Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Publication Year

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Entire DC Network

ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2019

ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ถ่านชีวภาพ (biochar) เป็นวัสดุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โครงสร้างประกอบด้วยคาร์บอนที่ยึดจับกันเป็นโครงสร้างอะโรมาติก (aromatic structure) ทำให้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุที่มีความเสถียรสูง (Schmidt & Noack, 2000;Lehmann, 2007; Glaser et al., 2002) จึงถูกย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติ (Preston & Schmidt, 2006; Gul et al., 2015)ถ่านชีวภาพเป็นผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายมวลชีวภาพด้วยความร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 350-700 องศาเซลเซียสในสภาวะที่ไร้อากาศหรือมีอากาศเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส (Wijitkosum & Jiwnok, 2019;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Brassard et al., 2016; Liu et al. 2014; Lehmann & Joseph, 2009) ทั้งนี้ คุณภาพของถ่านชีวภาพ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ (feedstock) และกระบวนการผลิต (process/procedures) (Cao et al., 2017;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Graber et al., 2014) โดยวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตถ่านชีวภาพส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ (Wijitkosum & Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015; Qambrani et al., 2017) ซึ่งในการศึกษาวิจัยเป็นการเลือกใช้วัสดุเหลือใช้จากเกษตรกรรม เช่น แกลบ เศษไม้ และเหง้ามันสำปะหลัง เป็นต้น


การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทางอาหารในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2017

การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทางอาหารในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การผลิตในภาคเกษตรกรรม เป็นภาคส่วนที่มีความอ่อนไหว(vulnerability) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมากอีกทั้งยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวคือ อุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือลดลง สภาวะความแห้งแล้ง การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนและความถี่ของฝนส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรมการเพาะปลูก ช่วงการเจริญเติบโตของพืช ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหาร ความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการผลิตอาหารของประเทศต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีวิถีการเพาะปลกูที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติถ่านชีวภาพ (Biochar) เป็นวัสดุที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวัสดุปรับปรุงดิน (soil amendment) ที่มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลให้ดินมีคุณภาพที่ดีขึ้น (Sriburi and Wijitkosum, 2016;Wijitkosum and Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015;Masulili et al., 2010; Lehmann, 2009; Lehmann and Rondon,2006; Yamato et al., 2006) มีคุณสมบัติที่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืช (Wijitkosum and Kallayasiri, 2015;Thies and Rillig, 2009; Chan et al., 2007) และเป็นวัสดุที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของพืชได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มผลผลิตพืชทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณของผลผลิต(Sriburi and Wijitkosum, 2016; Wijitkosum and Kallayasiri, 2015; Zhang et al., 2012; Lehmann et al., 2011) ถ่านชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ เหง้ามันสำปะหลังทลายปาล์ม ฟางข้าว เป็นต้น (ทวีวงศ์ ศรีบุรี และเสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, 2558; Zhan et al., 2015; Liu et al. 2014)และเศษไม้เหลือใช้หรือเหลือทิ้งจากการตัดแต่งกิ่งและต้นไม้ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง ไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน (Sriburi and Wijitkosum, 2016; Sun et al., 2014) …


การถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2015

การถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การที่ประชาชนในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ยัง ประสบปัญหาความยากจน ทั้งๆ ที่มีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานได้พยายามเข้าไปให้ความรู้และความช่วยเหลือ แต่ประชาชนกลับ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ สาเหตุสำคัญ เพราะประชาชนยังขาดความรู้ และงบประมาณในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่หน่วยงานของรัฐพยายามนำเสนอ ดังนั้น จึงมีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยที่ เหมาะสมกับท้องถิ่น สามารถ เข้าใจได้ง่าย นำไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติได้จริง และเป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ อีกสาเหตุสำคัญของปัญหาความยากจนของประชาชนในภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทของ ประเทศไทยยังเป็นผลมาจากปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำที่เป็นทรัพยากร ทุนในการผลิต ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต ทำให้เกษตรกรพยายามปรับปรุงคุณภาพดิน โดยใช้สารเคมี ในการเร่งผลผลิต และสารเคมีปราบศัตรูพืชในปริมาณสูง ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง ในขณะที่ผลผลิต ที่ได้ยังไม่มีคุณภาพนัก นอกจากนั้น การใช้สารเคมีต่างๆ ในการทำเกษตรกรรม ยังส่งผลต่อคุณภาพของ สิ่งแวดล้อม การตกค้างของสารเคมีในดินในระยะยาว สุขภาพและคุณภาพชีวิตของเกษตรกร รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีของ เกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก การดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงมุ่งเน้นให้ ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการทำเกษตรกรรมที่พึ่งพาสารเคมีต่ำ บำรุงและดูแลรักษา สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นทุนในการผลิต และเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ ให้สามารถใช้ได้ในระยะยาวและอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินโครงการการปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทาง อาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในประเภทโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ภายใต้ โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีความมุ่งหวังที่จะนำ ความรู้จากการศึกษาวิจัย ในการใช้ถ่านชีวภาพ (Biochar) เพื่อปรับปรุงคุณ ภาพดิน และเพิ่มผลผลิต ทางการ เกษตร ด้วยนวัตกรรมการผลิตถ่านชีวภาพจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยเตาเผาถ่านชีวภาพ Controlled Temperature Biochar Retort for Slow Pyrolysis Process ที่มี กระบวนการทำงานที่ง่ายและมีต้นทุนการผลิตเตาที่ไม่สูง ผ่านการทดลองผลิตถ่านชีวภาพจากวัตถุดิบ หลากหลายชนิดจนได้ถ่านชีวภาพที่มีคุณภาพ เพี่อสร้างระบบการเรียนรู้และการปฏิบัติจริงในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างต้นแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่ต่อไป