Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2006

PDF

Arts and Humanities

Journal

Journal of Letters

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Entire DC Network

"ไก่" ในวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น, ชมนาด ศีติสาร Jul 2006

"ไก่" ในวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น, ชมนาด ศีติสาร

Journal of Letters

ไก่เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมากมาช้านาน ชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมและความเชื่อเกี่ยวกับไก่อยู่มากมาย บทความนี้ศึกษาไก่ใน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น โดยมองผ่านวรรณกรรมที่สําคัญ คติความเชื่อบางประเภท ตลอดจนสํานวนและคําพังเพย เพื่อทําความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างไก่กับชาวญี่ปุ่น และความหมายในเชิงสัญลักษณ์ของไก่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ผู้วิจัยพบว่า วัฒนธรรมเกี่ยวกับไก่ของชาวญี่ปุ่นมีพื้นฐานอยู่บนลักษณะเฉพาะของไก่ในฐานะ สิ่งมีชีวิต และควรมีการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมเกี่ยวกับไก่ของชาติ ต่าง ๆ ในเอเชียที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมร่วมกับญี่ปุ่น


ตำนานตัวอักษร: กลไกทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ที่ไม่มีตัวอักษร, ศิราพร ณ ถลาง Jul 2006

ตำนานตัวอักษร: กลไกทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ที่ไม่มีตัวอักษร, ศิราพร ณ ถลาง

Journal of Letters

ชาวเขาที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนเหนือของประเทศเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศไทย เป็น ชาติพันธุ์ที่ไม่มีตัวอักษรเป็นของตัวเอง แต่ชาวเขาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น อาข่า ลาหู กะเหรี่ยง ล้วนมีตำนานที่เล่าว่า ในอดีตกาลนานโพ้น พวกเขาก็เคยมีตัวอักษรใช้ แต่ต่อมาได้สูญเสียตัวอักษรไป บทความนี้จึงสนใจศึกษา "ตำนานตัวอักษร" ของชาวเขากลุ่มต่างๆ เหล่านี้ เพื่อวิเคราะห์บริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ทําให้ชาวเขาเหล่านี้ต้อง "สร้างตํานาน" เพื่อเป็นวาทกรรมตอบโต้คนต่างวัฒนธรรมที่มีตัวอักษรใช้และมีอำนาจทางสังคม และการเมืองมากกว่าตน ตลอดจนวิเคราะห์วิธีการเล่าเรื่อง โครงสร้างและเนื้อหา ตำนานตัวอักษรสํานวนต่างๆ ที่เล่ากันในสังคมวัฒนธรรมชาวเขากลุ่มต่างๆ


ประสานวรรณศิลป์และคีตศิลป์ : เพลงเลียนแบบพื้นบ้าน - ตัวแทนจิตวิญญาณ ชาวบ้านเยอรมัน, พรสรรค์ วัฒนางกูร Jul 2006

ประสานวรรณศิลป์และคีตศิลป์ : เพลงเลียนแบบพื้นบ้าน - ตัวแทนจิตวิญญาณ ชาวบ้านเยอรมัน, พรสรรค์ วัฒนางกูร

Journal of Letters

เพลงเลียนแบบพื้นบ้าน หรือ "คุนซ์ลีด" (Kunstlied) เป็นประเภทหนึ่ง (genre) ของงานศิลป์ที่มีลักษณะเด่นและมี เอกลักษณ์พิเศษได้รับความนิยมมากใน เยอรมนีโดยเฉพาะในระหว่างศตวรรษที่ 18 และ 19 เนื่องจาก "คุนซ์ลีด" เป็น ประเภทหนึ่ง (genre) ของวรรณคดีและในขณะเดียวกันก็เป็นประเภทหนึ่ง (genre) ของดนตรีด้วยเช่นกัน ในบทความวิจัยนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอแง่มุมพิเศษของเพลงเลียนแบบพื้นบ้าน ว่า มีความหมายสองนัยในแง่ วรรณศิลป์ คือ เกี่ยวพันกับ กวีนิพนธ์ และมี ความหมายในแง่ คีตศิลป์ อย่างไร เพลงประเภทนี้ มีที่มา และ พัฒนา จากเพลง พื้นบ้าน (Volkslied) อย่างไร กับมีความสำคัญในแง่สังคม วัฒนธรรม การเมือง และ ในแง่วิชาการต่อวงการวรรณกรรม และดนตรีของเยอรมัน และของโลกอย่างไร


