Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University

Industrial Engineering

Articles 1 - 30 of 281

Full-Text Articles in Entire DC Network

การลดแผงยาเสียในกระบวนการบรรจุยาเม็ด, ทิวานันท์ มณีรัตน์ Jan 2022

การลดแผงยาเสียในกระบวนการบรรจุยาเม็ด, ทิวานันท์ มณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนแผงเสียของบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมฟอยล์ ในรูปแบบแผงสตริพที่เป็นแผงยาเสียจากการซีลไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่พบมากที่สุด การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยแผนภาพแสดงสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) พร้อมทั้งคัดกรองปัจจัยโดยใช้คะแนนความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผล (Cause and Effect Matrix) และการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA : Failure Mode and Effect Analysis) โดยการประเมินตัวเลขแสดงความเสี่ยง (RPN : Risk Priority Number) ซึ่งจากการคัดกรองปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผงยาเสียประเภทแผง Seal ไม่สมบูรณ์ ได้แก่ อุณหภูมิของ Sealing Roller, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller, ความตึงของฟอยล์ด้านพิมพ์และด้านไม่พิมพ์ เริ่มด้วยการทดลองแบบทีละปัจจัย (OFAT : One Factor at a Time) เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าความแตกต่างของความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้านไม่มีผลต่อสัดส่วนแผงยาเสีย พบว่าการปรับระดับความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้านให้เท่ากัน ทำให้เกิดแผงยาเสียน้อยกว่าการปรับความตึงต่างระดับกัน จึงคัดกรองเหลือเพียง 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิของ Sealing Roller, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller, ความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้าน และได้ทำการประยุกต์ใช้หลักการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูป (General Full Factorial Design) เพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสม จากการทดลองพบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิของ Sealing Roller เท่ากับ 130 0C, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller เท่ากับ 14 rpm, ความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้าน คือ ระดับ 7 โดยเมื่อนำระดับปัจจัยที่ได้มาปรับใช้ในกระบวนการบรรจุยาเม็ดในรูปแบบแผง Strip พบว่าสัดส่วนแผงยาเสียประเภทแผง Seal ไม่สมบูรณ์เฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 4.82% เหลือเพียง 1.38%


แบบจำลองทำนายความชื้นในกระบวนการทำแห้งด้วยเครื่องฟลูอิดเบด, พลช ชินวัฒนวงศ์วาน Jan 2022

แบบจำลองทำนายความชื้นในกระบวนการทำแห้งด้วยเครื่องฟลูอิดเบด, พลช ชินวัฒนวงศ์วาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม เครื่องทำแห้งฟลูอิดเบดมักถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำแห้งเพื่อกำจัดชองเหลวส่วนเกินออกจากแกรนูลยาจนกระทั้งได้ได้แกรนูลที่มีปริมาณความชื้นที่ต้องการ พนักงานสามารถถูกตรวจสอบปัจจัยและจุดยุติกระบวนการโดยหลายวิธีตั้งแต่วิธีการพื้นฐาน เช่น การตรวจโดยมนุษย์ จนถึง วิธีการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวน เช่นเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี แม้ว่าการนำเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีมาใช้จะประสบความสำเร็จในการศึกษา แต่การประยุกต์วิธีการดังกล่าวในระดับอุตสาหกรรมการผลิตยังมีข้อจำกัดในด้านการปรับติดตั้งและด้านราคา นอกจากนี้บริษัทเภสัชกรรมหลายแห่งยังไม่ได้นำข้อมูลจากเซนเซอร์ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ ดังนั้นการศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลสเปกตรัมที่ได้จากเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี กับ ข้อมูลความชื้นและอุณหภูมิของอากาศของเครื่องฟลูอิดเบด ของความสามารถในการทำนายปริมาณความชื้นจากแบบจำลองทำนายความชื้น เพื่อทำนายปัจจัยและจุดยุติกระบวนการ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองแห่งแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดกระบวนการและข้อสังเกตุที่มีประโยชน์ในการพัฒนาแบบจำลองการทำนายซึ่งมีพื้นฐานบนการใช้ข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้นอากาศและใช้สเปกตรัมเนียร์อินฟราเรดเป็นปัจจัย จากผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบจากค่า root mean square error (RMSE) ของทั้งสองแบบจำลอง พบว่าการใช้ข้อมูลจากตัววัดความชื้นและอุณหภูมิอากาศในการทำนายได้ผลที่ดีกว่า โดยมีค่า RMSE เท่ากับ 0.1144 ในขณะที่แบบจำลองเนียร์อินฟราเรดมีค่า RMSE เท่ากับ 0.2757 ซึ่งยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงความแม่นยำของแบบจำลองต่อไป


Green Supplier Evaluation And Selection For A Furniture Sales Company, Jiahao Li Jan 2022

Green Supplier Evaluation And Selection For A Furniture Sales Company, Jiahao Li

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper proposes a supplier evaluation method for a furniture sales company in China that focuses on the evaluation process and sustainability of business operation. Firstly, we have arranged a meeting with experts from various fields to gather information concerning evaluation problems and choices of evaluation indicators. We then go through the literature in the field of supplier evaluations to create a new green supplier evaluation indicator system comprising of 5 first-level and 19 second-level evaluation indicators. Once selected, the Fuzzy-entropy-TOPSIS approach has been adopted for the evaluation of 13 suppliers via MATLAB. We find that, among these suppliers, S1 …


Optimizing Energy Efficiency Projects In Bangkok Large Commercial Buildings, Angelica Arisa Morgan Jan 2022

Optimizing Energy Efficiency Projects In Bangkok Large Commercial Buildings, Angelica Arisa Morgan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As a significant contributor to greenhouse gas emissions in the Asia Pacific region, Thailand has pledged to lower its GHG emissions by 555 million tCO2e by the year 2030. In Bangkok, energy efficiency projects in the large commercial buildings sector are an integral method by which to reduce emissions and to support a lower carbon future. Besides carbon dioxide emissions, energy efficiency projects also have the potential for other benefits including electricity and cost savings. This study develops a methodology to quantify the emissions reduction, electricity savings, and cost savings potential of various energy efficiency methods in this sector, and …


Analyzing Impact Of Economic Indicators On Vietnam Stock Market With Machine Learning Techniques, Nuttawan Sangsawai Jan 2022

Analyzing Impact Of Economic Indicators On Vietnam Stock Market With Machine Learning Techniques, Nuttawan Sangsawai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study provides an analysis of the Vietnamese stock market using statistical and machine learning models. The dataset shows that all features have a positive linear relationship with the VN Index, but exhibit different scales and degrees of skewness. The Augmented Dickey-Fuller (ADF) unit root test was conducted to identify whether the variables were stationary or non-stationary, and most variables were transformed into stationary data through first differencing. The OLS method was used to construct a short run model, and the results indicated that only three variables, namely CPI, exchange rate, and S&P500 index, exhibited statistical significance. The ARDL Bound …


