Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University

Public Affairs, Public Policy and Public Administration

Articles 1 - 30 of 334

Full-Text Articles in Entire DC Network

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณะทำงานตลอดจนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 29 ท่าน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระบบบำนาญที่ยังไม่ครอบคลุมสำหรับแรงงานในทุกระบบ แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทยเพื่อระดมหาจำนวนสมาชิกใหม่เข้าสู่กองทุน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีสัดส่วนสมาชิกเมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมายมากที่สุดในประเทศไทย แต่ความสำเร็จดังกล่าวเป็นเพียงความสำเร็จหนึ่งในสองของวัตถุประสงค์โครงการเท่านั้น กล่าวคือการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีแนวคิดริเริ่มซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ยังขาดการส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องของสมาชิก ทั้งนี้ยังพบปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินการในแต่ละส่วน ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกอย่างทั่วถึงรวมไปถึงผลตอบแทนยังไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เท่าที่ควร เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติในระดับพื้นที่เนื่องจากวิธีการการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติใช้หลักการแบ่งบทบาท นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย 2) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) ปัจจัยด้านสมรรถนะขององค์กร และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ควรตระหนักถึงความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย รวมไปถึงข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การรับรู้และการให้ความร่วมมือของพนักงานระดับปฎิบัติการต่อมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุในการทำงาน, กาจกำแหง ศุภประเสริฐ Jan 2022

การรับรู้และการให้ความร่วมมือของพนักงานระดับปฎิบัติการต่อมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุในการทำงาน, กาจกำแหง ศุภประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากการใช้แรงงานคนมาเป็นเทคโนโลยีและเครื่องจักร ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งจะก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมาก การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่สอดคล้องกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน (2) เพื่อศึกษากระบวนการที่สนับสนุนในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ของบริษัทเอกชนสัญชาติไทยแห่งหนึ่ง ในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ในบริบทของงานวิจัยนี้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ในบริษัทแห่งนี้ จํานวน 5 คน และเจ้าหน้าที่แผนกทรัพยากรบุคคล (HR) จํานวน 2 คน ผลการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญทั้งหมด เมื่อนํามาเปรียบเทียบจากการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน เพื่อวิเคราะห์ว่าการรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ การให้ความร่วมมือและเห็นความสำคัญกับกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ในการขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ที่บริษัทฯกําหนดหรือไม่อย่างไร โดยในภาพรวมพบว่า ถึงแม้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์จะมีการรับรู้พื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน แต่จากผลการสังเกตการณ์พบว่าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ในบางครั้งยังไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่ใส่เสื้อสะท้อนแสง ไม่จอดรถที่จุดจอด เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความไม่ต่อเนื่องและเข้มงวดในการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ซึ่งบริษัทฯควรสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการรับรู้และการให้ความร่วมมือด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องต่อไป


การนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Bcg Model ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม, ญาณินท์ โพธิสว่าง Jan 2022

การนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Bcg Model ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม, ญาณินท์ โพธิสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model ไปปฏิบัติของศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยอาศัยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model ไปปฏิบัติ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model มีการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน โดยมีเป้าหมายของนโยบาย คือ ใช้ทรัพยากรด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวในพื้นที่ เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน มีการดำเนินงานโดยนำแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จเกิดจาก 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom up approach) 2) การบรรจุนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model ไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) การมีโครงสร้างการทำงานแบบบูรณาการที่ยืดหยุ่น คล่องตัว 4) การสื่อสารร่วมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 5) บูรณาการทรัพยากรร่วมทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 6) สร้างการรับรู้นโยบายของบุคลากรที่นำนโยบายไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 7) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงาน 8) มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสมัครเข้าร่วมโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, ภัสธารีย์ พลไพโรจน์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสมัครเข้าร่วมโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, ภัสธารีย์ พลไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของข้าราชการ สคร. ต่อระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง และศึกษากระบวนการในการวางแผนกำลังคน การสรรหา และคัดเลือกข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของ สคร. โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาการรับรู้ของข้าราชการ สคร. ต่อระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในภาพรวม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นข้าราชการ สคร. มีการรับรู้เกี่ยวกับระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงพื้นฐานในระดับดี โดยการรับรู้วัตถุประสงค์ของระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงสอดคล้องมากที่สุด และผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีการรับรู้สอดคล้องบางส่วน 2 ด้าน ได้แก่ การรับรู้คุณสมบัติของผู้สมัคร และการรับรู้ประโยชน์ของระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง ในส่วนผลการศึกษากระบวนการวางแผนกำลังคน การสรรหา และการคัดเลือกข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของ สคร. ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง พบว่า การวางแผนกำลังคนของ สคร. ยังขาดการบูรณาการกัน ส่งผลให้การบริหารกำลังคนคุณภาพขาดความชัดเจน การประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงมีเพียงช่องทางเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น โดยที่ผ่านมาผู้สมัครเข้าร่วมโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงมาจากการสมัครด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว และผู้สมัครเข้าร่วมโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของ สคร. ล้วนเป็นข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสายงานหลัก


การศึกษาเรื่องโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ และโครงการ Wellness City จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ธันยพร โตษะสุข Jan 2022

การศึกษาเรื่องโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ และโครงการ Wellness City จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ธันยพร โตษะสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุดำเนินการโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุกับค่านิยมสำคัญของ 3 พาราไดม์ทางการบริหารจัดการภาครัฐ (3) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในโครงการที่พักอาศัยที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เเละ (4) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ การศึกษาจากเอกสารและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ทั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้บริหารโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จำนวน 1 คน และโครงการ Wellness City จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 คน จากการวิจัยพบว่ากรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management: OPM) เป็นค่านิยมหลัก โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย มีหลักการบริหารจัดการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS) เป็นค่านิยมหลัก และโครงการ Wellness City มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) เป็นค่านิยมหลัก อย่างไรก็ตามผู้เขียนมองว่าทุกการบริหารจัดการต้องมีความผสมผสานกันของทั้ง 3 พาราไดม์ทางการบริหารจัดการภาครัฐที่ต้องนำมาบริหารจัดการทั้ง 3 พาราไดม์ให้เกิดความสมดุล โดยมีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่าเป็นพื้นฐานมีโครงสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง มีหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจ นึกหลักความคุ้มค่า มีตัวชี้วัดผลการทำงานของบุคคลเเพื่อคัดกรองคนที่มีประสิทธิภาพในองค์กร และเป็นองค์กรที่มีความเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีมุมมองต่อประชาชนเป็นพลเมืองตื่นรู้ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรที่สามารถตรวจสอบได้ มีคุณธรรมด้วยการใช้หลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ เมื่อมีการบริหารจัดการองค์กรที่ดีไม่ว่าจากภาคส่วนใดก็สามารถขับเคลื่อนสังคมก่อให้เกิดเป็นสังคมที่ดีสืบต่อไปได้