บทบาทของการกินในเทพปกรณัมกรีก-โรมัน : ความสุขและรางวัล ฤาทุกข์ภัยพิบัติ และบทลงโทษ, ศุภกาญจน์ เอี่ยมหฤท Jul 2006

บทบาทของการกินในเทพปกรณัมกรีก-โรมัน : ความสุขและรางวัล ฤาทุกข์ภัยพิบัติ และบทลงโทษ, ศุภกาญจน์ เอี่ยมหฤท

Journal of Letters

บทความวิจัยชิ้นนี้เน้นการวิเคราะห์ถึงบทบาทของการกินที่นำมาใช้ในการดำเนินเรื่องในเทพปกรณัมกรีก-โรมัน ผู้วิจัยได้ใช้เรื่องราวในเทพปกรณัมกรีก-โรมัน ที่อาศัยการกินในการดำเนินเรื่องทั้งหมด 9 เรื่องในการวิเคราะห์ ได้แก่ เรื่อง เทพ คิวปิดกับนางไซคี สงครามชิงอำนาจระหว่างเทพโครนัสกับเทพซูส โพรมีเทียสเทพ ผู้สร้างมนุษย์ มหากาพย์โอดิสซีย์ แทนทาลัสกับราชวงศ์เอเทรียส นางพรอกนี้และ นางฟิลอมิลา ไม่ดัสกับการขอพรที่เบาปัญญา ฟินิอัสในเจสันกับขนแกะทองคำ และ เรื่องของแอริซิกทัน จากการวิเคราะห์ผู้วิจัยได้ข้อสรุปว่าบทบาทของการกินในเทพ ปกรณัมกรีก-โรมันนั้น มีความเด่นชัดในด้านลบมากกว่าด้านบวก กล่าวคือ การกิน นั้นถูกนำเสนอเป็นรางวัลตอบแทนหรือความสุขเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องเทพคิวปิด กับนางไซคี ส่วนที่เหลือนั้นการกินถูกนําเสนอเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ภัยพิบัติ หรือบทลงโทษ


บทบาทของตำนานประวัติศาสตร์และเทพปกรณัมจีน ในนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง, จินตนา ธันวานิวัฒน์ Jul 2006

บทบาทของตำนานประวัติศาสตร์และเทพปกรณัมจีน ในนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง, จินตนา ธันวานิวัฒน์

Journal of Letters

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาบทบาทของตำนานประวัติศาสตร์และ เทพปกรณัมจีนที่ปรากฏในนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง จากการวิจัยพบว่ามี ตำนานประวัติศาสตร์และเทพปกรณัมจีนหลายเรื่องปรากฏในนิยายเรื่อง ความฝัน ในหอแดง มีทั้งเรื่องราวของบุคคล สัตว์ สิ่งของที่มีที่มาจากตํานานประวัติศาสตร์ และเทพปกรณัมจีน บทบาทและหน้าที่ของตำนานประวัติศาสตร์และเทพปกรณัมจีนแต่ละเรื่องมีบทบาทแตกต่างกันไป นอกจากนี้การศึกษาตำนานประวัติศาสตร์ และเทพปกรณัมจีนที่ปรากฏในนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง ยังทำให้ทราบว่า เทพปกรณัมจีนเรื่องเทพธิดาหนี้ว์วาซ่อมแซมท้องฟ้า (AZ) เป็นที่มาสำคัญ ในการสร้างตัวละครเอกที่สำคัญในเรื่องนี้


สนทนาภาษาหนังสือ, ปรมินท์ จารุวร Jul 2006

สนทนาภาษาหนังสือ, ปรมินท์ จารุวร

Journal of Letters

No abstract provided.


จินตนาการในวรรณกรรมนิทาน เรื่อง "ทะเกะโตะริโมะโนะงะตะริ", อรรถยา สุวรรณระดา Jul 2006

