Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operational Research

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 47

Full-Text Articles in Entire DC Network

Affecting Factors On Perceived Usefulness Of Area-Business Continuity Management For Flood Case At Industrial Areas In Thailand, Kunruthai Meechang Jan 2019

Affecting Factors On Perceived Usefulness Of Area-Business Continuity Management For Flood Case At Industrial Areas In Thailand, Kunruthai Meechang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The 2011 Thailand floods widely affected many parts in Thailand such as households, industry and agriculture. Especially, industrial areas were massively damaged by floods. Many factories had to stop their operations. Therefore, it severely impacted economic losses. Area-Business Continuity Management (Area-BCM) is a useful system supporting company mitigate flood effectively. Before the system is implemented, opinion survey of related people in an area is important. Therefore, this research aims to investigate factors affecting Perceived Usefulness (PU) of the Area-BCM. The model is proposed based on Technology Acceptance Model and flood mitigation behavior. The analysis results categorized the respondents into four …


Improvement Of Forex Pairs Trading Strategy With Machine Learning Algorithms, Ronnachai Jirapongpan Jan 2019

Improvement Of Forex Pairs Trading Strategy With Machine Learning Algorithms, Ronnachai Jirapongpan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to study machine learning to improve the trading performance of pairs trading strategy. Pairs trading strategy is one of the most well-known algorithm trading developed in the 1980s by a group of scientists and mathematicians. The concept of the pairs trading strategy is to exploit the mispricing of two equities which their prices tend to move in the same manner. When the algorithm captures the mispricing behavior by equations or indicators, traders open a short position on the equity which its price is relatively higher than the equilibrium and open long position of the other equity. If …


การปรับความลึกในการตัด สำหรับชิ้นส่วนอากาศยาน, ชัชนก ขำแผลง Jan 2019

การปรับความลึกในการตัด สำหรับชิ้นส่วนอากาศยาน, ชัชนก ขำแผลง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสึกหรอของเม็ดมีดคาร์ไบด์อันเนื่องมาจากกระบวนการกลึงอินโคเนล718 ซึ่งพบปัญหาว่าเมื่อผลิตงานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ขนาดของชิ้นงานคลาดเคลื่อนไปตามอายุเม็ดมีดกลึงที่มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการปรับค่าความลึกในการกลึงของพนักงาน แต่การปรับค่าของพนักงานนี้ยังไม่ถูกต้องจึงทำให้เกิดของเสียมากมายจากกระบวนการนี้ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การหาค่าการปรับความลึกการกลึงที่ถูกต้องและทำให้ผลิตงานที่ดีได้ ซึ่งผลที่ได้จากการทดลอง คือ กราฟความสัมพันธ์ระหว่างระยะสึกของเม็ดมีดกลึงกับอายุของเม็ดมีดกลึงและค่าระยะสึกเม็ดมีดกลึงนี้สามารถนำมาใช้หาค่าการปรับความลึกได้ ซึ่งทำให้สามารถหากราฟความสัมพันธ์ระหว่างการปรับความลึกของเม็ดมีดกลึงกับอายุของเม็ดมีดกลึง และค่านี้สามารถนำไปสร้างสมการการปรับความลึกการตัดในช่วงอายุของเม็ดมีดกลึงต่างๆได้ ซึ่งเมื่อนำค่าการปรับความลึกที่ได้จากสมการไปทดลองผลิตชิ้นงานพบว่าได้ชิ้นงานเป็นงานดีทั้งหมด และเมื่อนำขนาดชิ้นงานที่ผลิตด้วยการปรับลึกจากสมการมาคิดเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนและเปรียบเทียบขนาดชิ้นงานที่ผลิตด้วยการปรับลึกด้วยพนักงาน จะพบว่าวิธีการปรับลึกด้วยสมการได้ขนาดของชิ้นงานที่มีค่าความคลาดเคลื่อนที่น้อยกว่า โดยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่มากที่สุดของค่าการปรับจากพนักงาน คือ 0.947 เปอร์เซ็นต์ แต่เปอร์เซ็นความคลาดเคลื่อนที่มากที่สุดของค่าการปรับจากสมการ คือ 0.168 เปอร์เซ็นต์


การจัดทำแผนด้านกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล, ธันย์ชนก ตงสกุลรุ่งเรือง Jan 2019

