Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 316

Full-Text Articles in Entire DC Network

Testing The Determinants Of Stock Exchange Index Comovement In Thailand Stock Exchange, Nuntapat Asavaroengchai Jan 2019

Testing The Determinants Of Stock Exchange Index Comovement In Thailand Stock Exchange, Nuntapat Asavaroengchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A study into the effects of different macroeconomic variables on the comovement between the Stock Exchange of Thailand (SET) Index and the Standard & Poor's 500 (S&P 500). These effects are tested using OLS regression in an annual and quarterly frequency. Real Interest Rate Difference between the two countries is found to have a significant negative effect, likely due to investors turning to Thailand when it has higher real interest rate. Income Level is found to be a significant positive effect, as countries with higher income are more integrated with the US. As the economy naturally grows, it is likely …


Is A Self-Employment Skilled Employment? - A Case Study Of Self-Employed With Bachelor’S Degree In Thailand, Kemmika Labkim Jan 2019

Is A Self-Employment Skilled Employment? - A Case Study Of Self-Employed With Bachelor’S Degree In Thailand, Kemmika Labkim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the paper, the research will be focused on self-employed occupations with a bachelor's degree in Thailand to look at the skills require for the self-employed to be hired. The researcher looks further into the Thai labor force survey conducted in 2016, the latest source. The survey shows in detail of self-employed occupations in Thailand with degrees with the total number of 2,284 people in 196 different occupations which counted only those who graduate from bachelor's and above. Hence, in this paper, the researcher looks upon three different sources of information: 2016 Thai labor force National Survey, the skill required …


The Effect Of Salary And Health Insurance Benefit On Job Satisfaction In Thailand, Nattapat Srivibha Jan 2019

The Effect Of Salary And Health Insurance Benefit On Job Satisfaction In Thailand, Nattapat Srivibha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human resources is the most significant factor in production function to exercise activities and operate the business. In order to maximize potential of employees, a good welfare and being taken care by a company are critical and will enhance employee satisfaction, resulted in employees' intention to become more accountable and dedicated to work. There are various factors that support employees' needs in fostering loyalty i.e. wages, health benefits, bonuses, scholarships, loan funds, etc. This study examines the effect of salary and health insurance on employee satisfaction in Thailand by exploring correlation between salary satisfaction and health insurance benefits satisfaction and …


Impact Of Women's Education On Marriage Outcomes, Nattamon Ungpraphakorn Jan 2019

Impact Of Women's Education On Marriage Outcomes, Nattamon Ungpraphakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Thailand, marriage has been one of many women’s aspirations. However, nowadays women’s labor force participation has increased, and women have become more economically independent as a result of higher education attainment. An important question is whether these factors lead to an older age of marriage or even a choice remaining single. This paper analyzes how women’s education affects the marriage outcome and studies single women’s perspective towards marriage. Using data from survey of 422 women between the age of 22 and 60, we estimate the logistic regression of marriage outcome. We find that older women tend to remain single …


บทบาทของกองทัพอากาศไทยในปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามศึกษากรณีการปฏิบัติการดับไฟป่า, ณัฐพล นิสยันต์ Jan 2019

บทบาทของกองทัพอากาศไทยในปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามศึกษากรณีการปฏิบัติการดับไฟป่า, ณัฐพล นิสยันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทของกองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม เนื่องจากในสถานการณ์โลกปัจจุบันได้มีภัยคุกคามในรูปแบบใหม่มากขึ้นและกองทัพอากาศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และกองทัพอากาศไทยเป็นหน่วยงานที่มีกำลังบุคคลและอุปกรณ์ในการช่วยเหลือจึงต้องปรับบทบาทขององค์กรเพื่อให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะศึกษามุ่งเน้นไปยังกรณีการดับไฟป่า การศึกษาพบว่ากองทัพอากาศได้มีบทบาทในการดับไฟป่าอย่างมาก เนื่องจากการดับไฟป่าต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพราะไฟป่าสามารถลุกลามสร้างความเสียหายทำลายพื้นที่ทั้งป่าและบ้านเรือนของประชาชนได้ในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้นไฟป่ายังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งกองทัพอากาศในภาวะปกติต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาความสามารถ ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ให้สามารถบริหารจัดการวิกฤตการณ์และภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การศึกษายังได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่าปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือในการดับไฟป่าได้มีวิวัฒนาการที่ทันสมัย และสามารถใช้เพื่อปฏิบัติการดับไฟป่าได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งหากกองทัพอากาศไทยนำอุปกรณ์เครื่องมือเหล่านี้มาใช้ก็จะทำให้สามารถดำเนินการดับไฟป่าได้เร็วยิ่งขึ้น


