Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Political Science

PDF

Chulalongkorn University

2019

Articles 1 - 30 of 43

Full-Text Articles in Entire DC Network

ข้อถกเถียงทางการเมืองในประเด็นการแต่งงานของคนเพศเดียวกันในแคนาดา, ธันยธรณ์ วัลไพจิตร Jan 2019

ข้อถกเถียงทางการเมืองในประเด็นการแต่งงานของคนเพศเดียวกันในแคนาดา, ธันยธรณ์ วัลไพจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสังคมโลกเริ่มตื่นตัวในเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมตามแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกันมากขึ้นในหลายประเด็น สิทธิความเท่าเทียมกันในเรื่องของการแต่งงานเป็นหนึ่งประเด็นที่หลายประเทศที่เป็นประเทศเสรีนิยมให้ความสนใจ ซึ่งตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาการแต่งงานของคนเพศเดียวกันกลายเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมใหม่ที่เป็นแนวโน้มระหว่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศฝั่งตะวันตก ซึ่งการที่จะสามารถแต่งงานกันได้นั้นจะต้องได้มีกฎหมายที่เอื้อให้บุคคคลกลุ่มนี้สามารถแต่งงานได้ ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่เปิดเสรีและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นเป็นประเทศแรก ๆ ในเวทีระหว่างประเทศที่มีการอนุญาตให้บุคคลที่มีเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ ซึ่งมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการแต่งงานที่ให้คำจำกัดความของคำว่าการแต่งงานจากที่ระบุว่า “ผู้ชาย” และ “ผู้หญิง” กลายเป็น “บุคคลสองคน” แทน อย่างไรก็ดีกระบวนการในการแก้ไขข้อกฎหมายล้วนแล้วต้องผ่านการพิจารณาซึ่งต้องมีผู้ที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบและทั้งในรัฐสภาและในภาคประชาสังคม ความท้าทายเหล่านี้นำไปสู่ข้อถกเถียงทางการเมืองในประเด็นดังกล่าว สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงประเด็นการถกเถียงกันในเรื่องความเท่าเทียมกันของการแต่งงานโดยศึกษาในเรื่องของการตีความสิทธิมนุษยชนที่เป็นภาษาด้านศีลธรรมระหว่างประเทศผ่านมุมมองเรื่องสิทธิของกลุ่มที่สนับสนุนและต่อต้านกฎหมายการแต่งงานของคนเพศเดียวกันของแคนาดา และเพื่อศึกษาถึงหลักหรือแนวคิดของการถกเถียงระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานระหว่างผู้ที่มีเพศเดียวกัน โดยในการศึกษาได้นำกรอบแนวคิดทางสิทธิมนุษยชนที่สิทธิมนุษยชนถูกตีความได้ในหลายแง่มุมมองของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มคน มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ถึงข้อถกเถียงของกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มผู้ที่ต่อต้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ที่มุ่งประเด็นเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศในเรื่องการแต่งงาน โดยเฉพาะการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันคือกลุ่ม LGBT โดยศึกษาจากมุมมองของตัวแทนของทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ต่อต้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน และนำมาวิเคราะห์และอธิบายเชิงพรรณนา การศึกษาค้นคว้าสารนิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาจากเอกสารในรูปแบบทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมายการแต่งงานของแคนาดา หนังสือ บทความทางวิชาการ เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับแคนาดาที่มีรัฐบาลแคนาดาสนับสนุน เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา จากการศึกษาพบว่า ประการแรก การถกเถียงในเรื่องการแต่งงานของคนเพศเดียวกันอยู่ในประเด็นเรื่องสิทธิและฐานความคิดของตัวแสดงทั้งในรัฐสภาและประชาสังคมนั้นกลุ่มผู้สนับสนุนและผู้ที่ต่อต้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกันเป็นเรื่องของการมองและตีความสิทธิที่แต่กต่างกัน ผู้ที่สนับสนุนในรัฐสภาคือพรรคเสรีนิยม ส่วนภาคประชาสังคมได้แก่ ผู้ที่เรียกร้องสิทธิการแต่งงานคือคู่รักร่วมเพศ และโบสถ์ในชุมชนเมืองโตรอนโตโดยใช้ภาษาสิทธิมนุษยชนว่าเป็นเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล ส่วนผู้ที่ต่อต้านในรัฐสภาคือพรรคเสรีนิยมและในภาคประชาสังคมคือสมาคมเพื่อการแต่งงานและครอบครัวเมืองออนแทรีโอ โดยใช้ภาษาทางสิทธิมนุษยชนว่าเป็นเรื่องของสิทธิครอบครัวที่ควรสงวนการแต่งงานให้เฉพาะผู้หญิงและผู้ชายเท่านั้นเพราะครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม รวมถึงสิทธิเด็กที่ควรจะได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาที่เป็นเพศชายและหญิงด้วย ประการที่สอง รัฐบาลพยายามผลักดันให้ผู้ที่มีเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ เพราะรัฐบาลต้องการที่จะเข้ามามีบทบาทเพื่อจัดระเบียบพฤติกรรมของกลุ่ม LGBT ให้อยู่ภายใต้บรรทัดฐานการรักร่วมเพศ หรือ Homonormativity ซึ่งเป็นความพยายามที่จะให้กลุ่ม LGBT เป็นคนปกติที่จะสามารถแต่งงานกันโดยการรับการรับรองของกฎหมายที่ผู้ที่เป็นกลุ่ม LGBT ที่ต้องการที่จะแต่งงานจึงจำเป็นต้องทำตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของรัฐบาล ประการสุดท้าย ตัวแสดงในรัฐสภาและภาคประชาสังคมถึงแม้ว่าจะมีแนวคิดส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่ในระดับปัจเจกบุคคลล้วนแล้วแต่มีมุมมองทางสิทธิมนุษยชนและใช้ภาษาทางสิทธิมนายชนตามมุมมองของตนเองได้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มเสรีนิยมเพียงฝ่ายเดียวแต่กลายมาเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาอำนาจทางการเมืองโดยฝ่ายอนุรักษ์นิยมในยุคปัจจุบันเช่นกัน


แนวทางการขยายอิทธิพลของจีน : กรณีศึกษาธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank), ตนุภัทร อักษรทอง Jan 2019

