Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University

Medical Sciences

Articles 1 - 30 of 533

Full-Text Articles in Entire DC Network

ความเสี่ยงต่อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพบก ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564, นนทนันท์ อัครพรพรหม Jan 2022

ความเสี่ยงต่อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพบก ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564, นนทนันท์ อัครพรพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อในระบบการหายใจ ซึ่งระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วโลกและส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยเล็กน้อยจนรุนแรงถึงเสียชีวิต ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และผู้ป่วยทั่วไปมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการศึกษาที่ผ่านมาเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเป็นหลัก ซึ่งไม่สามารถบอกความเป็นเหตุเป็นผลกันได้ การศึกษาตามรุ่นย้อนหลังฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์ของโรคโควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ 3 กลุ่ม (บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19, ดูแลผู้ป่วยทั่วไป และบุคลากรที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย) ของกองทัพบกระหว่างปี พ.ศ.2563-2564 โดยมีการเก็บข้อมูลด้านส่วนบุคคล ลักษณะงาน และประวัติการติดเชื้อ COVID-19 และการได้รับวัคซีนในช่วงที่ทำการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก 27 แห่ง และครอบคลุมบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 9,576 คน ผลการศึกษาพบว่าอัตราอุบัติการณ์ (ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95) จำแนกตามประเภทบุคลากร คือ บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 1,431.53 (1,208.15, 1,697.25) ราย ต่อ 100,000 คน-ปี บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโรคอื่น ๆ 1,306.34 (970.90, 1,755.65) ราย ต่อ 100,000 คน-ปี และบุคลากรที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย 1,699.81 (1,394.30, 2,069.55) ราย ต่อ 100,000 คน-ปี การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RR) พบว่าความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว (ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95) เท่ากับ 0.86 (0.51, 1.45) และ 0.89 (0.50, 1.61) ตามลำดับสำหรับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่3 การวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยจัดหมวดหมู่เป็นช่วงก่อนและหลังการฉีดวัคซีนนั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากผลการศึกษานี้ แม้ว่าอุบัติการณ์ของการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลังฉีดวัคซีน ซึ่งอาจตรงกับช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงของการระบาดของสายพันธุ์ย่อยเดลต้า โดยสรุป ผลการศึกษานี้บ่งบอกว่าการติดเชื้อโควิด-19 จากชุมชนมีความสำคัญเท่าเทียมกับ (หรืออาจมากกว่า) การติดเชื้อนี้จากการทำงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มนี้ ดังนั้นการป้องกันบุคลกรทางการแพทย์จากเชื้อโควิด-19 และเชื้อโรคอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในการระบาดในอนาคต ควรมุ่งที่แหล่งของเชื้อทั้งจากชุมชนและจากการทำงาน


การศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ, จักรภพ ชัยขจรวัฒน์ Jan 2022

การศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ, จักรภพ ชัยขจรวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์: การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนเป็นหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองฟุ้งกระจายซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคทางเดินหายใจชนิดต่าง ๆ รวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อบุคคลากรทางการแพทย์ การศึกษานี้ต้องการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้กล่องอะคริลิคครอบศีรษะของผู้ป่วยต่อการลดการฟุ้งกระจายของฝอยละอองระหว่างส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัย ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาควบคุมแบบสุ่มในผู้ป่วยที่รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยได้รับการสุ่มให้อยู่ในกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ (กลุ่มศึกษา) หรือกลุ่มที่ไม่กล่องครอบศีรษะ (กลุ่มควบคุม) วัดปริมาณฝอยละอองด้วยเครื่องวัดปริมาณอนุภาคฝอยละอองที่ติดตั้งที่ตำแหน่งวิสัญญีพยาบาลและแพทย์ผู้ส่องกล้องอย่างต่อเนื่องระหว่างทำหัตถการ ศึกษาค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการทำหัตถการและก่อนการทำหัตถการเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณฝอยละอองน้ำลาย รวมทั้งความปลอดภัยของการใช้กล่องครอบศีรษะระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา 196 คน ผู้ป่วย 190 คนได้รับการวิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐานประชากรไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างใบหน้าแพทย์ผู้ส่องกล้องกับปากผู้ป่วย 67.2±4.9 เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของปริมาณฝอยละอองน้ำลายขนาด 0.3, 0.5 และ 1.0 ไมโครเมตรระหว่างทำเทียบกับก่อนทำหัตถการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยที่ตำแหน่งวิสัญญีพยาบาล และ ฝอยละอองน้ำลายขนาด 0.3 ไมโครเมตรที่ตำแหน่งแพทย์ผู้ส่องกล้อง พบว่ามีค่าลดลงในกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ และเพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุม (P<0.001, 0.001, 0.014 และ <0.001 ตามลำดับ) การไอ การเรอ และการเคลื่อนไหวของร่างกายของผู้ป่วยระหว่างรับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนทำให้ฝอยละอองน้ำลายเพิ่มขึ้น ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในการกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ สรุปผล: การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีกล่องครอบศีรษะมีความปลอดภัย และสามารถลดการฟุ้งกระจายของฝอยละอองน้ำลายสู่บุคคลากรทั้งวิสัญญีพยาบาลและแพทย์ผู้ส่องกล้อง


การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดเข็มกระตุ้นบีเอ็นที16บี2 ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์-1 มาแล้ว 2 เข็ม, ศุภพิชญา ภิรมย์ Jan 2022

การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดเข็มกระตุ้นบีเอ็นที16บี2 ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์-1 มาแล้ว 2 เข็ม, ศุภพิชญา ภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของงานวิจัย : การรับประทานยากดภูมิในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตทำให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัส 2 เข็มที่ไม่ดีและไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน การศึกษานี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยปลูกถ่ายไตต่อวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิด บีเอ็นที16บี2หลังได้รับวัคซีนโรคโควิดชนิดแชดด็อกซ์ มาแล้ว 2 เข็ม ระเบียบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงสังเกตชนิดวิเคราะห์ (prospective cohort study) ในผู้ป่วยที่ได้การปลูกถ่ายไตมาแล้วมากกว่า 6 เดือน ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ไม่มีภาวะสลัดไตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาและไม่เคยติดเชื้อโคโรนาไวรัสมาก่อน นำมาฉีดวัคซีนบีเอ็นที16บี2 หลังได้รับวัคซีนแชดด็อกซ์เข็มที่ 2 มาแล้ว 4 สัปดาห์ และตรวจเปรียบเทียบภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามเชื้อโคโรนาไวรัส (anti-SARS-CoV-2 spike antibody) แอนติบอดีเอชแอลเอที่จำเพาะต่อผู้บริจาคไตก่อนและหลังฉีดวัคซีนดังกล่าวไปแล้ว 4 สัปดาห์ ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 115 คนที่เข้ารับการศึกษาพบว่ามีแนวโน้มภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามเชื้อโคโรนาไวรัสเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติหลังได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดบีเอ็นที16บี2จากค่ามัธยฐาน 8.85 บีเอยู/มล. (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 00.00-180.81) ขึ้นเป็น ค่ามัธยฐาน 676.64 บีเอยู/มล. (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 6.02-3,644.03) ( P <0.001) เมื่อศึกษาในกลุ่มย่อยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิกลุ่มที่ไม่มียาไมโครฟีโนเลท (mycophenolate ; MPA) มีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยากดภูมิสูตรมาตรฐานที่มียาไมโครฟีโนเลท ( 113.91 vs 3,060.69 บีเอยู/มล. , P <0.001) และหลังจากการฉีดวัคซีนไม่พบแอนติบอดีเอชแอลเอที่จำเพาะต่อผู้บริจาคไตขึ้นมาใหม่ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงผิดปกติตลอดระยะเวลา 6 เดือน สรุปผลการศึกษา : การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดบีเอ็นที16บี2ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตสามารถกระตุ้นภูมิแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามได้มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับการได้รับวัคซีนชนิดแชดด็อกซ์เพียง 2 เข็ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาไมโครฟีโนเลทในสูตรยากดภูมิพบภูมิขึ้นดีเป็นพิเศษ โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ


ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น Jan 2022

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ได้มีเพียงแค่การฝึกเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและร่างกายเท่านั้นที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว แต่ยังพบว่าการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลไกการควบคุมการทรงตัว ผู้วิจัยจึงสนใจการฝึกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ vestibulo-ocular reflex pathway โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) และ การฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) ต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม YOGA+VSE (n=19) และ กลุ่ม YOGA (n=15) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการฝึกออกกำลังกาย 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการทดสอบ Berg Balance Score, Time Up and Go, การควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกาย (center of pressure) ขณะยืน และการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกาย (center of gravity) ขณะเดิน ก่อนเข้าร่วมการฝึก หลังเข้าร่วมการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ผลจากการศึกษา ภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนกลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) มีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) และภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายขณะเดิน 1 gait cycle และขณะเดินในช่วง single limb stance phase ของทั้งสองกลุ่มมีค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลจากการฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายได้จากค่าคะแนน Berg Balance Score ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการทดสอบ Time Up and Go ที่ลดลง สรุปผลการวิจัย กลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในมีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนลืมตาบนพื้นเรียบดีกว่ากลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบให้ผลไม่แตกต่างกันในการฝึกเพื่อเพิ่มความมั่นคงของร่างกายจากการควบคุมการทรงตัวขณะยืนและขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยส่งเสริมความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาและป้องกันความเสี่ยงจากการหกล้มในผู้สูงอายุเพศหญิงได้


Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC), the most prevalent form of liver cancer, exerts a significant burden on Southeast Asian countries and stands as the third leading cause of cancer-related mortality worldwide. Despite this alarming impact, effective treatments for HCC are lacking, resulting in low survival rates and high recurrence rates. Therefore, a comprehensive understanding of the disease's underlying mechanisms is crucial for the development of novel and potent therapies. Recently, it has been recognized that microRNAs (miRNAs) play a vital role in tumorigenesis, including HCC. Our bioinformatic analysis has highlighted hsa-miR-885-5p as a potential candidate miRNA due to its downregulation in HCC …


Exploring Roles Of Mir-372-3p In Proliferation Of Hepatocellular Carcinoma Cells, Pannathon Thamjamrassri Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-372-3p In Proliferation Of Hepatocellular Carcinoma Cells, Pannathon Thamjamrassri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC) is the most common type of primary liver cancer. HCC has a replicative immortality and sustained proliferation rate. In addition, cell cycle-related protein regulating proliferation in cancer are often found dysregulated, allowing cancer cells to proceed their proliferation uncontrollably. Recently, a small non-coding RNA, microRNA (miRNA), was found to play an important role in numerous biological functions. Specific miRNA may ameliorate or promote cancer progression through different target mRNA. MiR-372-3p has been explored in various cancers such as colon cancer, colorectal cancer, and glioma. However, its functions have been rarely studied in HCC, especially in the aspect …


Classification Of Bacteria And Fungi In Peritoneal Dialysis Fluids Of Patients With Chronic Kidney Disease Based On Metagenomic Analysis, Suthida Visedthorn Jan 2022

Classification Of Bacteria And Fungi In Peritoneal Dialysis Fluids Of Patients With Chronic Kidney Disease Based On Metagenomic Analysis, Suthida Visedthorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chronic kidney disease (CKD) is a long-term condition where sustained damage of the renal parenchyma leads to the chronic deterioration of renal function that may gradually progress to end-stage kidney disease (ESKD). Peritoneal dialysis (PD) is a type of ESKD treatment that is beneficial to improve a patient's quality of life. However, PD-associated peritonitis is a major complication that contributes cause of death, and the detection of the pathogen provided a high culture-negative rate. This study aims to apply metagenomic approaches for identifying the bacteria and fungi in peritoneal dialysis effluent (PDE) of CKD patients based on the full-length 16S …


The Effect Of Histone Methylation In Trained Innate Immunity Of Cord Blood Monocytes In Newborn Infants Of Chronic Hbv-Infected Mothers, Pennapa Plypongsa Jan 2022

The Effect Of Histone Methylation In Trained Innate Immunity Of Cord Blood Monocytes In Newborn Infants Of Chronic Hbv-Infected Mothers, Pennapa Plypongsa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Newborns contract Hepatitis B virus (HBV) through exposure in utero from mothers who are infected with HBV. In newborn infant from chronic HBV-infected mothers, the immune system displays innate immune cell maturation and enhances immune response upon restimulation with unrelated pathogens such as bacteria. This pattern is called “trained immunity” or “innate immune memory”. Trained immunity is regulated by epigenetic programming, especially histone modification. To date, there is not report on the epigenetics to regulate trained immunity in HBV. Therefore, this study investigated the cytokines levels and expression levels of histone modification enzyme genes in HBV-exposed cord blood monocytes. Moreover, …


