Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Applied Environmental Research

Journal

2024

Articles 1 - 15 of 15

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของความเข้มข้นฟอสเฟตในน้ำสกัดจากหอยสองฝาและอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ต่อการสร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมโดย Vibrio Alginolyticus, เบญจภรณ์ ประภักดี, ณัฐพันธุ์ ศุภกา, กาญจณา จันทองจีน Jul 2024

ผลของความเข้มข้นฟอสเฟตในน้ำสกัดจากหอยสองฝาและอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ต่อการสร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมโดย Vibrio Alginolyticus, เบญจภรณ์ ประภักดี, ณัฐพันธุ์ ศุภกา, กาญจณา จันทองจีน

Applied Environmental Research

สารกีดขวางช่องโซเดียม (SCB) จัดเป็นสารที่ไม่ใช่โปรตีนและมีผลต่อระบบประสาทที่สร้างจากแบคทีเรียหลายสปีชีส์ เมื่อนำ Vibrio alginolyticus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมที่แยกได้จากหอยทรายที่มีพิษ (Asaphis violascens) มาเพาะเลี้ยงในน้ำสกัดจากหอยสองฝาที่มีพิษและไม่มีพิษ และอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ (L-medium) ที่เติม K2HPO4 ความเข้มข้นต่างๆ กัน พบว่า V. alginolyticus ที่เพาะเลี้ยงในน้ำสกัดจาก หอยทรายในช่วงที่มีพิษสูงสามารถผลิตสาร SCB ได้สูงถึง 51.9ไมโครกรัมต่อลิตร แต่เชื้อมีการเจริญต่ำกว่าการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดอื่น เนื่องจากน้ำสกัดจากหอยทรายมีปริมาณฟอสเฟตต่ำ (0.084 กรัมต่อลิตร) แสดงว่า การเลี้ยง V. alginolyticus ในน้ำสกัดจากหอยทรายที่มีปริมาณฟอสเฟตต่ำสามารถชักนำการสร้าง SCB ไต้ นอกจากนี้ยังพบว่า V. alginolyticus มีการเจริญเติบโตดีในอาหารเลี้ยงเชื้อ L-medium ที่มี K2HPO4 สูง (3.0 กรัม ต่อลิตร) แต่มีการสร้างสาร SCB ในระดับต่ำ (4.7 ไมโครกรัมต่อลิตร) ซึ่งจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าฟอสเฟตที่ความเข้มซ้นสูงมีผลในการยับยั้งการสร้างสาร SCB แต่ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียสร้างพิษ


ประสิทธิภาพของบอนและธูปฤาษีในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อบำบัดน้ำเสีย จากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น, ธเรศ ศรีสถิตย์, ทรงพล รักษ์เผ่า, จิรายุ ไพริน Jul 2024

ประสิทธิภาพของบอนและธูปฤาษีในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อบำบัดน้ำเสีย จากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น, ธเรศ ศรีสถิตย์, ทรงพล รักษ์เผ่า, จิรายุ ไพริน

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการบำบัด BOD, TKN และ TSS ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นแบบไหลอิสระเหนือผิวดินในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานน้ำยางข้นที่ผ่านการบำบัดมาแล้ว โดยทำการเปรียบเทียบระดับน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้น 3 ระดับ คือ 0.15,0.30 และ 0.45 เมตร และการใช้พืชสองชนิด คือ ต้นธูปฤาษี (Typha angustifolia) และต้นบอน (Colocasia esculenta) ซึ่งทำการเปรียบเทียบกับพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนและมีระดับน้ำ 0.15 เมตร มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD5 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 79.95 ± 4.90 ส่วนพื้นที่ ชุ่มน้ำที่ปลูกต้นธูปฤาษีมีประสิทธิภาพในการกำจัด BOD5 ค่อนข้างต่ำ ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัด TKN ของพื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีต้นธูปฤาษี และพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ มีค่าใกล้เคียงกันในระดับน้ำทุกระดับ และประสิทธิภาพดีกว่าพื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยประสิทธิภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ระดับ 0.15เมตร ที่มีต้นธูปฤาษีไม่มีพืช และ ต้นบอน เท่ากับ 65.63±9.17,67.26±6.24และ 62.40±9.89 ตามลำดับ โดยทั่วไปพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีพืชสามารถลดปริมาณ ของ TSS ได้ดีกว่าพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่มีพืช โดยพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีระดับน้ำ 0.15 เมตร และมีต้นบอนให้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ ร้อยละ 85.93±5.56


การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์จากพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีน้ำท่วมขังและที่มีน้ำท่วมขัง, วรทัย รักหฤทัย, คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ, Masatoshi Aoki, ประเสริฐ ภวสันต์ Jul 2024

การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์จากพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีน้ำท่วมขังและที่มีน้ำท่วมขัง, วรทัย รักหฤทัย, คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ, Masatoshi Aoki, ประเสริฐ ภวสันต์

