Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architectural Technology

Institution
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type
File Type

Articles 421 - 450 of 774

Full-Text Articles in Architecture

Solar And Rain Catching Canopy. Urban Oasis, Afolabi Ibitoye, Langston Clark, Elena Zimareva, Evan Banks, Alexander Aptekar May 2018

Solar And Rain Catching Canopy. Urban Oasis, Afolabi Ibitoye, Langston Clark, Elena Zimareva, Evan Banks, Alexander Aptekar

Publications and Research

The Urban Oasis is designed to work within existing “pocket parks” in New York City as a combined rainwater collector, personal electronics charging station and resting designation for New Yorkers. Intended to not only lessen the demand on the city power grid by using renewable energy to charge devices, the urban oasis is also intended to mitigate grey water overfill in New York’s combined sewer system and, in general, serve as a model for responsible environmental stewardship in urban areas.

The important technical aspects of the canopy specifically analyzed were:

a) how much rainwater could the canopy be expected to …


The 21st Century Energy Hub, Farhaan B. Samnani May 2018

The 21st Century Energy Hub, Farhaan B. Samnani

Bachelor of Architecture Theses - 5th Year

Developing countries face problems like pollution, unsafe construction, poverty and lack of clean stable energy. These areas are the most in need of sustainable and net positive design since they lack the resources to design long-term solution. An architecture that can make energy affordable through onsite rapidly renewable resources, help reduce on site pollution and provide stable housing would be a welcome intervention. As we approach the new century, buildings will aim to become an energy hub. Cities do not look at a building as an energy source. Currently Energy production centers sit on the outskirts of the city. But …


Cognitive Performance Application., Shade El-Hadik May 2018

Cognitive Performance Application., Shade El-Hadik

Electronic Theses and Dissertations

This work shows that combining the techniques of neural networking and predictive analytics with the fundamental concepts of computing performance optimization is genuine in many ways. It has the potentials to: (1) reduce infrastructure upgrade costs (2) reduce human interactions, by enabling the system to learn, analyze, and make decisions on its own, and (3) generalize the solutions to other performance problems. This paper attempts to tackle a JVM performance optimization from a different dimension and in a way that can be scaled to other common utilized resources, such as file systems, static contents, search engines, web services...etc. It shows …


Solar Power In Architecture, Meagan Leeth May 2018

Solar Power In Architecture, Meagan Leeth

Architecture Undergraduate Honors Theses

This paper investigates the barriers and solutions to the use of solar power in architecture. It examines the emergence of solar power and its history. It looks into social, political, economic, and design issues surrounding solar panels in architecture.


Transecting The Heart: An Atrium Investigation, Aubrey Sofia Bader, Sandra Ghabrial Apr 2018

Transecting The Heart: An Atrium Investigation, Aubrey Sofia Bader, Sandra Ghabrial

EURēCA: Exhibition of Undergraduate Research and Creative Achievement

An oxbow in a river creates a peninsula with a unique environment, distant from the surrounding land. Similarly, the oxbow-shaped Federal Center South Building 1202 contains a peninsula, an enclosed atrium, with an environment unlike the flowing current of offices that surround it. The cool modern offices are contrasted with the warmth of the central timber structure. The exposed timber beams and columns consist of wood reclaimed from a warehouse that previously stood on the site. In conversation with the modern oxbow of offices, the timber is reinforced by steel beams, giving it new life.

During our initial research phase, …


Portland Pacific, Hunter David Caldwell, Kelly Louise Clancy, Kevin T. Khieu, Shaina Pak Kim, George Suarez Mar 2018

Portland Pacific, Hunter David Caldwell, Kelly Louise Clancy, Kevin T. Khieu, Shaina Pak Kim, George Suarez

Architectural Engineering

Interdisciplinary senior project by Hunter Caldwell, Kelly Clancy, Kevin Theodore Khieu, Shaina Kim, and George Suarez. Project involves architectural design, engineering analysis, and construction of a thin-shelled concrete structure.


European Velo Stops, Kathryn Theall Jan 2018

European Velo Stops, Kathryn Theall

Exceptional Student Work - Architecture

Kathryn Theall is a recent graduate of Sheridan College’s Architectural Technology program. Theall's shelter design was a short-listed entry into the 2018 Bee Breeders’ European Velo Stops competition, which tasked architects with designing a series of cost effective, environmentally responsible, and energy-efficient cabins for overnight stays along the EuroVelo 6 bicycle route which spans 3,600 km and 10 European countries. The jury considered the scale of the projects, their ability to be mass-produced, as well as the designs that stood out from the typical A-frame or lean-to structures” (competition press kit). Theall’s modular adaptable, design is informed …


Imprecision In Materials + Production, Phillip Anzalone, Marcella Del Signore, Andrew John Wit Jan 2018

Imprecision In Materials + Production, Phillip Anzalone, Marcella Del Signore, Andrew John Wit

Publications and Research

No abstract provided.


Could Autodesk Revit Be Automated For Code Compliance Checking And Demonstration With A Focus On Fire Safety Regulations?, Ross Harrell, Malachy Mathews Jan 2018

Could Autodesk Revit Be Automated For Code Compliance Checking And Demonstration With A Focus On Fire Safety Regulations?, Ross Harrell, Malachy Mathews

Reports

Often a subject to ambiguity and interpretation, building codes and compliance with them require years of expertise to understand and to integrate into good design. Automation of code compliance through Building Information Modelling (BIM) removes the human aspect from these processes and ensures building codes are correctly adhered to. In this paper, the author reviews current code compliance systems implemented internationally and, with a focus on fire codes, compares them to the current fire certificate application in The Republic of Ireland. By conducting interviews with an Executive Fire Prevention Officer of Dublin Fire Brigade and a Fire Consultant practicing in …


องค์ประกอบพื้นที่บ้านปกาเกอะญอ กรณีศึกษา หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, ดิษฐา สุเทพประทานวงศ์ Jan 2018

องค์ประกอบพื้นที่บ้านปกาเกอะญอ กรณีศึกษา หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, ดิษฐา สุเทพประทานวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการเข้ามาของการท่องเที่ยวและกฎระเบียบของอุทยานแห่งชาติ ส่งผลให้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของชาวปกาเกอะญอหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีเริ่มหายไป งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ และรูปแบบการใช้พื้นที่ของบ้านปกาเกอะญอ หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยทำการศึกษาด้วยการรังวัดสถาปัตยกรรมบ้านปกาเกอะญอภายในหมู่บ้าน จำนวน 6 หลัง และนำผังพื้นของบ้านแต่ละหลังมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเพื่อหาองค์ประกอบพื้นที่ของบ้านปกาเกอะญอ หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบพื้นที่พื้นที่บ้านปกาเกอะญอมีทั้งหมด 9 พื้นที่โดยแบ่งเป็นพื้นที่นอกตัวบ้าน 2 พื้นที่ ได้แก่ กัวลาดี (บริเวณ-บ้าน) และเดอะพาละ (ใต้ถุนบ้าน) และพื้นที่บนตัวบ้าน 7 พื้นที่ได้แก่ กลุโคะ (ชานบันได), โจละ (พื้นที่รับแขก), โจคุ (ที่นอน-ผู้ชาย), เอ๊าะมีเลาะห์ (ครัว) พะปู (เตาไฟ), ริคุ (ชั้นวางของ), เดอมิ(ห้องนอนลูกสาว) ลักษณะการใช้พื้นที่มีลำดับการเข้าถึง เริ่มที่กลุโคะ(ชานบันได) หรือ โจละ(พื้นที่รับแขก) แล้วส่วนสุดท้ายที่เข้าถึงได้คือ เดอมิ(ห้องนอนลูกสาว) โดยที่มีส่วนกลุโคะ (ชานบันได) หรือโจละ(พื้นที่รับแขก) เป็นส่วนแรกที่เข้าถึงได้ของตัวบ้าน และเดอมิ (ห้องนอนลูกสาว) เป็นส่วนที่เข้าถึงได้ท้ายสุด


การศึกษาคติเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธ กรณีศึกษา ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส, ณัฐพร เทพพรหม Jan 2018

การศึกษาคติเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธ กรณีศึกษา ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส, ณัฐพร เทพพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาทำความเข้าใจหลักคิดของคติในวิถีเรือนพื้นถิ่นไทยพุทธ ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันระหว่างคติพุทธ รูปแบบและกระบวนการก่อสร้างเรือนพื้นถิ่น ผู้วิจัยทำการศึกษาโดยใช้วิธีเก็บข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผล โดยศึกษาทั้งภาคเอกสาร และสำรวจภาคสนามเพื่อให้ได้ข้อมูลอันครบถ้วน ได้แก่ หลักธรรม สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน วิถีเรือน และวิถีถิ่น ซี่งแสดงออกในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ตามคติความเชื่อของท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน โดยมีพระรัตนตรัยเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสูงสุด วิถีถิ่นสอดคล้องกับคติพุทธที่ชุมชนศรัทธา อันมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชีวิตไปสู่นิโรธ ด้วยการศึกษาด้าน ศีล สมาธิ และปัญญา ประกอบด้วยวิถีปฏิบัติ 8 ข้อ เรียกว่า "อริยมรรค" วิถีชีวิตของชาวพร่อนจึงเปี่ยมไปด้วยการเจริญสติ รู้กาลเทสะ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูกตเวที สันโดษ และปฏิบัติต่อสรรพสิ่งด้วยความเกื้อกูล พุทธวิถีดังกล่าวได้ส่งผลไปสู่รูปแบบ และกระบวนการสร้างเรือนพื้นถิ่น ที่เอื้อให้ร่างกายและจิตใจมีความสงบ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาพัฒนาชีวิตในวิถีพุทธ เรียกว่า "มณฑลศักดิ์สิทธิ์" โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ การนำนิมิตรหมายมาใช้เป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ, การสร้างมณฑลศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เกิดสมาธิ, และการสร้างพื้นที่สัปปายะเพื่อให้เกิดความสงบทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้จักรวาลชีวิตชาวพร่อน ยังสอดคล้องกับคติพุทธ ด้วยมณฑลที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ 5 ประการ ได้แก่ สิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ, ที่อยู่อาศัย, แหล่งน้ำ, ที่ทำกิน, และป่า ทั้งในมิติของเรือนและชุมชน กล่าวได้ว่าชาวพร่อนเข้าใจหลักคิดของการดำเนินชีวิตด้วยปัญญาญาณ โดยรู้เท่าทันสภาวะและประสานกลมกลืนกับความจริงของธรรมชาติ มีความเบิกบาน และเป็นอิสระจากความทุกข์


จิตวิญญาณแห่งพุทธสถาปัตยกรรมวัดไหล่หินหลวง จ. ลำปาง, ธีรยุทธ อินทจักร์ Jan 2018

จิตวิญญาณแห่งพุทธสถาปัตยกรรมวัดไหล่หินหลวง จ. ลำปาง, ธีรยุทธ อินทจักร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายในเชิงความคุณ ค่าของงานสถาปัตยกรรมจากวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา งานวิจัยนี้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายในเชิงความคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมจากวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา และนาเสนอคุณสมบัติในงานสถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาความเป็นมนุษย์ตามหลักการทางพุทธศาสนา จากกรณีศึกษา วัดไหล่หินหลวง จ.ลาปาง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่รองรับสถาบันทางพุทธศาสนาภายในวัฒนธรรมล้านนาที่ได้รับการยอมรับในคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปสถาปัตยกรรมยังคงสืบสานวิถีทางวัฒนธรรมมาจนปัจจุบัน โดยการวิจัยนี้เป็นลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสังเคราะห์หลักการทางพุทธศาสนาร่วมกับการสังเกตเชิงลึกการจากข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาสามารถสรุปในเชิงคุณสมบัติทางงานสถาปัตยกรรม มีดังต่อไปนี้ คือสถาปัตยกรรมแห่งการตระหนักรู้ ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจต่อคุณค่าและความหมายของชีวิต และการรู้เท่าทันตามความเป็นจริงบนวิถีที่เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ, สถาปัตยกรรมแห่งสภาวะจิตตั้งมั่นมีสติสัมปชัญญะเห็นแจ้งในสภาวะสากลของชีวิต และสถาปัตยกรรมแห่งการน้อมนา เหตุและปัจจัยจากภายนอกที่ให้จิตได้รับรู้ และเข้าถึงสภาวะแห่งศีล สภาวะแห่งสมาธิและสภาวะแห่งปัญญา อันเป็นวิถีแห่งการพัฒนาทางจิตวิญญาณและผลการศึกษาในเชิงคุณค่าและความหมาย คือการสร้างงานสถาปัตยกรรมที่รองรับการดำรงอยู่บนวิถีที่มีเป้าหมายในการพัฒนาจิตใจไปสู่จุดสูงสุดของชีวิตเป้าหมายของชีวิตคือวิถีทางเดียวกันกับธรรมชาติ สถาปัตยกรรมจึงมีความหมายเป็นดั่ง มหาวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สะท้อนพลังในมิติทางจิตวิญญาณ ที่มุ่งพัฒนาชีวิตสู่สภาวะการดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์และเข้าถึงคุณค่าสูงสุด


แบบทาวน์เฮาส์สำหรับการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, นฤนาท เกตุพันธ์ Jan 2018

แบบทาวน์เฮาส์สำหรับการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, นฤนาท เกตุพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ จะศึกษาสภาพและปัญหา ในการก่อสร้างทาวน์เฮาส์ ด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกทาวน์เฮาส์แบบพฤกษาวิลล์ ของ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) เป็นกรณีศึกษา เพื่อเสนอแนะรูปแบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่เหมาะสม จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันทาวน์เฮาส์ บริษัท พฤกษาฯ ที่สร้างในระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 20-27 วัน มีขนาดและพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ได้แก่ ขนาดหน้ากว้าง 5.00, 5.50 และ 5.70 เมตร ความสูง 2-3 ชั้น ห้องนอน 2-3 ห้อง ห้องน้ำ 2-3 ห้อง และที่จอดรถ 1-2 คัน แม้ว่ารูปแบบด้านหน้าส่วนใหญ่จะคล้ายกัน แต่เมื่อชิ้นส่วนผนัง มีหลายรูปแบบ ทั้งขนาดและช่องเปิด จึงทำให้เกิดปัญหาในการผลิต ชิ้นส่วนผนัง ที่มีระยะริมช่องเปิดน้อย ทำให้ต้องตัดตะแกรงเหล็กเสริม การผลิตจึงล่าช้า และยังมีปัญหาแตกหัก ในระหว่างการขนส่งและติดตั้งอีกด้วย นอกจากนี้มีปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบประสานพิกัด เพื่อให้ขนาดชิ้นส่วนผนังและพื้นเป็นระบบมากขึ้น ลดรูปแบบ และขนาดช่องเปิด และเพิ่มระยะริมช่องเปิด จากเดิมทาวน์เฮาส์หนึ่งคูหาจะประกอบด้วยชิ้นส่วนผนัง 29 ชิ้น 29 รูปแบบ ด้วยวิธีดังกล่าว จะเหลือเพียง 20 ชิ้น 11 รูปแบบเท่านั้น ส่วนปัญหารั่วซึมบริเวณรอยต่อ แก้โดยการยื่นแผ่นผนัง และ พื้น รวมทั้งเสนอให้ปิดรอยต่อด้วยชิ้นส่วนบัวสำเร็จรูป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบด้านหน้า เสนอให้ใช้วิธีปรับเปลี่ยนเฉพาะส่วนหน้าของทาวน์เฮาส์ ส่วนภายในให้คงรูปแบบและจำนวนชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเหมือนกัน


การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมด้วยความยืดหยุ่นของชุมชน กรณีศึกษา : หมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่, ธีรเนตร เทียนถาวร Jan 2018

การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมด้วยความยืดหยุ่นของชุมชน กรณีศึกษา : หมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่, ธีรเนตร เทียนถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" ร่วมกับ "ความยืดหยุ่นของชุมชน" สร้างความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรในการปรับตัวของพื้นที่ โดยแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมจะสร้างความเข้าใจในเรื่องคุณค่า ในขณะที่แนวคิดความยืดหยุ่นของชุมชนจะใช้ในการพิจารณาความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์วัฒนธรรมโดยอาศัยกรอบความยืดหยุ่นของชุมชน พิจารณากลไกและทุนที่ชุมชนใช้เป็นฐานในการปรับตัว รวมทั้งวิเคราะห์การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม ผลจากการปรับตัวที่เกิดขึ้นกับสถานที่ทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงคุณค่าและความแท้ และปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อความยั่งยืนของภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการพื้นที่ งานวิจัยฉบับนี้ได้เลือกศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร การสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำมาวิเคราะห์ตามทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ผลจากการวิจัยพบว่า ชุมชนแม่กำปองมีความสามารถในการปรับตัวอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชุมชนมีความยืดหยุ่นทั้งในระดับกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ระดับปรับตัวไปสู่สภาพที่ดีขึ้น และระดับแปรเปลี่ยนไปสู่สภาพใหม่ ซึ่งชุมชนแม่กำปองได้มีการเปลี่ยนแปลงการให้คุณค่าและความหมายต่อสภาพแวดล้อมและเปลี่ยนไปสู่สภาพใหม่ในลักษณะ "ผู้ประกอบกิจการภายใน" ในเรื่องการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม พบว่าองค์กรชุมชนทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการหลักระหว่างกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐและสถาบันการศึกษา ผู้ประกอบกิจการเครื่องเล่นซิปไลน์จากบริษัทต่างประเทศ ผู้ประกอบกิจการภายนอก และผู้ประกอบกิจการภายใน โดยองค์กรชุมชนได้นำฐานทรัพยากรทางสังคมวัฒนธรรมมาเป็นกลไกในการจัดการพื้นที่ ได้แก่ กฎชุมชน โครงสร้างสังคม องค์ความรู้และความเชื่อดั้งเดิม ทั้งนี้ การวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์และต่อยอดฐานทรัพยากรจากองค์ความรู้เชิงเกษตรกรรมดั้งเดิม ที่ผสมผสานไปกับความรู้และทักษะใหม่ สามารถคงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและสภาพแวดล้อม และทำให้เกิดนวัตกรรมในการจัดการพื้นที่ ซึ่งนอกจากเป็นการรักษาฐานทรัพยากรเดิม การคงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและสภาพแวดล้อมไว้ได้นั้น ยังเป็นแก่นแท้ของการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม จากผลการศึกษาดังกล่าว งานวิจัยฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ หากพื้นที่มีการเพิ่มความหนาแน่นและขยายตัวของกลุ่มบ้าน ชุมชนควรมีการวางแผนการจัดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างรอบคอบ หากชุมชนเสียโอกาสที่จะได้รับความรู้และทักษะใหม่จากการจำกัดกลุ่มคนภายนอก ชุมชนควรมีการเปิดรับการเรียนรู้จากแหล่งอื่นอย่างต่อเนื่อง และหากภูมิทัศน์วัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะสูญเสียคุณค่าและความแท้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรชุมชนควรสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน ซึ่งถือเป็นฐานทรัพยากรในการปรับตัวที่สำคัญ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางวัฒนธรรม


ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ให้บริการตรวจรักษาและส่วนเกี่ยวเนื่องแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษาแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช, พาขวัญ รูปแก้ว Jan 2018

ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ให้บริการตรวจรักษาและส่วนเกี่ยวเนื่องแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษาแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช, พาขวัญ รูปแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวชเป็นแผนกที่มีความเกี่ยวเนื่องกันของผู้มารับบริการ เนื่องจากแผนกสูตินรีเวชเป็นแผนกที่ให้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคของระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงรวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอดบุตร จึงมีความซับซ้อนในด้านขั้นตอนการให้บริการ อีกทั้งต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ป่วย ในส่วนของแผนกกุมารเวชเป็นแผนกที่ให้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคในทารก เด็ก และวัยรุ่น มีบางพื้นที่แตกต่างจากแผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป นอกจากนี้ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่พบวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยด้านกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกแผนกสูตินรีเวชและกุมารเวช จึงดำเนินการวิจัยโดยเข้าศึกษาในพื้นที่ของโรงพยาบาลที่มีลักษณะการให้บริการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ การวางผัง ลักษณะการใช้พื้นที่และปัญหาของพื้นที่ให้บริการตรวจโรคและส่วนเกี่ยวเนื่องแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช และหาปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพและการวางผังของแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์มีการแบ่งแผนกสูติกรรมและนรีเวชกรรมออกจากกัน เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้งานมาก แตกต่างจากโรงพยาบาลประเภทอื่น ในแผนกกุมารเวชของโรงพยาบาลกรณีศึกษาเกือบทุกแห่งมีการแบ่งพื้นที่พักคอยของผู้ป่วยเด็กสุขภาพดี และเด็กป่วยออกจากกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวชของประเภทโรงพยาบาลที่แตกต่างกัน คือจำนวนผู้ใช้งานของโรงพยาบาลแต่ละประเภทซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ในแผนกสูตินรีเวชและกุมารเวชมีขนาดแตกต่างกันเพื่อมารองรับจำนวนผู้ใช้งานตามประเภทโรงพยาบาลนั้นๆ อีกหนึ่งปัจจัยคือขั้นตอนการให้บริการ เนื่องจากโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลรัฐมีจำนวนผู้มารับบริการจำนวนมาก ขั้นตอนการให้บริการจำเป็นต้องกระจายผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว แตกต่างจากโรงพยาบาลเอกชนที่มีจำนวนผู้มารับบริการน้อยกว่าโรงพยาบาลทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ปัญหาที่พบจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานได้แก่ พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานและพื้นที่ที่ออกแบบมาไม่ตรงกับการใช้งาน ดังนั้นในอนาคตหากการออกแบบได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะทำให้แผนกที่ถูกออกแบบมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


พัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส : กรณีศึกษา ผลงานออกแบบของสถาปนิกยุคบุกเบิก (พ.ศ. 2509-2553), พิมพ์พร ไชยพร Jan 2018

พัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส : กรณีศึกษา ผลงานออกแบบของสถาปนิกยุคบุกเบิก (พ.ศ. 2509-2553), พิมพ์พร ไชยพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาพัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส ได้แก่ เจดีย์ อุโบสถ วิหาร และมณฑป ที่ออกแบบโดยสถาปนิกไทยยุคบุกเบิกซึ่งมีผลงานในช่วงพ.ศ. 2509-2553 ที่คัดเลือกมาจำนวน 10 คน เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมวัดจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และสถาปัตยกรรม โดยมีสมมติฐานว่าจุดเปลี่ยนที่มีบทบาทสำคัญคือการก่อตั้งหลักสูตรการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมแบบสากลขึ้น การศึกษาวิจัยใช้การเปรียบเทียบระหว่างสถาปัตยกรรมวัดที่ออกแบบโดยสถาปนิกไทยยุคบุกเบิกกับสถาปัตยกรรมวัดในอดีตซึ่งทั้งหมดอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยอิงทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมแบบสากล กรณีศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจ และการสัมภาษณ์แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดจำนวน 53 หลัง จากวัด 42 แห่งทุกภูมิภาค และจำแนกกลุ่มลักษณะทางกายภาพตามประเด็นทางสถาปัตยกรรม ดังนี้ 1. ผังบริเวณวัดและผังบริเวณในเขตพุทธาวาส 2. รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และการประดับตกแต่งและสัญลักษณ์ 3. การใช้สอย และที่ว่างภายใน และ 4. โครงสร้าง และวัสดุก่อสร้าง และนำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาสรุปว่าสถาปัตยกรรมวัดที่ทาการวิจัยมีความหลากหลายของรูปแบบและการใช้สอยและมีลักษณะเฉพาะอยู่เป็นจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมวัดไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงตามลำดับเวลา แต่เกิดขึ้นพร้อมกันและขนานกันไปตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นจึงไม่สามารถจำแนกเป็นกลุ่มรูปแบบตามลำดับช่วงเวลาอย่างพัฒนาการประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมทั่วไปได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าสถาปนิกยุคบุกเบิกได้พัฒนาแนวคิดในการออกแบบจากการใช้ศาสตร์สถาปัตยกรรมแบบสากลมาทำความเข้าใจองค์ความรู้เดิม ทำให้มีมุมมองว่าวัดเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเหมือนกับสถาปัตยกรรมประเภทอื่น ๆ และสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีรูปแบบตั้งแต่ประเพณีนิยมไปจนถึงรูปแบบใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงพร้อมกับการใช้สอยและที่ว่างภายใน รวมถึงการทดลองใช้โครงสร้างและวัสดุก่อสร้างใหม่ ซึ่งผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมวัดมีความเป็นปัจเจกตามแนวคิดและประสบการณ์ของสถาปนิก และยังคงพัฒนาตามแนวทางของแต่ละคนต่อไป