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนารายบุคคลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป กรณีศึกษา สถาบันพระปกเกล้า, เจษฎากร อรภักดี Jan 2022

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนารายบุคคลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป กรณีศึกษา สถาบันพระปกเกล้า, เจษฎากร อรภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป กรณีศึกษา สถาบันพระปกเกล้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพจากแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม (IDP) ของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม IDP ของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของแต่ละตำแหน่งงานในการเตรียมความพร้อมสำหรับความก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไป และผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนด IDP และปฏิบัติงานร่วมกันภายในสถาบัน จากผลการศึกษา พบว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม IDP ของพนักงานระดับปฏิบัติการวิชาชีพและปฏิบัติการทั่วไปส่งผลต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตาม IDP ของสถาบันพระปกเกล้า โดยพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการอบรม มีความรู้และเข้าใจต่องานที่รับผิดชอบอยู่ หรือมีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องที่เข้ารับการอบรมมากขึ้น สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม และสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากการอบรมให้กับบุคคลอื่นหรือผู้ร่วมงานได้ ซึ่งมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามเกณฑ์ IDP ดังกล่าวคือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน และระดับการศึกษา เนื่องจากการสะสมประสบการณ์การศึกษา ความรู้ความสามารถ ความถนัดต่าง ๆ ที่ผ่านในอดีตมาเข้ามามีส่วนช่วยในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ 2) ปัจจัยที่ได้รับมาจากงาน ได้แก่ ชนิดของงาน และสถานภาพทางอาชีพ เนื่องจากหากพนักงานต้องการที่จะมีสถานภาพทางอาชีพที่ดีหรือการเลื่อนระดับตำแหน่งงาน พนักงานต้องปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ได้รับการประเมินผลปฏิบัติการที่สูงขึ้นตามที่คาดหวังจากผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา และ 3) ปัจจัยที่ควบคุมได้โดยฝ่ายบริหาร ได้แก่ ความมั่นคงทางรายได้ สวัสดิการ และโอกาสก้าวหน้าในงาน เนื่องจากปัจจัยที่ควบคุมได้โดยฝ่ายบริหารนั้น มีระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดอัตราเงินเดือน และโอกาสก้าวหน้าในงาน ซึ่งผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานตามประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในแต่ละปีของพนักงาน นอกจากนี้ จากผลการศึกษา ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม IDP คือ ในด้านการมีส่วนร่วม ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาและพนักงานควรกำหนด IDP ร่วมกันตามคู่มือแผนพัฒนาบุคลากรสถาบันพระปกเกล้าเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง พนักงานควรศึกษาคู่มือแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ทราบแผนการอบรมรายบุคคลตามกลุ่มของตนเอง อันจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนารายบุคคลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แนวทางการส่งเสริมสำนักงานจังหวัดนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-Saraban) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยมาใช้ให้เป็นแนวทางเดียวกัน, เนตรชนก สุขสวัสดิ์ Jan 2022

แนวทางการส่งเสริมสำนักงานจังหวัดนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-Saraban) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยมาใช้ให้เป็นแนวทางเดียวกัน, เนตรชนก สุขสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งเสริมสำนักงานจังหวัดนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Saraban) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยมาใช้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและรูปแบบการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ และเพื่อหาแนวทางส่งเสริมให้สำนักงานจังหวัดทุกแห่งนำเอาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้อย่างครบวงจร งานศึกษามีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า การรับ-ส่งเอกสารผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แบ่งเป็น 2 ระบบ ได้แก่ ระบบการรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยกับสำนักงานจังหวัด และระบบการรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสำนักงานจังหวัดกับหน่วยงานภายในจังหวัด ปัจจุบันมีสำนักงานจังหวัด 20 แห่ง ได้ใช้ระบบการรับ-ส่งอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่สำนักงานจังหวัด 56 แห่ง ได้พัฒนาระบบรับ-ส่งเอกสารผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของตนเอง การผลักดันจากผู้นำองค์กรเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ระบบรับ-ส่งเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยควรมีกลไกผลักดันในกรณีที่ไม่ได้มีการใช้ระบบแบบครบวงจร โดยจัดตั้งทีมงานด้านเทคนิคจากส่วนกลางสนับสนุนสำนักงานจังหวัด รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาระบบรับ-ส่งเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร


การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา เรื่อง 9-1-1, เพชรรพี รังษี Jan 2022

การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา เรื่อง 9-1-1, เพชรรพี รังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หน่วยปฏิบัติงานดับเพลิงถือเป็นหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในสังคม และเพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อาจจะส่งผลกระทบในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ ภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาภาวะผู้นำ กรณีศึกษา ซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา 9-1-1 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของตัวละคร Robert Wade Nash (Bobby) หัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานดับเพลิง สถานีที่ 118 จากซีรีส์โทรทัศน์อเมริกา 9-1-1 ทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤต โดยวิเคราะห์ผ่านแนวคิดภาวะผู้นำตามแนวคิดตาข่ายการจัดการ (The Managerial Grid) ของ Robert Blake และ Jane Mouton (1964) ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครโรเบิร์ต นาช หรือบ๊อบบี้ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการกู้ภัย สถานีที่ 118 ประจำเมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบ 9,9 หรือผู้นำที่เน้นความเป็นทีม ทั้งหมด 54 ตอน นับเป็น 87.09% จากจำนวนตอนทั้งหมดที่ได้มีตัวละครบ๊อบบี้ปรากฏขึ้น โดยลักษณะพฤติกรรมภาวะผู้นำรองลงมาเป็นผู้นำในรูปแบบ 1,9 หรือผู้นำที่เน้นการจัดการแบบสมาคม ทั้งหมด 4 ตอน และบ๊อบบี้ได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมแบบ1,9 และ 5,5 แบบละ 2 ตอน จากลักษณะพฤติกรรมเช่นนี้ ส่งผลให้ตัวบ๊อบบี้สามารถบริหารจัดการภายใต้ภาวะวิกฤตได้ดี ทั้งยังได้รับความยกย่องยอมรับ และเป็นที่รักของสมาชิกในองค์การเสมอมา


ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสํานักงานคณะกรรมการอัยการ, กฤตบุญ แก้วโชติ Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสํานักงานคณะกรรมการอัยการ, กฤตบุญ แก้วโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการอัยการ และศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการอัยการ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ซึ่งประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยแจกแบบสอบถามให้กับข้าราชการธุรการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการอัยการ จำนวน 45 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งจะเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานคณะกรรมการอัยการ จำนวน 7 คน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยตารางแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการอัยการ เพื่ออธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปด้วยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แล้วนำมาอธิบายข้อสรุปให้กับงานวิจัยในครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านผู้นำองค์กร 2) ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน และ 3) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการอัยการ และในส่วนของ 1) ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากร และ 2) ความพร้อมเกี่ยวกับงบประมาณและโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการอัยการ


การศึกษาวิจัยกระบวนการผลิตสินค้าข้าวเพื่อส่งออกของประเทศไทย, กัญจน์ภิเษกฐ์ สุวรรณรัตน์ Jan 2022

การศึกษาวิจัยกระบวนการผลิตสินค้าข้าวเพื่อส่งออกของประเทศไทย, กัญจน์ภิเษกฐ์ สุวรรณรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ จากการที่ปริมาณการส่งออกสินค้าข้าวของไทยเป็นส่วนที่สำคัญของการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวของประเทศไทยประสบกับปัญหาท้าทายหลายประการ อาทิ การเพิ่มขึ้นของประเทศผู้ส่งออกสำคัญรายอื่น ที่มีศักยภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมข้อมูลในที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย รวมทั้งแนวโน้มการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของประเทศไทย ทั้งกระบวนการผลิตสินค้าข้าวและกระบวนการในการส่งออกสินค้าข้าวของไทย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก ทั้งการใช้เทคโนโลยี การเพิ่มมูลค่าสินค้า รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันอื่นของประเทศไทยอื่นๆ การวิจัยในครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงจุดแข็งที่ควรส่งเสริมและจุดอ่อนที่ต้องมีการพัฒนา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาความเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจต่อไป


ปัจจัยด้านความเครียดในการทำงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพิกัดอัตราศุลกากร, จิรัฏฐ์ จิตอรุโณทัย Jan 2022

ปัจจัยด้านความเครียดในการทำงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพิกัดอัตราศุลกากร, จิรัฏฐ์ จิตอรุโณทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเครียดในการทำงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมศุลการกรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพิกัดอัตราศุลการกร ในการนี้ผู้วิจัยเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ กองมาตรฐานพิกัดอัตราศุลกากร และกองนโยบายและอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากร รวมจำนวน 105 คน โดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในการทำงานแบบภาพรวมในระดับปานกลาง และพบว่าปัจจัยที่มีค่าระดับความเครียดในการทำงานสูงที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะงาน รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านโครงสร้างและบรรยากาศในองค์การ ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ปัจจัยด้านบทบาทหน้าที่ และปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลตามลำดับ อีกทั้งในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในระดับมาก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านได้พบว่า กลุ่มตัวอย่างประเมินว่าตนเองมีประสิทธิภาพด้านคุณภาพผลงานมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านระยะเวลา และด้านปริมาณผลงานตามลำดับ นอกจากนี้ในกรณีที่เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ข้อค้นพบที่สำคัญในการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านความเครียดจำนวน 4 ใน 5 ด้านมีลักษณะแปรผกผันกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านพิกัดอัตราศุลกากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือกล่าวอีกนัยได้ว่าถ้ากลุ่มตัวอย่างประเมินว่าตนเองไม่ค่อยมีความเครียดในการปฏิบัติงาน พวกเขาก็จะยิ่งประเมินว่าตนเองมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยความเครียดด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านพิกัดอัตราศุลกากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ประการใด


ความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสู่การเป็นตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ณ สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน, ชญาณี นันตสุวรรณ Jan 2022

ความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสู่การเป็นตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ณ สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน, ชญาณี นันตสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และศึกษากระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้งของกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน รวมถึงศึกษาบทบาท การปรับตัว และปัญหาอุปสรรคของข้าราชการ โดยกำหนดรูปแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน คือ ข้าราชการที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ณ สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ และข้าราชการที่ครบวาระจากตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และตำแหน่งที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) รวมถึงข้าราชการของกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ข้าราชการมีความก้าวหน้าในอาชีพสู่การดำรงตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) และที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ได้แก่ 1) ประสบการณ์ 2) ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ 3) ลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4) ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน และ 5) แรงจูงใจและผลตอบแทน แต่ขาดปัจจัยเรื่องการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพของกองบริหารทรัพยากรบุคคลที่ยังมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติที่ยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร และเมื่อข้าราชการผ่านกระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ไปประจำการ ณ สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ ข้าราชการได้มีบทบาทหน้าที่ การปรับตัวการทำงานในต่างประเทศ และปัญหาอุปสรรค ซึ่งสามารถนำมาสู่ข้อเสนอแนะของการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ และการพัฒนาศักยภาพตนเองของข้าราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ให้มีการสั่งสมประสบการณ์ องค์ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานที่สำคัญของข้าราชการไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพต่อไป


การศึกษาการปรับตัวต่อการจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง, ชนกนันท์ อุดร Jan 2022

การศึกษาการปรับตัวต่อการจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง, ชนกนันท์ อุดร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาการปรับตัวต่อการจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง” ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่จากส่วนงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน กรมการปกครอง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำงบประมาณของกรมการปกครอง จำนวน 5 คน และผู้บริหารกรมการปกครองที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำงบประมาณของกรมการปกครอง จำนวน 1 คนและการหาข้อมูลแบบปฐมภูมิ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดทำงบประมาณของกรมการปกครอง 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง โดยงานวิจัยดังกล่าว พบว่า ปัจจัยภายในที่ผลต่อการพัฒนากลยุทธ์การจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง ได้แก่ โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ บุคลากร รูปแบบ ทักษะ และค่านิยมร่วม ซึ่งปัจจัยภายในที่ไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนา ได้แก่ ระบบ ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการกลยุทธ์การจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ของกรมการปกครอง ได้แก่ เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ส่วนปัจจัยภายนอกที่ไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาได้แก่ ได้แก่ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อม และกลยุทธ์การจัดทำงบประมาณรูปแบบใหม่ของกรมการปกครองมีลักษณะที่เป็นการดำเนินการในกระบวนการรูปแบบเดิมที่มีการใช้วิธีการที่แตกต่างไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงาน ผ่านการจัดตั้ง “ฝ่ายวิเคราะห์และจัดทำคำของบประมาณเชิงยุทธศาสตร์” ขึ้นมา เพื่อรับผิดชอบในเรื่องของการจัดทำงบประมาณโดยเฉพาะ จึงส่งผลให้มีวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ให้ตอบสนองการทำงานในปัจจุบัน มีการประสานงานมากขึ้น มีการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม แต่อย่างไรก็ตามกลับพบว่าไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์รูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ก็ไม่มีการประชุมเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงาน


การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มเพศหลากหลายและการคุ้มครองสิทธิเพศหลากหลายในหน่วยงานภาครัฐ: ศึกษากรณีข้าราชการกรมการปกครอง, ชลินทรา ปรางค์ทอง Jan 2022

การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มเพศหลากหลายและการคุ้มครองสิทธิเพศหลากหลายในหน่วยงานภาครัฐ: ศึกษากรณีข้าราชการกรมการปกครอง, ชลินทรา ปรางค์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งตอบคำถามว่า การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศที่ข้าราชการกรมการปกครอง กลุ่มเพศหลากหลาย (LGBTI) ต้องประสบมีลักษณะอย่างไรบ้าง และกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมการปกครองมีการคุ้มครองสิทธิของ LGBTI มากน้อยเพียงใด โดยผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลและสิทธิมนุษยชนของเพศหลากหลายซึ่ง ประกอบด้วย สิทธิที่จะแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศ สิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และสิทธิที่จะไม่ถูกคุกคามทางเพศ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 13 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ LGBTI ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 10 คน และข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกองการเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คน งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบว่า ลักษณะของละเมิดสิทธิและการเลือกปฏิบัติต่อข้าราชการ LGBTI ในทางกฎหมายไม่ได้ปรากฏชัด และไม่ได้กีดกันต่อการเข้ามาทำงานที่กรมการปกครอง แต่เนื่องจากกรมการปกครองที่มีภาพลักษณ์ด้านความเข้มแข็งมั่นคงแบบชายแท้ ทำให้ผู้ที่ประสงค์จะแสดงออกไม่ตรงกับเพศกำเนิด โดยเฉพาะเพศกำเนิดชาย ได้รับผลกระทบในหน้าที่การงานตามมาอยู่เสมอ จึงทำให้ข้าราชการ LGBTI ที่ประสงค์จะเติบโตในหน้าที่การงานในระดับสูงตัดสินใจที่จะปกปิดอัตลักษณ์ทางเพศของตนต่อบุคคลอื่น ๆ โดยการละเมิดสิทธิและการเลือกปฏิบัติทางเพศที่ข้าราชการ LGBTI ต้องประสบนั้นมีความซ้อนทับกับกลุ่มข้าราชการเพศหญิงของกรมการปกครองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมการปกครอง พบว่าขั้นตอนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ และการพ้นสภาพการเป็นบุคคลภาครัฐ ไม่มีผลกระทบต่อข้าราชการ LGBTI แต่ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การใช้ประโยชน์จากบุคลากร และการประเมินผลปฏิบัติงาน ยังไม่มีกระบวนการเพื่อคุ้มครองต่อสิทธิที่จะแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศ สิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และสิทธิที่จะไม่ถูกคุกคามทางเพศ


ผลกระทบของมาตรการ Work From Home ที่มีต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาการประปานครหลวง, ชวิศา เสาวจันทร์ Jan 2022

ผลกระทบของมาตรการ Work From Home ที่มีต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาการประปานครหลวง, ชวิศา เสาวจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของมาตรการปฏิบัติงาน ณ ที่พำนักอาศัย (Work from Home) ต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาการประปานครหลวง (กปน.) โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากพนักงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล กปน. จำนวน 29 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จำนวน 4 คน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการ Work from Home ที่มีต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษา กปน. และ 2. เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อมาตรการ Work from Home โดยการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Analysis and Design) 2. ด้านการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Development and Implementation) และ 3. ด้านการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Evaluation) ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผลกระทบของมาตรการ Work from Home ต่อการปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน โดยผลกระทบอยู่ในระดับน้อยทั้ง 3 ด้าน แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนในแต่ละด้านมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย ซึ่งสอดคล้องกันกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่พบว่า การปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลแต่ละด้านได้รับผลกระทบจากมาตรการ Work from Home ที่แตกต่างกัน โดยเรียงลำดับด้านที่ได้รับผลกระทบจากมากไปน้อย ดังนี้ 1. ด้านการวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้รับผลกระทบมากที่สุด 2. ด้านการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้รับผลกระทบรองลงมา และ 3. ด้านการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้รับผลกระทบน้อยที่สุด


การนำระบบติดตามทางศุลกากรรูปแบบกุญแจปิดผนึก (E - Lock) ไปปฏิบัติ กรณีศึกษา ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ, ชุติเดช เจียวท่าไม้ Jan 2022

การนำระบบติดตามทางศุลกากรรูปแบบกุญแจปิดผนึก (E - Lock) ไปปฏิบัติ กรณีศึกษา ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ, ชุติเดช เจียวท่าไม้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษากระบวนการนำระบบติดตามทางศุลกากรในรูปแบบระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock System) ไปปฏิบัติ ณ ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และ (2) เพื่อศึกษาปัญหาหรืออุปสรรคในขั้นตอนการนำระบบติดตามทางศุลกากรในรูปแบบระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock System) ไปปฏิบัติ ณ ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 11 คน ที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำระบบติดตามทางศุลกากรในรูปแบบระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock System) ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการนำระบบติดตามทางศุลกากรในรูปแบบระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock System) ไปปฏิบัตินั้น มีกระบวนการสำคัญอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเอกซเรย์ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับระบบติดตามทางศุลกากรในรูปแบบระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock System) ทั้งนี้ ปัญหาและอุปสรรคในการนำระบบติดตามทางศุลกากรในรูปแบบระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock System) ไปปฏิบัตินั้น จะมีอยู่ 3 ประการสำคัญ คือ ปัญหาจากระบบ ปัญหาจากบุคลากร และปัญหาจากทรัพยากร


การจัดการทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 :กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ธนรัตน์ มุ่ยละมัย Jan 2022

การจัดการทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 :กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ธนรัตน์ มุ่ยละมัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษาวิจัยเรื่อง “การจัดการทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (2) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการปิดไม่ให้ผู้โดยสารเข้าประเทศเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ที่กระทบต่อการถ่ายทอดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร (3) เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมแผนการรับมือหากปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยมีการเก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านผู้ให้ข้อมูล 8 ท่าน ซึ่งเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรสังกัดสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมศุลกากร ผลการศึกษา พบว่า (1) ทักษะความรู้ที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรใช้ในการปฏิบัติงานแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ การสังเกต การดูภาพ X-ray การตรวจค้นผู้โดยสาร และความรู้ในข้อกฎหมาย (2) รูปแบบการจัดการถ่ายทอดทักษะความรู้เป็นแบบผสมผสานระหว่างการจัดการอย่างเป็นระบบ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (3) นโยบายของภาครัฐในการปิดประเทศงดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการจัดการและถ่ายทอดทักษะความรู้ในการปฏิบัติงาน 2 ด้านหลัก ได้แก่ การที่เจ้าหน้าที่ใหม่ได้รับการฝึกฝนเรียนรู้จากสถานการณ์จริงค่อนข้างน้อย และการสูญหายของทักษะความรู้ของเจ้าหน้าที่เก่าที่มีทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเนื่องจากการโยกย้ายประจำปี ผลลัพธ์ดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เช่น การสร้างคู่มือปฏิบัติงานที่มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย การออกแบบหลักสูตรอบรมความรู้ให้สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้าอบรม และการพัฒนาการฝึกสอนงานโดยใช้ระบบพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ


การจัดการขยะของกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี, ธรรณชนก สังข์ชัย Jan 2022

การจัดการขยะของกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี, ธรรณชนก สังข์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์หลักของสารนิพนธ์ฉบับนี้คือการศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการส่วนขยะมูลฝอยชุมชน กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ด้านสิ่งแวดล้อม), รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล, ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม, หัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ (สำนักงานเขตปทุมวันและสำนักงานเขตจตุจักร), หัวหน้าพนักงานกวาดและพนักงานเก็บขยะมูลฝอย (สำนักงานเขตคลองเตย) ผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี มีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะขององค์กร, ประสิทธิภาพในการวางแผนและควบคุม, ภาวะผู้นำและความร่วมมือ, การเมืองและการบริหารสิ่งแวดล้อมภายนอก, และกฎหมาย ในขณะเดียวกันก็พบว่าแนวทางการจัดการขยะตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวน 8 นโยบาย ก็มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ซึ่งก็คือการมีเป้าหมายร่วมกันเกี่ยวกับการลดและควบคุมปริมาณมูลฝอย ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ อย่างไรก็ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็มีความแตกต่างจากแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ในประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มรถขยะขนาดเล็กสำหรับการเก็บขนขยะในซอยต่าง ๆ และการเพิ่มสวัสดิการพนักงานเก็บขยะ เมื่อพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ประเทศไทยควรกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาขยะให้เป็นนโยบายสำคัญของทุกรัฐบาล รวมถึงการกำหนดกฎหมายควบคุมการจัดการขยะในภาพรวมของประเทศให้มีความครอบคลุมการจัดการขยะทั้งระบบ พร้อมทั้งการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะ ในภาพรวมของประเทศ ในขณะเดียวกันผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้บริหารทุกหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครควรกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาขยะให้เป็นโครงการสำคัญทุกปีงบประมาณ อีกทั้งต้องพิจารณาปรับข้อบัญญัติเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงปรับปรุงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อเพิ่มสวัสดิการประกันอุบัติเหตุให้กับพนักงานเก็บขนมูลฝอย ตลอดจนสร้างภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาขยะของกรุงเทพมหานครโดยการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม


การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี:กรณีศึกษา งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น, นนทกานต์ จริงจิตร Jan 2022

การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี:กรณีศึกษา งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น, นนทกานต์ จริงจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี: กรณีศึกษา งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และศึกษากระบวนการการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รวมไปถึงเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความโปร่งใสของการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาหนังสือ งานวิจัย กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการรวบรวมข้อมูลวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบกลาง ในทุกรายการของงบกลาง ตั้งแต่ปีงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2545 – 2566 และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในแต่ละปีงบประมาณมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงจะไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเสียส่วนใหญ่ ส่งผลให้วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจากในอดีต และพบว่ากระบวนการการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้แก่หน่วยรับงบประมาณที่ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวนั้น เป็นอำนาจในการอนุมัติจัดสรรของฝ่ายบริหาร และ ไม่มีการเปิดเผยมูลการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวต่อประชาชน จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้รัฐควรปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้มีการเปิดเผยข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยละเอียดแก่สาธารณชน


องค์ประกอบความสำเร็จของธุรกิจและคุณลักษณะของผู้นำกับความสอดคล้องของแนวคิดที่ปรากฏในหนังสือ Good To Great ของ จิม คอลลินส์กรณีศึกษา : บริษัทฯ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และ Startup ที่ประสบความสำเร็จของไทย, นรัฐ คุณะวัฒนากรณ์ Jan 2022

