Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 9892

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ณิชนันทน์ พันธ์เสถียร Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ณิชนันทน์ พันธ์เสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระหว่างกลุ่มซึ่ง ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วัยผู้ใหญ่ อายุน้อยกว่า 60ปี ที่และมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เข้ารับบริการที่ห้องตรวจจักษุ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 36 คน กลุ่มทดลอง 36 คน จับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันได้แก่ ระดับการมองเห็น และระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองโดยผสมผสานแนวคิดของ Lorig and Holman (2003) ร่วมกับการให้ความรู้และการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน (Diabetes Self-Management Education) ประกอบด้วยขั้นตอน 1. การประเมิน (Assessment) 2. การตั้งเป้าหมาย (Goal setting) 3.การวางแผนการปฏิบัติ (Planning) 4. การนำแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติ (Implementation) 5.การประเมินผลการปฏิบัติ (Evaluation) ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์ เครื่องมือดำเนินการทดลองประกอบด้วยแผนการสอน คู่มือการจัดการตนเองแบบบันทึกเป้าหมายการจัดการตนเอง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ.82 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ paired sample t- test, independent sample t –test และ ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การคาดการณ์อัตรามรณะไทยตามสาเหตุของการตายด้วยวิธีการกระทบยอดรวม, สุพัตรา ยกซ้าย Jan 2022

การคาดการณ์อัตรามรณะไทยตามสาเหตุของการตายด้วยวิธีการกระทบยอดรวม, สุพัตรา ยกซ้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์อัตรามรณะของประชากรไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า แยกตามสาเหตุของการตายที่สำคัญ ได้แก่ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก โรคเบาหวาน และรวมทุกสาเหตุการตาย ตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ (ICD-10) โดยใช้ตัวแบบ ลี-คาร์เตอร์ จากนั้นทำการกระทบยอดในแบบ Bottom-up และ Trace minimization forecasts (MinT) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ จำนวนประชากรกลางปีและจำนวนประชากรที่เสียชีวิตแยกตามสาเหตุของการตาย จำแนกตามเพศและอายุ จากสถิติสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 – 2562 ผลการวิจัยพบว่า ค่าคาดการณ์อัตรามรณะของประชากรไทย เมื่อทำการกระทบยอดแบบ Bottom-up และแบบ Trace minimization forecasts (MinT) มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันทั้งเพศชายและเพศหญิง คือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและลดลงในช่วงอายุเริ่มต้น ยกเว้นการตายด้วยโรคมะเร็งทุกชนิดและอุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก หลังจากนั้นค่าอัตรามรณะมีการเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายของช่วงอายุ ยกเว้นการตายด้วยโรคหัวใจขาดเลือด และโรคเบาหวานในเพศหญิง โดยที่การคาดการณ์กระทบยอดแบบ Trace minimization forecasts (MinT) มีความเหมาะสมกว่าแบบ Bottom-up นอกจากนั้นการวิจัยนี้ได้นำค่าอัตรามรณะที่คำนวณได้ไปใช้ในการคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสุทธิของแบบประกันชีวิตตัวอย่าง ที่ให้ผลประโยชน์การตายตามสาเหตุการตายที่สำคัญด้วย


ความเสี่ยงต่อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพบก ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564, นนทนันท์ อัครพรพรหม Jan 2022

ความเสี่ยงต่อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพบก ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564, นนทนันท์ อัครพรพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อในระบบการหายใจ ซึ่งระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วโลกและส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยเล็กน้อยจนรุนแรงถึงเสียชีวิต ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และผู้ป่วยทั่วไปมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการศึกษาที่ผ่านมาเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเป็นหลัก ซึ่งไม่สามารถบอกความเป็นเหตุเป็นผลกันได้ การศึกษาตามรุ่นย้อนหลังฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์ของโรคโควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ 3 กลุ่ม (บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19, ดูแลผู้ป่วยทั่วไป และบุคลากรที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย) ของกองทัพบกระหว่างปี พ.ศ.2563-2564 โดยมีการเก็บข้อมูลด้านส่วนบุคคล ลักษณะงาน และประวัติการติดเชื้อ COVID-19 และการได้รับวัคซีนในช่วงที่ทำการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก 27 แห่ง และครอบคลุมบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 9,576 คน ผลการศึกษาพบว่าอัตราอุบัติการณ์ (ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95) จำแนกตามประเภทบุคลากร คือ บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 1,431.53 (1,208.15, 1,697.25) ราย ต่อ 100,000 คน-ปี บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโรคอื่น ๆ 1,306.34 (970.90, 1,755.65) ราย ต่อ 100,000 คน-ปี และบุคลากรที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย 1,699.81 (1,394.30, 2,069.55) ราย ต่อ 100,000 คน-ปี การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RR) พบว่าความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว (ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95) เท่ากับ 0.86 (0.51, 1.45) และ 0.89 (0.50, 1.61) ตามลำดับสำหรับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่3 การวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยจัดหมวดหมู่เป็นช่วงก่อนและหลังการฉีดวัคซีนนั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากผลการศึกษานี้ แม้ว่าอุบัติการณ์ของการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลังฉีดวัคซีน ซึ่งอาจตรงกับช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงของการระบาดของสายพันธุ์ย่อยเดลต้า โดยสรุป ผลการศึกษานี้บ่งบอกว่าการติดเชื้อโควิด-19 จากชุมชนมีความสำคัญเท่าเทียมกับ (หรืออาจมากกว่า) การติดเชื้อนี้จากการทำงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มนี้ ดังนั้นการป้องกันบุคลกรทางการแพทย์จากเชื้อโควิด-19 และเชื้อโรคอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในการระบาดในอนาคต ควรมุ่งที่แหล่งของเชื้อทั้งจากชุมชนและจากการทำงาน


ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยการสุ่มแจกแบบสอบถามกับเขตที่มีจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติจำนวนมาก ทั้งสี่เขต คือ เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน เขตห้วยขวาง และเขตสาทร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 183 คน จากนั้นนำระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดไปสร้างแผนและจัดกิจกรรมต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับการยอมรับความหลากหลายรวมทั้ง 3 ด้าน (ความตระหนัก,ความรู้,ทักษะทางวัฒนธรรม) เขตสาทรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄=4.23; S.D.=0.20) ตามมาด้วยเขตบางขุนเทียน (x̄=4.13; S.D.=0.37) เขตบางบอน (x̄=4.12; S.D.=0.23) และเขตห้วยขวาง (x̄=3.60; S.D.=0.28 )ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงเลือกเขตห้วยขวางในการจัดกิจกรรมในระยะที่ 2 และระยะที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยกิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมที่ผสม 3 แนวคิด ประกอบด้วย แนวคิดการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผลการจัดกิจกรรมพบว่าก่อนจัดกิจกรรมนักศึกษาเขตห้วยขวาง ระดับชั้นประถมศึกษา มีระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ (x̄=3.61; S.D.=0.19) หลังจัดกิจกรรมที่ (x̄=4.33; S.D.=0.15) โดยค่าเฉลี่ยหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม ที่ 0.72 คะแนน ผลการเปรียบค่า (t-test) มีค่า -26.40 แสดงว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่ากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันมีผลต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน


ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว Jan 2022

ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และความต้องการด้านการจัดศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) เด็กอายุ 8-12 ปี จาก 39 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค จำนวน 9,604 คน 2) พ่อแม่ผู้ปกครอง และครู 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถานการณ์ ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อทางเลือกนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์ หรือแทบเลตที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นของตนเอง กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ การเล่นเกม รองลงมาคือการดูยูทูบ ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต คือช่วงหลังเลิกเรียน ส่วนสถานที่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ที่บ้าน 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากที่สุดคือการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาคือการได้รับคำแนะนำจากครูและการชักชวนของเพื่อน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากพ่อแม่ผู้ปกครองมากที่สุด โดยการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านการดูคลิปจากยูทูบและการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ 4) ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก ประกอบด้วย 9 ทางเลือกที่พัฒนาจากข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างผสมผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งเป็นทางเลือกการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3 ทางเลือก ทางเลือกการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย 5 ทางเลือก และทางเลือกสนับสนุนอีก 1 ทางเลือก


พลวัตของกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นจากทศวรรษ1990 ถึงต้นทศวรรษ 2020, พิมพ์ชนก บุญมิ่ง Jan 2022

พลวัตของกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นจากทศวรรษ1990 ถึงต้นทศวรรษ 2020, พิมพ์ชนก บุญมิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงของโลก หากแต่ญี่ปุ่นพึ่งพิงทรัพยากรจากประเทศกำลังพัฒนาซึ่งสร้างปัญหาความแตกต่างทางรายได้ในโลก ญี่ปุ่นจึงต้องแสดงความรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ตามข้อตกลงของประชาคมนานาชาติเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา ทว่าการให้ความช่วยเหลือไม่ใช่การให้เปล่าโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนแต่แท้จริงแล้วคาดหวังสิ่งแลกเปลี่ยนบางประการ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกประชาคมนานาชาติกล่าวหาว่าญี่ปุ่นอาศัยการให้ ODA ในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตนเอง ทั้งนี้องค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ส่งเสริมบรรทัดฐานสากลผ่านการประกาศเป้าหมายการพัฒนาให้ประชาคมนานาชาตินำไปปรับใช้เป็นแกนหลักนโยบาย ญี่ปุ่นจึงต้องโอบรับบรรทัดฐานสากลนั้นมาปรับให้เข้ากับหลักการท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ อันนำมาสู่คำถามวิจัยที่ว่า ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการบัญญัติกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลา โดยอาศัยกระบวนการผสมผสานบรรทัดฐานสากลให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานท้องถิ่น ในกรอบแนวคิดประดิษฐกรรมทางสังคมเพื่อศึกษาบรรทัดฐานซึ่งแพร่กระจายไปสู่อีกที่หนึ่งได้เพราะผู้นำของรัฐเห็นผลประโยชน์บางประการจึงเกิดเป็นกระบวนการโอบรับบรรทัดฐานใหม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้กำหนดขอบเขตของเวลาโดยเริ่มต้นที่การบัญญัติกฎบัตร ODA ฉบับแรกในทศวรรษ 1990 ถึงการบัญญัติกฎบัตร ODA ฉบับล่าสุดในต้นทศวรรษ 2020 เพื่อศึกษาพลวัตที่มีอิทธิพลต่อกฎบัตร ODA ของญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลา


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล : การวิเคราะห์โมเดลทวิสัมพันธ์, กุลนิษฐ์ ดำรงค์สกุล Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล : การวิเคราะห์โมเดลทวิสัมพันธ์, กุลนิษฐ์ ดำรงค์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและสุขภาวะทางใจในผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่าน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลผู้ป่วยในเชิงทวิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล 120 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มาตรวัดการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และ มาตรวัดสุขภาวะทางใจ ซึ่งมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.82 ถึง 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 10.2 ผลการวิจัย พบว่า (1) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุ โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (2) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางใจของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุ โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วน (3) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลในทางตรงเท่านั้น (only actor effect) โดยส่งผลต่อญาติผู้ดูแลได้มากกว่าผู้ป่วย และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของทั้งคู่ ไม่มีผลต่อระดับสุขภาวะทางใจของอีกฝ่าย นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าสุขภาวะทางใจ และ (4) การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลในลักษณะอิทธิพลคู่เหมือน (couple pattern) โดยส่งผลทางตรงต่อญาติผู้ดูแลได้มากกว่าผู้ป่วยเล็กน้อย และมีเพียงการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกของญาติผู้ดูแลเท่านั้นที่ส่งผลทางไขว้ต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าสุขภาวะทางใจด้วย


การให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว, ภุมเรศ ภูผา Jan 2022