แนวทางการขยายอิทธิพลของจีน : กรณีศึกษาธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank), ตนุภัทร อักษรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการขยายอิทธิพลและบทบาทการนําของจีนในเวทีระหว่าง ประเทศในการก่อตั้งธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank - AIIB) โดยพิจารณาผ่านคําอธิบายในทฤษฎีสัจนิยมใหม่ (neorealism) ของเคนเน็ธ เอ็น วอลทซ์ (Kenneth N. Waltz) สารนิพนธ์มีข้อเสนอว่า รัฐที่เปลี่ยนสถานะก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมหาอํานาจจะหาทางขยายอิทธิพลระหว่างประเทศออกไป โดยแนวทางหนึ่งที่สําคัญได้แก่การสร้างกลไกเชิงสถาบันเพื่อรองรับการตอบสนองผลประโยชน์ของตนได้มากขึ้น วอลทซ์อธิบายว่าโครงสร้างของระบบระหว่างประเทศจะผลักดันรัฐต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอยู่ในระบบด้วยกระบวนการอบรมกล่อมเกลา (socialization) ส่งผลให้รัฐนั้นเรียนรู้และเลียนแบบจากตัวแบบความสําเร็จของรัฐที่เป็นมหาอํานาจอยู่ก่อนแล้ว ทั้งแนวทางการขยายอิทธิพลและการสร้างกลไกเชิงสถาบันในลักษณะเดียวกันขึ้นมา สารนิพนธ์มีข้อค้นพบสอดคล้องกับข้อเสนอในทฤษฎีของ Waltz ข้างต้นว่า การจัดตั้งธนาคาร AIIB ของจีน เป็นแนวทางที่จีนใช้ขยายอิทธิพลระหว่างประเทศ โดยใช้ธนาคาร AIIB เป็นกลไกสร้างบทบาทการนําในเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ระดมและประสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศอื่น และออกแบบโครงสร้างการบริหารธนาคารที่ทําให้จีนมีอํานาจควบคุมทิศทางการดําเนินงานของ AIIB ใกล้เคียงกับตัวแบบธนาคารโลกที่สหรัฐอเมริกาเคยทําสําเร็จมาแล้ว อย่างไรก็ดี สารนิพนธ์พบข้อจํากัดในคําอธิบายของ Waltz เช่นกัน นั่นคือทฤษฎีของ Waltz เป็นทฤษฎีระดับโครงสร้างระหว่างประเทศ ไม่ได้ให้ความสําคัญแก่ลักษณะของการเมือง การปกครองภายใน รวมทั้ง ค่านิยม อุดมการณ์ ซึ่งปัจจัย ภายในเหล่านี้จะเป็นตัวจํากัดว่าการเลียนแบบจากตัวแบบความสําเร็จที่ประเทศหนึ่งทําไว้ ประเทศที่เลียนแบบไม่สามารถ ถอดแบบออกมาให้เหมือนกันได้ทั้งหมด แม้ว่าธนาคาร AIIB จัดโครงสร้างการบริหารองค์กรใกล้เคียงกับธนาคารโลกอย่างมาก แต่เป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานของ AIIB กับของธนาคารโลกไม่เหมือนกัน และสารนิพนธ์ได้ข้อสรุปว่า ลักษณะการเมืองภายในของมหาอํานาจมีความสัมพันธ์กับแนวทางของรัฐในการขยายอิทธิพล


สายใยร้อยรัดสิงคโปร์และมาเลเซีย: ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง นับแต่ ค.ศ. 2000, ชนัญชิดา สอนดี Jan 2019

สายใยร้อยรัดสิงคโปร์และมาเลเซีย: ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง นับแต่ ค.ศ. 2000, ชนัญชิดา สอนดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างสิงคโปร์และมาเลเซียนับตั้งแต่ ค.ศ.2000 อันเป็นช่วงเวลาที่ทั้งสองประเทศเพิ่งประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย และปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติที่คุกคามความมั่นคงของทั้งสองประเทศ งานศึกษานี้ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีที่แนบแน่นระหว่างสองประเทศในระดับที่ขึ้นต่อกันและกัน ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นนี้เกิดขึ้นทั้งในระดับระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ระหว่างกลุ่มธุรกิจ และระหว่างประชาชนกับประชาชน ความร่วมมือระหว่างสองประเทศจึงสำคัญต่อผลประโยชน์แห่งชาติอย่างยิ่ง ฉะนั้น แม้ว่าสองประเทศนี้มีความขัดแย้งและความตึงเครียดระหว่างกันบ่อยครั้ง แต่ความขัดแย้งและความตึงเครียดก็ถูกจำกัด หรือแก้ไขด้วยกลไกระหว่างประเทศที่ดำรงอยู่ เพื่อให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายจนกระทบต่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย


บทบาทของกองทัพอากาศไทยในปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามศึกษากรณีการปฏิบัติการดับไฟป่า, ณัฐพล นิสยันต์ Jan 2019

บทบาทของกองทัพอากาศไทยในปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามศึกษากรณีการปฏิบัติการดับไฟป่า, ณัฐพล นิสยันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทของกองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม เนื่องจากในสถานการณ์โลกปัจจุบันได้มีภัยคุกคามในรูปแบบใหม่มากขึ้นและกองทัพอากาศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และกองทัพอากาศไทยเป็นหน่วยงานที่มีกำลังบุคคลและอุปกรณ์ในการช่วยเหลือจึงต้องปรับบทบาทขององค์กรเพื่อให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะศึกษามุ่งเน้นไปยังกรณีการดับไฟป่า การศึกษาพบว่ากองทัพอากาศได้มีบทบาทในการดับไฟป่าอย่างมาก เนื่องจากการดับไฟป่าต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพราะไฟป่าสามารถลุกลามสร้างความเสียหายทำลายพื้นที่ทั้งป่าและบ้านเรือนของประชาชนได้ในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้นไฟป่ายังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งกองทัพอากาศในภาวะปกติต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาความสามารถ ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ให้สามารถบริหารจัดการวิกฤตการณ์และภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การศึกษายังได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่าปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือในการดับไฟป่าได้มีวิวัฒนาการที่ทันสมัย และสามารถใช้เพื่อปฏิบัติการดับไฟป่าได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งหากกองทัพอากาศไทยนำอุปกรณ์เครื่องมือเหล่านี้มาใช้ก็จะทำให้สามารถดำเนินการดับไฟป่าได้เร็วยิ่งขึ้น


ตำรวจกับอาชญากรรมข้ามชาติ: ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงมาตรการของตำรวจในการจัดการกับปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศไทย, เกียรติศักดิ์ เพชรพิมานสมุทร Jan 2019

ตำรวจกับอาชญากรรมข้ามชาติ: ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงมาตรการของตำรวจในการจัดการกับปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศไทย, เกียรติศักดิ์ เพชรพิมานสมุทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางสำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการพัฒนา ระบบการประสานงานเพื่อจัดการปัญหาการสวมบัตรประชาชนและผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อันเป็นหนึ่งในปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในของไทย และลักษณะของปัญหามีความซับซ้อนสูง สารนิพนธ์คำนึงถึงทั้งกระบวนการต้นทางของปัญหาความมั่นคงภายในดังกล่าว คือการที่กลุ่มอาชญากรรมใช้ช่องว่างทางกฎหมายและการทุจริตเพื่อลักลอบสวมบัตรประชาชน และในขั้นปลายทาง ทั้งที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากการสวมบัตรและการลักลอบเข้าเมือง ได้แก่ ผู้ดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายและกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ และผู้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มอาชญากรรมดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการของรัฐในการป้องกัน สืบสวน และปราบปราม ผู้กระทำความผิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการกับปัญหาในลักษณะเช่นนี้ต้องอาศัยการกำหนดมาตรการในการปฏิบัติและการประสานงานสำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถเป็นผู้รับผิดชอบเพียงลำพังได้ การศึกษาทั้งจากเอกสารคู่มือปฏิบัติงาน และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง สารนิพนธ์มีข้อเสนอว่า เครื่องมือที่จะช่วยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปรับการจัดการปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติดังกล่าวได้อย่างสมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นมาตรฐาน โดยยึดแนวทางสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ หนึ่ง การสร้างมาตรฐานการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน (Standard Operating Procedures: SOPs) เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันปราบปรามและสืบสวนสอบสวน และ สอง การกำหนดแนวทางบูรณาการประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (Inter- agency coordination) ในทุกขั้นตอน ประโยชน์ของคู่มือนี้นอกจากจะช่วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติหลีกเลี่ยงการเมืองในระบบราชการอันเกิดจากปัญหาข้อขัดแย้งกับหน่วยงานของส่วนราชการอื่นเกี่ยวกับภารกิจหน้าที่และงบประมาณทรัพยากรแล้ว คู่มือดังกล่าวยังเป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานราชการไทย ที่มีหน้าที่ดูแลปัญหาความมั่นคงข้ามชาติเพื่อรับมือกับปัญหาได้ในระยะยาว รวมถึงสามารถพัฒนาปรับปรุงต่อไปตามบริบทความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย


นโยบาย "3 ไม่" ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019, ชภาภัทร โสตถิอนันต์ Jan 2019