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้เน้นศึกษาอัตราการผลิตก๊าซเรือนกระจก 3 ประเภท คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ จากพื้นที่เกษตรกรรม 2 ประเภท คือ พื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง และพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง โดยใช้พื้นที่ปลูกข้าวสาลีเป็นตัวแทนพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง และพื้นที่นาข้าวเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขังจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไนตรัสออกไซด์ ในขณะที่ก๊าซมีเทนจะถูกใช้ไปโดยจุลินทรีย์ในดิน ส่วนพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังนั้นจะปลดปล่อยก๊าซทั้งสามชนิดออกมา อุณหภูมิของดินเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดอัตราการปลดปล่อยก๊าซเหล่านี้โดยเมื่ออุณหภูมิในชั้นดินสูงขึ้นจะได้อัตราการปลดปล่อยก๊าซที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการปลดปล่อยก๊าซทั้งสามประเภทนี้จะถูกกำหนดโดยวิธีการพรวนดิน โดยพื้นที่ที่มีการพรวนดินมากจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ปลดปล่อยมาในปริมาณมากแต่จะดูดซับก๊าซมีเทนส่วนพื้นที่ที่ไม่มีการพรวนดินจะมีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ในปริมาณที่น้อยกว่า แต่จะมีการปลดปล่อยมีเทนออกมาในปริมาณค่อนข้างมาก


ดินเผาดูดชับจากดินเหนียวและขี้เลื่อยเพื่อการดูดซับแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์, ธเรศ ศรีสถิตย์, กิตตินันท์ คงสืบชาติ Jul 2024

ดินเผาดูดชับจากดินเหนียวและขี้เลื่อยเพื่อการดูดซับแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์, ธเรศ ศรีสถิตย์, กิตตินันท์ คงสืบชาติ

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยการผลิตดินเผาดูดซับจากดินเหนียวและขี้เลื่อย ประสิทธิภาพในการดูดซับไอออนแคดเมียมของดินเผาดูดซับที่ผลิตได้โดยการแปรผันค่าพีเอช (pH) การชะไอออนออกด้วยสารละลายกรดและน้ำกลั่น หาลักษณะทางกายภาพและทางเคมี การหาประสิทธิภาพในคอลัมน์ดูดซับ และได้ทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูดซับระหว่างถ่านกัมมันต์กับดินเผาดูดซับที่ผลิตได้ ทำการศึกษาปัจจัยการผลิตดินเผาดูดซับโดยการแปรผันอุณหภูมิการเผาปริมาณสัดส่วนโดยน้ำหนักระหว่างดินเหนียวและขี้เลื่อย และอัตราการเพิ่มอุณหภูมิในการเผา พบว่าดินเผาดูดซับที่เหมาะสมในการดูดซับจาก 120 ตัวอย่าง ในเงื่อนไขที่สามารถดูดซับไอออนแคดเมียมได้ดีและมีความคงรูป คือดินเผาดูดซับที่ผลิตจากปริมาณสัดส่วน โดยน้ำหนักระหว่างดินเหนียวและขี้เลื่อยที่ 10 ต่อ 90 ซึ่งผ่านการเผาแบบไร้ออกซิเจนที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียสต่อนาที โดยสามารถกำจัดไอออนแคดเมียมได้ร้อยละ 83.95 ซึ่ง มากกว่าถ่านกัมมันต์อยู่ร้อยละ 23.05 ทำการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับ พบว่าสามารถดูดซับไอออนแคดเมียมได้ภายในเวลา 8 ชั่วโมง เมื่อวิเคราะห์ค่าปริมาณการดูดซับสูงสุด (qmax)ซึ่งผลการทดลองการดูดซับเหมาะสมกับสมการการดูดซับแบบฟลุนดริช (Freundlich equation) ดินเผาดูดซับสามารถดูดซับไอออนแคดเมียมที่พีเอช 3.28, 6, 7, 8 และ 9 ได้ 4.079, 2.909, 1.724,3.257 และ 6.304มิลลิกรัม/กรัมดินเผาดูดซับ ตามลำดับ ส่วนที่พีเอช 3.28 ถ่านกัมมันต์มีค่า qmax เท่ากับ 3.516 มิลลิกรัม/กรัมถ่านกัมมันต์การศึกษาการชะละลายของดินเผาดูดซับหลังจากใช้งานแล้วโดยการชะด้วยสารละลายกรดอ่อน (พีเอช 5 ) และน้ำกลั่นที่ 24 ชั่วโมง พบว่าเมื่อชะด้วยสารละลายกรดอ่อน (พีเอช 5) มีแคดเมียมถูกชะออกมาสูงสุดเพียงร้อยละ 2.7 และไม่สามารถถูกชะออกมาได้เลยด้วยน้ำกลั่น การทดลองประสิทธิภาพในการกำจัดแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์ที่พีเอช 8 ความเข้มข้นแคดเมียม 1 มิลลิกรัม/ลิตร ด้วยคอลัมน์ที่ระดับความลึกของดินเผาดูดซับ 30, 60 และ 90 เซนติเมตร พบว่าที่จุดหมดสภาพมีน้ำเสียไหลผ่านชั้นดินเผาดูดซับไปทั้งสิน 2395.9, 2985.7 และ 2408.2 เท่าของปริมาตรของคอลัมน์ ตามลำดับ


การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ศึกษากรณีการพัฒนาระบบการย้อมสี และบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองด้วยมือ เพื่อโอกาสในการส่งออก, ธนพรรณ สุนทระ Jul 2024

การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ศึกษากรณีการพัฒนาระบบการย้อมสี และบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองด้วยมือ เพื่อโอกาสในการส่งออก, ธนพรรณ สุนทระ

Applied Environmental Research

โครงการวิจัยเรื่อง "การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ศึกษากรณี การพัฒนาระบบการย้อมสีและบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองด้วยมือเพื่อโอกาสในการส่งออก" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการนำผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการมาสร้างระบบบำบัดน้ำเสียให้ชุมชนที่ทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองสามารถดำเนินการ และดูแลเองได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ประสานงานถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์โครงการ"หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" (OTOP) และเพื่อขจัดการใช้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นข้ออ้างในการกีดกันสินค้าส่งออก ให้มีโอกาสส่งผลิตภัณฑ์ไปขายยังต่างประเทศ
ผลการศึกษา
1. ผลการรักษาจากครัวเรือนทอผ้าตัวอย่าง
จากการศึกษาพบว่า อาชีพการย้อมผ้าทอผ้า เดิมเป็นงานของผู้หญิงในหมู่บ้าน เป็นวัฒนธรรมมาตังแต่ดั้งเดิมว่าผู้หญิงจะต้องทอผ้าใช้เองได้ ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นสินค้า OTOP รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอย่างเต็มที่เพื่อให้สามารถส่งออกนำรายได้มาสู่ครอบครัว สู่ประเทศชาติ ผู้ศึกษาได้กำหนดพื้นที่ ณ อำเภอบานไร่ จังหวัดอุทัยธานี รวม 75 ครัวเรือนทอผ้าตัวอย่าง
1) การใช้สีย้อมด้ายฝ้าย แบ่งออกเป็นการย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีเคมี ผู้ย้อมส่วนใหญ่จะใช้สีทั้ง 2 ชนิด ซึ่งได้ประโยชน์และกระบวนการย้อมที่แตกต่างกัน ข้อดีสีธรรมชาติ มีสีสรรสวยงาม สีอ่อน สบายตา เวลาย้อมสีจะติดด้ายฝ้ายง่าย ปลอดภัยไม่มีสารพิษ เป็นที่นิยมของผู้ใช้เป็นที่ต้องการของตลาด ข้อสำคัญคือมีต้นทุนต่ำ ข้อเสีย สีธรรมชาติ สีไม่คงทนตกง่ายทำให้ผ้าซีดเร็ว ปัจจุบันพืชซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ย้อมด้ายหายากขึ้น ข้อดีสีเคมี สีสดใสฉูดฉาด มองแล้วโดดเด่น การใช้สีเคมีจะได้สีที่ต้องการมากกว่าสีธรรมชาติ กระบวนการย้อมไม่ยุ่งยาก ซื้อได้ง่ายมีขายตามท้องตลาดทั่วไป ข้อเสียของสีเคมี คือไม่ปลอดภัยจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าสีธรรมชาติ
2) ความรู้ความเข้าใจ ผู้ย้อมด้ายฝ้ายส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสีเคมีทีใช้ย้อมฝ้ายอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีส่วนประกอบของสารเคมีในกลุ่มอะโซต้องห้าม ทำให้ไม่สามารถนำเข้าไปขายยังประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มีเป็นส่วนน้อยที่ตอบว่าทราบ มาจากนักวิชาการที่เคยมาหาข้อมูล ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าน้ำทิ้งจากการย้อมด้ายด้วยสีเคมีจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริง กระบวนการผลิตที่ไม่ถูกต้อง เกือบทั้งหมดตอบว่าไม่ทราบมาก่อนเลยว่าเป็นเหตุผลที่จะทำให้ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า
3) ความสนใจที่จะพัฒนาการย้อมด้าย พบว่าส่วนใหญ่ สนใจที่จะนำไปใช้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นการพัฒนาการทำงานของกลุ่ม เพิ่มพูนความรู้และนำกลับมาแนะนำชาวบ้าน เป็นผลดีกับสิงแวดล้อม นอกจากนั้นยังสามารถนำ น้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ส่วนน้อยของกลุ่มทอผ้าที่ตอบว่าไม่สนใจที่จะบำบัดน้ำเสียจากการทอผ้า ให้เหตุผลว่า จำวิธีการทำงานไม่ได้ ไม่มีเวลา และคิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะทำขณะนี้
2. การประเมินผล โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนไม่เคยเข้าร่วมอบรมในหัวข้อนี้มาก่อน สรุปผลของการเข้าอบรมครั้งนี้ว่ามีการทดลองนำสนใจมีประโยชน์ต่อการจะนำไปใช้ในกระบวนการย้อมผ้าฝ้ายในหมู่บ้าน ควรเผยแพร่ให้กว้างขวางจะเกิดประโยชน์มากขึ้น เพราะผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ เช่น การดูแล รักษาสิงแวดล้อม ที่เกิดจากการประกอบอาชีพย้อมผ้าฝ้าย …


ระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายของประเทศไทย, วรรณี พฤฒิถาวร Jul 2024

ระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายของประเทศไทย, วรรณี พฤฒิถาวร

Applied Environmental Research

บทความเรื่องระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายของประเทศไทยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการสร้างระบบประสานงานข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการศึกษาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีสร้างรูปแบบประสานงานและระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีและวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ.2535 พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์พ.ศ.2530 และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องหน่วยงานที่ร่วมดำเนินงานได้แก่ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าวัตถุอันตราย 5 หน่วยงาน คือ กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมประมง และกรมการอุตสาหกรรมทหาร ในการนำเสนอบทความนี้ มีข้อสรุป 3 ส่วนที่สำคัญคือ 1) ผลงานจากการศึกษาคือการจำแนกพิกัดรหัสสถิติสินค้าสารเคมีให้มีความชัดเจนและเกิดประโยชน์ในการติดตามสาร เคมีเฉพาะรายการ โดยเฉพาะสารเคมีที่มีการควบคุมตามกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของหน่วยงานควบคุมโดยไม่กระทบกระเทือนกับระบบฮาร์โมไนซ์ที่กรมศุลกากรใช้อยู่รวมทั้งสิน2,117รหัสและจัดทำเป็นฐานข้อมูลวัตถุอันตรายซึ่งมีรายการสารควบคุมตามกฎหมาย1,667รหัสและที่ไม่ใช่สารควบคุมตามกฎหมาย 450 รหัสผลจากการจำแนกรหัสสถิติใหม่ทำให้ทราบชนิดและปริมาณนำเข้าของสารอันตรายซึ่งเป็นสารควบคุมแต่ไม่เคยมีการติดตามได้มาก่อนเช่นสารที่ต้องควบคุมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ สารที่ควบคุมตามบัญชีสารเคมีตามอนุสัญญาว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้า (PIC) และ สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs) เป็นต้น 2) มีการสร้างฐานข้อมูลเลขที่เอกสารสำคัญ 15 หลัก ซึ่งระบุหน่วยงานชนิดเอกสารสำคัญ ชนิดวัตถุอันตราย เลขที่เอก สารสำคัญ และปี พ.ศ. เพื่อใช้ตรวจสอบการนำเข้า ของหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าวัตถุอันตรายตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดระบบติดตามการนำเข้าสารอันตรายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3) มีการสร้างระบบการตรวจสอบข้อมูลสารเคมีอันตรายโดยกรมศุลกากรสามารถรายงานสถิติการนำเข้าของสารควบคุมที่มีพิกัดรหัสสถิติชัดเจนว่าเป็นการนำเข้าโดยการอนุญาตของหน่วยงานควบคุมหน่วยใดและอ้างอิงกับเอกสารสำคัญฉบับใด โดยการตรวจสอบจากฐานข้อมูลวัตถุอันตราย และ ฐานข้อมูลเลขที่เอกสารสำคัญ 15 หลัก ขณะเดียวกันหน่วยงานควบคุมแต่ละหน่วยงานสามารถใช้ตัวเลขรายงานของกรมศุลกากรตรวจสอบเชิงลึกในการดำเนินงานของหน่วยงานควบคุมในการให้อนุญาตนำเข้าสารเคมีอันตรายที่มีการควบคุมตามกฎหมาย การศึกษามีข้อเสนอแนะให้มีการติดตามการดำเนินงานเพื่อประเมินผลและปรบปรุงระบบให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อเนื่องใน การติดตามการนำเข้า ในขณะเดียวกันสามารถขยายไปสู่การติดตามการผลิต การส่งออก และ การครอบครองวัตถุอันตรายต่อไป


การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำ กรณีศึกษา: พื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรี, พักตร์วิมล เพียรเลิศ, กนกศักดิ์ แก้วเทพ Jul 2024

การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำ กรณีศึกษา: พื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรี, พักตร์วิมล เพียรเลิศ, กนกศักดิ์ แก้วเทพ

Applied Environmental Research

รายงานการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย ที่การสำรวจเชิงวิเคราะห์ต่อนโยบายการจัดการน้ำของรัฐบาลที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้ และการวิเคราะห์สถานภาพและปัญหาต่างๆ ตลอดจนการบริหารและการจัดการขององค์กรผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำจันทบุรีทั้งองค์กรผู้ใช้น้ำแบบดั้งเดิมที่ไม่เป็นทางการและองค์กรผู้ใช้น้ำแบบเป็นทางการในระดับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านอุปทานของน้ำในตอนท้ายรายงานการวิจัยนี้ได้เสนอแนะกลยุทธ์บางประการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้ใช้น้ำในอนาคต เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