องค์ประกอบและรูปแบบทางกายภาพที่ส่งผลต่อการจัดการโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาโรงอาหารส่วนกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มุจลินท์ สุพรรณชนะบุรี Jan 2018

องค์ประกอบและรูปแบบทางกายภาพที่ส่งผลต่อการจัดการโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาโรงอาหารส่วนกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มุจลินท์ สุพรรณชนะบุรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ ที่มีทรัพยากรกายภาพพื้นฐานให้บริการแก่ทั้งนิสิต อาจารย์ บุคลากรทั่วไป โรงอาหารคือหนึ่งในทรัพยากรกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีจำนวนผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมากและบ่อยครั้งที่สุดในแต่ละเทอมหรือปีการศึกษา ทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดเตรียมโรงอาหารเพื่อรองรับผู้ใช้บริการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 14 โรงอาหาร บริหารโดยหน่วยงานส่วนกลางของมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของโรงอาหารทั้งหมด โรงอาหารส่วนกลางทั้ง 7 โรงอาหารมีบางแห่งที่ได้ผ่านการเปิดใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน โดยเปิดให้บริการมาเป็นเวลากว่า 40 ปี ในระหว่างการเปิดให้บริการนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนชุดคณะทำงานรวมไปถึงมีการปรับเปลี่ยนสภาพทางกายภาพในหลายส่วนจากการใช้งานเดิมเพื่อให้สอดรับกับการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและเพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้บริการที่มีความต้องการในจำนวนที่เพิ่มขึ้น โดยจากการสำรวจพบข้อจำกัดและอุปสรรคในพื้นที่อันเกิดจากสภาพทางกายภาพ จึงเป็นที่มาของการศึกษาถึงปัญหาและรูปแบบด้านกายภาพที่เกิดกับโรงอาหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในบทความวิจัยนี้ ในการนี้ได้คัดเลือกกรณีศึกษาคือโรงอาหารส่วนกลางที่บริหารโดยหน่วยงานส่วนกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical Research) แบบกรณีศึกษา (Case Study Approach) ที่ได้ทำการสำรวจและพบปัญหา จึงนำมาวิเคราะห์ร่วมกับตำราและเอกสารที่สืบค้น พบองค์ประกอบของโรงอาหาร 3 ประเภท คือ 1) องค์ประกอบด้านกายภาพ 2) องค์ประกอบด้านผู้ปฏิบัติงาน 3) องค์ประกอบด้านผู้ใช้งาน เมื่อนำองค์ประกอบข้างต้นมาแยกเป็นองค์ประกอบย่อยที่อยู่ในขอบเขตของการศึกษาเพื่อนำมาพิจารณาร่วมกับเกณฑ์ด้านสุขอนามัยและอาคารสถานที่ ปรากฏกรณีที่เกิดขึ้นเฉพาะสำหรับแต่ละองค์ประกอบย่อย เมื่อนำแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นเฉพาะข้างต้นมาวิเคราะห์และพิจารณาร่วมกันในกรณีศึกษาทั้ง 7 (โรงอาหารส่วนกลางทั้ง 7) พบรูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการด้านความสะอาดของโรงอาหารคือ 1) รูปแบบและตำแหน่งผังของร้าน 2) ระยะทางจากร้านค้าถึงจุดพักขยะใหญ่ 3) ระยะทางจากจุดคัดแยกภาชนะถึงที่ล้าง 4) วิธีการที่ปฏิบัติงานที่พื้นที่ปรุงและพื้นที่เตรียม 5) ระยะทางจากพื้นที่ปรุงและพื้นที่เตรียมถึงพื้นที่ขาย รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของระบบที่ใช้ในโรงอาหารคือ 1) รูปแบบและตำแหน่งที่ติดตั้งท่อแก๊ส 2) ระยะทางจากห้องวางถังแก๊สรวมถึงจุดจ่ายแก๊ส 3) วิธีการกำหนดจุดวางถัง 4) วิธีการจ่ายแก๊ส รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการด้านประสิทธิภาพของระบบที่ใช้ในโรงอาหารคือ 1) วิธีการที่ระบายควัน 2) ระยะทางจากจุดดูดควันถึงจุดระบายควัน ข้อสรุปจากการศึกษาครั้งนี้คือ 1) การจัดการด้านความสะอาด ประกอบไปด้วยองค์ประกอบจุดพักขยะ จุดคัดแยกภาชนะ จุดล้างภาชนะ จุดเตรียมวัตถุดิบ จุดปรุง จุดจำหน่าย 2) การจัดการด้านความปลอดภัย ประกอบไปด้วยองค์ประกอบระบบแก๊สหุงต้ม และ 3) การจัดการด้านประสิทธิภาพระบบ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบระบบดูดควันระบายควัน ทั้ง 3 ส่วนนี้ล้วนส่งผลถึงประสิทธิภาพ สุขอนามัยและความปลอดภัยอันเป็นเรื่องสำคัญยิ่งของโรงอาหาร การสำรวจตรวจสอบร่วมกับการกำหนดและวางแผนรูปแบบด้านกายภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อการบริหารจัดการของโรงอาหารที่เป็นหนึ่งในทรัพยากรของมหาวิทยาลัย


การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมด้านสีเมืองเก่าน่านและพะเยา, วัชรวิชญ์ จิรวงศาพันธุ์ Jan 2018

การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมด้านสีเมืองเก่าน่านและพะเยา, วัชรวิชญ์ จิรวงศาพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในขณะที่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจกระจายเข้าสู่เมืองต่างๆ ทัศนียภาพของแต่ละเมืองถูกปรับเปลี่ยนตามการพัฒนาของเมืองแบบไร้ทิศทางที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสูญเสียอัตลักษณ์ของทัศนียภาพและวัฒนธรรมของแต่ละเมืองนั้นไป หลังจากที่สำนักงานนโยบายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศพื้นที่ในจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยาให้เป็นเมืองเก่า ในปี พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2559 ตามลำดับ การเก็บข้อมูลและการสร้างวิธีการในการอนุรักษ์เมืองเก่าเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากโดยเฉพาะในเรื่องสีที่มีผลมากที่สุดในการรับรู้ จากการสำรวจภาคสนามที่เมืองเก่าน่านและเมืองเก่าพะเยา ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลตัวอย่างสีด้วยระบบสี Natural Color System จากอาคาร 261 หลัง และทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบระหว่างเมืองเก่าน่านและเมืองเก่าพะเยาด้วยวิธีการทางสถิติในสองรูปแบบ ได้แก่ การเปรียบเทียบด้วยค่าเนื้อสี และการเปรียบเทียบด้วยค่าความสว่างสีและความสดสี จากข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสามารถสรุปได้ว่า แม้เมืองเก่าน่านและเมืองเก่าพะเยาอยู่ห่างจากกันไม่มาก แต่ทั้งสองเมืองเก่ามีอัตลักษณ์ทางด้านสีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนโดยเมืองเก่าพะเยาจะมีแนวโน้มที่จะมีค่าสีที่มืดกว่าและสดกว่าเมืองเก่าน่าน


การปรับปรุงอาคารสู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ กรณีศึกษา แบบมาตรฐานอาคารสำนักงานราชการ, ศรัณย์ ตันรัตนาวงศ์ Jan 2018

