยมีภาวะเป็นนามธรรม แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่ผู้วิจัยสนใจที่จะนำเสนอนั้นจึงมีลักษณะรูปแบบของศิลปะนามธรรม (Abstract Art) โดยผู้วิจัยต้องการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมนามธรรมที่ใช้รูปเรขาคณิตมาสร้างงาน (Geometrical abstract) ทั้งในกลุ่มศิลปะอ๊อป อาร์ต (Op Art) และศิลปะแบบขอบคม (Hard Edge) ซึ่งเป็นผลงานแสดงรูปทรงเรขาคณิตอันเป็นสัจจะของนามธรรม สอดคล้องเชื่อมโยงกับความสับสนระหว่างการทำสมาธิภาวนาอันเป็นขอบเขตของการนำเสนอให้สัมพันธ์กับการสร้างสรรค์ เพื่อแสดงสัญญะและสื่อสารสุนทรียภาพของผลงานออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติของสภาวะจิตใจตนเองอย่างแท้จริง


การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์โดยใช้ทฤษฎีไดอาโทนิคโมดสำหรับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย กรณีศึกษาข้าวไทย, ธัญพลอย นุตเกษม Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์โดยใช้ทฤษฎีไดอาโทนิคโมดสำหรับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย กรณีศึกษาข้าวไทย, ธัญพลอย นุตเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเชื่อมโยงทฤษฎีไดอาโทนิคโมด (Diatonic modes) กับการออกแบบเรขศิลป์ เพื่อศึกษาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์โดยใช้ทฤษฎีไดอาโทนิคโมด มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเรขศิลป์ เพื่อหาแนวทางการสื่อสารบุคลิกภาพ อารมณ์ (Mood and tone) และแนวทางด้านองค์ประกอบเรขศิลป์ (Design elements) เป็นแนวทางในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้า โดยนำเสนอผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าสิ่งบ่งชื้ทางภูมิศาสตร์ไทย กรณีศึกษาข้าวไทย เพื่อศึกษาหาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์โดยใช้ทฤษฎีไดอาโทนิคโมด ประกอบด้วยหลักเกณฑ์และองค์ประกอบศิลป์ใดที่เป็นตัวแปรสำคัญในการออกแบบ โดยศึกษาจากการรวบรวมวรรณกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านเรขศิลป์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยใช้การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและการทำแบบสอบถามคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น เป็นการถามเฉพาะกรณีที่เหมาะสมกับทฤษฎีที่นำมาศึกษาในงานวิจัยให้ครอบคลุมตามแนวคิดและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารถึงบุคลิกภาพของตราสินค้าและเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สามารถนำเสนอแนวทางการออกแบบ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยได้


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวพื้นที่อันดามันสำหรับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์, ไชยสิทธิ์ ชาญอาวุธ Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวพื้นที่อันดามันสำหรับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์, ไชยสิทธิ์ ชาญอาวุธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการออกแบบเรขศิลป์สำหรับกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวพื้นที่อันดามันสำหรับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การออกแบบเรขศิลป์สำหรับกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำสำหรับจังหวัดในพื้นที่อันดามันในช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว 2.เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยทดลองสร้างต้นแบบเรขศิลป์สำหรับนำไปใช้ในกีฬาแอ็คชั่นสปอร์ตทางน้ำสำหรับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มนักท่องเที่ยว 400 คน และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ 400 คน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด Facebook, Instagram และ Line มีความสนใจในรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) เรื่องการท่องเที่ยว กีฬาและอาหาร กีฬาที่เหมาะสมนำมาใช้โฆษณากระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล คือ กระดานโต้คลื่น เรือยืนพาย ในส่วนของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่มีความเห็นว่ารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬามีความเหมาะสมที่สุดในการกระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาลที่สุด ในส่วนของการดำเนินการวิจัยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเน้นภาพลักษณ์ 11 คน ผู้ประกอบการในพื้นที่ 14 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 9 คน ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่อันดามัน 7 คน ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการเก็บข้อมูล เพื่อหาแนวทางการสร้างสื่อโฆษณา ผลการวิจัยได้ค้นพบ 3 ประเด็นในการนำเสนอโฆษณา ได้แก่ 1.มิติด้านสังคมและวัฒนธรรม 2.มิติด้านกีฬาและการท่องเที่ยว 3.มิติด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ในด้านการสื่อสารกับกลุ่มเน้นภาพลักษณ์ ได้แก่ มิติด้านกีฬาและการท่องเที่ยวที่ให้คุณค่าทางด้านจิตใจ ค้นหาตัวตน พบกับความสุขสงบกับธรรมชาติ เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับตนเองและกิจกรรมที่ทำ เชื่อมโยงสู่การกระตุ้นการท่องเที่ยว ความสนุกสนาน สร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆในการใช้ชีวิต ด้านการคัดสรรค์จากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 5 ด้านดังนี้ 1. เพอนารากัน บาบ๋า 2. ช้าง 3. ปาล์ม ยางพารา 4. ชิโน โปรตุกีส 5. ทะเล หมู่เกาะน้อยใหญ่ 6.เทศกาลถือศีลกินเจ และรูปแบบด้านองค์ประกอบดังนี้ 1. ลักษณะตัวอักษร San …