นโยบาย "3 ไม่" ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019, ชภาภัทร โสตถิอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การมีภัยคุกคามและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกันในทะเลจีนใต้ของเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนในความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่เวียดนามยืนยันไม่เป็นพันธมิตรทางการทหารกับสหรัฐฯ เพื่อร่วมกันต่อต้านจีนโดยยึดนโยบาย “3 ไม่”กล่าวคือ ไม่เป็นพันธมิตรทางทหาร ไม่ให้ตั้งฐานทัพต่างชาติในประเทศ และไม่ร่วมมือกับรัฐหนึ่งเพื่อต่อต้านรัฐอื่น นโยบาย 3 ไม่จึงเป็นเครื่องมือในการรักษาความสัมพันธ์กับจีนควบคู่ไปกับพัฒนาความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษานโยบาย “3 ไม่” ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องพันธมิตรทางทหารของเคนเน็ต วอลท์เพื่อเสนอว่าการใช้นโยบาย “3 ไม่” ทำให้เวียดนามยังรักษาความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีกับจีนไว้ได้ พร้อม ๆ กับอนุญาตให้เวียดนามสามารถเข้าใกล้สหรัฐฯ ได้มากขึ้นด้วย และยังเป็นนโยบายที่เวียดนามใช้เพื่อป้องกันตนเองจากแรงกดดันและแสวงหาผลประโยชน์จากความสัมพันธ์กับสองมหาอำนาจ ทั้งนี้ แม้เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากขึ้น แต่เวียดนามหลีกเลี่ยงคำและการกระทำที่เข้าข่ายการเป็นพันธมิตรทางทหาร โดยในการสร้างข้อตกลงทางการทหารอย่างไม่เป็นทางการกับสหรัฐฯ เวียดนามพยายามจำกัดให้อยู่ภายในขอบเขตของนิยามความเป็นหุ้นส่วน เพื่อยืนยันว่าตนยังคงยึดมั่นนโยบาย “3 ไม่” อย่างมั่นคง


นโยบายการส่งออกยุทโธปกรณ์ไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการเสริมสร้างความมั่นคงของญี่ปุ่น, แพรวพฤกษ์ จิตสกุลชัยเดช Jan 2019

นโยบายการส่งออกยุทโธปกรณ์ไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการเสริมสร้างความมั่นคงของญี่ปุ่น, แพรวพฤกษ์ จิตสกุลชัยเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุมัติ "หลักสามประการว่าด้วยการถ่ายโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ" ค.ศ. 2014 เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการประกาศแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติโดยรัฐบาลอาเบะ เพื่อผ่อนปรนข้อจำกัดและขยายขอบเขตการส่งออกถ่ายโอนยุทโธปกรณ์ให้สอดรับกับนโยบายสันติภาพเชิงรุก และตอบสนองต่อสภาวการณ์ความมั่นคงปัจจุบัน สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อตอบคำถามว่า การปรับนโยบายการส่งออกยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศของญี่ปุ่นไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการอนุมัติหลักสามประการฯ ค.ศ. 2014 นั้นตอบสนองต่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่นอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า การส่งออกยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นการผสมผสานทั้งการถ่ายโอนแบบให้เปล่าและการเสนอขายตามปกติ ควบคู่ไปกับการกระชับความสัมพันธ์ผ่านโครงการเสริมสร้างศักยภาพ และการแลกเปลี่ยนทางการทหารที่เกี่ยวเนื่องกับยุทโธปกรณ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นนัยยะในการเสริมสร้างความมั่นคงของญี่ปุ่นด้วยการดำเนินนโยบาย "การประกันความเสี่ยง" หรือ Hedging โดยใช้การส่งออกยุทโธปกรณ์เป็นช่องทางหนึ่งในการขยายบทบาททางทหาร และสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศที่มีแนวคิดทางความมั่นคงร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการถ่วงดุลอิทธิพลจีนไม่ให้สั่นคลอนสภาวะที่เป็นอยู่ในภูมิภาค และเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรับมือกับความไม่แน่นอนของพันธมิตรสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น


การดำเนินนโยบายของญี่ปุ่นต่อรัสเซียในยุคชินโซ อาเบะ: ประเด็นศึกษาข้อพิพาทเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น (2012 - 2019), พัชรพร มาลา Jan 2019

การดำเนินนโยบายของญี่ปุ่นต่อรัสเซียในยุคชินโซ อาเบะ: ประเด็นศึกษาข้อพิพาทเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น (2012 - 2019), พัชรพร มาลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการดำเนินนโยบายของญี่ปุ่นต่อรัสเซียในยุคของรัฐบาล ชินโซ อาเบะ ในประเด็นข้อพิพาทเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ระหว่างปี 2012-2019 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และการดำเนินนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นต่อรัสเซีย ในประเด็นข้อพิพาทเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น และวิเคราะห์ถึงแรงจูงใจในการดำเนินนโยบาย เข้าหารัสเซียของรัฐบาลอาเบะ ในปี 2012 – 2019 ผ่านกรอบแนวคิดการถ่วงดุลโดยใช้ไม้อ่อน (Soft balancing) จากการศึกษาพบว่า ในอดีตประเด็นพิพาทเกาะทางตอนเหนือเป็นประเด็นหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซียและยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในความสัมพันธ์มาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามภายใต้บริบทภายในภูมิภาคที่จีนกลายเป็นตัวแสดงสำคัญที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ รัฐบาลอาเบะจึงดำเนินนโยบายเข้าหารัสเซียเพื่อถ่วงดุลอำนาจรวมถึงสกัดกั้นจีนเป็นหลักด้วยการดึงรัสเซียเข้ามาเป็นแนวร่วมในการถ่วงดุลซึ่งเป็นไปในทางอ้อมผ่านแนวทางใหม่ (New Approach) ด้วยการใช้เครื่องมือด้านเศรษฐกิจและการทูตเป็นหลัก และได้ปรับจุดยืนในประเด็นเกาะพิพาททางตอนเหนือจากเดิมที่เคยเป็นประเด็นหลักในความสัมพันธ์ให้กลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญรองลงมาเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์กับรัสเซีย ดังเช่นในอดีต


บทบาทการพิทักษ์ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศในความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์, รัชนีกร พันศิริ Jan 2019

บทบาทการพิทักษ์ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศในความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์, รัชนีกร พันศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ศึกษาบทบาทและข้อจำกัดของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ในด้านการกำกับดูแลและพิทักษ์การปฏิบัติตามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons: NPT) สารนิพนธ์ใช้กรอบวิเคราะห์ปัญหาความร่วมมือระหว่างประเทศในการปฏิบัติตามข้อตกลงตามแนวคิดทฤษฎี Neoliberal Institutionalism และการศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการตรวจสอบของ IAEA ในเกาหลีใต้ อิรัก และอิหร่าน ผลการศึกษายืนยันสมมุติฐานจากทฤษฎี Neoliberal Institutionalism ที่เสนอว่าสถาบันระหว่างประเทศมีบทบาทหน้าที่ที่ขาดไม่ได้ในความร่วมมือระหว่างประเทศ ในกรณี IAEA คือ การช่วยสนับสนุนข้อมูลที่จำเป็นต่อการรักษาความร่วมมือด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศผ่านหลักการ กฎเกณฑ์ กระบวนการ และมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์ของระบอบ NPT การยอมรับอำนาจหน้าที่ในการทํางานของ IAEA ข้างต้นขึ้นอยู่กับความชำนาญและองค์ความรู้ของ IAEA และความร่วมมือจากประเทศสมาชิกที่ IAEA เข้าไปตรวจสอบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการทำงานของ IAEA อย่างไรก็ดีสารนิพนธ์พบว่าปัจจัยทั้ง 2 นั้นยังขึ้นอยู่กับสภาวะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจกับประเทศที่ถูก IAEA ตรวจสอบ ความขัดแย้งอย่างเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างมหาอำนาจกับประเทศที่ถูกตรวจสอบมีแนวโน้มจะสร้างความยุ่งยากให้แก่กระบวนการตรวจสอบและการยอมรับและรับรองรายงานผลการตรวจสอบของ IAEA เพราะแม้ IAEA จะได้รับการจัดตั้งขึ้นตามบทกฎหมายของ IAEA เองอย่างเป็นอิสระจากสหประชาชาติ แต่ IAEA ต้องรายงานการดำเนินการของตนต่อคณะมนตรีความมั่นคงและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ


“ผู้หญิงกับการก่อการร้าย” กรณีศึกษาการก่อการร้ายของสตรีมุสลิมกลุ่มแม่หม้ายดำในสาธารณรัฐเชเชนผ่านทฤษฎีสตรีนิยม, ปฐมพร ผิวนวล Jan 2019

“ผู้หญิงกับการก่อการร้าย” กรณีศึกษาการก่อการร้ายของสตรีมุสลิมกลุ่มแม่หม้ายดำในสาธารณรัฐเชเชนผ่านทฤษฎีสตรีนิยม, ปฐมพร ผิวนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในขณะที่การศึกษาเรื่องการก่อร้ายมักปรากฏภาพผู้ชายเป็นตัวแสดงหลักในฐานะผู้นำกองกำลังและผู้ปฏิบัติการ กรณีศึกษานี้ต้องการนำเสนอภาพของผู้หญิงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาเรื่องการก่อการร้าย โดยเฉพาะกรณีมือระเบิดพลีชีพสตรีมุสลิมกลุ่มแม่หม้ายดำ (Black widow) ในสาธารณรัฐเชเชน สหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อค้นหาคำอธิบายถึงการพลิกบทบาทจากเหยื่อของสงครามมาสู่การเป็นผู้ก่อเหตุความรุนแรง ผ่านกรอบทฤษฎีสตรีนิยมหลังอาณานิคม (Post Colonial Feminism) ที่ผู้เขียนเชื่อว่าสามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมในระดับท้องถิ่น และอธิบายถึงการโต้กลับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะสงครามและการดำรงอยู่ของระบอบชายเป็นใหญ่ในสังคมนอกจากนี้ ผู้เขียนยังต้องการสื่อให้เห็นถึงปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้หญิงในพื้นที่ความขัดแย้งต่างๆ ทั่วโลกที่มีแนวโน้มพลิกบทบาทมาเป็นผู้ก่อการร้ายมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า การใช้ความรุนแรงของรัฐบาลในการปราบปรามชนกลุ่มน้อย กลุ่มแบ่งแยกดินแดน ตลอดจนผู้เห็นต่างทางการเมืองนั้น อาจนำมาสู่การโต้กลับความรุนแรงไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง และสามารถยกระดับเป็นปัญหาก่อการร้าย ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทั้งระดับภายในรัฐและระดับระหว่างประเทศได้ ด้วยมีความมุ่งหวังอย่างแรงกล้าว่า สารนิพนธ์ฉบับนี้จะสามารถสร้างความตระหนักให้แก่ภาครัฐหรือหน่วยงานความมั่นคงหันกลับมาพิจารณาทบทวนแนวทางการใช้มาตรการรุนแรงกับประชาชนได้ไม่มากก็น้อย


การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lmc), ปภาพรรณ หารบุรุษ Jan 2019

การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lmc), ปภาพรรณ หารบุรุษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษานโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะภายใต้การดำเนินงานของกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lancang - Mekong Cooperation: LMC) ระหว่างปี ค.ศ. 2016 ถึง 2020 เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจที่ทำให้จีนต้องการจัดตั้งกรอบความร่วมมือดังกล่าว โดยผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนผ่านของอำนาจ (Power transition theory) ของ A.F.K. Organski และ Jacek Kugler เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้พบว่า แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้จีนจัดตั้งกรอบความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง มี 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้อย่างเต็มที่ (2) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการช่วงชิงบทบาทนำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจากมหาอำนาจนอกภูมิภาค และ (3) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจของตนให้แข็งแกร่งขึ้น โดยในท้ายที่สุด กรอบความร่วมมือนี้จะช่วยสนับสนุนให้จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ (Dominant power) ที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ


การปรับแนวทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยรัฐบาลชินโซ อาเบะ, อุมาพร เกตุสุวรรณ์ Jan 2019

การปรับแนวทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยรัฐบาลชินโซ อาเบะ, อุมาพร เกตุสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ของการปรับแนวทางการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (ODA) ของญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.2015 กับการดำเนินยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในยุครัฐบาลชินโซ อาเบะต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกรอบแนวคิดการถ่วงอำนาจแบบใช้ไม้อ่อน (soft balancing) เนื่องจากญี่ปุ่นใช้ ODA เป็นเครื่องมือดำเนินยุทธศาสตร์ต่างประเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของ ODA ญี่ปุ่นและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ความมั่นคงและเศรษฐกิจต่อญี่ปุ่น โดยการปรับแนวทาง ODA ของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการปรับเป้าหมายและแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า รัฐบาลอาเบะใช้ ODA เป็นเครื่องมือสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) และศักยภาพด้านการพัฒนาของประเทศในภูมิภาคด้วยการให้ ODA เพื่อให้อาเซียนและประเทศสมาชิกลดการพึ่งพาจีนและรักษาระเบียบของภูมิภาคที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของญี่ปุ่น เนื่องจากการผงาดขึ้นมาของจีน โดยเฉพาะการขยายอิทธิพลทางทะเลและยุทธศาสตร์ Belt and Road เป็นประเด็นท้าทายต่อการดำเนินยุทธศาสตร์และอิทธิพลของญี่ปุ่นในภูมิภาค


บทบาทของจีนต่อการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยในเมียนมาภายใต้รัฐบาลสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย, ธนกานต์ ปัญจลักษณ์ Jan 2019

บทบาทของจีนต่อการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยในเมียนมาภายใต้รัฐบาลสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย, ธนกานต์ ปัญจลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับตั้งแต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเป็นผู้นำรัฐบาลเมียนมา ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมากับจีนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในกระบวนการเจรจาสันติภาพ ดังนั้นสารนิพนธ์ฉบันนี้จึงต้องการศึกษาบทบาทของจีนในกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลเมียนมาและชนกลุ่มน้อย เพื่อวิเคราะห์จุดมุ่งหมายและผลประโยชน์ของจีนในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพของเมียนมา รวมทั้งเพื่อเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์การดำเนินความสัมพันธ์ของเมียนมาต่อจีนภายใต้รัฐบาลสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย และผลพวงต่อกระบวนการสันติภาพ โดยใช้กรอบแนวคิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว สารนิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่าความไม่มั่นคงบริเวณชายแดนจีน–เมียนมา อันเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยที่ยังไม่ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศกับกองทัพเมียนมา และผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจข้ามพรมแดนและความมั่นคงของจีนบริเวณชายแดนจีน-เมียนมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนเข้ามามีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพทั้งทางการเมืองและการเงิน ขณะที่เมียนมามีข้อจำกัดเกี่ยวกับอิทธิพลเหนือชนกลุ่มน้อยฯ จีนกลับมีอิทธิพลต่อชนกลุ่มน้อยบริเวณชายแดนจีน-เมียนมาทั้งในด้านเศรษฐกิจและยุทธปัจจัย รัฐบาลเมียนมาจึงจำเป็นต้องพึ่งพาจีนในการกดดันชนกลุ่มน้อยให้ตกลงหยุดยิงและเข้าร่วมการเจรจาเพื่อสันติภาพอย่างเป็นทางการ ทั้งสองประเทศจึงคาดหวังว่าการร่วมมือกันในกรณีนี้จะนำไปสู่ผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย


The Roles And Perceptions Of The Thai Ministry Of Foreign Affairs Through Governmental Politics In The Preah Vihear Temple Dispute, Ornthicha Duangratana Jan 2019

