Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mass Communication

Articles 1 - 30 of 342

Full-Text Articles in Entire DC Network

การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย Jan 2022

การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้สื่อและเนื้อหาในการสื่อสารการตลาดที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย (2) ศึกษาการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากลายทางเพศ (3) ศึกษาความแตกต่างกันในการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกัน ต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศ และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างทั้งเพศชาย เพศหญิง และเพศวิถีอื่น ๆ (LGBTQIA+) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 430 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ตราสินค้ามีการใช้ลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎมากที่สุด คือ เนื้อหาที่มีคำแสดงถึงความหลากหลายทางเพศโดยอ้อม ส่วนลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เนื้อหาที่สัญลักษณ์สีรุ้ง และช่องทางที่ตราสินค้าใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก ส่วนช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เว็บไซต์ต่าง ๆ นอกจากนี้ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณพบว่า กลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-26 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาทมากที่สุดนั้น มีการรับเปิดสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสูงบนช่องทางสื่อเฟซบุ๊ก และสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อที่พรีเซนเตอร์ผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นผู้แสดงหรือนำเสนอสินค้าในระดับสูง ส่วนทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศนั้นอยู่ในระดับสูง โดยเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่มีความทันสมัย ส่วนพฤติกรรมการซื้อต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศแตกต่างกัน และการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อนั้นมีความสัมพันธ์กัน


อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา: 1) คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ (ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเชี่ยวชาญ ความน่าไว้วางใจ ความน่าดึงดูดใจ ความชื่นชอบ ความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย และความคุ้นเคย) ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ และทัศนคติต่อตราสินค้า) และพฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ ความตั้งใจซื้อ และการสื่อสารแบบบอกต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณเบเบ้ (ธันย์ชนก ฤทธินาคา) ที่มีอายุระหว่าง 24 - 30 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่รับชมคลิปวิดีโอจำนวนอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 292 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณดาว (วิภา อาทิตย์อุไร) และรับชมคลิปวิดีโอจำนวน 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 298 คน รวมทั้งหมด 590 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ด้านความน่าไว้วางใจ และด้านความน่าดึงดูดใจมีอิทธิพลต่อทัศนคติมากที่สุด ในขณะที่ด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมายมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากที่สุด และสุดท้ายทัศนคติยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอีกด้วย


อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร Jan 2022

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ประสบการณ์ลูกค้าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสอดคล้อง 2) ด้านการเชื่อมต่อ 3) ด้านการผสมผสาน 4) ด้านความยืดหยุ่น และ 5) ด้านเฉพาะบุคคล ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ และเพื่อวิเคราะห์ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยม และความตั้งใจซื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังซื้อ และอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ความเป็นสากลนิยม และภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ตัวแปรประสบการณ์ลูกค้ามีตัวแปรในทุก ๆ ด้านที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ หรือมีตัวแปรย่อยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ จึงทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เมื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยทำการแยกตัวแปรย่อยของตัวแปรประสบการณ์ลูกค้าออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการผสมผสาน ด้านความสอดคล้อง ด้านความยืดหยุ่น และด้านเฉพาะบุคคล พบว่า ตัวแปรย่อยด้านความสอดคล้อง และด้านความยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และไม่มีตัวแปรอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05


อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะบุคคล (ได้แก่ คุณลักษณะพื้นฐาน และคุณลักษณะประกอบ) คุณลักษณะความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน โดยเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 23 – 29 ปี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีงานทำในปัจจุบัน จำนวน 403 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ ความต้องการด้านวัตถุ ความต้องการด้านร่างกาย และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ส่วนคุณลักษณะประกอบที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ การอยู่กับปัจจุบัน และคุณลักษณะความเชื่อ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง โดยคุณลักษณะความเชื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านโหราศาสตร์มากที่สุด


การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์ Jan 2022

การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายวิธีการสื่อสารและการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของยูทูบเบอร์ด้านความงาม และอธิบายอิทธิพลของความถี่การเปิดรับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ และความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 1 ช่อง ได้แก่ GURUCHECK ร่วมกับการวิเคราะห์การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 3 ช่อง ได้แก่ ingck GURUCHECK และ EB.Bahboh จำนวน 15 ตอน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงามประกอบด้วย ยูทูบเบอร์นำความเชี่ยวชาญของตนเองมานำเสนอเป็นเนื้อหาในรูปแบบคลิปวิจารณ์ โดยมีวิธีการสื่อสารแบบกึ่งเผยแพร่กึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยการสนทนนาผ่านการผลิตคลิปวิจารณ์และการเล่าเรื่องด้วยมุมมองทางวิทยาศาสตร์ผ่านยูทูบ ทั้งนี้ผลที่เกิดกับผู้ชมเป็นผลด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและการได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ และพบว่าผู้ชมมีส่วนร่วมในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเนื้อหาวิดีโอบนสื่อสังคม การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ฯ พบว่า มีความสอดคล้องในด้านการใช้ภาษา สัญลักษณ์ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชม มีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครแบบผลิตภัณฑ์เป็นวีรบุรุษ ปัญหาสุขภาพผิวเป็นวายร้าย และผู้ชมเป็นเหยื่อ มีการสร้างปมปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบำรุงรักษาผิวหรือการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ แก่นเรื่องที่นำเสนอ ได้แก่ ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุ-ปัจจัย และเช็คก่อนใช้ อ่านฉลากและส่วนผสมก่อนซื้อ ทั้งนี้มีการโน้มน้าวใจด้วยหลักฐานและการรับรองเหตุผลที่ใช้ประกอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างติดตามช่องยูทูบวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในระดับมาก มีความถี่การรับชมการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอยู่ที่ 2-3 วัน/สัปดาห์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเกี่ยวพันกับเนื้อทางวิทยาศาสตร์ (ß = 0.431) ความชื่นชอบตัวละคร (ß = 0.233) การรับรู้ต่อการมีส่วนร่วม (ß = 0.211) การรับรู้ต่อเนื้อหา (ß = - 0.144) การรับรู้ต่อผลการสื่อสาร (ß = 0.115) และความชื่นชอบการถ่ายทอดปัญหาและการดำเนินเรื่อง (ß = - 0.094) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การจัดการการสื่อสารของเครือข่ายกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน, ชวัลอร โภวาที Jan 2022

การจัดการการสื่อสารของเครือข่ายกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน, ชวัลอร โภวาที

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการเครือข่าย กลวิธีการสื่อสารภายในกลุ่ม ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการการสื่อสารของกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละกลุ่ม ร่วมกับสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากแฟนคลับ 2 กลุ่ม ผู้นำกลุ่มและแอดมินบ้านแฟนเบสของกลุ่ม 2 กลุ่ม รวมทั้งหมด 16 คน ผลการวิจัยพบว่า แฟนดอมมีการจัดการเครือข่ายผ่านพื้นที่สื่อออนไลน์ในการสร้างกิจกรรม เพื่อสนับสนุน สร้างชื่อเสียงของศิลปิน และสร้างความสัมพันธ์แฟนดอมผ่านรูปแบบเครือข่ายการสื่อสารแบบทุกช่องทาง ที่ทำให้สมาชิกทั้งหมดในแฟนดอมสามารถทำการสื่อสารได้อย่างอิสระผ่านสื่อออนไลน์ สร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายให้ดียิ่งขึ้น แฟนดอมจะมีการจัดการปัญหาและอุปสรรคอยู่เสมอ เพื่อรักษาเครือข่าย ชื่อเสียงศิลปิน เพิ่มความสัมพันธ์ของสมาชิกของแฟนดอมให้เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้น และช่วยให้แฟนดอมสามารถธำรงต่อไปได้ยาวนาน


ผลของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นและประเภทบัญชีอินสตาแกรมต่อการตอบสนองของผู้บริโภค, ณัฏฐริณีย์ รินศิริกุล Jan 2022

ผลของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นและประเภทบัญชีอินสตาแกรมต่อการตอบสนองของผู้บริโภค, ณัฏฐริณีย์ รินศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ 2x2 แฟคเทอเรียล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่น(บุคคลที่มีชื่อเสียง และบุคคลธรรมดา) และประเภทบัญชีอินสตาแกรม (บัญชีอินสตาแกรมของตราสินค้า และบัญชีอินสตาแกรมของผู้สนับสนุนสินค้า) ที่มีต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ได้แก่ ทัศนคติต่องานโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า ความสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และความตั้งใจซื้อ โดยเก็บข้อมูลกับนิสิตที่ศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย จำนวน 129 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ผลการวิจัยพบว่า ประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นส่งผลกระทบหลักต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ในด้านทัศนคติต่องานโฆษณา ความสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ประเภทบัญชีอินสตาแกรมนั้นไม่ส่งผลกระทบหลักต่อการตอบสนองด้านใด ๆ ของผู้บริโภค นอกจากนั้น ประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่น และประเภทบัญชีอินสตาแกรม ยังส่งผลกระทบร่วมกันต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในด้านทัศนคติต่องานโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง Jan 2022

ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา เรื่อง “ภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย” มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างละครโทรทัศน์ทั้งหมด 7 เรื่อง คือ เพลิงนาง ปมเสน่หา เพลิงปริศนา เขยบ้านไร่ สะใภ้ไฮโซ สะใภ้ไร้ศักดินา เรยา ฉันชื่อบุษบา นำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของผู้หญิงที่ประกอบอาชีพแม่บ้านที่ทำงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และใช้ชีวิตพักอาศัยอยู่ในบ้านนายจ้าง ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 7 คน และ ศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมที่มีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทสร้างภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ให้มีภาพแทนของแม่บ้านที่เป็นผู้สนับสนุนนายจ้าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน พบว่า แม่บ้านในชีวิตจริงมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานให้นายจ้าง แม่บ้านในละครโทรทัศน์กับชีวิตจริงของแม่บ้าน มีความแตกต่างในด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ สวัสดิการ การได้รับความเท่าเทียม การแต่งกาย และมีความคล้ายคลึงในส่วนของปัจจัยทางสังคมด้านเศรษกิจและด้านการศึกษา ในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมมีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย มีดังนี้ 1) ด้านปิตาธิปไตย ละครโทรทัศน์สะท้อนให้เห็นถึงชุดความคิดของคนในสังคมที่ว่า“งานบ้าน เป็นงานของเพศหญิง” ในละครโทรทัศน์ไม่มีตัวละครพ่อบ้านปรากฏให้เห็นแบบปกติทั่วไปเหมือนตัวละครแม่บ้าน หากมีตัวละครที่มีลักษณะและบทบาทใกล้เคียง ก็มักถูกเรียกต่างออกไปไม่ถูกเรียกว่า “พ่อบ้าน” และมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน เช่น คนสวน คนขับรถ 2) ด้านชนชั้น ภาพตัวละครแม่บ้านถูกจัดวางอยู่ในชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat) ซึ่งอยู่ในระดับชนชั้นต่ำของสังคมไทย 3) ด้านระบบทุนนิยม ภาพตัวละครแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกภาวะเศรษฐกิจทุนนิยมที่ตรึงเครียดกดทับ ด้วยความยากจนที่บีบคั้น แม่บ้านจึงกลายเป็นผู้ที่ยอมรับกับความขัดแย้งและความเป็นศัตรูกันโดยธรรมชาติของนายจ้าง-ลูกจ้าง ยินยอมอยู่ในความสัมพันธ์แบบการขูดรีดเพื่อรายได้ในการเลี้ยงชีพ กล่าวคือ ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกกดขี่ด้านการไม่ให้แสดงความคิดเห็น ไม่มีขอบเขตของงานบ้านและไม่มีเวลาการทำงานที่ชัดเจน ลักษณะงานของแม่บ้านทำลายเส้นแบ่งระหว่างเวลาและสถานที่ของการทำงาน (Work) กับเวลา และสถานที่ของการใช้ชีวิต เพราะผลผลิตของการผลิตอยู่ในรูปของอวัตถุ (Immaterial) ไม่ใช่การผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ (Material) ทำให้แยกงานกับชีวิตออกจากกันไม่ได้ และการใส่เครื่องแบบชุดแม่บ้านชาวตะวันตก สามารถทำให้คนในสังคมรับรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรในสถานที่ที่พวกเขาทำงานอยู่ นำมาซึ่งการเกิดสัญญะของภาพตัวแทน 4) ด้านระบบการศึกษา ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ไม่สูง 5) ด้านสิทธิแรงงาน ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไม่ถูกนำเสนอเรื่องสวัสดิการที่ชัดเจน แต่ถูกนำเสนอทางอ้อมว่า ไม่มีวันหยุด และมีชั่วโมงทำงานที่ไม่แน่นอน 6) ด้านระบบสื่อมวลชนผลิตซ้ำภาพตัวแทน ลักษณะการสร้างภาพตัวละครในละครโทรทัศน์ (Portrayed) เป็นสิ่งที่สะท้อนจากผู้ผลิตรายการที่คาดว่าคนกลุ่มนั้นควรจะมีลักษณะอย่างไรในละครโทรทัศน์ ทำให้เกิดการผลิตซ้ำภาพตัวแทนของตัวละครที่นำเสนอในลักษณะเหมารวม เช่น แม่บ้านเป็นผู้ที่มีฐานะต่ำต้อย เป็นคนอีสาน เป็นผู้ไร้อำนาจ ต้องแสดงความนอบน้อม …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่ออธิบายความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การรับรู้คุณค่า และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภค 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่า ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวไทยเจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย (Generation Y) จำนวนทั้งสิ้น 500 คน ซึ่งต้องมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 27 - 58 ปี ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า และต้องเคยได้ยินหรือรู้จักเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดย ผลวิจัยพบว่า ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อ การรับรู้คุณค่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และบรรทัดฐานกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การรับรู้คุณค่า บรรทัดฐานกลุ่ม และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า


ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ Jan 2022

ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีย์วาย” ใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและทัศนคติต่อองค์ประกอบซีรีส์วายของผู้บริโภค และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและพฤติกรรมของผู้บริโภค การศึกษาครั้ง ได้ศึกษาซีรีส์วายทั้งหมด 3 ประเทศแหล่งกำเนิด ได้แก่ ซีรีส์วายประเทศไทย ซีรีส์วายประเทศญี่ปุ่น และซีรีส์วายประเทศเกาหลีใต้ โดยมีการเก็บข้อมูลใน 2 รูปแบบได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านซีรีส์วายหรือผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมซีรีส์วาย ทั้งหมด 4 คน ซึ่งบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผู้ผลิต สื่อ นักการตลาด และนักวิชาการ ในส่วนของเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรับชมซีรีส์วาย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน งานวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Person’s Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้บริโภคต่อองค์ประกอบซีรีส์วายโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง และภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ


การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา Jan 2022

การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงเพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยเห็นโฆษณาแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อก จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการเปิดรับโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามแตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านการเปิดรับและทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19, พราวศินี พันธ์ทา Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19, พราวศินี พันธ์ทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวและการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ ศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 ของนักท่องเที่ยวไทย โดยการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการทำวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล อายุ 18 – 39 ปี ที่มีแนวโน้มท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 (ปี 2566 – 2567) รวมจำนวนทั้งสิ้น 410 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวไทยมีการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคล ในขณะที่สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อเฉพาะกิจ กลุ่มตัวอย่างแทบไม่เคยหรือไม่เปิดรับเลย โดยสื่ออินเทอร์เน็ต ยังเป็นสื่อหลักที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมหาข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว ในส่วนของความต้องการเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ยังคงให้ความสำคัญทางด้านความปลอดภัย โดยยังมีความต้องการข่าวสารด้านโควิด-19 อยู่ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มในการตัดสินใจไปท่องเที่ยวต่างประเทศภายในปี 2567 อย่างแน่นอน โดยอยากไปประเทศใหม่ที่ยังไม่เคยไป โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการประเมินผลก่อนการตัดสินใจ โดยเหตุผลหลักของความต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวไทย คือ ความสวยงามของประเทศนั้นเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งสืบเนื่องช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 นักท่องเที่ยวไทยมีความจำเป็นต้องกักตัวจากโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน


อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, รมิดา จิตติมิตร Jan 2022

อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, รมิดา จิตติมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมือง (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์) และพฤติกรรมการเลือกตั้ง 2) วิเคราะห์อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง 3) วิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ 4) วิเคราะห์อิทธิพลของความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเองในฐานะตัวแปรกำกับ ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง และ 5) วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชันในแง่ของตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 465 คน มีอายุระหว่าง 18 – 58 ปี และติดตามหรือเคยเห็นสื่อสังคมออนไลน์ของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองในระดับสูง โดยเฉพาะมิติด้านความน่าไว้วางใจ และมีพฤติกรรมการเลือกตั้งในระดับที่ดี นอกจากนี้ การรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมไปถึงทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเองยังส่งผลเชิงลบต่อความตั้งใจในการแนะนำ และความตั้งใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อีกทั้งในแต่ละเจนเนอเรชันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในแง่ของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมือง ความสอดคคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเอง และทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วย


อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย, วรเชษฐ์ อนุ Jan 2022

อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย, วรเชษฐ์ อนุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารและเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ (Survey Research) ในการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 419 คน โดยมีการเก็บข้อมูลในกลุ่มสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้บริโภคที่เกิดในปี พ.ศ. 2524 – 2543 และรู้จักโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิง และมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) โดยมีการกำหนดระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่าการเปิดรับข่าวสารมีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในทางอ้อม ซึ่งมีโครงสร้างดังต่อไปนี้การเปิดรับข่าวสารมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจ ความคาดหวังในความพยายาม ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพและสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกนอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจมีเพียง 3 ปัจจัยได้แก่ คความไว้วางใจ ความคาดหวังในความพยายามและความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ ขณะที่ความตั้งใจใช้งานไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานแต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานคือสภาพสิ่งอำนวยความสะดวก


ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภค, วนัชภรณ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา Jan 2022

ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภค, วนัชภรณ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางลักษณะประชากร และสำรวจการเปิดรับสื่อ การสื่อสารการตลาด และการรับรู้ความเสี่ยง ของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการตัดสินใจซื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสอง รวมถึงอธิบายความสามารถในการพยากรณ์การตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวมือสอง จากปัจจัยด้านการเปิดรับสื่อ การสื่อสารการตลาด และการรับรู้ความเสี่ยงของกลุ่มผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมือสอง จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกันในด้านเพศ/อายุ/อาชีพ/จำนวนสมาชิกอาศัยในบ้านเดียวกัน มีการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ลักษณะประชากรที่มีการตัดสินซื้อระดับสูงที่สุด คือ LGBTIQ+/อายุ 41-60 ปี/อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/จำนวนสมาชิกภายในบ้าน 1-2 คนส่วนผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษา/รายได้เฉลี่ยต่อเดือน/สถานภาพแตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองที่ไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การเปิดรับข้อมูลโดยรวม, การรับรู้การสื่อสารการตลาดโดยรวม และการรับรู้ความเสี่ยงโดยรวมสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภคกรุงเทพมหานครที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรอิสระดังกล่าว สามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อได้ร้อยละ 41 โดยปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด รองลงมาเป็นการเปิดรับข้อมูล และการรับรู้การสื่อสารการตลาด ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินในแฮชแท็กทวิตเตอร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน, สรรค์ โรจนทัพพะ Jan 2022

อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินในแฮชแท็กทวิตเตอร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน, สรรค์ โรจนทัพพะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินผ่านแฮชแท็กในทวิตเตอร์ ทัศนคติต่อตราสินค้า การรับรู้ตราสินค้าประเภทเกี่ยวพันต่ำ และการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน รวมทั้งเพื่ออธิบายอิทธิพลของปัจจัยด้านการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อตราสินค้า และการรับรู้ตราสินค้าประเภทเกี่ยวพันต่ำที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไป จำนวน 200 คน และกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน จำนวน 200 คน โดยประมวลผลในโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินมีการเปิดรับ ทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้าแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปในทุก ๆ ปัจจัย 2) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปที่มีอายุ 18 – 24 ปี จะมีทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าอายุ 25 – 31 ปี 3) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีจะมีทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี 4) กลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินที่มีเพศและอายุที่ต่างกันมีทัศนคติต่อตราสินค้าแตกต่างกัน 5) ปัจจัยด้านการเปิดรับ ทัศนคติ และการรับรู้ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์ Jan 2022

อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตา แกรม และศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี ที่มีการกดติดตามข้อมูลจากช่องทางอินสตาแกรมของผู้นำทางความคิดด้านความงามอย่างน้อย 3 ใน 10 คน ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ และได้ติดตามข้อมูลอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมากที่สุด สำหรับการทดสอบอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า คุณลักษณะทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อมากที่สุด และมีเพียงคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงคุณลักษณะเดียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคด้านการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่าทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทั้งพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค


อิทธิพลของความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, อภิกษณา จิตรเกาะ Jan 2022

อิทธิพลของความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, อภิกษณา จิตรเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ และอธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่มีต่อทัศนคติต่อตราสินค้า ความเต็มใจในการส่งต่อ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันซี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เทคนิควิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคเจเนอเรชันซี มีอายุระหว่าง 18 – 26 ปี ทุกเพศสภาพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 ผลการวิจัยพบว่า ความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันซีมีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า ทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาที่แสดงผลิตภัณฑ์เท่านั้น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อตราสินค้า ความเต็มใจในการส่งต่อ และความตั้งใจซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


Thailand Generation Z Consumers’ Brand Perception Of Bonchon Restaurantin Thailand, Aditep Jirattikorn Jan 2022

Thailand Generation Z Consumers’ Brand Perception Of Bonchon Restaurantin Thailand, Aditep Jirattikorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present study is dedicated to investigating the Thailand generation z consumer’s brand perception of the brand Bonchon. This study aims to learn how generation z in Thailand perceives all aspects of the brand Bonchon in addition, this study also aims to cover whether Korean pop culture has an effect on how the consumer perceives the brand. Generation z participants in Thailand (n=227) who is a customer of Bonchon were asked to complete the questionnaire. The questionnaire is designed to discover respondents' cognitive, emotional, language, and actions toward the brand Bonchon. The research adopted certain theories on branding and consumer …


Perception Of Women Entrepreneurs On Social Media Use For Marketing Communication In Qatar, Aisha Ali A.T.Al-Khulaifi Jan 2022

Perception Of Women Entrepreneurs On Social Media Use For Marketing Communication In Qatar, Aisha Ali A.T.Al-Khulaifi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to understand the social media use of women entrepreneurs for marketing communication in Qatar. It is based on a qualitative approach, using an in-depth, semistructured interview. Participants were ten women entrepreneurs who have been running their businesses for at least six years, aged between 25 and 45. This research employed a question guideline as the research instrument based on five questions such as reasons for using social media for marketing, usage of social media for marketing, benefits, challenges, and professional benefits. The findings showed that the reasons for social media usage focus on ease of access and …


Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub Jan 2022

Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study was to understand the credibility of travel influencers among millennial travelers and how they motivate millennial travelers' travel behavior. It is based on a qualitative methodology that involves use of in-depth interviews. Twelve millennial travelers both domestic and international between the ages of 25 and 40 were interviewed. They had to organize the trip within a year and follow to travel influencers. This study employed a question guideline as the research instrument based on four dimension which are demographics and media usages, attitude towards travel influences, source of credibility, and travel behavior. The findings revealed …


The Influence Of Perceived Value, User Engagement, And Emotions On Usage Intention Of Thai Tiktok Users, Phakkhaporn Dancharoenpol Jan 2022

The Influence Of Perceived Value, User Engagement, And Emotions On Usage Intention Of Thai Tiktok Users, Phakkhaporn Dancharoenpol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to explore perceived value, user engagement, emotions, and usage intention of Thai TikTok users, as well as to investigate the influence of perceived value, user engagement, and emotions on TikTok usage intention. An online survey was employed to collect data from 289 participants who were TikTok users, aged between 18-38 years old. The findings showed that the respondents had high perceived value (M = 4.01), high engagement (M = 3.78), emotions (M = 3.75), and high usage intention (M = 3.97) towards TikTok. Furthermore, the results of the multiple regression analysis depicted that perceived …