จินตนาการในวรรณกรรมนิทาน เรื่อง "ทะเกะโตะริโมะโนะงะตะริ", อรรถยา สุวรรณระดา

Journal of Letters

วรรณกรรมเรื่อง ทะเกะโตะริโมะโนะงะตะริ เป็นวรรณกรรมประเภทนิทาน ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น เขียนขึ้นเมื่อประมาณปลายศตวรรษที่ 9 เป็นเรื่องราวของ เจ้าหญิงคะงุยะจากดวงจันทร์ที่จุติลงมาในโลกมนุษย์ในกระบอกไม้ไผ่ เจ้าหญิงมี ความงามมากจึงเป็นที่หมายปองของบรรดาผู้ที่มีเงินทั้งหลายแต่ก็ไม่มีใครสามารถ หาของวิเศษที่เจ้าหญิงตั้งขึ้นเป็นหัวข้อทดสอบมาได้และสุดท้ายเจ้าหญิงก็กลับดวงจันทร์ไป ในบทความนี้ได้ศึกษาถึงจินตนาการของมนุษย์เกี่ยวกับสิ่งลี้ลับที่อยู่ เหนือธรรมชาติ โลกสวรรค์ รวมไปจนถึงบรรดาของวิเศษต่างๆ ที่ปรากฏในเรื่อง สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเพ้อฝันและความปรารถนาของมนุษย์ที่ต้องการ หลีกหนีจากโลกแห่งความเป็นจริงไปสู่โลกในอุดมคติที่มนุษย์แสวงหา แต่สุดท้าย แล้วโลกในจินตนาการกับโลกแห่งความเป็นจริงก็มิอาจจะปะปนกันได้ มนุษย์ทำได้ แต่เพียงอาศัยจินตนาการเป็นเครื่องปลอบประโลมให้ดำรงอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงนี้ต่อไป


ตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง ของไทย: ความจริง สร้างตำนาน จินตนาการ สร้างประวัติศาสตร์, สายป่าน ปริวรรณชนะ Jul 2006

ตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง ของไทย: ความจริง สร้างตำนาน จินตนาการ สร้างประวัติศาสตร์, สายป่าน ปริวรรณชนะ

Journal of Letters

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่ง ทะเลภาคกลางของไทยในปริบททางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่าตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลางของไทยมี เนื้อหาที่สัมพันธ์กับสภาพความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม และ วัฒนธรรมของกลุ่มชนท้องถิ่น ในขณะเดียวกันตำนานประจำถิ่นยังเป็นเรื่อง จินตนาการที่กลุ่มชนท้องถิ่นสร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายทั้งความเป็นมาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และทั้งความเป็นมาของท้องถิ่น ตามความคิดและความเข้าใจของตน ทำให้ตำนาน ประจำถิ่นกลายเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในความรับรู้ของชาวบ้าน และส่งผลต่อจิตสำนึกร่วมในเรื่องความเป็นท้องถิ่น


แถน แมน : เทพเทวาหรือบรรพชนคนไท, สุกัญญา สุจฉายา Jul 2006

แถน แมน : เทพเทวาหรือบรรพชนคนไท, สุกัญญา สุจฉายา

Journal of Letters

แถน และ แมนเป็นกลุ่มตัวละครปฏิปักษ์ ในวรรณคดีเรื่อง ท้าวกุ้งท้าวเขื่อง ของลาว ซึ่งพบว่ามีบทบาทอยู่ในวรรณคดีล้านช้างเรื่องอื่นๆ และในคติความเชื่อ ของชนชาติไทหลายกลุ่ม ในวรรณคดีรุ่นเก่าที่มีเนื้อหาเป็นตำนานและพงศาวดาร "แถน" มีบทบาทสูงในฐานะเทพผู้สร้าง ในวรรณคดีรุ่นหลังที่มีเนื้อหาเป็นนิทาน แถนลดบทบาทลงมาเป็นบริวารของพระอินทร์ และกลายเป็นยักษ์ไปในที่สุด ส่วน "แมน" ในวรรณคดีทั่วไป หมายถึงเทวดา มีสถานะเหนือกว่ามนุษย์แต่ไม่มีอำนาจ เท่าแถน บางเรื่อง หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่มีสถานภาพสูงกว่าคนกลุ่มอื่นเพราะมี ความใกล้ชิดกับแถนมากกว่า แต่สำหรับกลุ่มไทอาหม แมนกลับหมายถึงคน พื้นเมืองดั้งเดิม ในคติความเชื่อของชนชาติไท แถนคือเทพผู้สร้าง มีหลายองค์ และมี บทบาทเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ แถนมีบทบาทมากในกลุ่มไทดำ และไทลาว ส่วน กลุ่มไทอื่นๆ แถนจะถูกแทนที่ด้วย "พระอินทร์" (ขุนสาง หรือ "พระพรหม") หลักฐานจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนและบันทึกของนักเดินทาง ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา แสดงให้เห็นว่าแถนและแมนเป็นกลุ่มชนที่มีจริงใน บริเวณภาคใต้ของจีน และเป็นไปได้ว่าจะเป็นบรรพชนของกลุ่มชนชาติไท เพราะมี วัฒนธรรมที่เป็นมรดกร่วมกัน โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกว่า เตียนเยว่หรืออาณาจักร เตียน หรือ แถนและพวกหมาง หรือ แมนบางกลุ่ม