การจัดทำแผนด้านกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล, ธันย์ชนก ตงสกุลรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล (Digital Transformation) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยกระดับการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะทำให้เกิดการทำงานที่สอดประสานกันในหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันและผลักดันให้องค์กรเกิดการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อรองระบบดิจิทัลในกรณีศึกษาโรงงานไพ่ ให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศประกอบด้วย นโยบายไทยแลนด์ 4.0 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ วิเคราะห์โดยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการสร้างกลยุทธ์ เช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในด้วยการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า การวิเคราะห์แบบ SWOT และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกด้วยการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมมหภาค 7 ประการ (PESTEL) แรงกดดัน 5 ประการ (Porter's Five Forces) เป็นต้น จากนั้นทำการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบช่องว่างระหว่างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงงานไพ่และนโยบายประเทศ และจัดทำแผนกลยุทธ์ ซึ่งมีการนำเอาสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมดเข้าด้วยกัน คือ บุคลากร กระบวนการทำงาน เครื่องจักร/อุปกรณ์ ข้อมูล และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ทำวิจัยได้เสนอแนวทางการพัฒนาทางด้านดิจิทัล 3 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาธุรกิจการตลาดรูปแบบดิจิทัล การลดกระดาษในการใช้งานในสถานที่ทำงาน และการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมทักษะความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


การพัฒนากระบวนการตรวจสอบการไม่ยึดติดกันของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าคาร์บอนและผ้าใยแก้วใน ผลิตภัณฑ์วินเซิร์ฟโดยการประยุกต์ใช้เซนเซอร์เสียงและเทคนิคการรู้จําแบบ, นภาพรรณ สุขประเสริฐ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการตรวจสอบการไม่ยึดติดกันของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าคาร์บอนและผ้าใยแก้วใน ผลิตภัณฑ์วินเซิร์ฟโดยการประยุกต์ใช้เซนเซอร์เสียงและเทคนิคการรู้จําแบบ, นภาพรรณ สุขประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาการตรวจสอบการยึดติดกันของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์กับผ้าใยแก้วหรือผ้าคาร์บอนในผลิตภัณฑ์วินเซิร์ฟ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบในปัจจุบันใช้คนในการเคาะและฟังเสียงเพื่อตัดสินชิ้นงานที่มีการยึดติดหรือไม่มีการยึดติด และเกิดความผิดพลาดจากการตัดสินโดยพนักงานที่ไม่มีทักษะ จึงมีการพัฒนาการตรวจสอบโดยการประยุกต์ใช้เซนเซอร์เสียงและการแปลงฟูเรียร์แบบเร็วเพื่อแปลงสัญญาณเสียงให้อยู่ในรูปของโดเมนความถี่ จากนั้นระบุความถี่การยึดติดและคำนวณพื้นที่ใต้กราฟ และใช้เทคนิคการรู้จำแบบและการแบ่งแบบอาบิทารีในการจำแนกชิ้นงานที่ไม่มีการยึดติดออกจากชิ้นงานที่มีการยึดติด โดยทำการทดลองกับวินเซิร์ฟทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่วินเซิร์ฟ 1,วินเซิร์ฟ 2,วินเซิร์ฟ 3 และ วินเซิร์ฟ 4 ที่ประกอบด้วยแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ที่มีความหนาเท่ากันแต่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน ผ้าใยแก้วและผ้าคาร์บอนที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน โดยผลการทดลองพบว่า ความหนาแน่นของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าใยแก้วและผ้าคาร์บอนมีผลต่อความถี่การยึดติด โดยวินเซิร์ฟที่ประกอบด้วยแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าใยแก้วและผ้าคาร์บอนที่มีความหนาแน่นสูงจะมีความถี่การยึดติดสูงกว่าวินเซิร์ฟที่ประกอบด้วยแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าใยแก้วและผ้าคาร์บอนที่มีความหนาแน่นต่ำ และความเข้มพาวเวอร์สเปกตรัมที่ความถี่การยึดติดนี่เองที่บ่งบอกการยึดติดของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์กับผ้าใยแก้วหรือผ้าคาร์บอน โดยความเข้มเพาเวอร์สเปกตรัมที่มากจะแปรผันตรงกับพื้นที่ใต้กราฟ ซึ่งพื้นที่ใต้กราฟที่มากหมายถึงการยึดติดที่ดีด้วย ผลการทดลองพบว่าจุดที่มีการยึดติดมีพื้นที่ใต้กราฟมากกว่าจุดที่มีการยึดติดบางส่วนและมากกว่าจุดที่ไม่มีการยึดติด โดยรูปแบบพื้นที่จำแนกการไม่ยึดติดของวินเซิร์ฟ 1 มีค่า ≤ 0.23 dB2 วินเซิร์ฟ 2 ≤ 0.25 dB2 วินเซิร์ฟ 3 ≤ 0.36 dB2 วินเซิร์ฟ 4 ≤ 0.26dB2 และผลการทดสอบความแม่นยำของรูปแบบพื้นที่จำแนกการยึดติดของวินเซิร์ฟ 1 วินเซิร์ฟ 2 และ วินเซิร์ฟ 4 มีค่าเท่ากับ 80% และ วินเซิร์ฟ 3 มีค่าเท่ากับ 90% จากผลการทดลองพบว่า การพัฒนาการตรวจสอบการยึดติดด้วยการใช้เซนเซอร์เสียงนี้ สามารถนำไปใช้ตรวจสอบการไม่ยึดติดได้ โดยไม่ต้องอาศัยทักษะการตรวจสอบของพนักงาน