Generation Z Consumers’ Behavior On Jones’ Salad’S Online Marketing Communications, Pitchaya Watcharodomprasert Jan 2022

Generation Z Consumers’ Behavior On Jones’ Salad’S Online Marketing Communications, Pitchaya Watcharodomprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study consumer behavior on Jones’ Salad’s online marketing communications. Two hundred and thirty-eight people who are current customers purchasing Jones’ Salad once a month, exposed to the brand’s online marketing communications in the past three months, and aged between 18 and 25 years old residing in Thailand, were asked to complete online questionnaire survey. The findings in the cognitive part reveal that Jones’ Salad’s online platforms, especially Facebook and Instagram, are significant communication platforms among its Generation Z’s customers. The majority of the samples rely on Jones’ Salad online media for brand information. …


The Influence Of Human-Like Virtual Influencers On Intention To Purchase Beauty Products Among Chinese Female Gen Z, Sheng Liu Jan 2022

The Influence Of Human-Like Virtual Influencers On Intention To Purchase Beauty Products Among Chinese Female Gen Z, Sheng Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research include exploring consumers’ perceived trust, brand awareness, and purchase intention via human-like virtual influencers; and examining the influence of human-like virtual influencers on consumers’ perceived trust, brand awareness, and purchase intention based on the empirical research, especially by adapting the SMIV model. A total of 260 Chinese female Gen Z respondents between the ages of 18 and 25 were eligible to complete an online questionnaire survey. The results depicted that human-like virtual influencers’ informative value (β= 0.196 p < .001) and entertainment value (β= 0.181 p < .001), trustworthiness (β= 0.142 p < .01), similarity (β= 0.115 p < .05), and attractiveness (β= 0.292 p < .001) to the audiences strongly influence their trust in branded posts, which further influence purchase intentions (β= 0.198, p < .01).


The Chinese Media Narrative Of Thailand As A Tourist Destination After The Legalization Of Cannabis (For Medical Purposes Or Health Concerns), Shuang Deng Jan 2022

The Chinese Media Narrative Of Thailand As A Tourist Destination After The Legalization Of Cannabis (For Medical Purposes Or Health Concerns), Shuang Deng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand, a world-renowned tourist destination, officially decriminalized cannabis (for medical purposes or health concerns) in June 2022. This policy has aroused widespread international attention and discussion. This study aims to analyze Chinese media narratives on the legalization of cannabis in Thailand and Chinese netizens' attitudes toward this policy. The research uses content analysis to analyze posts of 4 Chinese social media accounts related to Thailand (3 Mainland China, and 1 Thai-Taiwan). Posts about Thailand’s legalization of cannabis on Chinese social media Weibo from Jan 2022 - Oct 2022 are collected. Chinese media mostly adopted a neutral attitude when narrating the …


The Impact Of Oppo's Brand Equity On Purchasing Intentions Of Thai Consumers, Xiaoyuhui Yang Jan 2022

The Impact Of Oppo's Brand Equity On Purchasing Intentions Of Thai Consumers, Xiaoyuhui Yang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Among the objective of this research are to study the brand equity and purchase intention of Oppo consumers and the relationship between brand equity and the purchase intention of Oppo consumers. The total number of participants in this study is two hundred and forty-two Thai consumers aged 18-45, who were required to complete the online questionnaire. The result portraited that, in general, Thai consumers’ perception toward the Oppo brand’s equity is positive with an average mean value (M = 3.25). There are four detentions under brand equity, esteem received the highest mean score (M = 3.4), and differentiation received the …


Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong Jan 2022

Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study the brand image of Nike products among consumer generation Z in Thailand. Based on the quantitative research approach, two hundred of Nike's current consumers aged between 18 to 25 years old in Thailand, who had purchased/owned Nike’s products before, were asked to complete an online questionnaire to study the brand image. The research findings illustrated that most of Nike's generation Z consumers considered Nike to own a positive brand image. The result of the study in each brand image factor shows that most of the respondents have positive attitude toward Nike whether …