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐสังกัดมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา โรงพยาบาลศิริราช, ดัยนยา ภูติพันธุ์ Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐสังกัดมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา โรงพยาบาลศิริราช, ดัยนยา ภูติพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จำนวนผู้มาใช้บริการทางการแพทย์ทุกระดับขั้นและทุกประเภทในโรงพยาบาล มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในแผนกผู้ป่วยนอก ที่มีผู้มาใช้บริการในแต่ละวันสูงถึง 12,000 คน และ 2,000,000-3,000,000 คนต่อปี (ICT.MOPH, 2562) และมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลที่ดีในการใช้บริการ ทำให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการใช้และให้บริการล่าช้าและปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาความแออัดของการใช้บริการ นำไปสู่ปัญหาการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรครุนแรง เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน การกำหนดยุทธศาสตร์สุขภาพกระทรวงสาธารณสุขที่มีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในด้านสาธารณสุข กำหนดให้การบริการทางการแพทย์ (Service Excellence) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความเป็นเลิศทางสาธารณสุขของประเทศ (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562) กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน สถาบันวิจัยรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ได้มีความพยายามในการแก้ปัญหานี้ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในแนวทาง “smart hospital” เช่นการใช้ ตู้ดิจิทัล (digital kiosks) หรือการ ใช้แอปพลิเคชั่นของโรงพยาบาล เพื่อช่วยในการบริหารจัดการการนัดหมาย การเช็คอินเข้าตรวจ การชำระค่าบริการ ค่ายา และอื่น ๆ เช่น แอปพลิเคชั่น Siriraj Connect ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล Rama App ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Chula Care ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หรือ แอปพลิเคชั่น QueQ เป็นต้น ทั้งนี้ยังมาการนำองค์ความรู้ในการออกแบบเรขศิลป์มาปรับใช้กับสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย แต่การใช้สื่อเรขศิลป์ระบบป้ายบอกทางสำหรับการบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลนั้น ยังไม่มี การให้ความสำคัญเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการใช้และการให้บริการทางการแพทย์ เมื่อผู้ใช้บริการมาที่สถานบริการได้จริง (SEGD, 2014) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ (Baby Boomer) และกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึง เข้าใจ และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (MDES, 2562) การนำระบบเรขศิลป์ป้ายบอกทางในสิ่งแวดล้อมมาใช้ เพื่อสนับสนุนการใช้งานสื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยเคลื่อนย้ายผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็ว และลดความแออัดของการใช้บริการลงได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคลาการและเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลมากเท่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ นอกจากนั้นระบบเรขศิลป์ป้ายบอกทางในสิ่งแวดล้อม ยังสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการใช้งานสื่อเรขศิลป์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในแนวทาง “smart …


การออกแบบเรขศิลป์สาหรับกลุ่มอินโทรเวิร์ท, วิภาวี มีชนะ Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์สาหรับกลุ่มอินโทรเวิร์ท, วิภาวี มีชนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บุคลิกแบบอินโทรเวิร์ทเป็นคนที่มีบุคลิกมักจมอยู่กับความคิดและความรู้สึกของตัวเอง แม้คนเหล่านี้จะช่าง จินตนาการ แต่ไม่ต้องชอบการพบเจอคนจำนวนมากเนื่องจากชอบความสงบ, ความเป็นส่วนตัว และรู้สึกอึดอัดที่ต้อง พูดคุยกับคนแปลกหน้า บุคลิกภาพแบบอินโทรเวิร์ทนี้เป็นเพียงลักษณะเฉพาะรูปแบบ หนึ่งและไม่ใช่ความผิดปกติแต่ อย่างใด คนกลุ่มนี้จึงสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้เช่นเดียวกับผู้ที่มีบุคลิกภาพอื่นๆ ที่แตกต่างออกไป งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับกลุ่มอินโทรเวิร์ทและกลยุทธ์ในการเผย แผ่ผลวิจัยแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับกลุ่มอินโทรเวิร์ท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบทดสอบเพื่อหาบุคลิกภาพแบบอินโทรเวิร์ทมาทำแบบทดสอบความชอบและความสนใจ 2. แบบทดสอบแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบเรขศิลป์ คัดเลือกงานออกแบบสำหรับบุคลิกภาพอินโทรเวิร์ท ได้แก่ แนวโน้มการออกแบบตราสัญลักษณ์, ตัวอย่างการออกแบบภาพประกอบ, ตัวอย่างการออกแบบตัวอักษร, ภาพถ่าย, สี, ป้าย และ ตัวหนังสือภาพ ผลการวิจัยพบว่า สารที่ต้องการจะสื่อสำหรับการออกแบบเรขศิลป์สำหรับกลุ่มอินโทรเวิร์ทที่ใช้กับคาเฟ่ คือ On the mars การออกแบบเรขศิลป์ให้กับคาเฟ่สร้างเพื่อให้คนที่เป็นอินโทรเวิร์ทรู้สึกถึงความสบายใจและไม่ต้องกังวล แม้ว่าจะต้อง เข้ามาใช้บริการคนเดียวหรือต้องสื่อสารกับพนักงานในร้าน บุคลิกภาพและอารมณ์ คือ ซึ่งเป็นอิสระ (Independent), ลึกซึ้ง เข้าใจยาก (Subtle), ชอบผจญภัย (Adventuresome) และมีสติ (Conscious )