การสกัดโทลูอีนออกจากน้ำเสียแบบต่อเนื่องโดยใช้สารลดแรงตึงผิว ชนิดไม่มีประจุ ในหอสกัดแบบจานหมุน, ปัญจพร เวชยันต์วิวัฒน์, สมชาย โอสุวรรณ, John F. Scamehorn Jul 2024

การสกัดโทลูอีนออกจากน้ำเสียแบบต่อเนื่องโดยใช้สารลดแรงตึงผิว ชนิดไม่มีประจุ ในหอสกัดแบบจานหมุน, ปัญจพร เวชยันต์วิวัฒน์, สมชาย โอสุวรรณ, John F. Scamehorn

Applied Environmental Research

การสกัดแบบขุ่นถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสกัดโทลูอีนออกจากน้ำเสียโดยใช้สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุเป็นสารสกัดโดยเมื่ออุณหภูมิของสารละลายของสารลดแรงตึงผิวสูงกว่าจุดขุ่นสารละลายจะแบ่งวัฏภาคออกเป็นสองวัฏภาค ประกอบด้วยวัฏภาคที่มีไมเซลล์จำนวนมากและวัฏภาคที่มีไมเซลล์จำนวนน้อย ซึ่งจำนวนไมเซลล์นี้เองเป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณสารปนเปื้อนที่ถูกสกัดได้เพราะสารปนเปื้อนสามารถละลายอยู่ในไมเซลล์ในงานวิจัยนี้มีการขยายขนาดการ สกัดจากการสกัดแบบกะในหลอดทดลองขนาดเลิกเป็นการสกัดแบบต่อเนื่องในหอสกัดนำร่องแบบจานหมุน (rotating disc contactor) พบว่าความเร็วรอบการกวนและอุณหภูมิที่ใช้สกัดมีผลต่อประสิทธิภาพการสกัด กล่าวคือเมื่อความเร็วรอบการกวนสูงขึ้นจากที่ไม่มีการกวนเป็น 150 รอบต่อนาที ความเข้มข้นของโทลูอีนในน้ำที่บำบัดแล้วมีค่าลดลงจากความ เข้มข้นเริ่มต้นของโทลูอีนในน้ำเสีย 100 ส่วนในน้ำล้านส่วนเป็น 12 ส่วนในน้ำล้านส่วน หรือร้อยละ 88 ของโทลูอีน ถูกสกัดแยกออกจากน้ำเสียที่อุณหภูมิการสกัด 40°C เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการสกัดเป็น 50 °C ที่ความเร็วรอบการกวน 150 รอบต่อนาที พบว่าสามารถลดความเข้มข้นของโทลูอีนในน้ำเสียเหลือเพียง 8 ส่วนในน้ำล้านส่วนเท่านั้นหรือร้อยละ 92 ของ โทลูอีน ถูกสกัดแยกออกจากน้ำเสีย


การศึกษาระดับเสียงดังจากการจราจรที่ก่อให้เกิดความรำคาญในพื้นที่พานิชกรรม และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่, ศริญญา ชูพูล, พิชญา ตันติเศรณี, สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ Jan 2024

การศึกษาระดับเสียงดังจากการจราจรที่ก่อให้เกิดความรำคาญในพื้นที่พานิชกรรม และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่, ศริญญา ชูพูล, พิชญา ตันติเศรณี, สุธีระ ประเสริฐสรรพ์

Applied Environmental Research

การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงจากการจราจร กับการตอบสนองของประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานเสียงรบกวนที่เกิดจากการจราจรในย่านพานิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ การเก็บข้อมูลใช้เครื่องตรวจวัดเลียง (Sound level meter) ยี่ห้อ NA-27 type 1 วัดระดับเสียงเฉลี่ย 15ชั่วโมง (Leq15 hr) และ ระดับเสียง percentile ที่ 10 (L10) รวม 6 จุด โดยแต่ละจุดจะวัดทั้งวันธรรมดาและวันหยุดราชการ ในช่วงระยะเวลา 07.00-22.00 น. และขณะวัดเสียงในชุมชนจะสัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบพื้นที่ศึกษาจำนวน 246 คนเกี่ยวกับลักษณะประชากรบ้านพักอาศัยความไวต่อเสียง โรคประจำตัวและโรคทางหูผดกระทบและความรำคาญจากเสียง และสุขภาพจิต ผลการศึกษาพบ ความสัมพันธ์ระหว่างความรำคาญกับระดับเสียงเฉลี่ย 15 ชั่วโมง เป็นแบบแปรผันตรงด้วย ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์0.8292 และจากการวิเคราะห์ด้วยสถิติพหุคูณพบปัจจัยเพิ่มความรำคาญได้แก่ การประกอบอาชีพลูกจ้างหรือนักเรียนนักศึกษา แหล่งเสียงภายนอกบ้าน ความคิดเห็นว่าเสียงเป็นมลภาวะระดับมากและมากที่สุด เสียงจราจรที่รบกวนการทำงานและการนอนหลับ ส่วนปัจจัยลดความรำคาญได้แก่ ลักษณะที่พักอาศัยแบบตึกแถว แต่ปัจจัยอื่นๆไม่มีผล เมื่อนำค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากสมการปรุงปรับเพื่อลดอิทธิพลตัวแปรกวนต่างๆมาพล็อตกับระดับความรำคาญ โดยใช้แบบจำลองถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายพบว่า ระดับเสียงที่ทำให้คนร้อยละ 20 เกิดความรู้สึกรำคาญมีค่า 68.2 เดซิเบล


วิธีการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรประมงในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงละหาน จ.ชัยภูมิ, นันทวรรณ ประภามณฑล Jan 2024

วิธีการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรประมงในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงละหาน จ.ชัยภูมิ, นันทวรรณ ประภามณฑล

Applied Environmental Research

วิธีการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงในพื้นที่ชุ่มนาบีง ละหาน จ.ชัยภูมิโดยการใช้คำถามแบบ Dichotomous choice ว่า "ท่านและครัวเรือนเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง (ปลาและสัตว์น้ำ)ในบึงละหานหรือไม่" สอบถามครัวเรือนตัวอย่างจำนวน 300 ครัวเรือนในพื้นที่ศึกษา 20 หมู่บ้าน ใน 4 ตำบล คือ ต.หนองบัวบาน ต.ละหาน ต.บ้านกอก และ ต.หนองบัวใหญ่ ในรัศมี 3 กิโลเมตรจาก บึงละหานโดยใช้ระดับราคาเริ่มแรกที่ถามแตกต่างกันเท่ากับ 50 100 300 และ 500 บาท/ครัวเรือน/ปี ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 38.3 ของครัวเรือนตัวอย่างเป็นครัวเรือนอาชีพประมง ซึ่งมีรายได้ครัวเรือนมากกว่า ร้อยละ 50 มาจากการจับปลาและสัตว์น้ำในบึงละหาน ค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานของจำนวนเงินที่ครัวเรือนเต็มใจจะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงละหานเท่ากับ 417.16 และ 259.04 บาท/ครัวเรือน/ปี ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 1,683,240.60 บาท/ปี ที่ครัวเรือนในพื้นที่ศึกษา 4,035 ครัวเรือน เต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการ อนุรักษ์ทรัพยากรประมงในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงละหาน เทียบกับมูลค่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจับปลาและสัตว์น้ำในบึง ละหานเฉลี่ยเท่ากับ 20,349.2 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือคิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ทั้งหมดที่ครัวเรือนในพื้นที่ศึกษา 4,035 ครัวเรือน ได้รับเท่ากับ 82,109,022 บาท/ปี ปัจจัยหลักซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ที่กำหนดขนาดของมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงในบึงละหาน คือ ที่ตั้งของครัวเรือน ความสำคัญของทรัพยากรประมงในบึงละหานต่อครัวเรือน และแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปลาและสัตว์น้ำในบึงละหาน ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการวาง แผนการจัดการทรัพยากรประมงและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงละหานเช่นการจัดเก็บค่าอาญาบัตรการทำประมงหรือภาษีท้องถิ่นจากการทำการประมงในบึงละหาน และการจัดสรรงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์และจัดการ ทรัพยากรประมงในบึงละหานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้มูลค่าซึ่งครัวเรือนอาชีพประมงระบุว่ามีความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงในบึงละหานยังสะท้อนถึงความตระหนักและความต้องการของครัวเรือนที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรประมงได้อีกนัยหนึ่ง


การพัฒนาคิวซาร์โมเดลอย่างง่ายเพื่อทำนายการดูดซับสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนของดิน, เบญจลักษณ์ กาญจนเศรษฐ, เรณู ใจหลัก Jan 2024

การพัฒนาคิวซาร์โมเดลอย่างง่ายเพื่อทำนายการดูดซับสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนของดิน, เบญจลักษณ์ กาญจนเศรษฐ, เรณู ใจหลัก