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย, โกศล สรวมศรี Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย, โกศล สรวมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้จุดจูงใจทางเพศ อารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 23 – 42 ปี จำนวน 205 คน โดยเป็นผู้ที่มีการออกกำลังกายในฟิตเนสอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ อารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกปานกลางค่อนไปทางมาก นอกจากนั้น การรับรู้จุดจูงใจทางเพศยังมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภค กล่าวคือ ยิ่งกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้จุดจูงใจทางเพศมากเพียงใด ก็จะยิ่งมีอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกในเชิงบวกเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการฟิตเนสเป็นประจำ มีอารมณ์ในเชิงบวกมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการฟิตเนสเป็นครั้งคราว


กระบวนการสร้างสรรค์และการเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ Come Back 2021, ไอรดา ชูรัตน์ Jan 2022

กระบวนการสร้างสรรค์และการเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ Come Back 2021, ไอรดา ชูรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเล่าเรื่องภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารที่เอื้อให้ภาพยนตร์โฆษณาไทย ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ จากการศึกษาภาพยนตร์โฆษณาไทย COME BACK 2021 ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) บุคคลเบื้องหลังความสำเร็จรางวัลคานส์ ไลออนส์ (Cannes Lions) หมวดเอนเตอร์เทนเมนท์ (Entertainment) ได้แก่ นักสร้างสรรค์ (Creative) บริษัทตัวแทนโฆษณา TBWA Thailand ผู้กำกับจากสุเนต์ตา เฮ้าส์ และกรรมการตัดสินผลงานโฆษณาระดับนานาชาติ ประกอบกับการศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของผลงานประกอบด้วย 1) ความเชื่อใจในการสร้างสรรค์ 2) จุดร่วมกันความคิดเห็นก่อนเริ่มกระบวนการ 3) การชี้นำแนวความคิดด้วยไอเดียที่แข็งแกร่ง 4) การตรวจสอบความคิดระหว่างการสร้างสรรค์ 5) การคัดเลือกผู้กำกับที่มีความเชี่ยวชาญ 6) การพัฒนาชิ้นงานตามความคิดเห็นของผู้กำกับ (2) รูปแบบการเล่าเรื่องภาพยนตร์โฆษณาประกอบด้วยลักษณะ 5 ต. 1) ตลกด้วยบทถ่ายทำและนักแสดง 2) แตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง 3) ตอบปัญหาผู้บริโภคด้วยสินค้า 4) ติดตามการเล่าเรื่องที่สร้างอารมณ์ร่วม 5) ตอกย้ำด้วยข้อความหลักแบรนด์ (3) ปัจจัยการสื่อสารที่เอื้อให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติประกอบด้วย 1) ถ่ายทอดความเชื่อของแบรนด์ที่ชัดเจน 2) มอบคุณค่าให้ผู้รับชม 3) ขายของอย่างมีศักยภาพ 4) สร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้รับชม 5) คุณภาพการถ่ายทำ


อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, ฉัตริน อินทร์เมือง Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, ฉัตริน อินทร์เมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก และอธิบายอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีการเปิดรับเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ระหว่างอายุ 18 – 44 ปี จำนวนทั้งสิ้น 175 ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยวิธีการสถิติแบบการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) แบบ Enter ข้อสรุปจากงานวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยว่าคุณลักษณะของผู้ส่งสารต้องมีประสบการณ์ในการสร้างเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยค่าเฉลี่ย 4.05 ส่วนการวางสินค้าในงานโฆษณาด้วยเนื้อหาที่มีความบันเทิง มีการเปิดรับทั้งด้านความถี่และระยะเวลามากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.62 และเนื้อหาที่เน้นย้ำประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีการเปิดรับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.51 โดยผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐาน และมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคมากที่สุด (Beta=0.307) ดังนั้น จึงได้ข้อสรุปว่าเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ต้องมีการสื่อสารให้เห็นประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระยะเวลา 1 – 5 นาที ส่วนการวางสินค้าในงานโฆษณา ควรใช้รูปแบบที่มีความบันเทิงเพื่อให้เกิดการเปิดรับที่มากที่สุด และสุดท้าย ควรใช้ผู้ส่งสารที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อม จึงจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคมากที่สุด และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น