การให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว, ภุมเรศ ภูผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของการให้อภัยตนเองในเยาวชนผู้กระทำผิด และศึกษาอิทธิพลของการให้อภัยตนเองต่อความสุขเชิงอัตวิสัย ในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนผู้กระทำผิดที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 1,031 คน และ เยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว จำนวน 120 คู่ เก็บข้อมูลโดยการให้เยาวชนตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และการสอบถามครอบครัวทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสมการโครงสร้างผ่านโปรแกรมลิสเรล (LISREL) และวิเคราะห์แบบจำลองรายคู่แบบไขว้โดยใช้การวิเคราะห์แบบ The Actor-Partner Interdependence Model ผลการศึกษาพบว่าโมเดลการให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดที่ประกอบด้วยการตำหนิตนเองและผู้อื่น การรับรู้ความรุนแรงของการกระทำผิด ความรู้สึกผิด ความละอาย ความเข้าใจอย่างร่วมรู้สึก พฤติกรรมเชิงประนีประนอม และการรับรู้การอภัยจากผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 =68.84, df =53, p = 0.071, GFI = 0.992, AGFI = 0.979, RMR = 0.0257, RMSEA = 0.0170) ตัวแปรทั้งหมดในสมการสามารถอธิบายความแปรปรวนของการให้อภัยตนเองได้ร้อยละ 41 โดยเยาวชนที่มีคะแนนการตำหนิตนเองและผู้อื่นสูง ร่วมกับมีความละอายใจสูง มีความเข้าใจร่วมรู้สึกต่ำ ไม่มีพฤติกรรมเชิงประนีประนอม และไม่ได้ได้รับการอภัยจากผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบ จะมีการให้อภัยตนเองต่ำ (ค่าอิทธิพลเท่ากับ -.09, p <.001) ส่วนแบบจำลองรายคู่แบบไขว้อิทธิพลของการให้อภัยตนเองต่อความสุขเชิงอัตวิสัย ในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 15.627, df =11, p = 0.156, GFI = 0.972, AGFI = 0.872, RMR = 0.042, RMSEA = 0.059) ตัวแปรในโมเดลคือการให้อภัยตนเองในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว สามารถอธิบายความแปรปรวนความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดได้ ร้อยละ 87.4 และอธิบายความแปรปรวนความสุขเชิงอัตวิสัยของครอบครัว ร้อยละ 84 โดยอิทธิพลร่วม (Interdependent effects) ระหว่างการให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในส่วนอิทธิพลทางตรง (Actor effects) ทั้งการให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว ต่างมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (b = 0.59 และ 0.25 p<.01 ตามลำดับ) ด้านอิทธิพลไขว้ (Partner effect) การให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (b = 0.60 p<.01) และทำนองเดียวกันการให้อภัยตนเองของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (b = 0.28 p<.05)


บทประพันธ์เพลง : “สายธารแห่งชีวิต” สำหรับวงออร์เคสตรา, วราวุธ กองแก้ว Jan 2022

บทประพันธ์เพลง : “สายธารแห่งชีวิต” สำหรับวงออร์เคสตรา, วราวุธ กองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลง “สารธารแห่งชีวิต” สำหรับวงออร์เคสตรา เป็นบทประพันธ์ประเภทดนตรีพรรณนา ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตของผู้คนริมฝั่งแม่น้ำที่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางด้านดนตรีที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น โดยใช้แม่น้ำสำคัญของทั้งสี่ภูมิภาคในการเชื่อมโยงวัฒนธรรมประเพณีและอัตลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละภาคเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น 4 กระบวน รวมเวลาในการบรรเลงทั้งสิ้น 24 นาที โดยแต่ละท่อนจะมีชื่อเรียกตามชื่อแม่น้ำของแต่ละภาค ได้แก่ ตาปี มูล แม่ปิง และเจ้าพระยา นำมาเป็นจุดเชื่อมโยงในการนำเสนอดนตรีพื้นบ้านลุ่มแม่น้ำ ที่มีกลิ่นอายของวิถีชีวิตของผู้คน ผ่านรูปแบบการประพันธ์ดนตรีสำหรับวงออร์เคสตราขนาดใหญ่แบบตะวันตกผสมกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านจากแต่ละภาค ที่มีการใช้เทคนิคการประพันธ์ดนตรีร่วมสมัยเข้ามาผสมผสานกับทำนองของเพลงไทย เช่น การปรับทำนอง(Thematic Transformation) การใช้ระบบโมด(Mode system) การแปรทำนอง(Variation) และเทคนิคอื่น ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศและทำให้บทเพลงมีสีสันที่หลากหลายขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะสำคัญของดนตรีพื้นบ้านอย่างสมบูรณ์


การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ที่เปิดสอนระดับชั้น Diploma Programme จำนวน 23 โรงเรียนทั่วประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในระดับชั้น Diploma Programme รวมทั้งสิ้น 418 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (R2) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (β) ของตัวแปรทำนายแต่ละตัว ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศการสอนที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ การนิเทศแบบพึ่งตนเอง การปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรมากที่สุดมี 2 ด้านคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผล และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างรูปแบบการนิเทศการสอนกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทยพบว่า รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองเป็นตัวแปรทำนายที่สำคัญที่สุด (β =.338, P=<.001) รองลงมาคือ รูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร (β =.126, P=.024)


การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย Jan 2022

การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้สื่อและเนื้อหาในการสื่อสารการตลาดที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย (2) ศึกษาการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากลายทางเพศ (3) ศึกษาความแตกต่างกันในการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกัน ต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศ และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างทั้งเพศชาย เพศหญิง และเพศวิถีอื่น ๆ (LGBTQIA+) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 430 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ตราสินค้ามีการใช้ลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎมากที่สุด คือ เนื้อหาที่มีคำแสดงถึงความหลากหลายทางเพศโดยอ้อม ส่วนลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เนื้อหาที่สัญลักษณ์สีรุ้ง และช่องทางที่ตราสินค้าใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก ส่วนช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เว็บไซต์ต่าง ๆ นอกจากนี้ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณพบว่า กลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-26 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาทมากที่สุดนั้น มีการรับเปิดสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสูงบนช่องทางสื่อเฟซบุ๊ก และสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อที่พรีเซนเตอร์ผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นผู้แสดงหรือนำเสนอสินค้าในระดับสูง ส่วนทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศนั้นอยู่ในระดับสูง โดยเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่มีความทันสมัย ส่วนพฤติกรรมการซื้อต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศแตกต่างกัน และการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อนั้นมีความสัมพันธ์กัน


อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา: 1) คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ (ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเชี่ยวชาญ ความน่าไว้วางใจ ความน่าดึงดูดใจ ความชื่นชอบ ความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย และความคุ้นเคย) ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ และทัศนคติต่อตราสินค้า) และพฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ ความตั้งใจซื้อ และการสื่อสารแบบบอกต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณเบเบ้ (ธันย์ชนก ฤทธินาคา) ที่มีอายุระหว่าง 24 - 30 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่รับชมคลิปวิดีโอจำนวนอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 292 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณดาว (วิภา อาทิตย์อุไร) และรับชมคลิปวิดีโอจำนวน 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 298 คน รวมทั้งหมด 590 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ด้านความน่าไว้วางใจ และด้านความน่าดึงดูดใจมีอิทธิพลต่อทัศนคติมากที่สุด ในขณะที่ด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมายมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากที่สุด และสุดท้ายทัศนคติยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอีกด้วย


มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูง, ชนิสร เจียมเจือจันทร์ Jan 2022

มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูง, ชนิสร เจียมเจือจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐานและความเป็นมาของการคุ้มครองผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลข่าวสารและความปลอดภัย รวมถึงมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูงของประเทศไทย ทั้งตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เปรียบเทียบกับมาตรการของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศชิลี ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูงตามกฎหมายไทย และสามารถเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้จากการวิจัยพบว่า สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารและความปลอดภัยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้บริโภคควรจะได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร และเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการป้องกันอันตรายที่มีต่อความปลอดภัยและสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจากการศึกษามาตรการฉลากโภชนาการและมาตรการปรับสูตรในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยและต่างประเทศพบว่า มาตรการของประเทศไทยยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควรที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลข่าวสารและความปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูงได้อย่างครอบคลุม ทั้งมาตรการทางฉลากโภชนาการ ในเรื่องรูปแบบฉลากโภชนาการ ขอบเขตของผลิตภัณฑ์ที่ใช้บังคับ และมาตรการปรับสูตรในภาคอุตสาหกรรม ในเรื่องรูปแบบการใช้บังคับ รวมไปถึงมาตรการอื่นที่นำมาใช้ร่วมกับมาตรการปรับสูตรในภาคอุตสาหกรรม ผู้เขียนจึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุขและออกมาตรการอื่นเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ตลอดจนสิทธิผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม


การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการขัดกันทางอาวุธกับผลกระทบต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ, ดามร คำไตรย์ Jan 2022

การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการขัดกันทางอาวุธกับผลกระทบต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ, ดามร คำไตรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการขัดกันทางอาวุธเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอาวุธ เทคโนโลยีที่ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพแต่ถูกใช้เยี่ยงอาวุธ เทคโนโลยีที่ใช้ประกอบร่วมกับระบบอาวุธเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบอาวุธ ก่อให้เกิดข้อพิจารณาว่ากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศยังสามารถปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่ แม้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีหลักการพื้นฐานที่มีลักษณะเป็นการทั่วไปเพื่อจำกัดวิธีการและปัจจัยในการขัดกันทางอาวุธที่จะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลและทรัพย์สิ่งของที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง แต่เมื่อพิจารณาถึงความยืดหยุ่นของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมโดยไม่ฝ่าฝืนหรือบิดเบือนต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย พบว่ากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศยังมีขีดจำกัดในการปรับตัวของหลักการทำให้ไม่สามารถนำไปปรับใช้กับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างเหมาะสมในบางกรณี เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวดเร็วและไม่สามารถคาดหมายได้ ในขณะที่พัฒนาการของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วให้เท่าทันพัฒนาการของการใช้เทคโนโลยีในการขัดกันทางอาวุธ โดยขณะนี้ยังเร็วไปที่จะสามารถบ่งชี้หลักกฎหมายใหม่ที่ควรจะมีเพิ่มเติมเพื่อให้ปรับใช้ได้กับการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การใช้กฎหมายระหว่างประเทศในมิติอื่นเช่นการควบคุมหรือการจำกัดการใช้เทคโนโลยีโดยทั่วไป ซึ่งรวมถึงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีใหม่เช่นปัญญาประดิษฐ์อาจเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมการใช้เทคโนโลยีใหม่ให้สอดคล้องต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์ Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน จำนวน 82 คน ครูผู้สอน จำนวน 164 คน รวมจำนวน 328 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 410 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคม แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะอารมณ์และสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมี ด้านการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคมด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก และ การวางแผนงานกิจการนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม นำเสนอไว้ 3 แนวทางดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนการนำผลการประเมินไปใช้ส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการสร้างสัมพันธภาพ (2) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการดำเนินงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ (3) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนเน้นการวางแผนงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณะทำงานตลอดจนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 29 ท่าน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระบบบำนาญที่ยังไม่ครอบคลุมสำหรับแรงงานในทุกระบบ แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทยเพื่อระดมหาจำนวนสมาชิกใหม่เข้าสู่กองทุน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีสัดส่วนสมาชิกเมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมายมากที่สุดในประเทศไทย แต่ความสำเร็จดังกล่าวเป็นเพียงความสำเร็จหนึ่งในสองของวัตถุประสงค์โครงการเท่านั้น กล่าวคือการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีแนวคิดริเริ่มซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ยังขาดการส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องของสมาชิก ทั้งนี้ยังพบปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินการในแต่ละส่วน ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกอย่างทั่วถึงรวมไปถึงผลตอบแทนยังไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เท่าที่ควร เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติในระดับพื้นที่เนื่องจากวิธีการการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติใช้หลักการแบ่งบทบาท นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย 2) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) ปัจจัยด้านสมรรถนะขององค์กร และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ควรตระหนักถึงความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย รวมไปถึงข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ผลของการฝึกเสริมด้วยเทคนิคแอบโดมินอลเบรซซิ่ง ที่มีต่อความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและสมรรถภาพการขว้างในนักกีฬาเทนนิสชาย, ภาวิต ศาสตรศิริภูมิ Jan 2022

ผลของการฝึกเสริมด้วยเทคนิคแอบโดมินอลเบรซซิ่ง ที่มีต่อความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและสมรรถภาพการขว้างในนักกีฬาเทนนิสชาย, ภาวิต ศาสตรศิริภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยเทคนิคแอบโดมินอลเบรซซิ่ง ที่มีต่อความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความสมดุลในการทรงท่า และสมรรถภาพการขว้างในนักกีฬาเทนนิสชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเทนนิสในช่วงอายุ 14 - 18 ปี ที่มีการทำงานแบบไม่สมดุลกันของกล้ามเนื้อ จำนวน 20 คน ปัจจุบันฝึกซ้อมอยู่ที่ Troops tennis academy และศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จึงได้กลุ่มตัวอย่างจาก Troops tennis academy เป็นกลุ่มที่ 1 (กลุ่มทดลอง) และ กลุ่มตัวอย่างจาก ศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี เป็นกลุ่มที่ 2 (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 1 ทำการฝึกเสริมด้วยเทคนิคแอบโดมินอลเบรซซิ่ง 3 ครั้ง/สัปดาห์ ร่วมกับการฝึกปกติ และกลุ่มที่ 2 ทำการฝึกปกติ ใช้ระยะเวลาในการฝึก 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบสมรรถภาพในการขว้าง ความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และความสมดุลในการทรงท่าก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ Paired t – test /Wilcoxon signed ranks test ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มทดลองมีความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวในกลุ่ม Trunk flexor และ Trunk lateral flexor (Rt.) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสมดุลในการทรงท่าในมุม Dorsal view ในส่วนของสะโพกขวา สะโพกซ้าย และข้อเท้าขวาที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในกลุ่มควบคุมมีสมรรถภาพในการขว้างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวในกลุ่ม Trunk lateral flexor (Lt.) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสมดุลในการทรงท่าในมุม Dorsal view ในส่วนของ สะโพกขวา …


การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์ Jan 2022

การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของครูมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพและทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตฝึกสอนที่กำลังจะเป็นครูในอนาคต จึงจำเป็นต้องฝึกทักษะการตรวจงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนของนิสิตฝึกสอนภาษาอังกฤษ จากการวิเคราะห์วิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษจากมุมมองของครูภาษาอังกฤษ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นิสิตฝึกสอน และนักเรียนโดยจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์ปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการจำเป็นด้านทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน และเครื่องมือประเมินการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ครูใช้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยตรงและวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยอ้อมต่อข้อผิดพลาดในงานเขียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครูยังให้ข้อมูลย้อนกลับ คำแนะนำ และคำติชมให้แก่นักเรียนในงานเขียน นอกจากนี้ ผลจากการประเมินความต้องการจำเป็นด้านวิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษพบว่า นิสิตฝึกสอนมีความจำเป็นในเรื่องการเขียนข้อเสนอแนะลงไปในงานเขียนของนักเรียน ส่วนนักเรียนมีความจำเป็นในเรื่องการให้อาจารย์นิสิตเขียนคำอธิบายแก้ไขข้อผิดพลาดให้ชัดเจนมากที่สุด ในขณะที่อาจารย์นิเทศก์มีความจำเป็นเรื่องการให้นักเรียนแก้ไขงานเขียนด้วยตนเองมากที่สุด ผลการวิจัยทั้งหมดนำไปสู่แบบประเมินในรูปแบบข้อคำถามและตัวเลือกพร้อมภาพประกอบโดยประเมินระดับของทักษะการตรวจงานเขียนด้วยเกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบ และแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนในลักษณะข้อควรปฏิบัติ ที่ให้นิสิตฝึกสอนพิจารณา 1) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนสามารถแก้ไขเองได้ 2) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนไม่สามารถแก้ไขเองได้ 3) การสร้างแรงจูงใจในการเขียนของนักเรียน และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับในงานเขียน แนวทางการพัฒนาที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนต่อไป


การสื่อสารภายนอกระหว่างรถโดยสารรับ-ส่งอัตโนมัติกับคนเดินข้ามถนน ในสถานการณ์การข้ามถนนตรงทางม้าลาย, ณัฐชนน กิจประมงศรี Jan 2022

การสื่อสารภายนอกระหว่างรถโดยสารรับ-ส่งอัตโนมัติกับคนเดินข้ามถนน ในสถานการณ์การข้ามถนนตรงทางม้าลาย, ณัฐชนน กิจประมงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสถานการณ์ปกติ การข้ามถนนของคนเดินเท้ามักจะใช้สัญญาณมือหรือการสบตากับผู้ขับขี่เพื่อช่วยให้เข้าใจตรงกันว่าผู้ขับขี่จะหยุดให้คนเดินเท้าข้ามถนน แต่หากในอนาคตเมื่อรถอัตโนมัติมีบทบาทบนท้องถนนมากขึ้น ทำให้การสื่อสารระหว่างคนเดินเท้ากับรถอัตโนมัตินั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากไม่สามารถใช้การสื่อสารรูปแบบเดิมได้ จึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า eHMI (External human machine interfaces) เพื่อเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนเดินเท้าสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของรถอัตโนมัติได้ โดย eHMI มีการพัฒนาอย่างแพร่หลายผ่านการแสดงผลรูปแบบต่างๆ เช่นการใช้สีในการบ่งบอกสถานะของรถอัตโนมัติ การใช้ข้อความในการสื่อสาร แต่ยังคงไม่มีมารตราฐานใดที่ยืนยันว่าควรใช้รูปแบบใดในการสื่อสาร ทำให้ปัจจุบันยังคงต้องการการพัฒนาเพื่อหารูปแบบที่ดีที่สุด ในงานวิจัยนี้พัฒนารูปแบบของ eHMI ที่ช่วยให้คนเดินเท้าเข้าใจเจตนาของรถโดยสารรับ-ส่งอัตโนมัติ ผ่านทาง รูปแบบข้อความ (WALK, CROSS), รูปแบบสัญลักษณ์ (คนเดินข้ามถนน, ลูกศร), รูปแบบสี (สีขาว, สีเขียว) และการผสมรูปแบบ ผ่านการดูวิดีโอทั้งหมด 20 เหตุการณ์(ที่แสดง eHMI 16 เหตุการณ์, ไม่แสดง eHMI 1 เหตุการณ์ และ เหตุการณ์ที่รถไม่หยุด 3 เหตุการณ์) ที่ใช้ CARLA (open-source simulator for autonomous driving research) ในการสร้างวิดีโอ โดยให้ผู้ทดสอบจำลองสถานการณ์ที่กำลังจะข้ามถนนตรงทางม้าลาย และมีรถโดยสารรับ-ส่งอัตโนมัติขับตรงมาพร้อมแสดง eHMI เมื่อผู้ทดสอบเข้าใจเจตนาของรถให้กดปุ่ม และนำค่ามาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลลัพธ์พบว่าสีเขียวใช้เวลาในการเข้าใจเร็วกว่าสีขาว แต่ไม่มีความแตกต่างกันที่มีความสำคัญทางสถิติ และรูปแบบข้อความ “WALK” ผู้ทดสอบเข้าใจเร็วกว่า “CROSS” ในขณะที่สัญลักษณ์คนเดินข้ามถนนใช้เวลาในการเข้าใจเร็วกว่าลูกศร และการผสมของสัญลักษณ์คนข้ามถนน กับ ข้อความ “WALK” ใช้เวลาในการเข้าใจน้อยที่สุดจากทุกเหตุการณ์


สมรรถนะของอาคารโครงสร้างเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองในการต้านทานแผ่นดินไหว, ณัฐธีร์ ยศพลจิรกิตต์ Jan 2022