นโยบาย "3 ไม่" ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019, ชภาภัทร โสตถิอนันต์ Jan 2019

นโยบาย "3 ไม่" ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019, ชภาภัทร โสตถิอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การมีภัยคุกคามและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกันในทะเลจีนใต้ของเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนในความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่เวียดนามยืนยันไม่เป็นพันธมิตรทางการทหารกับสหรัฐฯ เพื่อร่วมกันต่อต้านจีนโดยยึดนโยบาย “3 ไม่”กล่าวคือ ไม่เป็นพันธมิตรทางทหาร ไม่ให้ตั้งฐานทัพต่างชาติในประเทศ และไม่ร่วมมือกับรัฐหนึ่งเพื่อต่อต้านรัฐอื่น นโยบาย 3 ไม่จึงเป็นเครื่องมือในการรักษาความสัมพันธ์กับจีนควบคู่ไปกับพัฒนาความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษานโยบาย “3 ไม่” ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องพันธมิตรทางทหารของเคนเน็ต วอลท์เพื่อเสนอว่าการใช้นโยบาย “3 ไม่” ทำให้เวียดนามยังรักษาความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีกับจีนไว้ได้ พร้อม ๆ กับอนุญาตให้เวียดนามสามารถเข้าใกล้สหรัฐฯ ได้มากขึ้นด้วย และยังเป็นนโยบายที่เวียดนามใช้เพื่อป้องกันตนเองจากแรงกดดันและแสวงหาผลประโยชน์จากความสัมพันธ์กับสองมหาอำนาจ ทั้งนี้ แม้เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากขึ้น แต่เวียดนามหลีกเลี่ยงคำและการกระทำที่เข้าข่ายการเป็นพันธมิตรทางทหาร โดยในการสร้างข้อตกลงทางการทหารอย่างไม่เป็นทางการกับสหรัฐฯ เวียดนามพยายามจำกัดให้อยู่ภายในขอบเขตของนิยามความเป็นหุ้นส่วน เพื่อยืนยันว่าตนยังคงยึดมั่นนโยบาย “3 ไม่” อย่างมั่นคง


การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lmc), ปภาพรรณ หารบุรุษ Jan 2019

การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lmc), ปภาพรรณ หารบุรุษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษานโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะภายใต้การดำเนินงานของกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lancang - Mekong Cooperation: LMC) ระหว่างปี ค.ศ. 2016 ถึง 2020 เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจที่ทำให้จีนต้องการจัดตั้งกรอบความร่วมมือดังกล่าว โดยผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนผ่านของอำนาจ (Power transition theory) ของ A.F.K. Organski และ Jacek Kugler เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้พบว่า แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้จีนจัดตั้งกรอบความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง มี 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้อย่างเต็มที่ (2) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการช่วงชิงบทบาทนำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจากมหาอำนาจนอกภูมิภาค และ (3) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจของตนให้แข็งแกร่งขึ้น โดยในท้ายที่สุด กรอบความร่วมมือนี้จะช่วยสนับสนุนให้จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ (Dominant power) ที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ


การปรับแนวทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยรัฐบาลชินโซ อาเบะ, อุมาพร เกตุสุวรรณ์ Jan 2019

การปรับแนวทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยรัฐบาลชินโซ อาเบะ, อุมาพร เกตุสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ของการปรับแนวทางการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (ODA) ของญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.2015 กับการดำเนินยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในยุครัฐบาลชินโซ อาเบะต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกรอบแนวคิดการถ่วงอำนาจแบบใช้ไม้อ่อน (soft balancing) เนื่องจากญี่ปุ่นใช้ ODA เป็นเครื่องมือดำเนินยุทธศาสตร์ต่างประเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของ ODA ญี่ปุ่นและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ความมั่นคงและเศรษฐกิจต่อญี่ปุ่น โดยการปรับแนวทาง ODA ของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการปรับเป้าหมายและแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า รัฐบาลอาเบะใช้ ODA เป็นเครื่องมือสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) และศักยภาพด้านการพัฒนาของประเทศในภูมิภาคด้วยการให้ ODA เพื่อให้อาเซียนและประเทศสมาชิกลดการพึ่งพาจีนและรักษาระเบียบของภูมิภาคที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของญี่ปุ่น เนื่องจากการผงาดขึ้นมาของจีน โดยเฉพาะการขยายอิทธิพลทางทะเลและยุทธศาสตร์ Belt and Road เป็นประเด็นท้าทายต่อการดำเนินยุทธศาสตร์และอิทธิพลของญี่ปุ่นในภูมิภาค


พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ซึ่งได้แก่ การรับรู้ของผู้บริโภค ทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมการซื้อสินค้า และความพึงพอใจของผู้บริโภค และ 2) คุณค่าตราสินค้า Apple ของผู้บริโภค อันประกอบด้วย การตระหนักรู้ในตราสินค้า การเชื่อมโยงตราสินค้า คุณภาพของตราสินค้าที่ถูกรับรู้ และความภักดีต่อตราสินค้า โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 211 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นผู้ซื้อและใช้สินค้า Apple Watch มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมต่อ Apple Watch และคุณค่าตราสินค้าต่อ Apple ทั้ง 4 ตัวแปรย่อยในเชิงบวกทุกตัวแปรย่อยที่วัด นอกจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ทั้ง 4 ตัวแปรย่อย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณค่าตราสินค้า Apple อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบโควตา และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าจำนวน ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย 2) สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท และส่วนใหญ่นิยมเช็คอินที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบิน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10 และปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับการใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10


พฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และต่อระบบภาษี ของผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการออนไลน์, ชญานิน แก้วหาญ Jan 2019

พฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และต่อระบบภาษี ของผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการออนไลน์, ชญานิน แก้วหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติต่อ (1) การใช้งานระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) (2) การชำระภาษี ของผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกภาคทางการ และ (3) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองส่วนข้างต้น โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยจำแนกเนื้อหาในการเก็บข้อมูลตามคำถามในการวิจัยและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดทฤษฎีตามกรอบแนวคิดมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์เพื่อตอบคำถามของงานวิจัยดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพฤติกรรมและทัศนคติต่อการใช้งาน e-Payment ที่เป็นไปตามความยอมรับและตั้งใจใช้งานเทคโนโลยี จากการเห็นประโยชน์ คุณค่า มีความคุ้นชินในการใช้งาน รวมถึงความมีอิทธิพลของสังคมที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการใช้งาน ในส่วนของผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้งาน พบว่าเกิดจากความไม่รู้เทคโนโลยีและวิธีการใช้งาน (2) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการยื่นแสดงรายได้จากกิจการออนไลน์ เนื่องด้วยรายได้ยังไม่เข้าข่ายที่จะต้องชำระภาษี และความไม่เชื่อมั่นถึงประโยชน์จากการนำเงินภาษีไปใช้ ส่วนรายที่มีประสบการณ์ในการแจ้งยื่นรายได้เนื่องด้วยเหตุผลที่ต้องการทำตามกฎหมายให้ถูกต้องและเกรงกลัวต่อโทษปรับ (3) ผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ระบบภาษี เป็นผู้ประกอบการที่กิจการเติบโตในระดับหนึ่ง มีรายได้ที่เข้าข่ายจะต้องชำระภาษี และต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการ กลุ่มนี้มีพฤติกรรมและทัศนติต่อการใช้งาน e-Payment ที่ดีและพร้อมเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีหรือใช้ e-Payment ที่อาจเชื่อมโยงไปสู่การชำระภาษี (4) ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ระบบ แม้ว่าจะมีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการใช้ e-Payment แต่ด้วยเหตุผลที่รายได้ยังไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี จึงไม่มีความพร้อมใช้เทคโนโลยีหรือใช้ระบบ e-Payment ที่อาจเชื่อมโยงไปสู่การชำระภาษี เนื่องจากมองว่าเป็นภาระต้นทุนเพิ่มในการศึกษาและการใช้งาน


ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ Jan 2019

ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของรัฐบาล การนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมถึงประสิทธิผลผ่านการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลักดันนโยบายต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และได้กำหนดแนวนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแถลงนโยบายที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยการลงพื้นที่ตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่เป็นวิธีหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ผลการศึกษาพบว่า ในการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ตลอดรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (กันยายน พ.ศ. 2557 - พฤษภาคม พ.ศ. 2562) รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเน้นด้านการเกษตรและพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ตามลำดับ โดยมีจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญในระดับพื้นที่ เพราะมีความเข้าใจในบริบทของสภาพแวดล้อม ใกล้ชิดและรับรู้ความต้องการของประชาชน ตลอดจนสิ่งที่จังหวัดต้องการขับเคลื่อนนโยบายหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนำนโยบายไปปฏิบัติเริ่มต้นจากการที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดนำนโยบายหรือข้อสั่งการไปปฏิบัติ โดยเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อนำนโยบายมาปฏิบัติจริงในพื้นที่พบว่า จังหวัดอาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และการดำเนินงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน สำหรับประสิทธิผลของการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่พบว่า บางข้อสั่งการสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นรูปธรรม อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และบางข้อสั่งการมีข้อจำกัดจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ การสั่งการของนายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีบริบทและสภาพสังคมแตกต่างกัน รวมทั้งรัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และรัฐบาลควรเพิ่มการติดตามผลการนำข้อสั่งการไปปฏิบัติ เพื่อให้การตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่มีประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด


ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์ Jan 2019

ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษาระดับความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร และด้านนำมาใช้ประโยชน์ของประชาชน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาหลักการแนวทางบริหารจัดการภาครัฐและปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับแนวทางบริหารจัดการข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการใช้ประโยชน์จากการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประชาชนพึงพอใจในการนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้สังคมไทยมีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันโรคอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวทางการบริหารงานที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล 2562 เน้นความถูกต้อง โปร่งใส โดยมีหลักในการดำเนินงานในด้านข้อมูลข่าวสารคือกระบวนการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร และการบริการข้อมูลข่าวสารในรูปแบบทันสมัย หลากหลายช่องทาง ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์


ความสอดคล้องระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล ศึกษากรณีสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า, อวิกา โหละสุต Jan 2019

ความสอดคล้องระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล ศึกษากรณีสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า, อวิกา โหละสุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลของข้าราชการลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า โดยทำการศึกษาวัฒนธรรม 3 ระดับ ได้แก่ กองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยา และปัจเจกบุคคล รวมถึงศึกษาความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล โดยอาศัยทฤษฎีแบบแผนวัฒนธรรมที่เหมาะสมของ ชาร์ลส์ แฮนดี เป็นฐานในการศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (แบบสอบถาม) จำนวน 135 คน ควบคู่กับการใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (สัมภาษณ์เชิงลึก) จำนวน 7 คน โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีแบบแผนทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมของชาร์ลส์ แฮนดี และใช้สถิติทดสอบ Nonparametric แบบ Wilcoxon (Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test) ในการหาความสอดคล้องของวัฒนธรรม สำหรับความแตกต่างด้านชั้นยศพบว่าไม่มีผลต่อการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมของข้าราชการและลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบก และสถาบันพยาธิวิทยาเป็นแบบเน้นบทบาท (อพอลโล) ส่วนรูปแบบวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลเป็นแบบเน้นงาน(ดิออนีซุส) ดังนั้นรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบกและสถาบันพยาธิวิทยามีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่สำหรับรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยาและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลในภาพรวมไม่สอดคล้องกัน เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มวิชาชีพพบว่ากลุ่มวิชาชีพแพทย์/พยาบาลและกลุ่มสนับสนุนทางการแพทย์มีรูปแบบวัฒนธรรมแบบเน้นงาน ส่วนกลุ่มสนับสนุนทางธุรการเป็นแบบเน้นบทบาท สำหรับชั้นยศที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมของข้าราชการลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา


การประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร, ปทิดา พิพัฒน์ Jan 2019

การประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร, ปทิดา พิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร ตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ที่มีอิทธิพลต่อด้านผลผลิตของโครงการฝึกอบรม โดยกำหนดรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กรมศุลกากร จำนวน 245 คน ตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 235 คน คิดเป็นร้อยละ 95.92 ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับผลผลิตของโครงการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาแตกต่างกัน ระดับผลผลิตของโครงการฝึกอบรมไม่แตกต่างกัน และการทดสอบความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ปัจจัยด้านกระบวนการ (Beta = 0.579) ปัจจัยด้านปัจจัยนำเข้า (Beta = 0.200) และปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อม (Beta = 0.188) มีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อผลผลิตของโครงการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


แนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณ, ศนิ อรัณยะพันธุ์ Jan 2019

แนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณ, ศนิ อรัณยะพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณ โดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย (Gender Responsive Budgeting : GRB) ของสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการจัดทำงบประมาณของประเทศไทย ในการศึกษาวิจัย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงบประมาณ การสัมภาษณ์บุคลากรจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับข้าราชการสำนักงบประมาณตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงระดับอำนวยการสูง จำนวน 11 คน ประกอบด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำงบประมาณ 3 ด้าน คือ ด้านการวางแผนงบประมาณ ด้านการจัดทำงบประมาณ และด้านการติดตามและประเมินผลผลการวิจัยพบว่า สำนักงบประมาณได้รับการผลักดันเชิงนโยบายในการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย โดยอยู่ระหว่างการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการร่วมกันปรับปรุงแนวทางการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย และข้อมูลจำแนกเพศ สำหรับผลการวิจัยด้านทัศนคติพบว่า ข้าราชการสำนักงบประมาณมีทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคตามแนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) ที่มองว่าหญิงและชายต่างสามารถแข่งขันกันเพื่อความสำเร็จทางสังคม ซึ่งมีความแตกต่างจากแนวคิดความเสมอภาคในการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย ที่เน้นการสร้างโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาสในมิติเพศภาวะ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณโดยดำเนินโครงการนำร่องที่นำแนวคิด GRB มาใช้ในการจัดทำงบประมาณ