การออกแบบเรขศิลป์ตราสินค้าไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มเริ่มทำงานโดยใช้การออกแบบคาแรคเตอร์จากคำอวยพรของจีน, เจนจิรา ลีลาเทพินทร์ Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์ตราสินค้าไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มเริ่มทำงานโดยใช้การออกแบบคาแรคเตอร์จากคำอวยพรของจีน, เจนจิรา ลีลาเทพินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

“ คำอวยพร ” ถือเป็นหนึ่งความเชื่อของชาวจีนที่มีความสำคัญ คำอวยพรจะมีการนำมาใช้ในการส่งต่อสิ่งดีๆให้แก่กันในทุกเทศกาลของจีน แต่น้อยคนจะตระหนักถึงความสำคัญของคำอวยพร ไม่ว่าจะเป็นความหมายตลอดจนที่มาของคำแต่ละคำ โดยเฉพาะกลุ่มคนเริ่มทำงานที่ถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กำลังใจในการทำงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายแนวความคิดของการออกแบบเรขศิลป์ตราสินค้าไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มเริ่มทำงานโดยใช้การออกแบบคาแรคเตอร์จากคำอวยพรของจีน เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบของกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1.)แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับวิเคราะห์พฤติกรรมเรื่องความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อในวัฒนธรรมจีนของกลุ่มเริ่มทำงาน 2.) การทำแบบสังเกตเกี่ยวพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายต่อประเภทสื่อต่างๆ 3.) แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับวิเคราะห์ความชอบด้านคาแรคเตอร์แบรนด์ของกลุ่มเริ่มทำงาน 4.) การสอบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับแนวทางการหาบุคลิกของแบรนด์ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์ตราสินค้าไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มเริ่มทำงานโดยใช้การออกแบบคาแรคเตอร์จากคำอวยพรของจีนหลักๆคือ 1.) สื่อประเภทผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ประเภทของออฟฟิศ, ประเภทอุปกรณ์ทั่วไป และ ประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เรียงตามลำดับ 2.) การออกแบบคาแรคเตอร์เพื่อจูงใจกลุ่มเป้าหมายโดยการใช้สไตล์คาวาอี


การออกแบบเรขศิลป์โดยใช้แนวคิดความขัดแย้ง, เขมพงศ์ รุ่งสว่าง Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์โดยใช้แนวคิดความขัดแย้ง, เขมพงศ์ รุ่งสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการออกแบบเรขศิลป์โดยใช้แนวคิดความขัดแย้งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากแนวคิดความขัดแย้งและหากลยุทธ์ในการเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อให้เห็นโอกาสและทิศทางในการออกแบบใหม่ ที่ได้จากองค์ความรู้ของแนวคิดความขัดแย้งและสามารถนำไปปรับใช้กับงานการออกแบบได้ เครื่องมือในการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. รวบรวมกลุ่มตัวอย่างงานออกแบบ ได้แก่ กลุ่มโปสเตอร์ กลุ่มปกหนังสือ และกลุ่มการออกกแบบโฮมเพจ นำกลุ่มตัวอย่างไปคัดกรองโดยสอบถามกับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการออกแบบว่าชิ้นไหนมีแนวโน้มความขัดแย้ง 2. นำกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการคัดกรองมาแยกรูปแบบการออกแบบจากแนวคิดลักษณะการบริหารความขัดแย้งของ โดยใช้การสอบถามผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้านการออกแบบเรขศิลป์สูงเป็นผู้วิเคราะห์กลุ่มตัวอย่าง 3. วิเคราะห์แนวทางการออกแบบของแต่ละรูปแบบ โดยวิเคราะห์ลักษณะองค์ประกอบศิลป์ โครงสร้างการออกแบบ การใช้งานสี และลักษณะการใช้แนวคิดความแตกต่าง 4. สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่ประกอบอาชีพนักออกแบบกราฟิก เพื่อหาสารที่ต้องการสื่อสำหรับเนื้อหางานวิจัยและรูปแบบสื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ​ผลการวิจัยพบว่า 1. ค้นพบแนวทางการออกแบบตามลักษณะบุคลิกของการจัดการความขัดแย้งทั้ง 5 รูปแบบ ได้เป็นแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ของความขัดแย้ง 5 รูปแบบได้แก่ รูปแบบเต่า รูปแบบตุ๊กตาหมี รูปแบบสุนัขจิ้งจอก รูปแบบนกฮูก และรูปแบบฉลาม โดยแต่ละรูปแบบมี 4 หัวข้อการออกแบบดังต่อไปนี้ องค์ประกอบศิลป์ โครงสร้างทางการออกแบบ การใช้งานสี และลักษณะความแตกต่าง 2. ได้สารที่ต้องการสื่อที่เหมาะสมคือ Distort Environment และสื่อที่ใช้สำหรับการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเป็นประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ 3. ได้ตัวอย่างออกแบบที่ปรับใช้แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ของความขัดแย้ง 5 รูปแบบ อย่างเหมาะสม