บทบาทของ "หมา" ในตำนานและพิธีกรรมของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอุษาคเนย์, ปฐม หงษ์สุวรรณ Jul 2006

บทบาทของ "หมา" ในตำนานและพิธีกรรมของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอุษาคเนย์, ปฐม หงษ์สุวรรณ

Journal of Letters

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของตัวละครหมาที่ปรากฏในตำนานและพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก การศึกษาพบว่าหมามีบทบาทเชิงสัญลักษณ์ที่สําคัญ 4 ประการ คือ เป็นบรรพบุรุษ ของมนุษย์ เป็นผู้นําทางวัฒนธรรม เป็นตัวแทนของการสืบเผ่าพันธุ์และความ อุดมสมบูรณ์ และเป็นสื่อกลางเชื่อมโย ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกศักดิ์สิทธิ์ บทความนี้ ได้วิเคราะห์ให้เห็นบทบาทและความสําคัญของหมาในฐานะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับ การเป็นตัวแทนของกลุ่มชนและเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา อันมีความหมายเชิง วัฒนธรรมที่สะท้อนระบบคิดของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในดินแดนแถบนี้


Abstracts Jul 2006

Abstracts

Journal of Letters

No abstract provided.


นิทานดาวินชี: อัจฉริยภาพด้านวรรณศิลป์ของเลโอนาร์โด, ชัตสุณี สินธุสิงห์ Jul 2006

นิทานดาวินชี: อัจฉริยภาพด้านวรรณศิลป์ของเลโอนาร์โด, ชัตสุณี สินธุสิงห์

Journal of Letters

ไม่ค่อยเป็นที่ทราบกันนักว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นนักเล่านิทานคนสำคัญ ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เขาแต่งนิทานตามแบบนิทานอีสป โดยอาศัยเค้าโครงเรื่อง จากนิทานพื้นบ้านที่เคยได้ฟัง ผสมผสานเข้ากับเรื่องราวจากธรรมชาติที่เขา จินตนาการขึ้นเอง นิทานของเลโอนาร์โดมีจุดเด่นที่ข้อคิดเชิงปรัชญาอันเฉียบคม ลีลาการเล่าเรื่องฉับไว ภาษาร้อยแก้วกระจ่างชัดเจน และความเชื่อมโยงกับสังคม และการเมืองในยุคของผู้แต่ง บทความวิจัยนี้มุ่งแนะนําวรรณกรรมนิทานของเลโอนาร์โด ดา วินชี ในแง่ของ ความเป็นมา รูปแบบ เนื้อหา วรรณศิลป์ และความหมาย เพื่อแสดงถึงอัจฉริยภาพ ทางการประพันธ์ของเขา


ตำนานพระศรีอาริย์: การตอบสนองความต้องการ อันเป็นอุดมคติแห่งโลกอนาคต, อภิลักษณ์ เกษมผลกูล Jul 2006

ตำนานพระศรีอาริย์: การตอบสนองความต้องการ อันเป็นอุดมคติแห่งโลกอนาคต, อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

Journal of Letters

ตำนานพระศรีอาริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยที่มีมาแต่ บรรพกาล ซึ่งกล่าวถึงยุคสมัยอันเป็นอุดมคติ และเชื่อกันว่าจะเกิดขึ้นจริงในหลัง พ.ศ. 5000 เนื้อหาในตํานานต่างๆ กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวก ความสุขสบาย ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของพระศรีอาริย์ สิ่งเหล่านี้เป็น "จินตนาการ" ที่สร้างขึ้น ท่ามกลางปัญหาและความไม่พอใจต่อสภาพปัจจุบันในโลกแห่งความจริง โลก อุดมคติในสมัยพระศรีอาริย์จึงมีบทบาทอย่างสำคัญในการตอบสนองความต้องการ อันเป็นอุดมคติแก่มนุษย์ ให้มนุษย์ผ่อนคลายและปราศจากความกังวลและความ หวาดกลัว ซึ่งมีอยู่ในทุกยุคทุกสมัย อย่างไรก็ตาม นอกจากตำนานจะตอบสนอง ความต้องการอันเป็นอุดมคติแล้ว อุดมคติจากยุคสมัยดังกล่าวยังเป็นเสมือนการ กำหนดเป้าหมายของสังคม ที่จะให้คนในสังคมและคนรุ่นต่อมาได้ยึดถือและเดินไป ตามทิศทางที่บรรพชนกำหนด