สมรรถนะของอาคารโครงสร้างเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองในการต้านทานแผ่นดินไหว, ณัฐธีร์ ยศพลจิรกิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาสมรรถนะของอาคารโครงสร้างเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองในการต้านทานแผ่นดินไหว ซึ่งในมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ. 1301/1302-61 ได้มีการปรับปรุงวิธีสเปกตรัมผลตอบสนอง (Response Spectrum Analysis, RSA) เป็นวิธี Modified Response Spectrum Analysis (MRSA) ซึ่งเป็นการปรับวิธีคำนวณแรงเฉือนที่ต้องต้านทานให้มีความปลอดภัย ซึ่งได้มาจากการศึกษาวิจัยจากอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นอาคารสูง แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธี MRSA กับอาคารโครงสร้างเหล็ก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเพียงพอของค่าแรงที่ต้องต้านทานสำหรับการออกแบบด้วยวิธี RSA ในการออกแบบโครงสร้างเหล็กที่ต้องต้านแผ่นดินไหว โดยพิจารณาอาคารโครงต้านแรงดัดเหล็กที่มีความเหนียวปานกลาง ที่มีความสูง 3, 6 และ 9 ชั้น, อาคารโครงต้านแรงดัดเหล็กที่มีความเหนียวพิเศษ มีความสูง 3, 6, 9 และ 15 ชั้น และอาคารโครงแกงแนงเหล็กแบบตรงศูนย์แบบพิเศษ ที่มีความสูง 3, 6, 9, 15, 20 และ 25 ชั้น โดยสมมติที่ตั้งของอาคารตัวอย่างอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอาคารที่นำมาศึกษาจะถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนอง อ้างอิงตามมาตรฐาน มยผ. 1301/1302-61, มยผ. 1304-61 และ AISC 360-16 และทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีประวัติเวลาไม่เชิงเส้น (Nonlinear Response History Analysis) เพื่อประเมินสมรรถนะของโครงสร้างในการต้านทานแผ่นดินไหว โดยพิจารณาความเสียหายของอาคารจากการหมุนพลาสติก และการเสียรูปในแนวแกน, การเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ระหว่างชั้น, การโก่งเดาะของเสาเหล็ก, การโก่งเดาะเฉพาะที่ของเสา และแรงที่ต้องต้านทานสำหรับการออกแบบจุดต่อ จากผลการวิเคราะห์พบว่าอาคารโครงสร้างเหล็กที่ศึกษาที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองแบบเดิมสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้


การศึกษาการเบรกดาวน์ทางไฟฟ้าของเม็ดเลือดแดงสําหรับการตรวจจับมาลาเรีย, วีรดา หมัดสี Jan 2022

การศึกษาการเบรกดาวน์ทางไฟฟ้าของเม็ดเลือดแดงสําหรับการตรวจจับมาลาเรีย, วีรดา หมัดสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยจะลดลงทุกปี. การดื้อยาของเชื้อมาลาเรียส่งผลกระทบต่อการควบคุมโรคเป็นอย่างมาก. ดังนั้น การวินิจฉัยของมาลาเรียจำเป็นต้องมีความรวดเร็วและแม่นยำ. ปัจจุบันการตรวจหามาลาเรียมีหลายวิธี เช่น การตรวจหาด้วยกล้องจุลทรรศน์, การตรวจโดยใช้ชุดตรวจ RDTs, การตรวจด้วยวิธีการพีซีอาร์. ขีดจำกัดและความสามารถในการตรวจแต่ละวิธีนั้นมีความแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการคัดแยกเซลล์เลือดเพาะปกติและเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรีย และการตรวจหาดีเอ็นเอของมาลาเรีย โดยใช้แรงไดอิเล็กโตรโฟเรติก. การสลายเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียด้วยหลักการอิเล็กโตรพอเร-ชัน. ตัวอย่างที่ใช้สำหรับการทดลอง คือ เซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ และเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรีย. การทดลองคัดแยกเซลล์เลือดปกติออกจากเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียถูกทำที่อัตราส่วนจำนวนเซลล์ 1:10,000. เซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียหลังผ่านกระบวนการคัดแยกจะถูกสลายที่แรงดัน 9 Vp, 100 kHz เพื่อสกัดสารพันธุกรรม. ตัวอย่างที่ได้จากการสลายเซลล์ถูกนำไปขยายปริมาณดีเอ็น-เอด้วยวิธีการพีซีอาร์. ผลิตผลที่ได้จากการทำพีซีอาร์จะถูกนำมาตรวจหาดีเอ็นของมาลาเรียด้วยวิธีการวัดอิมพีแดนซ์เชิงไดอิเล็กโตรโฟเรติก.


การลดแผงยาเสียในกระบวนการบรรจุยาเม็ด, ทิวานันท์ มณีรัตน์ Jan 2022

การลดแผงยาเสียในกระบวนการบรรจุยาเม็ด, ทิวานันท์ มณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนแผงเสียของบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมฟอยล์ ในรูปแบบแผงสตริพที่เป็นแผงยาเสียจากการซีลไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่พบมากที่สุด การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยแผนภาพแสดงสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) พร้อมทั้งคัดกรองปัจจัยโดยใช้คะแนนความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผล (Cause and Effect Matrix) และการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA : Failure Mode and Effect Analysis) โดยการประเมินตัวเลขแสดงความเสี่ยง (RPN : Risk Priority Number) ซึ่งจากการคัดกรองปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผงยาเสียประเภทแผง Seal ไม่สมบูรณ์ ได้แก่ อุณหภูมิของ Sealing Roller, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller, ความตึงของฟอยล์ด้านพิมพ์และด้านไม่พิมพ์ เริ่มด้วยการทดลองแบบทีละปัจจัย (OFAT : One Factor at a Time) เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าความแตกต่างของความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้านไม่มีผลต่อสัดส่วนแผงยาเสีย พบว่าการปรับระดับความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้านให้เท่ากัน ทำให้เกิดแผงยาเสียน้อยกว่าการปรับความตึงต่างระดับกัน จึงคัดกรองเหลือเพียง 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิของ Sealing Roller, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller, ความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้าน และได้ทำการประยุกต์ใช้หลักการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูป (General Full Factorial Design) เพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสม จากการทดลองพบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิของ Sealing Roller เท่ากับ 130 0C, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller เท่ากับ 14 rpm, ความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้าน คือ ระดับ 7 โดยเมื่อนำระดับปัจจัยที่ได้มาปรับใช้ในกระบวนการบรรจุยาเม็ดในรูปแบบแผง Strip พบว่าสัดส่วนแผงยาเสียประเภทแผง Seal ไม่สมบูรณ์เฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 4.82% เหลือเพียง 1.38%