Effect Of Candida Glabrata Β-Glucans On Immunosuppressive Properties Of Dendritic Cells, Phawida Tummamunkong Jan 2022

Effect Of Candida Glabrata Β-Glucans On Immunosuppressive Properties Of Dendritic Cells, Phawida Tummamunkong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

β-glucan is a polysaccharide and consists of the backbone of β-(1, 3)-glucan and/or β-(1, 6)-glucan structures. β-glucans are extracted from the cell wall of Candida sp, including Candida glabrata. Interestingly, the biological activity of Candida β-glucan has been represented as a stimulator in the mechanism of immune responses. Dendritic cells are powerful antigen-presenting cells that play a significant role in both innate and adaptive immunity. In the present study, we evaluated the effect of C. glabrata β-glucans on dendritic cell (DC) immunologic responses. Firstly, bone marrow-derived DCs (BMDCs) were induced with C. glabrata β-glucans in a dose-dependent manner. The expression …


Generation Of Tolerogenic Dendritic Cells From Fcgr2b Deficient Lupus-Prone Mice For The Model Of Sle Therapy, Phuriwat Khiewkamrop Jan 2022

Generation Of Tolerogenic Dendritic Cells From Fcgr2b Deficient Lupus-Prone Mice For The Model Of Sle Therapy, Phuriwat Khiewkamrop

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tolerogenic dendritic cells (tolDCs) are DCs with an immunoregulatory function, which can induce regulatory T cells (Tregs) and suppress the immune response. Currently, tolDCs-based treatment has become a promising therapeutic approach for organ transplantation and autoimmune disease. FcgRIIB is an inhibitory receptor widely expressed in B cells, myeloid cells, and DCs. The ablation of FcgRIIB in the murine model shows a spontaneous development of a lupus-like disease and might affect other immune cell regulation. There was limited information on tolDC induction in FcgRIIB defective mice. Thus, in this study, we studied the generation of tolDCs from the bone marrow-derived dendritic …


Macrophage Depletion Enhances Gut Dysbiosis And Severity In Sepsis Mouse Model, Pratsanee Hiengrach Jan 2022

Macrophage Depletion Enhances Gut Dysbiosis And Severity In Sepsis Mouse Model, Pratsanee Hiengrach

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Macrophage is vital players in the responsiveness of the innate immune system against injury or infection. Although macrophage depletion is well-known for some emerging therapies, such as osteoporosis, osteopenia, and decreasing tumor-associated macrophages in melanoma, dysfunction of macrophages leads to an inability of an appropriate immune response and implicated in various disease processes, especially intestinal macrophages that play a key role in the gut immune system and the regulation of gastrointestinal physiology. To obtain an understanding of the role of sepsis-associated macrophages, clodronate was used for the dysfunction of mouse macrophages with and without cecal ligation and puncture (CLP) sepsis. …


Epigenetic Regulation In Trained And Tolerized Macrophages, Salisa Benjaskulluecha Jan 2022

Epigenetic Regulation In Trained And Tolerized Macrophages, Salisa Benjaskulluecha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Innate immune memory is the phenomenon that can either enhance (trained) or suppress (tolerized) immune response by innate immune cells during the second encounter of the stimuli such as pathogens. Previous studies reported that epigenetic regulations critically regulate both types of innate immune memory. However, a complete understanding of the underlying mechanisms is still lacking. In this study, we performed a screening of an epigenetics compound library to identify inhibitors that affect ß-glucan (BG)-trained or LPS-tolerized macrophages. Among 181 compounds tested, various inhibitors targeting Aurora kinase, histone methyltransferase PRMT and EZH2, histone demethylase LSD1 and JMJD2, histone deacetylase 6 and …


The Association Of Genetic Variations In Pnpla3, Tm6sf2 And Hsd17b13 Genes In Non-Alcoholic Fatty Liver Disease Patients With And Without Hiv Infection., Varis Ruamviboonsuk Jan 2022

The Association Of Genetic Variations In Pnpla3, Tm6sf2 And Hsd17b13 Genes In Non-Alcoholic Fatty Liver Disease Patients With And Without Hiv Infection., Varis Ruamviboonsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Non-alcoholic liver disease (NAFLD) has multiple risk factors, including genetic risk factors. Patients with certain genetic variants are more susceptible to the disease. People living with HIV (PLWH) have higher prevalence of NAFLD compared to those without HIV infection. But, the evidence on genetic factors in PLWH with NAFLD is limited. We aim to investigate whether carriers of PNPLA3 rs738409, TM6SF2 rs58542926, and HSD17B13 rs6834314 had association with the risk of NAFLD, and whether PLWH with NAFLD also had similar genetic risk factors as those with NAFLD alone. These SNPs were determined by using allelic discrimination in blood samples of …


Comparing The Success Rate Of Pleurodesis With Thoracoscopic Talc Poudrage Combined With Indwelling Pleural Catheter Versus Thoracoscopic Talc Poudrage In Patient With Malignant Pleural Effusion, A Randomized, Non-Inferiority Clinical Trial, Jitanong Sootlek Jan 2022

Comparing The Success Rate Of Pleurodesis With Thoracoscopic Talc Poudrage Combined With Indwelling Pleural Catheter Versus Thoracoscopic Talc Poudrage In Patient With Malignant Pleural Effusion, A Randomized, Non-Inferiority Clinical Trial, Jitanong Sootlek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Malignant pleural effusion (MPE) can cause dyspnea symptoms that greatly impact a patient's quality of life. Talc pleurodesis or indwelling pleural catheter (IPC) insertion are two treatment options that can prevent recurrent MPE, alleviate dyspnea, and improve quality of life. However, talc pleurodesis requires a lengthy hospital stay, while IPC insertion is associated with lower pleurodesis success rates. Due to limited hospital bed capacity, we have devised a practical approach to managing MPE by combining TTP and IPC. Objective: This study aims to evaluate the efficacy of combined Thoracoscopic talc poudrage (TTP) and IPC compared to TTP alone in …


A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul Jan 2022

A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

BACKGROUND: Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided transbronchial biopsy with bronchial brushing is an effective way of tissue assessment for evaluating peripheral lung lesion combined with Rapid on-site Evaluation (ROSE). Our study aimed to evaluate the efficacy of ROSE add on RP-EBUS guided sheath transbronchial lung biopsy to improve the overall diagnostic yield. OBJECTIVES: The purpose of this study was to compare the diagnosis yield of peripheral lung lesions or nodules from the ROSE add on Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided sheath transbronchial biopsy with bronchial brushing compared to the control group. METHODS: In this prospective randomized controlled trial …