การเพิ่มสมรรถนะของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบระบายความร้อนด้วยอากาศในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, นิธิพงศ์ ช่างหล่อ Jan 2019

การเพิ่มสมรรถนะของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบระบายความร้อนด้วยอากาศในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, นิธิพงศ์ ช่างหล่อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีหน้าที่ลดอุณหภูมิของของไหลในกระบวนการผลิตให้ได้ตามที่กำหนด ในกรณีศึกษานี้พบว่า เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบระบายความร้อนด้วยอากาศซึ่งทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของคอนเดนเสทเรซิดิวนั้นประสบปัญหาไม่สามารถลดอุณหภูมิได้ตามที่กำหนด จึงได้มีการนำระบบหมอกน้ำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถนะการถ่ายเทความร้อน โดยมีสมมติฐานว่าระบบหมอกน้ำสามารถช่วยลดอุณหภูมิอากาศขาเข้าของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ส่งผลให้สามารถถ่ายเทความร้อนได้มากขึ้น งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองเพื่อหาค่าสภาวะที่เหมาะสมของการประยุกต์ใช้ระบบหมอกน้ำ มีปัจจัยที่สนใจได้แก่ 1) ความดันน้ำของระบบหมอกน้ำ 2) ความดันอากาศของระบบหมอกน้ำ และ 3) จำนวนหัวพ่นหมอกน้ำ ผลการทดลองพบสภาวะที่เหมาะสมดังนี้ ความดันน้ำของระบบหมอกน้ำ 0.6 MPa ความดันอากาศของระบบหมอกน้ำ 0.2 MPa และจำนวนหัวพ่น 16 หัว ซึ่งสามารถลดอุณหภูมิอากาศขาเข้าของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบระบายความร้อนด้วยอากาศให้ต่ำลงได้ 2.31 OC ถึง 2.41 OC ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ทำให้มีความสามารถในการรับภาระการระบายความร้อนได้เพิ่มขึ้น 129.91 kW คิดเป็นเพิ่มขึ้น 3.89% เมื่อนำค่าสภาวะนี้ไปใช้ในแบบจำลองของกระบวนการผลิตพบว่าผลผลิตจากกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 84 ตัน/ชั่วโมง เป็น 87 ตัน/ชั่วโมง คิดเป็นเพิ่มขึ้น 3.57 %


การออกแบบกรอบการทำงานในการเก็บความต้องการผู้ใช้และทดสอบระบบของระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการเงิน, พงษ์ลดา โอทาตะวงค์ Jan 2019