แบบจำลองทำนายความชื้นในกระบวนการทำแห้งด้วยเครื่องฟลูอิดเบด, พลช ชินวัฒนวงศ์วาน Jan 2022

แบบจำลองทำนายความชื้นในกระบวนการทำแห้งด้วยเครื่องฟลูอิดเบด, พลช ชินวัฒนวงศ์วาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม เครื่องทำแห้งฟลูอิดเบดมักถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำแห้งเพื่อกำจัดชองเหลวส่วนเกินออกจากแกรนูลยาจนกระทั้งได้ได้แกรนูลที่มีปริมาณความชื้นที่ต้องการ พนักงานสามารถถูกตรวจสอบปัจจัยและจุดยุติกระบวนการโดยหลายวิธีตั้งแต่วิธีการพื้นฐาน เช่น การตรวจโดยมนุษย์ จนถึง วิธีการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวน เช่นเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี แม้ว่าการนำเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีมาใช้จะประสบความสำเร็จในการศึกษา แต่การประยุกต์วิธีการดังกล่าวในระดับอุตสาหกรรมการผลิตยังมีข้อจำกัดในด้านการปรับติดตั้งและด้านราคา นอกจากนี้บริษัทเภสัชกรรมหลายแห่งยังไม่ได้นำข้อมูลจากเซนเซอร์ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ ดังนั้นการศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลสเปกตรัมที่ได้จากเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี กับ ข้อมูลความชื้นและอุณหภูมิของอากาศของเครื่องฟลูอิดเบด ของความสามารถในการทำนายปริมาณความชื้นจากแบบจำลองทำนายความชื้น เพื่อทำนายปัจจัยและจุดยุติกระบวนการ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองแห่งแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดกระบวนการและข้อสังเกตุที่มีประโยชน์ในการพัฒนาแบบจำลองการทำนายซึ่งมีพื้นฐานบนการใช้ข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้นอากาศและใช้สเปกตรัมเนียร์อินฟราเรดเป็นปัจจัย จากผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบจากค่า root mean square error (RMSE) ของทั้งสองแบบจำลอง พบว่าการใช้ข้อมูลจากตัววัดความชื้นและอุณหภูมิอากาศในการทำนายได้ผลที่ดีกว่า โดยมีค่า RMSE เท่ากับ 0.1144 ในขณะที่แบบจำลองเนียร์อินฟราเรดมีค่า RMSE เท่ากับ 0.2757 ซึ่งยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงความแม่นยำของแบบจำลองต่อไป


การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ : เพลงตับเรื่อง "วิถีชีวี นทีสยาม", สุวิวรรธ์น ลิมปชัย Jan 2022

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ : เพลงตับเรื่อง "วิถีชีวี นทีสยาม", สุวิวรรธ์น ลิมปชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: เพลงตับเรื่อง “วิถีชีวี นทีสยาม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปานครหลวงและมูลบทที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: เพลงตับเรื่อง “วิถีชีวี นทีสยาม” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า แหล่งน้ำดิบที่การประปานครหลวงนำมาเป็นน้ำต้นทุนมาจากแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลอง โดยการลำเลียงน้ำเข้าสู่คลองประปาเพื่อทำการบำบัด และนำจ่ายให้กับประชาชนใน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ วิธีการประพันธ์ ศึกษาองค์ความรู้จากการค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิอีกทั้ง ศึกษาเพลงที่เกี่ยวข้องกับน้ำเพื่อดูกระบวนการในการสร้างสรรค์เพลง และออกแบบทำนองที่มีทั้งลักษณะของอาการและลักษณะทางกายภาพของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งหมด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประพันธ์เพลง แบ่งการประพันธ์ไว้ 2 ส่วน ส่วนแรก ประพันธ์บทกลอน มีทั้งสิ้น 3 บทกลอน โดยบทกลอนที่ 1 กล่าวถึงวัฏจักรของน้ำและการก่อกำเนิดชีวิต บทกลอนที่ 2 กล่าวถึงแหล่งน้ำที่นำมาผลิตน้ำประปานครหลวง และบทกลอนที่ 3 กล่าวถึงขั้นตอนในการผลิตน้ำประปา การลำเลียงน้ำเข้าสู่ครัวเรือน และความสุขที่คนไทยได้มีน้ำสะอาดใช้ ประพันธ์บทกลอนชนิดกลอนสุภาพ (กลอนแปด) ส่วนที่ 2 ประพันธ์ทำนองเพลง แบ่งเป็น 3 ช่วง 9 บทเพลง ได้แก่ ช่วงที่หนึ่ง สายน้ำแห่งชีวิต: ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำที่นำมาผลิตน้ำประปา มี 3 เพลง คือ เพลงมูรธาธาร เพลงเอกโอฬารเจ้าพระยา และเพลงวหาแม่กลองสุขสวัสดิ์ ช่วงที่สอง ผลผลิตทรงคุณภาพ: การตรวจจับสารพิษและการบำบัดน้ำ มี 4 เพลง ได้แก่ เพลงมัศยาคงคาลัย เพลงพลาดิศัยบูรณาสินธุ์ เพลงนฤมลทินธารวิสุทธิ์ และเพลงศรีอัมพุชชโลทร และช่วงที่สาม ตราบนทีเขษม: การลำเลียงน้ำเข้าสู่ครัวเรือนเพื่อความผาสุกของประชาชน มี 2 เพลง ได้แก่ เพลงสืบสายนาครสาคเรศ และเพลงสมเจตนามหานที โดยบทเพลงทั้ง 9 เพลง ใช้วิธีการประพันธ์แบบอัตโนมัติ และประพันธ์จากทำนองต้นราก วงดนตรีที่ใช้บรรเลง ได้แก่ วงดนตรีพิเศษ โดยรูปแบบของวงดนตรีจะเป็นวงที่ใช้วงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องตี …


Creating A Sustainable Tourism Model Of Oceanfront Beach Resort, Phuket Thailand, During The Covid-19 Pandemic, Raiwin Chinkijjakarn Jan 2022