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษด้วยการเพิ่มความเงาของสีเพ้นท์ผ้าจากธรรมชาติ สำหรับกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) โดยใช้แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร, อรกานต์ ผดุงวัฒนโรจน์ Jan 2020

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษด้วยการเพิ่มความเงาของสีเพ้นท์ผ้าจากธรรมชาติ สำหรับกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) โดยใช้แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร, อรกานต์ ผดุงวัฒนโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษด้วยนวัตกรรมการเพิ่มความเงาของสีเพ้นท์ผ้าจากธรรมชาติ สำหรับกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) โดยใช้แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางการออกแบบสินค้าสำหรับกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบันจนถึงอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงแนวทางการออกแบบตามแนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและนวัตกรรมการเพิ่มความเงาจากสีเพ้นท์ผ้ารับเบอร์เบส คัลเลอร์ (Rubber-Based Color) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ เริ่มตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) ถึงพฤติกรรมการบริโภคสินค้า ช่วงอายุ ความสนใจการตลาดและรายได้ เพื่อสร้างความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายและช่องว่างทางการตลาดทั้งต่างประเทศและในประเทศ ผู้วิจัยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภค ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น และกลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นวายจำนวน 50 คน ผลจากการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์เสื้อผ้าเป็นอัตลักษณ์ตราสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการทางแฟชั่นของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย โอกาสการใช้สอยในรูปแบบสังสรรค์กึ่งทำงาน (Party Business) และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) สามารถประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ช่องว่างทางการตลาด สู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นได้ในอนาคต


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่, ศศิมา สุชินโรจน์ Jan 2020

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่, ศศิมา สุชินโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้ สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Reuse Revolutionaries) โดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle Concept) เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งได้จากการผลิตอุตสาหกรรมประเภทเครื่องหนัง และจะนำมาพัฒนาควบคู่ไปกับงานฝีมือเพื่อให้เกิดงานออกแบบที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างตราสินค้าแฟชั่นโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสตรีกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เริ่มตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมายถึงข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบและหลักเกณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้า รวมถึงหาช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายจะตัดสินใจเลือกบริโภค ตลอดจนการศึกษาถึงลักษณะแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนเป้าหมายได้ ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle) ผ่านแนวทางเทคนิคงานฝีมือให้ชิ้นงานมีมูลค่าและสวยงามมากขึ้น ตลอดจนมีการศึกษารูปแบบผลงานการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ที่มีในปัจจุบันของศิลปินต่าง ๆ ศึกษารูปแบบงานฝีมือ ที่หลากหลายและแบบ Surface Embroidery เพื่อนำมาหาข้อสรุปและความเหมาะสมในการสร้างสรรค์งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภคผู้หญิงที่อยู่กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย มีอายุระหว่าง 25 - 35 ปี จำนวน 51 คน ผลจากการวิจัยพบว่าแฟชั่นเพื่อกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Reuse Revolutionaries) กับแนวความคิดการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle) สามารถมีแนวทางในการออกแบบร่วมกันได้ โดยใช้เทคนิคการผสมผสานงานฝีมือที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการลดปริมาณเศษหนังให้มากที่สุดและ เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า โดยมีโอกาสการใช้สอยในรูปแบบของชุดลำลองที่สร้างสรรค์ (Creative Casual) โดยสามารถประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ช่องว่างการตลาดสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นที่มีการผสมผสานงานฝีมือและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้