Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Psychology

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 30 of 30

Full-Text Articles in Entire DC Network

Testing Of A New Job Crafting Measure And Intervention To Enhance Thai Healthcare Professionals' Motivation, Work Engagement And, Job Performance, Pichaya Rochanadumrongkul Jan 2021

Testing Of A New Job Crafting Measure And Intervention To Enhance Thai Healthcare Professionals' Motivation, Work Engagement And, Job Performance, Pichaya Rochanadumrongkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present research consisted of two studies. In Study I, the objective was to develop and validate the job crafting measure in related to the levels of motivation, work engagement and job performance in Thai healthcare professionals using structured interview and structure equation model (SEM). Qualitative method using the interview (N = 20) was employed to extract employees’ experiences of crafting their job and explore additional dimension of job crafting. The results of the interview revealed an additional dimension of job crafting namely "humor” for Thai Job Crafting Behavior scale (Thai JCB) (physical crafting, relational crafting, cognitive crafting and humor). …


อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรัก และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม, ชนาฎา เคหะทัต Jan 2021

อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรัก และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม, ชนาฎา เคหะทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คู่รักที่คบหากันเป็นเวลานานมักเผชิญกับปัญหาความเบื่อหน่ายในความสัมพันธ์ และพบว่าคุณภาพของความสัมพันธ์มักลดถอยลงเมื่อเวลาผ่านไป โมเดลการขยายตัวตนให้หลักฐานว่าการทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นร่วมกับคนรักช่วยส่งเสริมคุณภาพและความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ โดยความน่าตื่นเต้นเป็นกลไกที่ทำให้คู่รักได้รับผลดีจากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งช่วยให้ความสัมพันธ์สดใหม่และลดความเบื่อหน่ายได้ อีกทั้งพบว่าแรงจูงใจแบบเข้าหา (การทำกิจกรรมโดยมุ่งเน้นผลดี) และแรงจูงใจในการขยายตัวตน (ความชอบความแปลกใหม่) ยังกระตุ้นให้บุคคลแสวงหาการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้น แม้การศึกษาก่อนหน้าพบว่าแรงจูงใจทั้งสองเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความน่าตื่นเต้นของการทำกิจกรรมร่วมกับคนรักได้ แต่ยังขาดการศึกษาเชิงทดลองและการศึกษาถึงประเด็นดังกล่าวยังมีน้อย ผู้วิจัยออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของแรงจูงใจเข้าหาแบบต่างๆ และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ที่มีต่อระดับความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม ผู้เข้าร่วมการวิจัย (n = 131) ทำแบบสอบถามออนไลน์ ตอบมาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ มาตรวัดแรงจูงใจในการขยายตัวตน จากนั้นถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการชี้นำแรงจูงใจแบบเข้าหาในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรักที่มุ่งเน้นผลดีต่อความสัมพันธ์ ต่อคนรัก หรือต่อตนเอง โดยเขียนถึงกิจกรรมใหม่อะไรก็ได้ที่อยากทำกับคนรัก ตอบคำถามตรวจสอบผลการจัดกระทำ และตอบมาตรวัดความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม หลังจากนั้นถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขอีกครั้ง แต่อาจเป็นเงื่อนไขเดียวกับครั้งแรกหรือไม่ก็ได้ โดยครั้งนี้เขียนถึงการไปเที่ยวประเทศที่ไม่เคยไปด้วยกัน ตอบคำถามตรวจสอบผลการจัดกระทำและตอบมาตรวัดความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมอีกครั้ง ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยแบบลำดับขั้น ไม่พบว่าประเภทของแรงจูงใจเข้าหามีผลให้ความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมแตกต่างกัน โดยไม่ว่าบุคคลจะใช้แรงจูงใจแบบเข้าประเภทใดก็ตามก็มีผลให้กิจกรรมมีความน่าตื่นเต้นอยู่ในระดับสูง และพบอิทธิพลทางบวกของแรงจูงใจในการขยายตัวตนต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมที่ผู้ร่วมวิจัยเลือกเองโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะการเที่ยวต่างประเทศ กล่าวคือบุคคลที่มีแรงจูงใจในการขยายตัวตนในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะทำกิจกรรมที่มีความน่าตื่นเต้นสูง ผลที่พบเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความสัมพันธ์ในคู่รักผ่านการนำแรงจูงใจแบบเข้าหาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมให้บุคคลมีแรงจูงใจในการขยายตัวตนหรือทำสิ่งใหม่ ๆ ร่วมกันยังเป็นอีกปัจจัยที่นำไปสู่การทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นมากขึ้น และการหมั่นทำกิจกรรมที่มีความน่าตื่นเต้นร่วมกับคนรัก ซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษาความสัมพันธ์และกระตุ้นให้ความสัมพันธ์ยังสดใหม่ในระยะยาว


อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ต่อความเพลินในงาน, นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์ Jan 2021

อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ต่อความเพลินในงาน, นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเพลินในงานเป็นสภาวะเชิงบวกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลจดจ่อกับงานอย่างลึกซึ้ง รู้สึกเพลิดเพลินและมีแรงจูงใจที่จะทำงานนั้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดความเพลินในงานภายใต้ทฤษฎีข้อเรียกร้องในงานและทรัพยากรในงาน โดยทดสอบอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ที่มีต่อความเพลินในงาน โดยกำหนดสมมติฐานว่า ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงานจะมีความแตกต่างกันระหว่างการใช้จุดแข็งในระดับสูงและต่ำ ณ ระดับความมีอิสระในการทำงานสูง จากการศึกษาพนักงานบริษัทเอกชนในประเทศไทยจำนวน 222 คนด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้นพบว่า (1) ความมีอิสระในการทำงานด้านการตัดสินใจมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงาน (β = -.20, p < .05, f2 = .02) (2) ความมีอิสระในการทำงานด้านการกำหนดวิธีการทำงานมีอิทธิพลกำกับทางบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงาน (β = .22, p < .05, f2 = .02) และ (3) ปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงานด้านการตัดสินใจ และการใช้จุดแข็ง มีอิทธิพลต่อความเพลินในงาน (β = -.31, p < .05, f2 = .03) โดยพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงานเมื่อมีการใช้จุดแข็งสูง ณ ระดับความมีอิสระในการทำงานต่ำ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่พบนี้ไม่สอดคล้องกับทิศทางของสมมติฐาน จึงสรุปได้ว่า การใช้จุดแข็งเป็นทรัพยากรในงานที่พนักงานที่มีอิสระในการตัดสินใจต่ำสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความเพลินในงานมากขึ้น เมื่อเผชิญกับข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายในระดับสูง


ผลของการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก, ปุณณภา จิราวัฒนกูล Jan 2021

ผลของการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก, ปุณณภา จิราวัฒนกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองทดลองแบบกรณีเดียว (Single-case Experimental Design) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 15-18 ปี มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแกรูปแบบต่างๆ และมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในเชิงลบ จำนวน 5 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนจะถูกเข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อรูปแบบรายบุคคลสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 8 ครั้ง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ และเก็บข้อมูลจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg (RGSE) จากทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนดำเนินการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อเพื่อวัดเป็นเส้นฐาน 4 ครั้ง ระยะการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อ 8 ครั้ง และระยะติดตามผล 4 ครั้ง รวมเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 16 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าความเปลี่ยนแปลงของคะแนน (Level comparison) และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล (PEM) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองที่สูงขึ้นในระยะจัดกระทำและระยะติดตามผลเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนในระยะเส้นฐาน โดยส่งอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับสูง จำนวน 4 คน และระดับปานกลาง จำนวน 1 คน


ประสบการณ์ทางจิตใจภายหลังการรับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข, ศิวพร อุดมสินานนท์ Jan 2021

ประสบการณ์ทางจิตใจภายหลังการรับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข, ศิวพร อุดมสินานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจในผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขภายหลังการได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขจำนวน 6 คน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง อันได้แก่ ทันตแพทย์ เภสัชกร กายภาพบำบัดและแพทย์แผนไทยประยุกต์ อายุระหว่าง 25-48 ปี ซึ่งเป็นผู้เคยมีประสบการณ์ในการรับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและสิ้นสุดการรับบริการแล้วระยะเวลา6 เดือน - 4 ปี จำนวนครั้งในการรับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยเฉลี่ย 3-4 sessions เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การเก็บรวมรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบปรากฎการณ์วิทยา โดยผู้วิจัยได้ทำการถอดเทปบันทึกการสนทนาแบบคำต่อคำ เพื่อนำมาถอดความ จัดหมวดหมู่และสรุปประเด็น ผลการศึกษาวิจัยพบ 3 ประเด็นหลักคือ (1) การตระหนักรู้ต่อปัญหาที่เผชิญ ประกอบด้วย การรับรู้ปัญหา ความรู้สึกต่อปัญหาที่เผชิญ ความพยายามออกจากปัญหาและความต้องการหลุดพ้นจากวงจรของปัญหา (2) การเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือแบบเป็นทางการ ประกอบด้วย ช่องทางการเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือแบบเป็นทางการ การรับรู้ที่มีต่อการปรึกษาเชิงจิตวิทยา การรับรู้ที่มีต่อแหล่งช่วยเหลือช่องทางอื่นและสิ่งสกัดกั้นในการเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือ (3) การเติบโตและงอกงามภายหลังก้าวข้ามผ่านปัญหา ประกอบด้วยความเข้าใจที่เกิดขึ้นในตนเองในการเผชิญปัญหาอย่างเหมาะสม ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเติบโตและงอกงามทางจิตใจและความงอกงามภายหลังการก้าวข้ามผ่านปัญหา ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดการบูรณาการในโครงการหรืองานวิจัยที่ส่งเสริมและดูแลสุขภาพทางจิตใจของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขในครั้งต่อไป


ความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับการแสดงความเห็นและความเงียบของพนักงานโดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ, สริตา วรวิทย์อุดมสุข Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับการแสดงความเห็นและความเงียบของพนักงานโดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ, สริตา วรวิทย์อุดมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน หลายองค์การให้ความสำคัญกับการบริหารงานแบบล่างขึ้นบนที่สนับสนุนให้พนักงานแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาองค์การ งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับพฤติกรรมแสดงความเห็นและพฤติกรรมเงียบของพนักงาน โดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ ผู้วิจัยศึกษาพฤติกรรมแสดงความเห็นโดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ การพูดพร้อมคำแนะนำและการพูดเกี่ยวกับข้อกังวล และศึกษาพฤติกรรมเงียบโดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ การเงียบเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและการเงียบเพราะเชื่อว่าเสียงของตนเองไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 210 คนที่เป็นพนักงานประจำในบริษัทเอกชนในประเทศไทยที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 100 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิเคราะห์โดยใช้ PROCESS ในโปรแกรม SPSS พบว่า ความถ่อมตนของผู้นำมีอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมแสดงความเห็นรูปแบบการพูดพร้อมคำแนะนำและพฤติกรรมเงียบทั้งสองรูปแบบ ความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ทางบวกระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมการพูดพร้อมคำแนะนำ และความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ทางลบระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมเงียบเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง ความปลอดภัยทางจิตใจยังเป็นตัวแปรส่งผ่านเพียงบางส่วนทางลบระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมเงียบที่เชื่อว่าเสียงของตนเองไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามผลการวิจัยไม่พบว่าความกล้าหาญของผู้นำแสดงอิทธิพลกำกับในความสัมพันธ์ดังกล่าว องค์ความรู้นี้เสนอแนะถึงความสำคัญของการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีความถ่อมตนเพื่อสนับสนุนให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจเพื่อที่จะกล้าแสดงความเห็นและลดพฤติกรรมเงียบ


ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับอารมณ์ ความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการฟื้นคืนพลังของบุคลากรที่ทำงานด้านการบินช่วงสถานการณ์ Covid-19, อโนชา ศรีสะอาด Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับอารมณ์ ความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการฟื้นคืนพลังของบุคลากรที่ทำงานด้านการบินช่วงสถานการณ์ Covid-19, อโนชา ศรีสะอาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) ความสัมพันธ์ของการฟื้นคืนพลังกับความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการกำกับอารมณ์ทั้งแบบปรับมุมมองความคิดและแบบเก็บกด และ 2.) การทำนายการฟื้นคืนพลังจากปัจจัยเหล่านี้ ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ทำงานด้านการบินช่วงสถานการณ์ COVID-19 จำนวน 149 คน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามออนไลน์ถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรในข้างต้น ข้อมูลที่ได้รับมาถูกวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยการใส่ตัวแปรอิสระเข้าพร้อมกัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การฟื้นคืนพลังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง การกำกับอารมณ์แบบปรับมุมมองความคิด แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการฟื้นคืนพลังและการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยเหล่านี้รวมถึงการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการฟื้นคืนพลังได้ร้อยละ 59 (R² = .59, p < .001)


ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์, เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร Jan 2021

ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์, เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 6 ราย มีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ มีประสบการณ์ให้การปรึกษาไม่ต่ำกว่า 2,000 ชั่วโมง โดยมีประสบการณ์การให้การปรึกษารูปแบบวีดีโอ ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ลักษณะการรับรู้ประสบการณ์ในการให้บริการจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ พบว่า นักจิตวิทยาคิดเปรียบเทียบการให้บริการรูปแบบออนไลน์กับรูปแบบพบหน้า การประเมินประโยชน์และข้อจำกัดของจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ และมีระดับการยอมรับบริการรูปแบบออนไลน์ที่หลากหลาย (2) จุดเน้นในกระบวนการจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ พบว่ามีการให้ความสำคัญต่อ การปรับสภาวะจิตใจ การเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสม การจัดเตรียมอุปกรณ์ และการเตรียมแก่ผู้รับบริการ (3) อุปสรรคของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในรูปแบบออนไลน์ พบอุปสรรคทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน อาทิ สถานที่รับบริการไม่มีความเป็นส่วนตัว ความไม่เชี่ยวชาญในอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ความเหนื่อยล้าทางร่างกาย การรับรู้อวัจนภาษาที่จำกัด ความยากในการใช้เทคนิคจิตวิทยาการปรึกษาผ่านออนไลน์ การขาดการเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งผ่านจอภาพ (4) กระบวนการรับมือแก้ไขปัญหาผ่านการยอมรับในข้อจำกัดและใช้ทรัพยากรที่มีในการแก้ไขและป้องกัน โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ด้านจิตวิทยาการปรึกษาและศาสตร์อื่น


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจกับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, กฤตยา จรัสพรธัญญา Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจกับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, กฤตยา จรัสพรธัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สร้างความท้าทายต่อการปรับตัวทางอาชีพแก่บุคลากร งานวิจัยที่ผ่านมาพบความสำคัญของภาวะผู้นำของหัวหน้าและการรับรู้ความงอกงามในงานของพนักงาน มีส่วนผลักดันให้บุคลากรนำทรัพยากรทางจิตเชิงบวกของตน มาพัฒนาเป็นความสามารถในการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในสายอาชีพ โดยเฉพาะพนักงานในกลุ่มสายงานบริการ ซึ่งมีหน้าที่ลำดับแรกคือปฏิสัมพันธ์กับผู้มาขอรับบริการ ที่มีความต้องการหลากหลาย จึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับวิธีการทำงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจ กับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์จากพนักงานในสายงานบริการ เช่น นักการตลาดและพนักงานไอที ที่ปฏิบัติงานในองค์การภาคเอกชนในประเทศไทย จำนวน 241 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอย พบว่า ภาวะผู้นำทำนายความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพในเชิงบวก (β = .28, p < .001) ผ่านตัวแปรความงอกงามในงานซึ่งเป็นการส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) (effect = .19, se = .06, 95% CI: .09, .32) ผลการวิจัยเผยให้เห็นว่า หัวหน้างานที่เน้นให้อำนาจการตัดสินใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน จะช่วยให้เกิดความงอกงามในงาน รับรู้ถึงพลังชีวิตและการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ ดังนั้นเพื่อให้พนักงานในสายงานบริการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอาชีพ องค์การควรส่งเสริมให้พนักงานมีความงอกงามในงาน ผ่านการพัฒนารูปแบบผู้นำแบบเสริมอำนาจในกลุ่มหัวหน้างาน


อิทธิพลของความหลากหลายทางการรู้คิดต่อพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยมีความขัดแย้งในเรื่องงานและความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นตัวแปรกำกับ, ชนาพร ประพันธ์กาญจน์ Jan 2021

อิทธิพลของความหลากหลายทางการรู้คิดต่อพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยมีความขัดแย้งในเรื่องงานและความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นตัวแปรกำกับ, ชนาพร ประพันธ์กาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ เป็นพฤติกรรมสำคัญที่นำมาสู่การเพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในงาน ซึ่งเกิดประโยชน์โดยตรงต่อองค์การในการอาศัยศักยภาพของความรู้จากบุคลากรมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในบริบทของการทำงานปัจจุบันที่ผู้คนมีความหลากหลายทางความคิดที่เพิ่มสูงขึ้น งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางการรู้คิดและพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยมีความขัดแย้งในเรื่องงานและความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่านในเส้นทางคู่ขนาน (dual-pathway) และมีงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นตัวแปรกำกับ จากการศึกษาบุคลากรที่ปฏิบัติงานเป็นทีมในองค์การเอกชนในประเทศไทย จำนวน 224 คน ด้วยการทดสอบการเป็นตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation) ผ่านโปรแกรมเสริม PROCESS ใน SPSS ผลการวิจัยพบว่า ความหลากหลายทางการรู้คิดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ โดยมีความขัดแย้งทั้งสองรูปแบบเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) กล่าวคือ ความขัดแย้งในเรื่องงานเป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ทางบวก ในขณะที่ความขัดแย้งในเรื่องความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ทางลบ แต่ไม่พบอิทธิพลทางอ้อมเชิงเงื่อนไขของงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันในความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางการรู้คิดและพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความขัดแย้งในเรื่องงานเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้บุคลากรที่มีการรับรู้ถึงความแตกต่างทางการรู้คิดภายในทีมระดับสูงมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ขึ้น ซึ่งองค์การควรตระหนักถึงความสำคัญของแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในงานและการบริหารทีมทำงานเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันความรู้ให้เกิดขึ้นในการทำงานร่วมกันของบุคลากรที่มีความหลากหลายในองค์การ