การปรับปรุงอาคารสู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ กรณีศึกษา แบบมาตรฐานอาคารสำนักงานราชการ, ศรัณย์ ตันรัตนาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานภายในอาคารสำนักงานโดยรวมสุทธิให้เท่ากับศูนย์ (Net Zero Energy Building) ศึกษาผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Building Energy Code (BEC) Ver 1.0.6 แนวทางในการปรับปรุงที่สามารถทำให้การใช้พลังงานโดยรวมภายในอาคารเท่ากันศูนย์(Net zero energy building) คือ 1) ใช้ฉนวนใยแก้วความหนาแน่น 32 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กก./ลบ.ม.) ขนาด 50 มิลลิเมตรที่ผนังทึบ 2) กระจกสะท้อนแสงสีเขียว ขนาด 6 มิลลิเมตร มีค่าการส่งผ่านความร้อน (SHGC) ที่ 0.41 3) หลังคาเพิ่มฉนวนใยแก้วความหนาแน่น 32 กก./ลบ.ม. หนา 25 มิลลิเมตร 4) ปรับปรุงระบบแสงสว่าง โดยเปลี่ยนเป็นหลอด LED 5) ปรับปรุงระบบปรับอากาศ 6) ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อทดแทนพลังงานที่ใช้ภายในอาคารโดยเลือกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ มีประสิทธิภาพที่ 17.1% พลังงานจากอาคารกรณีศึกษาก่อนปรับปรุงมีค่าการใช้พลังงานโดยรวมต่อปี 209,091.33 kWh/year เมื่อรวมแนวทางการปรับปรุงกรอบอาคาร ระบบปรับอากาศ และระบบแสงสว่าง ค่าการใช้พลังงานโดยรวม 94,963.32 kWh/year พลังงานลดลงจากเดิม 114,128.01 kWh/year หรือคิดสัดส่วนที่ลดลง 54.37% แผงพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานโดยรวมต่อปี 147,713.84 kWh/year เมื่อรวมแนวทางการปรับปรุงและการใช้พลังงานทดแทนจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้การใช้พลังงานโดยรวมภายในอาคารสุทธิเท่ากับศูนย์ โดยมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 14.39 ปี อัตราผลตอบแทนที่ 4.87% เมื่อคิดรวมกับอัตราเพิ่มขึ้นค่าไฟฟ้า ระยะเวลาคืนทุนที่ 21.06 ปี อัตราผลตอบแทน 10.59%


การประเมินประสิทธิภาพแสงธรรมชาติและการใช้พลังงานจากการออกแบบหิ้งสะท้อนแสงในอาคารสำนักงานตามเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว ลีด เวอร์ชัน 4.0, ศิรวิชญ์ รงควิลิต Jan 2018

การประเมินประสิทธิภาพแสงธรรมชาติและการใช้พลังงานจากการออกแบบหิ้งสะท้อนแสงในอาคารสำนักงานตามเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว ลีด เวอร์ชัน 4.0, ศิรวิชญ์ รงควิลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวทางการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคารสำนักงาน โดยการลดการใช้พลังงานจากแสงประดิษฐ์ ด้วยการออกแบบหิ้งสะท้อนแสง และประเมินผลโดยใช้ค่า Spatial Daylight Autonomy (sDA) และ Annual Sunlight Exposure (ASE) ตามเกณฑ์ LEED V4 หัวข้อ Daylight ด้วยโปรแกรม Rhinoceros - Grasshopper - Ladybug Tools, Honeybee Tools ในการจำลองผล โดยมีตัวแปร คือ ระยะยื่นของหิ้งสะท้อนแสงภายนอกขนาด 0.30 เมตร 0.60 เมตร และ 0.90 เมตร ระยะติดตั้งต่ำจากฝ้าเพดาน 0.50 เมตร และ 1.00 เมตร องศาฝ้าเพดาน 0 องศา 15 องศา และ 30 องศา สัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนัง 60% และ 100% ตำแหน่งทิศที่ติดตั้งหิ้งสะท้อนแสงทั้ง 8 ทิศ และการติดตั้งหิ้งสะท้อนแสงภายในระยะยื่นขนาด 0.30 เมตร โดยจำลองกับห้องภายในอาคารสำนักงาน กว้าง 9 เมตร ลึก 12 เมตร และสูง 3 เมตร ซึ่งผลการวิจัย ทุกกรณีศึกษามีค่า sDA ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ส่วนค่า ASE มีกรณีศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งการมีระยะยื่นของหิ้งสะท้อนแสงภายนอกที่มากขึ้น ทำให้แสงสามารถเข้าสู่ภายในอาคารได้น้อยลง ส่งผลให้ค่า sDA และ ASE ลดลง การมีระยะติดตั้งต่ำจากฝ้าเพดานที่มากขึ้น ทำให้ค่า sDA และ ASE เพิ่มขึ้น องศาของฝ้าเพดานที่เพิ่มขึ้น ช่วยในการกระจายแสงเข้าสู่ภายในอาคาร มีผลให้ค่า sDA เพิ่มขึ้น แต่ไม่ส่งต่อค่า ASE สัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังที่มากขึ้น …


แนวทางการลดน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคารโดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังด้วยแบบจำลองสารสนเทศ(Bim) : กรณีศึกษาโรงแรมบูรพาสามยอด, ศุภิสรา นพเกตุ Jan 2018

แนวทางการลดน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคารโดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังด้วยแบบจำลองสารสนเทศ(Bim) : กรณีศึกษาโรงแรมบูรพาสามยอด, ศุภิสรา นพเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงแรมบูรพาสามยอด กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารที่มีขนาดสูงเกิน 16 เมตรอาคารหนึ่งภายในพื้นที่ควบคุมความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 เนื่องด้วยอาคารหลังนี้ก่อสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.2500 ก่อนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จึงทำให้ได้รับการยกเว้นระดับความสูงของอาคารให้คงอยู่เท่ากับในปัจจุบัน โดยสามารถบูรณะและซ่อมแซมอาคารได้ แต่ไม่สามารถสร้างอาคารอื่นขึ้นใหม่ในพื้นที่ให้มีความสูงเท่าเดิม ส่งผลให้โรงแรมบูรพาสามยอดและอาคารที่ติดข้อกำหนดลักษณะเดียวกัน อาจถูกดัดแปลงเพิ่มเติมองค์ประกอบอาคารโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่จำกัดในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง การปรังปรุงโดยลดน้ำหนักอาคารจึงเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัย ประหยัด และได้พื้นที่มากกว่าการทุบทิ้งสร้างใหม่ ซึ่งงานวิจัยนี้จะศึกษาวิธีการลดน้ำบรรทุกคงที่อาคาร (Dead load) โดยการเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนัง ด้วยแบบจำลองสารสนเทศ (Build Information Modeling) หรือBIM เนื่องจาก BIM มีความสามารถในการจำลองวัตถุในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งรูปทรง 3มิติ 2มิติและข้อมูลคุณสมบัติ ตัวแปร และความสัมพันธ์กับวัตถุอื่นๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)ศึกษาวิธีการบันทึกแบบอาคาร 2มิติ 3มิติ และข้อมูลน้ำหนักบรรทุกคงที่อาคาร ของอาคารปัจจุบัน และอาคารที่เปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนัง ด้วยแบบ BIM ในโปรแกรม Autodesk Revit 2)นำเสนอแนวทางการลดน้ำบรรทุกอาคาร โดยเปลี่ยนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังโรงแรมบูรพาสามยอด ด้วย BIM ผลการศึกษามี2ประเด็นดังนี้ ประเด็นที่1กระบวนการแบบจำลองสารสนเทศในการบันทึกข้อมูลอาคารปัจจุบันและอาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุผนังสามารถบันทึกข้อมูลทั้งหมดอยู่ในไฟล์เดียวกันได้ ทำให้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล โดยการจำแนกองค์ประกอบสถาปัตยกรรมของอาคารปัจจุบันเพื่อคำนวณน้ำหนักจำแนกออกเป็น 6 ประเภท คือ เสา คาน พื้น บันได ผนังลิฟต์ และผนัง ซึ่งสามารถแยกย่อยชนิดและวัสดุองค์ประกอบได้ โดยองค์ประกอบสถาปัตยกรรมจะบันทึกอยู่ใน 3 ตำแหน่งคือ 1)Revit Modeling ซึ่งแสดงผลเป็นแบบ 2 มิติและโมเดล 3 มิติ 2)Revit Family ซึ่งแสดงผลเป็นข้อมูลวัสดุ รายละเอียด ขนาดองค์ประกอบ และ 3)Revit Schedule ซึ่งรวบรวมข้อมูลทั้งหมดและคำนวณน้ำหนักอาคารเป็น 6 Schedule ตามองค์ประกอบสถาปัตยกรรม สำหรับการสร้างวัสดุทางเลือกผนังนั้น ผนัง 1 ชนิดสามารถสร้างทางเลือกได้หลากหลายโดยใช้ Design Option ในโปรแกรม Autodesk Revit ประเด็นที่2 น้ำหนักรวมองค์ประกอบสถาปัตยกรรมผนังมีทั้งหมด 4,474,148.39 กิโลกรัม จากน้ำหนักทั้งหมด10,230,569.23 กิโลกรัม …