การออกแบบกรอบการทำงานในการเก็บความต้องการผู้ใช้และทดสอบระบบของระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการเงิน, พงษ์ลดา โอทาตะวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสถาบันการเงินกรณีศึกษามีข้อจำกัดทางด้านความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศจึงมีการจ้างบริษัทภายนอกเพื่อสนับสนุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่นเดียวกับกรณีศึกษาระบบการออกเอกสารในสถาบันการเงิน สถาบันการเงินได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าเกี่ยวกับความผิดพลาดในการออกเอกสารที่เกิดจากการทำงานของระบบและความผิดพลาดของมนุษย์ในการดำเนินงาน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการออกแบบกรอบการทำงานในการเก็บความต้องการของผู้ใช้และการทดสอบการใช้งานในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ ป้องกันข้อผิดพลาดในการทำงานของระบบและกำหนดนโยบายกระบวนการตรวจสอบคุณภาพเอกสารก่อนส่งมอบให้ลูกค้าเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากความผิดพลาดของมนุษย์ในการปฏิบัติงาน การวัดความพึงพอใจโดยรวม (System Usability Scale) ในการใช้งานกรอบการทำงานแสดงให้เห็นว่าหลังจากเสนอกรอบการทำงานในการเก็บความต้องการของผู้ใช้และการทดสอบการใช้งานระบบให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ ระดับความพึงพอใจที่มีต่อกรอบการทำงานใหม่และกรอบการทำงานเดิมในการเก็บความต้องการของผู้ใช้และการทดสอบการใช้งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.93 และ 20.00 ตามลำดับ หลังจากหกเดือนที่มีการดำเนินการใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของเอกสารพบว่าไม่มีข้อร้องเรียนจากลูกค้าเกี่ยวกับความผิดพลาดในการออกเอกสาร


การวิเคราะห์การตัดสินใจเพื่อการจัดหาเครื่องจักรหนักในงานก่อสร้าง, ศุภิสรา พันธ์ดารา Jan 2019

การวิเคราะห์การตัดสินใจเพื่อการจัดหาเครื่องจักรหนักในงานก่อสร้าง, ศุภิสรา พันธ์ดารา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นโยบายการจัดหาเครื่องจักรมีความสำคัญต่อการดำเนินงานโครงการสร้างถนนให้เป็นไปอย่างราบรื่น การวิเคราะห์นโยบายดังกล่าวควรครอบคลุมทั้งปัจจัยเชิงปริมาณและปัจจัยเชิงคุณภาพซึ่งจะเป็นการดีกว่าการวิเคราะห์ที่เน้นปัจจัยเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงการวิเคราะห์นโยบายโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและผลของการนำไปกำหนดเป็นนโยบายขององค์กร การดำเนินงานวิจัยได้สร้างผังโครงสร้างการตัดสินใจเชิงลำดับชั้นซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์หลัก 5 เกณฑ์ เกณฑ์รอง 6 เกณฑ์ และนโยบายทางเลือก 2 นโยบาย เกณฑ์หลักได้แก่ ค่าใช้จ่ายของเครื่องจักร ความง่ายต่อการซ่อมบำรุง อายุของเครื่องจักร ความสามารถของผู้บริการ และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายทางเลือกได้แก่ นโยบายซื้อเครื่องจักรใหม่ และนโยบายซ่อมคืนสภาพเครื่องจักรเดิม จากตัวอย่างในกรณีศึกษาได้ผลการวิเคราะห์การทดแทนเครื่องจักรว่าให้เลือกนโยบายซ่อมคืนสภาพเครื่องจักรเดิมสำหรับเครื่องจักรทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากผลการวิเคราะห์ของกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น โดยเครื่องจักรหนักที่มีอายุงาน 16-31 ปี ให้เลือกนโยบายซื้อเครื่องจักรใหม่ และเครื่องจักรหนักที่มีอายุงาน 3-6 ปี ให้เลือกนโยบายซ่อมคืนสภาพเครื่องจักรเดิม โดยเกณฑ์หลักที่มีความสำคัญอันดับต้น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายของเครื่องจักร และความง่ายต่อการซ่อมบำรุง ส่วนเกณฑ์รองที่สำคัญอันดับต้น ได้แก่ ค่าปรับจากการส่งงานล่าช้า และอายุทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังพบว่าการกำหนดนโยบายซ่อมคืนสภาพเครื่องจักรเดิมส่งผลต่อการปรับปรุงเครื่องจักรหนักให้มีค่าความพร้อมใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 12%


การลดข้อบกพร่องในงานดัดแปลงรถบรรทุกตามความต้องการของลูกค้าที่มาจากการแจ้งข้อร้องเรียนหลังการใช้งานรถบรรทุกของลูกค้า, สมยศ ผ่องใส Jan 2019