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการโดยมีการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการโดยมีการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการโดยมีการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรส่งผ่าน เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์จากพนักงานคนพิการของบริษัท Vulcan coalition จำนวน 267 คน ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมในมิติของการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานมีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการใน 2 มิติ ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานในการทำงานตามงานและผลการปฏิบัติงานตามบริบท กล่าวคือ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการในองค์กร Vulcan coalition นั้นมีอิทธิพลมาจากการรับรู้แบรนด์นายจ้างของพนักงานคนพิการ ผ่านตัวแปรส่งผ่านการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน โดยพนักงานคนพิการที่มีการรับรู้แบรนด์นายจ้างจะส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการ ซึ่งหากมีการรับรู้ได้ถึงความสอดคล้องหรือความเหมาะสมระหว่างบุคคลกับงาน จะช่วยให้ปฏิบัติงานได้ตามศักยภาพและความสามารถ ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการที่มากขึ้น อีกนัยหนึ่งคือ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แบรนด์นายจ้างกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการจะมากขึ้นเมื่อพนักงานคนพิการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน องค์กรควรมีการส่งเสริมและสร้างการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานมากขึ้น เพื่อทำให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานคนพิการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีมากขึ้น อีกทั้งการสร้างการรับรู้แบรนด์นายจ้างที่ดีต่อพนักงานคนพิการ


Effects Of Intergroup Ideologies On Willingness To Engage In Intergroup Contact With Essentialism As A Mediator, Piraorn Suvanbenjakule Jan 2021

Effects Of Intergroup Ideologies On Willingness To Engage In Intergroup Contact With Essentialism As A Mediator, Piraorn Suvanbenjakule

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Various studies have found that merely interacting with an outgroup does not necessarily lead to better intergroup relations. The prejudice against Myanmar in Thailand is still an issue that needs solving. Therefore, cultures should be understood as an ongoing process in the hope that it would be more consistent with the current social environment and improve intergroup relations. The first study was a cross-sectional study that examined the self-reported scores of polyculturalism and the willingness to engage in intergroup contact with essentialism as a mediator. The online survey was distributed, and 112 high-school and university students were included in the …


Fear Appeals For Increasing Intentions To Have Colorectal Cancer Screening Among High-Risk Adults: Moderating Role Of Tripartite Self-Construal, Suprapa Sa-Ngasri Jan 2021

Fear Appeals For Increasing Intentions To Have Colorectal Cancer Screening Among High-Risk Adults: Moderating Role Of Tripartite Self-Construal, Suprapa Sa-Ngasri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Colorectal cancer (CRC) is considered a threat to life. Early detection is key to effective treatment. Fear appeal is one of the most famous techniques to persuade people to uptake CRC screening. This current study attempted to replicate the congruent effect of cultural orientation at an individual level and fear message types. A 3 (self-construal) x 2 (self-threatened versus family-threatened) factorial research design was employed to examine the effect of tripartite self-construal and the types of fear message on the perceived threat, feelings of fear, attitude and intention toward CRC screening among Thais. One hundred and thirty-three adults aged between …


Facebook And Depression In Covid-19 Pandemic: The Role Of Time Spent On Information Overload And Depressive Symptoms With Trait Rumination As A Moderator, Vidchuda Taechajinda Jan 2021

Facebook And Depression In Covid-19 Pandemic: The Role Of Time Spent On Information Overload And Depressive Symptoms With Trait Rumination As A Moderator, Vidchuda Taechajinda

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The current COVID-19 pandemic has led to concerns for health and well-being, especially when the quarantine strategy such as social isolation has been implemented. Since social media has become an essential source of information, it might overwhelm its users by providing too much information which could yield many negative psychological outcomes, including depressive symptoms. The proposed research is designed to investigate the role of time spent on Facebook for searching and receiving information about COVID-19, as well as trait rumination on information overload and depressive symptoms. Non-clinical 140 active Facebook users aged between 18 to 34 who live in Bangkok …


ความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์และความสามารถในการฟื้นพลังของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, เตชภณ ภูพุฒ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์และความสามารถในการฟื้นพลังของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, เตชภณ ภูพุฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสามารถในการฟื้นพลัง คือความสามารถของบุคคลในการก้าวผ่านสภาวะทุกข์ทางใจและปรับตัวกลับเป็นปกติหลังประสบกับเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต เป็นคุณลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกที่นักจิตวิทยามุ่งศึกษาเพื่อเข้าใจปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดความสามารถในการฟื้นพลัง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ และความสามารถในการฟื้นพลังในตัวบุคคล ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง สติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ ที่ทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษา โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 172 คน มีอายุเฉลี่ย 21.5 ปี (SD = 1.61) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย (1) มาตรวัดสติ (Freiburg Mindfulness Inventory: FMI) (2) มาตรวัดการยอมรับ (Acceptance and Action Questionnaire) มาตรวัดความเข้าใจในไตรลักษณ์ (Mindful Insight Scale) และ 4) มาตรวัดความสามารถในการฟื้นพลัง โดยกรมสุขภาพจิต ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสติ การยอมรับ และความเข้าใจในไตรลักษณ์ ต่างมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสามารถในการฟื้นพลัง และ สติ การยอมรับและความเข้าใจในไตรลักษณ์ร่วมกันทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในตัวบุคคลได้ที่ R2 = .433 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยองค์ความรู้ที่ได้รับสามารถต่อยอดเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาเครื่องมือหรือโปรแกรมกลุ่มเพื่อพัฒนาระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในโอกาสต่อไป อนึ่งผลการวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ ที่ทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษา ดังนั้นการอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรอื่นที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน พึงทำด้วยความระมัดระวัง


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการแสดงบทบาทผู้ปกป้อง หรือผู้สังเกตการณ์ในเหตุการณ์รังแกในโรงเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ญาดา หิรัญยะนันท์ Jan 2021

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการแสดงบทบาทผู้ปกป้อง หรือผู้สังเกตการณ์ในเหตุการณ์รังแกในโรงเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ญาดา หิรัญยะนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความร่วมรู้สึกทางอารมณ์ เจตคติที่มีต่อการต่อต้านการรังแก การรู้สึกรับผิดชอบ การรับรู้การยอมรับจากเพื่อน การรับรู้ความคาดหวังของเพื่อน ความรุนแรงของเหตุการณ์ กับพฤติกรรมการปกป้องเหยื่อในรูปแบบการแสดงบทบาทเป็นผู้ปกป้องและผู้สังเกตการณ์ในเหตุการณ์การรังแกรูปแบบต่างๆ โดยมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 222 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติกด้วยการใส่ตัวแปรทำนายเป็นลำดับขั้น (Hierarchical logistic regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า อัตราการแสดงบทบาทผู้ปกป้องสำหรับสถานการณ์การรังแกทางคำพูด สังคม และร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 89.2 89.2 และ 89.6 ตามลำดับ โดยความรุนแรงของเหตุการณ์มีความสัมพันธ์กับการแสดงบทบาทผู้ปกป้องในสถานการณ์การรังแกทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถทำนายอัตราการแสดงบทบาทผู้ปกป้องสำหรับสถานการณ์การรังแกทางคำพูด ทางสังคม และทางร่างกาย ได้เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนพื้นฐานเป็นร้อยละ 91.4 89.6 และ 89.6 ตามลำดับ กล่าวคือ หากผู้เห็นเหตุการณ์รับรู้ว่าสถานการณ์นั้นมีความรุนแรงจะตัดสินใจช่วยเหลือเหยื่อมากกว่านักเรียนที่คิดว่าเหตุการณ์นั้นไม่รุนแรง โดยผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์สำหรับการพัฒนาโปรแกรมการต่อต้านการรังแกในสถานศึกษาสำหรับนักเรียนที่เห็นเหตุการณ์โดยสร้างเสริมการตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของเหตุการณ์รังแก ซึ่งจะช่วยเพิ่มพฤติกรรมของผู้ปกป้องให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย


ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานที่มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ โดยมีกลยุทธ์การจัดการอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัชนิกข์ เชี่ยวชาญ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานที่มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ โดยมีกลยุทธ์การจัดการอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัชนิกข์ เชี่ยวชาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของกลยุทธ์การจัดการอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานกับความพึงพอใจในการทำงาน โดยการเก็บข้อมูลจากพนักงาน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชายรักชาย (gay), พนักงานกลุ่มหญิงรักหญิง (lesbian) และพนักงานกลุ่มรักสองเพศ (bisexual) จำนวน 200 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐาน พบว่า การเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบต่อความพึงพอใจในการทำงาน (b = -.31, p < .01) และพบว่ากลยุทธ์การปกปิดและกลยุทธ์การเปิดเผยอย่างไม่ได้ตั้งใจมีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศ ในที่ทำงานและความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแบบบางส่วน (partial meditation) (bCO = -.08, p < .01) (bIO = -.05, p < .01) หมายความว่า ทั้งกลยุทธ์การปกปิดและกลยุทธ์การเปิดเผยอย่างไม่ได้ตั้งใจไม่สามารถ ทำให้อิทธิพลระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานและความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลยุทธ์การข้ามผ่านและกลยุทธ์การเปิดเผยอย่างไม่ได้ตั้งใจไม่มีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานและความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (bPA = -.02, p = .75) (bEO = -.03, p = .70) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานมีอิทธิต่อความพึงพอใจในการทำงานเป็นอย่างมากและกลยุทธ์การจัดการอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานไม่สามารถมีอิทธิพลส่งผ่านอย่างสมบูรณ์ (fully mediation)ได้ ดังนั้นองค์การควรสนับสนุนให้เกิดการยอมรับและลดการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานด้วยการกำหนดนโยบายและมีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยกับพนักงานที่มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศในที่ทำงาน


ความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยมีรูปแบบองค์การและความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรกำกับ, นลิน มนัสไพบูลย์ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยมีรูปแบบองค์การและความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรกำกับ, นลิน มนัสไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยแยกเป็น 2 การศึกษา ใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้นในการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาที่ 1 ศึกษาอิทธิพลกำกับของรูปแบบองค์การ (เปรียบเทียบระหว่างองค์การสัญชาติไทยและองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย) โดยเก็บแบบสอบถามจากพนักงานชาวไทยจากองค์การสัญชาติไทยจำนวน 63 คน จากองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจำนวน 68 คน รวม 131 คน ผลพบว่า ความเพียรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ (β = .24, p < .01, f2 = .05) รูปแบบองค์การไม่ได้มีอิทธิพลกำกับต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว ส่วนการศึกษาที่ 2 ศึกษาอิทธิพลกำกับความฉลาดทางวัฒนธรรมโดยเก็บแบบสอบถามจากพนักงานชาวไทยในองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจำนวน 183 คน ผลพบว่า ความเพียรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ (β = .23, p < .01, f2 = .08) โดยความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมเท่านั้นที่มีอิทธิพลทางบวกต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว (β = .24, p < .01, f2 = .04) ทั้งองค์การสัญชาติไทยและองค์การสัญชาติญี่ปุ่นจึงควรสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ช่วยพัฒนาความเพียรของบุคลากร เพื่อให้พนักงานเกิดการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ องค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยควรรับสมัครผู้ที่มีความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมในระดับสูงเข้ามาทำงาน รวมถึงจัดฝึกอบรมเพื่อช่วยพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมให้แก่พนักงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมกับชาวญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การอันจะส่งผลดีต่อองค์การต่อไป


Investment Model Of Commitment To Parasocial Interaction And Purchase Intention Among Beauty Youtuber Followers, Parima Kosakarn Jan 2021

Investment Model Of Commitment To Parasocial Interaction And Purchase Intention Among Beauty Youtuber Followers, Parima Kosakarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Internet celebrities, such as Youtuber, have become an important figure in influencing purchase intention among viewers. This effect was linked to the parasocial interaction, which is prominently studied in communication and marketing fields. This research aimed to broaden this link by using a social psychological theory. Thus, the purpose of this research was to examine the effect of commitment (according to the Investment Model of Commitment Processes) and parasocial interaction on purchase intention of endorsed beauty products. Data were collected using internet-based survey from 181 participants, who were (1) Youtube users i.e., having Youtube accounts, (2) subscribing to a channel …


A Multi-Time-Point Study Of Newborn Self-Regulation And Child Self-Regulation In The First Two Years Of Life: The Mediating Effects Of Child Anger Temperament And Quality Of Mother-Child Interaction, Pimjuta Nimmapirat Jan 2021

A Multi-Time-Point Study Of Newborn Self-Regulation And Child Self-Regulation In The First Two Years Of Life: The Mediating Effects Of Child Anger Temperament And Quality Of Mother-Child Interaction, Pimjuta Nimmapirat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Studies on the development of child self-regulation during the first two years of life are limited. This study examined the association between newborn self-regulation at 1 month old and child self-regulation at 2 years old, with the child anger temperament and quality of mother-child interaction at 1 year and 2 years of age as the nature and nurture mediators for child selfregulation. The participants were 322 mother-child dyads in Chomthong and Fang districts, Chiangmai. The study was a multiple time-point design with a longitudinal data collection from the mothers and children at 1 month, 1 year, and 2 years of …