Impacts Of The Thai Canal On Liner Shipping Container Network, Krittitee Yanpisitkul Jan 2022

Impacts Of The Thai Canal On Liner Shipping Container Network, Krittitee Yanpisitkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis proposes a mathematical model that imitates the flow of containers in the container liner shipping network — particularly, in the Indo-Pacific region, where the Strait of Malacca is located — in order to assess the potential impact of the proposed Thai Canal on such a network. This model is constructed based on a combination of two network problems, namely (i) the Multi-commodity Minimum Cost Network Flow Problem (MCNFP) and (ii) the Liner Shipping Fleet Deployment Problem (LSFDP), which allows a more realistic representation of international trade, while taking to account congestion at container ports at the same time. …


การลดของเสียที่เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิต ในกระบวนการผลิตเน็ตเวิร์กสวิตช์ด้วยวิธีการซิกซ์ซิกม่า, จีรนันท์ มณีวรรณ Jan 2022

การลดของเสียที่เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิต ในกระบวนการผลิตเน็ตเวิร์กสวิตช์ด้วยวิธีการซิกซ์ซิกม่า, จีรนันท์ มณีวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการปรับปรุงในกระบวนการผลิต เพื่อลดจำนวนชิ้นงานที่เกิดข้อบกพร่องทางไฟฟ้าจากสาเหตุไฟฟ้าสถิตระหว่างการทดสอบฟังก์ชั่นทางไฟฟ้า งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางควบคุมคุณภาพโดยใช้แนวทางของซิกซ์ซิกม่าเพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องทางไฟฟ้าของผลิตภัณฑ์เน็ตเวิร์กสวิตช์ ขั้นตอนในการวิจัยประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนการกำหนดปัญหา (Define phase) การวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา (Measure phase) ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analyze phase) การปรับปรุงแก้ไขปัญหา (Improve phase) และขั้นตอนการควบคุมกระบวนการ (Control phase) จากนั้นบริษัทกรณีศึกษาจึงได้จัดตั้งทีมงานเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสามารถระบุกระบวนการที่ก่อให้เกิดปัญหาได้แก่ สถานีโหลดด้วยมือและการบัดกรีด้วยคลื่น สถานีสวมอัดชิ้นงานและสถานีทดสอบทางไฟฟ้า ในการดำเนินงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางการปรับปรุงมีการนำเครื่องมือทางสถิติมาช่วยวิเคราะห์ผลการทดสอบสมมุติฐานเพื่อหาปัจจัยนำเข้าที่ส่งผลต่อข้อบกพร่องของชิ้นงาน เมื่อสามารถระบุสาเหตุของปัญหาได้แล้วจึงได้นำปัจจัยเหล่านั้นมาทำการปรับปรุงและทำการเปรียบเทียบจำนวนข้อบกพร่องภายหลังการปรับปรุงกับกระบวนการก่อนการปรับปรุง ผลการดำเนินการปรับปรุงพบว่าสัดส่วนของเสียในระยะเวลา 6 เดือน ลดลงจากก่อนปรับปรุง 19,162.88 DPPM เป็น 10,528.02 DPPM ลดลง 0.86 เปอร์เซนต์ การปรับปรุงนี้สามารถลดต้นทุนจากการผลิตของเสียได้เป็นจำนวนเงินเฉลี่ย 10,370.08 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน


การปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงานประกอบ, ปฏิพัทธ์ มณีรัตน์ Jan 2022

การปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงานประกอบ, ปฏิพัทธ์ มณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงการขนส่งภายในของชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงประกอบกรณีศึกษา ปัจจุบันมีอัตราการใช้ประโยชน์ของรถลากไฟฟ้า (E-car) อยู่เพียง 68% โดยพนักงานขับรถลากไฟฟ้า (E-car) จะนำกล่องชิ้นส่วนไปส่งแต่ละจุดความต้องการ (Address) ทั้งหมด 27 จุดตามเส้นทางที่กำหนดไว้ 20 เส้นทาง ซึ่งยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะทำให้ระยะทางรวมของเส้นทางการขนส่งมากและใช้รถลากไฟฟ้า (E-car) สำหรับขนส่งทั้งหมด 24 คัน งานวิจัยนี้ประยุกต์วิธีการออกแบบเส้นทางด้วยรูปแบบปัญหา Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) ซึ่งวัตถุประสงค์สำหรับการออกแบบเส้นทางนี้ เพื่อให้ระยะทางรวมของเส้นทางการขนส่งภายในน้อยที่สุด และยังตอบสนองความต้องการใช้ชิ้นส่วนแต่ละจุดความต้องการ (Address) ได้โดยใช้ปัจจัยนำเข้าเช่น ปริมาณความต้องการใช้ชิ้นส่วน (Demand) แต่ละจุดความต้องการ (Address) ความสามารถในการบรรทุกของรถลากไฟฟ้า (E-car) ระยะทางของแต่ละจุดความต้องการ ผลการจัดเส้นทางใหม่จะได้เส้นทางการขนส่งภายใน 12 เส้นทาง โดยมีการทดสอบรอบเวลาการขนส่งตามเส้นทางการขนส่งแบบใหม่แต่ละรอบคำสั่งซื้อรายวัน เพื่อทำให้มั่นใจว่าเส้นทางที่ออกแบบใหม่นั้นสามารถใช้งานได้จริง ตามปริมาณความต้องการใช้ชิ้นส่วน (Demand) ที่คงที่ของแต่ละจุดความต้องการ (Address) ในโรงงานประกอบ จากการทดสอบพบว่า เส้นทางการขนส่งแบบใหม่สามารถทำให้ระยะทางรวมในการขนส่งชิ้นส่วนต่อรอบคำสั่งซื้อลดลง 26% และมีอัตราการใช้ประโยชน์ของรถลากไฟฟ้า (E-car) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 90% หรือมากขึ้นกว่าเดิม 22%


ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย : การประยุกต์ใช้วิธีการดีมาเทล, ธนะรัตน์ บริสุทธิ์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย : การประยุกต์ใช้วิธีการดีมาเทล, ธนะรัตน์ บริสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้งานรถยนต์แบบสันดาปที่มีมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจมีที่มาจากหลากหลายปัจจัย งานวิจัยนี้จึงถูกจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิพล และมีผลกระทบต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และระบุลำดับความสำคัญของปัจจัย รวมถึงระบุกลุ่มความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลกระทบระหว่างปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคใน ประเทศไทย ตลอดจนเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกลุ่มสาเหตุและกลุ่มผลกระทบที่ส่งผลกระทบต่อกัน โดยมุ่งเน้นไปที่สามปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ปัจจัยการตัดสินใจที่มีผลต่อการ ซื้อ-ใช้ รถยนต์ไฟฟ้า และปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อการ ซื้อ-ใช้ รถยนต์ไฟฟ้า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย จำนวน 218 ตัวอย่าง จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) เพื่อทำการลดจำนวนตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องออก รวมถึงทำการจัดกลุ่มของปัจจัยใหม่ ก่อนที่จะนำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 ท่าน และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวิธีการดีมาเทลต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ปัจจัยทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน และปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยอื่นๆ มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยบรรทัดฐานส่วนบุคคล ในขณะที่ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับปัจจัยการตัดสินใจที่มีผลต่อการ ซื้อ-ใช้ รถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ และยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยอื่นๆ มากที่สุด อีกด้วย สำหรับปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อการ ซื้อ-ใช้ รถยนต์ไฟฟ้า ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่ ปัจจัยนโยบายแรงจูงใจการซื้อ และนอกจากนี้ปัจจัยนโยบายแรงจูงใจการซื้อยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยอื่นๆ มากที่สุดอีกด้วยเช่นเดียวกัน ผู้วิจัยคาดว่า ผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ในการกำหนด พัฒนา และปรับปรุงนโยบายของภาครัฐบาล และเอกชนในการส่งเสริมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการลงทุนในธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต


การปรับเปลี่ยนชนิดของคลิปทองแดงในผลิตภัณฑ์แผงวงจรรวมเพื่อลดต้นทุนการผลิต, ภัทรนันท์ ภูรินันทน์ Jan 2022

การปรับเปลี่ยนชนิดของคลิปทองแดงในผลิตภัณฑ์แผงวงจรรวมเพื่อลดต้นทุนการผลิต, ภัทรนันท์ ภูรินันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีการขยายตัวขึ้นอย่างมาก มีการเข้ามาตั้งรากฐานการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอุตสาหกรรมหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 90-95 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ด้วยความต้องการที่เพิ่มสูงมากขึ้นทำให้มีผลกระทบกับห่วงโซ่อุปทานในส่วนของอุตสาหกรรมกลางน้ำ นั่นคือปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนของแผงวงจรรวม ซึ่งจากการศึกษาประเภทของผลิตภัณฑ์ของแผงวงจรรวม พบว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์คลิปทองแดงหรือที่เรียกกันว่า Cu clip product เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำไปใช้ในกลุ่มอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันมากที่สุด เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้านทานต่ำ ช่วยให้อุปกรณ์ทนต่อความร้อนได้ดี และมีความทนทานที่ค่อนข้างสูงมากกว่าชนิดอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ทางผู้จัดทำจึงเกิดความสนใจที่จะทำการศึกษาผลิตภัณฑ์คลิปทองแดง รวมถึงกระบวนการในการผลิตเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการที่จะปรับเปลี่ยนชนิดของคลิปทองแดงในผลิตภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เนื่องจากการศึกษาพบว่าราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์คลิปทองแดงมาจากกลุ่มวัตถุดิบ ซึ่งคิดเป็น 56 % จากราคาต้นทุนทั้งหมด และราคาวัตถุดิบที่แพงที่สุดได้แก้ คลิปทองแดง แต่เนื่องจากคลิปทองแดงชนิดใหม่นี้มีขนาดในบางจุดที่แตกต่างจากเดิม จึงต้องทำการเลือกใช้พารามิเตอร์ให้เหมาะสม โดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมจากวิธีการ 2k full factorial design มาเป็นเครื่องมือ รวมถึงศึกษาจุดคุ้มในการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ด้วย


การปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำในธุรกิจซื้อมาขายไป, รุจิรางค์ สีโท Jan 2022

การปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำในธุรกิจซื้อมาขายไป, รุจิรางค์ สีโท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำในธุรกิจซื้อมาขายไป จากการศึกษาปัญหาพบว่า สินค้าคงคลังมีมูลค่าสินค้าคงคลังมากกว่ามูลค่ายอดขาย บางครั้งมีการสั่งสินค้ามาเกินความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าคงคลังรวมสูง ดังนั้นจึงได้เริ่มการปรับปรุงกระบวนการโดยใช้เทคนิค ABC Analysis ในการจำแนกลำดับความสำคัญของสินค้า โดยใช้ 3 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์มูลค่าการใช้ต่อปี เกณฑ์ของระยะเวลานำของสินค้า และเกณฑ์ความถี่ของการสั่งซื้อสินค้า ทำให้ได้กลุ่มของสินค้าที่จะเลือกทำการปรับปรุงทั้งหมด 39 ชนิด แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ MCB, RCBO, Busbar และ Circuit Breaker หลังจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ความต้องการของสินค้าจากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (ปี2563-2565) พบว่าสินค้ามีลักษณะแนวโน้มขึ้น/ลง (Trending) และการเปลี่ยนแปลงหรือความผันแปรเนื่องจากเหตุการณ์ผิดปกติ (Assignable Cause) เมื่อทราบลักษณะแนวโน้มเพื่อนำไปกำหนดนโยบายการสั่งซื้อที่เหมาะสมที่สุด โดยวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของสินค้า ถ้าค่าของสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนมีค่าน้อยกว่า 0.25 คือมีความแปรปรวนน้อย ความต้องการของสินค้ามีลักษณะคงที่ นโยบายสินค้าคงคลังที่ใช้คือ EOQ ถ้าหาค่าของสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนมีค่ามากกว่า 0.25 คือมีความแปรปรวนมาก ความต้องการของสินค้ามีลักษณะไม่คงที่ นโยบายสินค้าคงคลังที่ใช้คือ Silver-Meal หลังจากที่นำนโยบายการสั่งซื้อสินค้าไปประยุกต์ใช้เพื่อคำนวณหาต้นทุนรวมสินค้า พบว่า นโยบายที่ใช้เทคนิค EOQ สามารถลดต้นทุนรวมได้ 14,497.16 บาท คิดเป็น 75.18% ของต้นทุนรวมในปัจจุบัน และนโยบายที่ใช้เทคนิค Silver-Meal สามารถลดต้นทุนรวมได้ 169.31 บาท คิดเป็น 4.99% ของต้นทุนรวมในปัจจุบัน


การพยากรณ์ราคาเม็ดพลาสติกพอลิโพรพีลีนในประเทศไทยโดยใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ภัทรพล ภัทรอัมพรชัย Jan 2022