สัณฐานการเปลี่ยนแปลงที่ดินจัดสรรขนาดเล็กในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ กรณีศึกษาถนนศาลาแดง แขวงสีลม เขตบางรัก, ธารรวี งามศิริอุดม Jan 2018

สัณฐานการเปลี่ยนแปลงที่ดินจัดสรรขนาดเล็กในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ กรณีศึกษาถนนศาลาแดง แขวงสีลม เขตบางรัก, ธารรวี งามศิริอุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริเวณถนนศาลาแดงเป็นพื้นที่ที่มีพัฒนาการที่ดินอย่างยาวนาน โดยมีลักษณะการใช้งานที่ดินเป็นเขตศูนย์กลางทางธุรกิจ ส่วนมากเป็นอาคารขนาดใหญ่แต่จากการสำรวจพื้นที่พบชุดแปลงที่ดินขนาดเล็กที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินมานานกว่า 40 ปีโดยยังคงสภาพท่ามกลางการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการศึกษาสัณฐานการเปลี่ยนแปลงที่ดินจัดสรรขนาดเล็กในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ กรณีศึกษาถนนศาลาแดง แขวงสีลม เขตบางรัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการรูปแปลงที่ดินจัดสรรขนาดเล็กในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ กรณีศึกษาถนนศาลาแดง แขวงสีลม เขตบางรัก 2. วิเคราะห์รูปแบบการเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินจัดสรรขนาดเล็ก กรณีศึกษาถนนศาลาแดง ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2444-2562 โดยมีระเบียบวิธีวิจัยคือ การกำหนดขอบเขตพื้นที่และเนื้อหาในการศึกษา การสำรวจภาคสนามและการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารจากโฉนดที่ดินและสารบัญจดทะเบียน ซึ่งได้ทำการศึกษาจากกรณีศึกษาจำนวน 9 ชุดแปลงที่ดิน จากการศึกษาพบว่า 1. พัฒนาการรูปแปลงที่ดินจัดสรรขนาดเล็กกรณีศึกษาถนนศาลาแดง สามารถจำแนกออกเป็น 3 ช่วงได้แก่ ช่วงที่ 1 ปีพ.ศ.2460-2518 เป็นช่วงเริ่มต้นโดยมีแปลงแม่ของที่ดินขนาดใหญ่ก่อนกระจายการถือครองที่ดินออกไปด้วยการเปลี่ยนรูปแปลงให้มีขนาดเล็กลงซึ่งเกิดจากการตัดถนนศาลาแดง ช่วงที่ 2 ปีพ.ศ.2518-2522 เป็นช่วงที่มีการจัดสรรที่ดินในรูปแบบของโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กเกิดขึ้น โดยมีลักษณะการเปลี่ยนรูปแปลงที่มีลักษณะคล้ายกันในทุกกรณีศึกษาและมีความชัดเจนของการเปลี่ยนรูปแปลงที่ดินมากที่สุด และช่วงที่ 3 ปีพ.ศ.2522-2562 เป็นช่วงที่ส่วนใหญ่เป็นการคงรูปแปลงที่ดินในลักษณะเดิมแต่มี 2 กรณีศึกษาที่เกิดการเปลี่ยนรูปแปลงที่ดินโดยการโอนกรรมสิทธิ์ถนนภายในเป็นสาธารณะและการรวมแปลงที่ดินเข้าด้วยกันเป็นแปลงขนาดใหญ่เพื่อสร้างอาคารชุด 2. รูปแบบการเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินเกิดจากการวิเคราะห์องค์ประกอบภายในลักษณะการถือครองที่ดิน 3 ประเด็นคือ ลักษณะการถือครองกรรมสิทธิ์ชุดแปลงที่ดิน ประเภทผู้ถือครองที่ดินและลักษณะการใช้งานชุดแปลงที่ดิน โดยใช้การแทนค่าเชิงสัญลักษณ์แทนลักษณะที่เกิดขึ้นเพื่อให้เข้าใจภาพรวมแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ตามช่วงเวลาของพัฒนาการรูปแปลงที่ดิน โดยสามารถจำแนกรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินตั้งแต่มีโฉนดที่ดินออกเป็น 3 รูปแบบ โดยรูปแบบที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ การคงสภาพเดิมนับตั้งแต่มีการจัดสรรที่ดิน จากข้อสังเกตพบว่า มีแนวโน้มสูงที่จะมีการคงอยู่ของตึกแถวในที่ดินจัดสรรขนาดเล็กซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างมิติความหลากหลายของเมือง ซึ่งส่งผลดีต่อการใช้งานพื้นที่นั้น ๆ หากต้องการรักษาสภาพการใช้งานควรมีการดูแล ปรับปรุงอาคารและปรับการใช้งานให้ตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบันและสภาพเศรษฐกิจและสังคม และหากต้องการต่อยอดการศึกษาหรือใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อศึกษาสัณฐานการเปลี่ยนแปลงที่ดิน ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงลักษณะสถาปัตยกรรมและบริบทรอบข้างในเชิงสามมิติ หรือปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินต่อไป


แนวทางในการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากการสะท้อนของเปลือกอาคาร, ทัชชา อังกนะภัทรขจร Jan 2018

แนวทางในการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากการสะท้อนของเปลือกอาคาร, ทัชชา อังกนะภัทรขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากความนิยมในการเลือกใช้วัสดุเปลือกอาคารกระจกเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดปัญหาแสงสะท้อนที่สร้างความเดือดร้อนแก่สภาพแวดล้อมโดยรอบตามมา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของแสงสะท้อนจากเปลือกอาคาร ที่มีสาเหตุมาจากรูปทรงอาคารและทิศทางการวางอาคารต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการออกแบบอาคารเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากแสงสะท้อนของเปลือกอาคาร สำหรับเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการสร้างมาตรฐานการออกแบบอาคารให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งงานวิจัยนี้ ได้ใช้ซอฟต์แวร์ทางคอมพิวเตอร์ในการคำนวณหาความส่องสว่างและทิศทางการสะท้อนของรังสีอาทิตย์ตามวันเวลาที่กำหนด โดยมีอาคารกรณีศึกษา 5 รูปทรง ประกอบด้วย อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสเปลือกอาคารเรียบตรง อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมเปลือกอาคารลาดเอียงเข้าหาอาคาร อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมเปลือกอาคารลาดเอียงออกจากอาคาร อาคารรูปทรงโค้งเว้า และอาคารรูปทรงแตงกวา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจำลอง พบว่า บนพื้นที่ขนาด 500 เมตร x 500 เมตร อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกอาคารลาดเอียงออกจากอาคารในแนวตั้งในทางทิศใต้ ก่อให้เกิดแสงสะท้อนในแนวราบเป็นพื้นที่รวมมากที่สุด ในขณะที่อาคารรูปทรงแตงกวาก่อให้เกิดการกระจายตัวของแสงสะท้อนทุกทิศทางเป็นบริเวณกว้างมากที่สุด และอาคารรูปทรงโค้งเว้าก่อให้เกิดค่าความส่องสว่างของแสงสะท้อนสูงที่สุดจากการสะท้อนรวมกันไปยังจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งพื้นที่ที่โดนแสงสะท้อนสูงสุดมีค่าความส่องสว่างมากกว่าค่าเฉลี่ยแสงธรรมชาติในส่วนที่ไม่ถูกสะท้อนกว่า 2 เท่า และสำหรับแสงที่สะท้อนตกกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบอาคารกรณีศึกษา หากรัศมียิ่งใกล้อาคารจะเกิดแสงสะท้อนที่มีระยะเวลายาวนานกว่า โดยจากการใช้วิธีการทางสถิติในการแบ่งระดับคะแนนของแสงสะท้อนจากเปลือกอาคารออกเป็น A B C และ D โดยระดับ A เป็นระดับที่ก่อให้เกิดค่าความส่องสว่างต่ำที่สุด ในขณะที่ระดับ D เป็นระดับที่ก่อให้เกิดค่าความส่องสว่างสูงที่สุด พบว่า อาคารรูปทรงแตงกวา เป็นรูปทรงที่แสงสะท้อนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับคะแนน D เป็นจำนวนมากที่สุดในรูปทรงทั้งหมดที่ทำการศึกษา ทั้งสภาพแวดล้อมแนวราบและแนวตั้ง จึงถือเป็นรูปแบบอาคารที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบเพราะก่อให้เกิดผลกระทบด้านแสงสะท้อนโดยรวมมากที่สุด


ผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านหนังสือของผู้สูงอายุ, นาถนภา กิตติจารุนันท์ Jan 2018

ผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านหนังสือของผู้สูงอายุ, นาถนภา กิตติจารุนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การออกแบบซึ่งสามารถส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างมาก งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสง ต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ สัญชาติไทย ที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครจำนวน 80 คน ในการศึกษา แบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 ช่วงวัย ได้แก่ 1) อายุ 60-69 ปี 2) อายุ 70-79 ปี และ 3) อายุ 80 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบทดสอบการอ่านคำ Tambartun (2001) ที่ผู้วิจัย ปรับให้เป็นคำภาษาไทย โดยจัดเตรียมสถานที่ที่มีค่าความส่องสว่าง 3 ระดับ ได้แก่ 300 lux 700 lux และ 1000 lux และอุณหภูมิสีของแสง 3 ระดับ ได้แก่ 3000K 4000K และ 6000K ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุในช่วงอายุ 60 - 69 ปี อ่านได้รวดเร็วที่สุด ที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 lux และที่อุณหภูมิสีของแสง 6000K โดยสำหรับการอ่านหนังสือที่เน้นด้านความถูกต้องในการอ่าน พบว่าที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 lux สามารถลดโอกาสอ่านหนังสือผิดพลาดของผู้สูงอายุได้ และพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุในช่วงอายุ 70 - 79 ปี และ 80 ปี ขึ่นไป จะอ่านได้รวดเร็วที่สุด ที่ระดับค่าความส่องสว่างที่ 1000 lux และที่อุณหภูมิสีของแสง 6000K โดยสำหรับด้านความถูกต้องในการอ่าน ในช่วงอายุ 70 - 79 ปี พบว่า ที่ระดับค่าความส่องสว่าง 700-1000 …


กระบวนการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอแบบดั้งเดิมกรณีศึกษาโครงการบ้านวัฒนธรรมบ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, พงศ์ชวิน อุดหนุนสมบัติ Jan 2018

กระบวนการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอแบบดั้งเดิมกรณีศึกษาโครงการบ้านวัฒนธรรมบ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, พงศ์ชวิน อุดหนุนสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีประวัติการตั้งถิ่นฐานของชาวปกาเกอะญอมาเป็นเวลานาน ภายหลังการขึ้นทะเบียนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานชาวปกาเกอะญอได้รับผลกระทบจากการจัดสรรพื้นที่ทำกินทำให้วิถีของการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป จากการสำรวจพื้นที่ผลกระทบดังกล่าวส่งผลต่อด้านสถาปัตยกรรมของชาวปกาเกอะญอเป็นหลัก ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญในการจดบันทึกเก็บรายละเอียดการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอแบบดั้งเดิม เพื่อให้ภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมแขนงนี้ไม่สูญหายไปตามกาลเวลา จึงได้ทำการศึกษาร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอแบบดั้งเดิมภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชนปกาเกอะญอ บ้างโป่งลึก - บางกลอย จังหวัดเพชรบุรี บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจดบันทึกและวิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่ได้จากการศึกษากระบวนการก่อสร้าง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเรือนในหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอยในอนาคต โดยลงพื้นที่เพื่อจดบันทึกตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มการก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง ตลอดจนถึงหลังการก่อสร้าง โดยเน้นความสำคัญถึงเรื่องเทคนิคการก่อสร้างแบบดั้งเดิมของช่างปัจจุบันภายในหมู่บ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะแรงงานกับวันและเวลาในการก่อสร้าง และความสัมพันธ์ของการเตรียมวัสดุกับขั้นตอนการก่อสร้าง จากการศึกษาพบว่ากระบวนการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอดั้งเดิมใช้เวลาทั้งหมด 19 วัน ระบบโครงสร้างมีลักษณะเป็นแบบเรือนเครื่องผูกดั้งเดิม การก่อสร้างถูกดำเนินงานโดยช่างในหมู่บ้านซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ช่างอาวุโสภายในหมู่บ้าน ช่างประจำโครงการ และ แรงงานรับจ้างรายวัน


ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทำงาน, ลัญจ์ฉัตร นิลชัยโกวิทย์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทำงาน, ลัญจ์ฉัตร นิลชัยโกวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันรูปแบบการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงไป จากแบบเดิมที่เป็นทางการเข้าสู่การทำงานรูปแบบใหม่ที่มีการทำงานเป็นกลุ่ม และมีการทำงานขนานกันมากขึ้น ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ทำงาน และการใช้พื้นที่ทำงานของสายงานไอทีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเนื่องเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ จำนวน 10 กรณีศึกษา จาก 2 องค์กร โดยเป็นฝ่ายงานขนาดเล็ก จำนวน 7 กรณีศึกษา และฝ่ายงานขนาดใหญ่ จำนวน 3 กรณีศึกษา โดยเก็บรวมรวมเอกสารแบบผังพื้น การสำรวจพื้นที่ทำงาน การจัดวางผังและชุดโต๊ะทำงานพนักงาน ร่วมกับการสังเกตการณ์การใช้พื้นที่ทำงานใน 4 จุดเวลา จากการศึกษา พบว่า มีพื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ พื้นที่ทำงานแบบเปิดโล่ง 8 กรณีศึกษามีพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย 2 แบบ คือ กระดานระบุสถานะ 7 กรณีศึกษา และโต๊ะส่วนกลาง 1 กรณีศึกษา และพื้นที่ทำงานแบบปิดล้อม 2 กรณีศึกษา มีพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย คือ กระดานระบุสถานะและพื้นที่ทำงานกลุ่ม 1 กรณีศึกษา และกระดานระบุสถานะ 1 กรณีศึกษา ภายในพื้นที่ทำงานทั้ง 2 แบบมีชุดโต๊ะทำงานพนักงานประกอบด้วยโต๊ะทำงาน ตู้เก็บของล้อเลื่อน และเก้าอี้นั่งทำงาน จากการวิเคราะห์พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานไอที พบว่า ชุดโต๊ะทำงานพนักงานพบ 2 แบบ คือแบบทำงานคนเดียว และแบบทำงานกลุ่ม การใช้พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานขนาดเล็กพบว่ามีการใช้พื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ แบบที่มีการทำงานที่โต๊ะทำงานในการทำงานเพียงอย่างเดียว 5 กรณีศึกษา และแบบที่ใช้กระดานระบุสถานะในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 2 กรณีศึกษา การใช้พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานขนาดใหญ่ พบว่า มีการใช้พื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ แบบที่มีการใช้กระดานระบุสถานะในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 2 กรณีศึกษา และแบบที่มีการใช้โต๊ะส่วนกลางในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 1 กรณีศึกษา การศึกษานี้ทำให้เข้าใจว่า พื้นที่ทำงานของสายงานไอทีประกอบด้วยพื้นที่ทำงานหลัก ซึ่งมีโต๊ะทำงานที่มีขนาดใหญ่กว่าโต๊ะทำงานขนาดมาตรฐาน และพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย ซึ่งการออกแบบกระดานระบุสถานะที่อยู่ในพื้นที่เปิดโล่งจะอยู่ด้านข้างพื้นที่ทำงานของพนักงาน การออกแบบกระดานระบุสถานะในพื้นที่ปิดล้อมจะอยู่ตามแนวผนังห้อง โต๊ะส่วนกลางที่อยูในพื้นที่เปิดโล่งจะแทรกอยู่ในพื้นที่ทำงานของพนักงาน การทำงานที่กระดานระบุสถานะจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า ก่อนจะแยกย้ายกันไปปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงาน ซึ่งพบทั้งการทำงานแบบเดี่ยวและการทำงานแบบกลุ่มที่โต๊ะ