การลดข้อบกพร่องในงานดัดแปลงรถบรรทุกตามความต้องการของลูกค้าที่มาจากการแจ้งข้อร้องเรียนหลังการใช้งานรถบรรทุกของลูกค้า, สมยศ ผ่องใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดข้อบกพร่องจากข้อร้องเรียนของลูกค้าในงานดัดแปลงรถบรรทุกของบริษัทกรณีศึกษา โดยศึกษาส่วนงานดัดแปลงรถบรรทุกตามความต้องการของลูกค้า ข้อร้องเรียนจากข้อบกพร่องประเภทแชสซีเสียหายเป็นเรื่องที่ถูกแจ้งมากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อบริษัท ผู้วิจัยจึงนำเอาเทคนิค ซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) มาประยุกต์ใช้ ดำเนินงานวิจัยตามหลักการ DMAIC เพื่อปรับปรุง และพัฒนากระบวนการดัดแปลงในส่วนงานเชื่อมโลหะให้มีคุณภาพ โดยใช้การออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน (Box-Behnken Design) เพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสม ปัจจัยที่ใช้ทำการทดลองมี 3 ปัจจัย คือ กระแสไฟ แรงเคลื่อนไฟฟ้า และอัตราการไหลของแก๊สคลุม ซึ่งในการทดลองผู้วิจัยทำการศึกษาพฤติกรรมของพนักงานเชื่อม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมช้า และกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมเร็ว ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลการทดลองเชิงสถิติ ผลจากการทดลองพบว่า ปัจจัยกระแสไฟ แรงเคลื่อนไฟฟ้า และอัตราการไหลของแก๊สคลุม ส่งผลกระทบต่อการเกิดข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีระดับปัจจัยที่เหมาะสมในกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมช้า กระแสไฟ 185 แอมแปร์ แรงเคลื่อนไฟ 150 โวลท์ และอัตราการไหลของแก๊สคลุม 20 ลิตร/นาที และกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมเร็ว กระแสไฟ 235 แอมแปร์ แรงเคลื่อนไฟ 175 โวลท์ และอัตราการไหลของแก๊สคลุม 30 ซม./นาที จากผลของการปรับปรุงครั้งนี้ทำให้สัดส่วนของเสียที่เกิดข้อบกพร่องในกระบวนการดัดแปลงรถบรรทุก ส่วนงานเชื่อมโลหะ จาก 0.60% ลดลงเหลือ 0.12% และจาก 0.72% ลดลงเหลือ 0.20% ของกลุ่มพฤติกรรมการเชื่อมช้า และเร็ว ตามลำดับ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายงานซ่อมแซมของบริษัทกรณีศึกษาลงได้


การลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปกระเบื้องดินเผาปูพื้นโดยใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา, วรรณศิกา ศิริมงคล Jan 2019

การลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปกระเบื้องดินเผาปูพื้นโดยใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา, วรรณศิกา ศิริมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปกระเบื้องดินเผาปูพื้น โดยการแก้ไขการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยประยุกต์ใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา จากการศึกษาพบว่าปริมาณการเกิดของเสียประเภทกระเบื้องผิวหน้าไม่เรียบในกระบวนการขึ้นรูปมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 152,871.16 DPPM (Defect Parts per Million) ในงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา ทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการนิยามปัญหา ขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการปรับปรุงและแก้ไขกระบวนการและขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการศึกษารายละเอียดของกระบวนการผลิตเพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัญหากระเบื้องผิวหน้าไม่เรียบ ต่อมาในขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหาจะทำการศึกษาความแม่นยำและความถูกต้องของระบบการวัด การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพแสดงสาเหตุและผล และคัดเลือกตัวแปรนำเข้าโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) จากนั้นจึงได้ทำการออกแบบการทดลองเพื่อหาปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญต่อสัดส่วนของเสียและหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย ผลการศึกษาพบว่าค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม คือรูตะแกรงของเครื่องบดมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ขนาดตะแกรงร่อนของเครื่องบดเบอร์ 18 (Mesh No.18) และขนาดตะแกรงร่อนก่อนขึ้นกระพ้อลำเลียงเบอร์ 8 (Mesh No.8) หลังการปรับปรุงกระบวนการพบว่าจำนวนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการขึ้นรูปกระเบื้องดินเผาปูพื้นลดลงเหลือ 34,610 DPPM ซึ่งสามารถลดการเกิดของเสียลงได้ถึง 77% เมื่อเทียบกับจำนวนของเสียก่อนการปรับปรุง


