Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Architectural Technology

Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 31 - 60 of 84

Full-Text Articles in Architecture

Lateral Strength And Ductile Behavior Of A Mortise-Tenon Connected Timber Frame, Alexandros Kouromenos Mar 2017

Lateral Strength And Ductile Behavior Of A Mortise-Tenon Connected Timber Frame, Alexandros Kouromenos

Master's Theses

The primary goals of this project were to examine the amount of lateral force resisted by a single-bay mortise-tenon connected timber moment frame, and to introduce ductile behavior into the mortise-tenon connections by adding a steel sleeve around a traditional wood peg. This research aimed to provide proof that traditional timber frames are capable of ductile racking while reliably complying with ASCE 7-10 building code drift speci! cations, implying an increase in the ASCE 7-10 ductility factor (R) for wood frames when used as lateral force resisting elements. A secondary goal was to promote traditional heavy timber framing as a …


Membrane Dissection: The Bechtler Museum, Mike Lidwin, Rachel List Feb 2017

Membrane Dissection: The Bechtler Museum, Mike Lidwin, Rachel List

EURēCA: Exhibition of Undergraduate Research and Creative Achievement

A windowless façade becomes the inspiration for an experimentation of materials. Through the use of terracotta cladding, Mario Botta crafts a local landmark and structural masterpiece in his design of the Bechtler Museum of Modern Art. The Bechtler Museum is located in Charlotte, North Carolina, and appears as a giant terracotta-red cube in the downtown cityscape. Instead of including several exterior windows, Botta focuses on the materiality of terracotta to function as an attractive facade and as an effective enclosure system.

This research project analyzes structural and enclosure elements of Mario Botta’s Bechtler Museum. Through diagramming the building in section, …


Bicp Global Bim Study - Lessons For Ireland’S Bim Programme, Barry Mcauley, Alan Hore, Roger West Feb 2017

Bicp Global Bim Study - Lessons For Ireland’S Bim Programme, Barry Mcauley, Alan Hore, Roger West

Reports

The Construction IT Alliance (CitA) has been promoting the benefits of digitisation in the construction and engineering industry in Ireland since its formation back in 2002. Whilst the Alliance has always strived to ensure that its members are exposed to a wide spectrum of contemporary digital tools and processes, the concept of Building Information Modelling (BIM) has dominated the focus of its activities over the past five years.

BIM can be described as a digital tool that facilitates everybody to better understand a building or structure through the use of a digital model which draws on a range of data …


Bau, January 17-21, Munich, Jim Roche Feb 2017

Bau, January 17-21, Munich, Jim Roche

Other resources

This bi-annual five-day event is one of the

leading and biggest trade fares of architecture,

materials, building systems and craft skills in

the world. Held in the huge Messe München

Trade Fair Center in eastern Munich and

stretching over 17 gigantic halls each the size

of a football pitch, it offers a truly rich display of

the latest innovations in building technology.


Linking Geospatial Engineering Into Collaborative Multidisciplinary Bim Projects - An Educational Perspective, Avril Behan, Helen Murray, Jonathan Argue, Ronan Hogan, Audrey Martin, Pat O'Sullivan, Robert Moore, Malachy Mathews Jan 2017

Linking Geospatial Engineering Into Collaborative Multidisciplinary Bim Projects - An Educational Perspective, Avril Behan, Helen Murray, Jonathan Argue, Ronan Hogan, Audrey Martin, Pat O'Sullivan, Robert Moore, Malachy Mathews

Conference papers

This paper describes the background to and execution of a postgraduate project undertaken by students on DIT's MSc in Geospatial Engineering (GeoEng) in support of a project on level 2 BIM being undertaken by students on the MSc in applied Building Information Modelling & Management (aBIMM) around the retrofit of and new build extension to the Grangegorman Clock Tower Building. In support of this requirement, an external and internal survey of the existing structure and its surrounding topography was required. The aBIMM students and staff acted as the Design Team who subcontracted the Geo Eng group who were organised into …


Bim: Building Information Management (Not Modelling), Kevin Deegan, Malachy Mathews Jan 2017

Bim: Building Information Management (Not Modelling), Kevin Deegan, Malachy Mathews

Conference papers

Being aware of something is not the same as having knowledge of or ability in the selected subject matter. Much of the Irish Architecture Engineering & Construction (AEC) industry is now aware of Building Information Modelling (BIM) as highlighted in a national survey from an Academic Industry Body (2016) which shows that a total of 90% of respondents reported that their awareness of BIM has improved to some degree in recent years. However, it is a legitimate question to ask if the industry does have knowledge and understanding of the processes? Defining these processes would be: knowing the difference in …


New Student Union: Reviving The Histories And Memories Of The University Of Yangon, Pale Thitsar Kyaw Jan 2017

New Student Union: Reviving The Histories And Memories Of The University Of Yangon, Pale Thitsar Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focuses on redesigning the demolished student union building located at the University of Yangon, which has a significant political history. As the University of Yangon campus and its buildings hold important histories and memories of student lives at various points throughout time, the social and cultural values that students possessed in the past and the historical significance of the University of Yangon are studied in-depth. Further, these values and significant memories are revived in the new, contemporary student union design. Literature reviews, archival materials, drawings, photos and on-site observations are used to analyze the campus and its buildings. …


โครงหลังคาสำเร็จรูป : โครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์, เพิ่มวิทย์ เตชะทวีวัฒน์ Jan 2017

โครงหลังคาสำเร็จรูป : โครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์, เพิ่มวิทย์ เตชะทวีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เดิมทีนิยมใช้ไม้ทำโครงหลังคาเนื่องจากมีกลสมบัติกำลังรับแรงดัดได้ดี แต่ปัจจุบันไม้มีราคาสูงและไม่ทนทาน จึงใช้เหล็กรูปพรรณแทน แต่เหล็กรูปพรรณมีกลสมบัติรับแรงดัดน้อยกว่าไม้เมื่อเปรียบเทียบด้วยน้ำหนักของวัสดุ จึงจำเป็นต้องเพิ่มค้ำยัน เพื่อให้สามารถใช้เหล็กรูปพรรณที่มีหน้าตัดเล็กลงและส่งผลให้โครงหลังคามีน้ำหนักเบาลงได้ อีกทั้งเหล็กรูปพรรณเกิดสนิมได้ง่าย จึงใช้เหล็กชุบกัลวาไนซ์ที่กันสนิมได้แทน อีกทั้งน้ำหนักเบา ราคาถูก และยังรับแรงดึงและแรงอัดได้มากกว่าจึงทำให้ลดหน้าตัดชิ้นส่วนลงได้ แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบโครงหลังคาเป็นโครงถักเพราะเหล็กชุบกัลวาไนซ์รับแรงดัดได้น้อย เหล็กชุบกัลวาไนซ์จะผลิตจากโรงงานเป็นแผ่นเรียบและม้วนกับแกนเหล็ก สำหรับส่งไปตัดและพับตามรูปแบบที่อีกโรงงานหนึ่ง จากนั้นจะขนส่งชิ้นส่วนเหล็กชุบกัลวาไนซ์ไปยังสถานที่ก่อสร้าง และกองเก็บรอการประกอบโครงหลังคา ในการประกอบโครงถักต้องการพื้นที่ที่เรียบสม่ำเสมอ เมื่อประกอบโครงถักแล้วเสร็จ จะใช้แรงคนยกขึ้นไปติดตั้งจนพร้อมมุงหลังคา จากกรณีศึกษาบ้านเดี่ยว พบปัญหา ที่กองเก็บชิ้นส่วนที่มีจำนวนถึง 119 ชิ้น สำหรับประกอบโครงถัก 6 โครง และยาวเท่ากับขนาดของหลังคามักกีดขวางการทำงานอื่น ทำให้ชิ้นส่วนเกิดกระทบกระแทกและได้รับความเสียหาย อีกทั้งปัจจุบันต้องใช้พื้นที่ถนนเป็นที่ประกอบโครงถัก จึงมักมีปัญหาเนื่องจากถนนเป็นงานลำดับท้ายของโครงการ จึงเสนอแนะให้ใช้โครงถักที่ประกอบจากสถานที่อื่น เป็นโครงถักสำเร็จรูปที่มีความยาวสอดคล้องกับข้อกำหนดการขนส่ง โดยเสนอโครงถักสำเร็จรูป 3 รูปแบบ ได้แก่แบ่งความยาวของโครงถักเดิม 6 โครง ออกเป็นสองส่วน นำไปติดตั้งในลักษณะวางขนานกันเช่นเคย ซึ่งประกอบจากโครงถัก 12 โครง จำนวน 119 ชิ้น อีกรูปแบบหนึ่งแบ่งโครงถักเป็นสองส่วน แต่ติดตั้งในลักษณะวางขนานกันเป็นฟันปลา โดยต้องเพิ่มชิ้นส่วนขึ้นเล็กน้อยสำหรับโครงถัก 12 โครง จำนวน 151 ชิ้น รูปแบบสุดท้ายเปลี่ยนรูปแบบโครงถักใหม่ โดยติดตั้งตามแนวตะเข้สันของหลังคา ซึ่งใช้ชิ้นส่วนสำหรับประกอบเป็นโครงถัก 8 โครง จำนวน 106 ชิ้น จะเห็นได้ว่า การประกอบโครงถักเหล็กชุบกัลวาไนซ์สามารถกระทำได้ที่โรงงาน และขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างได้ โดยทั้งคงรูปแบบโครงถักเดิม หรือเพิ่มชิ้นส่วนขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งออกแบบโครงถักเป็นโครงหลังคาสำเร็จรูปรูปแบบอื่น


กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ชญานิน โกศล Jan 2017

กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ชญานิน โกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโรงพยาบาลในประเทศไทยให้มีความทันสมัยได้มาตรฐานในระดับสากล เช่นเดียวกันกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หนึ่งในโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศที่ได้สร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ขึ้นเพื่อตอบสนองการให้บริการ โดยอาคารดังกล่าวมีการย้ายเข้าของหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดจากนอกอาคารเข้าสู่ภายในอาคาร นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงอาคารระหว่างการใช้งานส่งผลให้มีการโยกย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดไปสู่พื้นที่ชั่วคราวขณะทำการปรับปรุง จึงได้ทำการศึกษาขั้นตอน และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยภายในอาคาร กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยจากภายนอกอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดภายในอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดจากภายนอกอาคาร โดยการสังเกต บันทึกข้อมูลในเหตุการณ์ และสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับการย้ายหอผู้ป่วย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า เมื่อวิเคราะห์ตามกิจกรรมที่ปฏิบัติสามารถแบ่งขั้นตอนการย้ายหอผู้ป่วยได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ ขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วย ขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ ในขณะที่การย้ายห้องผ่าตัดมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ แต่การย้ายห้องคลอด และห้องผ่าตัดคลอดมีการปฏิบัติ 5 ขั้นตอนเช่นเดียวกับการย้ายหอผู้ป่วย ทั้งนี้แต่ละกิจกรรมในขั้นตอนจะมีทั้งกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน และกิจกรรมที่ปฏิบัติต่างกัน รวมถึงการเตรียมเครื่องมือในการย้ายของ และย้ายผู้ป่วยก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์จากช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการย้ายหอผู้ป่วยคือ ช่วงเช้า และเมื่อวิเคราะห์จากระยะเวลาการย้ายของ พบว่าห้องคลอดและผ่าตัดคลอดจะใช้เวลามากกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ส่วนการย้ายหอผู้ป่วยวิกฤตจากภายนอกอาคารจะใช้เวลามากกว่าการย้ายหอผู้ป่วยอื่น ๆ นอกจากนี้ในการศึกษาปัญหาที่พบในขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย พบว่ามีปัญหาทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่ การขนย้ายล่าช้า การขนย้ายหยุดชะงัก ของเสียหาย ผู้ใช้อาคารไม่สะดวก ปิดงานไม่ได้ หน่วยงานเปิดให้บริการได้ไม่สมบูรณ์ และเกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วย เป็นผลมาจาก 7 สาเหตุ ได้แก่ การจัดการ การประสานงาน การควบคุมงาน การวางแผน อุบัติเหตุ คุณภาพบุคคลากร ลักษณะทางกายภาพอาคาร และอาการผู้ป่วย จากการศึกษาและวิเคราะห์ผล สรุปได้ว่าการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดมีขั้นตอนในการย้ายที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อมีการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนการย้าย และการเตรียมเครื่องมือ ได้แก่ ประเภทหน่วยงานตามลักษณะการให้บริการลักษณะการย้ายแบ่งตามในอาคารและนอกอาคาร อาการผู้ป่วย พื้นที่ต้นทางเนื่องจากเส้นทางในการย้าย ความพร้อมของพื้นที่ จำนวนบุคคลากร จำนวนรถพยาบาล ความพร้อมของผู้ป่วย จำนวนเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการย้ายผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยหนัก …


การศึกษาประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบเพื่อนำไปใช้ในการสื่อความหมายและการนำเสนอ: กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์), อภิชาติ กิตติเมธาวีนันท์ Jan 2017

การศึกษาประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบเพื่อนำไปใช้ในการสื่อความหมายและการนำเสนอ: กรณีศึกษาวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์), อภิชาติ กิตติเมธาวีนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมีความเข้าใจอย่างกว้างขวางว่า ในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจำเป็นต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมโดยรอบแหล่งมรดกวัฒนธรรม (setting) มากกว่าการพิจารณาตัวอาคารแต่เพียงอย่างเดียว อีกทั้งโครงสร้างมรดกวัฒนธรรมประกอบจากพื้นที่ที่มีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต รวมถึงความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมโดยรอบแหล่งมรดกวัฒนธรรม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถเป็นที่มาของการตระหนักถึงคุณค่าของเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนสภาพแวดล้อม เพื่อการนำเสนอ (presentation) และการสื่อความหมาย (interpretation) ของพื้นที่แหล่งมรดกวัฒนธรรมได้ โดยวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ถือเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญในเรื่องการศึกษาสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมายาวนานกว่า 250 ปี ประกอบกับบันทึกและเอกสารต่าง ๆ ที่ค้นพบ ช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมโดยรอบของพื้นที่ได้อย่างดี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชั้นต้นต่าง ๆ ของวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) อันประกอบด้วย แผนที่เก่า ภาพถ่ายในอดีต เรื่องราวของผู้คนที่มีการบันทึกไว้ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยนำหลักฐานเหล่านี้มาใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยรอบวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าของสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดคุณค่าของสภาพแวดล้อมที่เคยดำรงอยู่ในอดีต มาใช้ในการนำเสนอและการสื่อความหมาย จากการศึกษา ผู้วิจัยค้นพบว่าวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) มีเรื่องราวที่มีคุณค่าและควรได้รับการสื่อความหมายที่จะช่วยให้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ตลอดเวลากว่า 250 ปี ได้อย่างดีจำนวน 5 เรื่องอันประกอบด้วย บ้านสำโรง ค่ายแม่พระลูกประคำ Notre Dame du Rosaire บุ่งกุ่ยและกุหลาบ และ กาลหว่าร์และวัดสาขา สภาพแวดล้อมเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งที่มองเห็นได้และมองเห็นไม่ได้ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเกิดเป็นสภาพแวดล้อมขึ้นโดยมีอาคารโบสถ์วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) เป็นอนุสรณ์สถานที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ และส่วนท้ายงานวิจัย ผู้วิจัยเสนอแนวทางในการนำเสนอและสื่อความหมายสภาพแวดล้อมออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านกายภาพ และด้านสังคม และข้อพิจารณาแนวทางในการสื่อความหมายผ่านแก่นเรือง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตระหนักถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมโดยรอบวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ต่อไปในอนาคต


การปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ย่านวัดเกตการาม จังหวัดเชียงใหม่, ปวีณะ ศิริวัฒน์ชัยพร Jan 2017

การปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ย่านวัดเกตการาม จังหวัดเชียงใหม่, ปวีณะ ศิริวัฒน์ชัยพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์เป็นการยืดอายุอาคาร ด้วยการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยจำเป็นต้องเหมาะสมกับบริบทของอาคารเดิม และส่งผลต่อคุณค่าความสำคัญของอาคารประวัติศาสตร์นั้น ๆ ให้น้อยที่สุด ย่านวัดเกตการามเป็นย่านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีอาคารประวัติศาสตร์อันมีลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ประเภทอาคารบ้านพักอาศัยที่มีคุณค่ามากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์นี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผ่านการทำความเข้าใจ ลักษณะการใช้งานอาคารประวัติศาสตร์ กระบวนการดำเนินงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนการใช้สอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ย่านวัดเกตการาม โดยกำหนดการศึกษาเฉพาะอาคารประวัติศาสตร์ในลักษณะที่เป็นที่พักอาศัย รวมถึงเรือนค้าขายดั้งเดิม ประเภทเรือนไม้และเรือนกึ่งไม้กึ่งปูนที่ถูกปรับเปลี่ยนการใช้สอย เพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว วิธีการวิจัยประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูล สำรวจภาคสนามและสัมภาษณ์เชิงลึกในกรณีศึกษาจำนวน 21 โครงการ แล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกับแนวทางการดำเนินงานตามหลักการสากล เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ การดำเนินการปรับเปลี่ยนการใช้สอยในย่านวัดเกตการาม ตลอดจนประยุกต์ใช้กับชุมชนที่มีบริบทใกล้เคียงกันต่อไป ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการการปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์ภายในย่านวัดเกตการามส่วนใหญ่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ได้เป็นไปตามแบบแผนที่หลักการสากลได้แนะนำไว้ 2) การปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์มีปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ของอาคารประวัติศาสตร์ ได้แก่ การเห็นคุณค่าความสำคัญของอาคาร การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ส่วนใหญ่ยังเป็นของครอบครัวดั้งเดิม และการเป็นย่านชุมชนอนุรักษ์ที่เข้มแข็ง


Contemporary Learning Spaces: North Bangkok Demonstration School, Thanyaporn Janma Jan 2017

Contemporary Learning Spaces: North Bangkok Demonstration School, Thanyaporn Janma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Schools are places to strengthen learning for youths. At present the content of academic and educational philosophy develops rapidly through technology and society changes but most schools buildings and environments are inconsistent and do not support contemporary learning. As a result, students lack the most effective learning opportunity. However, there are a number of schools that pay attention to their architectural and environmental design to promote students' learning contents and new education philosophy leading to the starting point of this thesis. This thesis studied factors in selecting the learning spaces of Grade 1 - Grade 6 students in order to …


Cmu Media Arts And Design Center, Pachara Chantanayingyong Jan 2017

Cmu Media Arts And Design Center, Pachara Chantanayingyong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The development of technological innovations has led to the diversification of art in terms of its form as an instrument to portray artists' ideas and creativity. Focusing on contemporary art in the twenty-first century, electronic and digital media play a dominant role as well as conventional art forms. From an architectural perspective, shifting media and form affect the design framework of art space in the twenty-first century, which requires further study for suitable criteria. In addition, existing art spaces are outnumbered by the sheer quantity of artworks due to continuous artistic production. Several art spaces counteract this problem by expanding …


การบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ, จิตพร ภูวนาถนรานุบาล Jan 2017

การบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ, จิตพร ภูวนาถนรานุบาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กองทัพเรือได้มีการจัดสร้างอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ข้าราชการทหารเรือ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และครอบครัว เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางหากมีการเรียกแถวหรือระดมพลเร่งด่วน ให้สามารถเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานได้ทันต่อเหตุการณ์ โดยมีอาคารที่พักอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางรวมกว่า 9,000 ครัวเรือน จากการสำรวจพบว่าอาคารที่พักอาศัยแต่ละพื้นที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน เช่น อายุอาคาร จำนวนอาคาร หน่วยงานที่ควบคุมแล และสภาพกายภาพที่แตกต่างกัน บางพื้นที่มีสภาพทรุดโทรมและเสื่อมสภาพ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ข้อมูลการบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางพื้นที่ต่างๆ โครงสร้างการบริหารจัดการ รูปแบบการจัดการที่เหมือนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาศัยการการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สำนักงานควบคุมดูแลอาคารฯ ผู้บังคับบัญชา และการสำรวจ พื้นที่กลุ่มอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางที่ทำการศึกษา ได้แก่ พื้นที่บางนา พื้นที่สุขสวัสดิ์ 26 พื้นที่ทุ่งมหาเมฆ พื้นที่บุคคโล และพื้นที่สัตหีบ จากการศึกษาพบว่า อาคารที่พักอาศัยส่วนกลางทุกพื้นที่มีรายรับจากค่าบริการห้องพัก ค่าบำรุงสถานที่ และค่าบริการขนส่ง รายจ่ายแบ่งเป็น งบบริหาร งบปฏิบัติการ งบซ่อมบำรุง และงบลงทุน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ยังมีปัญหาอุปสรรคคืองบประมาณที่จำกัดจึงไม่สามารถวางแผนการเปลี่ยนทดแทนระบบต่างๆในระยะยาวได้ โดยต้องขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทัพเรือหรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อฟื้นสภาพอาคาร สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ แบ่งออกเป็น กรมสวัสดิการทหารเรือและฐานทัพเรือสัตหีบ โดยกรมสวัสดิการทหารเรือทำหน้าที่ดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รายรับและการสนับสนุนเพิ่มเติมที่ได้รับจะถูกแบ่งให้แต่ละพื้นที่ตามการพิจารณา กรมสวัสดิการทหารเรือเป็นกรมส่วนยุทธบริการที่ไม่มีหน่วยปฏิบัติที่สามารถสนับสนุนการดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางขึ้นตรงอยู่เลย ส่วนฐานทัพเรือสัตหีบทำหน้าที่ดูแลอาคารที่พักอาศัยส่วนกลางพื้นที่สัตหีบเพียงพื้นที่เดียว เป็นกรมส่วนกำลังรบที่มีหน่วยขึ้นตรงเป็นหน่วยปฏิบัติขึ้นตรงอยู่ในพื้นที่ เช่น กรมช่างโยธา กรมก่อสร้างและพัฒนา กองรักษาความปลอดภัย ที่สามารถสนับสนุนกำลังพลและอุปกรณ์ในการดูแลอาคาร เป็นต้น ในส่วนอัตรากำลังพล แบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ อัตราที่กองทัพเรือจ่ายเงินเดือนให้ กับ อัตราที่กองทัพเรือไม่จ่ายเงินเดือนให้ สำนักงานต้องดูแลค่าใช้จ่ายส่วนนี้เอง ส่วนการดำเนินงานดูแลรักษาอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง ประกอบด้วย งานดูแลรักษาสถานที่ในส่วนความสะอาด งานกำจัดขยะ งานซ่อมบำรุง และงานรักษาความปลอดภัย แบ่งออกเป็น การแบ่งหน้าที่ชัดเจน และการทำหลายหน้าที่ มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในการดูแลรักษาอาคาร มีการกำกับควบคุมงานประจำวันและประจำเดือน การศึกษานี้สรุปได้ว่า การพิจารณาเลือกหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแล จะส่งผลต่อการบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัยส่วนกลาง กองทัพเรือ โดยมีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ 1) อัตราบรรจุกำลังพลข้าราชการทหาร จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในส่วนงบบริหารและส่งผลต่องบซ่อมบำรุงและลงทุน 2) การจัดแบ่งงบประมาณที่ชัดเจน 3) การกำหนดจำนวนกำลังพล การจัดแบ่งงบซ่อมบำรุงที่เหมาะสม และการได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทัพเรือและหน่วยอื่นๆ มีความจำเป็นต่องานฟื้นสภาพอาคาร 4) การดำเนินงานดูแลรักษาอาคาร …


การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน กรณีศึกษาอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชรินรัตน์ รุ่งเรืองศรี Jan 2017

การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน กรณีศึกษาอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชรินรัตน์ รุ่งเรืองศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก ที่ยังใช้ประโยชน์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคารที่มีการใช้งานจากเดิมเป็นอาคารเรียนและห้องสมุด ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงการใช้เป็นอาคารสำนักงาน และห้องสมุดที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความเหมาะสมต่อการใช้งานในยุคปัจจุบันรวมถึงสภาวะน่าสบายทางด้านเทคโนโลยีอาคาร 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้สึกร้อนหนาว ความสว่าง เสียง และคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร การศึกษาวิจัยเริ่มจากการเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณความสว่างบนพื้นที่ใช้งาน ความดังของเสียงภายในห้อง และการใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคารควบคู่กับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ อาคารกรณีศึกษามีคุณสมบัติมวลสารมาก (น้ำหนักผนังอาคารมากกว่า 195 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีค่าความหน่วงความร้อนจากภายนอกได้มาก ผลการวิจัย พบว่า อุณหภูมิอากาศภายในอาคารกรณีไม่ปรับอากาศได้รับอิทธิพลจากอากาศร้อนภายนอกอาคารน้อยมากเนื่องจากอิทธิพลของความจุความร้อนของผนังมวลสารมาก ความสว่างบนพื้นที่ใช้งานภายในอาคารจะได้รับแสงธรรมชาติจากช่องเปิดด้านข้างเข้ามาในพื้นที่ใช้งานไม่เกิน 3 เมตร ความดังของเสียงภายในห้องมีค่าระหว่าง 55-80 เดซิเบล ส่วนค่าความก้องของเสียงภายในห้องมีค่า 2-5 วินาที ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานการใช้งาน ผลการศึกษาด้านคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร พบว่า การใช้งานพื้นที่ปัจจุบันเมื่อใช้ระบบปรับอากาศและจำเป็นต้องปิดประตูหน้าต่างจะทำให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารไม่เหมาะสมกับการใช้งาน งานวิจัยพบว่าการใช้อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณสมบัติมวลสารมาก มีความจำเป็นต้องใช้ระบบอาคารที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้อาคารโดยเฉพาะด้านความร้อนหนาวและด้านแสงสว่างในอาคาร


ประสิทธิภาพการระบายอากาศเพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม, ธัญจิรา เตชะสนธิชัย Jan 2017

ประสิทธิภาพการระบายอากาศเพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม, ธัญจิรา เตชะสนธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ห้องตรวจทันตกรรมเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางอากาศ การทำหัตถการทางทันตกรรมก่อให้เกิดละอองฟุ้งกระจายของเชื้อโรค จากผู้ป่วยและเครื่องมือทางทันตกรรมมากกว่าการรักษาโรคทั่วไป จากการสำรวจห้องตรวจทันตกรรมพบว่า ห้องตรวจยังขาดการออกแบบระบบระบายอากาศอย่างเหมาะสม งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการระบายอากาศในห้องตรวจทันตกรรม ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยพัดลมระบายอากาศ ช่องปล่อยลมเข้า ช่องปล่อยลมออก เพื่อควบคุมการติดเชื้อในห้องตรวจทันตกรรม งานวิจัยนี้จำลองการไหลของอากาศด้วยโปรแกรมจำลองพลศาสตร์ของไหล โดยศึกษาตำแหน่งการติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าและช่องปล่อยลมออก พิจารณาประสิทธิภาพการระบายอากาศจากทิศทางการไหลของอากาศ รูปแบบการไหลของอากาศ และอายุอากาศ ที่ระดับความสูง 0.80 เมตร ผลการวิจัยพบว่า ในห้องตรวจทันตกรรมกรณีศึกษาผู้ใช้งานมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง การติดตั้งช่องปล่อยลมออกหรือพัดลมระบายอากาศจะช่วยให้ค่าอายุอากาศลดลง การติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าในตำแหน่งบนผนังด้านศีรษะของผู้ป่วย และช่องปล่อยลมออกด้านปลายเท้าของผู้ป่วยจะช่วยให้ประสิทธิภาพการระบายอากาศดีขึ้น การติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าควรอยู่ในตำแหน่งด้านที่ต้องการให้สะอาด ช่องปล่อยลมออกควรอยู่ในด้านที่ไม่มีบุคลากรทำงานอยู่ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อโรคไหลออกผ่านผู้ใช้งาน ช่องปล่อยลมเข้าไม่ควรอยู่ด้านเดียวกันกับช่องปล่อยลมออก เพราะจะทำให้อากาศถูกดูดออกก่อนที่จะหมุนเวียนภายในห้อง และควรพิจารณาประสิทธิภาพการระบายอากาศทุกปัจจัยก่อนการติดตั้งช่องปล่อยลมจริง จากงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ห้องตรวจทันตกรรมที่มีการใช้งาน ได้รับการประเมินการระบายอากาศ และมีแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ โดยมีแนวทางในการออกแบบหรือปรับปรุงตำแหน่งการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ช่องปล่อยลมเข้า ช่องปล่อยลมออกที่เหมาะสม ทั้งนี้การประยุกต์ใช้งานควรคำนึงเรื่องปัจจัยการเปิดปิดประตูเพิ่มเติม และสามารถนำไปขยายผลการศึกษาต่อได้ในห้องตรวจทันตกรรม แบบห้องรวมที่มีหลายเตียงตรวจในพื้นที่เดียวกันต่อไป


เครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศที่ช่วยในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น กรณีศึกษา อาคารพักอาศัย, ธัญธร ค้ำไพโรจน์ Jan 2017

เครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศที่ช่วยในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น กรณีศึกษา อาคารพักอาศัย, ธัญธร ค้ำไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร คือ การหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอดช่วงชีวิตของสิ่งก่อสร้าง เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการออกแบบอาคารคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ในขั้นตอนการประเมินจะต้องมีการถอดปริมาณ การกรอกข้อมูลซ้ำๆ และต้องมีการจำลองค่าการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน เมื่อทำแล้วกลับมาแก้ไขยาก ทำให้การประเมินมักเกิดขึ้นภายหลังการออกแบบและทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือประเภทต่างๆที่ช่วยลดขั้นตอนในการประเมิน ได้แก่ เครื่องมือที่พัฒนามาจากฐานข้อมูล เครื่องมือบนเว็บไซต์ และเครื่องมือบนแบบจำลองสารสนเทศ แต่เครื่องมือเหล่านั้นยังคงมีข้อจำกัดเรื่องของการกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ไม่สามารถจำลองค่าการใช้พลังงานใช้ตัวเครื่องมือ และไม่สามารถประยุกต์นำข้อมูลจากฐานข้อมูลและสมการการใช้พลังงานที่ได้จากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริบทของอาคารไทยมาใช้ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์พัฒนาเครื่องมือการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร กรณีศึกษาอาคารพักอาศัย เพื่อให้ได้เครื่องมือต้นแบบสำหรับอาคารในประเทศไทยที่สามารถใช้ประเมินได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบในช่วงแรก มีการถอดปริมาณและข้อมูลจาก 3D model อัตโนมัติ และมีการแสดงผลแบบ Realtime นอกจากนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องมือที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันในเรื่องของลดขั้นตอนการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข-เพิ่ม-อัพเดทข้อมูลในฐานข้อมูลเองได้ และสามารคำนวณค่าการใช้พลังงานในตัวเครื่องมือได้ (All-in-One) งานวิจัยนี้จึงได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคารในประเทศไทยและศึกษาสมการการคำนวณค่าการใช้พลังงานอย่างง่ายเพื่อนำพัฒนาเครื่องมือบนโปรแกรม Autodesk Revit และโปรแกรมเสริม Dynamo ผลของการวิจัยพบว่าผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือนั้นมีความแม่นยำในขณะที่มีขั้นตอนในการทำงานลดลง ทำให้ผู้ใช้งานพึงพอใจและสนใจในการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารมากขึ้น


รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาขนมปังขิง : คุ้มวงศ์บุรี จังหวัดแพร่, ศรัณย์ ศรีธวัชพงศ์ Jan 2017

รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาขนมปังขิง : คุ้มวงศ์บุรี จังหวัดแพร่, ศรัณย์ ศรีธวัชพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุ้มวงศ์บุรี สถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกแบบขนมปังขิง สร้างจากไม้สักทองหลังแรกในจังหวัดแพร่และพื้นที่ล้านนาตะวันออก มีความโดดเด่นทางรูปแบบสถาปัตยกรรมซึ่งผสมผสานระหว่างอิทธิพลตะวันตกและอิทธิพลจีนในบริบทล้านนา จึงเกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมเครื่องไม้แบบตะวันตกประดับลวดลายฉลุพฤกษชาติแบบล้านนาที่แฝงด้วยสัญลักษณ์จีนตามองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรือน จึงเลือกคุ้มวงศ์บุรีในการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมจากผังบริเวณ ผังพื้น รูปด้าน องค์ประกอบภายใน และลวดลายฉลุ ด้วยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สัมภาษณ์ รังวัดและถ่ายภาพสภาพปัจจุบัน เพื่อจำแนกและอธิบายลักษณะของรูปแบบสถาปัตยกรรมคุ้มวงศ์บุรี แล้วนำมาเปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรมประเภทเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน ได้แก่ รูปแบบสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกในสยามช่วงปลายรัชกาลที่ 4 ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ 5 และรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา เพื่อหาจุดร่วมและจุดแตกต่างของคุ้มวงศ์บุรี โดยเปรียบเทียบในส่วน ผังบริเวณ ผังพื้น และรูปด้าน ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และวิธีการศึกษา เพื่อไปใช้กับการศึกษาหาเอกลักษณ์และเปรียบเทียบเรือนล้านนาขนมปังขิงหลังอื่นๆ ต่อไป จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการศึกษาเรือนล้านนาขนมปังขิงรวมถึงคุ้มวงศ์บุรีทางกายภาพในภาพรวมเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุองค์ประกอบของคุ้มวงศ์บุรีอย่างชัดเจน ผลการศึกษาพบว่าคุ้มวงศ์บุรีเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบอิทธิพลตะวันตกแบบขนมปังขิงที่แฝงไปด้วยคติความเชื่อและวิถีชีวิตผสมผสานระหว่างล้านนาและสมัยนิยมตามแบบตะวันตก โดยอิทธิพลตะวันตกเป็นเปลือกนอกที่ห่อหุ้มหน้าที่ใช้สอยและวิถีชีวิตภายใน อีกทั้งพบว่าขั้นตอนการศึกษาคุ้มวงศ์บุรี ทำให้เกิดแนวทางการจำแนกและอธิบายรูปแบบคุ้มล้านนาที่ผสมผสานอิทธิพลตะวันตกแบบขนมปังขิงที่ถี่ถ้วนขึ้น ที่สามารถประยุกต์ใช้กับสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกแบบขนมปังขิงในเวียงแพร่และจังหวัดใกล้เคียงได้ ในภายหลังอีกด้วย


แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคารมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรชาติ ยาวิราช Jan 2017

แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคารมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรชาติ ยาวิราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแนวทางการลดจากการใช้งานอาคารมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยกิจกรรมขอบเขตที่ 1 เช่นการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องจักรในอาคาร ขอบเขตที่ 2 หรือการใช้ไฟฟ้าที่ซื้อมา และขอบเขตที่ 3 เช่นการซื้อสินค้า โดยเป็นข้อมูลของปีพ.ศ. 2559 การศึกษาใช้การดำเนินการแบบ Process-analysis (PA) ด้วยวิธีการคำนวณโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยหรือดูดกลับ (Emission Factor) ที่ยึดตามเกณฑ์ของ TGO, IPCC และ U.S. EPA เป็นหลัก สำหรับอาคารที่ใช้ในการศึกษานั้นเลือกอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาคารจามจุรี 5 และหอพักชวนชมเป็นตัวแทนของประเภทอาคารเรียน อาคารสำนักงาน และอาคารพักอาศัยตามลำดับ การศึกษาแนวทางการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกใช้การคำนวณด้วยเครื่องมือโปรแกรมและจากการศึกษางานวิจัยหรือโครงการที่เกี่ยวข้องในแหล่งกิจกรรมที่มีระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก จากการศึกษาอาคารตัวอย่างพบว่า หอพักชวนชมเป็นอาคารที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดสูงที่สุดในปีพ.ศ. 2559 มีปริมาณเท่ากับ 5,748.43 t CO2e กิจกรรมขอบเขต ที่ 2 หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อมามีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากสุดในทั้งสามอาคารเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 62 ของทั้งหมด รองลงมาเป็นการบำบัดน้ำเสียที่องค์กรเป็นผู้ดำเนินการ และการเดินทางไปกลับระหว่างองค์กรและที่พักอาศัยของบุคลากร การปรับปรุงที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือการปรับปรุงการบำบัดน้ำเสียเนื่องจากใช้การลงทุนที่น้อยแต่มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงสูงที่ทำให้อาคารหอพักชวนชมมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงผ่านเป้าหมายในการลดลงร้อยละ 20 ของทั้งหมดได้ การปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการลดมากที่สุดที่ทำให้อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และอาคารจามจุรี 5 ผ่านเป้าหมาย อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และหอพักชวนชมมีศักยภาพเพียงพอในการลดลงมากกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมดที่เป็นเป้าหมายสูงสุดตามนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีส


อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย, ธนาวุฒิ ตรงประวีณ Jan 2017

อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย, ธนาวุฒิ ตรงประวีณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สีในสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิ่งเร้าต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อม (ห้องนอน) ที่ส่งผลต่อความความเครียดของผู้สูงอายุโดยการจำลองภาพห้องนอนในบ้านพักคนชรา เพื่อศึกษาคุณลักษณะวรรณะของสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอน ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชราและอาศัยที่บ้านพักส่วนบุคคลจำนวน 120 คน งานวิจัยนี้ประเมินระดับการตอบสนองทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่างในประเด็นความพึงพอใจ การตื่นตัว และความเครียด รวมถึงการรับรู้ความสว่าง และประเมินความเครียดโดย 2 วิธีหลัก ได้แก่ The Affect Grid Scale of Pleasure and Arousal ของ Russell, Weiss & Mendelsohn (1989) และ The Semantic Differential Rating Method (SDR) โดยการมองภาพจำลองคอมพิวเตอร์ 17 ภาพ ที่มีความแตกต่างกันทางด้าน วรรณะของสี สี และสัดส่วนความสดของสี จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า วรรณะของสี เนื้อสี และสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนส่งผลต่อการตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุ โดยสีผนังห้องนอนวรรณะเย็นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเครียดน้อยกว่าสีวรรณะร้อน สัดส่วนความสดของสีอ่อนต่อสีเข้มที่เพิ่มขึ้นแปรผันตามความรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังพบว่าความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุแปรผกผันกับความพึงพอใจต่อสีผนังของห้องนอน โดยผู้สูงอายุพึงพอใจสีผนังห้องนอนวรรณะเย็นมากกว่าวรรณะร้อน และสีผนังห้องนอนที่มีความรู้สึกสว่างที่น้อยลงส่งผลให้เกิดความรู้สึกเครียดที่มากขึ้น งานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าวรรณะสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุ ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้เสนอแนะว่าผู้ออกแบบควรเลือกใช้สีที่ส่งเสริมความรู้สึกเชิงบวกของผู้สูงอายุ


ลักษณะและสาเหตุของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย:กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ธัญลักษณ์ น้อมนันททรัพย์ Jan 2017

ลักษณะและสาเหตุของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย:กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ธัญลักษณ์ น้อมนันททรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการก่อสร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่จึงการจัดซื้อจัดจ้างแบบมีผู้รับเหมาหลายรายด้วยสัญญาจ้างหลักหลายสัญญา ระหว่างช่วงปิดโครงการเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมาเรื่องความรับผิดชอบในข้อบกพร่องของโครงการส่งผลให้เกิดความล่าช้าให้การย้ายเข้าพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างที่มีผู้รับเหมาหลายราย โดยศึกษาจากข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งทั้งหมด 887 รายการที่พบช่วงส่งมอบพื้นที่เพื่อย้ายเข้าในพื้นที่หอพักผู้ป่วยของโครงการ รวบรวมข้อมูลจากการสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องในโครงการ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในที่ประชุมหารือเรื่องข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้ง และสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Matrix data analysis และแผนผังสาเหตุและผล จากการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งตามลักษณะความบกพร่องได้ 3 ประเภทได้แก่ ของหาย ของชำรุดเสียหาย และของอยู่ผิดตำแหน่ง โดยพบของชำรุดเสียหายมากที่สุดจำนวนมากเกินครึ่ง รองลงมาได้แก่ของหายและพบของอยู่ผิดตำแหน่งน้อยที่สุด เมื่อจำแนกตามตำแหน่งที่พบสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ ประตูหรือหน้าต่าง ฝ้า พื้น ผนังหรือเสา และอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งพบในอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ประตูหรือหน้าต่าง ตามด้วยผนังหรือเสา ฝ้า และพื้น ตามลำดับ ซึ่งมีสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน เมื่อจำแนกตามการซ้อนทับของงานระบบ ณ ตำแหน่งที่พบ พบว่าสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทได้แก่ข้อบกพร่องที่พบในพื้นที่เชิงซ้อนและข้อบกพร่องที่พบในพื้นที่เชิงเดี่ยว พื้นที่เชิงซ้อน หมายถึง พื้นที่ที่มีการซ้อนทับกันของงานระบบทางสถาปัตยกรรมโดยมีประเภทงานระบบที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 ชนิด พื้นที่เชิงเดี่ยว หมายถึง พื้นที่ที่มีการซ้อนทับกันของงานระบบทางสถาปัตยกรรม พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นในพื้นที่เชิงซ้อน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความบกพร่องกับการซ้อนทับของงานระบบ พบว่าลักษณะความบกพร่องที่ต่างกันมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดการซ้อนทับระบบในสัดส่วนที่ต่างกัน ของหายส่วนใหญ่พบในพื้นที่เชิงซ้อน ในทางกลับกันของชำรุดเสียหายมักเกิดในบริเวณที่พื้นที่เชิงเดี่ยวดังกล่าว ในขณะที่ของอยู่ผิดตำแหน่งพบในพื้นที่เชิงซ้อนเท่านั้น จากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งพบว่าสามารถจัดกลุ่มสาเหตุขั้นต้นได้ 8 กลุ่ม ได้แก่ ผลกระทบจากการดำเนินงานอื่น ช่างผู้ปฏิบัติงานบกพร่อง เอกสารในประสานงานบกพร่อง การตรวจสอบและควบคุมงานบกพร่อง ขาดบุคลากร ผลกระทบจากลำดับการก่อสร้าง ขาดการจัดการควบคุมพื้นที่ และการออกแบบบกพร่อง เมื่อเรียงลำดับสาเหตุพบว่าลักษณะความบกพร่องที่แตกต่างกันมีเกิดจากรากสาเหตุที่ต่างกัน จากการศึกษาพบว่ารากสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องที่มีข้อขัดแย้งในงานก่อสร้างที่มีผู้รับเหมาหลายรายมี 6 กลุ่มสาเหตุ ได้แก่ เอกสารในประสานงานบกพร่อง การตรวจสอบและควบคุมงานบกพร่อง ขาดบุคลากร ผลกระทบจากลำดับการก่อสร้าง ขาดการจัดการควบคุมพื้นที่ และการออกแบบบกพร่อง ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญการบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการงานก่อสร้าง และการออกแบบ ตั้งแต่ช่วงกำหนดความต้องการโครงการที่มีผลกระทบต่อเนื่องจนถึงช่วงปิดโครงการ ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างที่มีรูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบมีผู้รับเหมาหลายราย เพื่อเป็นแนวทางป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวในช่วงปิดโครงการ


Tropical Strategy Of Modern Architecture In Cambodia For The Design Of A Contemporary Art Space In Phnom Penh, Pisith Ty Jan 2017

Tropical Strategy Of Modern Architecture In Cambodia For The Design Of A Contemporary Art Space In Phnom Penh, Pisith Ty

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the past decades, Cambodia has experienced a boom in building construction. However, many of those buildings do not take sustainable approach into account. They are built without concern of the tropical climate which results into a high level of energy consumption from air-conditioning system. Some none-commercial buildings, such as cultural and educational facilities, could not be operated because of lack of the fund for electricity. For a better understanding of architectural design in the tropical environment of the context, the research focuses on the works of Vann Molyvann, the father of architects in Cambodia, a state architect in 1960s, …


ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม Jan 2017

ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังทึบที่มีการติดตั้งแผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำบนผิววัสดุ โดยเน้นศึกษาการลดการสะสมความร้อนบนผิววัสดุที่ส่งผลให้เกิดเกาะความร้อนเมือง จากการใช้แผงกันแดดที่มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์มารวมเข้ากับการใช้การระเหยของน้ำเพื่อลดอุณหภูมิบนผิววัสดุที่ใช้ทำแผงกันแดด โดยงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้แผงกันแดดดินเผาที่หาซื้อได้ง่ายในประเทศไทย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำไว้ในเนื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการระเหยบนผิววัสดุได้อีกด้วย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กำหนดให้มีการสร้างกล่องทดลองไปวางในสถานที่จริงและทำการเก็บข้อมูลโดยการวัดค่าอุณหภูมิและนำไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (Ueff) ของผนังอาคารที่มีการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำ และแบบแผงกันแดดดินเผาทั่วไป ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ VisualDOE 4.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานตลอดทั้งปีของอาคารสำนักงานขนาดกลางที่มีการใช้งานในเวลากลางวัน ผลการศึกษาพบว่า การใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำบนผิวจะสามารถทำให้อุณหภูมิบนผิววัสดุลดต่ำกว่าแบบแผงกันแดดทั่วไปเฉลี่ยที่ 5.7 องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิอากาศเมื่ออากาศไหลผ่านแผงดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำนั้นสามารถลดอุณหภูมิอากาศกึ่งกลางกล่องทดลองได้มากกว่ากล่องที่ไม่มีแผงกันแดดอยู่ที่ 6.6 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงานได้ถึง 4.47% ต่อปี และ 4.30% ต่อปีสำหรับพลังงานด้านการทำความเย็นแก่อาคาร


แนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กิตติ กิจศิริกุล Jan 2017

แนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กิตติ กิจศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย โดยเริ่มต้นจากการทบทวนวรรณกรรม การสำรวจสถานที่จริงและการสัมภาษณ์นักออกแบบการส่องสว่างอาชีพ เพื่อหาข้อพิจารณาในการส่องสว่างโบราณสถาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สำหรับใช้ในการออกแบบ ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการส่องสว่างโบราณสถาน ได้แก่ ลำดับความสำคัญของสถาปัตยกรรม อุณหภูมิสีของแสง องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงเทคนิคการติดตั้งดวงโคมที่ไม่ทำให้โบราณสถานเสียหายและไม่ควรเห็นดวงโคมเด่นชัดอีกด้วย หลังจากทำการออกแบบตามขั้นตอนที่พัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์แล้ว จึงนำภาพผลงานการออกแบบไปสอบถามนักออกแบบการส่องสว่างจำนวน 10 รูปแบบ ด้วยแบบสอบถามประเมินการรับรู้ ด้วยคำคู่ตรงข้าม 5 ด้าน พบว่า ภาพชุดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในทุกด้าน คือ การส่องสว่างแบบสาดโดยไล่ระดับความสว่างร่วมกับการใช้อุณหภูมิสีของแสงที่ส่งเสริมสีของวัสดุ เน้นให้สถาปัตยกรรมสำคัญโดดเด่นที่สุด และเน้นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมด้วยแสงสีโทนอุ่น ส่วนภาพชุดที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดในทุกด้าน คือ การส่องสว่างแบบสาดทั่วทั้งโบราณสถานที่ระดับความสว่างต่ำสุด สามารถสรุปเป็นแนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหินได้เป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การส่องสว่างแบบสาดทั่วทั้งโบราณสถาน โดยระดับความสว่างขึ้นอยู่กับบริบทโดยรอบ 2) การเน้นลำดับความสำคัญของสถาปัตยกรรมหลัก-รองโดยใช้ระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน 3) การส่องเน้นองค์ประกอบย่อยให้ชัดเจนขึ้น และ 4) การส่องสว่างภูมิทัศน์โดยรอบโบราณสถาน


การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว, ชนิกา รักษากุล Jan 2017

การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว, ชนิกา รักษากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษาสภาพและปัญหาที่เกิดขึ้นในการออกแบบบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกบ้านภัสสร ของบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) เป็นกรณีศึกษา เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านภัสสร มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 120 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง และที่จอดรถยนต์ 2 คัน เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น สร้างโดยใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป รวม 47 ชิ้น แบ่งเป็นชิ้นส่วนผนัง จำนวน 35 ชิ้น ชิ้นส่วนพื้น จำนวน 7 ชิ้น และชิ้นส่วนคาน จำนวน 5 ชิ้น บ้านภัสสรในแต่ละโครงการ จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ได้แก่ ขนาดช่องเปิด การเซาะร่อง และทำสีบนแผ่นผนัง ฯลฯ ปัญหาที่พบ คือ ชิ้นส่วนแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป จำนวน 35 ชิ้น มีรูปแบบแตกต่างกันถึง 32 รูปแบบ ขนาดของแต่ละชิ้นส่วนแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย มีปัญหาแตกหักของชิ้นส่วนที่มีระยะริมช่องเปิดน้อย และการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในขั้นตอนของการออกแบบ ควรใช้ระบบการประสานทางพิกัด เพิ่มระยะริมช่องเปิดไม่น้อยกว่า 60 ซม. ที่จะสอดคล้องกับขนาดของตะแกรงเหล็กเสริม การยื่นแผ่นผนังและการใช้วัสดุตกแต่งอื่น มาปิดทับรอยต่อ เพื่อปกป้องการรั่วซึม ทั้งนี้ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบ้าน สามารถใช้วัสดุอื่นเข้ามาตกแต่งเพิ่ม เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ จีอาร์ซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถคงรูปแบบและจำนวนของชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยใช้วิธีปรับเปลี่ยนเฉพาะบริเวณส่วนหน้าได้


สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร, ชลัมพล ธาวนพงษ์ Jan 2017

สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร, ชลัมพล ธาวนพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนและอุตสาหกรรมประมงริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตเป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและแม่น้ำที่เหนียวแน่นทั้งการอยู่อาศัยและการทำประมง แต่ปัจจุบันความสัมพันธ์เหล่านี้ถดถอยลงเนื่องจากถูกแทรกแซงจากปัจจัยต่างๆ ทำให้พื้นที่ริมน้ำถูกทิ้งร้าง จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ 2) ศึกษาพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาครโดยทำการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่และการสำรวจการประกอบอาชีพ เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชน คัดเลือกพื้นที่เพื่อทำรูปตัดแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ริมน้ำโดยเก็บข้อมูลจากการรังวัดและสัมภาษณ์เจ้าของพื้นที่ นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลการพัฒนาการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีนและสัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลาได้แก่ 1) ยุคสังคมพื้นบ้าน ก่อนปีพ.ศ. 2504 2) ยุคพัฒนาอุตสาหกรรม ปีพ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2525 3) ยุคอุตสาหกรรมประมงซบเซา ปีพ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2558 4) ยุคจัดระเบียบการทำประมง ปีพ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน โดยการพัฒนาการทำประมงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ส่งผลถึงการตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตริมน้ำ และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำดังนี้ 1) การทำประมง เปลี่ยนจากการทำประมงพื้นบ้านมาสู่การทำอุตสาหกรรมประมงและเกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประมง ต่อมาการทำประมงประสบภาวะซบเซาเนื่องจากการประกาศข้อตกลงทางทะเลจนถูกจำกัดการทำประมงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากการจัดระเบียบการทำประมง 2) การตั้งถิ่นฐาน มีการตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นบริเวณพื้นที่ริมน้ำตำบลท่าฉลอมและขยายตัวมายังฝั่งตำบลมหาชัยและตำบลโกรกกราก จนภายหลังมีการกระจายตัวออกไปจากพื้นที่ตามแนวเครือข่ายถนน และในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมน้ำต้องเลิกกิจการเพราะการหยุดชะงักของการทำประมง 3) วิถีชีวิตริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่เคยมีความสัมพันธ์ของผู้คนและแม่น้ำในการทำประมง การเดินทาง และการขนส่ง ต่อมาพื้นที่ริมน้ำมีความสำคัญต่อการขนส่งสินค้ามากขึ้นในช่วงที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้บทบาทของแม่น้ำทั้งในแง่การเดินทางและขนส่งสินค้ามีความสำคัญลดลง จนกระทั่งหมดไปในปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนาถนนและเกิดปัญหาในการทำประมง 4) ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตซึ่งใช้สะพานไม้ขนาดเล็กในการขนส่งสินค้าและซ่อมแซมเครื่องมือประมง มีการทำประมงตามพื้นที่ริมตลิ่ง และพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือที่มีประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้ามากขึ้น จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้พื้นที่ริมน้ำมีการใช้งานลดลง มีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ทำให้การใช้งานพื้นที่ริมน้ำทำได้ยากลำบาก จนการทำประมงถูกจำกัดส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างในที่สุด ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรื้อฟื้นความสำคัญของพื้นที่ริมน้ำ โดยใช้พื้นที่ริมน้ำสาธารณะในการจัดงานเทศกาลและประเพณีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว


แนวทางการบริหารวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย, ณรัฐพล สุเภากิจ Jan 2017

แนวทางการบริหารวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย, ณรัฐพล สุเภากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันความอิสระกลายเป็นหนึ่งตัวแปรของรูปแบบการปฏิบัติวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมที่ไม่เป็นเพียงลักษณะการทำงานในสำนักงานเหมือนแต่ก่อน ทำให้เกิดเป็นรูปแบบการทำงานที่เรียกว่า "ระบบฟรีแลนซ์" การทำงานรูปแบบนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่เกิน 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถาปนิกสามารถกำหนดและควบคุมรูปแบบการทำงานให้สัมพันธ์กับวิถีชีวิตได้ แต่ในทางกลับกันความอิสระกับรูปแบบการทำงานย่อมก่อให้เกิดอุปสรรค ทั้งทางด้านการเงิน ด้านการบริหาร และด้านการจัดการ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ เป็นการประมวลลักษณะและอุปสรรคที่มีผลต่อการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย โดยการวิจัยนี้ ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตามประสบการณ์ในระบบฟรีแลนซ์เป็น 3 ประเภท ดังนี้ กลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 1-5 ปี ที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านการบริการวิชาชีพ แต่ยังขาดความรู้ในการคิดค่าบริการวิชาชีพ การหาเครือข่ายลูกค้า และการควบคุมขอบเขตงาน จึงมีจำนวนไม่น้อยที่กลับไปเป็นพนักงานประจำ กลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 6-10 ปี พบอุปสรรคในการปรับฐานค่าบริการวิชาชีพตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ และสภาสถาปนิก และในกลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 11 ปี ขึ้นไป ที่ส่วนใหญ่มีลักษณะและการรับผิดชอบงานแบบการทำงานคนเดียว นอกจากนี้ในบางกรณีที่สถาปนิกฟรีแลนซ์จำเป็นต้องทำการจดทะเบียนบริษัท เนื่องจากรับงานโครงการที่ได้ค่าบริการวิชาชีพในอัตราสูง ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในด้านการจัดการภาษีจากรูปแบบการจ้างงาน เป็นต้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สถาปนิกฟรีแลนซ์ต้องเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้มีความหลากหลาย ทั้งการกำหนดค่าบริการวิชาชีพที่เหมาะสม การสร้างเครือข่ายในการทำงาน วินัยในการปฏิบัติงานและการบริหารเงิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติวิชาชีพในระบบฟรีแลนซ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น ทักษะด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ตลอดจนด้านทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของการปฏิบัติวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมให้มีมาตรฐานการทำงานเทียบเท่าในระดับสากล


แนวทางการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ด้านกายภาพสถาปัตยกรรม, ธนพล วัฒนจินดาเลิศ Jan 2017

แนวทางการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ด้านกายภาพสถาปัตยกรรม, ธนพล วัฒนจินดาเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง คือการเปลี่ยนอาคารริมถนนราชดำเนินให้เป็นอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ผลการปรับปรุงคืออาคารได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้สอยพื้นที่ของอาคารไปจากเดิม ทว่ายังคงอยู่ซึ่งรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่นิยมในสมัยปี พ.ศ.2480 วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแนวทางการปรับปรุงอาคารและข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนิน เพื่อนำแนวทางที่ได้มาประยุกต์ใช้กับอาคารริมถนนราชดำเนินกลางที่ผู้วิจัยเสนอแนะ ระเบียบวิธีการศึกษาคือเริ่มต้นจากการศึกษาแนวทางของการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนิน 2 หลัง คือ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านการสำรวจพื้นที่จริง การศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรม ศึกษาจากภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงอาคารทั้งสองหลัง เพื่อนำไปวิเคราะห์ถึงแนวทางทั้งหมดที่เกิดขึ้นและเข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคาร จัดลำดับความเข้มงวดของกฎหมายแต่ละข้อ และนำไปเปรียบเทียบกับพื้นที่และการปรับปรุงอาคารที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้แนวทางสำหรับการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินที่ชัดเจนมากที่สุด และนำแนวทางที่ได้ไปทดลองใช้กับโรงแรมรัตนโกสินทร์ ที่ผู้วิจัยยกมาเป็นกรณีศึกษา ว่าหากเกิดการปรับปรุงอาคารนี้ตามแนวทางที่ผู้วิจัยได้เสนอแนะคือการทำตามแบบแผนเดิม การพัฒนาพื้นที่ หรือการรื้อถอนอาคารเพื่อให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิม จะต้องคำนึงถึงกฎหมายข้อใดและมีความเข้มงวดมากน้อยเพียงใดบ้าง ซึ่งผลที่ได้จะทำให้สามารถสรุปว่าการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินมีข้อกฎหมายที่ควบคุมการปรับปรุงอาคารอย่างเข้มงวดมากที่สุด ครอบคลุมบริเวณด้านหน้าและด้านข้างอาคารที่ติดถนนราชดำเนิน ส่วนด้านหลังอาคารและภายในอาคารมีความเข้มงวดน้อยกว่า และต้องอาศัยดุลยพินิจของทางสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นปัจจัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาคือแนวทางที่ใช้ในการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินที่มีความชัดเจนมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ที่สนใจปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินในอนาคตนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาและแนวทางการปรับปรุงอาคารไปพัฒนาต่อเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินต่อไป


งานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2560, ณิชา มหาพฤกษารัตน์ Jan 2017

งานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2560, ณิชา มหาพฤกษารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการนำประติมากรรมมาเป็นองค์ประกอบของอาคารในการสร้างเอกลักษณ์และสุนทรียภาพที่ดีให้กับพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จากการสำรวจพบว่ามีงานประติมากรรมประกอบอาคารเพิ่มมากขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแต่ละอาคารมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปซึ่งต้องมีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่ม นำมาสู่งานวิจัยนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคาร ตลอดจนศึกษาขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารที่สัมพันธ์กับการบริหารโครงการก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์และอภิปรายถึงปัญหาของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการดำเนินวิจัยคือ ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประติมากรรม และจัดการงานก่อสร้าง เก็บข้อมูลโดยทำการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบพื้นที่ และผู้ออกแบบประติมากรรมของอาคารกรณีศึกษา 23 อาคาร จากการศึกษาพบว่าวัสดุที่นิยมมากที่สุดในการก่อสร้างประติมากรรมประกอบอาคารคือ วัสดุบรอนซ์ วัสดุไฟเบอร์กลาส และวัสดุสเตนเลสตามลำดับ โดยมีวิธีการได้มาซึ่งประติมากรรมประกอบอาคาร 3 วิธี คือ การจัดจ้างโดยตรง การประกวดราคา และการประกวดแบบ นอกจากนี้ยังพบว่า สามารถแบ่งขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมได้ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการได้รับมอบหมายงาน ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ขั้นตอนการก่อสร้าง และ ขั้นตอนการติดตั้งงานประติมากรรม ซึ่งเมื่อนำไปพิจารณาความสัมพันธ์กับหลักการบริหารโครงการ 5 ช่วงจากกรณีศึกษา 23 อาคารนั้น พบว่าขั้นตอนการได้รับมอบหมายงานประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงศึกษาความเป็นได้โครงการและช่วงการออกแบบโครงการเท่ากันมากที่สุดเป็นจำนวนช่วงละ 8 อาคาร ขั้นตอนการออกแบบประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงการออกแบบโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 12 อาคาร ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 11 อาคาร ขั้นตอนการก่อสร้างประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 19 อาคาร และขั้นตอนการติดตั้งประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงหลังการก่อสร้างมากที่สุดจำนวน 17 อาคาร อีกทั้งยังพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดเป็นปัญหาด้านกระบวนการ รองลงมาคือปัญหาด้านสถานที่ และปัญหาด้านบุคคลตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ขั้นตอนการได้รับมอบหมายงานที่เกิดขึ้นในช่วงศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นขั้นตอนเดียวที่ไม่พบปัญหาในการก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรม ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 8 อาคาร จาก 23 อาคาร จึงสามารถสรุปเป็นแนวทางในการจัดการงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมได้ว่า ควรมีการเริ่มต้นกระบวนการในช่วงของการศึกษาความเป็นไปได้อาคาร เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างน้อยที่สุด นอกจากนี้ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมกับการบริหารโครงการก่อสร้างว่ามีความจำเป็นต้องประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในหลายกลุ่มเพื่อให้เกิดการวางแผนอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ การศึกษางานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจของลักษณะงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการ อันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโครงการก่อสร้างต่อไป


อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร, ชนาภา จารุมณีโรจน์ Jan 2017

อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร, ชนาภา จารุมณีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในเชิงประจักษ์มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร เพื่อนำไปวิเคราะห์หาอาการขัดข้องสำคัญ ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลระบบประกอบอาคาร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสาขางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร ข้อสรุปผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาหรืออาการขัดข้องที่พบบ่อยของอุปกรณ์ในระบบประกอบอาคาร นั้นเกิดจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เป็นสิ่งเร้าหรือปัจจัยจากภายนอก และสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายใน ประกอบได้ด้วย 3 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เป็นการเสื่อมสภาพ/ชำรุดของอุปกรณ์ สาเหตุที่เกิดจากการบำรุงรักษาที่ผิดพลาดหรือการละเลยของผู้ดูแลระบบประกอบอาคาร และสาเหตุที่เกิดจากการตั้งค่าอุปกรณ์/การติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม ในส่วนของวิธีปฏิบัติเมื่อเมื่อพบอาการขัดข้องของอุปกรณ์ในระบบประกอบอาคาร มี 2 วิธี ได้แก่ แก้ไขโดยผู้ดูแลอาคารหรือช่างประจำอาคาร ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีก 4 วิธี ได้แก่ แก้ไขโดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ แก้ไขโดยการทำความสะอาด แก้ไขโดยการกำหนด/วางแผนบำรุงรักษา และแก้ไขตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขัดข้อง ต่อมาคือ แก้ไขโดยแจ้งบุคคลภายนอกทำการแก้ไข ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 วิธีได้แก่ แจ้งการไฟฟ้าฯทำการแก้ไข และแจ้งผู้รับเหมาทำการแก้ไข องค์ความรู้ที่ได้จากผลการวิเคราะห์และข้อสรุปผลการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนงานบริหารจัดการ โดยใช้วางแผน ป้องกันอาการขัดข้อง ตามประเภทของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ นอกจากนี้องค์ความรู้ในส่วนวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอาการขัดข้องของอุปกรณ์นั้น สามารถนำไปให้ใช้ในส่วนงานปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ไขอาการขัดข้องของอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว ตามประเภทอาการขัดข้องของอุปกรณ์ที่ได้จากผลการศึกษา ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาขั้นต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต หากต้องนำงานวิจัยนี้ไปศึกษาต่อควรนำข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากผลการรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์ ให้เกิดชุดข้อมูลใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในส่วนงานบริหารจัดการอาคาร และให้ได้ชุดข้อมูลที่สมบูณร์กว่างานวิจัยในปัจจุบัน