มุมมองทางภาษาศาสตร์ของคำว่า "ฝัน", รุ่งภัทร เริงพิทยา Jul 2006

มุมมองทางภาษาศาสตร์ของคำว่า "ฝัน", รุ่งภัทร เริงพิทยา

Journal of Letters

บทความนี้เสนอการวิเคราะห์กระบวนความคิดเชิงภาษาศาสตร์ของคำว่า "ฝัน" เนื่องจาก "ฝัน" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และเกิดในเวลาที่เราหลับโดยที่เรา ไม่รู้สึกตัวและไม่มีสติสัมปชัญญะ หรือหากเป็น "ฝันกลางวันแสดงความปรารถนา" ก็ยังไม่เกิดขึ้นจริงในโลกปัจจุบันและเป็นเพียงจินตนาการเท่านั้น ดังนั้นเพื่อศึกษาว่า เรามีกระบวนความคิดเกี่ยวกับ "ฝัน" อย่างไร ผู้วิจัยจึงเลือกวิเคราะห์คําว่า "ฝัน" ตามทฤษฎีภาษาศาสตร์แนวปริชาน (cognitive linguistics) 2 ทฤษฎี คือทฤษฎี ภาพความคิดของแลงแอคเคอร์ (Langacker 1991) และทฤษฎีอุปลักษณ์ของเลคอฟ และจอห์นสัน (Lakoff and Johnson 1980) จากข้อมูลตัวอย่างคําว่า "ฝัน" จาก วรรณกรรมตะวันตก 3 เรื่องคือ เรื่อง วันอังคารกับครูมอร์รี่ แต่งโดย มิทช์ อัลบอม (Albom 1997) เรื่อง บุคคลทั้งห้าที่เราพบบนสวรรค์ แต่งโดย มิทช์ อัลบอม (Albom 2003) และวรรณกรรมชุด แฮรี่ พอตเตอร์ แต่งโดย เจ.เค.โรว์ลิง (Rowling 1998-2005) ผลการวิเคราะห์คำว่า "ฝัน" ที่ปรากฏในวรรณกรรมตะวันตก ผู้วิจัยพบว่า ชาวตะวันตกมีกรอบความคิดเกี่ยวกับคำว่า "ฝัน" ในลักษณะเป็นคำกริยามากกว่า คำนาม แต่เมื่อเป็นคำนามจะเน้นที่ความแตกต่างในการนับได้ พจน์ และสภาพ สิ้นสุดหรือไม่ โดยใช้ความหมายต่างๆ ของคําว่า "ฝัน" เป็นปัจจัยหลักในการแยก ความแตกต่าง แต่ในภาษาไทยจะเน้นความแตกต่างของคํานามในด้านกริยาหรือ นามธรรม คือ การฝัน และ ความฝัน ส่วนในทฤษฎีอุปลักษณ์นั้น ตัวอย่างจาก วรรณกรรมตะวันตกสะท้อนทัศนคติและความเชื่อของชาวตะวันตกเกี่ยวกับความฝัน ในด้านความหมายที่เป็นสากลลักษณ์ที่ปรากฏเป็นอุปลักษณ์คือ ความฝันคือ จินตนาการ ความฝันคือความปรารถนา และ การฝันคือการคาดหวัง


สภาพสังคมภายหลังสงครามกลางเมืองสเปนที่สะท้อนผ่าน นวนิยายเรื่อง Nada, เพ็ญพิสาข์ ศรีวรนารถ Jan 2006

สภาพสังคมภายหลังสงครามกลางเมืองสเปนที่สะท้อนผ่าน นวนิยายเรื่อง Nada, เพ็ญพิสาข์ ศรีวรนารถ

Journal of Letters

สงครามเป็นสิ่งโหดร้าย เป็นการทำลายล้างระหว่างมนุษย์ด้วยกันและที่น่าสลดไปกว่านั้นคือการทำสงครามกลางเมืองซึ่งคนชาติเดียวกันต้อง เข่นฆ่ากันเอง ประเทศสเปนเคยผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายของ สงครามกลางเมืองระหว่าง ค.ศ. 1936 และค.ศ. 1939 จุดประสงค์หลักของ บทความนี้คือนำเสนอสภาพสังคมภายหลังสงครามกลางเมือง ผ่านการ วิเคราะห์นวนิยายเรื่อง ความว่างเปล่า (Nada) ของการ์เมน ลาฟอเรต ซึ่ง เป็นนวนิยายในช่วงแรกของยุคหลังสงคราม ดังนั้นจึงถือเป็นภาพสะท้อนที่ ชัดเจนของสังคมช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นวนิยายเรื่องนี้ ชี้ให้เห็นความทุกข์ยากที่ประชาชนต้องเผชิญในการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งตัวละครในเรื่องยังทำให้ผู้อ่านรับรู้ถึงความโศกเศร้า ความเก็บกด และปัญหาทางอารมณ์อื่นๆ ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี


ประจักษ์พยานนิยายจากทุ่งสังหารกัมพูชา : ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและหน้าที่ของวรรณกรรม, ใกล้รุ่ง อามระดิษ Jan 2006

ประจักษ์พยานนิยายจากทุ่งสังหารกัมพูชา : ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและหน้าที่ของวรรณกรรม, ใกล้รุ่ง อามระดิษ

Journal of Letters

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาโดยกลุ่มเขมรแดงระหว่าง ค.ศ. ถึง 1979 ส่งผลให้เกิดวรรณกรรมประเภทใหม่ในวงวรรณกรรม กัมพูชาคือวรรณกรรมประจักษ์พยานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ วรรณกรรม ประเภทนี้ปรากฏใน 2 รูปแบบคือ สารคดีประจักษ์พยานประเภทบันทึก ความทรงจำและชีวประวัติซึ่งเขียนเป็นภาษาตะวันตกและบันเทิงคดี ประจักษ์พยานในภาษาเขมร บทความนี้มุ่งศึกษาประจักษ์พยานนิยายภาษา เขมร โดยเลือกนวนิยายเรื่อง วิบัติในสมรภูมิรัก ของ ภูวง รฐา เป็น กรณีศึกษา การศึกษาพบว่าลักษณะสำคัญที่สุดของประจักษ์พยานนิยาย กัมพูชาคือการผสมผสานอันกลมกลืนระหว่างข้อเท็จจริงและจินตนาการซึ่ง ปรากฏในทุกองค์ประกอบของเรื่องเล่า ผู้ประพันธ์เลือกนำเสนอความจริง เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัมพูชาผ่านนวนิยายภาษาเขมรในขณะที่เลือก เขียนบันทึกความทรงจําในสมัยเขมรแดงเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะมี วัตถุประสงค์จะส่ง "สาร" เกี่ยวกับวิธีการเยียวยาบาดแผลของผู้รอดชีวิตไป ยังผู้อ่านชาวเขมรโดยเฉพาะ นอกจากหน้าที่ในเชิงจิตวิทยาแล้ว ประจักษ์พยานนิยายกัมพูชายังมีหน้าที่เชิงวัฒนธรรมต่อชาวกัมพูชา รุ่นใหม่และหน้าที่เป็นอนุสรณ์แก่เหยื่อผู้เสียชีวิตในสมัยเขมรแดงอีกด้วย ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันเป็นระบบของรูปแบบ ภาษาที่ ผู้ประพันธ์เลือกใช้ และหน้าที่ของ "คำให้การ" การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัมพูชาที่ ผู้เขียนนำเสนอ


กวีนิพนธ์ระอาสงครามของฝรั่งเศส จากยุคกลางถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ, พูนศรี เกตุจรูญ Jan 2006

กวีนิพนธ์ระอาสงครามของฝรั่งเศส จากยุคกลางถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ, พูนศรี เกตุจรูญ

Journal of Letters

แม้ว่ากวีฝรั่งเศสตั้งแต่ยุคกลางถึงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการจำนวนหนึ่ง จะชื่นชมวีรกรรมของนักรบและใช้พลังศรัทธาทางศาสนาสร้างความชอบธรรมให้แก่การทำสงครามของพวกเขา ก็ยังคงมีกวีฝรั่งเศสอีก ส่วนหนึ่งที่รู้สึกเบื่อหน่าย ชิงชังสงคราม และระบายความรู้สึกดังกล่าวไว้ใน บทกวี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กวีบางคนในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการถึงกับตั้ง คำถามว่า "คริสต์ศาสนิกชน มีสิทธิ์ฆ่ามนุษย์ด้วยหรือ" นับได้ว่า กวีนิพนธ์ ฝรั่งเศสในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นสภาพสังคม ความคิด และ อารมณ์ของชาวฝรั่งเศสที่ระอาสงครามได้เป็นอย่างดี