องค์ประกอบความสำเร็จของธุรกิจและคุณลักษณะของผู้นำกับความสอดคล้องของแนวคิดที่ปรากฏในหนังสือ Good To Great ของ จิม คอลลินส์กรณีศึกษา : บริษัทฯ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และ Startup ที่ประสบความสำเร็จของไทย, นรัฐ คุณะวัฒนากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึง 1.ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การธุรกิจ โดยอาศัยแนวคิดที่ปรากฏในหนังสือจากบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great) ของ จิม คอลลินส์ และ 2.องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้นำองค์การธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ โดยอาศัยแนวคิดผู้นำระดับที่ 5 ที่ปรากฏในหนังสือ จากบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great) ของ จิม คอลลินส์ และ ภาวะผู้นำระดับ 5 ของ จอห์น ซี แม็กซ์เวลล์ เพื่อที่จะสามารถนำผลวิจัยไปปรับใช้และพัฒนาต่อยอด ทั้งในด้านของคุณลักษณะผู้นำองค์กรรวมถึงวิธีการและกระบวนการในการบริหารจัดการองค์กรของไทยให้สามารถประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบไปด้วยองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน 3 องค์กร ที่ คือ 1.องค์กรที่พัฒนาที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม 2.องค์กรที่พัฒนาที่พักอาศัยประเภทหมู่บ้านจัดสรร และ 3.องค์กรผู้รับเหมาก่อสร้างงานโครงการประเภทห้างสรรพสินค้าและห้างสะดวกซื้อขนาดใหญ่ และยังศึกษาวิจัยองค์กรธุรกิจสตาร์ทอัพ (STARTUP) ที่ประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วอีก 2 องค์กร นั่นคือ 4.องค์กรที่เชี่ยวชาญงานด้านออแกไนซ์เซอร์ และ 5.องค์กรที่เชี่ยวชาญในงานด้านการให้บริการด้านเวที แสง-สี-เสียง และภาพในงานอีเว้นท์ต่าง ๆ โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูล เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับก่อการตั้งและการเปลี่ยนผ่านองค์กร รวมถึงการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรตัวอย่างที่ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ด้วย สามารถสรุปผลการศึกษาวิจัยได้ดังนี้คือ องค์กรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของไทยที่ทำการศึกษาวิจัย “ไม่มีความสอดคล้อง” ทั้งในด้านแนวคิดหรือแนวทางในการบริหารที่ปรากฏในหนังสือจากบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great) ของ จิม คอลลินส์ โดยปัจจัยสำคัญที่องค์กรตัวอย่างมีคล้ายคลึงกันเพียง 1 ปัจจัย (จาก 6 ปัจจัย) นั่นคือ แนวความคิดแบบตัวเม่น (เลือกทำในสิ่งที่องค์กรเชี่ยวชาญที่สุด) คือ การที่องค์กรรู้ว่าตนเองเก่งหรือมีความเชี่ยวชาญในเรื่องใด และทุ่มเทลงมือปฏิบัติเฉพาะในสิ่งที่ตนเองถนัดและเชี่ยวชาญนั้นให้เป็นเลิศ และพัฒนาต่อยอดสิ่งนั้นให้กลายเป็นสิ่งที่องค์กรสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเลิศ ในส่วนของผลวิจัยด้านคุณลักษณะของผู้นำองค์การธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จของไทยนั้น พบว่า “ไม่มีความสอดคล้อง” กับแนวคิดผู้นำระดับที่ 5 ที่ปรากฏในหนังสือ จากบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great) ของ จิม คอลลินส์ …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่, พิพัฒน์ ปิติสิวะพัฒน์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่, พิพัฒน์ ปิติสิวะพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเก็บข้อมูลวิจัยแบบผสม (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน โดยจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ผ่านประสบการณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ และจากการวิเคราะห์และประมวลผล พบว่า ปัจจัยด้านเพศ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพศชายส่วนใหญ่มีระดับผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในระดับที่ต่ำกว่าเพศหญิง สำหรับปัจจัยด้านอายุ พบว่าหากผู้ใหญ่บ้านมีอายุเพิ่มมากขึ้น ผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ก็จะลดลงตามไปด้วย นั้นหมายความว่า อายุของผู้ใหญ่บ้านมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยด้านระดับการศึกษา พบว่าหากผู้ใหญ่บ้านมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้นก็จะส่งผลต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่เพิ่มสูงขึ้น และปัจจัยสุดท้ายคือ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง พบว่าเมื่อผู้ใหญ่บ้านมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่นานขึ้น จะทำให้ผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ลดลง และเมื่อพิจารณาผลการวิจัย ในปัจจัยเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่งกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ใหญ่บ้านพบว่า การที่ผู้ใหญ่บ้านยิ่งดำรงตำแหน่งนานผลการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งลดลงนั้น เกิดจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านนั้นเปลี่ยนแปลงไป หรือผู้ใหญ่บ้านที่อายุเพิ่มมากขึ้นไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม หรือละเลยการหาความรู้เพิ่มเติม ทำให้ผู้ใหญ่บ้านรุ่นใหม่ ที่พึ่งเข้ารับตำแหน่งมีผลการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีกว่า สำหรับผลการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีจำนวน 3 ข้อ อันได้แก่ คำถามข้อแรกเรื่องความสำคัญของการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้าน พบว่า ผู้ใหญ่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องมีข้อสรุปเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำหมู่บ้านมีความสำคัญมาก หากแต่จะต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ รู้จักระเบียบกฎหมาย และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณในเรื่องของระดับการศึกษา ที่หากมีการศึกษาที่สูงขึ้นจะทำให้ผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ได้ดีมากขึ้น ข้อที่ 2เรื่องความแตกต่างของการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านระหว่างในอดีตกับปัจจุบัน พบว่า ผู้ใหญ่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีข้อสรุปว่า ความแตกต่างของการปฏิบัติงานในอดีตและปัจจุบันแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้ใหญ่บ้านที่เป็นสุภาพสตรีเพิ่มมากขึ้น และผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับเลือกตั้งเพราะความรู้ ความสามารถ โดยไม่ได้มาจากตระกูลผู้นำเหมือนในอดีต ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณในเรื่องของเพศ ซึ่งบ่งบอกว่าหากมีเพศต่างกัน ผลของการปฏิบัติงานจะแตกต่างกัน และพบว่าเพศหญิงมีผลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่.ในอัตราร้อยละที่สูงกว่าเพศชาย และข้อท้ายสุด คือข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พบว่า ควรจัดให้มีการฝึกอบรมในเรื่องของระเบียบกฎหมาย และส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน เพราะผู้ใหญ่บ้านที่มีอายุมาก หรือดำรงตำแหน่งมานานจะจดจำแบบเดิม ๆ ที่เคยปฏิบัติ หากแต่กฎหมายได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการผิดพลาดในการปฏิบัติงานได้ สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณในเรื่องอายุและระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง หากอายุและระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่มากขึ้น ส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานลดลง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ธนารีย์ พิชญ์เมธาชัย Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ธนารีย์ พิชญ์เมธาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลไกในการขับเคลื่อนการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รูปแบบการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสังเกตการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในกลุ่มงานรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสำนักงานสีเขียวของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งหมด 11 คน ผลสัมภาษณ์และผลการสังเกตการณ์ถูกนำมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่าคำสัมภาษณ์และผลการสังเกตการณ์ในเรื่องการให้ความร่วมมือในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าสอดคล้องกัน กล่าวคือ บุคลากรทั้งหมดให้ความร่วมมือในเรื่องการเปิดไฟเฉพาะบริเวณที่ใช้งานและการปิดสวิตช์ไฟฟ้าหลังเลิกงาน พฤติกรรมที่ไม่ได้ทำแต่เป็นข้อยกเว้นคือการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียสเนื่องจากสำนักงานควบคุมเครื่องปรับอากาศการศูนย์กลาง ในประเด็นการผลักดันโครงการนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์เป้าหมายโครงการและลักษณะการมีส่วนร่วมที่คาดหวังในบุคลากร การเสริมแรงด้วยกิจกรรม และรายงานความคืบหน้าของโครงการอยู่เสมอ


อัตลักษณ์ร่วมและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน: กรณีศึกษา อาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ, ภัณฑิรา หนูในน้ำ Jan 2022