Applied Environmental Research

ศึกษาดินที่มีปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอน 4 ระดับเพื่อหาสัมประสิทธ์การดูดซับสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) 9 ชนิดที่มีค่า log Kow ในช่วง 3.4-6.5 และที่ความเข้มข้น 4 ระดับ หาความสัมพันธ์ระหว่างค่า log Koc กับค่า log Kow น้ำหนักโมเลกุล การละลายน้ำ ความดันไอ และค่าคงที่ของเฮนรีลอว์ และตรวจสอบการทำนายของแบบจำลอง ผลการศึกษาพบว่าค่า log Koc มีค่าใกล้เคียงกับค่า log Koc จากงานวิจัยอื่น และ มีค่าสูงขึ้นตามนำหนักโมเลกุลและค่า log Kow ที่มากขึ้น ค่า log Koc ที่แตกต่างกับงานวิจัยอื่น คาดว่ามาจากความแตกต่างของเงื่อนไขในการทดลอง อุณหภูมิทดลอง ขนาดอนุภาคดิน สารอินทรีย์แขวนลอย การย่อยสลายทางชีวภาพ และการย่อยสลายโดยแสง เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างค่า log Koc กับ log Kow น้ำหนักโมเลกุล และค่าคงที่ของเฮนรีลอว์อยู่ในระดับดีมาก แสดงว่าคุณสมบัติของสารเหล่านี้สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดได้ดี จากการทดสอบแบบจำลองโดยใช้สาร PAH อื่น ซึ่งมีค่า log Kow อยู่ในช่วง 3.4-6.5พบว่าค่า log Koc ที่คำนวณได้จากแบบจำลองความสัมพันธ์กับ log Kow ใกล้เคียง กับงานวิจัยอื่น เช่นเดียวกับสาร PCDD และ PCB พบว่า ค่า log Koc ที่ได้จากแบบจำลองความสัมพันธ์กับ log Kow ให้ค่าที่ดีเมื่อเทียบกับงานวิจัยอื่น แต่ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับแบบจำลองอื่น แบบจำลองนี้จึงมีข้อจำกัดทั้งนี้อาจมาจาก ค่าการละลายในน้ำ/สารละลายและค่าความคันไอของสารมีหลายค่า


ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย, เอมม่า อาสนจินดา, สุธา ขาวเธียร, เจิดศักดิ์ ไชยคุนา Jan 2024

ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย, เอมม่า อาสนจินดา, สุธา ขาวเธียร, เจิดศักดิ์ ไชยคุนา

Applied Environmental Research

การมีสารคีเลตในน้ำเสียทำให้การกำจัดโลหะด้วยวิธีการตกตะกอนมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะกับสารคีเลต ซึ่งทำให้คุณสมบัติในการตกผลึกและการละลายน้ำของโลหะเปลี่ยนไปการวิจัยนี้ได้ท้าการศึกษาผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายโดยการ ทดลองแบบแบตซ์และคอลัมน์ ผลการทดลองในแบตซ์พบว่า ความสามารถในการดูดซับตะกั่วด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายสูงขึ้นเมื่อพีเอชสูงขึ้นในช่วงพีเอชที่ทำการศึกษา และการเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายตะกั่วทำให้ปริมาณตะกั่วที่ถูกดูดซับต่อปริมาณไคโตแซนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย สำหรับผลการศึกษาผลของสารคีเลต พบว่าความ สามารถในการดูดซับตะกั่วด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายที่พีเอชสูงลดลงในขณะที่ความสามารถในการดูดซับตะกั่ว ที่พีเอชต่ำเพิ่มขึ้นเมื่อเดิมอีดีทีเอหรือเอ็นทีเอลงไปในน้ำเสียสังเคราะห์ ส่วนการเดิมกรดทาทาริกลงไปน้ำเสียสังเคราะห์ไม่มีผลต่อความสามารถในการดูดซับตะกั่วโดยไคโตแซนการทดลองแบบคอลัมน์พบว่าสามารถบำบัดน้ำเสียให้มีความ เข้มข้นต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ภายในปริมาตร 88.89 ปริมาตรเบด โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัด 91.40%


แผ่นใยไม้อัดชนิดใหม่จากเส้นใยชานอ้อยผสมโฟมพอลิสไตรีน, มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์, สิรินันท์ วิริยะสุนทร, สุพรรษา ออกสุข Jan 2024

แผ่นใยไม้อัดชนิดใหม่จากเส้นใยชานอ้อยผสมโฟมพอลิสไตรีน, มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์, สิรินันท์ วิริยะสุนทร, สุพรรษา ออกสุข

Applied Environmental Research

เตรียมแผ่นใยไม้อัดโดยนำเส้นใยชานอ้อยมาผสมกับโฟมกันกระแทกที่ทำจากพอลิสไตรีน นำโฟมมาตัดย่อยให้มีขนาด 2-4 มิลลิเมตร และ 4-6.48 มิลลิเมตร ใช้ยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ พอลิไวนิลอะซิเทต และกาวเดกซ์ตรินเป็นสารยึดติด อัตราส่วนผสมของโฟม:เส้นใยชานอ้อย:สารยึดติด 8:30:40 โดยน้ำหนัก พบว่ายูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์และพอลิไวนิลอะซิเทตเป็นสารยึดติดที่ให้ความแข็งแรงต่อแผ่นใยไม้อัดดีกว่ากาวเดกซ์ตริน และพอลิสไตรีนโฟมขนาด 4-6.48 มิลลิเมตร มีผลทำให้สมบัติการดูดซับเลียงดีกว่าฝ้าเสริมเส้นใยแก้ว เมื่อเปรียบเทียบสมบัติเชิงกลของแผ่นใยไม้อัดที่เตรียมได้กับฝ้าเสริมเส้นใยแก้วพบว่าสมบัติเชิงกลด้อยกว่า สำหรับสารยึดติดทั้ง 3 ชนิด พบว่า ยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารยึดติดที่ให้สมบัติเชิงกลและสมบัติการดูดซับเสียงดีที่สุด