Does Social Media Trend Affect People Decision To Eat Out?, Chanonpol Chanuhacha Jan 2019

Does Social Media Trend Affect People Decision To Eat Out?, Chanonpol Chanuhacha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

New era of marketing using social media as a promotional platform provides many advantages, for example the ability to communicate between producers and consumers while traditional marketing only promotes directional communication, companies only convey the message they want, without getting feedback and opinions directly from consumers. This research will explore what factors are related to the use of social media as a promotional tool and how far these factors influence dining behavior in restaurants. A quantitative survey was conducted to measure the effect of social media’s advertising, customers’ attitudes, customer experience on the decision to eat out at restaurants among …


Strategic Advantage Analysis Of A Leading Low Cost Carrier In Thailand : A Case Of Thai Airasia And Nokair, Punjarod Toppoopha Jan 2019

Strategic Advantage Analysis Of A Leading Low Cost Carrier In Thailand : A Case Of Thai Airasia And Nokair, Punjarod Toppoopha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, the author focus on an objective that is why Thai AirAsia can generate different levels of net profits from NokAir even two airlines are under similar environmental conditions and began business operations in a close year. Hence, the Author examined their different operating strategies during 2013-2019 with Ansoff Matrix along with environmental factors either external or internal that possibly affect the effectiveness of operating strategies. I applied the PEST analysis for analyzing macro-environment factors, Porter’s five forces analysis for investigating environment in the low-cost carrier market, also Nash equilibrium and theory of oligopoly for examining decisions of …


Factors Influencing Decision Making Of Consuming All Cafe Beverages Of Working Age In Bangkok, Kant Chaengchadchai Jan 2019

Factors Influencing Decision Making Of Consuming All Cafe Beverages Of Working Age In Bangkok, Kant Chaengchadchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

During the past 5 years, the coffee shop business in Thailand has grown rapidly. According to the coffee business analysis report of Department of Business Development, The Ministry of Commerce found that In 2018, the coffee business grew by 37.71% from 2017, in line with the continuously increasing domestic consumption of coffee because of innovation and technology in coffee production and the trend of coffee consumption was increasing. During that period, CP All Co., Ltd. Lunch coffee business. All café which is fresh coffee corner in 7-11 convenience stores. All café has been growing significantly because of the wide expansion …


Health-Conscious Working People And 7-11 Ready Meal, Kemika Sricharoenwong Jan 2019

Health-Conscious Working People And 7-11 Ready Meal, Kemika Sricharoenwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand’s urbanization and westernization, especially in Bangkok metropolitan has led into an alteration in dietary practices which relies more on convenience. Ready meal boxes from convenience store such as 7-eleven has increasingly gained popularity. Still, a disproportionate nutrition of Ready meal boxes seems to be contradictory with an increasing trend on health such as healthy food. This research paper explores whether health consciousness in terms of diet has an effect on working people’s decision to purchase 7-eleven ready meal boxes or not. Quantitive approach was employed where the data was obtained through online survey from 18 to 25 June, 2020. …


The Roles And Perceptions Of The Thai Ministry Of Foreign Affairs Through Governmental Politics In The Preah Vihear Temple Dispute, Ornthicha Duangratana Jan 2019

The Roles And Perceptions Of The Thai Ministry Of Foreign Affairs Through Governmental Politics In The Preah Vihear Temple Dispute, Ornthicha Duangratana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the Thai-Cambodian Preah Vihear Temple dispute, the perceptions of the Thai Ministry of Foreign Affairs (MFA) are investigated. Through the employment of role theory, the MFA's national role conceptions (NRCs), since the Cold War period and with concentration on the years from 2008 to 2013, are explicated. The research presents that the organizational characteristics of the ministry conduce the propensity for cooperative NRCs. At the same time, as the agency dealing with foreign affairs, the material and ideational elements in the external environment are important determinants. Nevertheless, at times, the national public opinion and the decline of the MFA's …


The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong Jan 2019

The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are as of following: to explore brand experience and brand equity of Marimekko and to explore the relationship among these two variables. The respondents of this research are two hundred and three Thai women who are first-jobbers, living in Bangkok, aged between 18 to 25 years old and recently bought Marimekko’s products in the past six months. The results depicted that the respondents had a positive opinion on brand experience of Marimekko (M = 3.67). Emotional experience receives the highest mean score (M = 4.18). In contrast, the lowest mean score was social experience (M …