การพยากรณ์ราคาเม็ดพลาสติกพอลิโพรพีลีนในประเทศไทยโดยใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ภัทรพล ภัทรอัมพรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันธุรกิจอุตสาหกรรมพลาสติกมีความสำคัญมากกับประเทศไทยเนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ใช้พลาสติก โดยจากสถิติปริมาณการใช้งานพลาสติกพบว่าพลาสติกโพลิโพรพิลีน (PP) มีปริมาณการใช้งานมากที่สุดเมื่อเทียบกับพลาสติกชนิดอื่น ทำให้เป็นพลาสติกชนิดที่มีความสำคัญที่สุดต่ออุตสาหกรรมพลาสติกในไทย งานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเป็นการนำเสนอและเปรียบเทียบรูปแบบการพยากรณ์สำหรับราคาเม็ดพลาสติก PP ในประเทศไทย จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาตัวแบบการพยากรณ์ราคาเม็ดพลาสติก PP ที่ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด โดยใช้ค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบพยากรณ์ ซึ่งตัวแบบพยากรณ์อนุกรมเวลาที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ตัวแบบพยากรณ์ปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์และวินเทอร์ ตัวแบบพยากรณ์ SARIMA ตัวแบบพยากรณ์เชิงสาเหตุที่ใช้คือ ตัวแบบพยากรณ์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ตัวแบบพยากรณ์เทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องที่ใช้คือ ตัวแบบพยากรณ์ Support Vector Regression ตัวแบบพยากรณ์ Decision Tree ตัวแบบพยากรณ์ Random Forest ตัวแบบพยากรณ์ XGBoost ตัวแบบพยากรณ์ Artificial Neural Networks และตัวแบบพยากรณ์ผสมที่เกิดจากการนำตัวแบบพยากรณ์เดี่ยวที่มีความแม่นยำสูงมาจับคู่กัน โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้ข้อมูลราคาเม็ดพลาสติก PP ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จากผลการศึกษาพบว่าตัวแบบพยากรณ์ผสม SARIMA – ANN มีความแม่นยำสูงที่สุดและมีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยในช่วงชุดข้อมูลตรวจสอบอยู่ที่ 5.54% และเมื่อนำมาประเมินประสิทธิภาพกับชุดข้อมูลทดสอบจะได้ค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 6.92%


การลดมูลค่าสินค้าคงคลังโดยวิธีการปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อชิ้นส่วนของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน, ศศิธร คำนนท์ Jan 2022

การลดมูลค่าสินค้าคงคลังโดยวิธีการปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อชิ้นส่วนของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน, ศศิธร คำนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาข้อมูลบริษัทผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อชิ้นส่วน ลดมูลค่าสินค้าคงคลังโดยการจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มสินค้า วางแผนการสั่งซื้อชิ้นส่วนจากการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการสินค้าจากข้อมูลความต้องการสินค้าย้อนหลัง เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม และสามารถความคุมปริมาณสินค้าคงคลังได้ ในสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาพบว่าสินค้าคงคลังมีมูลค่าสินค้าคงคลังไม่สอดคล้องกับมูลค่าการขาย ซึ่งสังเกตได้จากอัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnovers Ratio) ที่มีค่าน้อยกว่า 1 ในบางเดือน ผู้จัดทำวิจัยได้จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มสินค้าโดยใช้เทคนิค ABC Analysis ในการจัดลำดับความสำคัญของสินค้า โดยสินค้าที่มีมูลค่าสินค้าคงคลังมากกว่า 70%ของมูลค่าสินค้าคงคลังทั้งหมดจะจัดอยู่ในสินค้า Group A ซึ่งกลุ่มสินค้า Group A สามารถแบ่งเป็น Group A1 และ Group A2 ซึ่งผู้จัดทำสนใจที่จะศึกษากลุ่มสินค้า Group A1 เป็นความสำคัญแรกที่นำมาศึกษารูปแบบความต้องการสินค้าเพื่อกำหนดนโยบายและวิธีการสั่งซื้อ หลังการปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อด้วยเทคนิคการหาจุดสั่งซื้อ (Reorder Point: ROP) และสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock: SS) ที่เหมาะสม พบว่ามูลค่าสินค้าคงมีมูลค่าลดลงรวมทั้งสิ้น 25.12 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าสินค้าคงคลังก่อนการปรับปรุงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 คิดเป็น 58.42%ของมูลค่าสินคงคลังทั้งหมดของสินค้า Group A และจากการปรับปรุงนโยบายด้วยวิธีฮิวริสติกของ Silver-Meal (SM) พบว่าการประมาณค่าใช้จ่ายรวมต่อการสั่งซื้อหลังปรับปรุงมีค่าลดลงจากก่อนปรับปรุง ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ค่าใช้จ่ายรวมต่อการสั่งซื้อก่อนปรับปรุงมีค่ามากเกินความจำเป็นเนื่องมาจากความผิดพลาดในการสั่งซื้อของพนักงานและการไม่ประเมินความคุ้มค่าต่อการสั่งซื้อ


การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าสีแก้วโซดาไลม์, ทศพล สุเริงฤทธิ์ Jan 2022

การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าสีแก้วโซดาไลม์, ทศพล สุเริงฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการผลิตแก้วโซดาไลม์ ค่าสีของผลิตภัณฑ์ถือว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ต้องควบคุม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างค่าสีและปัจจัยในกระบวนการผลิตแก้วโซดาไลม์ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัย คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสี a (สีเขียว-สีแดง) และค่าสี b (สีน้ำเงิน-สีเหลือง) กับปัจจัยที่มาจากวัตถุดิบและเตาหลอมทั้งหมด 10 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวม ปริมาณโซเดียมซัลเฟต ปริมาณโคบอลต์ อัตราการดึงน้ำแก้ว อุณหภูมิหลังคาเตาหลอมจุดที่สอง อุณหภูมิหลังคาเตาหลอมจุดที่สาม อุณหภูมิใต้เตาหลอมจุดที่สอง อุณหภูมิใต้เตาหลอมจุดที่สาม ค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจน และค่าพลังงานความร้อนของก๊าซเชื้อเพลิง ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน จากข้อมูลสายการผลิตจำนวน 770 ค่า จึงได้แบบจำลองถดถอยของค่าสี a ที่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยมีเทอมปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อค่าสี a ทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวม (X1), ปริมาณโคบอลต์ (X3) และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจน (X9) ซึ่งมีรูปแบบสมการ คือ a = - 21.07 - 5.202X1 + 5187X3 + 2.151X9 + 117185X32 - 601X3X9 และมีความสัมพันธ์ดังนี้ เมื่อปริมาณเหล็กออกไซด์รวมเพิ่มขึ้น ค่าสี a จะลดลง ทำให้แก้วมีสีเขียวเข้มขึ้น แต่ถ้าปริมาณโคบอลต์และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจนเพิ่มขึ้น ค่าสี a จะเพิ่มขึ้น ทำให้แก้วมีสีเขียวอ่อนลง เนื่องจากโรงงานกรณีศึกษามีความต้องการให้ผลิตภัณฑ์แก้วโซดาไลม์สีเขียวอมฟ้าเล็กน้อย จึงกำหนดค่าเป้าหมายให้ค่าสี a เท่ากับ -1.22 และค่าต้นทุนรวมของวัตถุดิบ 3 ชนิดมีค่าต่ำที่สุด จากการหาค่าที่เหมาะสมของปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดค่าความพึงพอใจโดยรวมของผลตอบของตัวแปรตอบสนองทั้งสองมีค่าสูงที่สุด เป็น 0.82 ด้วยการปรับตั้งค่าปัจจัย ดังนี้ ปริมาณเหล็กออกไซด์รวมเป็น ร้อยละ 0.0618 ปริมาณโซเดียมซัลเฟตเป็น 10.8 กิโลกรัม ปริมาณโคบอลต์ 0.003911 กิโลกรัม และค่าสัดส่วนก๊าซเชื้อเพลิงต่อก๊าซออกซิเจนเป็น 9.60202 ทำให้ได้ค่าสี a เท่ากับ -1.22346 และค่าต้นทุนรวมของวัตถุดิบ …