The Roles And Perceptions Of The Thai Ministry Of Foreign Affairs Through Governmental Politics In The Preah Vihear Temple Dispute, Ornthicha Duangratana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the Thai-Cambodian Preah Vihear Temple dispute, the perceptions of the Thai Ministry of Foreign Affairs (MFA) are investigated. Through the employment of role theory, the MFA's national role conceptions (NRCs), since the Cold War period and with concentration on the years from 2008 to 2013, are explicated. The research presents that the organizational characteristics of the ministry conduce the propensity for cooperative NRCs. At the same time, as the agency dealing with foreign affairs, the material and ideational elements in the external environment are important determinants. Nevertheless, at times, the national public opinion and the decline of the MFA's …


สันติวิธีในนโยบายความมั่นคงของไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ติณณภพ เตียวเจริญกิจ Jan 2019

สันติวิธีในนโยบายความมั่นคงของไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ติณณภพ เตียวเจริญกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ประการแรก เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงของนโยบายความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประการที่สอง เพื่อวิเคราะห์การให้ความหมาย การตีความ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดสันติวิธีของตัวแสดงสำคัญในการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ ประการสุดท้ายเพื่อประเมินปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนแนวคิดสันติวิธีในนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเอกสารประกอบการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเอกสารที่ใช้เป็นเอกสารชั้นต้น ได้แก่ นโยบาย คำสั่ง โครงการ คำประกาศ และ เอกสารชั้นรอง ได้แก่ ข่าวสาร บทความวิเคราะห์ และงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า สันติวิธีมีส่วนขับเคลื่อนนโยบายด้านความมั่นคงสำหรับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในบางลักษณะคือ ประการแรก สันติวิธีถูกบรรจุในนโยบายความมั่นคงมากว่า 17 ปี แต่พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นสันติวิธี ขึ้นอยู่กับแนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละรัฐบาลและผู้นำประเทศ ประการที่สอง สันติวิธีในความรับรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐคือ การไม่ใช้กำลังและคงไว้ซึ่งการรักษาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งต่างจากภาคประชาสังคมที่มีความเห็นว่าสันติวิธีคือการไม่ใช้กำลังและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และประการที่สาม ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนสันติวิธีในนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ย้อนแย้งกับสันติวิธี คือความรุนแรงทางโครงสร้างและวัฒนธรรมที่ฝังรากอยู่ในระดับองค์กรและระดับกลไกปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐ


ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมชนบท: กรณีศึกษาโครงการนาแปลงใหญ่ ในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, มัณฑนา นกเสวก Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมชนบท: กรณีศึกษาโครงการนาแปลงใหญ่ ในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, มัณฑนา นกเสวก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตลอดหลายทศวรรษนโยบายข้าวได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐที่เข้าไปใช้แทรกแซงสังคมชนบท ดังนั้นวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จึงต้องการวิเคราะห์ถึงการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมชนบทผ่านการศึกษานโยบายข้าวที่ถูกกำหนดนโยบายมาในในช่วงบริบทการเมืองแบบอำนาจนิยม โดยใช้โครงการนาแปลงใหญ่เป็นกรณีศึกษา ผ่านการตั้งคำถามว่า“ในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการจัดสถาบันระหว่างรัฐกับสังคมชนบทผ่านการใช้โครงการนาแปลงใหญ่อย่างไร” และ “โครงการนาแปลงใหญ่มีลักษณะการทำงานอย่างไร” เพื่อที่จะตอบคำถามดังกล่าว งานวิจัยนี้ใช้กรอบการศึกษาสถาบันนิยมใหม่แบบสถาบันนิยมเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Institutionalism) และแนวการศึกษาแบบพหุภาคี (Corporatism) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยใช้นาแปลงใหญ่ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบของการจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมภายใต้นโยบายข้าวของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันประกอบด้วย บรรทัดฐานในการตัดสินใจ กลไกรัฐในการดำเนินนโยบาย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นผลมาจากจุดเปลี่ยนสำคัญ (critical juncture) คือวิกฤตินโยบายจำนำข้าวในสมัยรัฐบาล นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ส่งผลให้นโยบายข้าวในรัฐบาลปัจจุบันมีลักษณะคือ รัฐเข้าไปสนับสนุนเกษตรกรแบบครบวงจรมากกว่าที่จะเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดโดยตรง และเน้นความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชนเพื่อเข้ามาจัดการการรวมกลุ่มและควบคุมวิถีชีวิตประจำวันของชาวนาในชนบทภายใต้แนวคิดแบบประชารัฐ โดยมีรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นตัวแสดงทางนโยบายที่รวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจ และมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างตัวแสดงทางนโยบายภายใต้การจัดสถาบันดังกล่าวทั้งในรูปแบบของความสัมพันธ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อค้ำจุนความสัมพันธ์นั้นไว้ ซึ่งผลลัพธ์ของการจัดความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวมีความสอดคล้องกับคำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมในรูปแบบพหุภาคีโดยรัฐ (state corporatism) อย่างไรก็ดีจากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ทำให้พบว่ารัฐยังไม่สามารถสถาปนาความร่วมมือดังกล่าวได้แม้ว่ารัฐบาลจะมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจภายใต้บริบทการเมืองแบบอำนาจนิยมก็ตาม และแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบริบทการเมืองหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 แต่นาแปลงใหญ่ยังคงมีการขับเคลื่อนในลักษณะเดิม เพียงแต่ถูกลดระดับความเข้มข้นลงไปเท่านั้น เนื่องจากโครงการดังกล่าวถูกวางแผนให้เป็นโครงการระยะยาวภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนั้นแม้มีการเปลี่ยนแปลงบริบททางการเมือง แต่กลไกที่ใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายก็ยังเป็นกลไกเดิมที่มีที่มาจากรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน: กรณีศึกษาโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง, จรินทร์ทิพย์ สายมงคลเพชร Jan 2019

ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน: กรณีศึกษาโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง, จรินทร์ทิพย์ สายมงคลเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงแนวคิดความเป็นแกนกลางของอาเซียนผ่านมิติของการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนระหว่างปี ค.ศ. 2010 – 2019 เป็นสำคัญ โดยมีโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง เป็นกรณีศึกษา ประเด็นปัญหาของการศึกษานี้มีความสำคัญเพราะนับจากการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนในปี ค.ศ. 2008 แนวคิดความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้กลายเป็นหลักการสำคัญที่อาเซียนใช้ดำเนินนโยบายความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาคมาโดยตลอด อีกทั้งที่ผ่านมาอาเซียนเชื่อว่าการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันภายในประเทศสมาชิกอาเซียนจะช่วยสนับสนุนบทบาทความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมแห่งภูมิภาคได้ งานชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและอาศัยทฤษฎีเสรีนิยมเชิงสถาบันของโรเบิร์ต โคเฮนในการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนจากกรณีของโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิงจะไม่สามารถช่วยส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้ เนื่องจากภายใต้กรอบแนวคิดเสรีนิยมเชิงสถาบันที่ใช้ในการศึกษาชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อจำกัดภายในอาเซียน คือ รูปแบบและลักษณะของความร่วมมือเชิงสถาบันด้านความเชื่อมโยงของอาเซียน และ (2) ข้อจำกัดภายนอกอาเซียน คือ การส่งออกรถไฟความเร็วสูงภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งข้อจำกัดทั้งสองต่างก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาเซียนมิอาจบรรลุไปสู่เป้าหมายของการส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้ดังที่ได้วางแผนไว้


บทบาทของเกาหลีใต้กับปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ระหว่างปีค.ศ.2000-2018, บุษยพรรณ ลิ้มยิ่งเจริญ Jan 2019