การลดของเสียในแผงวงจรรวมแบบไม่สัมผัส, ธัญวรัตน์ สวัสดิ์สุภผล Jan 2019

การลดของเสียในแผงวงจรรวมแบบไม่สัมผัส, ธัญวรัตน์ สวัสดิ์สุภผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แผงวงจรรวมแบบไม่สัมผัส ซึ่งเป็นชิพที่ใช้เก็บข้อมูลในอีพาสปอร์ต จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตพบว่าในกระบวนการผลิตมีของเสียประเภทวีลิมิเตอร์ ซึ่งตรวจพบที่แผนกทดสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้า เมื่อนำชิ้นงานของเสียมาวิเคราะห์และตรวจสอบพบว่า ชิ้นงานของเสียนั้นมีปัญหารอยแตกร้าวบริเวณหน้าได ซึ่งจำนวนของเสียเมื่อเทียบต่อล้านชิ้นสูงที่สุดที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1661 PPM โดยมีสาเหตุมาจากความผันแปรของเครื่องจักรในกระบวนการห่อหุ้มชิ้นงาน งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้หลักการซิกส์ ซิกม่า ในการปรับปรุงกระบวนการโดยการดำเนินการตามหลัก DMAIC ใน ขั้นตอนการนิยามปัญหา,ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบวัด,ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา,ขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการ,จนกระทั่งถึง ขั้นตอนควบคุมกระบวนการ.ซึ่งการดำเนินการวิจัยพบว่าสาเหตุของความผันแปรของเครื่องจักรในกระบวนการห่อหุ้มชิ้นงานนั้นเกิดจาก แปรงที่ใช้ทำความสะอาดหน้าแม่พิมพ์เกิดการชำรุดส่งผลให้หน้าแม่พิมพ์ มีความสะอาดไม่เพียงพอมีเศษผงของคอมปาวด์พลาสติก และคราบคอมปาวด์พลาสติกติดค้างอยู่บริเวณหน้าแม่พิมพ์ซึ่งส่งผลให้ เมื่อชิ้นงานถัดไปเข้าสู่กระบวนการห่อหุ้มชิ้นงาน เกิดแรงประทะระหว่างแม่พิมพ์กับเศษผงของคอมปาวด์พลาสติกและกระแทกเข้ากับชิ้นงานบริเวณหน้าไดแรงประทะส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวบริเวณหน้าได ทำให้ชิ้นงานไม่ผ่านการทดสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าประเภทวีลิมิเตอร์ ทางผู้วิจัยจึงได้แก้ไขปัญหานี้โดยการเปลี่ยน แปรงทำความสะอาดหน้าแม่พิมพ์และกำหนดให้มีการทำความสะอาดหน้าแม่พิมพ์ทุกครั้งก่อนเริ่มงานล๊อตใหม่ และมีการตรวจเช็คสภาพแปรงทำความสะอาดหน้าแม่พิมพ์ทุกหนึ่งเดือน ตลอดจนกำหนดอายุการใช้งานที่สามเดือน เปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน การติดตามผลการปรับปรุงพบว่าจำนวนของเสียเมื่อเทียบต่อล้านประเภทรอยแตกร้าวบริเวณหน้าไดลดลงจาก 1661 PPM เหลือเพียง 902 PPM


การทำนายจำนวนรอบการปั่นผสมของใบพัดหลักในกระบวนการผสมเปียกโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมและสมการถดถอยประเภทซัพพอร์ตเวกเตอร์, บุญญสิษฐ์ ชำนาญท่องไพวัลห์ Jan 2019

