Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Social and Behavioral Sciences

Chulalongkorn University

อาเซียน

Publication Year

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Entire DC Network

การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, ภูมิ มูลศิลป์ Jan 2018

การเผาป่า และหมอกควันข้ามแดน : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, ภูมิ มูลศิลป์

Journal of Social Sciences

มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีระดับความร ุนแรงที่แตกต่างกันในแต่ละปี สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า และเผาป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการถางพื้นที่เตรียมที่ดินไว้ใช้ในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตร เช่น ไม้เนื้อแข็งเพื่อนำเยื่อไม้ไปทำกระดาษ ยางพารา และที่สำคัญอย่างยิ่งคือปาล์มน้ำมัน พื้นที่ที่ถูกเผาบางส่วนถูกเผาโดยชาวนาหรือชาวสวนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ แต่บางพื้นที่ที่ถูกเผาเป็นบริเวณกว้างอยู่ในเขตพื้นที่ของบริษัทที่ทำอุตสาหกรรมทางการเกษตรขนาดใหญ่ การเผาพื้นที่แบบผิดกฎหมายลักษณะนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซีย หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาต้นเหตุของปัญหาหมอกควันข้ามแดนดังกล่าว โดยใช้ทฤษฎีระบบอุปถัมภ์ เพื่ออธิบายถึงต้นเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันของรัฐบาลอินโดนีเซียจากอดีตถึงปัจจุบัน และในบทสรุปสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ผลการวิจัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อนโยบายของประเทศไทยและอาเซียนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป


อาเซียนกับปัญหาอาชญากรรมทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พฤดี หงุ่ยตระกูล Jan 2016

อาเซียนกับปัญหาอาชญากรรมทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พฤดี หงุ่ยตระกูล

Journal of Social Sciences

ปัญหาอาชญากรรมทางทะเล เป็นประเด็นความมั่นคงใหม่ที่สำคัญปัญหาหนึ่งในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศในกลุ่มอาเซียนและเอเชียตะวันออกได้แสวงหาหนทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกันอย่างไรก็ดี ความร่วมมือต้องประสบกับความท้าทายหลายประการด้วยกัน ซึ่งก็รวมทั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐและการแข่งขันกันในการมีบทบาท บทความนี้มุ่งทบทวนวิวัฒนาการความร่วมมือเพื่อต่อต้านอาชญากรรมทางทะเลในภูมิภาค นอกจากนั้นยังโต้แย้งว่าแนวทางการแก้ปัญหาในปัจจุบันนั้นมีข้อจำกัดหลักๆ 2 ประการ คือ (1) ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันของประเทศสมาชิก ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือแบบหลวมและการต้องพึ่งพาประเทศสมาชิก และ (2) การละเลยปัญหาพื้นฐานที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมทางทะเลรวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนท้ายของบทความนี้เสนอว่า นอกจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพในระดับชาติและการสร้างกฎหมายในระดับนานาชาติแล้ว การแก้ปัญหาระยะยาวที่มีความเป็นไปได้นั้นขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมและความพยายามของรัฐในการรวมพื้นที่ตามชายฝั่งที่ห่างไกลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภูมิภาคนิยม


การศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระบบการเมืองการปกครอง การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และองค์กรจัดการเลือกตั้ง ของกลุ่มประเทศอาเซียน* The Comparative Study On Political System, Election, Political Party And Electoral Management Bodies In Asean, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย Jan 2015

การศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระบบการเมืองการปกครอง การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และองค์กรจัดการเลือกตั้ง ของกลุ่มประเทศอาเซียน* The Comparative Study On Political System, Election, Political Party And Electoral Management Bodies In Asean, พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย

Journal of Social Sciences

งานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาลักษณะและความแตกต่างในระบบการเมืองการปกครอง รวมทั้ง ระบบเลือกตั้ง พรรคการเมือง ของประเทศสมาซิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เนื่องจากประเทศสมาซิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีพื้นฐาน'ทางลังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่แตกต่างกันแต่หากยังสามารถมารวมตัวกันเพื่อก่อตั้ง สมาคมแห่งภูมิภาคหรืออาเซียนได้ และยังพัฒนาร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ดังที่นักวิชาการจำนวนมากกล่าวว่า อาเซียนนั้นก่อสร้างตัวด้วยความเป็นหนึ่งเดียวบนความแตกต่าง หรือ “unity in diversity” ดังนั้นในการศึกษา ระบบการเมืองการปกครองของประเทศสมาซิกอาเซียน ผู้วิจัยได้แยกศึกษาประเทศต่างๆ ตามพื้นฐานทางระบบ การเมืองการปกครองเป็นสำคัญ โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้'วิจัยได้แบ่งกลุ่มประเทศในการศึกษาการเมือง การปกครองของทั้ง 10 ประเทศโดยยึดหลัก ระบบการเมืองการปกครอง (political system) คือ ระบบ การปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจนิยม และคอมมิวนิสต์ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม้ระบบการเมือง จะมีความแตกต่างกันประเทศสมาชิกอาเซียนก็ยังสามารถร่วมมือกันในการขยายความร่วมมือสู่ด้านต่างๆ ทั้งทางด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และลังคม จนถึงปัจจุบัน