บทบาทของเกาหลีใต้กับปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ระหว่างปีค.ศ.2000-2018, บุษยพรรณ ลิ้มยิ่งเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาบทบาทของเกาหลีใต้ในการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ในระหว่าง ค.ศ. 2000 - 2018 โดยต้องการตอบคำถามว่า เกาหลีใต้ มีบทบาทอย่างไรในการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ และนโยบายที่เกาหลีใต้เลือกใช้ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคอย่างไร ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องนโยบายผูกมิตรเข้าหา (engagement policy) มาเป็นกรอบในการศึกษาบทบาทของเกาหลีใต้ในการดำเนินนโยบายต่อเกาหลีเหนือ ตลอด 5 ยุคสมัยของประธานาธิบดี ได้แก่ คิมแดจุง (ค.ศ. 1998 - 2003) โนมูฮยอน (ค.ศ. 2003 - 2008) อีมยองบัค (ค.ศ. 2008 - 2013) พัคกึนฮเย (ค.ศ. 2013 - 2017) และมูนแจอิน (ค.ศ. 2017 - ปัจจุบัน) ข้อเสนอหลักของการศึกษาวิจัยพบว่า ประธานาธิบดีทั้ง 5 ท่าน ใช้นโยบายผูกมิตรเข้าหาเป็นนโยบายหลักเพื่อจัดการปัญหาเกาหลีเหนือ แต่ใช้คนละรูปแบบ และมีระดับของการผูกมิตรเข้าหาเกาหลีเหนือแตกต่างกัน ซึ่งกลายเป็นตัวแปรปัจจัยภายในที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายของเกาหลีใต้เอง โดยในสมัยประธานาธิบดีฝ่ายหัวก้าวหน้า จะใช้นโยบายผูกมิตรเข้าหาในลักษณะที่เป็นมิตรกับเกาหลีเหนือมากกว่าสมัยประธานาธิบดีจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายของเกาหลีใต้ ได้แก่ การดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมหาอำนาจและคู่กรณีหลักในประเด็นปัญหานี้ และนโยบายนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งมีบทบาทหลักในสถานการณ์นิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี


นโยบายของประเทศหน้าด่านในการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรีย: กรณีศึกษาการตอบสนองของรัฐบาลกรีซ 2015-2017, ระพีพัฒน์ สุขนาน Jan 2019

นโยบายของประเทศหน้าด่านในการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรีย: กรณีศึกษาการตอบสนองของรัฐบาลกรีซ 2015-2017, ระพีพัฒน์ สุขนาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้เป็นเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นศึกษาการตอบสนองต่อการดำเนินการรับผู้ลี้ภัยของรัฐหน้าด่านของสหภาพยุโรปอย่างกรีซในช่วงปีค.ศ. 2015 - 2017 พร้อมทั้งเสนอปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการตอบสนองดังกล่าว ผ่านการวิเคราะห์ด้วยแนวคิดเรื่องกระบวนการยุโรปภิวัตน์ และการเมืองเกี่ยวพัน ในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและเหล่าประเทศสมาชิก ผ่านมิติทางการเมือง ระบอบการปกครอง และนโยบาย ที่มีความสอดคล้องกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของสหภาพยุโรป ผลการศึกษาพบว่าการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยของกรีซมีลักษณะในการจัดการปัญหาในรูปแบบของการดำเนินนโยบายหรือกระบวนการต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญทั้งภายในและภายนอกที่มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน โดยจะต้องมีการคำนึงถึงข้อตกลง หรือกฎหมายต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปในฐานะที่กรีซเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก รวมถึงจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอื่นของสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามการจัดการผู้ลี้ภัยของกรีซกลับมีการดำเนินการอย่างมีข้อจำกัดจากปัจจัยเรื่อง สมาชิกภาพของสหภาพฯ และปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ เพราะแม้ว่าสหภาพยุโรปมีการบูรณาการความสัมพันธ์แน่นแฟ้น สะท้อนออกมาเป็นแนวทางการดำเนินงานและนโยบายร่วมในด้านต่าง ๆ แต่สำหรับด้านการจัดการปัญหาวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปของประเทศหน้าด่านอย่างกรีซ กลับเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการจัดการกับปัญหา เนื่องจากกระบวนการหรือนโยบายร่วมไม่สามารถตอบสนองหรือสร้างความเท่าเทียมต่อการรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศสมาชิก ประกอบกับการที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศจึงส่งผลต่อความเชื่อใจและความน่าเชื่อถือของกรีซในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้กรีซไม่มีศักยภาพมากพอที่จะขอปรับเปลี่ยนข้อกำหนดที่ไม่เป็นธรรมต่อการจัดการผู้ลี้ภัยภายในประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองปัจจัยเปรียบเสมือนข้อท้าทายของรัฐบาลกรีซซึ่งจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางการแก้ไข เพื่อให้แนวทางในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นโยบายของอียิปต์ต่อองค์การสันนิบาตอาหรับ (The Arab League) ในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981, อาลาอุดดีน กะด๊ะ Jan 2019

นโยบายของอียิปต์ต่อองค์การสันนิบาตอาหรับ (The Arab League) ในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981, อาลาอุดดีน กะด๊ะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981 ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศที่ประกอบไปด้วยหลายตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับและบทบาทของอียิปต์ในสันนิบาตอาหรับภายใต้การนำของประธานาธิบดีซาดัต สมมติฐานในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับเกิดมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในประกอบด้วย ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล ปัจจัยด้านการเมือง และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยภายนอก คือ การดำเนินนโยบายของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา


ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ Jan 2019

ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและงบประมาณ และความพอใจทางการคลังและงบประมาณของประชาชนในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่อนท้องถิ่น และ2) เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง การเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ และการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและงบประมาณที่ส่งผลต่อความพอใจทางการคลังและงบประมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้หน่วยในการวิเคราะห์ระดับกลุ่ม รวบรวมข้อมูลจากจากกรณีศึกษา 4 แห่ง คือเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองราชบุรี เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น และเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและนำไปใช้ออกแบบวิธีและเครื่องมือในเชิงปริมาณ ซึ่งใช้หน่วยการวิเคราะห์ระดับปัจเจกบุคคล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนกับประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองทั้ง 4 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,512 คน ผลการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Strructural equation model : SEM) พบว่ารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดทำแผนและงบประมาณ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความพอใจทางการคลังและงบประมาณได้ร้อยละ 12 (R2 = 0.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01


พินิจทฤษฎีการปกครองแบบผสมกับรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๓๔, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Jan 2019

