Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Other Education

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2020

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Entire DC Network

หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย, ศศินันท์ วิภูษิฑิมากูล Jan 2020

หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย, ศศินันท์ วิภูษิฑิมากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้องประสานเสียงจำนวน 4 คน ผู้สอนวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลายจำนวน 4 คน และกลุ่มผู้เรียนของคณะนักร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลายจำนวน 4 คณะ ผลการวิจัยพบว่า หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ 1) บุคลิกลักษณะของผู้สอนควรมีความเข้าใจ ความอบอุ่น ความเอื้ออาทร มีอารมณ์ขัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก ส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและกล้าแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกขณะร้องเพลง 2) สอนการตีความให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทเพลง และนำไปสู่การร้องที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก 3) จัดกิจกรรมเสริมทักษะความเป็นนักดนตรี เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระดนตรีและสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการขับร้องประสานเสียง ควรเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทั้ง 5 ได้แก่ ฟัง ร้อง-เล่น อ่าน สร้างสรรค์ และเคลื่อนไหว 4) สอนทักษะการร้องให้แก่ผู้เรียน โดยให้ความสำคัญในเรื่องท่าทางการยืนและการนั่ง การหายใจ การเปล่งเสียงร้อง การสร้างเสียงกังวาน และการออกเสียงคำร้อง เพื่อช่วยให้ร้องเพลงอย่างไพเราะ


กลวิธีการบรรเลงและการสอนทักษะซอด้วงขั้นสูงของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)ผ่านครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ: เพลงเดี่ยวจังหวะหน้าทับปรบไก่สามชั้นสายกรมมหรสพ, วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์ Jan 2020

กลวิธีการบรรเลงและการสอนทักษะซอด้วงขั้นสูงของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)ผ่านครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ: เพลงเดี่ยวจังหวะหน้าทับปรบไก่สามชั้นสายกรมมหรสพ, วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลวิธีการบรรเลงเพลงเดี่ยวซอด้วงขั้นสูงในจังหวะหน้าทับ ปรบไก่สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) สายกรมมหรสพ และ 2) ศึกษากลวิธีการสอนทักษะเพลงเดี่ยวซอด้วงขั้นสูงในจังหวะหน้าทับปรบไก่สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) สายกรมมหรสพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) วิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษานำร่อง (Pilot study) จากนั้นกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 1) ด้านเอกสาร และ 2) ด้านบุคคล ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) คือ ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)กลุ่มที่ 2 ลูกศิษย์ซอด้วงของครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติรุ่นแรก ใช้เทคนิคการเลือกแบบโสนว์บอล (Snowball sampling)และกลุ่มที่ 3 ลูกศิษย์ซอด้วงของครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติรุ่นปัจจุบันใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Inductive reasoning) และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Data triangulation) ผลการวิจัยพบว่าพบว่า ตอนที่ 1 เพลงเดี่ยวซอด้วงพญาโศก สามชั้น เป็นเพลงท่อนเดียว ปรากฏทั้งหมด 3 ทางเสียง มีท่วงทีลีลาสำนักและบุคคล และปรากฏอารมณ์โศกเศร้า เทคนิคที่ปรากฏรวมทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวพันทั้งหมด 16 เทคนิค จาก 19 เทคนิค เทคนิคที่ไม่พบมีจำนวนทั้งหมด 3 เทคนิค และเพลงเดี่ยวซอด้วงแขกมอญ สามชั้น เป็นเพลงสามท่อน ปรากฏทั้งหมด 3 ทางเสียง มีท่วงทีลีลาสำนักและบุคคล อารมณ์รักและปรากฏสำเนียงมอญ เทคนิคที่ปรากฏทั้งในเที่ยวโอดและเที่ยวพันทั้ง 3 ท่อน พบเทคนิคทั้งหมด 14 เทคนิคจาก 18 เทคนิค เทคนิคที่ไม่ปรากฏมีจำนวน 4 …


การพัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, น้ำเพชร ชื่นแพ Jan 2020

การพัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, น้ำเพชร ชื่นแพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหาและรูปแบบการสร้างแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 2) แบบทดสอบทักษะการปฏิบัติ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) แบบประเมินแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนกีตาร์ไฟฟ้า และนักกีตาร์ที่มีชื่อเสียงทางด้านกีตาร์ไฟฟ้าสไตล์ร็อค ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. เนื้อหาและรูปแบบการสร้างแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์ด้านเนื้อหาประกอบไปด้วย 1) เนื้อหาที่เกี่ยวกับพาวเวอร์คอร์ด 2) คำอธิบายเกี่ยวกับโน้ตบนคอกีตาร์ของสายที่หกและสายที่ห้า 3) เทคนิคและแบบการฝึกปฏิบัติมือขวา 4) แบบฝึกที่พัฒนานำมาจากบทเพลงจริง 5) การสาธิตตัวอย่างก่อนเข้าแบบฝึก 6) แบบสาธิตการฝึกฝนที่ถูกและการฝึกฝนที่ผิด ในด้านรูปแบบประกอบไปด้วย 1) องค์ประกอบของภาพและเสียง ต้องมีคุณภาพ มีการใช้กราฟฟิกในการเน้นเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนจดจำ 2) บุคลิกภาพ การแต่งกายของผู้สอนที่เหมาะสม และบรรยากาศสถานที่ถ่ายทำที่สร้างแรงจูงใจในการเรียน 3) การบรรยายถึงวิธีการปฏิบัติประกอบระหว่างการสาธิต 4) มุมกล้องที่ถ่ายทำที่สามารถแสดงภาพของการเล่นที่เจาะจงและมีความชัดเจน เพื่อให้ผู้ฝึกสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง 2. ผลการประเมินคุณภาพแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนกีตาร์ไฟฟ้าทั้งหมด 5 ท่านพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.96, SD = 0.06) และจากการพัฒนาแบบฝึกยังพบว่า การฝึกปฏิบัติพาวเวอร์คอร์ดเพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะให้สัมฤทธิ์ผลนั้น ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติมือขวาเช่นเดียวกับการเล่นมือซ้าย โดยมุมกล้องควรเน้นให้เห็นการปฏิบัติของมือขวาที่ชัดเจนทุกครั้ง เนื่องจากการสร้างจังหวะเกิดขึ้นจากการดีดขึ้น-ลงของมือขวา นอกจากนี้ควรใช้เสียงเมโทรนอมเพื่อช่วยการนับจังหวะจริงก่อนเริ่มแบบฝึก เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์แบบฝึก


การศึกษาพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว, วรจสมน ปานทองเสม Jan 2020

การศึกษาพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว, วรจสมน ปานทองเสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพัฒนาการพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนก่อน และหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว 2) ศึกษากระบวนการเกิดพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนในการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว 3) ศึกษาลักษณะพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนในการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ 2) แบบบันทึกคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคม และ 3) แบบบันทึกการแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคม ผู้เข้าร่วมการวิจัยนี้ได้แก่ นักเรียนที่เรียนวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีกับผู้วิจัยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 3 คน การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพฤติกรรมเอื้อสังคมในห้องเรียนดนตรีโดยใช้ทฤษฎีสุขภาวะ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะใช้ร่วมกับบทเรียนดนตรีแบบเดี่ยว จากนั้นนำเกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะไปใช้กับผู้เข้าร่วมการวิจัย โดยมีการสังเกตพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 1) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนก่อนการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ 2) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนระหว่างการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ และ 3) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้สถิติบรรยาย เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมตามทฤษฎีสุขภาวะของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะโดยใช้กราฟ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทุกคนมีคะแนนการแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมที่สูงขึ้นหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ จึงสามารถสรุปได้ว่า เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมเอื้อสังคมได้ 2) เกมบิงตามทฤษฎีสุขภาวะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยอย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมตามทฤษฎีสุขภาวะของนักเรียน 3) แม้ไม่มีบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะเป็นสิ่งเสริมแรงให้แสดงพฤติกรรมแล้ว แต่พฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนยังคงอยู่ นักเรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดทางความคิด และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพในการเรียนดนตรีของตนเองได้ รวมทั้งตระหนักถึงความหมายและคุณค่าของการเรียนดนตรี เมื่อนักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและเข้าใจคุณค่าของสิ่งที่เรียน ส่งผลให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยง และนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชาดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


การพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะ เครื่องกระทบขั้นพื้นฐานสำหรับครูประถมศึกษา, กัญฐิตา โกมลพันธุ์ Jan 2020

การพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะ เครื่องกระทบขั้นพื้นฐานสำหรับครูประถมศึกษา, กัญฐิตา โกมลพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานโดยใช้เพลงไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพัฒนา 6 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพปัญหา ศึกษาเอกสาร ทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การสำรวจความต้องการชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐาน 3) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล 4) การพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐาน 5) การตรวจสอบคุณภาพชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูดนตรีที่รู้จักร่างกายสร้างจังหวะจำนวน 30 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญการสอนเครื่องกระทบจำนวน 4 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญการสอนกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กจำนวน 3 คน และ 6) การสรุปผลการวิจัย อภิปราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการจำเป็นการใช้กิจกรรมดนตรีสำหรับครู แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ แบบประเมินมาตรประมาณค่า ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของครูดนตรีในการเป็นตัวอย่างสื่อการจัดการเรียนรู้ด้านพื้นฐานจังหวะและด้านทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปพัฒนาการสอน และเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดนตรีทางเลือกสำหรับครูดนตรีระดับชั้นประถมศึกษา โดยชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยจัดทำมีรูปแบบเป็นหนังสือประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) โครงการสอนระยะยาว 2) แผนการสอนรายคาบ 3) เนื้อหาดนตรี ได้แก่ สาระทางดนตรี ด้านต่างๆ ที่ประกอบด้วยโน้ตรูปแบบทำนองและโน้ตรูปแบบจังหวะ และ ทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานที่ประกอบด้วยการเลือกใช้มือ และซิงเกิล สโตรคโรล และ 4) บทเพลงไทย ซึ่งถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่และจัดเรียงเนื้อหาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน โดยชุดกิจกรรมได้ผ่านการประเมินจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก


สาระและแนวทางการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษา, ฐาณิศร์ สินธารัตนะ Jan 2020

สาระและแนวทางการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษา, ฐาณิศร์ สินธารัตนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องสาระและแนวทางการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ความหมาย แนวปฏิบัติ และพัฒนาการของการอิมโพรไวส์แบบอิสระ และ 2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย แหล่งข้อมูลได้แก่ 1) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 2) ศิลปินผู้เชี่ยวชาญ และ 3) นักศึกษาหรือบัณฑิตที่มีประสบการณ์ 4) ชั้นเรียนที่เกี่ยวข้อง และ 5) เอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบการสังเกตชั้นเรียน และ 3) แบบวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ในบริบทสากล ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระได้ถูกพัฒนาจากกลุ่มศิลปินที่ต้องการเป็นอิสระจากกรอบการสร้างสรรค์ในช่วงยุค 1950-60s โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์ที่เน้นการแสดงออกอย่างฉับพลัน และลื่นไหล แนวปฏิบัติของดนตรีชนิดนี้ถูกพัฒนาในวงกว้างและเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ.2550 จากอิทธิพลของการจัดแสดงงานศิลปะของชาวญี่ปุ่น ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระได้ส่งผลกระทบต่อนักดนตรีกลุ่มต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทำให้องค์ความรู้ ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระเติบโตในระดับอุดมศึกษาของไทย 2. สภาพการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) การกําหนดวัตถุประสงค์ ครอบคลุมการฝึกฝนระดับไตร่ตรองและอุตรภาวะ 2) การกําหนดเนื้อหา ครอบคลุมฐานความรู้และข้อมูลอ้างอิงที่เฉพาะเจาะจง 3) การจัดกิจกรรมและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สอดรับกับการกำหนดวัตถุประสงค์ และ 4) การวัดผลประเมินผล ครอบคลุมการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์


แนวทางการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามวิธีการของโคดาย สําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่, จรินพร จิตต์มั่น Jan 2020

แนวทางการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามวิธีการของโคดาย สําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่, จรินพร จิตต์มั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสภาพการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาในกิจกรรมชมรม ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามวิธีการของโคดาย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงพื้นบ้านล้านนา จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านโคดาย จำนวน 2 ท่าน และ ครูผู้สอนกิจกรรมชมรมเพลงพื้นบ้านล้านนา จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีแจกแจงความถี่ การวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย และนำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน ประกอบด้วย ด้านองค์ความรู้ของเพลงขับร้องพื้นบ้านล้านนา ด้านการพัฒนาทักษะในการขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนา และด้านการพัฒนาเจตคติต่อการเรียนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนา 2) การกำหนดเนื้อหาสาระ ด้านทักษะการขับร้อง ด้านบทเพลง และด้านวรรณกรรม 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติ การอภิปรายกลุ่ม และกระบวนการก่อนการการถ่ายทอดทักษะการขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนา 4) การใช้สื่อการสอน ประกอบด้วย สื่อการสอนประเภทเครื่องดนตรี สื่อการสอนประเภทสื่อผสมและเทคโนโลยี และสื่อสิ่งพิมพ์ 5) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย การวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน โดยวิธีการวัดและประเมินผลทักษะ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และการวัดและประเมินผลทางเจตคติ รูปแบบการวัดและประเมินผลในรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามเกณฑ์ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน ควรพัฒนาองค์ความรู้เพลงร้องพื้นบ้านล้านนา ทักษะการขับร้อง ทักษะการขับร้องควบคู่กับเครื่องดนตรี ทักษะการแสดง และเจตคติที่ดีต่อเพลงพื้นบ้านล้านนา 2) การกำหนดเนื้อหาสาระ ควรมีการคัดเลือกบทเพลงที่เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน ทักษะการขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนา การออกเสียง การขับร้องประกอบทำนอง การขับร้องประกอบจังหวะ และวรรณกรรมเพลงร้องพื้นบ้านล้านนา 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน …


แนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงด้วยบทเพลงภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, พรเทพ วิชชุชัยชาญ Jan 2020

แนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงด้วยบทเพลงภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, พรเทพ วิชชุชัยชาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงขับร้องประสานเสียงภาษาไทยสำหรับวงขับร้องประสานเสียง 4 แนว (SATB) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้น จำนวน 3 บทเพลง ได้แก่ บทเพลงชื่นชีวิต บทเพลงงามแสงเดือน และบทเพลงสดุดีจอมราชา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงด้วยบทเพลงภาษาไทยที่เรียบเรียงขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ 1) บทเพลงขับร้องประสานเสียงภาษาไทยที่เรียบเรียงขึ้น 3 บทเพลง 2) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทเพลง 3 ท่าน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสังเกตและวิเคราะห์บทเพลง และแบบประเมินบทเพลงขับร้องประสานเสียง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลแบบความเรียงโดยใช้การพรรณความ ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเพลงขับร้องประสานเสียงดังกล่าวทั้ง 3 บทเพลง ได้เรียบเรียงเสียงประสานให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย ด้านทำนองและเสียงประสาน ด้านจังหวะ ด้านคำร้อง และระยะช่วงเสียง 2) แนวทางการสอนบทเพลงขับร้องประสานเสียง ประกอบด้วย 2.1) แนวทางการสอนด้านทำนองและเสียงประสาน ได้แก่ การฝึกร้องบันไดเสียงและขั้นคู่เสียง การฝึกกระบวนการหายใจและการควบคุมลมหายใจ การฝึกร้องโน้ตเอื้อนในภาษาไทย การฝึกร้องประสานเสียงแบบแคนอนผสมผสานกับการประสานเสียงแบบ 4 แนว การฝึกเรื่องความสมดุลของเสียง และการร้องโน้ตแขวน (Suspension) และโน้ตเกลา (Resolution) 2.2) แนวทางการสอนด้านจังหวะ ได้แก่ การฝึกจังหวะส่วนโน้ตให้คงที่ การร้องจังหวะโน้ตประดับ (Acciaccatura) การร้องประสานเสียงลักษณะดนตรีประกอบเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรี (Vocal percussion) และการฝึกร้องจังหวะโน้ตตัวแรกให้พร้อมเพรียงกัน และ 2.3) แนวทางการสอนด้านคำร้อง ได้แก่ การร้องเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย การร้องพยัญชนะต้นและคำควบกล้ำ และการร้องคำที่มีตัวสะกด