เกณฑ์และหลักคิดในการออกแบบพุทธประทีปมหาสถูปเจดีย์, วัชรพงษ์ ชุมดวง Jan 2018

เกณฑ์และหลักคิดในการออกแบบพุทธประทีปมหาสถูปเจดีย์, วัชรพงษ์ ชุมดวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการทำความเข้าใจ หาเกณฑ์และหลักคิดในการออกแบบพุทธประทีปมหาสถูปเจดีย์ของมูลนิธิพระบรมธาตุ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้วยวิธีการศึกษาในหลักพุทธธรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ ที่ปรากฏอยู่ในหลักอริยสัจ 4 และได้สรุปลงมาเป็นหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักในการเข้าถึงพุทธธรรม โดยศึกษาหลักหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยการค้นคว้าจากพระคัมภีร์ในขั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก ในขั้นทุติยภูมิ ได้แก่ ตำราวิชาการทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ได้ไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และได้เดินทางไปศึกษาดูงานและวิเคราะห์จากสถานที่จริงของพระสถูปเจดีย์ในอดีต เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการการออกแบบพื้นที่ที่เอื้อให้จิตมีความสงบระงับ จิตมีศีล จิตมีความตั้งมั่น จิตมีสมาธิ จิตได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรมชาติ จิตมีปัญญา มีความสะอาด สว่าง สงบเย็น ผลการศึกษาพบว่า หลักในการเข้าถึงพุทธธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเกณฑ์ในการออกแบบพุทธประทีปมหาสถูปเจดีย์ และมีหลักคิดอยู่ 4 ข้อ ได้แก่ 1. นิมิตหมายแห่งปัญญา คือ องค์พุทธประทีปมหาสถูปเจดีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจ 2. มณฑลศักดิ์สิทธิ์ คือ พื้นที่แห่งความสงบจิตตั้งมั่นของจิต 3. พื้นที่สัปปายะ คือ พื้นที่แห่งความสบายกายและสบายใจ โดยมีความสงบเย็นเป็นตัวชี้วัด 4. พื้นที่ที่เป็นสากล คือ พื้นที่ในการศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมอบรมพัฒนาจิต ตามหลักพุทธธรรมให้พ้นจากทุกข์ได้ทุกเวลา ทุกชาติพันธุ์ และทุกศาสนา สรุปผลของการศึกษา จึงได้หลักในการออกแบบพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในการยังประโยชน์ทางจิตวิญญาณ ไปสู่ชีวิตที่เป็นอิสระหลุดพ้นจากความทุกข์ มีความสัปปายะ ด้วยการทำให้จิตสงบระงับ มีศีล ให้จิตมีสมาธิตั้งมั่น ให้จิตรู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรมชาติ มีปัญญาญาณ


การศึกษาช่องเปิดระบายอากาศธรรมชาติเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัย, วาสิตา วานิชศิริโรจน์ Jan 2018

การศึกษาช่องเปิดระบายอากาศธรรมชาติเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัย, วาสิตา วานิชศิริโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่าการเปิดช่องระบายอากาศแบบธรรมชาติจะสามารถลดความปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้องนอนอาคารชุดพักอาศัยได้หรือไม่ โดยทำการสำรวจห้องนอนอาคารชุดพักอาศัยจำนวน 5 แห่ง ว่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินมาตรฐานหรือไม่ จากนั้นเลือกห้องนอน 2 ห้องจาก 5 ห้องข้างต้น ที่มีพื้นที่ 11.00 ตร.ม. (ปริมาตร 27.50 ลบ.ม.) และ พื้นที่ 14.00 ตร.ม. (ปริมาณ 31.10 ลบ.ม.) เป็นตัวแทนการทดลองเก็บข้อมูลค่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่เปลี่ยนแปลงในทุกห้านาที ช่วงเวลา 23:30 น. ถึง 07:00 น. รวม 7 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน เป็นระยะเวลา 15 วัน แต่ละวันจะเปิดช่องระบายอากาศที่หน้าต่างที่มีอยู่ด้านเดียวของห้อง เริ่มจากขนาด 50 ตร.ซม. แล้วเพิ่มขึ้นวันละ 50 ตร.ซม.ไปสิ้นสุดที่ 700 ตร.ซม. นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนอากาศและความสิ้นเปลืองพลังงานในระบบปรับอากาศผลการศึกษาพบว่าห้องนอนที่มีปริมาตร 27.50 ลบ.ม. ถึง 31.10 ลบ.ม. นั้น ถ้าเปิดช่องระบายอากาศธรรมชาติที่ผนังด้านเดียวที่ร้อยละ 0.61 ถึง ร้อยละ 0.41 ของพื้นที่ห้องตามลำดับ จะสามารถลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ตามเกณฑ์ ASHRAE ที่กำหนดให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคารต้องไม่มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อากาศภายนอกที่ปกติมีค่าประมาณ 300 ppm ถึง 400 ppm เกินกว่า 700 ppm หรือต้องไม่เกิน 1,000 ppm ถึง 1,100 ppm ผลการทดลองนี้ทำให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยนอากาศที่ 1.00 ACH ถึง 0.8 ACH (16.90 CFM ถึง 14.60 CFM) ตามลำดับ ส่วนผลการจำลองค่าความสิ้นเปลืองพลังงานในระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 0.77 ถึง ร้อยละ 0.33 ตามลำดับ เทียบกับห้องนอนที่ไม่มีการเปิดช่องระบายอากาศแบบธรรมชาติ ส่วนการใช้เครื่อง Energy Recovery Ventilator ที่ให้ผลแบบเดียวกันสิ้นเปลืองพลังงานถึงร้อยละ …


Notes On Imprecision And Infidelity, Phillip Anzalone, Marcella Del Signore, Andrew John Wit Jan 2018

Notes On Imprecision And Infidelity, Phillip Anzalone, Marcella Del Signore, Andrew John Wit

Publications and Research

No abstract provided.


ความต้องการและความคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน, ณวัลริณี สุวินิจวงษ์ Jan 2018

ความต้องการและความคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน, ณวัลริณี สุวินิจวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารสำนักงานเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ที่ให้ทั้งผู้ที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์ และผู้ประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์ใช้สอย และเมื่อมีผู้ใช้อาคารจึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลจัดการหรือที่เรียกว่าผู้บริหารอาคารเพื่อให้อาคารนั้น ๆ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการและคาดคาดหวังจากการจัดการอาคารของผู้เช่าอาคารสำนักงาน โดยการส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้เช่าพื้นที่ภายในอาคารสำนักงานระดับ เอ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณย่านธุรกิจการค้ามีอัตราค่าเช่าไม่ต่ำกว่า 750 บาท/ตารางเมตร/เดือน แต่ไม่เกินกว่า 1,000 บาท/ตารางเมตร/เดือน มีอาคารสำนักงานอยู่ในกรณีศึกษาทั้งหมด 6 อาคาร ได้แก่ อาคารสาทรซิตี้ ทาวเวอร์ อาคารเอเชียเซ็นเตอร์ อาคารซี.พี. ทาวเวอร์ อาคารจามจุรี ทาวเวอร์ อาคารเอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ และอาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 เพื่อทำการวิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่าผู้เช่าอาคารสำนักงานแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เช่าพื้นที่สำนักงาน และผู้เช่าพื้นที่ร้านค้า โดยผู้เช่าพื้นที่สำนักงานแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มประเภทธุรกิจ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้มีความต้องการและคาดหวังในแต่ละงานมากน้อยไม่เท่ากัน ผู้เช่าพื้นที่สำนักงาน และผู้เช่าพื้นที่ร้านค้ามีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องอัตราค่าเช่า สัญชาติของ ผู้เช่า ประเภทธุรกิจ แต่มีความใกล้เคียงกันในเรื่องขนาดพื้นที่เช่าและขนาดขององค์กร โดยเมื่อนำประเภทธุรกิจของผู้เช่ามาวิเคราะห์พบว่าผู้เช่าทั้ง 3 กลุ่มประเภทธุรกิจและผู้เช่าพื้นที่ร้านค้ามีความต้องการและคาดหวังให้ฝ่ายบริหารอาคารดูแลเรื่องระบบความปลอดภัยของอาคารให้ได้มาตรฐานตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารมากที่สุดเหมือนกัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างด้านกลุ่มประเภทธรุกิจนั้น ถึงแม้จะมีความต้องการและความคาดหวังในการจัดการงานอาคารในแต่ละงานมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ก็มีมุมมองในการให้ความสำคัญหรือความต้องการจากการจัดการอาคารในเรื่องของการดูแลระบบความปลอดภัยมากที่สุดเหมือนกัน