พินิจทฤษฎีการปกครองแบบผสมกับรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๓๔, เอกลักษณ์ ไชยภูมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีองค์ประกอบหลักสองส่วน โดยวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยในส่วนแรกคือ ผู้วิจัยต้องการพัฒนาทฤษฎีการปกครองแบบผสมที่วางอยู่บนฐานคิดสำคัญสองประการคือ ฐานคิดเรื่องการปกครองตามธรรมชาติและฐานคิดเรื่องการปกครองที่รู้จักประมาณ ในส่วนของฐานคิดเรื่องการปกครองตามธรรมชาติประกอบด้วยกฎเหล็กของการปกครองแบบผสมสามข้ออันเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขความจำเป็นพื้นฐานของสดมภ์หลักทางการเมืองของทุกระบอบการปกครอง ประการที่หนึ่งคือกฎเหล็กขององค์ประกอบมหาชนที่ทำงานในส่วนความชอบธรรมของระบอบการเมือง ประการที่สองคือกฎเหล็กขององค์ประกอบคณะบุคคลที่ทำงานในส่วนกลไกที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของระบอบ และสุดท้ายคือกฎเหล็กขององค์ประกอบเอกบุคคลที่ทำงานในส่วนที่ต้องการการตัดสินใจที่มีเอกภาพและผู้ที่จะมาเติมเต็มการใช้อำนาจบริหาร หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจของเอกบุคคลที่เด็ดขาดในสภาวะหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วนฐานคิดประการที่สองของทฤษฎีการปกครองแบบผสมเสนอให้ทำความเข้าใจทฤษฎีการปกครองแบบผสมในฐานะการปกครองที่รู้จักประมาณซึ่งจะหลอมรวมจารีตของความคิดเรื่องการปกครองแบบผสมที่แตกต่างกันสองแบบในความคิดทางการเมืองตะวันตก คือการปกครองแบบผสมที่เน้นการสร้างความผสมกลมกลืนและการผสานความขัดแย้งทางการเมืองเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้แต่ละส่วนต่างทำงานในฐานะส่วนที่เป็นกลไกอุดมการณ์และส่วนที่ทำหน้าที่ออกแบบสถาบันทางการเมืองที่เกื้อหนุนกัน ส่วนวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยในครึ่งหลัง คือการนำทฤษฎีการปกครองแบบผสมมาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายการเมืองไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 จนถึงปีพุทธศักราช 2534 ผ่านรัฐธรรมนูญในประเด็นแกนกลางที่เอกบุคคล คณะบุคคล และมหาชนใช้ในการประชันขันแข่งเพื่อสถาปนาตนเองให้ขึ้นมาเป็นจุดหมุนของสภาวะทางการเมืองที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุค เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าความไม่ลงตัวและความไร้เสถียรภาพที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการประชันขันแข่งระหว่างวิธีคิดแบบบริสุทธิ์และวิธีคิดแบบผสมที่อยู่เบื้องหลังแต่ละสดมภ์ในการออกแบบ บังคับใช้ และการตีความรัฐธรรมนูญ กระทั่งนำมาซึ่งสภาวะที่งานวิจัยเรียกว่า "การเมืองแห่งการสลายการปกครองแบบผสม" อันเป็นที่มาของการเหวี่ยงตัวทางการเมืองไทยครั้งแล้วครั้งเล่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา


"ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา: ผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์", ณัฐพล ยิ้มมาก Jan 2019

"ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา: ผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์", ณัฐพล ยิ้มมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ชิ้นนี้มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน การลงทุนด้านการเกษตรของบริษัทมิตรผลในกัมพูชา กับนโยบายสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจในกัมพูชา และวิเคราะห์ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลกระทบด้านความมั่นคงมนุษย์ต่อชาวกัมพูชาและประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร โดยสารนิพนธ์ชิ้นนี้ใช้กรอบสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจและการเมืองในฐานะปัจจัยสำคัญสำหรับการส่งเสริมความมั่นคงมนุษย์ในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นนโยบายที่อำนวยความสะดวกและสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มทุนภาคการเกษตรภายในภูมิภาคให้เข้าไปลงทุนและขยายฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน โดยกลุ่มทุนภาคการเกษตรของไทยในกรณีนี้คือบริษัทมิตรผล ซึ่งมีศักยภาพสูง และมีความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จึงขยายการลงทุนและการผลิตอ้อยและน้ำตาลเข้าไปในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ในส่วนของรัฐบาลกัมพูชาต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้ประกาศโครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดธุรกิจด้านการเกษตรให้เข้ามาลงทุนในกัมพูชา ซึ่งหมายถึงการขยายตัวของการเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อดำเนินโครงการเพาะปลูกพืชและทำอุตสาหกรรมเกษตร แต่กระบวนการดังกล่าวกลับสร้างผลกระทบด้านความมั่นคงมนุษย์ เกิดการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนจากปัญหาการแย่งยึดที่ดิน ด้วยวิธีการบังคับขับไล่ชาวบ้านจากที่ดิน และการใช้ความรุนแรง ทั้งยังทำให้เกิดปัญหามลภาวะหมอกควันข้ามพรมแดน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อมภายในภูมิภาค ปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้ขัดแย้งกับนโยบายของอาเซียนที่ระบุว่าจะมุ่งส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน การพัฒนาที่ยั่งยืน และปกป้องสิ่งแวดล้อม ||รัฐศาสตรมหาบัณฑิต


การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา, ภัทราวรรณ แก้วกรอง Jan 2019

การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา, ภัทราวรรณ แก้วกรอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา โดยมุ่งศึกษาถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในการจัดการและตอบสนองต่อประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคระหว่างปี 2009-2017 และนำปัญหาชาวโรฮิงญามาเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยฉบับนี้จะใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ รวมถึงอาศัยทฤษฎีสรรสร้างนิยมเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในการจัดการและตอบสนองต่อประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคต้องดำเนินอยู่ภายใต้ข้อจำกัดสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1. ปัจจัยที่เกิดจากภายในภูมิภาค คือ บรรทัดฐานที่ใช้กำกับความสัมพันธ์ภายในองค์กรหรือเป็นที่รู้จักในนามของวิถีอาเซียน ได้ส่งผลต่อการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างอิสระ รวมถึงส่งผลให้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปราศจากอำนาจเข้าไปตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและลงโทษต่อประเทศผู้กระทำผิด วิถีอาเซียนจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกลายเป็นองค์กรที่ไม่มีอำนาจในการปกป้องประชาชนได้อย่างแท้จริง และ 2. ปัจจัยที่เกิดจากภายนอกภูมิภาค คือ อิทธิพลของบรรทัดฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศภายนอกภูมิภาค ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายในรวมถึงการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์และแรงกดดันจากประเทศภายนอกภูมิภาคมาโดยตลอด เนื่องจากความผิดหวังต่อการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคที่มีสาเหตุมาจากการตีความในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างจากภายนอกภูมิภาค รวมถึงการจัดการกับประเด็นปัญหาชาวโรฮิงญาในเรื่องของการตีความเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ไม่มีกฎหมายจารีตประเพณีที่จะสามารถนำมาใช้ในการให้ความช่วยเหลือและรองรับกับปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามกระแสวิพากษ์วิจารณ์และแรงกดดันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนไปจากเดิม แต่อิทธิพลของบรรทัดฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศภายนอกภูมิภาคที่เข้ามาได้มีการนำมาปรับใช้ให้สอดรับกับวิถีอาเซียน เพื่อนำไปสู่บรรทัดฐานที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถยอมรับได้


The Influence Of Jacksonian Tradition Toward Trump's Trade War Against China., Putdhikorn Kasemphaibulsuk Jan 2019

The Influence Of Jacksonian Tradition Toward Trump's Trade War Against China., Putdhikorn Kasemphaibulsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This Individual Study examines how the Jacksonian tradition influences Trump’s trade war against China between 2018 to 2020. The Jacksonian tradition emphasizes the importance of the government and its role as a protector of people, culture, and identity of the United States. This research argues that the US foreign policy and the US domestic affairs are intertwined and influenced by the Jacksonian tradition. The domestic source that is responsible for the upsurge of Jacksonian tradition and the Trade War can be linked to the resentment of the political elitists and their upper-class bubbles who Jacksonian supporters are suspicious of. Jacksonian …


Asean Governance On Data Privacy : Challenges To Regional Protection Of Data Privacy And Personal Data In Cyberspace, Supatsara Chaipipat Jan 2019

Asean Governance On Data Privacy : Challenges To Regional Protection Of Data Privacy And Personal Data In Cyberspace, Supatsara Chaipipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This independent_study explores how the cornerstone norms of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), mostly referred as the ASEAN way, play significant role in forming the regional governance on data privacy and involves the answer that it poses challenges to the region in protecting their citizen’s personal data in cyberspace. This study investigates and compares the existing regimes regarding to data privacy in cyberspace at international, regional and domestic levels. To estimate the efficacy of ASEAN governance on data privacy and personal data protection, the analysis of study is based on the associations’ normative structure. Particularly, it searches what …


บทบาทของกลุ่มการเมืองในฟิลิปปินส์ต่อนโยบายของประธานาธิบดีดูเตอร์เตที่มีต่อจีน, กชพร สร้อยทอง Jan 2019