ความสัมพันธ์ระหว่างความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์ การนิยามตนเองและการเผชิญกับความเหงา ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ชวนฟ้าชม นาวาบุญนิยม Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์ การนิยามตนเองและการเผชิญกับความเหงา ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ชวนฟ้าชม นาวาบุญนิยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์ การนิยามตนเองและการเผชิญกับความเหงาในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 179 คน มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 20.24 ปี (SD = 1.50) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, 2. มาตรวัดความเหงา, 3. มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง, 4. มาตรวัดแรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์, 5. มาตรวัดการนิยามตนเอง และ 6. มาตรวัดการเผชิญกับความเหงา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย ค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสันและการวิเคราะห์การถอดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความเหงากับการเห็นคุณค่าในตนเอง (r(177) = -.59, p < .01) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อพบปะผู้คน (r(177) = -.24, p < .01) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อคงรักษาความสัมพันธ์เดิม (r(177) = -.28, p < .01) การนิยามตนเองแบบพึ่งพาตนเอง (r(177) = -.19, p < .01) พบสหสัมพันธ์ทางบวกของการเผชิญความเหงาด้วยกลวิธีทางบวกมีกับความเหงาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r(177) = .19, p < .01) ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติในความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับการนิยามตนเองแบบพึ่งพากันและกันกับความเหงา (r(177) = -.10, p = .09) แรงจูงใจในการสื่อสารออนไลน์เพื่อชดเชยการขาดทักษะทางสังคม (r(177) = -.12, p = .06) การเผชิญความเหงาด้วยกลวิธีทางลบ (r(177) = -.07, p = .16) ตัวแปรทำนายทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความเหงาในนิสิตระดับปริญญาตรีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 42.3 (R2 = .40, p < .001)


อิทธิพลของประสบการณ์การถูกกีดกันต่อภาวะซึมเศร้าในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถีโดยมีการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนเป็นตัวแปรส่งผ่านและความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนเป็นตัวแปรกำกับ, ณัชชา ศรีพิบูลพานิช Jan 2021

อิทธิพลของประสบการณ์การถูกกีดกันต่อภาวะซึมเศร้าในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถีโดยมีการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนเป็นตัวแปรส่งผ่านและความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนเป็นตัวแปรกำกับ, ณัชชา ศรีพิบูลพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การถูกกีดกัน ภาวะซึมเศร้า การรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน และความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางช่องทางออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี จำนวน 263 คน มีอายุเฉลี่ย 27.06 ปี (SD = 6.21) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ข้อคำถามคัดกรอง 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า 4) แบบวัดประสบการณ์การถูกกีดกัน 5) แบบวัดการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน และ 6) แบบวัดความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ตามแนวคิด Conditional PROCESS Model เพื่อทดสอบอิทธิพลส่งผ่านที่มีอิทธิพลกำกับ ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์การถูกกีดกันมีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = .359, p < .05) แต่ไม่พบอิทธิพลทางอ้อมของประสบการณ์การถูกกีดกันต่อภาวะซึมเศร้าผ่านการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน (b = .012, p = .101) และไม่พบอิทธิพลกำกับของความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนในความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การถูกกีดกันกับภาวะซึมเศร้า (b = -.087, p = .114) และความสัมพันธ์ระหว่างการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนกับภาวะซึมเศร้า (b = .098, p = .329)


ประสบการณ์ทางจิตใจของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่, ณัชฌา ลงทอง Jan 2021

ประสบการณ์ทางจิตใจของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่, ณัชฌา ลงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยคเชิงคุณภาพในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฎการณ์วิทยาเชิงตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) กับนักกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคม อายุระหว่าง 18-25 ปี ที่ยังคงมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างต่อเนื่อง จำนวน 6 ราย โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) แรงจูงใจให้เข้ามาเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบด้วย การปลูกฝังภายในครอบครัว การได้รับผลกระทบจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ ความห่วงใยต่อสังคม และการรับรู้ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นที่ออกมาขับเคลื่อน 2) ปัญหาและแนวทางการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบไปด้วย ปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้นและแนวทางการจัดการกับปัญหา 3) สิ่งที่ทำให้ยังคงเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบด้วย ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางบวก รับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความหมายและคุณค่าในตนเอง และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเป็นนักเคลื่อนไหว ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มความเข้าใจในประสบการณ์ทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับนักเคลื่อนไหวทางสังคม และเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตให้แก่นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ ในฐานะกลุ่มคนที่มีความตั้งใจที่จะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น มีพลังใจในการเดินไปบนเส้นทางที่พวกเขาเลือกได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งส่วนร่วมและการเห็นคุณค่าในตนเอง


การศึกษาความสัมพันธ์ของความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน การจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้นและความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยมีการรับรู้โอกาสในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ, ปัทมา นามทอง Jan 2021

การศึกษาความสัมพันธ์ของความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน การจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้นและความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยมีการรับรู้โอกาสในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ, ปัทมา นามทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน การจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น และความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยมีการรับรู้โอกาสในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่วัยกลางคนจำนวน 200 คน ลักษณะโดยส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.50) มีอายุระหว่าง 40-44 ปี (ร้อยละ 45.50) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 46.50) อายุงานในองค์การปัจจุบันอยู่ระหว่าง 1-10 ปี (ร้อยละ 38.50) ประเภทขององค์กรที่ทำงานเป็นภาครัฐ (ร้อยละ 70.00) และตำแหน่งงานที่ทำคือพนักงานระดับปฏิบัติ (ร้อยละ 60.00) จากนั้นนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานรวมทั้งการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในงาน โดยมีรายละเอียดค่าทางสถิติดังนี้ ความซับซ้อนของงาน (B = .187, p < .01) การมีอำนาจตัดสินใจในงาน (B = .348, p < .01) และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น (B = .240, p < .05) มีความสัมพันธ์ทางบวกและร่วมกันอธิบายความผูกพันในงาน ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันในงานได้ร้อยละ 31.7 ในขณะที่การรับรู้โอกาสในการทำงานไม่ได้มีบทบาทในฐานะตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน (B = .014, n.s.) การมีอำนาจตัดสินใจในงาน (B = -.025, n.s.) และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น (B = .104, n.s.) ที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันในงาน โดยประโยชน์จากงานวิจัยที่ได้นี้ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่แสดงถึงทิศทางและระดับความสัมพันธ์ของความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน สำหรับการประยุกต์ใช้ในองค์กร คือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริบทต่าง ๆ ในการทำงานให้มีความสอดคล้องกับพนักงานในแต่ละช่วงวัย ทั้งในด้านลักษณะของงาน (Work Characteristics) ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน และการมีอำนาจตัดสินใจในงาน รวมถึงกลยุทธ์การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ (Successful aging strategies) ซึ่งเป็นการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น ในการสร้างแรงจูงใจคนทำงานวัยกลางคนในการพัฒนาการทำงานและดึงศักยภาพการทำงานของบุคคลช่วงวัยกลางคนให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลควรตระหนักเช่นเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความผูกพันในงานที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการทำงานและการมีสุขภาวะจิตที่ดีในการทำงาน


ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยล้าในการทำงาน โดยมีงานที่มีความหมายเป็นตัวแปรกำกับ ในพนักงานรับฝากพัสดุ องค์การขนส่งและโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, พรพิเศษ ศศิวิมล Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยล้าในการทำงาน โดยมีงานที่มีความหมายเป็นตัวแปรกำกับ ในพนักงานรับฝากพัสดุ องค์การขนส่งและโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, พรพิเศษ ศศิวิมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยล้าในการทำงาน และศึกษาอิทธิพลกำกับของงานที่มีความหมายต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยล้าในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานรับฝากพัสดุ องค์การขนส่งและโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 441 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) ข้อคำถามข้อมูลทั่วไป เช่น เพศ อายุงาน (2) มาตรวัดภาระงาน (workload scale) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ (3) มาตรวัดงานที่มีความหมาย (the Work and Meaning Inventory scale: WAMI scale) และ (4) มาตรวัดความเหนื่อยล้าในการทำงาน (the Three-Dimensional Work Fatigue Inventory: 3D-WFI scale) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ผลการวิเคราะห์พบว่า งานที่มีความหมายมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางจิตใจกับความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านจิตใจ (β = -.24, p < .05) และมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางจิตใจกับความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านอารมณ์ (β = -.26, p < .05) อย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยนี้ยืนยันสมมติฐานหลักที่ว่า การที่พนักงานรับรู้ถึงคุณค่าและงานที่มีความหมายจะช่วยลดความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านจิตใจและอารมณ์ อันเกิดจากความตึงเครียดของภาระงานทางด้านจิตใจได้ ดังนั้น องค์การควรมีการสนับสนุนในด้านการรับรู้ถึงงานที่มีความหมายของพนักงาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเหนื่อยล้าในการทำงานโดยเฉพาะด้านจิตใจและด้านอารมณ์


ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโตและการผูกใจมั่นในการเรียนรู้ออนไลน์โดยมีการรับรู้ความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการสนับสนุนให้อิสรภาพเป็นตัวแปรกำกับ, วิสสุตา ภักดีกุล Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโตและการผูกใจมั่นในการเรียนรู้ออนไลน์โดยมีการรับรู้ความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการสนับสนุนให้อิสรภาพเป็นตัวแปรกำกับ, วิสสุตา ภักดีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษากลไกความสัมพันธ์ระหว่าง กรอบความคิดแบบเติบโต และการผูกใจมั่นในการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยมีการรับรู้ความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีการสนับสนุนอิสรภาพเป็นตัวแปรกำกับ การวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านพบว่า ผลจากการวิเคราะห์เส้นทาง พบว่า กรอบความคิดแบบเติบโตส่งอิทธิพลทางบวกต่อการรับรู้ความสามารถ (β = .28, SE = .07, LL = .13, UL = .44], p < .001) และการรับรู้ความสามารถส่งอิทธิพลทางบวกต่อการผูกใจมั่นในการเรียนรู้ออนไลน์ (β = .59, SE = .07, LL = .45, UL = .72], p < .001) ทั้งนี้พบอิทธิพลทางตรงระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโตต่อการผูกใจมั่นในการเรียนรู้แต่ไม่ถึงระดับนัยสำคัญ (β= .08, SE = .07, LL = -.05, UL = .21, p = .23) และพบว่ากรอบความคิดแบบเติบโตส่งอิทธิพลทางบวกต่อผูกใจมั่นในการเรียนรู้ออนไลน์ โดยมีการรับรู้ความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่านถึงระดับนัยสำคัญ (β = .25, SE = .08, LL = .09, UL = .40, p <.01) การวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านตัวแปรกำกับ พบว่าการสนับสนุนอิสรภาพเป็นตัวแปรกำกับระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโตและการรับรู้ความสามารถ (β = .20, SE = .07, LL = .06, UL = .34, p <.01) และ การสนับสนุนอิสรภาพไม่ได้เป็นตัวแปรกำกับระหว่างการรับรู้ความสามารถและการผูกใจมั่นในการเรียนรู้ (β = .01, SE = .07, LL = -.12, UL = .15, p =.86)


การเกิดปัญญาของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูง, วรากร ศรสุรินทร์ Jan 2021

การเกิดปัญญาของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูง, วรากร ศรสุรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเกิดปัญญาในการทำงานของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีประสบการณ์ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการปรึกษาแนวพุทธมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 6 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความขุ่นใจที่รบกวนขณะทำงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งประกอบด้วย ความขุ่นใจ กวนใจขณะทำงานกับผู้มาปรึกษา (ใจไม่ว่าง ความคิดปั่นป่วน และรับรู้เรื่องราวของผู้รับบริการได้ไม่ชัด) และความทุกข์ใจ รบกวนชีวิตส่วนตัว (ครุ่นคิดในความผิดพลาดในการปรึกษา ไม่พอใจ สงสัย ผิดหวังในตัวเอง และกระตุ้นให้เกิดความทุกข์ใจอื่นๆ ร่วมด้วย) (2) การตระหนัก เข้าใจ มุ่งสู่การแก้ทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย การตระหนัก ใส่ใจในทุกข์ที่เกิดขึ้น (สัมผัสรับรู้สภาวะความทุกข์ และเกิดแรงจูงใจที่จะสำรวจและจัดการความทุกข์) การใช้ใจที่สงบ ทบทวนทุกข์ เมื่อมีความพร้อม (ใส่ใจกับความสงบ ความพร้อม และสำรวจและทบทวนทุกข์ที่เกิดขึ้น) การมองเห็นความคาดหวังที่ซ้อนกับทุกข์ที่เกิด (เห็นว่าเหตุของทุกข์มาจากภายในใจ ไม่ตรงความจริง และเข้าไปจัดการกับความคาดหวัง) และการสะสางตะกอนทุกข์ที่กลับมากวนใจ (3) การสร้างเหตุปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดปัญญา ลดทุกข์ มองเห็นความจริง ซึ่งประกอบด้วย สะสมเหตุปัจจัยด้านกุศล ก่อให้เกิดปัญญา ลดทุกข์ (การมีสติสัมปชัญญะ เกิดปัญญาคลายทุกข์ และการใช้สติ สมาธิ และญาณ เห็นแจ้งความเป็นจริง) และการเห็นความจริง ใช้ชีวิตสอดคล้องปัจจุบันขณะ (การอยู่กับปัจจุบันขณะด้วยใจที่เบาสบาย สงบ และการตกผลึกบทเรียนในการคลี่คลายทุกข์) (4) การเห็นคุณค่า การเพาะบ่มสติและปัญญาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย การมีสติและปัญญาเป็นรากฐานการทำงานและชีวิตส่วนตัว (เห็นว่าปัญญาสำคัญต่อผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธและเห็นว่าปัญญาสำคัญต่อการดำเนินชีวิต) การฝึกฝนบ่มเพาะสติและปัญญาในชีวิตประจำวัน