การศึกษาผลของสารเคมี (Nacl และ Zncl2) ที่ใช้การกระตุ้นในการเตรียมถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อย, ธเรศ ศรีสถิตย์, เปรมจิตต์ แทนสถิตย์, มานพ ติระรัตนสมโภช Jan 2024

การศึกษาผลของสารเคมี (Nacl และ Zncl2) ที่ใช้การกระตุ้นในการเตรียมถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อย, ธเรศ ศรีสถิตย์, เปรมจิตต์ แทนสถิตย์, มานพ ติระรัตนสมโภช

Applied Environmental Research

การศึกษาผลของสารเคมีที่ใช้ในการกระตุ้นเพื่อเตรียมถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อยในครั้งนี้ สารเคมีที่ใช้คือ NaCI และ ZnCI2 โดยทำการทดลองเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนโดยน้ำหนักของขี้เลื่อยต่อสารเคมี และอุณหภูมิที่ใช้เผากระตุ้นจากนั้น ศึกษาคุณสมปติของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ทั้งสองชนิด แล้วคัดเลือกถ่านกัมมันต์ตัวที่มีความเหมาะสมที่สุดของแต่ละชนิดนำไปทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ผลการทดลองพบว่าการเตรียมถ่านกัมมันต์สภาวะที่เหมาะ สมโดยใช้ NaCI เป็นตัวกระตุ้น คือใช้น้ำหนักของขี้เลื่อยต่อ NaCI = 1:1 และเผากระตุ้นที่ 800 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ส่วนการกระตุ้นด้วย ZnCI2 ใช้น้ำหนักของขี้เลื่อยต่อ ZnCI2 = 1 : 1 และเผากระตุ้นที่ 700 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เช่นกัน จากนั้นทำการล้างสารเคมีออกด้วยน้ำร้อนและกรดเจือจาง ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีค่าไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 519.4 และ 1,021.3 mg/g ตามลำดับ มีค่าพื้นที่ผิวเท่ากับ 593.79 และ 1,572.51 m2/g ตามลำดับ ถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วย NaCI มีความสามารถในการกำจัดตะกั่ว (ความเข้มข้น 10 mg/L) ที่ pH 8 เท่ากับ 9.96 mg/g ของถ่านกัมมันต์ และถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วย ZnCI2 มีความสามารถในการกำจัดตะกั่ว (ความเข้มข้น 10 mg/L) ที่ pH 7 เท่ากับ 99.7 mg/g ของถ่านกัมมันต์ การทดลองประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยถังดูดติดผิวแบบแท่งที่ระดับความลึกของถ่านกัมมันต์ 30, 60, 90 และ 120 cm พบว่าที่จุด Breakthrough สามารถกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 10 mg/L ได้เท่ากับ 1.21, 14.17, 186.04 และ 209.17 …


ความหลากหลายทางชีวภาพของสมุนไพร บริเวณริมแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ที่มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร, วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ Jan 2024

ความหลากหลายทางชีวภาพของสมุนไพร บริเวณริมแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ที่มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร, วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

Applied Environmental Research

การสำรวจสภาพพื้นที่ป่าบริเวณริมฝังแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและลาว ในพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 400-1,200 เมตร พบว่าสภาพป่าส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง จากการรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ประมาณ 300 ตัวอย่าง พบว่ามีลักษณะเป็นพืชสมุนไพร 70 ชนิด แต่มีเพียง 15 ชนิด ที่คาดว่าน่าจะมีผลต่อการยับยังการเจริญของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร เมื่อทำการสกัดแห้งสมุนไพรทั้ง 15 ชนิด และนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย 4 ชนิด ที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารคือ Escherichia coli Shigella dysenteriae Salmonella typhosa และ Vibrio cholerae ด้วยวิธีการ disc diffusion บนอาหารเลี้ยงเชื้อ พบว่าสารสกัดจากเปลือกผลของมังคุด ด้วยน้ำกลั่นสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. coli ได้ สารสกัดจากใบโกฏจุฬาลำพาด้วยไดเอธิล อีเธอร์สามารถยับยังการเจริญของเชื้อ ร. dysenteriae ได้ ขณะทีเชื้อ S. typhosa ถูกยับยั้งการเจริญด้วยสารสกัดจากเปลือกผลสมอพิเภก, กลีบดอกคูน หรือใบเปล้าน้อยที่ใช้ไอโซโพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย แต่ไม่พบว่ามีสารสกัดจากสมุนไพรชนิดใดสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชอ V. cholerae ได้