บทบาทของกลุ่มการเมืองในฟิลิปปินส์ต่อนโยบายของประธานาธิบดีดูเตอร์เตที่มีต่อจีน, กชพร สร้อยทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาบทบาทของกลุ่มการเมืองในฟิลิปปินส์ต่อนโยบายของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เตที่มีต่อจีน โดยมุ่งพิจารณาบทบาทของกองทัพ รัฐสภา หน่วยงานราชการ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน จากการศึกษาพบว่า ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยของฟิลิปปินส์ กลุ่มการเมืองภายในประเทศทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุล (Checks and Balances) ทำให้ดูเตอร์เตไม่อาจดำเนินนโยบายต่อจีนตามที่มุ่งหวัง โดยดูเตอร์เตต้องการมีความใกล้ชิดกับจีนเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และไม่ต้องการนำปัญหาทะเลจีนใต้มาก่อให้เกิดความขัดแย้งกับจีนภายหลังศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (Permanent Court of Arbitration – PCA) มีคำตัดสินข้อพิพาททะเลจีนใต้ที่ส่งผลในทางบวกต่อฟิลิปปินส์ กลุ่มการเมืองภายในเรียกร้องให้ดูเตอร์เตใช้คำตัดสินดังกล่าวเพื่อยืนยันอำนาจอธิปไตยของฟิลิปปินส์ เพื่อลดการแผ่ขยายอำนาจในทะเลจีนใต้ของจีน และตอบโต้พฤติกรรมรุกล้ำของจีนในน่านน้ำฟิลิปปินส์บริเวณทะเลจีนใต้ ขณะที่ดูเตอร์เตไม่ไม่ต้องการเผชิญหน้ากับจีน จึงใช้วิธีแสวงหาความร่วมมือกับจีน อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายของดูเตอร์เตทำให้ฟิลิปปินส์ดูเหมือนประเทศเล็กที่ต้องทำตัว อ่อนน้อมให้กับมหาอำนาจอย่างจีน ท่าทีดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มและสถาบันการเมืองในประเทศมีปฏิกิริยาเชิงลบทั้งต่อดูเตอร์เตและจีน รวมถึงกระตุ้นกระแสชาตินิยมที่เรียกร้องให้รัฐบาลต้องมีจุดยืนที่แข็งกร้าวตอบโต้จีน ส่งผลให้ดูเตอร์เตต้องลดการโอนอ่อนให้กับจีน ในแง่นี้ชี้ว่า ระบอบประชาธิปไตยที่กลุ่มการเมืองและสถาบันที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลสามารถมีเสรีภาพในการทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพนี้ ส่งผลให้ผู้นำต้องรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชนในระดับหนึ่ง แม้ว่าผู้นำจะมีลักษณะอำนาจนิยมก็ตาม


แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่น ต่อ อาเซียน สมัยรัฐบาลอาเบะ, นนทิวรรธน์ สามัญบุตร Jan 2019

แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่น ต่อ อาเซียน สมัยรัฐบาลอาเบะ, นนทิวรรธน์ สามัญบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อจะตอบคำถามว่า ความเปลี่ยนแปลงในนโยบายญี่ปุ่นต่ออาเซียน ในสมัย นายกฯ ชินโซ อาเบะ ตอบสนองยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่น อย่างไร? จากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่ สมัยรัฐบาลฟูกูดะ ในช่วงสงครามเย็น ญี่ปุ่นกลับเข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดเด่นคือ การแสดงออกชัดเจนว่า จะไม่แสดงบทบาทด้านการทหารอีก แต่นโยบายญี่ปุ่นต่ออาเซียนในยุครัฐบาลอาเบะ กลับเปลี่ยนแปลงมาให้ความสำคัญกับอาเซียนด้านความมั่นคงกว่าเดิม ในกรอบ อินโด-แปซิฟิก (Indo Pacific) และวิสัยทัศน์เวียงจันทน์(Vientiane Vision) ผ่านการให้ความช่วยเหลือ และ มีบทบาทด้านการทหารมากขึ้น เช่น มีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และ บุคลากรด้านความมั่นคง โดยเฉพาะใน ประเด็นเรื่อง เสรีภาพด้านการเดินเรือ และ กฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (UNCLOS1982) ซึ่งการปรับบทบาทของญี่ปุ่นต่ออาเซียนนี้ จัดว่าเป็น การถ่วงดุลแบบละมุนละม่อม (Soft Balancing) โดยมีปัจจัยการผงาดของจีน เป็นตัวเร่งให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีการแสวงหา หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ความมั่นคง(Security Strategic Partnership) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เห็นความจำเป็นในการถ่วงดุลกับ จีน


การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย, เนตรทราย อ่วมงามอาจ Jan 2019

การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย, เนตรทราย อ่วมงามอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดียต่อโครงการขุดคลองไทย โดยวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนมุมมองของอินเดีย ประวัติความขัดแย้งระหว่างจีนกับอินเดียที่กระทบต่อความมั่นคง รวมไปถึงเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติของอินเดียผ่านมิติโครงการขุดคลองไทย โดยมีปัจจัยหลัก กล่าวคือบริบทใหม่ที่จีนเข้ามามีอิทธิพลในประเทศเพื่อนบ้านของอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอินเดีย คือ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ผ่านยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 โดยโครงการขุดคลองไทยเป็นหนึ่งในความคาดหวังของจีนที่พยายามผลักดันให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคพื้นทะเล การดำเนินการเชิงรุกของจีน รวมถึงท่าทีที่คลุมเครือของไทยและจีนในการดำเนินการโครงการนี้ การปล่อยกู้ การสนับสนุนเงินในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีข้อผูกมัดหากไม่เป็นไปตามข้อตกลง จีนจะดำเนินการเจรจาและควบคุมดูแลโครงการนั้นเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อินเดียกังวลและปรับเปลี่ยนมุมมองต่อโครงการขุดคลองไทย ที่อาจจะส่งผลต่อความเสถียรภาพในภูมิภาค ความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติของอินเดีย


พื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่กับการสื่อสารทางการเมือง: ขบวนการร่มบนสื่อสังคมออนไลน์, พศพันธุ์ ศุขเกษม Jan 2019

พื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่กับการสื่อสารทางการเมือง: ขบวนการร่มบนสื่อสังคมออนไลน์, พศพันธุ์ ศุขเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ขบวนการร่ม (Umbrella Movement) หรือการชุมนุมประท้วงในฮ่องกงในปี ค.ศ. 2014 เพื่อเรียกร้องให้ชาวฮ่องกงมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุด กลายมาเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมซึ่งมีการเข้ายึดพื้นที่ในจุดที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อกดดันรัฐบาลฮ่องกงรวมถึงรัฐบาลปักกิ่ง และในขณะเดียวกัน ได้มีการใช้พื้นที่บนสื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างพื้นที่สาธารณะแบบเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมขบวนการเคลื่อนไหว บทความวิชาการนี้ต้องการที่จะศึกษาลักษณะหรือรูปแบบการเคลื่อนไหวออนไลน์ของขบวนการร่มที่สอดคล้องกับขบวนการเคลื่อนไหวที่สำคัญในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในห้วงเวลาเดียวกัน (ปี ค.ศ. 2011 - 2014) โดยเฉพาะการใช้แฮชแท็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการร่มในการเชื่อมโยงผู้คนระหว่างกันจนกลายเป็น Hashtag activism ที่มีประสิทธิภาพในการผลักดันเสียงของประชาชนให้เป็นที่ถกเถียงบนพื้นที่สาธารณะ รวมถึงศึกษาการใช้มีมในขบวนการร่มซึ่งสะท้อนความคิดทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์ หรือการปฏิบัติ ที่สามารถส่งความรู้สึกต่างๆ จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ ผ่านการเขียน พูด ท่าทาง ภาพล้อเลียน เป็นต้น สุดท้ายบทความชิ้นนี้ยังวิเคราะห์ข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของขบวนการร่มบนสื่อออนไลน์