การบริหารผลตอบแทนและแรงจูงใจของครูดนตรีโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ, พรรณพัชร กฤษณ์เพ็ชร์ Jan 2020

การบริหารผลตอบแทนและแรงจูงใจของครูดนตรีโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ, พรรณพัชร กฤษณ์เพ็ชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูดนตรีที่มีต่อการบริหารผลตอบแทนจากการทำงานในโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ และ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครูดนตรีโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ ประชากรในงานวิจัยนี้ได้แก่ ครูดนตรีในโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ 186 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และ 2) กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ 12 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลตอบแทนและแรงจูงใจในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าสถิติเชิงบรรยาย อันได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสหสัมพันธ์ อันได้แก่ ค่าสถิติ Games Howell 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูดนตรีมีความคิดเห็นว่าผลตอบที่ได้รับมากที่สุดจากการสอนดนตรีคือผลแทนที่ไม่ใช่รูปแบบเงินและผลตอบแทนทางด้านอารมณ์และสังคม ได้แก่ การได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นมิตรและให้เกียรติจากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน ( x̄ = 4.66, SD = 0.66) การได้เห็นนักเรียนมีความสุขและความพึงพอใจในการมาเรียน ( x̄ = 4.62, SD = 0.60) และการได้เห็นผลลัพธ์ พัฒนาการของนักเรียน ( x̄ = 4.61, SD = 0.58) ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนรูปแบบเงิน ( x̄ = 3.82, SD = 0.54) และผลตอบแทนด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์พนักงาน ( x̄ = 3.77, SD = 0.87) 2) แรงจูงใจหลักในการทำงานของครูสอนดนตรี คือ แรงจูงใจที่ได้ประสบความสำเร็จและความภาคภูมิใจในอาชีพ ( x̄ = …


พัฒนาการการเรียนรู้และวิธีการสอนไวโอลินในสำนักการสอนทัศนา นาควัชระ, ปุณยาพร เพรียวพานิช Jan 2020

พัฒนาการการเรียนรู้และวิธีการสอนไวโอลินในสำนักการสอนทัศนา นาควัชระ, ปุณยาพร เพรียวพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและพัฒนาการในสำนักการสอนไวโอลินของทัศนา นาควัชระ และ 2) ศึกษาวิธีการสอนและการถ่ายทอดทักษะไวโอลินในสำนักการสอนของทัศนา นาควัชระ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษางานเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนาได้รับอิทธิพลด้านดนตรีจากครอบครัว ได้รับการศึกษาดนตรีทั้งในประเทศไทย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทัศนาดำรงตำแหน่งหัวหน้าวงโปรมูสิกาและตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการการศึกษาด้านดนตรี ได้แก่ โครงการเรียนดนตรีวิธีศิลปากร และโครงการคีตราชา โปรมูสิกา จูเนียร์ แคมป์ 2) การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเครื่องเอกและรายวิชาการรวมวงเป็นการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วิธีการสอนที่เลือกใช้ได้แก่ วิธีการสอนโดยใช้การบรรยาย วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต วิธีการสอนโดยใช้การฝึกฝนและการปฏิบัติ วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างและการทัศนศึกษา และวิธีการสอนโดยใช้การถาม-ตอบ การประเมินผลเป็นการใช้การประเมินตามสภาพจริง เทคนิคการปฏิบัติทักษะไวโอลินในระดับปีการศึกษาที่ 1-2 เป็นการฝึกเทคนิคพื้นฐาน เทคนิคการปฏิบัติทักษะไวโอลินในระดับปีการศึกษาที่ 3-4 เป็นการฝึกเทคนิคขั้นสูง บทประพันธ์หลักที่ศึกษาในระดับชั้นปีการศึกษาที่ 1-4 เป็นบทประพันธ์ประเภทไวโอลินคอนแชรโต ตำราหลักที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ 1) The School of Violin Technics โดย Henry Schradieck 2) 40 Variations Op. 3 โดย Otakar Sevcik 3) Shifting the Position and Preparatory Scale-Studies for the Violin โดย Otakar Sevcik 4) Contemporary Violin Technique โดย Ivan Galamian และ 5) Scale System for Violin โดย Carl Flesch