Genetic Analysis Of Focal Segmental Glomerulosclerosis In Thailand, Suramath Isaranuwatchai Jan 2022

Genetic Analysis Of Focal Segmental Glomerulosclerosis In Thailand, Suramath Isaranuwatchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: The genetic variants spectra of focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) vary among different populations. Here we described the clinical and genetic characteristics of biopsy-proven FSGS patients in Thailand. We also used special staining in renal biopsy tissue to describe protein expression related to the variants found by whole-exome sequencing (WES). Also, a functional study in cells was studied to investigate the etiologic evidence of the variants found by WES. Methods: Fifty-three unrelated FSGS patients without secondary causes were included in our study. Whole-exome sequencing (WES) was subsequently performed. Immunohistochemistry (IHC) staining method was used to characterize the morphology of renal …


Factors Leading To High Intraocular Pressure In Intraocular Device-Associated Uveitis (Idau): A Nested Case Control Study, Jakkrit Juhong Jan 2022

Factors Leading To High Intraocular Pressure In Intraocular Device-Associated Uveitis (Idau): A Nested Case Control Study, Jakkrit Juhong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To describe the clinical pattern of uveitis–glaucoma–hyphaema (UGH) syndrome and to evaluate the risk factors leading to high intraocular pressure among intraocular device-associated uveitis (IDAU) patients using the Chulalongkorn University Uveitis Cohort (CU2C) database. Methods: A retrospective nested case‒control study was conducted in a cohort of 375 subjects who were followed up in a uveitis clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH), Bangkok, Thailand, from 2014 to 2022. Thirty subjects with IDAU with increased intraocular pressure (IOP) were included in the case group, and 60 subjects with IDAU without increased intraocular pressure were selected from the CU2C database as …


ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย Jan 2022

ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากมาย โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศทางตะวันตก การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อศึกษาดูความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในประเทศไทย จุดประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างทางเพศของการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปี ในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระเบียบวิจัย เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ทั้งหมด 1,579 คนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 ตุลาคม 2564 และเก็บข้อมูลการเสียชีวิตที่โรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด ความแตกต่างของข้อมูลระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary logistic regression model) และ Cox proportional hazard model ผลการศึกษา จากข้อมูลพบว่าเป็นผู้ป่วยเพศหญิงจำนวน 453 คน (28.7%) และเป็นผู้ป่วยเพศชายจำนวน 1126 คน (71.3%) ผู้ป่วยเพศหญิงมีอายุที่มากกว่าผู้ป่วยเพศชาย (70 และ 60 ปี, P value <0.001) ร่วมกับมีโรคเบาหวานที่มากกว่า (50.3% และ 38.2%; p=<0.001) และโรคความดันโลหิตสูง (74.2% และ 55.1%; p=<0.001). ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ ST segment ยกขึ้นพบในผู้ป่วยเพศหญิงน้อยกว่าผู้ป่วยเพศชาย (50.8% และ 62.8%) การเสียชีวิตที่โรงพยาบาลพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่า (7.5% และ 5.4%; RR 1.417; 95%CI 0.918-2.188, p=0.116) แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่หลังจากติดตามไปเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (21.6% และ 12.8%; p<0.001) gเมื่อทางผู้วิจัยทำการตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตที่ 1 เพิ่มเติมได้แก่ อายุที่มากกว่า 70 ปี โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจและการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่า ร้อยละ 40 และทำการตรวจสอบอีกครั้งพบว่า การเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (adjusted HR 1.460; 95% CI 1.101-19.34, P=0.009) สำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยเพศชายและผู้ป่วยเพศหญิง แต่สำหรับการเกิดภาวะไตวายอักเสบเฉียบพลันและภาวะหลอดเลือดสมอง หลังทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย เช่นเดียวกับการเกิดภาวะเลือดออกแบบรุนแรง สรุป ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ผู้ป่วยเพศหญิงพบว่าเสียชีวิตที่ 1 ปีมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย


การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย Jan 2022

การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: ไวรัส SARS-CoV-2 อาจส่งผลกระทบต่อต่อมใต้สมองและเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่ยังคงพบต่อเนื่องหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายหรือที่เรียกว่า "Long COVID-19 syndrome" อย่างไรก็ตามข้อมูลผลกระทบของไวรัสต่อต่อมใต้สมองยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความอัตราการเกิดความผิดปกติของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 วิธีการวิจัย: ศึกษาความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยในช่วง 1เดือนหลังจากการหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาสามัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยอาศัยการตรวจระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและ Fixed-dose glucagon stimulation test (FD-GST) เพื่อบ่งบอกภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง กับความรุนแรงของโรคโควิด-19 และภาวะ Long COVID-19 syndrome ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมวิจัย 25 คน 18 คน (72%) มีความรุนแรงปานกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 7 คน (28%) เป็นกลุ่มผู้ป่วยรุนแรงน้อย พบความชุกของภาวะ Long COVID-19 ใน 80% ของผู้เข้าร่วมวิจัย ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบใน 12% ของผู้เข้าร่วมวิจัย จากการที่มีระดับของ GH ผิดปกติหลังทำ FD-GST และ 8% แสดงความผิดปกติของระดับ cortisol จาก FD-GST อย่างไรก็ตามไม่พบความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าอื่นๆ นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเหนื่อยล้าซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยของ Long COVID-19 syndrome โดยอาศัย Piper Fatigue Scale (p=0.003) สรุป: หนึ่งเดือนหลังจากการวินิจฉัยโรคโควิด-19 พบหลักฐานของความผิดปกติของต่อมใต้สมองร้อยละ 12 ซึ่งสัมพันธ์กับระดับอาการเหนื่อยล้า การศึกษาแสดงหลักฐานของผลกระทบของไวรัสที่มีต่อต่อมใต้สมองและแสดงถึงความจำเป็นในการติดตามอาการและระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มอาการใด ที่สัมพันธ์กับผลตรวจเพท พบการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว สำหรับวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ในอาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง อาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการเล็กน้อย ถูกคัดเลือกตามลำดับการตรวจจากคลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลในรูปแบบการตอบแบบสอบถามโดยญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มของโรคอัลไซเมอร์ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 คำถาม เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของอาการทางความจำเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน และ 6 คำถาม เกี่ยวกับความถี่ของอาการทางความจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังตอบแบบสอบถาม อาสาสมัครจะได้รับการตรวจเพท เพื่อวัดการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว ในเนื้อสมอง อาสาสมัครที่มีทั้งอมิลอยด์และทาวสะสมมากผิดปกติในเนื้อสมอง (A+T+) จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ จากนั้นวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางความจำแต่ละอาการกับโรคอัลไซเมอร์ ผลการศึกษา: อาสาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 ราย ค่ามัธยฐานอายุ 72 (65-77) ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ 24 ราย (ร้อยละ 48) อาการทางความจำที่ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน 6 อาการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ 1. ความจำเกี่ยวกับเรื่องราวที่พูดคุยกันเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.001) 2. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.005) 3. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 1 เดือนก่อน (p = 0.026) 4. พูดหรือเล่าเรื่องในอดีตซ้ำๆ (p = 0.049) 5. ถามคำถามเดิมซ้ำๆ (p = 0.002) 6. หลงลืมสิ่งในชีวิตประจำวันที่จะต้องทำ เช่น ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแก๊ส (p = 0.049) อาการทางความจำที่มีความถี่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 5 …


การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต Jan 2022

การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกในแง่ความไว ความจำเพาะ และ AUC จาก กราฟ ROC ของการวินิจฉัยประโยคพูดไม่ชัดที่สร้างขึ้นจากลักษณะเด่นทางคลินิกและพยาธิสรีรวิทยา และประเมินด้วยเครื่องมือ ASR พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแม่นยำในการวินิจฉัยกับประสาทแพทย์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกจำนวน 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน เข้ารับการบันทึกเสียงพูด 4 ประโยคที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มพยัญชนะต้นที่แตกต่างกันตามการทำงานของกล้ามเนื้อการพูด และประเมินคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยค (error score of syllable) ด้วยเครื่องมือ ASR ได้แก่ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' แล้ววิเคราะห์ logistic regression analysis และ สร้างกราฟ ROC พร้อมทั้ง AUC เพื่อบอกความแม่นยำในการวินิจฉัย พร้อมทั้งให้ประสาทแพทย์วินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดจากไฟล์เสียงเดียวกัน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งจากทั้งสองเครื่องมือ โดยที่ AUC สูงที่สุดของเครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper'เท่ากับ 0.95 และ 0.89 ตามลำดับในการวิเคราะห์ประโยคเดียวกันที่เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโคนลิ้น เพดานอ่อนและคอหอย ในขณะที่ประสาทแพทย์มีความจำเพาะในการวินิจฉัยมากกว่า 0.9 แต่มีความไวที่ไม่แน่นอนตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.74 สรุป เครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' ASR มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยแยกแยะอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกที่มีความรุนแรงน้อยออกจากเสียงพูดปกติ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ประโยคพูดที่มีความไม่ชัดชนิดสปาสติกมากที่สุด ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาและสัทศาสตร์


ประสิทธิผลในการควบคุมระดับน้ำตาลโดยการใช้ระบบการติดตามแบบทางไกลและการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างเป็นระบบในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาด้วยอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลไม่ถึงเป้าหมาย, ธัญญาลักษณ์ แซ่ตั้ง Jan 2022

ประสิทธิผลในการควบคุมระดับน้ำตาลโดยการใช้ระบบการติดตามแบบทางไกลและการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างเป็นระบบในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาด้วยอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลไม่ถึงเป้าหมาย, ธัญญาลักษณ์ แซ่ตั้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การจัดการเบาหวานเฉพาะบุคคลแบบบูรณาการสามารถทำให้ผู้เป็นเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขี้น แต่ต้องอาศัยการติดต่อกับผู้ให้บริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำระบบติดตามทางไกลมาช่วยในการดูแลได้ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดการเบาหวานเฉพาะบุคคลแบบบูรณาการผ่านระบบการดูแลสุขภาพทางไกล วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มระยะเวลา 6 เดือน รวบรวมผู้เป็นเบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน อายุ 18-65 ปี และ HbA1c 7.4-10.5% ผลลัพธ์หลักคือความแตกต่างของการลดลงของ HbA1c จากค่าตั้งต้นระหว่างกลุ่ม Tele-iPDM และกลุ่มดูแลปกติ ที่ 6 เดือน ผลลัพธ์รอง คือ ความแตกต่างของการลดลงของ HbA1c จากค่าตั้งต้นระหว่างกลุ่ม Tele-iPDM และกลุ่มดูแลปกติ ที่ 3 เดือน ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย ร้อยละของผู้ป่วยที่มี HbA1c < 7% และร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c ลดลง > 0.5% ที่ 6 เดือน ผลการศึกษา: ผู้เป็นเบาหวานอยู่ในการศึกษาครบ 6 เดือน จำนวน 61 คน อายุ 53.07 ± 7.74 ปี เป็นเบาหวานนาน 11.76 ± 8.26 ปี ค่า HbA1c ตั้งต้น 8.48 ± 0.76% พบว่าที่ 24 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ย HbA1c ลดลงจากค่าตั้งต้นทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่ม Tele-iPDM มีค่าเฉลี่ย HbA1c ลดลงร้อยละ -1.11 [95%Cl -1.46-(-0.76)] และกลุ่มการดูแลตามปกติ มีค่าเฉลี่ย HbA1c ลดลงร้อยละ -0.39 [95%CI -0.73-(-0.06)] โดยกลุ่ม Tele-iPDM มีระดับ HbA1c ลดลงมากกว่ากลุ่มดูแลตามปกติ เท่ากับร้อยละ -0.72 [95%CI -1.20-(-0.24)] ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารในกลุ่ม Tele-iPDM ลดลงจากค่าตั้งต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 24 …


ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู, พิชยุตม์ บุญญาบารมี Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู, พิชยุตม์ บุญญาบารมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมเป็นภาวะที่มีการกระตุ้นของภูมิกันที่มากจนเกินไป โดยสาเหตุของภาวะนี้ได้แก่ โรคมะเร็ง, การติดเชื้อ และภาวะภูมิคุ้มกันต้านตนเอง และในบางกรณีไม่ทราบสาเหตุ ในงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์แต่กำเนิดของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดวาย 82 ซี (Y82C) กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดทีเซลล์ชื่อว่า subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์ของการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง SPTCL และกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ และเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิก (clinical outcome) รวมถึงอัตราการมีชีวิตรอด (survival outcome) กับภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากสาเหตุอื่นๆ งานวิจัยรวบรวมผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากเกณฑ์การวินิจฉัยของปี 2004 (HLH-2004 criteria) หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่เข้าได้กับภาวะนี้แม้ไม่ครบตามเกณฑ์วินิจฉัย นำชิ้นเนื้อที่เก็บในพาราฟิน หรือเลือดมาสกัดดีเอนเอและใช้เทคนิคการหาลําดับนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) เพื่อตรวจหายีนเอชเอวีซีอาร์ทูตำแหน่งวาย 82 ซี (Y82C) ในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL และไม่ทราบสาเหตุ ผลการศึกษา รวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 65 คน โดยเป็นผู้ชาย 60% และมีค่ามัธยฐานอายุที่ 45 ปี ตรวจพบการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูทั้งหมด 9 (13.8%) คน โดยเป็นผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 5 คน และไม่ทราบสาเหตุอีก 4 คน สาเหตุอื่นของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมได้แก่ โรคมะเร็งที่ไม่ใช่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 22 (33.8%) คน, ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู 18 (27.7%) คน, การติดเชื้อ 10 (15.4%) คน และภาวะภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง 6 (9.2%) คน โดยผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูมีการรอดชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยมี hazard ratio (HR) 0.218; 95% Confidence interval (CI) 0.05-0.90, p-value 0.036 และกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์นี้เองมีระดับฮีโมโกลบินที่สูงกว่า และระดับนิวโตรฟิลที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุป การกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูสามารถที่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรม ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตที่ดีกว่า …


การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ Jan 2022

การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการศึกษา: เชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้มีการอุบัติขึ้นของสายพันธ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลก และมีจำนวนของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วเกิดการติดเชื้อสูงขึ้น การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ที่เปลี่ยนแปลงหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในอาสาสมัครที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อนในประเทศไทยซึ่งมีความแตกต่างของรูปแบบการให้วัคซีนสูงมาก วิธีการทำการศึกษา: การศึกษานี้จัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยรวบรวมอาสาสมัครที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 และเคยได้รับวัคซีนมาก่อน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก โดยมีการเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกและลำคอเพื่อทำการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคในอาสาสมัคร และทำการตรวจภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์โดยใช้ surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอน ณ วันวินิจฉัย และ 1 และ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ผลการศึกษา: การศึกษานี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 109 ราย โดยอาสาสมัคร 108 รายได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มกระตุ้นแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม โดยสายพันธุ์ก่อโรคที่พบมากที่สุดในอาสาสมัครคือเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) คิดเป็นร้อยละ 97.8 โดยระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ ณ วันวินิจฉัยพบว่ามีระดับการยับยั้งสูงสุดต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม (wild type) ตามด้วยสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) และโอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ1 และเมื่อทำการตรวจติดตามที่ 1 เดือนพบการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p=0.11) และการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ Omicron BA.2 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) และเมื่อตรวจติดตามที่ 3 เดือนพบว่าระดับภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์คงที่ นอกจากนี้ในการศึกษานี้มีอาสาสมัครจำนวน 31 รายที่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนเข้ารับการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เดือนที่ 3 พบว่าระดับของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ที่เดือนที่ 3 ไม่แตกต่างกับกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น สรุป: การศึกษานี้ได้แสดงว่าระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำชนิดลบล้างฤทธิ์หรือแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 จะยังคงอยู่จนถึงอย่างน้อย 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันในระยะยาวและความต้องการในการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มประชากรที่ติดเชื้อต่อไป


ความสัมพันธ์ของดัชนีการกระตุ้นเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดต่อพยากรณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินบีเซลล์ชนิดตัวใหญ่, รณกฤต ทัฬหกุล Jan 2022

ความสัมพันธ์ของดัชนีการกระตุ้นเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดต่อพยากรณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินบีเซลล์ชนิดตัวใหญ่, รณกฤต ทัฬหกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีการกระตุ้นหลอดเลือด (endothelial activation and stress index, EASIX) ต่อพยากรณ์โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบีเซลล์ชนิดตัวใหญ่ (diffuse large B cell lymphoma, DLBCL) ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับริทูซิแมบ วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง DLBCL อายุ 18-80 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับริทูซิแมบในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2555 และเดือนธันวาคม 2565 โดยเก็บข้อมูลทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และข้อมูลทางพยาธิวิทยาจากเวชระเบียน ค่า EASIX คำนวณจากค่าครีอะทีนีน (serum creatinine) แลกเตทดีไฮโดรจีเนส (lactate dehydrogenase, LDH) และระดับเกล็ดเลือด มีการเก็บข้อมูลการดำเนินโรคในรูปแบบของอัตราการปลอดโรคและอัตราการรอดชีวิต และใช้การวิเคราะห์ Cox proportional hazards เพื่อประเมินผลของ EASIX ต่อการดำเนินโรค ผลการศึกษา มีผู้ป่วยเข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 323 คน ค่ามัธยฐานของ EASIX เท่ากับ 1.00 (พิสัย 0.17-136.94) และเมื่อใช้ receiver operating characteristic curve จะได้ค่า cutoff ของ EASIX ที่เหมาะสมเท่ากับ 1.07 จำแนกผู้ป่วยเป็นกลุ่ม EASIX ต่ำ (174 คน, ร้อยละ 53.9) และกลุ่ม EASIX สูง (149 คน, ร้อยละ 46.1) ผู้ป่วยกลุ่ม EASIX สูงมีระยะของโรคที่สูงกว่า มีก้อนขนาดใหญ่มากกว่า มี ECOG performance status ที่แย่กว่า และยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคที่มากกว่าประเมินโดยลักษณะทางคลินิก นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่ม EASIX สูงมีอัตราการตอบสนองต่อการรักษาต่ำกว่าผู้ป่วยกลุ่ม EASIX ต่ำ (ร้อยละ …


ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019, วุฒิชัย แซ่เฉิน Jan 2022

ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019, วุฒิชัย แซ่เฉิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อจํานวนมาก โดยส่งผลกระทบทั้งทางสุขภาพทางกายและจิตใจ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นวิธีที่มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพทางจิตใจและทางกายของผู้ป่วย แต่ด้วยข้อจำกัดการเข้าถึงระบบการรักษาดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราตั้งใจศึกษาถึงผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 และผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมการศึกษา จะเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกล โดยจะได้รับคําแนะนําและสอนการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจากแพทย์ผู้ทำการศึกษาและนักกายภาพบําบัดที่เกี่ยวข้องและนำไปฝึกและฟื้นฟูสมรรถภาพต่อที่บ้าน โดยจะมีการตรวจติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ทางไกลผ่านการวิดีโอคอลและทางโทรศัพท์ ผลของการศึกษาจะถูกประเมินวันแรกที่เข้าร่วมการศึกษาและที่ 3 เดือนภายหลังเข้าร่วมการศึกษา ซึ่งได้แก่การประเมินคุณภาพชีวิตโดยแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล, ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันประเมินโดยคะแนนดัชนีบาร์เทลอินเด็กซ์, คะแนนระดับความเหนื่อยขณะประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วยโดยแบบประเมินโมดิฟาย บอร์ก สเกล และการประเมินสมรรถภาพทางกายโดยการวัดระยะทางที่ผู้ป่วยสามารถเดินได้ในระยะเวลา 6 นาที ส่วนการประเมินสมรรถภาพปอดใช้วิธีสไปโรเมตรีย์ โดยผลของการศึกษาจะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษาในกลุ่มการศึกษาเดียวกันและเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีตที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยวิธีการจับคู่ทางสถิติ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 15 คน ผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือน คุณภาพชีวิต ความสามารถในการดำเนินชีวิตและผลการประเมินสมรรถภาพทางกายและปอด มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมการศึกษา อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต ยกเว้นคะแนนคะแนนการประเมินสุขภาพทางตรงผ่านแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล ที่ประเมินโดยผู้เข้าร่วมการศึกษา มีแนวโน้มคะแนนที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มการศึกษา 96.6±6.95 เทียบกับ 87±9.02 ในกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต สรุปผล: ผลกระทบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นภายหลังการเข้ารับการศึกษา โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีแนวโน้มช่วยลดความรู้สึกเหนื่อยในผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจส่งผลช่วยป้องกันความเหนื่อยล้าและอาการเหนื่อยที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะยาวได้


ผลของการบริโภคฟักข้าวต่อระดับไตรเมทิลามีนเอ็นออกไซด์ในเลือดและการเกิดโรคหัวใจในหนูไตวายเรื้อรัง, ภานุมาศ เข้มแข็ง Jan 2022

ผลของการบริโภคฟักข้าวต่อระดับไตรเมทิลามีนเอ็นออกไซด์ในเลือดและการเกิดโรคหัวใจในหนูไตวายเรื้อรัง, ภานุมาศ เข้มแข็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนํา: ไตรเมทิลามีน (Trimethylamine) เป็นสารที่สร้างจากแบคทีเรียในลําไส้และเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง Trimethylamine N-oxide (TMAO) ซึ่งทําให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะในวิธีการทดลอง: หนูแรทเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์จํานวนกลุ่มละ 9 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม (Control) กลุ่มไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) กลุ่มสารทดสอบฟักข้าว (Gac) กลุ่มสารทดสอบไลโคปีนและเบต้าแคโรทีน (STD) กลุ่มสารทดสอบฟักข้าวร่วมกับแบคทีเรีย B. longum และ L. salivarius (Synbiotic) และกลุ่มสารโปรไบโอติกควบคุม L. Casei (Lactobacillus Casei) โดยหนูกลุ่มทดสอบจะถูกเหนี่ยวนําให้เป็นไตวาเรื้อรังโดย Cisplatinและทุกกลุ่มได้รับอาหารเสริม choline เป็นระยะเวลา 15 สัปดาห์ ผลการทดลอง: พบว่าหนูกลุ่ม Synbiotic มีระดับ serum TMAO ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05)เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CKD รวมถึงยังพบการลดลงของเชื้อในกลุ่ม Proteobacteria ในลําไส้และลดการแสดงออกของเอนไซม์ Trimethylamine-(TMA) lyase ซึ่งจําเป็นต่อการสร้าง TMA อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการเสริม Synbiotics ยังกระตุ้นการแสดงออกของ Zonula occludens type 1 (ZO-1) ซึ่งเป็น tight junction gene ที่บริเวณลําไส้ใหญ่ (Colon) อย่างมีนัยสําคัญ ในขณะที่การให้สารสกัดฟักข้าวเพียงอย่างเดียว หรือการให้โปรไบโอติกควบคุมไม่พบความเปลี่ยนแปลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CKD สรุปผล: การเสริม Synbiotic ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดฟักข้าว และโปรไบโอติกชนิด B. longum และ L.salivarius ที่มีประสิทธิภาพในการลดการรั่วที่ผนังลําไส้ ช่วยลดเชื้อ Proteobacteria ในลําไส้หนู CKD ลดการแสดงออกของ TMA lyase enzyme เพิ่มการแสดงออกของ tight junction gene ZO-1 และสามารถลดระดับ serum TMAO ได้อย่างมีนัยสําคัญ หรือ การเสริม Synbiotic ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดฟักข้าว และโปรไบโอติกชนิด B. longum และ L. salivarius สารถลดระดับ serum TMAO ในหนูโรคไตเรื้อรังได้อย่างมีนัยสําคัญมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังต่อไต


ความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเรื้อรังในประเทศไทย, ศิโรรัตน์ ขอบบัวคลี่ Jan 2022

ความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเรื้อรังในประเทศไทย, ศิโรรัตน์ ขอบบัวคลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเรื้อรัง หรือโรค Chronic lymphocytic leukemia (CLL) เกิดจากการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติ และการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมมีผลทำให้เกิดโรค ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของพันธุกรรมของโรค CLL ในประเทศไทยยังคงมีน้อยกว่าในประเทศตะวันตก CLL เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม โรคนี้ยังพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยด้วย ซึ่งอาการและความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มอายุยังคงไม่มีข้อมูล การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติทางพันธุกรรมของผู้ป่วยโรค CLL ในประเทศไทยและศึกษาความแตกต่างของลักษณะความผิดปกติทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มอายุของผู้ป่วย โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรค CLL จำนวน 80 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ถึงพฤศจิกายน 2564 โดยรวบรวมผล Fluorescent in situ hybridization (FISH) และ immunophenotyping จากการวินิจฉัยครั้งแรก ตรวจวิเคราะห์สถานะการกลายพันธุ์ของ IGHV และตรวจวิเคราะห์การกลายพันธุ์ของยีน ด้วยเทคนิค Next generation sequencing (NGS) ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยชาวไทยมีอายุเฉลี่ย 66 ปี อัตราส่วนผู้ป่วยเพศชายต่อเพศหญิง 2.08:1 และพบว่า 17.3% ของผู้ป่วยมี 17p deletion และ 6.3% ของผู้ป่วยมี 11q deletion ยีนที่กลายพันธุ์บ่อยที่สุดคือ ARID1A (76.3%), KMT2D (70.0%), MYD88 (16.3%), TP53 (11.3%), SF3B1 (10.0%) และ ATM (8.8%) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีอาการ (asymptomatic) มีอัตราการพบการกลายพันธุ์ของยีน MYD88 มากกว่าในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการ (symptomatic) โดยสัดส่วนคือ 36.0% กับ 9.3% (p=0.011) ตามลำดับ และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอายุจากการวิเคราะห์สถานะการกลายพันธุ์ของ IGHV โดยกลุ่มอายุน้อยกว่า 65 ปี มี 42.5% และกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี มี 57.5% ผู้ป่วยโรค …


การศึกษาอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย Y-Str ที่กลายพันธุ์รวดเร็วจำนวน 4 ตำแหน่งในคู่บิดาและบุตรชายไทย, ธมลวรรณ โชติกรณ์ Jan 2022

การศึกษาอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย Y-Str ที่กลายพันธุ์รวดเร็วจำนวน 4 ตำแหน่งในคู่บิดาและบุตรชายไทย, ธมลวรรณ โชติกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Y- chromosomal short tandem repeat (Y-STR) เป็นเครื่องหมาย DNA ที่ใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางสายบิดาและตรวจหาสารพันธุกรรมของเพศชายในคดีความผิดทางเพศ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นคดีความผิดทางเพศที่ผู้กระทำความผิดเป็นสมาชิกเพศชายที่ใกล้ชิดกัน ชุดน้ำยา Y-STR ในปัจจุบันซึ่งมีอัตราการกลายพันธุ์ที่ต่ำถึงปานกลาง จะไม่สามารถระบุบุคคลได้ว่าเป็นสมาชิกเพศชายคนใดในครอบครัว เครื่องหมาย DYF399S1, DYS547, DYF403S1a และ DYS612 เป็นเครื่องหมาย Y-STR ที่มีอัตราการกลายพันธุ์ที่สูง จึงเรียกว่า Rapidly Mutating (RM) Y-STR โดยอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมายทั้ง 4 ในกลุ่มประชากรไทยยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าเครื่องหมายเหล่านี้มีอัตราการกลายพันธุ์ที่สูงในกลุ่มประชากรไทยและสามารถนำข้อมูลการกลายพันธุ์ที่ได้ไปต่อยอดการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแฮปโพไทป์ของเครื่องหมายวาย (Y-haplotype diversity) ในประชากรไทยได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อคำนวณอัตราการกลายพันธุ์ของ RM Y-STR ทั้ง 4 เครื่องหมาย และเปรียบเทียบอัตราการกลายพันธุ์ที่ได้กับกลุ่มประชากรอื่น โดยใช้ตัวอย่างเลือดที่ถูกเก็บบนกระดาษ FTA ของคู่บิดาและบุตรชายไทยจำนวน 240 คู่ นำตัวอย่างมาทำให้บริสุทธิ์ เพิ่มจำนวนด้วยเทคนิค PCR ด้วยไพร์เมอร์ที่ได้ออกแบบใหม่และอ้างอิง และนำไปแยกตามขนาดด้วยเทคนิค Capillary Electrophoresis จากการทดลอง พบว่า อัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย DYF399S1 เท่ากับ 6.7 x 10-2ต่อตำแหน่งต่อเซลล์ต่อรุ่น และอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย DYF403S1a และDYS612 เท่ากับ 2.1 x 10-2 ต่อตำแหน่งต่อเซลล์ต่อรุ่น จัดว่าเป็นตำแหน่งที่มีอัตราการกลายพันธุ์สูงและอัตราการกลายพันธุ์ของเครื่องหมาย DYS547 เท่ากับ 4 x 10-3 ต่อตำแหน่งต่อเซลล์ต่อรุ่น จัดว่าเป็นตำแหน่งที่กลายพันธุ์ปานกลางในกลุ่มประชากรไทย เมื่อเปรียบเทียบอัตราการกลายพันธุ์ที่ได้กับกลุ่มประชากรอื่น พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบอายุของบิดามีเครื่องหมายกลายพันธุ์กับไม่เกิดการกลายพันธุ์ พบว่า อายุบิดาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ข้อมูลที่ได้ในการศึกษานี้จะเป็นการเพิ่มข้อมูลของ RM Y-STR ในกลุ่มประชากรไทยและมีประโยชน์ต่อการคำนวณค่าทางสถิติทางด้านนิติพันธุศาสตร์ได้ในอนาคต


ทุนทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน จังหวัดสมุทรปราการ, โภคภัทร ประสาทเขตต์การ Jan 2022

ทุนทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน จังหวัดสมุทรปราการ, โภคภัทร ประสาทเขตต์การ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เป็นส่วนสำคัญในระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำหนึ่งในข้อพิจารณาสำหรับใช้ในการคัดเลือก อสม. คือ ทุนทางสังคม การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับทุนทางสังคมทั้ง 3 มิติ ประกอบด้วย 1) ทุนทางสังคมภายนอก 2) กิจกรรมทางสังคม และ 3) ทุนทางสังคมภายใน ของ อสม. ในจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับทุนทางสังคม โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น ผลการศึกษา อสม. ในจังหวัดสมุทรปราการ เข้าร่วมการศึกษานี้ 778 คน (อัตราตอบกลับร้อยละ 79.5) การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบหลายกลุ่ม เมื่อควบคุมปัจจัยอื่น ๆ แล้ว พบว่า 1) ทุนทางสังคมภายนอก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ผู้ที่อาศัยนอกเขตเทศบาล OR 2.28 (95%CI 1.43 – 3.65) มีรายได้เพียงพอและมีเงินเก็บ OR 2.50 (95%CI 1.54 – 4.06) อายุ (ปี) OR 1.03 (95%CI 1.01 – 1.05) ความถี่ของ อสม. ในการได้รับคำแนะนำหรือประชุมงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มากขึ้น โดยเดือนละ 1 ครั้งขึ้นไป OR 3.99 (95%CI 2.44 – 6.54) และระยะเวลาที่เข้ามาเป็น อสม. (ปี) OR 1.04 (95%CI 1.01 – 1.06) 2) กิจกรรมทางสังคม มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับผู้ที่อาศัยนอกเขตเทศบาล OR 0.49 (95%CI 0.30 – 0.79) และ ระยะเวลาที่อาศัยในชุมชนที่เพิ่มขึ้น OR 0.98 (95%CI 0.97 …