อัตลักษณ์ร่วมและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน: กรณีศึกษา อาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ, ภัณฑิรา หนูในน้ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ร่วม (Collective Identity) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ โดยเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสาร และเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 12 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านอายุ ปัจจัยด้านอาชีพ ปัจจัยด้านรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) และปัจจัยด้านการเป็นคนในพื้นที่ เป็นอัตลักษณ์ร่วมที่โดดเด่นของอาสาสมัครแรงงาน โดยแรงจูงใจในการเป็นอาสาสมัครแรงงาน 3 อันดับสูงสุด คือ 1) ความต้องการช่วยเหลือผู้อื่น ต้องการทำประโยชน์เพื่อสังคม 2) ความต้องการทำงานร่วมกับผู้อื่น ต้องการเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น และ 3) ความต้องการสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง ขณะที่ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและอาสาสมัครแรงงาน เช่น อาสาสมัครแรงงานต้องการให้มีการจัดอบรมเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น หน่วยงานไม่มีสวัสดิการการทำงานมอบให้อาสาสมัครแรงงาน จำนวนอาสาสมัครแรงงานไม่เพียงพอในการขับเคลื่อนภารกิจ เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของอาสาสมัครแรงงาน อาทิ การจัดอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนภารกิจให้แก่อาสาสมัครแรงงานเป็นประจำ การเพิ่มสวัสดิการการทำงานอย่างค่าเดินทางในการลงพื้นที่ รวมถึงการมอบรางวัลในโอกาสต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้อาสาสมัครแรงงานตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพและทำงานให้กับกระทรวงแรงงานต่อไป


การปรับตัวสู่การทำงานวิถีใหม่ “การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working)”: กรณีศึกษาองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการกิจการโทรทัศน์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, รังสิญาพร แสงลับ Jan 2022

การปรับตัวสู่การทำงานวิถีใหม่ “การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working)”: กรณีศึกษาองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการกิจการโทรทัศน์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, รังสิญาพร แสงลับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) และกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับการทำงานรูปแบบดังกล่าว ของพนักงานในองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการกิจการโทรทัศน์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้างานหรือพนักงานอาวุโสและพนักงานประจำหรือพนักงานสัญญาจ้าง ในสังกัดแผนกสื่อสารการตลาดขององค์กรธุรกิจดังกล่าว ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวขององค์การต่อแนวทางการทำงานแบบผสมผสาน พบว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นแรงขับสำคัญทำให้องค์การมีการปรับตัวสู่การทำงานแบบผสมผสาน อีกทั้งยังพบว่าวัฒนธรรมองค์การภายหลังการปรับสู่การทำงานแบบผสมผสานมีลักษณะเป็นการให้ความสำคัญกับผลงานและคุณภาพของงานรายบุคคลเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ให้แก่พนักงาน อย่างไรก็ตามในแง่ของวัฒนธรรมย่อยได้พบว่าแผนกสื่อสารการตลาดค่อนข้างมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงานแตกต่างจากแผนกอื่น และมีแนวโน้มที่จะดำเนินการใช้รูปแบบการทำงานผสมผสานอย่างต่อเนื่องถึงแม้ในอนาคตจะไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม สำหรับความเชื่อมโยงระหว่างภูมิหลังส่วนบุคคลกับการปรับตัวสู่การทำงานแบบผสมผสาน พบว่าเพศหญิงกับเพศชายเห็นด้วยกับการทำงานรูปแบบใหม่ แต่เพศหญิงค่อนข้างมีความกังวลมากกว่าเพศชาย อีกทั้ง พนักงานที่มีอายุต่างกันมีความกังวลในประเด็นเดียวกันคือทักษะทางด้านเทคโนโลยีที่ต่างกันอาจทำให้ประสิทธิภาพของงานลดลง นอกจากนี้พนักงานที่สมรสแล้วมองว่าการทำงานแบบผสมผสานสามารถจัดสรรเวลาร่วมกับครอบครัวได้ดี แต่พนักงานสถานภาพโสดมีข้อกังวลเล็กน้อยเกี่ยวกับการหาคู่ครองในอนาคต อนึ่งผู้ที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ไม่มีปัญหาในการทำงานแบบผสมผสานแต่อย่างใด แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ที่มีอายุงานน้อยกว่า 1 ปีกลับค่อนข้างมีความกังวลมากกว่าเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับการทำงานรูปแบบดังกล่าว อย่างไรก็ตามพนักงานทุกตำแหน่งต่างเล็งเห็นตรงกันว่าการทำงานแบบผสมผสานช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นและมีความสุขในการทำงาน


การนำนโยบายแก้ไขปัญความยากจนในมิติด้านรายได้ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี, ศศิวิมล อ้นนา Jan 2022

การนำนโยบายแก้ไขปัญความยากจนในมิติด้านรายได้ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี, ศศิวิมล อ้นนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โดยการใช้รูปแแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศจพ.อำเภอ และประชาชนครัวเรือนเป้าหมายผู้ตกเกณฑ์ยากจน มิติด้านรายได้ รวม 12 คน ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอมีสมรรถนะหลักขององค์การทั้ง 5 ประการ ตามตัวแบบการจัดการ (Management Model) ซึ่งมีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งในด้านผลสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างองค์การ มีทีมพี่เลี้ยงที่ประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำในชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่และรายครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ด้านสถานที่การดำเนินการมีความสะดวก เอื้อต่อการทำกิจกรรมของเจ้าหน้าที่และครัวเรือนเป้าหมาย 3) ด้านบุคลากรบางส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในการปฏิบัติงาน แต่การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องยังไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนศจพ.อำเภอในภาพรวม 4) ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ มีระบบ TPMAP ที่ยังมีข้อบกพร่องในเกณฑ์ตัวชี้วัดบางรายการ และอุปกรณ์ในการส่งเสริมการประกอบอาชีพยังไม่ตรงต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และ 5) ด้านงบประมาณ ศจพ.อำเภอไม่มีงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้โดยตรง จึงต้องอาศัยความร่วมมือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในศจพ.อำเภอวางแผนการดำเนินการร่วมกันเพื่อขอรับงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด โดยในประเด็นความร่วมมือจากปัจจัยด้านบุคลากรและงบประมาณ ศจพ.อำเภอ ควรดำเนินการกำหนดแผนการดำเนินงานและการกำกับติดตามคณะทำงานขับเคลื่อนศจพ.อำเภอ อย่างใกล้ชิด ภายใต้การนำของผู้อำนวยการศจพ.อำเภอ หรือหาหน่วยงานเจ้าภาพหลักเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนโดยตรง และกรณีเครื่องมือการส่งเสริมการประกอบอาชีพยังไม่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของครัวเรือน ศจพ.อำเภอควรมีการปรับบทบาทเป็นศูนย์รวมอาชีพเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับปัญหาและความต้องการของตนเองได้


การศึกษาประสิทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน), ศิริณา กาญจนศิริรัตน์ Jan 2022

การศึกษาประสิทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน), ศิริณา กาญจนศิริรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย และแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูล จากผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผลการวิจัยพบว่า การเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ โดยผู้ประกอบการได้รับความรู้จากการอบรมไปดำเนินในธุรกิจทำให้เกิดประสิทธิผลขึ้น ได้แก่ ด้านการผลิตรูปแบบใหม่ การตลาดที่ทันสมัย การสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า การร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ การย้ายฐานการผลิต และการทำธุรกิจแบบโปร่งใสและรับผิดชอบต่อสังคม 2) ด้านทักษะ สถาบันฯ มีการอบรมผู้ประกอบการหรือแรงงานเพื่อฝึกทักษะเฉพาะด้าน เพื่อทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจในการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่ทันสมัยและเป็นความต้องการของตลาดมากขึ้น และ 3) ด้านทัศนคติ คือผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการเข้าอบรม มีการปรับเปลี่ยน มีการศึกษาความรู้เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจของตนเองประสบความสำเร็จมากขึ้น และมีผลตอบแทนที่ดี โดยการดำเนินงานของสถาบันฯ ทำให้เกิดประสิทธิผลตามพันธกิจในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย อย่างไรก็ตามสถาบันฯ ยังจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางการจัดหาวัตถุดิบจากประเทศต่าง ๆ สู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อช่วยเหลือ แก้ไขความท้าทายข้อจำกัดที่ประเทศไทยไม่มีวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ และเพื่อประสิทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยยิ่งขึ้นไป สถาบันฯ ควรมีการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทหรือแผนระยะยาวร่วมกันระหว่างภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยประสบความสำเร็จในการเตรียมบุคลากรของประเทศให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในทุกระดับ ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การออกแบบ วิศวกรรมการผลิต ทั้งในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และแรงงานฝีมือในระดับต่าง ๆ


การศึกษาแนวทางในการบรรเทาภาวะหมดไฟในการทำงานของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, ศิพงษ์ หนูเทพย์ Jan 2022

การศึกษาแนวทางในการบรรเทาภาวะหมดไฟในการทำงานของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, ศิพงษ์ หนูเทพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางในการบรรเทาภาวะหมดไฟในการทำงานของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะหมดไฟในการทำงาน ปัจจัยและบริบทที่ก่อให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน และแนวทางในการบรรเทาและป้องกันภาวะหมดไฟในการทำงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ปฏิบัติหน้าที่ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า กำลังพลจำนวน 183 นาย ตอบแบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงานกลับมาจำนวน 87 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.54 และพบว่า มีกำลังพลที่มีภาวะหมดไฟในการทำงานในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความอ่อนล้า (Exhaustion) ด้านความเย็นชา (Cynicism) และด้านความมีประสิทธิผลในการทำงาน (Professional Efficacy) จำนวน 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.28 ของผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน 3 อันดับแรก ได้แก่ เงินค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสมเพียงพอ ความกดดันจากผู้บังคับบัญชา และข้อสั่งการที่ไม่สมเหตุสมผลจากองค์กร สำหรับวิธีแก้ไขภาวะหมดไฟในการทำงานด้วยตนเอง ได้แก่ การไม่ทำอะไรเลย การมุ่งสอบสัญญาบัตร การหาอาชีพเสริม การปรับตัว การคิดแต่เรื่องดี การปลีกตัวออกจากงาน การย้ายหน่วยงาน การเปลี่ยนอาชีพ และการไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองเนื่องจากเป็นปัญหาจากระบบและเบื้องบน สำหรับข้อเสนอแนะต่อองค์กรเพื่อบรรเทาภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้แก่ การเพิ่มค่าตอบแทน โดยเฉพาะเงินค่าล่วงเวลาให้เหมาะสมและเป็นธรรม การจัดสรรกำลังพลให้เหมาะสมกับปริมาณงานเพื่อบรรเทาความอ่อนล้าทางร่างกายและจิตใจของกำลังพล และการลดข้อสั่งการที่ไม่สมเหตุสมผล เพื่อลดความเครียดและความกดดันอันนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน


ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานตรวจสอบภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ศุภเชษฐ์ สิทธิสุนทรวงศ์ Jan 2022

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานตรวจสอบภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ศุภเชษฐ์ สิทธิสุนทรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Analysis) ผลการศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเวลาอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านคุณภาพของงาน และด้านปริมาณงานน้อยที่สุดตามลำดับ สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีรายละเอียดดังนี้ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษะส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยด้านลักษะส่วนบุคคลของบุคลากรสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีเพียงด้านแผนกงานที่สังกัด ที่แตกต่างกันสามารถปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยพิจารณาจากด้านเวลา ด้านปริมาณงาน และด้านคุณภาพของงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่และความผูกพันองค์กรของเจ้าหน้าที่ศุลกากร กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, อนันตชัย ศิริสูงเนิน Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่และความผูกพันองค์กรของเจ้าหน้าที่ศุลกากร กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, อนันตชัย ศิริสูงเนิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่และความผูกพันองค์กรของเจ้าหน้าที่ศุลกากร กรณีศึกษา สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่และระดับความผูกพันองค์กรของเจ้าหน้าที่ศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่และความผูกพันองค์กรของเจ้าหน้าที่ศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ศุลกากร จำนวน 191 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูใช้ค่าสถิติโดยวิธีการหา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ T-test F-test และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรอยู่ในระดับปานกลาง โดยความเครียดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านบทบาทหน้าที่ในองค์กร และด้านโครงสร้างองค์กร ตามลำดับ (2) ระดับความผูกพันองค์กรของเจ้าหน้าที่ศุลกากรอยู่ในระดับสูง โดยด้านการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (3) ความเครียดจากการปฏิบัติหน้าที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับความผูกพันองค์กรของเจ้าหน้าที่ศุลกากร


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) กรณีศึกษา ปลัดอำเภอผู้ได้รับการขึ้นบัญชี ปี 2561 และ 2564, อาภากร จันทกิจ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) กรณีศึกษา ปลัดอำเภอผู้ได้รับการขึ้นบัญชี ปี 2561 และ 2564, อาภากร จันทกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) กรณีศึกษา ปลัดอำเภอผู้ได้รับการขึ้นบัญชี ปี 2561 และ 2564 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง และเพื่อศึกษาทำความเข้าใจทัศนคติของข้าราชการกรมการปกครองในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุและการตัดสินใจรับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) ผู้ได้รับการขึ้นบัญชี ปี 2561 และ 2564 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) ของผู้ได้รับการขึ้นบัญชีปี 2561 และ 2564 คือ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต้องการประกอบอาชีพที่ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตได้ ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านความก้าวหน้า ปัจจัยด้านสวัสดิการ ปัจจัยด้านความมั่นคงและปัจจัยด้านครอบครัว และข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) มีทัศนคติที่ดีต่อตำแหน่ง และยังคงมีความศรัทธาในการทำงานในตำแหน่งดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามที่ได้ตั้งใจไว้