การลดของเสียจากข้อบกพร่องสีแตกและสีบางในกระบวนการพ่นสีฝุ่นบนกรอบกระจกของหลังคารถกระบะอเนกประสงค์, พิชญา วาดสูงเนิน Jan 2022

การลดของเสียจากข้อบกพร่องสีแตกและสีบางในกระบวนการพ่นสีฝุ่นบนกรอบกระจกของหลังคารถกระบะอเนกประสงค์, พิชญา วาดสูงเนิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนของเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องประเภทสีแตกและสีบางในกระบวนการพ่นสีฝุ่นบนกรอบกระจกของหลังคารถกระบะอเนกประสงค์ งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์แนวคิดซิกซ์ ซิกมา (Six-Sigma) หรือวิธีการ DMAIC ในการปรับปรุงโดยเริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหาในปัจจุบัน วิเคราะห์ความแม่นและความเที่ยงของระบบการตรวจสอบข้อบกพร่อง จากนั้นได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยการระดมความคิด จัดทำแผนผังสาเหตุและผล เมทริกซ์สาเหตุและผล เพื่อกำหนดปัจจัยนำเข้าหลัก และนำปัจจัยที่คาดว่ามีผลต่อการเกิดข้อบกพร่องประเภทสีแตกและสีบาง 5 ปัจจัยไปออกแบบการทดลองเพื่อหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนของเสียและปัจจัยที่มีนัยสำคัญ จากนั้นใช้เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสม เพื่อหาระดับของแต่ละปัจจัยที่เหมาะสมที่จะช่วยลดสัดส่วนของเสียรวม หลังจากนั้นได้จัดทำแผนควบคุม และเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ที่ได้หลังการปรับปรุงกระบวนการ พบว่า สามารถลดสัดส่วนของเสียจาก 8 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 1.13 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสียได้ 6,877,484 บาทต่อปี


การปรับปรุงกระบวนการขออนุมัติชิ้นงานตัวอย่างสำหรับซัพพลายเออร์, รุ่งทิพย์ อินทวงค์ Jan 2022

การปรับปรุงกระบวนการขออนุมัติชิ้นงานตัวอย่างสำหรับซัพพลายเออร์, รุ่งทิพย์ อินทวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยที่นำเสนอมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการอนุมัติตัวอย่างสำหรับซัพพลายเออร์และปรับปรุงกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายคือลดเวลารอเอกสาร ขจัดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และลดการใช้กระดาษ จากเดิมกระบวนการทำงานเป็นไปตามลำดับขั้น (Waterfall) ซึ่งแต่ละหน่วยงานต้องรอให้หน่วยงานก่อนหน้าทำงานเสร็จก่อนจึงจะดำเนินการต่อได้ กระบวนการทำงานนี้เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน 4 หน่วยงาน และหากพบข้อผิดพลาดใดๆ กระบวนการจะต้องเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ต้น ทำให้มีเวลาเฉลี่ย 18 วันทำการต่อชุด จึงความจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิด SCRUM เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการ การนำเฟรมเวิร์กที่คล่องตัวขึ้นมาใช้ ทำให้ทุกหน่วยงานสามารถเริ่มทำงานพร้อมกันได้ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพ และความสามารถในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในขณะที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที โดยผู้วิจัยได้ศึกษาระบบ Robotic Process Automation (RPA) ที่มีอยู่และจัดทำรายการเอกสาร (Checklist) นำมาใช้ภายในกระบวนการทำงาน ดังนั้นเครื่องมือและเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงกระบวนการอนุมัติเร็วขึ้น ระยะเวลาการตรวจสอบลดลงเหลือเพียง 5 วันทำการ ลดการตรวจสอบซ้ำถึง 25% ผลการทดลองที่ได้รับจากการดำเนินการปรับปรุงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการอนุมัติชิ้นงานตัวอย่างที่ล่าช้าได้ ทำให้ระยะเวลาการตรวจสอบที่สั้นลงและงานตรวจสอบซ้ำที่ลดลง สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้


การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการผลิตยางรถยนต์รุ่นใหม่, วัชรพงศ์ วชิรวงศ์บุรี Jan 2022

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการผลิตยางรถยนต์รุ่นใหม่, วัชรพงศ์ วชิรวงศ์บุรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ได้วิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการผลิตยางรถยนต์รุ่นใหม่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหยืดหยุ่นในการผลิตของโรงงานกรณีศึกษาและความแปรผันของความต้องการของตลาดรถยนต์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย งานวิจัยนี้ได้นำการเสนอการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการผลิตยางรถยนต์รุ่นใหม่ เพื่อช่วยในการลดระยะเวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตยางรถยนต์รุ่นใหม่ และช่วยในการตัดสินใจในการลงทุนเกี่ยวกับการซื้อเครื่องจักรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เนื่องด้วยโรงงานกรณีศึกษาเป็นโรงงานที่ก่อตั้งเพื่อผลิตยางรถยนต์โดยสารทั่วไป เช่น รถเก๋ง รถกระบะ รถSUV เพื่อยางที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14-19 นิ้ว แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าผลิตยางรถยนต์รุ่นอื่นได้หรือไม่ จากการทดสอบโปรแกรมที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น พบว่าระยะเวลาการทำงานลดเหลือ 2 สัปดาห์ จากการทำงานเดิม 5 สัปดาห์ ซึ่งคิดเป็น 60% ของระยะเวลาที่ลดลงจากการทำงานของพนักงาน โดยเป็นการใช้ระบบฐานข้อมูลและช่วยในการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตยางรถยนต์รุ่นใหม่ผ่านการใช้โปรแกรม แทนการใช้อีเมล (email) หรือไฟล์เอ็กเซล (Excel file) ในการสื่อสารระหว่างพนักงาน ช่วยลดจำนวนครั้งในการติดต่อระหว่างพนักงานเพื่อสอบถามเกี่ยวกับข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความแม่นยำมากขึ้นและลดความผิดพลาดที่เกิดจากพนักงานด้วย


การลดสัดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องโลหะบัดกรีไม่สมบูรณ์สำหรับแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบยืดหยุ่น, ศตพร คุณาพิสิฐกุล Jan 2022

การลดสัดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องโลหะบัดกรีไม่สมบูรณ์สำหรับแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบยืดหยุ่น, ศตพร คุณาพิสิฐกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพกระบวนการผลิตโดยลดสัดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องโลหะบัดกรีไม่สมบูรณ์สำหรับแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบยืดหยุ่น (Flexible Printed Circuit Assembly) ด้วยหลักการ DMAIC ของเทคนิคซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยด้วยแผนผังก้างปลา (Fish Bone) ก่อนการนำไปวิเคราะห์ลำดับความสำคัญด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (Failure mode and effects analysis, FMEA) พบว่ามี 7 ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดข้อบกพร่องที่สนใจ ได้แก่ ชนิดพื้นผิวของพื้นที่เปิดแตกต่างกัน 2) การติด Glass cloth ผิดวิธี, เยื้อง 3) การออกแบบแม่พิมพ์ไม่เหมาะสม 4) ความหนาของแม่พิมพ์น้อยเกินไป 5) แรงดันที่ใช้ขณะพิมพ์ไม่เหมาะสม 6) การตั้งค่า Reflow profile ไม่เหมาะสม และ 7) ความเข้มข้นของ Oxygen ไม่เหมาะสม ผู้วิจัยทำการศึกษาชนิดพื้นผิวของพื้นที่เปิดแตกต่างกัน (ปัจจัยที่ 1) เพื่อเป็นองค์ประกอบในการปรับปรุงการออกแบบแม่พิมพ์ (ปัจจัยที่ 3) สำหรับปัจจัยที่ 2 – 7 ได้ทำการออกแบบการทดลองแบบปัจจัยเดียว (OFAT) และทดสอบทางสถิติเพื่อหาวิธีการทำงานที่ช่วยลดสัดส่วนของเสียได้อย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นได้ศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยที่ 6 และ 7 ซึ่งประกอบไปด้วย Reflow time, Peak temperature และ การใช้ N2 ด้วยการออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลเต็มรูป (Full factorial design) หาสมการความสัมพันธ์ด้วยแบบจำลองการถดถอย (Regression equation) ทำให้สามารถกำหนดค่าที่เหมาะสม และพบว่า สามารถลดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องโลหะบัดกรีไม่สมบูรณ์ได้จาก 4.14% เป็น 1.17% หรือลดลง 71.74% จากสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง ส่งผลให้มูลค่าสูญเสียลดลง 33,041 บาทต่อเดือน จาก 51,753 บาทต่อเดือน เหลือเพียง 18,712 บาทต่อเดือน


แบบจำลองระบบจอดรถอัตโนมัติเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ, อลงกรณ์ พรสุขศิริ Jan 2022

แบบจำลองระบบจอดรถอัตโนมัติเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ, อลงกรณ์ พรสุขศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบจอดรถอัตโนมัตินั้นสามารถช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับที่จอดรถ และช่วยให้การลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์นั้นมีความคุ้มค่ามากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดขนาดของพื้นที่ที่ต้องใช้สำหรับจอดรถได้อีกด้วย ปัจจุบันระบบจอดรถอัตโนมัติมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายนั้นๆ โดยงานวิจัยฉบับนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการเลือกใช้ระบบจอดรถอัตโนมัติระหว่างระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาด(Pallet type) และระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์(Robot type) ทั้งในด้านต้นทุน ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า และประสิทธิภาพของระบบโดยทั่วไป ประสิทธิภาพของระบบจอดรถอัตโนมัติจะคำนวณจากเวลาเฉลี่ยระหว่างตำแหน่งที่จอดรถที่ใกล้ที่สุดและไกลที่สุดเพียงสองตำแหน่งเท่านั้น จากการคำนวณดังกล่าวส่งผลให้มีความน่าเชื่อถือไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ดังนั้น งานวิจัยฉนับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินประสิทธิภาพของระบบจอดรถอัตโนมัติโดยการเปรียบเทียบระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาดและระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์ ผ่านการแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม SIMIO รวมไปถึงการวิเคราะห์ต้นทุน และปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า จากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่าในด้านของประสิทธิภาพของสำหรับกระบวนการนำรถเข้าจอดนั้น ระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาด อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการนำรถออกจากระบบนั้นระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาดมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่าต้นทุนและปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมของระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดหุ่นยนต์ต่ำกว่าระบบจอดรถอัตโนมัติชนิดถาด


การปรับปรุงอัตราความพร้อมใช้งานเครื่องจักรในกระบวนการติดดาย, ญาณิศา สุรพันธ์ Jan 2022

การปรับปรุงอัตราความพร้อมใช้งานเครื่องจักรในกระบวนการติดดาย, ญาณิศา สุรพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรและอัตราการใช้ประโยชน์ที่กระบวนการติดดาย เนื่องจากกระบวนการติดดายเป็นกระบวนหลักที่สำคัญในการผลิตแผงวงจรรวม โดยงานวิจัยนี้ได้เริ่มทำการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เครื่องจักรแต่ละรุ่นในกระบวนการติดดาย ซึ่งพบว่าเครื่องจักรรุ่น ESEC 2100XP มีเวลาสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุด โดยจากการวิเคราะห์ด้วยแผนผังพาเรโต พบว่าการปรับตั้งเครื่องจักรประเภทเปลี่ยนลีดหรือเปลี่ยนผลิตภัณฑ์มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุด คิดเป็น 47 เปอร์เซ็นต์ของเวลาสูญเสียทั้งหมด จากนั้นทำการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้แผนผังก้างปลา และหาแนวทางในการปรับปรุงโดยมีการใช้เทคนิค SMED เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรให้ลดลง และหลังจากการปรับปรุงพบว่าสามารถลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรลงได้ 18 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อัตราความพร้อมใช้งานเครื่องจักรเพิ่มขึ้นเป็น 84.57 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลให้ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเพิ่มเป็น 81.28 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าอัตราการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็น 62.35 เปอร์เซ็นต์


การพยากรณ์สินค้าคงค้างด้วยการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับข้อมูลไม่สมดุล, ธิรดา ธาดาจิรสกุล Jan 2022