The Effect Of Sales Promotion Types On Consumer Behavior, Warisra Wacharakorn Jan 2019

The Effect Of Sales Promotion Types On Consumer Behavior, Warisra Wacharakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to explore the effect of sales promotion type on consumer attitude and consumer purchase intention. The independent variable of this study included price-off and premium sales promotion. In addition, this research also explored the relationship between consumer attitude towards sales promotion type and consumer purchase intention. The dependent variables were consumer attitude and consumer purchase intention. The product used in the experiment was drinking water, a low involvement product. The study was conducted using the posttest only design. The data was collected from seventy seven undergraduate students at Chulalongkorn University at the end of …


ปัจจัยความสำเร็จของโครงการธนาคารเวลาในประเทศไทย : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, วรยศ ศิริจินตนา Jan 2019

ปัจจัยความสำเร็จของโครงการธนาคารเวลาในประเทศไทย : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, วรยศ ศิริจินตนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจและปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการธนาคารเวลาในบริบทของประเทศไทย และศึกษาองค์ประกอบและความท้าทายที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดตั้งโครงการ เนื่องจากความสำเร็จและประโยชน์ของโครงการธนาคารเวลาขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมในโครงการของสมาชิก องค์ประกอบและความท้าทายของโครงการที่จะแตกต่างกันไปตามบริบทของการปรับใช้โครงการ โดยศึกษาการมีส่วนร่วมจากสมาชิกของโครงการธนาคารเวลาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3 พื้นที่ ได้แก่ (1) เทศบาลตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (2) สวนโมกข์กรุงเทพ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และ (3) โรงเรียนผู้สูงอายุยานนาวา เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคแบบทวิ และศึกษาองค์ประกอบและความท้าทายของโครงการด้วยวิธีการวิเคราะห์สวอตและวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย ปัจจัยด้านแรงจูงใจประเภทการพัฒนาส่วนบุคคล ประเภทผลประโยชน์ทางอารมณ์ ประเภทความจำเป็นและการใช้ประโยชน์ และประเภทความสัมพันธ์ทางสังคม อีกทั้ง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมและลักษณะการดำเนินงาน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ อายุคาดเฉลี่ย ทุนทางสังคม ความพึงพอใจด้านเวลา ระยะเวลาการเป็นสมาชิกและจำนวนงานบริการที่ต้องการ ล้วนมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ องค์ประกอบที่สำคัญของโครงการธนาคารเวลาของประเทศไทย ได้แก่ ความชัดเจนของแนวคิดและรูปแบบของโครงการ การประชาสัมพันธ์ ทำเลที่ตั้ง คุณลักษณะของเจ้าหน้าที่และสมาชิกที่เหมาะสม วิธีการจูงใจและงบประมาณ ส่วนความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ การเผยแพร่ข้อมูลของโครงการอย่างมีประสิทธิผล การประเมินศักยภาพของพื้นที่ก่อนการขยายเครือข่ายโครงการ การกำหนดกรอบการดำเนินงานของโครงการธนาคารเวลา การสร้างวิธีจูงใจและการจัดสรรงบประมาณ


Marketing Strategy Development For Professional Services Firms: Case Study Of Certified Audit Firms In Russia, Dmitrii Bushkov Jan 2019

Marketing Strategy Development For Professional Services Firms: Case Study Of Certified Audit Firms In Russia, Dmitrii Bushkov

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work is devoted to developing a strategy based on the Blue Ocean Strategy framework for audit firms in Russia. Today, audit firms in Russia are in an awkward position, caused by a fall of revenue in real terms, a high level of competition and a difficult economic situation. Therefore, audit firms are forced to look for new ways to grow their business. The paper analyzes the market for audit services in the period from 2009 to 2018, including structural analysis, revenue analysis, and assessment of the impact of the largest audit firms on the market. The historical background shows …


บทบาทของเกาหลีใต้กับปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ระหว่างปีค.ศ.2000-2018, บุษยพรรณ ลิ้มยิ่งเจริญ Jan 2019