หน้าที่ของฤดูกาลในวรรณกรรมเรื่อง เก็นจิโมะโนะงะตะริ, อรรถยา สุวรรณระดา Jan 2006

หน้าที่ของฤดูกาลในวรรณกรรมเรื่อง เก็นจิโมะโนะงะตะริ, อรรถยา สุวรรณระดา

Journal of Letters

วรรณกรรมเรื่อง เก็นจิโมะโนะงะตะริ เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของ ญี่ปุ่น แต่งขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1001 เป็นนิยายรักเรื่องยาว กล่าวถึงเรื่องราว ในช่วงชีวิต 70 ปี ของฮิกะรุเก็นจิซึ่งมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคน บทความ วิจัยนี้ศึกษาถึงหน้าที่ของฤดูกาลต่างๆ ในเรื่อง เก็นจิโมะโนะงะตะริ โดย รวบรวมข้อมูลจากตัวเรื่องและสังเกตดูว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นใน ฤดูกาลใดบ้าง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปหาความสัมพันธ์ต่างๆ จาก การศึกษาพบว่าผู้เขียนได้ใช้ฤดูกาลช่วยเน้นภาพลักษณ์ของตัวละครต่างๆ ในเรื่อง เช่น ฤดูใบไม้ผลิใช้เน้นภาพลักษณ์ตัวละครหญิงที่เป็นตัวเอกและมี บทบาทสำคัญในเรื่อง เป็นต้น อีกทั้งผู้เขียนยังใช้ฤดูกาลและสิ่งที่มีอยู่ใน ฤดูกาลนั้นๆ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมด้วย เช่น ฤดูใบไม้ร่วง เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นอนิจจังของชีวิต หรือหิมะในฤดูหนาวเป็น สัญลักษณ์แสดงถึงความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก นอกจากนี้ สภาพ อากาศของฤดูกาลต่างๆ ยังช่วยเสริมเน้นบรรยากาศของฉากสำคัญๆ ในเรื่อง ทำให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้นและมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครในฉากนั้นๆ ด้วย


วิตตอรีนี กับ ซิซิลี ใน Conversazione In Sicilia, วิลาสินีย์ แฝงยงค์ Jan 2006

วิตตอรีนี กับ ซิซิลี ใน Conversazione In Sicilia, วิลาสินีย์ แฝงยงค์

Journal of Letters

เอลิโย วิตตอรีนี (Elio Vittorini) เป็นที่รู้จักในวงการวรรณกรรมอิตาลี ในฐานะนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้อุทิศชีวิตในการ สร้างสรรค์วรรณกรรมเพื่อปลุกจิตสำนึกให้มนุษย์ตระหนักในหน้าที่อันแท้จริงและพึงปฏิบัติต่อสังคมและประเทศชาติ ในบทความนี้ ผู้เขียนจะ ชี้ให้เห็นว่านวนิยายเรื่อง สนทนาที่ซิซีลี (Conversazione in Sicilia,1941) ทำ หน้าที่เสมือนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งตีแผ่สภาพชีวิตอันรันทดของประเทศอิตาลีผ่านการเสนอภาพเกาะซิซีลีภายใต้การปกครองของลัทธิฟาสซิสต์ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้อ่านนอกจากจะได้ร่วมรับรู้ถึงความ หิวโหยและความทุกข์ทรมานของผู้คนในสมัยนั้น ยังจะได้ร่วมรู้สึกถึงความ เจ็บปวดของ "คนที่เป็นมากกว่าคน" ซึ่งเป็นบรรดาผู้ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อชะตา ชีวิตและความ อยุติธรรมของโลก


ความเป็นจริงกับจินตนาการในนวนิยาย ของมาร์เกอร์ท ยูร์เซอนาร์ เรื่อง เมมัวร์ ดาเดรียง เรื่อง เลิฟร์ โอ นัวร์ และเรื่อง เอิง นอม ออบสกูร์, พวงคราม พันธ์บูรณะ Jan 2006

ความเป็นจริงกับจินตนาการในนวนิยาย ของมาร์เกอร์ท ยูร์เซอนาร์ เรื่อง เมมัวร์ ดาเดรียง เรื่อง เลิฟร์ โอ นัวร์ และเรื่อง เอิง นอม ออบสกูร์, พวงคราม พันธ์บูรณะ