การพยากรณ์สินค้าคงค้างด้วยการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับข้อมูลไม่สมดุล, ธิรดา ธาดาจิรสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้การเรียนรู้ของเครื่องในการพยากรณ์สินค้าคงค้างกับข้อมูลที่มีรายการสินค้าเป็นจำนวนมากจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ซึ่งในความเป็นจริงข้อมูลที่เจอมักมีความไม่สมดุลทำให้ประสิทธิภาพในการพยากรณ์ด้วยการเรียนรู้ของเครื่องลดลง การพยากรณ์สินค้าคงค้างที่ไม่ถูกต้องนั้นส่งผลต่อความไว้วางใจของผู้ซื้อและทำให้เสียค่าใช้จ่ายถึงร้อยละ 10 ของรายได้ งานวิจัยฉบับนี้จึงได้ศึกษาการปรับสมดุลข้อมูลด้วยวิธี Threshold Moving และการปรับระดับข้อมูลด้วยวิธีสุ่มเพื่อสร้างตัวแบบที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถในการพยากรณ์ข้อมูลกลุ่มน้อยสูง โดยวิธีการปรับระดับข้อมูลมี 4 วิธีได้แก่ การปรับลดข้อมูลด้วยวิธี NearMiss-3, การปรับลดข้อมูลด้วยวิธี OSS, การปรับเพิ่มข้อมูลด้วยวิธี SMOTE และการปรับลดผสมกับเพิ่มข้อมูลด้วยวิธี OSS ผสม SMOTE โดยอัลกอริทึมที่ใช้ได้แก่ LOGIST, FOREST และ XGBoost นอกจากนี้มีการใช้การตรวจสอบแบบไขว้แบบ 5 กลุ่มกับตัวแบบเพื่อป้องกันการเกิด Overfitting ในวิจัยฉบับนี้มีการวัดประสิทธิภาพของตัวแบบด้วย AUROC, F1 score และ G-Mean ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยฉบับนี้คือการจัดการข้อมูลด้วย Threshold Moving ด้วยการวัดประสิทธิภาพ G-Mean นั้นให้น้ำหนักกับข้อมูลกลุ่มน้อยมากกว่า F1 score และให้ผลลัพธ์ดีกว่า AUROC โดยวิธีการที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดคือการจัดการข้อมูลด้วย Threshold Moving ด้วยการวัดประสิทธิภาพ G-Mean สำหรับอัลกอริทึม Forest ซึ่งได้ค่าประมาณ 0.8737


การลดของเสียจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยาง, นินวัฒน์ นำลาภ Jan 2022

การลดของเสียจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยาง, นินวัฒน์ นำลาภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการลดอัตราของเสียที่เกิดขึ้นในแผนกอบยางของบริษัทผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่ง และเพื่อการควบคุมกระบวนการผลิตให้เกิดการกระจายตัวที่น้อยลง (Variation Reduction) โดยมุ่งเน้นในการสร้างมาตรฐานในระยะยาวสำหรับการนำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสถิติมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การบันทึกข้อมูลของเสียที่ได้มาจากฐานข้อมูลของบริษัทกรณีศึกษา ในงานวิจัยนี้ใช้แนวทางในการดำเนินการโดยวิธี ซิกซ์ ซิกมา โดยได้ทำการนำขั้นตอน DMAIC มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการโดยมีทั้งหมด 5 ระยะ ได้แก่ ระยะนิยามปัญหา (Define phase: D) ระยะการวัด (Measure phase: M) ระยะการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Analysis phase: A) ระยะการปรับปรุงแก้ไขปัญหา (Improve phase: I) และระยะการตรวจติดตามควบคุม (Control phase: C) วิเคราะห์ข้อมูลและหาปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตและคัดเลือกปัจจัยดังกล่าวมาทำการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล ผลจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตจากการใช้ค่าการปรับตั้งที่เหมาะสม พบว่าจำนวนของเสียที่เกิดจากการรั่วของถุงลมในกระบวนการอบยางลดลงจากเดิม 884 ppm เหลือ 379 ppm ของเสียที่เปลี่ยนแปลงคิดเป็นร้อยละ 57.13 หรือคิดมูลค่าความเสียหายลดลงไป 760,000 บาท ในส่วนของสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 0.06 หลังการปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 0.03 สัดส่วนของเสียที่เปลี่ยนแปลงคิดเป็นร้อยละ 50


การคาดการณ์เวลาเดินทางบนท้องถนนระหว่างพิกัดสองจุดในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ปวริศ เวชวรรณกิจกุล Jan 2022

การคาดการณ์เวลาเดินทางบนท้องถนนระหว่างพิกัดสองจุดในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ปวริศ เวชวรรณกิจกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระยะเวลาเดินทางบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครนั้นมีความไม่แน่นอน เนื่องจากความแออัดของการจราจร อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวกลับมีความสำคัญในการจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้ค่าประมาณการณ์ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของแผนงานดังกล่าวลดต่ำลง ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาตัวแบบที่สามารถการคาดการณ์ระยะเวลาเดินทางบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้พัฒนา หรือบูรณาการร่วมกับแผนงานเดิมได้ เริ่มต้น ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูล Mobile Probe จาก iTIC foundation จากนั้นจึงแปลงข้อมูลดังกล่าวออกเป็น Origin-Destination Pairs แล้วคัดเลือกเฉพาะชุดข้อมูลที่มีพิกัดอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานครไปใช้สร้างต้นแบบการเรียนรู้ของเครื่องผ่านอัลกอริทึมแบบต่าง ๆ จนได้อัลกอริทึมที่สามารถสร้างต้นแบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดได้ ผู้วิจัยพบว่า จากอัลกอริทึมต่าง ๆ Random forest ถือเป็นอัลกอริทึมที่สามารถสร้างต้นแบบที่มีศักยภาพสูงที่สุด ในขณะที่ XGBoost และ CatBoost มีแนวโน้มที่ดีในการนำไปพัฒนาต่อ เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการสร้างต้นแบบน้อย