บทบาทของเกาหลีใต้กับปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ระหว่างปีค.ศ.2000-2018, บุษยพรรณ ลิ้มยิ่งเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาบทบาทของเกาหลีใต้ในการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ในระหว่าง ค.ศ. 2000 - 2018 โดยต้องการตอบคำถามว่า เกาหลีใต้ มีบทบาทอย่างไรในการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ และนโยบายที่เกาหลีใต้เลือกใช้ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคอย่างไร ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องนโยบายผูกมิตรเข้าหา (engagement policy) มาเป็นกรอบในการศึกษาบทบาทของเกาหลีใต้ในการดำเนินนโยบายต่อเกาหลีเหนือ ตลอด 5 ยุคสมัยของประธานาธิบดี ได้แก่ คิมแดจุง (ค.ศ. 1998 - 2003) โนมูฮยอน (ค.ศ. 2003 - 2008) อีมยองบัค (ค.ศ. 2008 - 2013) พัคกึนฮเย (ค.ศ. 2013 - 2017) และมูนแจอิน (ค.ศ. 2017 - ปัจจุบัน) ข้อเสนอหลักของการศึกษาวิจัยพบว่า ประธานาธิบดีทั้ง 5 ท่าน ใช้นโยบายผูกมิตรเข้าหาเป็นนโยบายหลักเพื่อจัดการปัญหาเกาหลีเหนือ แต่ใช้คนละรูปแบบ และมีระดับของการผูกมิตรเข้าหาเกาหลีเหนือแตกต่างกัน ซึ่งกลายเป็นตัวแปรปัจจัยภายในที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายของเกาหลีใต้เอง โดยในสมัยประธานาธิบดีฝ่ายหัวก้าวหน้า จะใช้นโยบายผูกมิตรเข้าหาในลักษณะที่เป็นมิตรกับเกาหลีเหนือมากกว่าสมัยประธานาธิบดีจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายของเกาหลีใต้ ได้แก่ การดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมหาอำนาจและคู่กรณีหลักในประเด็นปัญหานี้ และนโยบายนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งมีบทบาทหลักในสถานการณ์นิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี


นโยบายของประเทศหน้าด่านในการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรีย: กรณีศึกษาการตอบสนองของรัฐบาลกรีซ 2015-2017, ระพีพัฒน์ สุขนาน Jan 2019

นโยบายของประเทศหน้าด่านในการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรีย: กรณีศึกษาการตอบสนองของรัฐบาลกรีซ 2015-2017, ระพีพัฒน์ สุขนาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้เป็นเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นศึกษาการตอบสนองต่อการดำเนินการรับผู้ลี้ภัยของรัฐหน้าด่านของสหภาพยุโรปอย่างกรีซในช่วงปีค.ศ. 2015 - 2017 พร้อมทั้งเสนอปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการตอบสนองดังกล่าว ผ่านการวิเคราะห์ด้วยแนวคิดเรื่องกระบวนการยุโรปภิวัตน์ และการเมืองเกี่ยวพัน ในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและเหล่าประเทศสมาชิก ผ่านมิติทางการเมือง ระบอบการปกครอง และนโยบาย ที่มีความสอดคล้องกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของสหภาพยุโรป ผลการศึกษาพบว่าการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยของกรีซมีลักษณะในการจัดการปัญหาในรูปแบบของการดำเนินนโยบายหรือกระบวนการต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญทั้งภายในและภายนอกที่มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน โดยจะต้องมีการคำนึงถึงข้อตกลง หรือกฎหมายต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปในฐานะที่กรีซเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก รวมถึงจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอื่นของสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามการจัดการผู้ลี้ภัยของกรีซกลับมีการดำเนินการอย่างมีข้อจำกัดจากปัจจัยเรื่อง สมาชิกภาพของสหภาพฯ และปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ เพราะแม้ว่าสหภาพยุโรปมีการบูรณาการความสัมพันธ์แน่นแฟ้น สะท้อนออกมาเป็นแนวทางการดำเนินงานและนโยบายร่วมในด้านต่าง ๆ แต่สำหรับด้านการจัดการปัญหาวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปของประเทศหน้าด่านอย่างกรีซ กลับเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการจัดการกับปัญหา เนื่องจากกระบวนการหรือนโยบายร่วมไม่สามารถตอบสนองหรือสร้างความเท่าเทียมต่อการรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศสมาชิก ประกอบกับการที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศจึงส่งผลต่อความเชื่อใจและความน่าเชื่อถือของกรีซในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้กรีซไม่มีศักยภาพมากพอที่จะขอปรับเปลี่ยนข้อกำหนดที่ไม่เป็นธรรมต่อการจัดการผู้ลี้ภัยภายในประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองปัจจัยเปรียบเสมือนข้อท้าทายของรัฐบาลกรีซซึ่งจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางการแก้ไข เพื่อให้แนวทางในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงินและเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม, กอข้าว เพิ่มตระกูล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงินและเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม, กอข้าว เพิ่มตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงิน กับเป้าหมายการออมเงินที่สามารถสะท้อนถึงความต้องการของบุคคลตามทฤษฎีของ Maslow โดยเก็บข้อมูลในผู้ใหญ่วัยเริ่มที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี จำนวน 165 คน ที่มีงานทำและมีรายได้ประจำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม และแบบสอบถามพฤติกรรมทางการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยเชิงขั้น (hierarchical regression analysis) ผลวิจัยพบว่า การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความปลอดภัยและความมั่นคง และการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านการเข้าถึงศักยภาพตนเอง สามารถทำนายพฤติกรรมทางการเงินของผู้ใหญ่วัยเริ่มได้มากที่สุด รองลงมาคือการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ส่วนการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านการอยู่รอดทางร่างกาย/ดำรงชีวิต และการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความรักและการเป็นส่วนหนึ่งของผู้อื่น ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมทางการเงินได้


ปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ดวงธรรม โชคชุลีกร Jan 2019

ปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ดวงธรรม โชคชุลีกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาทุกระดับชั้นที่มีอายุระหว่าง 19-30 ปี (M = 22.13 ปี, SD = 3.37) จำแนกตามการทำกิจกรรมอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทำกิจกรรมอาสาสมัครในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 142 คน และผู้ไม่ทำกิจกรรมอาสาสมัครในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 120 คน ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยประกอบด้วย การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ความเชื่อมั่นในศาสนา การจัดการความรู้สึกด้านลบ การสร้างคุณค่าให้กับสังคม การพัฒนาตนเองด้านการทำงาน การพัฒนาตนเองด้านการเรียนรู้และเข้าใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง การพัฒนาตนเองด้านความสัมพันธ์ในสังคม และการมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อน ตัวแปรตามคือการเป็นอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเชื่อมั่นในศาสนา แบบสอบถามการมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อนเป็นอาสาสมัคร แบบวัดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร และแบบวัดการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นอาสาสมัครได้ร้อยละ 17.8 โดยมีปัจจัยที่สามารถจำแนกการเป็นอาสาสมัครได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 3 ประการได้แก่ ความเชื่อมั่นในศาสนา การมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อน และการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ทั้งนี้สมการถดถอยโลจิสติกสามารถทำนายการเป็นอาสาสมัครได้ร้อยละ 65.6


เจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : อิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์, ปิยกฤตา เครือหิรัญ Jan 2019

เจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : อิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์, ปิยกฤตา เครือหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์ต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการศึกษาที่ 1 ใช้มาตรวัดการเหยียดเพศแบบแยกขั้วเพื่อแบ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 139 คน ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์ กลุ่มเหยียดเพศแบบให้คุณ กลุ่มเหยียดเพศแบบคลุมเครือ และกลุ่มไม่เหยียดเพศ จากนั้นทำการสุ่มเข้าเงื่อนไขเพื่อรับชมวิดีโอจำลองสถานการณ์การแจ้งความของผู้หญิงที่ถูกคนรักทำร้าย แบ่งเป็น 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขผู้หญิงที่มีบทบาททางเพศเป็นไปตามความคาดหวังของสังคมและเงื่อนไขผู้หญิงที่มีบทบาททางเพศไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนามแบบสองทางไม่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของการเหยียดเพศและบทบาททางเพศของผู้หญิงต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อ แต่พบอิทธิพลหลักของการเหยียดเพศและบทบาททางเพศของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์และแบบคลุมเครือมีเจตคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อสูงกว่ากลุ่มเหยียดเพศแบบให้คุณและกลุ่มไม่เหยียดเพศ และในเงื่อนไขบทบาททางเพศแบบไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคมมีคะแนนเจตคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อสูงกว่าในเงื่อนไขบทบาททางเพศแบบเป็นไปตามความคาดหวังของสังคม สำหรับการศึกษาที่ 2 ดำเนินการทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเหยียดเพศและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ในนักเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวน 186 คน สุ่มเข้าเงื่อนไขเพื่ออ่านเรื่องสั้นจำลองสถานการณ์ผู้หญิงที่ถูกคนรักทำร้ายพร้อมรูปภาพแสดงการบาดเจ็บตามความรุนแรงของสถานการณ์ แบ่งออกเป็น 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขระดับความรุนแรงของสถานการณ์ต่ำและเงื่อนไขระดับความรุนแรงของสถานการณ์สูง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบสองทางไม่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของการเหยียดเพศและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ อีกทั้งยังไม่พบอิทธิพลหลักของระดับความรุนแรงของสถานการณ์ แต่พบอิทธิพลหลักของการเหยียดเพศต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