Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

1991

Absorption

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Entire DC Network

การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข, จีรศักดิ์ นพคุณ, ศานตี เตชาภิประณัย, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์ Jan 1991

การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข, จีรศักดิ์ นพคุณ, ศานตี เตชาภิประณัย, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การดูดซึมฟลูออไรด์เกิดได้ทั้งในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แต่กลไกการขนส่งฟลูออไรด์ผ่าน ชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ได้ทำการทดลองแสดงถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลง สภาวะกรดด่างของสารละลาย และการเปลี่ยนแปลงปริมาณโซเดียม และคลอไรด์ไอออนที่อยู่ในสารละลาย ด้านผิวดูดซึม ต่อการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข โดยชั้นเซลล์ดูดซึมจะได้รับการแยก จากส่วนที่เป็นชั้นกล้ามเนื้อ และนำมาใส่ในเครื่องมือศึกษาการดูดซึมภายนอกร่างกาย สารละลายที่สัมผัสกับ ผิวเซลล์ดูดซึมจะได้รับการปรับสภาวะกรดด่างที่ 6.0 7.0 และ 8.0 ส่วนสารละลายที่สัมผัสด้านหลอดเลือด จะคงสภาวะกรดด่างที่ 7.5 ฟลูออไรด์จะถูกเติมลงไปในสารละลายด้านเซลล์ดูดซึม เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 0.25 0.5 และ 1.0 มิลลิโมล หลังจากนั้น 30 นาทีจะนำสารละลายด้านหลอดเลือดไปหาปริมาณฟลูออไรด์ ผลการทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะกรดด่างระหว่าง 6.0-8.0 ไม่มีผลต่อการขนส่งของ ฟลูออไรด์ผ่านเซลล์ผนังลําไส้เล็ก การลดลงในความเข้มข้นของโซเดียมไอออนในสารละลายด้านดูดซึม และการเติมวาเบน (ouabain) ลงไปในสารละลายด้านหลอดเลือด จะมีผลให้การดูดซึมฟลูออไรด์ลดลง แต่ การขนส่งฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณคลอไรด์ไอออนในสารละลายด้านดูดซึมลดลง ผลการทดลองไม่มี ข้อมูลสนับสนุนสมมุติฐานที่มีผู้เสนอว่าการดูดซึมฟลูออไรด์ในลําไส้เล็กเกิดขึ้นในรูปการแพร่กระจายของ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ แต่ข้อมูลที่ได้จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการดูดซึมของฟลูออไรด์จากลำไส้เล็ก น่าจะเกิดจากการแพร่กระจายของฟลูออไรด์ไอออน