Journal of Letters

ประวัติศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญในโลกจินตนาการของมาร์เกอริท ยูร์เซอนาร์ เธอลอกเลียนระเบียบวิธีของนักประวัติศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อย้อนรอยอดีตอย่างเที่ยงตรงและ สมจริง เธอสร้างตัวละครให้มี อัตลักษณ์โดดเด่น เพราะต้องการชี้ให้เห็น สภาวะมนุษย์ซึ่งทุกผู้ทุกนามต้องประสบร่วมกัน ในนวนิยายของมาร์เกอริท ยูร์เซอนาร์ การใช้มุมมองของตัวละครเป็นกลวิธีสำคัญในการถ่ายทอด จิตวิญญาณของตัวละครโดยตรง ตัวละครเอกในนวนิยายทั้งสามเรื่อง ข้างต้นพยายามค้นหาตนเอง ในที่สุดต่างก็เห็นแจ้งว่าชีวิตที่ผ่านมาเป็น มายาภาพ กายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งแตกสลายกลับคืน สู่ธรรมชาติเมื่อสิ้นอายุขัย มนุษย์เป็นเพียงสิ่งหนึ่งในสรรพสิ่งที่เชื่อมโยงเป็นเอกภาพในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขตมิได้มาร์เกอริท ยูร์เซอนาร์ ใช้ความเปรียบและตํานานเป็นสื่อแสดงแนวคิดดังกล่าวในเชิง สัญลักษณ์ ยังผลให้เกิดภาพพจน์อันทรงพลังซึ่งนำผู้อ่านก้าวล่วงจากมิติ ประวัติศาสตร์ไปสู่ความจริงเหนือกาลเวลา


สนทนาภาษาหนังสือ : Lingshan., พัชนี ตั้งยืนยง Jan 2006

สนทนาภาษาหนังสือ : Lingshan., พัชนี ตั้งยืนยง

Journal of Letters

No abstract provided.


สนทนาภาษาหนังสือ : Neuromancer., สุรเดช โชติอุดมพันธ์ Jan 2006

สนทนาภาษาหนังสือ : Neuromancer., สุรเดช โชติอุดมพันธ์

Journal of Letters

No abstract provided.


Abstracts Jan 2006

Abstracts

Journal of Letters

No abstract provided.


สนทนาภาษาหนังสือ : The Line Of Beauty., รองรัตน์ ดุษฎีสุรพจน์ Jan 2006

สนทนาภาษาหนังสือ : The Line Of Beauty., รองรัตน์ ดุษฎีสุรพจน์

Journal of Letters

No abstract provided.


สนทนาภาษาหนังสือ : Cien Años De Soledad., ภาสุรี ลือสกุล Jan 2006

สนทนาภาษาหนังสือ : Cien Años De Soledad., ภาสุรี ลือสกุล

Journal of Letters

No abstract provided.


ตำรา ตำรับ ทัพพี: อิสตรีกับการสร้างประวัติศาสตร์, ชุติมา ประกาศวุฒิสาร Jan 2006

ตำรา ตำรับ ทัพพี: อิสตรีกับการสร้างประวัติศาสตร์, ชุติมา ประกาศวุฒิสาร

Journal of Letters

ครัวเรือนมักถูกมองว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวของผู้หญิงที่แยกออกจากพื้นที่สาธารณะ และงานที่ผู้หญิงทำในครัวเรือนมักถูกให้ค่าด้อยกว่ากิจกรรม ทางการเมืองภายนอกบ้าน บทความนี้วิเคราะห์งานเขียนเรื่อง Like Water for Chocolate ของนักเขียนสตรีชาวเม็กซิกันชื่อ Laura Esquivel นวนิยายเล่มนี้แสดงให้เห็นว่าครัวไม่เป็นเพียงสถานที่ประกอบอาหาร แต่ยังเป็นพื้นที่ในการผลิตและถ่ายทอดวัฒนธรรม และในฐานะผู้ปรุงอาหาร ผู้หญิงมีส่วนสำคัญในการสร้างประวัติศาสตร์ ผ่านทางบทบาทในการดำรง รักษาและสืบทอดความรู้จากบรรพบุรุษมาสู่คนรุ่นหลัง


ดีหรือชั่ว : มุมมองจากภาษิตและจำนวนญี่ปุ่น, ชวาลิน เศวตนันทน์ Jan 2006

ดีหรือชั่ว : มุมมองจากภาษิตและจำนวนญี่ปุ่น, ชวาลิน เศวตนันทน์

Journal of Letters

บทความนี้มุ่งศึกษาโลกทัศน์และแนวคิดเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านภาษิตและสำนวนญี่ปุ่น โดยตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานว่า มโนทัศน์เรื่องความดีและความชั่วย่อมมี ความหลากหลายแตกต่างกันตามบริบทของโลกทัศน์ บรรทัดฐาน และค่านิยม ในแต่ละวัฒนธรรม การศึกษาและวิเคราะห์ภาษิตและสํานวนที่สืบทอดต่อกัน มายาวนานหลายชั่วอายุคนในวัฒนธรรมญี่ปุ่นทำให้เราได้เห็นพลวัตของวิถี ชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนคตินิยมและความเชื่อของคนญี่ปุ่นในแต่ละยุคสมัย