การออกแบบระบบการวางแผนการผลิตโรงงานผลิตยา, ปวีณ์ธิดา เนียมชื่น Jan 2022

การออกแบบระบบการวางแผนการผลิตโรงงานผลิตยา, ปวีณ์ธิดา เนียมชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแข่งขันในอุตสาหกรรมยามีแนวโน้มสูงขึ้นจากคู่แข่งทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้นและจากการแข่งขันทางด้านราคา ระบบการวางแผนการผลิตที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้โรงงานผู้ผลิตยามีระดับการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการภายใต้สภาพตลาดที่มีการแข่งขันสูงและความต้องการที่มีความผันผวนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม โรงงานกรณีศึกษามีระบบการวางแผนการผลิตที่ยังไม่ดีมากนัก ใช้การวางแผนการผลิตด้วยมือและพึ่งพาการตัดสินใจของผู้วางแผนเป็นหลัก จึงทำให้เกิดสินค้าขาดคงคลังอยู่บ่อยครั้งและไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนด งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการออกแบบระบบการวางแผนการผลิตของโรงงานผลิตยาและสร้างเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนการผลิตและการตัดสินใจเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอและทันต่อความต้องการของลูกค้า โดยเริ่มจากการกำหนดนโยบายการผลิตโดยใช้นโยบายพัสดุคงคลัง สร้างแบบแผนการคำนวณรายการและปริมาณที่ต้องผลิตและแบบแผนกระบวนการคิดและเกณฑ์การตัดสินใจในการจัดลำดับการผลิต โดยใช้วิธีทำงานที่ถึงวันส่งมอบเร็วที่สุดก่อน (Earliest due date) และสร้างออกมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนการผลิตในรูปแบบแผ่นตารางการทำงาน (Spread sheet) ที่มีความง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน การสร้างหรือการพัฒนาเครื่องมือ และไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเติม เมื่อทดสอบประสิทธิผลของระบบการวางแผนการผลิตที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลปริมาณการขายที่เกิดขึ้นจริง พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับการให้บริการสูงขึ้นถึง 99% (ค่าเฉลี่ยของอัตราการเติมเต็มสินค้า 100%) โดยที่คำสั่งการผลิตรวมลดลง 6% และมูลค่าสินค้าคงคลังเฉลี่ยลดลง 4% เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้จากการวางแผนการผลิตเดิม ซึ่งการผลิตดังกล่าวสามารถดำเนินการผลิตได้จริงตามกำลังการผลิตที่มีในปัจจุบัน ทั้งในแง่มุมเครื่องจักร พนักงาน และพื้นที่การจัดเก็บสินค้า ในด้านประสิทธิภาพของระบบการวางแผนการผลิตที่สร้างขึ้นสามารถปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนจากการทำงานด้วยมือเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบการวางแผนการผลิตที่สร้างขึ้นเป็น 1 ในวิธีที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการวางแผนการผลิตของโรงงานผลิตยาแห่งนี้ได้


Critical Success Factors For Data Warehouse Implementation In An Industrial Associations Organization, Phatnarin Khantayana Jan 2022

Critical Success Factors For Data Warehouse Implementation In An Industrial Associations Organization, Phatnarin Khantayana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to delve into the key success factors (CSFs) associated with data warehouse (DW) implementation from the perspectives of various stakeholders within an organization. A data warehouse provides a unified and structured view of an organization's data for analysis and reporting, and successfully implementing such a system can have a significant impact on overall organizational performance. It enables better data management, facilitates improved decision-making, and enhances strategic planning. The scope of this research encompasses an in-depth examination of the core CSFs that are instrumental in achieving success during data warehouse deployments. It focuses on understanding …


Demand Forecasting And Inventory Management For An Automotive Tire Distributor In Northeast Thailand, Vasinee Chantaraponpun Jan 2022

Demand Forecasting And Inventory Management For An Automotive Tire Distributor In Northeast Thailand, Vasinee Chantaraponpun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to improve the inventory management for an automotive tire distributor company in Northeast Thailand to mainly reduce the excessive unnecessary stock. According to the initial investigations, the main causes of overstock are unstable customer demands and a lack of an inventory control system based on theory. In order to better address the issues and scope down the research area, three suitable products and sub-dealers with different demand patterns are selected to find the best-fit forecasting model for each of them and be customized the inventory policy based on the demand patterns. The methodology is …


Multi-Objective Vehicle Loading And Routing Problem For Fresh Fruit And Vegetable Transportation, Supisara Krairiksh Jan 2022

Multi-Objective Vehicle Loading And Routing Problem For Fresh Fruit And Vegetable Transportation, Supisara Krairiksh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Multi-compartment refrigerated vehicles are recently utilized in the cold chain industry, due largely to their flexibility in storage capacities with different temperature settings. To better comprehend the costs and benefits of this vehicle type in fresh fruits and vegetable transportation, a multi-compartment vehicle routing and loading problem (MCVRLP) with three different objectives – namely (i) minimizing total transportation cost, (ii) minimizing CO2 emissions, and (iii) minimizing weight loss of fresh fruits and vegetable – is herein explored and solved by mathematical formulation and genetic-based evolutionary algorithm approaches. Based on our computational results, we find that large and complicated MCVRLP instances …


Bitcoin Candlestick Price Prediction With Recurrent Neural Network, Sutiwat Simtharakao Jan 2022

Bitcoin Candlestick Price Prediction With Recurrent Neural Network, Sutiwat Simtharakao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bitcoin is a high-risk asset with a potentially high return. Predicting Bitcoin candlestick, i.e., open, high, low, and close (OHLC) prices, can help investors make trading decisions. The objective of this study is to develop a neural network model to predict the candlestick prices of Bitcoin for the next period. Additionally, this study investigates methods to enhance the model's forecasting performance by feature transformations, specifically data normalization. This study employs two neural network algorithms, Long Short-Term Memory (LSTM) and Gated Recurrent Unit (GRU), to forecast daily Bitcoin OHLC prices. To enhance the model's performance, we compare sliding window normalization with …


Analyzing Nypd Stop, Question, And Frisk With Machine Learning Techniques, Passiri Bodhidatta Jan 2021

Analyzing Nypd Stop, Question, And Frisk With Machine Learning Techniques, Passiri Bodhidatta

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Although stops from “Stop, Question, and Frisk” program have decreased dramatically after the New York Police Department (NYPD) reform in 2013, the unnecessary stops and weapon use against innocent citizens remain critical problems. This study analyzes the stops during 2014 – 2019, using three tree-based machine learning approaches: Decision Tree, Random Forest, and XGBoost. Models for predicting stops that resulted in a conviction and police’s level of force used are developed and driving factors are identified. Results show that XGBoost outperformed other models in both predictions. The performance of Guilty Prediction was at 65.9% F1 score and 84.0% accuracy. For …


Key Success Factors Identification For Logistics Outsourcing In Myanmar, Pyae Sone Htoon Jan 2021

Key Success Factors Identification For Logistics Outsourcing In Myanmar, Pyae Sone Htoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this paper is to identify the key success factors that have a profound effect on the service quality of outsourced logistics functions in the import/export sector of trade business in Myanmar and rank them accordingly to their importance when outsourcing logistics functions. The paper states the critical elements required for logistics service providers to compete for high customer satisfaction in Yangon, Myanmar. Fuzzy TOPSIS methodology with triangular fuzzy numbers is used to identify the key success factors and rank them in order of their relative closeness to the ideal solution. The findings suggest that soft factors such …