Creating A Sustainable Tourism Model Of Oceanfront Beach Resort, Phuket Thailand, During The Covid-19 Pandemic, Raiwin Chinkijjakarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to explore the strategies adopted for the tourism and hospitality business during the Covid-19 pandemic and analyze the strategies for sustainable tourism and hospitality approaches that could be adopted at the Oceanfront Beach Resort, Phuket, in Thailand, during the post-Covid-19 period. Qualitative methodology was used to collect detailed information from 20 respondents from various departments in hotels and tourism industry. The findings illustrate the strategies adopted for the tourism and hospitality business during the Covid-19 pandemic and post-pandemic at the Oceanfront Beach Resort Phuket in Thailand are (1) Competitive strategies, (2) Human resource capacity strategies, (3) Sustainable …


A Comparative Analysis Of The Energy Transitions Of Eu Member States Germany And Spain, Shuo Gao Jan 2022

A Comparative Analysis Of The Energy Transitions Of Eu Member States Germany And Spain, Shuo Gao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, the energy transition is gaining more and more importance in European energy policy. This article aims to introduce the achievements, contributions and challenges of Europe's current energy transition. The article outlines some of the main energy goals and initiatives proposed and developed by EU institutions. The EU attaches great importance to renewable energy, energy efficiency and reduction of greenhouse gas emissions (GHG), identifying them as the three ultimate supporters for achieving carbon neutrality. The EU aims to be climate neutral by 2050. However, since energy policy requires the joint efforts of EU institutions and the WTO, each WTO plays …


China's Influence On Laos' Infrastructure Investment And Lao People's Views On It - The Case Study Of China-Laos Railway, Ziying Cheng Jan 2022

China's Influence On Laos' Infrastructure Investment And Lao People's Views On It - The Case Study Of China-Laos Railway, Ziying Cheng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper addresses the following question: "Given that China's economic contribution to the China-Laos Railway project is greater than Laos', will China have greater influence in the project than Laos?" In recent years, China and Laos have developed increasingly close relations. In addition, the China-Laos railway has been completed by the end of 2021 as a result of China's continued implementation of its "One Belt, One Road" policy. In the first section of the article, this context is described in detail. Laos has always been the only landlocked nation on the Indo-China Peninsula, and the construction of railways within its …


การพัฒนาระบบแชตบอตสำหรับธุรกิจจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ไปรษณีย์, เสริมศิริ นวลิขิต Jan 2022

การพัฒนาระบบแชตบอตสำหรับธุรกิจจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ไปรษณีย์, เสริมศิริ นวลิขิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลและทำธุรกรรมออนไลน์สะดวกรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce หรือ e-Commerce) มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์ไปรษณีย์เติบโตตามไปด้วย ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เทคโนโลยีแชตบอตเข้ามามีบทบาทสำคัญให้กับธุรกิจในด้านการให้บริการอัตโนมัติด้วยภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติภายใต้แพลตฟอร์มที่ใช้กันทั่วไปและไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่หรือเวลาบริการ โครงการ “การพัฒนาระบบแชตบอตสำหรับธุรกิจจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ไปรษณีย์” ที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วย 5 ระบบ ได้แก่ (1) ระบบแชตบอตสำหรับแนะนำสินค้า (2) ระบบแชตบอตสำหรับประมวลผลคำสั่งซื้อ (3) ระบบแชตบอตสำหรับการสนับสนุนลูกค้า (4) ระบบแชตบอตสำหรับตอบคำถามที่พบบ่อย และ (5) ระบบวิเคราะห์การใช้งานแชตบอต โดยระบบแชตบอตถูกพัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม Dialogflow และ LINE Messaging API ส่วนระบบวิเคราะห์ข้อมูลถูกพัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม Microsoft Power BI 2.110 ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 ระบบสารสนเทศจากโครงการพิเศษนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการของธุรกิจ และสร้างประสบการณ์การรับบริการในรูปแบบใหม่ให้กับลูกค้า รวมถึงสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการให้บริการมาวิเคราะห์เพื่อนำไปปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจ


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของศูนย์พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่, กัญญณัฐ โภคาพันธ์ Jan 2022

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของศูนย์พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่, กัญญณัฐ โภคาพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาคการเกษตรของประเทศไทยเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นรากฐานของการสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศและของโลก และประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในภาคการผลิตทางการเกษตร จากสถิติการเกษตรและสหกรณ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรทั้งประเทศเป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 46 ปีขึ้นไป ดังนั้น การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนนับเป็นอีกหนึ่งหัวใจที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ด้วยการพัฒนาและฝึกอบรมอย่างเหมาะสมเป็นการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักการเกษตร ให้รู้จักบริหารจัดการการเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ อยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่นสืบต่อรุ่นเก่าได้ ในช่วงเริ่มแรกเกษตรกรรุ่นใหม่จะเป็นศูนย์กลางและออกแบบการเรียนรู้งานด้านเกษตรกรรมด้วยตนเอง ในปัจจุบันมีการต่อยอดและพัฒนาให้เกษตรกรรุ่นใหม่เหล่านี้สามารถจัดตั้งศูนย์พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกรในรุ่นต่อ ๆ ไป ระบบต้นแบบของโครงการนี้ถูกสร้างจากเครื่องมือ “Figma” จะช่วยให้สามารถนำไปพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันของศูนย์พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ใช้ได้จริง และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, พิชญนันท์ มณีเนตร Jan 2022

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, พิชญนันท์ มณีเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคที่มีแนวโน้วที่มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีทางธุรกิจ แต่ก็อาจจะส่งผลให้ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต้องผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากและหลากหลายชนิด ทำให้ปริมาณข้อมูลในระบบการจัดการการผลิตมีมากและมีความซับซ้อน ดังนั้นจะต้องมีการนำการวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ เพราะจะทำให้เห็นถึงภาพรวม, แนวโน้มและโอกาสทางธุรกิจ และยังทำให้เห็นปัญหา, ข้อบกพร่องและสิ่งที่จะต้องปรับปรุงอีกด้วย ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อตอบสนองสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้อีกด้วย โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์” ประกอบไปด้วย 5 ระบบ ได้แก่ 1.ระบบวิเคราะห์การขายและกำไร, 2.ระบบวิเคราะห์รายการการสั่งซื้อสินค้า, 3.ระบบวิเคราะห์สินค้าคงคลัง, 4.ระบบวิเคราะห์การจัดส่งสินค้า, 5.ระบบวิเคราะห์ลูกหนี้การค้า โดยระบบพัฒนาขึ้นบนระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรม Tableau Desktop Version 2021.1 ในการพัฒนาระบบ ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้จะสนับสนุนการตัดสินใจและช่วยให้ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สามารถวางแผนการดำเนินงาน ปรับปรุงการดำเนินงาน และเตรียมการดำเนินงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น