ประสบการณ์สัมพันธภาพการบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษา, ศุภกร ปิญะภาณุกัญจณ์ Jan 2021

ประสบการณ์สัมพันธภาพการบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษา, ศุภกร ปิญะภาณุกัญจณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์สัมพันธภาพการบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษา วัสดุและวิธีการ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้คำถามกึ่งโครงสร้าง โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยคือนักจิตวิทยาการปรึกษาจำนวน 6 ราย ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานมาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปนับตั้งแต่จบการศึกษาระดับมหาบัณฑิตและยังคงให้บริการปรึกษาอยู่ ผลการศึกษา พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการสัมพันธภาพการบำบัด ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในสัมพันธภาพการบำบัด ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมในการสังเกตสัมพันธภาพการบำบัด และลักษณะของสัมพันธภาพการบำบัด สรุป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นรายละเอียดสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักจิตวิทยาการปรึกษาซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักจิตวิทยาการปรึกษาในการรับรู้และตระหนักถึงสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการบำบัด


อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และความสามารถในการฟื้นพลัง ต่อความเหนื่อยหน่าย, สุชาดา ศรีจำปา Jan 2021

อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และความสามารถในการฟื้นพลัง ต่อความเหนื่อยหน่าย, สุชาดา ศรีจำปา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยหน่ายตามทฤษฎีข้อเรียกร้องในงานและทรัพยากรในงาน โดยทดสอบอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และความสามารถในการฟื้นพลังที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น โดยแยกศึกษาสององค์ประกอบของความเหนื่อยหน่าย ได้แก่ ความรู้สึกอ่อนล้าและการเมินเฉยต่องาน ในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนในประเทศไทยจำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบอิทธิพลทางตรง ดังนี้ 1) ข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายมีอิทธิพลทางบวกต่อความรู้สึกอ่อนล้า (β = .13, p < .05) 2) ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคมีอิทธิพลทางบวกต่อความรู้สึกอ่อนล้า (β = .24, p < .01) และมีอิทธิพลทางบวกต่อการเมินเฉยต่องาน (β = .37, p < .01) 3) ความสามารถในการฟื้นพลังมีอิทธิพลทางลบต่อความรู้สึกอ่อนล้า (β = -.61, p < .01) และมีอิทธิพลทางลบต่อการเมินเฉยต่องาน (β = -.76, p < .01) สำหรับปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรค และความสามารถในการฟื้นพลังที่มีต่อความเหนื่อยหน่าย ไม่พบอิทธิพลกำกับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคมีอิทธิพลกำกับทางบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายกับการเมินเฉยต่องาน (β = .17, p < .05) ผลการวิเคราะห์เพิ่มเติม พบว่า ณ ระดับของข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคต่ำ มีอิทธิพลกำกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายต่อการเมินเฉยต่องานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.25, p < .01) กล่าวคือ การเมินเฉยต่องานของพนักงานจะลดลง ภายใต้เงื่อนไขของข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคอยู่ในระดับต่ำและข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายอยู่ในระดับสูง


ผลของโปรแกรมการปรับงานต่องานที่มีความหมายโดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงาน เป็นตัวแปรส่งผ่าน, อภินัทธ์ ตรีวิโรจน์ Jan 2021

ผลของโปรแกรมการปรับงานต่องานที่มีความหมายโดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงาน เป็นตัวแปรส่งผ่าน, อภินัทธ์ ตรีวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับงานต่องานที่มีความหมาย โดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยตั้งสมมติฐานว่า พฤติกรรมการปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงาน และงานที่มีความหมายของผู้เข้าร่วมโปรแกรมการปรับงาน จะมีระดับเพิ่มขึ้นหลังได้รับโปรแกรมการปรับงาน การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยกึ่ง ทดลองในสนาม แบบเปรียบเทียบผลก่อนและหลังรับโปรแกรมการปรับงาน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (two group pretest-posttest design) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับงานที่ออกแบบโดยมีพื้นฐานแนวคิดจากรูปแบบโปรแกรมฝึกฝนการปรับงาน (The Job Crafting Exercise) และใช้เนื้อหาในการปรับงานตามแนวคิดการปรับงานเพื่อสร้างสมดุลระหว่างข้อเรียกร้องและทรัพยากรในงาน (JD-R Model) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบความแปรปรวนซ้ำ (RM ANOVA) และสถิติทดสอบที (Independent t test) พบว่า ระดับของพฤติกรรมการปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงาน และงานที่มีความหมาย ในกลุ่มทดลอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังรับโปรแกรม ในทางกลับกัน ค่าคะแนนของตัวแปรทั้ง 3 ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มควบคุม นอกจากนั้น ผลของการทดสอบอิทธิพลส่งผ่านโดยใช้ PROCESS macro ยังพบอิทธิพลทางอ้อม (Indirect effect) ของโปรแกรมการปรับงานต่องานที่มีความหมาย โดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงานเป็นตัวแปรส่งผ่านอย่างสมบูรณ์ (Full mediation) จึงสรุปได้ว่า โปรแกรมการปรับงานสามารถเพิ่มระดับงานที่มีความหมายได้โดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลและงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน