Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Psychology

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 156

Full-Text Articles in Entire DC Network

ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า, อธิชญา สุขธรรมรัตน์ Jan 2022

ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า, อธิชญา สุขธรรมรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามที่มีลักษณะกึ่งโครงสร้างกับผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 6 คน ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการดูแลหรือกำลังให้การดูแลวัยรุ่นช่วงอายุ 13-19 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า โดยให้การสนับสนุนดูแลในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับวัยรุ่นในครอบครัว เช่น ด้านความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านการรักษา หรือด้านการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือน ผลการศึกษา พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการสนับสนุนดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล 3. แนวทางการปรับตัวในบทบาทของผู้ดูแล และ 4. การตกผลึกทางความคิดจากประสบการณ์ในการดูแล สรุปผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสบการณ์ทางจิตใจของบุคคลที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนดูแลวัยรุ่นในครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า ทั้งลักษณะแนวทางในการดูแลรับมือ มุมมองความคิด อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล การปรับตัวและสิ่งที่ผู้ดูแลได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเผชิญกับอุปสรรคปัญหาในการดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในงานให้บริการทางด้านสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลในครอบครัวให้กับวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า ตลอดจนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาทางด้านจิตใจต่อไป


ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พิมลวรรณ บุนนาค Jan 2022

ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พิมลวรรณ บุนนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ให้ข้อมูลเป็นญาติผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 7 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีคำถามกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐานสี่ 3 ประเด็นหลัก กล่าวคือ ประเด็นหลักที่ 1 ชีวิตเริ่มต้นเสียสมดุล มี 4 ประเด็นย่อยได้แก่ 1.1) เครียด หงุดหงิดง่าย จากการดูแล 1.2) เหนื่อยล้า เกิดปัญหาสุขภาพ 1.3) อึดอัด ขาดสังคม ไม่ได้ทำสิ่งที่เคยทำ และ 1.4) คนรอบข้างไม่เข้าใจ ไม่สนับสนุนช่วยเหลือ ประเด็นหลักที่ 2 ฟื้นคืนด้วยสติ ใจสงบสุข อ่อนโยนมีเมตตา มี 3 ประเด็นย่อยได้แก่ 2.1) สติทำให้รู้เท่าทัน ควบคุมอารมณ์ได้ 2.2) สมาธิรักษาใจให้สุขสงบ ใจมีพลัง และ 2.3) จิตใจอ่อนโยน มีเมตตา และประเด็นหลักที่ 3 ฟื้นคืนด้วยปัญญา เข้าใจสัจธรรมชีวิตและเติบโตทางธรรม มี 3 ประเด็นย่อยได้แก่ 3.1) เกิดสัมปชัญญะ ระลึกรู้เท่าทันความเป็นจริง 3.2) มองเห็นความไม่เที่ยง เข้าใจชีวิต เติบโตทางธรรม และ 3.3) ปล่อยวาง จิตคลายจากความยึดมั่นถือมั่น


การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต, พีรยา พูลหิรัญ Jan 2022

การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต, พีรยา พูลหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนเป็นพฤติกรรมที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในระยะยาวในยุคที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ปัจจุบันยังขาดองค์ความรู้โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยเกี่ยวกับปัจจัยที่สนับสนุนและขัดขวางการเกิดพฤติกรรมแยกขยะ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและปัจจัยการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคตที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนโดยเน้นศึกษาขยะพลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร และกล่องพลาสติกบรรจุอาหาร กลุ่มตัวอย่าง (n = 126) ได้แก่ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 1 ปี ทำการตอบแบบสอบถามการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ และรายงานพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนใน 2 สัปดาห์ต่อมา ผลจากการวิจัยพบว่า การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรม โดยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตามพบปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมโดยมีเจตนาต่อพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรมและการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคต และพบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อพฤติกรรมและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ไม่สามารถทำนายเจตนาต่อพฤติกรรมได้ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนมากที่สุด ได้แก่ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อว่าการมีพื้นที่สำหรับแยกขยะพลาสติกในครัวเรือน การมีถังขยะของส่วนกลางรองรับ และการได้รับรู้ว่าการแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนได้


Effects Of Academic Burnout On Study Engagement As Moderated By Resilience And Social Support: A Longitudinal Study, Suchada Ruengesri Jan 2022

Effects Of Academic Burnout On Study Engagement As Moderated By Resilience And Social Support: A Longitudinal Study, Suchada Ruengesri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to examine the correlations between academic burnout, study engagement, resilience, and social support in the Thai education context. The study also aimed to investigate the effect of academic burnout on study engagement, moderated by resilience and social support after the transition from online learning to on-site learning due to the COVID-19 pandemic. Additionally, the study aimed to explore the effects of different types of social support on academic burnout, study engagement, and resilience. The current study included two data gathering occasions for hypothesis testing. The participants were undergraduate students aged between 18 to 25 …


Effects Of Extraversion Personality Compatibility And The Michelangelo Phenomenon Via Facebook On Marital Satisfaction, Wanthip Chawaleemaporn Jan 2022

Effects Of Extraversion Personality Compatibility And The Michelangelo Phenomenon Via Facebook On Marital Satisfaction, Wanthip Chawaleemaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Divorce rates in newlywed couples has been rising dramatically globally, particularly Thailand. Young adults who strive for success often seek romantic relationships that promote their personal growth in order to thrive. The Michelangelo phenomenon is a psychological concept which explains how romantic relationships facilitate each other’s goal pursuit via partner affirmation. This research explores the dyadic influence of the similarity effects of the Big Five’s extraversion trait and marital satisfaction mediated by the Michelangelo phenomenon via Facebook in Thai newlyweds who have been married less than 5 years. 70 dyads were collected in two waves with a 6 month interval. …


โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจในการออกกำลังกายของผู้ใหญ่วัยกลางคนตามทฤษฎีการกำหนดด้วยตนเอง, สมศักดิ์ วสุวิทิตกุล Jan 2022

โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจในการออกกำลังกายของผู้ใหญ่วัยกลางคนตามทฤษฎีการกำหนดด้วยตนเอง, สมศักดิ์ วสุวิทิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายความตั้งใจในการออกกำลังกาย โดยเสนอโมเดลที่ประกอบด้วยตัวแปรจากทฤษฎีการกำหนดด้วยตนเองและการรับรู้การตีตราน้ำหนัก โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน มีอายุระหว่าง 30- 64 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 636 คน และตอบแบบสอบถามออนไลน์ ทำการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ที่ทดสอบตัวแปรส่งผ่านหลายตัวแปร(path analysis) โดยแบ่งเป็น 3โมเดลกลุ่มน้ำหนักได้แก่ กลุ่มน้ำหนักปกติ(BMI=18-22.9 กก./ม2,N=253)กลุ่มน้ำหนักเกิน(BMI=23-29.9 กก./ม2,N=206)และกลุ่มอ้วน (BMI≥30 กก./ม2,N=177)ผลการวิจัยพบว่า 1)โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจในการออกกำลังกายทั้ง 3 โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(กลุ่มน้ำหนักปกติ;Χ2=11.124,df=6,p=0.085,CFI=0.990,RMSEA =0.058,SRMR=0.029,กลุ่มน้ำหนักเกิน;Χ2=11.065, df=6,p=0.086,CFI=0.990,RMSEA=0.064,SRMR=0.029, กลุ่มอ้วน;Χ2=8.351,df=6,p=0.214,CFI=0.992,RMSEA=0.047,SRMR=0.032) 2)การรับรู้การตีตราน้ำหนักส่งอิทธิพลเชิงลบต่อแรงจูงใจที่มีอิสระในการออกกำลังกายในทุกกลุ่มน้ำหนัก3)แรงจูงใจที่มีอิสระส่งอิทธิ พลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการออกกำลังกายในทุกกลุ่มน้ำหนัก4)ความต้องการมีความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการรับรู้การสนับสนุนความมีอิสระและความตั้งใจในการออกกำลังกายในทุกกลุ่มน้ำหนัก5)ความต้องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นและความต้องการมีความสามารถส่งอิทธิพลเชิงบวกต่อแรงจูงใจที่มีอิสระในกลุ่มน้ำหนักเกิน6)ความต้องการเป็นอิสระในตนเองส่งอิทธิพลเชิงบวกต่อแรงจูงใจที่มีอิสระในกลุ่มน้ำหนักปกติและกลุ่มอ้วน 7) โมเดลเชิงสาเหตุของของความตั้งใจในการออกกำลังกายของกลุ่มน้ำหนักปกติ กลุ่มน้ำหนักเกินและกลุ่มอ้วน สามารถอธิบายความตั้งใจในการออกกำลังกายได้ ร้อยละ 47 50 และ 41 ตามลำดับ ผลการวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย โดยการสนับสนุนความมีอิสระในการออกกำลังกาย ลดการรับรู้การตีตราน้ำหนักของบุคคล และควรประเมินความต้องการเป็นอิสระในตนเอง ความต้องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น และความต้องการมีความสามารถในการออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกาย


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความคิดว่าตนเองด้อยความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, เมธาวี สารกอง Jan 2022

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความคิดว่าตนเองด้อยความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, เมธาวี สารกอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความคิดว่าตนเองด้อยความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้แก่ เพศสภาพ การตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์แบบมุ่งเน้นความเชี่ยวชาญ การตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์แบบหลีกเลี่ยงความไม่เชี่ยวชาญ การตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์แบบมุ่งเน้นการแสดงความสามารถ การตั้งเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์แบบหลีกเลี่ยงการแสดงความด้อยความสามารถ การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาแบบห่วงใย การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาแบบปกป้องมากเกินไป การรับรู้คุณค่าในตนเอง การรับรู้ความสามารถของตนเอง และลักษณะบุคลิกภาพแบบต้องการความสมบูรณ์แบบ โดยมีสมมติฐานการวิจัยว่าปัจจัยที่สัมพันธ์ทั้งหมดดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายความคิดว่าตนเองด้อยความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 5 อันดับแรกของประเทศไทย ทุกชั้นปี อายุตั้งแต่ 18-25 ปี ที่สามารถอ่านทำความเข้าใจภาษาไทยได้ จำนวน 309 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบนำตัวแปรเข้าทุกตัวแปร ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณพบว่าตัวแปรทำนายทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความคิดว่าตนเองด้อยความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ร้อยละ 41.60 โดยคะแนนลักษณะบุคลิกภาพแบบต้องการความสมบูรณ์แบบสามารถทำนายได้มากที่สุด (β = .493, p < .01) รองลงมาคือ การรับรู้คุณค่าในตนเอง (β = -.195, p < .01) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = -.161, p < .01) ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม้นักศึกษาที่นับว่าเรียนเก่งจนสามารถผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐ ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดความคิดว่าตนเองด้อยความสามารถได้มาก เนื่องจากมีลักษณะบุคลิกภาพแบบต้องการความสมบูรณ์แบบสูง มีการรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ และมีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่ำ


การจัดบุคลิกภาพแบบหลากหลายและการเขียนเรียงความต่อต้านเจตคติต่อเจตคติระหว่างกลุ่มพุทธและมุสลิม : การศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางสังคมและอิทธิพลกำกับของค่านิยมส่วนบุคคลในพื้นที่ความไม่สงบภาคใต้ของไทย, เพ็ญประภา ปริญญาพล Jan 2022

การจัดบุคลิกภาพแบบหลากหลายและการเขียนเรียงความต่อต้านเจตคติต่อเจตคติระหว่างกลุ่มพุทธและมุสลิม : การศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางสังคมและอิทธิพลกำกับของค่านิยมส่วนบุคคลในพื้นที่ความไม่สงบภาคใต้ของไทย, เพ็ญประภา ปริญญาพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มี 3 การศึกษา การศึกษาที่ 1 สำรวจการรับรู้การจัดบุคลิกภาพหลากหลายของกลุ่มพุทธและมุสลิม (n =382) ในสามจังหวัดชายแดนใต้ การศึกษาที่ 2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดบุคลิกภาพแบบหลากหลายต่อเจตคติระหว่างกลุ่ม โดยมีความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่านและค่านิยมส่วนบุคคลเป็นตัวแปรกำกับ (n =150) การศึกษาที่ 3 ศึกษาผลการอ่านเรื่องราวการรับรู้บุคลิกภาพแบบหลากหลายและการเขียนเรียงความต่อต้านเจตคติที่มีต่อเจตคติระหว่างกลุ่มและความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางสังคม (n =105) ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลพบว่า 1) คะแนนการจัดบุคลิกภาพแบบหลากหลายระหว่างพุทธและมุสลิมมีความแตกต่างกัน 2) ค่านิยมส่วนบุคคลตัวแปรกำกับมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการจัดบุคลิกภาพแบบหลากหลายและเจตคติระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางสังคมไม่เป็นตัวส่งผ่านอย่างมีนัยสำคัญต่อความสัมพันธ์ทั้งสอง 3) ไม่พบความแตกต่างของคะแนนเจตคติระหว่างกลุ่มและความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการทดลองทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม


ความสัมพันธ์ในช่วงต้นของชีวิตของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับเพศ, กวิน ก้อนทอง Jan 2022

ความสัมพันธ์ในช่วงต้นของชีวิตของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับเพศ, กวิน ก้อนทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเพื่อศึกษาแก่นสาระของประสบการณ์ความสัมพันธ์ในช่วงต้นของชีวิตของผู้กระทำความผิดคดีเกี่ยวกับเพศ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้กระทำความผิดคดีเกี่ยวกับเพศ จำนวน 6 คน มีอายุระหว่าง 21- 51 ปี ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นผู้ถูกคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบแก่นสาระของประสบการณ์ความสัมพันธ์ในช่วงต้นของชีวิตของผู้กระทำความผิดคดีเกี่ยวกับเพศ 3 ประเด็นหลัก 11 ประเด็นย่อย ได้แก่ ประเด็นหลักที่ 1 เติบโตมากับสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งมี 5 ประเด็นย่อย คือ มีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ซับซ้อน ขาดการดูแลจากผู้เลี้ยงดู ใช้ความรุนแรงทางร่างกายและวาจา คุ้นเคยกับยาเสพติดหรืออาชญากรรมตั้งแต่เด็ก และไม่มีแบบอย่างในการใช้ชีวิต ประเด็นหลักที่ 2 มุมมองด้านรูปแบบความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ตายตัว ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งมี 3 ประเด็นย่อย คือ รู้สึกสบายใจมากกว่ากับสมาชิกครอบครัวเพศหญิง มุมมองว่าผู้ชายใช้ความรุนแรงหรือสารเสพติดเป็นเรื่องธรรมดา และโทษตนเองเมื่อเกิดความขัดแย้งในครอบครัว ประเด็นหลักที่ 3 การหลีกหนีความรู้สึกโกรธและความอับอาย (เชื่อว่าตนทำอะไรกับความโกรธและความอับอายไม่ได้) ซึ่งมี 3 ประเด็นย่อย คือ เก็บกดความรู้สึกลบเอาไว้ ใช้ความรุนแรงเพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึก และ ใช้สารเสพติดเพื่อลืมความรู้สึก


ความสัมพันธ์ของการกำหนดตนเอง การคลั่งไคล้ศิลปิน และ การฟื้นคืนพลัง ในผู้ใหญ่วัยเริ่มที่เข้าร่วมกลุ่มชื่นชอบศิลปิน, จุฑามาศ มงคลอำนาจ Jan 2022

ความสัมพันธ์ของการกำหนดตนเอง การคลั่งไคล้ศิลปิน และ การฟื้นคืนพลัง ในผู้ใหญ่วัยเริ่มที่เข้าร่วมกลุ่มชื่นชอบศิลปิน, จุฑามาศ มงคลอำนาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ของการกำหนดตนเอง (Self-determination) โดยประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ความต้องการความสามารถ (Competence) ความต้องการมีอิสระ (Autonomy) และความต้องการความสัมพันธ์ในสังคม (Relatedness) รวมถึงการคลั่งไคล้ศิลปิน (Celebrity worship) ที่อาจร่วมกันอธิบายการฟื้นคืนพลัง (Resilience) ในกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินวัยผู้ใหญ่วัยเริ่ม อายุ 18-29 ปี จำนวน 134 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การกำหนดตนเองด้านความต้องการ 3 ด้าน (ความสามารถ การมีอิสระ และความสัมพันธ์ในสังคม) และการคลั่งไคล้ศิลปิน ร่วมกันอธิบายการฟื้นคืนพลัง (Resilience) ได้ร้อยละ 20.1 โดยการกำหนดตนเองด้านความต้องการความสามารถอธิบายการฟื้นคืนพลังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ในการส่งเสริมการฟื้นคืนพลังในผู้ใหญ่วัยเริ่ม อาจเน้นเสริมทักษะความสามารถที่จำเป็นต่อการทำตามเป้าหมายของบุคคล กระบวนการพัฒนาทักษะอาจช่วยเพิ่มความสามารถในการฟื้นคืนพลังข้ามผ่านอุปสรรคไปสู่เป้าหมายได้ แม้ว่าความต้องการความสัมพันธ์และด้านความต้องการมีอิสระรวมถึงการคลั่งไคล้ศิลปินจะไม่สามารถอธิบายการฟื้นคืนพลังได้ แต่หากส่งเสริมทางด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การมีอิสระในทางเลือกของตนเพิ่มขึ้น และสนับสนุนการติดตามศิลปินอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นกำลังใจในการข้ามผ่านอุปสรรคร่วมด้วย ก็อาจจะช่วยส่งเสริมการฟื้นคืนพลังของผู้ใหญ่วัยเริ่มที่ชื่นชอบศิลปินได้


ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยมีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นตัวแปรกำกับ, ชีรนุช สมบูรณ์กุลวุฒิ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยมีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นตัวแปรกำกับ, ชีรนุช สมบูรณ์กุลวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่ผ่านมายังไม่เคยมีงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยมีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นตัวแปรกำกับ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์นี้โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในประเทศไทยจำนวน 226 คน ผลการวิจัยพบว่า ความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (r = –.21, p < .01) ความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์มีอิทธิพลกำกับในความสัมพันธ์ของความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (b = –.78, p < .05) ในบุคคลที่มีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับต่ำ ยิ่งมีความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์สูงจะยิ่งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูง (b = .66, p < .05) แต่ในบุคคลที่มีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับปานกลาง (b = .22, p = .37) และสูง (b = –.23, p = .43) ความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าในบุคคลที่มีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ การมีความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์สูงแต่ไม่สูงจนเกินไปจะเป็นแรงผลักดันให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้น และการมีความเชื่อแบบเติบโตในความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับปานกลางและสูง น่าจะส่งผลให้ความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์


ความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนจากพ่อแม่และการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ของวัยรุ่นตอนต้น : อิทธิพลกำกับของความอบอุ่นทางอารมณ์จากพ่อแม่, ฐิติรัตน์ ลีละวินิจกุล Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนจากพ่อแม่และการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ของวัยรุ่นตอนต้น : อิทธิพลกำกับของความอบอุ่นทางอารมณ์จากพ่อแม่, ฐิติรัตน์ ลีละวินิจกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนจากพ่อแม่และการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ของวัยรุ่นชายและหญิงตอนต้น รวมไปถึงศึกษาอิทธิพลกำกับของความอบอุ่นทางอารมณ์จากพ่อแม่ที่มีต่อความสัมพันธ์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือวัยรุ่นชายและหญิงตอนต้น อายุ 12-15 ปี จำนวนทั้งสิ้น 273 คน แบ่งเป็นวัยรุ่นชายจำนวน 125 คน และวัยรุ่นหญิงจำนวน 148 คน ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) มาตรวัดการรับรู้การล้อเลียน 3) มาตรวัดการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ และ 4) มาตรวัดความอบอุ่นทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์อิทธิพลกำกับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ในวัยรุ่นชายตอนต้น ทั้งการล้อเลียนจากพ่อและการล้อเลียนจากแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ นอกจากนี้ยังไม่พบอิทธิพลกำกับของความอบอุ่นทางอารมณ์จากพ่อแม่ในความสัมพันธ์ทั้งระหว่างการล้อเลียนจากพ่อและการล้อเลียนจากแม่กับการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ 2) ในขณะที่ในวัยรุ่นหญิงตอนต้น พบความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการล้อเลียนจากพ่อกับการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนจากแม่และการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ และไม่พบอิทธิพลกำกับของความอบอุ่นทางอารมณ์จากพ่อแม่ในความสัมพันธ์ทั้งระหว่างการล้อเลียนจากพ่อและการล้อเลียนจากแม่กับการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการล้อเลียนจากพ่อแม่เป็นสิ่งที่สามารถพบได้ในครอบครัวไทย โดยการลดการล้อเลียนจากพ่อในวัยรุ่นหญิงตอนต้นอาจจะเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ช่วยลดการไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ของวัยรุ่นหญิงตอนต้นให้น้อยลงได้


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล : การวิเคราะห์โมเดลทวิสัมพันธ์, กุลนิษฐ์ ดำรงค์สกุล Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล : การวิเคราะห์โมเดลทวิสัมพันธ์, กุลนิษฐ์ ดำรงค์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและสุขภาวะทางใจในผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่าน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลผู้ป่วยในเชิงทวิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล 120 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มาตรวัดการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และ มาตรวัดสุขภาวะทางใจ ซึ่งมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.82 ถึง 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 10.2 ผลการวิจัย พบว่า (1) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุ โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (2) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางใจของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุ โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วน (3) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลในทางตรงเท่านั้น (only actor effect) โดยส่งผลต่อญาติผู้ดูแลได้มากกว่าผู้ป่วย และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของทั้งคู่ ไม่มีผลต่อระดับสุขภาวะทางใจของอีกฝ่าย นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าสุขภาวะทางใจ และ (4) การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลในลักษณะอิทธิพลคู่เหมือน (couple pattern) โดยส่งผลทางตรงต่อญาติผู้ดูแลได้มากกว่าผู้ป่วยเล็กน้อย และมีเพียงการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกของญาติผู้ดูแลเท่านั้นที่ส่งผลทางไขว้ต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าสุขภาวะทางใจด้วย


การพัฒนาและตรวจสอบแบบประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน, ณัฐวุฒิ เกษมสวัสดิ์ Jan 2022

การพัฒนาและตรวจสอบแบบประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน, ณัฐวุฒิ เกษมสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกสำหรับเด็กที่มีภาวะสมองพิการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่กลุ่มเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน อายุ 7-12 ปี จำนวน 35 คน แบ่งเป็นชาย 21 คน หญิง 14 คน และกลุ่มเด็กปกติ อายุ 7-12 ปี จำนวน 35 คน แบ่งเป็นชาย 18 คน หญิง 17 คน ผู้วิจัยนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติพรรณาและตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยวิธีการทดสอบแบบคู่ขนาน (Parallel Form Method) เพื่อตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์ของความสมมูล (Coefficient of Equivalence) และความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater) ด้วยสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa coefficient) และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบประเมินกับจุดประสงค์ (Index of Item-Objective Congruence หรือ IOC) และตรวจสอบความตรงเชิงสภาพด้วยวิธีการใช้กลุ่มที่แตกต่างกัน (Known-Group Technique) ผลการวิจัยพบว่าจากการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีกลุ่มที่แตกต่างกัน เด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อนมีคะแนนน้อยกว่าเด็กปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (Mean = 3.16, 1.48 t = 3.964 p < .001 ในการทดสอบครั้งที่ 1 และ Mean = 3.33, 1.30 t = 4.260 p < .001 ในการทดสอบครั้งที่ 2) ส่วนการประเมินความตรง แบบประเมินมีค่าดัชนีความสอดคคล้องกับจุดประสงค์อยู่ที่ 1.0 มีความตรงเชิงเนื้อหา ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินด้วยสัมประสิทธิ์แคปปาในการทดสอบแต่ละครั้งอยู่ที่ระดับ 0.912 และ 0.941 ในเด็กที่มีภาวะสมองพิการ 0.823 และ 0.911 ในเด็กปกติ อย่างไรก็ตามจากการวิจัยค้นพบว่าการเรียนรู้และปัญหาด้านความใส่ใจของกลุ่มตัวอย่างส่งผลกระทบต่อคะแนนของการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในแต่ละครั้งในการทดสอบแบบคู่ขนาน ส่งผลให้ค่าความเที่ยงในการทดสอบในเด็กที่มีภาวะสมองพิการอยู่ที่ระดับ 0.85 และเด็กปกติอยู่ที่ระดับ 0.71 สามารถสรุปได้ว่าแบบประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกมีความสอดคล้องกันระหว่างผู้ประเมิน มีความตรงเพียงพอที่จะใช้ในการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน แต่ยังพบข้อจำกัดด้านการเรียนรู้และความใส่ใจซึ่งส่งผลต่อการทดสอบ ทั้งนี้การวิจัยในอนาคตควรจะมีการทดสอบหาอำนาจจำแนกของคะแนน เกณฑ์คะแนนผ่านของเด็กที่มีภาวะสมองพิการและเปรียบเทียบกับเด็กปกติ


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ณัฐพร ตรีเจริญวิวัฒน์ Jan 2022

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ณัฐพร ตรีเจริญวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัยและมีระดับความเหงาสูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 จำนวน 39 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 19 คน กลุ่มควบคุม 20 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ทั้งหมด 8 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างทุกคนจะได้ตอบแบบสอบถามที่ประกอบไปด้วยมาตรวัดความเหงา มาตรวัดความสามารถในการกำกับอารมณ์ และมาตรวัดการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures MANOVA) และความแปรปรวนพหุนามแบบระหว่างกลุ่ม (Between Groups MANOVA) โดยมีผลวิจัยดังนี้ 1. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความเหงาต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความเหงาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความสามารถในการกำกับอารมณ์แตกต่างกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความสามารถในการกำกับอารมณ์แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ความสามารถในการฟื้นพลังของผู้ใหญ่วัยเริ่ม: การวิเคราะห์จัดกลุ่มความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น การให้การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม, ดลนภัส ชลวาสิน Jan 2022

ความสามารถในการฟื้นพลังของผู้ใหญ่วัยเริ่ม: การวิเคราะห์จัดกลุ่มความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น การให้การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม, ดลนภัส ชลวาสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และปัจจัยระดับสังคม ได้แก่ ความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การให้การสนับสนุนทางสังคม และเปรียบเทียบความแตกต่างของความสามารถในการฟื้นพลังระหว่างกลุ่มดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่ม จำนวน 310 คน ที่เป็นนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์จัดกลุ่มเพื่อจัดกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยมีพื้นฐานอยู่บนตัวแปรระดับบุคคลและตัวแปรระดับสังคม จากนั้นใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สามารถแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ “ใจดีต่อตนเองและผู้อื่นสูง” “ใจดีต่อตนเองปานกลางแต่ใจดีต่อผู้อื่นน้อย” “ใจดีต่อตนเองและผู้อื่นน้อย” และ “ใจดีต่อตนเองน้อยแต่ใจดีต่อผู้อื่นปานกลาง” และพบว่า มีความแตกต่างของคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(3, 306) = 18.75, p < 0.001, η2 = 0.155) โดยกลุ่มที่มีคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังสูงที่สุด (M = 3.25) คือ “ใจดีต่อตนเองและผู้อื่นสูง” ที่คะแนนตัวแปรระดับบุคคลและตัวแปรระดับสังคมอยู่ในระดับสูง ในทางตรงกันข้าม กลุ่มที่มีคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังต่ำที่สุด (M = 2.59) คือ “ใจดีต่อตนเองน้อยแต่ใจดีต่อผู้อื่นปานกลาง” ซึ่งคะแนนตัวแปรระดับบุคคลอยู่ในระดับต่ำและคะแนนตัวแปรระดับสังคมอยู่ในระดับปานกลาง สะท้อนให้เห็นว่า รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันแสดงถึงความสามารถในการฟื้นพลังในระดับที่แตกต่างกัน


ความสัมพันธ์ระหว่างการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกกับความไว้วางใจ โดยมีการเล่นพรรคเล่นพวกของหัวหน้างานเป็นตัวแปรกำกับ, ธนานุตม์ จุลกระเศียร Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกกับความไว้วางใจ โดยมีการเล่นพรรคเล่นพวกของหัวหน้างานเป็นตัวแปรกำกับ, ธนานุตม์ จุลกระเศียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกต่อความไว้วางใจ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นพรรคเล่นพวกของหัวหน้างานต่อความไว้วางใจ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลกำกับการเล่นพรรคเล่นพวกของหัวหน้างานต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกกับความไว้วางใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานที่มีหัวหน้างาน ที่มีอายุงานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ปฏิบัติงานกับหัวหน้างานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในบริษัทเอกชนในประเทศไทย โดยไม่ได้มีการระบุอุตสาหกรรมที่เฉพาะเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยสามารถสรุปผลการวิจัย พบว่า การรับรู้การแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความไว้วางใจด้านความรู้ความเข้าใจที่ขนาด (β = .57, p < .01) และทางด้านอารมณ์ (β = .76, p < .01) การรับรู้การเล่นพรรคเล่นของหัวหน้างานมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความไว้วางใจด้านความรู้ความเข้าใจที่อิทธิพลขนาดเล็ก (β = .27, p < .01) ในขณะที่การรับรู้การเล่นพรรคเล่นของหัวหน้างานไม่มีความสัมพันธ์ต่อความไว้วางใจด้านอารมณ์ อีกทั้งการรับรู้การเล่นพรรคเล่นพวกของหัวหน้างานไม่ได้เป็นตัวแปรกำกับต่อความสัมพันธ์ระหว่างการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกกับความไว้วางใจด้านความรู้ความเข้าใจและทางด้านอารมณ์ ดังนั้น การแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกควรตระหนักในเรื่องของคุณภาพการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ให้อยู่ในลักษณะของการเปิดกว้าง สนับสนุนให้สมาชิกใช้ประโยชน์จากคุณภาพของการแลกเปลี่ยนอย่างเกิดประโยชน์และนำไปสู่ความไว้วางใจที่มีต่อหัวหน้างาน


ความเหงาและความพึงพอใจในชีวิตของผู้ใหญ่ตอนต้นที่เล่นเกมออนไลน์ประเภท Mmorpg, พินิตา พร้อมเทพ Jan 2022

ความเหงาและความพึงพอใจในชีวิตของผู้ใหญ่ตอนต้นที่เล่นเกมออนไลน์ประเภท Mmorpg, พินิตา พร้อมเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มผู้ที่เล่นเกมออนไลน์ประเภท MMORPG ด้วยคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านสังคมในชีวิตจริง การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านสังคมในเกม และคะแนนคุณภาพของกิลด์ และเปรียบเทียบความแตกต่างในความเหงาและความพึงพอใจในชีวิตระหว่างกลุ่ม โดยมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยคือผู้ใหญ่ตอนต้นอายุระหว่าง 18-35 ปีที่เข้าร่วมการตอบแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 710 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์จัดกลุ่ม และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สามารถจัดกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสูง กลุ่มการรับรู้สังคมในชีวิตจริงสูง กลุ่มการรับรู้สังคมในชีวิตจริงต่ำ และกลุ่มต่ำ ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มของความเหงา พบว่า กลุ่มสูงเป็นกลุ่มที่มีคะแนนความเหงาต่ำที่สุด และกลุ่มต่ำเป็นกลุ่มที่มีคะแนนความเหงาสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มการรับรู้สังคมในชีวิตจริงต่ำมีคะแนนความเหงาสูงกว่ากลุ่มการรับรู้สังคมในชีวิตจริงสูง สำหรับความพึงพอใจในชีวิต กลุ่มสูงเป็นกลุ่มที่มีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตสูงที่สุด ในขณะที่กลุ่มต่ำเป็นกลุ่มที่มีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตต่ำที่สุด และกลุ่มการรับรู้สังคมในชีวิตจริงสูงมีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตสูงกว่ากลุ่มการรับรู้สังคมในชีวิตจริงต่ำ เป็นไปได้ว่าการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านสังคมทั้งในเกมและในชีวิตจริงเป็นปัจจัยหลักในการช่วยลดความเหงาและช่วยเพิ่มความพึงพอใจในชีวิต กล่าวคือบุคคลที่มีการรับรู้ทักษะด้านสังคมของตนเองสูงอาจจะมีความกล้าที่จะเริ่มต้นทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มความพึงพอใจในชีวิต ในขณะเดียวกันคะแนนคุณภาพของกิลด์มีส่วนช่วยลดความเหงาและเพิ่มความพึงพอใจในชีวิตในกลุ่มบุคคลที่มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านสังคมทั้งในเกมและในชีวิตจริงต่ำ เนื่องจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกิลด์ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์และพัฒนาทักษะทางสังคม และความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิลด์ช่วยให้บุคคลรับรู้ความสามารถของตนเองด้านสังคมในเกมมากขึ้น รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสังคม และได้รับการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งช่วยลดระดับความเหงาและเพิ่มระดับความพึงพอใจในชีวิตได้


ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน ทรัพยากรในงาน ความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ ภาวะหมดไฟในการทำงาน และการมีส่วนร่วมในงานของพนักงานนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19, รสริน บวรวิริยพันธุ์ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน ทรัพยากรในงาน ความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ ภาวะหมดไฟในการทำงาน และการมีส่วนร่วมในงานของพนักงานนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19, รสริน บวรวิริยพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน ทรัพยากรในงาน ความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ ภาวะหมดไฟ และการมีส่วนร่วมในงานของพนักงานนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในองค์กรที่มีการทำงานจากที่บ้านอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ และมีการประชุมวิดีโอในทุกสัปดาห์ นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด 19 จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดข้อเรียกร้องในงาน มาตรวัดทรัพยากรในงาน มาตรวัดความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ มาตรวัดภาวะหมดไฟ และมาตรวัดการมีส่วนร่วมในงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อเรียกร้องในงานไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะหมดไฟของพนักงาน แต่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะหมดไฟผ่านความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ข้อเรียกร้องในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการมีส่วนร่วมในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ 3. ทรัพยากรในงานมีทั้งอิทธิพลทางตรงต่อภาวะหมดไฟของพนักงานและอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะหมดไฟผ่านความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ทรัพยากรในงานงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการมีส่วนร่วมในงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการมีส่วนร่วมในงานผ่านความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ


การให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว, ภุมเรศ ภูผา Jan 2022

การให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว, ภุมเรศ ภูผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของการให้อภัยตนเองในเยาวชนผู้กระทำผิด และศึกษาอิทธิพลของการให้อภัยตนเองต่อความสุขเชิงอัตวิสัย ในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนผู้กระทำผิดที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 1,031 คน และ เยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว จำนวน 120 คู่ เก็บข้อมูลโดยการให้เยาวชนตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และการสอบถามครอบครัวทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสมการโครงสร้างผ่านโปรแกรมลิสเรล (LISREL) และวิเคราะห์แบบจำลองรายคู่แบบไขว้โดยใช้การวิเคราะห์แบบ The Actor-Partner Interdependence Model ผลการศึกษาพบว่าโมเดลการให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดที่ประกอบด้วยการตำหนิตนเองและผู้อื่น การรับรู้ความรุนแรงของการกระทำผิด ความรู้สึกผิด ความละอาย ความเข้าใจอย่างร่วมรู้สึก พฤติกรรมเชิงประนีประนอม และการรับรู้การอภัยจากผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 =68.84, df =53, p = 0.071, GFI = 0.992, AGFI = 0.979, RMR = 0.0257, RMSEA = 0.0170) ตัวแปรทั้งหมดในสมการสามารถอธิบายความแปรปรวนของการให้อภัยตนเองได้ร้อยละ 41 โดยเยาวชนที่มีคะแนนการตำหนิตนเองและผู้อื่นสูง ร่วมกับมีความละอายใจสูง มีความเข้าใจร่วมรู้สึกต่ำ ไม่มีพฤติกรรมเชิงประนีประนอม และไม่ได้ได้รับการอภัยจากผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบ จะมีการให้อภัยตนเองต่ำ (ค่าอิทธิพลเท่ากับ -.09, p <.001) ส่วนแบบจำลองรายคู่แบบไขว้อิทธิพลของการให้อภัยตนเองต่อความสุขเชิงอัตวิสัย ในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 15.627, df =11, p = 0.156, GFI = 0.972, AGFI = 0.872, RMR = 0.042, RMSEA = 0.059) ตัวแปรในโมเดลคือการให้อภัยตนเองในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว สามารถอธิบายความแปรปรวนความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดได้ ร้อยละ 87.4 และอธิบายความแปรปรวนความสุขเชิงอัตวิสัยของครอบครัว ร้อยละ 84 โดยอิทธิพลร่วม (Interdependent effects) ระหว่างการให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในส่วนอิทธิพลทางตรง (Actor effects) ทั้งการให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว ต่างมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (b = 0.59 และ 0.25 p<.01 ตามลำดับ) ด้านอิทธิพลไขว้ (Partner effect) การให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (b = 0.60 p<.01) และทำนองเดียวกันการให้อภัยตนเองของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (b = 0.28 p<.05)


ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ เพื่อน และอัตลักษณ์ทางอาชีพโดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน, อรรัชดา เตชะสกลกิจกูร Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ เพื่อน และอัตลักษณ์ทางอาชีพโดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน, อรรัชดา เตชะสกลกิจกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อน และอัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหาและการตกลงยึดมั่น โดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือผู้ใหญ่วัยเริ่มที่มีอายุระหว่าง 22-30 ปี จำนวน 151 คน จากการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านในความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่และอัตลักษณ์ทางอาชีพทั้งด้านการค้นหา (β = .08, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [-.006, .045]) และการตกลงยึดมั่น (β = .09, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [-.012, .072]) แต่เป็นตัวแปรส่งผ่านในความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนและอัตลักษณ์ทางอาชีพทั้งด้านการค้นหา (β = .13, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.015, .086]) และการตกลงยึดมั่น (β = .16, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.013, .134]) อีกทั้งการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่ (β = .25, p < .001) และการได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อน (β = .16, p < .05) มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหา ในขณะที่การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการตกลงยึดมั่น (β = .30, p < .001) แต่การได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่ออัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการตกลงยึดมั่น (β = -.10, p > .05) แสดงให้เห็นว่า เมื่อบุคคลได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากพ่อแม่จะส่งผลทางตรงให้บุคคลสนใจในการค้นหาอาชีพและตกลงยึดมั่นกับอาชีพเพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเกิดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพก่อน ในขณะเดียวกัน เมื่อบุคคลได้รับการสนับสนุนทางด้านอาชีพจากเพื่อนจะส่งผลให้บุคคลพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลือกอาชีพ และส่งผลต่อเนื่องให้บุคคลเกิดอัตลักษณ์ทางอาชีพด้านการค้นหาและการตกลงยึดมั่น


การชี้นำการอ้างอิงแหล่งควบคุมในบุคคลที่มีลักษณะการอ้างอิงแหล่งควบคุมที่แตกต่างกันเพื่อลดพฤติกรรมการอู้งานในกลุ่ม, ภรัณยู โรจนสโรช Jan 2022

การชี้นำการอ้างอิงแหล่งควบคุมในบุคคลที่มีลักษณะการอ้างอิงแหล่งควบคุมที่แตกต่างกันเพื่อลดพฤติกรรมการอู้งานในกลุ่ม, ภรัณยู โรจนสโรช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการชี้นำการอ้างอิงแหล่งควบคุมในบุคคลที่มีลักษณะการอ้างอิงแหล่งควบคุมที่แตกต่างกันเพื่อลดพฤติกรรมการอู้งานในการทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตปริญญาตรีอายุ 18 – 24 ปี จำนวน 171 คน การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Factorial 2X2 (ลักษณะการอ้างอิงแหล่งควบคุม X การชี้นำการอ้างอิงแหล่งควบคุมภายใน) ในลักษณะของการศึกษาแบบกึ่งการทดลองผ่านออนไลน์ โดยมีพฤติกรรมการอู้งานเป็นตัวแปรตาม งานวิจัยมีการเก็บข้อมูลแบ่งเป็นสองช่วงตอนการศึกษา โดยช่วงตอนแรกจะเป็นการทำแบบสอบถามผ่าน Google Form เป็นมาตรวัดลักษณะการอ้างอิงแหล่งควบคุม (เพื่อแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะการอ้างอิงแหล่งควบคุมภายใน และภายนอก) จากนั้นจะมีการนัดหมายผู้เข้าร่วมการวิจัยมาเข้าร่วมในช่วงตอนที่สองผ่าน Zoom Meeting เพื่อสุ่มเข้าเงื่อนไขจัดกระทำเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง (เงื่อนไขชี้นำการอ้างอิงแหล่งควบคุมภายใน หรือเงื่อนไขควบคุม) จากนั้นทำการวัดพฤติกรรมการอู้งานโดยให้ผู้เข้าร่วมทำงานระดมความคิดออนไลน์ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วผู้วิจัยทำการอธิบายจุดประสงค์ที่แท้จริงให้แก่ผู้เข้าร่วมการวิจัยฟัง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการอ้างอิงแหล่งควบคุมและการชี้นำการอ้างอิงแหล่งควบคุมไม่มีปฏิสัมพันธ์กันต่อพฤติกรรมการอู้งาน อีกทั้ง 2 ตัวแปรดังกล่าวยังไม่มีอิทธิพลหลักต่อพฤติกรรมการอู้งานอย่างมีระดับนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยกลับพบว่าตัวแปรเพศมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอู้งานในงานวิจัยนี้ เนื่องจากผู้เข้าร่วมการวิจัยเพศชายมีแนวโมที่จะมีแรงจูงใจในการทำงานระดมความคิดออนไลน์ (คิดการใช้งานของมีด) มากกว่าเพศหญิง เป็นข้อค้นพบว่าตัวแปรเพศนั้นสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอู้งานได้เช่นกัน หากงานดังกล่าวเป็นประเภทงานที่ผู้ชายกับผู้หญิงมีแรงจูงใจในการทำต่างกัน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งการทดลองในลักษณะทำผ่านออนไลน์ อาจทำให้มีข้อจำกัด จึงต้องการการศึกษาต่อยอดในอนาคตต่อไป


ประสบการณ์การผสมผสานอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษามืออาชีพ, วรัทธน์ ปัญญาทิยกุล Jan 2022

ประสบการณ์การผสมผสานอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษามืออาชีพ, วรัทธน์ ปัญญาทิยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวปรากฏการณ์วิทยา​ เพื่อศึกษาประสบการณ์ผสมผสานอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษามืออาชีพ โดยทําการเก็บรวบรวม ข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์นักจิตวิทยาการปรึกษามืออาชีพที่มีประสบการณ์ทํางานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี จํานวนทั้งสิ้น 7 คน ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของการทําวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบ Theme analysis ผลจากการวิจัยทําให้เห็นว่า​ประสบการณ์ผสมผสานอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการ ปรึกษามืออาชีพสามารถสรุปออกมาได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.​ แนวทางในการพัฒนาอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นการสรุปถึงวิธีการหรือแนวทางต่าง ๆ ที่นักจิตวิทยาการปรึกษาใช้ในการพัฒนาอัตลักษณ์ และ 2.​ อัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของนักจิตวิทยาการปรึกษา ซึ่งเป็นการสรุปถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทั้งอัตลักษณ์ทางวิชาชีพและอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของนักจิตวิทยาการปรึกษา​ โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ข้างต้นนั้นช่วยให้เราเห็นพลวัตที่เกิดขึ้นกับอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษา เห็นถึงเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาอัตลักษณ์ รวมถึงทําให้เราเห็นถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างพัฒนาการทางวิชาชีพและพัฒนาการของอัตลักษณ์ในนักจิตวิทยาการปรึกษา ทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ต่อพัฒนาการของอัตลักษณ์ในนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ลึกซึ้งมากขึ้น


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้หญิง, ตะวันนา โกเมนธรรมโสภณ Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้หญิง, ตะวันนา โกเมนธรรมโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้หญิงแต่งงานแล้ว ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้หญิง จำนวน 160 คน ที่มีอายุ 40–60 ปี มีสถานะแต่งงานแล้วหรือมีการใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยาเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ซึ่งประเมินการมีลูก รูปแบบความผูกพันแบบวิตกกังวล รูปแบบความผูกพันแบบหลีกหนี บทบาททางเพศ ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ระยะเวลาในการใช้ชีวิตสมรส ประเภทของครอบครัว การรับรู้การตอบสนองของคู่สัมพันธ์ และความพึงพอใจในชีวิตสมรส จากผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ร้อยละ 39.10 (R2 = 0.391) ของความพึงพอใจในชีวิตสมรสสามารถอธิบายได้ด้วย การรับรู้การตอบสนองของคู่สัมพันธ์ (B = 2.179) และรูปแบบความผูกพันแบบหลีกหนี (B = -1.095) จากการศึกษา สามารถอธิบายได้ว่า ความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้หญิงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ของผู้หญิงที่มีต่อการตอบสนองของคู่สัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับรูปแบบความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้หญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


Testing Of A New Job Crafting Measure And Intervention To Enhance Thai Healthcare Professionals' Motivation, Work Engagement And, Job Performance, Pichaya Rochanadumrongkul Jan 2021

Testing Of A New Job Crafting Measure And Intervention To Enhance Thai Healthcare Professionals' Motivation, Work Engagement And, Job Performance, Pichaya Rochanadumrongkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present research consisted of two studies. In Study I, the objective was to develop and validate the job crafting measure in related to the levels of motivation, work engagement and job performance in Thai healthcare professionals using structured interview and structure equation model (SEM). Qualitative method using the interview (N = 20) was employed to extract employees’ experiences of crafting their job and explore additional dimension of job crafting. The results of the interview revealed an additional dimension of job crafting namely "humor” for Thai Job Crafting Behavior scale (Thai JCB) (physical crafting, relational crafting, cognitive crafting and humor). …


อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรัก และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม, ชนาฎา เคหะทัต Jan 2021

อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรัก และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม, ชนาฎา เคหะทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คู่รักที่คบหากันเป็นเวลานานมักเผชิญกับปัญหาความเบื่อหน่ายในความสัมพันธ์ และพบว่าคุณภาพของความสัมพันธ์มักลดถอยลงเมื่อเวลาผ่านไป โมเดลการขยายตัวตนให้หลักฐานว่าการทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นร่วมกับคนรักช่วยส่งเสริมคุณภาพและความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ โดยความน่าตื่นเต้นเป็นกลไกที่ทำให้คู่รักได้รับผลดีจากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งช่วยให้ความสัมพันธ์สดใหม่และลดความเบื่อหน่ายได้ อีกทั้งพบว่าแรงจูงใจแบบเข้าหา (การทำกิจกรรมโดยมุ่งเน้นผลดี) และแรงจูงใจในการขยายตัวตน (ความชอบความแปลกใหม่) ยังกระตุ้นให้บุคคลแสวงหาการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้น แม้การศึกษาก่อนหน้าพบว่าแรงจูงใจทั้งสองเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความน่าตื่นเต้นของการทำกิจกรรมร่วมกับคนรักได้ แต่ยังขาดการศึกษาเชิงทดลองและการศึกษาถึงประเด็นดังกล่าวยังมีน้อย ผู้วิจัยออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของแรงจูงใจเข้าหาแบบต่างๆ และแรงจูงใจในการขยายตัวตน ที่มีต่อระดับความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม ผู้เข้าร่วมการวิจัย (n = 131) ทำแบบสอบถามออนไลน์ ตอบมาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ มาตรวัดแรงจูงใจในการขยายตัวตน จากนั้นถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการชี้นำแรงจูงใจแบบเข้าหาในการทำกิจกรรมร่วมกับคนรักที่มุ่งเน้นผลดีต่อความสัมพันธ์ ต่อคนรัก หรือต่อตนเอง โดยเขียนถึงกิจกรรมใหม่อะไรก็ได้ที่อยากทำกับคนรัก ตอบคำถามตรวจสอบผลการจัดกระทำ และตอบมาตรวัดความน่าตื่นเต้นของกิจกรรม หลังจากนั้นถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขอีกครั้ง แต่อาจเป็นเงื่อนไขเดียวกับครั้งแรกหรือไม่ก็ได้ โดยครั้งนี้เขียนถึงการไปเที่ยวประเทศที่ไม่เคยไปด้วยกัน ตอบคำถามตรวจสอบผลการจัดกระทำและตอบมาตรวัดความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมอีกครั้ง ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยแบบลำดับขั้น ไม่พบว่าประเภทของแรงจูงใจเข้าหามีผลให้ความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมแตกต่างกัน โดยไม่ว่าบุคคลจะใช้แรงจูงใจแบบเข้าประเภทใดก็ตามก็มีผลให้กิจกรรมมีความน่าตื่นเต้นอยู่ในระดับสูง และพบอิทธิพลทางบวกของแรงจูงใจในการขยายตัวตนต่อความน่าตื่นเต้นของกิจกรรมที่ผู้ร่วมวิจัยเลือกเองโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะการเที่ยวต่างประเทศ กล่าวคือบุคคลที่มีแรงจูงใจในการขยายตัวตนในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะทำกิจกรรมที่มีความน่าตื่นเต้นสูง ผลที่พบเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความสัมพันธ์ในคู่รักผ่านการนำแรงจูงใจแบบเข้าหาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมให้บุคคลมีแรงจูงใจในการขยายตัวตนหรือทำสิ่งใหม่ ๆ ร่วมกันยังเป็นอีกปัจจัยที่นำไปสู่การทำกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นมากขึ้น และการหมั่นทำกิจกรรมที่มีความน่าตื่นเต้นร่วมกับคนรัก ซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษาความสัมพันธ์และกระตุ้นให้ความสัมพันธ์ยังสดใหม่ในระยะยาว


อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ต่อความเพลินในงาน, นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์ Jan 2021

อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทาง ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ต่อความเพลินในงาน, นัทชนันท์ แทนวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเพลินในงานเป็นสภาวะเชิงบวกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลจดจ่อกับงานอย่างลึกซึ้ง รู้สึกเพลิดเพลินและมีแรงจูงใจที่จะทำงานนั้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดความเพลินในงานภายใต้ทฤษฎีข้อเรียกร้องในงานและทรัพยากรในงาน โดยทดสอบอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงาน และการใช้จุดแข็ง ที่มีต่อความเพลินในงาน โดยกำหนดสมมติฐานว่า ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงานจะมีความแตกต่างกันระหว่างการใช้จุดแข็งในระดับสูงและต่ำ ณ ระดับความมีอิสระในการทำงานสูง จากการศึกษาพนักงานบริษัทเอกชนในประเทศไทยจำนวน 222 คนด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้นพบว่า (1) ความมีอิสระในการทำงานด้านการตัดสินใจมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงาน (β = -.20, p < .05, f2 = .02) (2) ความมีอิสระในการทำงานด้านการกำหนดวิธีการทำงานมีอิทธิพลกำกับทางบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงาน (β = .22, p < .05, f2 = .02) และ (3) ปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทาย ความมีอิสระในการทำงานด้านการตัดสินใจ และการใช้จุดแข็ง มีอิทธิพลต่อความเพลินในงาน (β = -.31, p < .05, f2 = .03) โดยพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายและความเพลินในงานเมื่อมีการใช้จุดแข็งสูง ณ ระดับความมีอิสระในการทำงานต่ำ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่พบนี้ไม่สอดคล้องกับทิศทางของสมมติฐาน จึงสรุปได้ว่า การใช้จุดแข็งเป็นทรัพยากรในงานที่พนักงานที่มีอิสระในการตัดสินใจต่ำสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความเพลินในงานมากขึ้น เมื่อเผชิญกับข้อเรียกร้องในงานที่ท้าทายในระดับสูง


ความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับการแสดงความเห็นและความเงียบของพนักงานโดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ, สริตา วรวิทย์อุดมสุข Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับการแสดงความเห็นและความเงียบของพนักงานโดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ, สริตา วรวิทย์อุดมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน หลายองค์การให้ความสำคัญกับการบริหารงานแบบล่างขึ้นบนที่สนับสนุนให้พนักงานแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาองค์การ งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถ่อมตนของผู้นำกับพฤติกรรมแสดงความเห็นและพฤติกรรมเงียบของพนักงาน โดยมีความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความกล้าหาญของผู้นำเป็นตัวแปรกำกับ ผู้วิจัยศึกษาพฤติกรรมแสดงความเห็นโดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ การพูดพร้อมคำแนะนำและการพูดเกี่ยวกับข้อกังวล และศึกษาพฤติกรรมเงียบโดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ การเงียบเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและการเงียบเพราะเชื่อว่าเสียงของตนเองไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 210 คนที่เป็นพนักงานประจำในบริษัทเอกชนในประเทศไทยที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 100 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิเคราะห์โดยใช้ PROCESS ในโปรแกรม SPSS พบว่า ความถ่อมตนของผู้นำมีอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมแสดงความเห็นรูปแบบการพูดพร้อมคำแนะนำและพฤติกรรมเงียบทั้งสองรูปแบบ ความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ทางบวกระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมการพูดพร้อมคำแนะนำ และความปลอดภัยทางจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ทางลบระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมเงียบเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง ความปลอดภัยทางจิตใจยังเป็นตัวแปรส่งผ่านเพียงบางส่วนทางลบระหว่างความถ่อมตนของผู้นำไปยังพฤติกรรมเงียบที่เชื่อว่าเสียงของตนเองไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามผลการวิจัยไม่พบว่าความกล้าหาญของผู้นำแสดงอิทธิพลกำกับในความสัมพันธ์ดังกล่าว องค์ความรู้นี้เสนอแนะถึงความสำคัญของการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีความถ่อมตนเพื่อสนับสนุนให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจเพื่อที่จะกล้าแสดงความเห็นและลดพฤติกรรมเงียบ


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจกับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, กฤตยา จรัสพรธัญญา Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจกับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, กฤตยา จรัสพรธัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สร้างความท้าทายต่อการปรับตัวทางอาชีพแก่บุคลากร งานวิจัยที่ผ่านมาพบความสำคัญของภาวะผู้นำของหัวหน้าและการรับรู้ความงอกงามในงานของพนักงาน มีส่วนผลักดันให้บุคลากรนำทรัพยากรทางจิตเชิงบวกของตน มาพัฒนาเป็นความสามารถในการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในสายอาชีพ โดยเฉพาะพนักงานในกลุ่มสายงานบริการ ซึ่งมีหน้าที่ลำดับแรกคือปฏิสัมพันธ์กับผู้มาขอรับบริการ ที่มีความต้องการหลากหลาย จึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับวิธีการทำงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมอำนาจ กับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ โดยมีความงอกงามในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์จากพนักงานในสายงานบริการ เช่น นักการตลาดและพนักงานไอที ที่ปฏิบัติงานในองค์การภาคเอกชนในประเทศไทย จำนวน 241 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอย พบว่า ภาวะผู้นำทำนายความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพในเชิงบวก (β = .28, p < .001) ผ่านตัวแปรความงอกงามในงานซึ่งเป็นการส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) (effect = .19, se = .06, 95% CI: .09, .32) ผลการวิจัยเผยให้เห็นว่า หัวหน้างานที่เน้นให้อำนาจการตัดสินใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน จะช่วยให้เกิดความงอกงามในงาน รับรู้ถึงพลังชีวิตและการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ ดังนั้นเพื่อให้พนักงานในสายงานบริการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอาชีพ องค์การควรส่งเสริมให้พนักงานมีความงอกงามในงาน ผ่านการพัฒนารูปแบบผู้นำแบบเสริมอำนาจในกลุ่มหัวหน้างาน


Fear Appeals For Increasing Intentions To Have Colorectal Cancer Screening Among High-Risk Adults: Moderating Role Of Tripartite Self-Construal, Suprapa Sa-Ngasri Jan 2021

Fear Appeals For Increasing Intentions To Have Colorectal Cancer Screening Among High-Risk Adults: Moderating Role Of Tripartite Self-Construal, Suprapa Sa-Ngasri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Colorectal cancer (CRC) is considered a threat to life. Early detection is key to effective treatment. Fear appeal is one of the most famous techniques to persuade people to uptake CRC screening. This current study attempted to replicate the congruent effect of cultural orientation at an individual level and fear message types. A 3 (self-construal) x 2 (self-threatened versus family-threatened) factorial research design was employed to examine the effect of tripartite self-construal and the types of fear message on the perceived threat, feelings of fear, attitude and intention toward CRC screening among Thais. One hundred and thirty-three adults aged between …