การทำนายจำนวนรอบการปั่นผสมของใบพัดหลักในกระบวนการผสมเปียกโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมและสมการถดถอยประเภทซัพพอร์ตเวกเตอร์, บุญญสิษฐ์ ชำนาญท่องไพวัลห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิธีการผสมเปียกเป็นวิธีที่ใช้กันมากในการผลิตยาเม็ดระดับอุตสาหกรรมเนื่องด้วยสามารถปรับปรุงคุณภาพการตอกอัดด้วยกระบวนการผสมเชิงกลระหว่างสารละลายยึดเกาะและผงส่วนประกอบยาในชามผสม หรือ การผสมเปียก การผสมเปียกเป็นกระบวนที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของยาเม็ดมากที่สุดอีกทั้งพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องยังแตกต่างตามสูตรตำรับและเครื่องผสมเปียกดังเช่นโรงงานกรณีศึกษาซึ่งใช้ประสบการณ์และการลองผิดลองถูกในการประเมินเวลาการผสม งานวิทยานิพนธ์มีเป้าหมายเพื่อประยุกต์การใช้แนวคิดโครงข่ายประสาทเทียมและสมการถดถอยประเภทซัพพอร์ตเวกเตอร์ในการทำนายจำนวนรอบปั่นผสมของใบพัดหลัก หลังจากดำเนินการลดมิติของข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและสหสัมพันธ์แล้ว ข้อมูลองค์ประกอบหลักถูกแบ่งเพื่อทำการฝึกฝนและการทดสอบแบบจำลอง การวิเคราะห์แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมพบว่าแบบจำลองแบบ 2 ชั้นซ่อนดีกว่าแบบจำลองแบบ 1 ชั้นซ่อนโดยฟังก์ชันถ่ายโอนประเภท Log-sigmoid หรือ Tan-sigmoid ให้ผลดีกว่า อย่างไรก็ตาม แบบจำลองสมการถดถอยประเภทซัพพอร์ตเวกเตอร์จะพยากรณ์ได้ดีกว่าแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม โดยความแม่นยำในการพยากรณ์จะขึ้นอยู่กับชนิดของเคอร์เนลฟังก์ชัน (Kennel Function) อันได้แก่เคอร์เนลฟังก์ชันแบบเส้นตรง (Linear) แบบพหุคูณ (Polynomial) หรือแบบเกาส์เซียน (Gaussian) หลังจากการทดสอบความอ่อนไหวและความแม่นยำของแบบจำลองสมการถดถอยประเภทซัพพอร์ตเวกเตอร์ที่ใช้เคอร์เนลฟังก์ชันต่าง ๆ พบว่าแบบจำลองที่ใช้เคอร์เนลฟังก์ชันแบบเกาส์เชียนมีความเหมาะสมมากที่สุดในการพยากรณ์


ออกแบบระบบคำนวณเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝากและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน, แพรววินิต กันทะวิน Jan 2019

ออกแบบระบบคำนวณเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝากและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน, แพรววินิต กันทะวิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขสาเหตุการคำนวณเงินนำส่งไม่ถูกต้อง ลดรอบเวลาการทำงาน และลดเวลาปฏิบัติงานของพนักงานระดับกลางในกระบวนการคำนวณเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝากและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ การเพิ่มกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลอัตโนมัติในกระบวนการรับข้อมูลเข้าระบบสำรองข้อมูล การเปลี่ยนผู้ตรวจสอบในกระบวนการป้อนข้อมูลเข้าระบบบัญชี การปรับปรุงกระบวนการคำนวณเงินนำส่งให้เป็นมาตรฐาน และการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติแบบหุ่นยนต์เพื่อทดแทนการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลการวิจัยพบว่า สามารถตรวจสอบและแก้ไขสาเหตุการคำนวณเงินนำส่งไม่ถูกต้องได้ รอบเวลาการทำงานลดลงจากเดิม 26 วัน เหลือ 10 วัน และเวลาปฏิบัติงานของพนักงานลดลงจากเดิม 577 นาที เหลือ 85 นาที


ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนสูตรน้ำยาโฟมที่มีผลต่อความแข็งของเบาะรถยนต์, จารุวัตร จินดาทองประภา Jan 2019

ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนสูตรน้ำยาโฟมที่มีผลต่อความแข็งของเบาะรถยนต์, จารุวัตร จินดาทองประภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนสูตรน้ำยาโฟมเบาะรถยนต์ที่มีต่อความแข็งของเบาะรถยนต์ เนื่องจากพบปัญหาเบาะรถยนต์มีค่าความแข็งที่ไม่ได้ตรงตามมาตรฐานของลูกค้าจำนวนมาก ถึง 34.95 เปอร์เซ็นต์ ของลูกค้าที่มีการผลิตสูงสุดในโรงงานกรณีศึกษา วิเคราะห์สาเหตุด้วยแผนภูมิก้างปลา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อค่าความแข็งของโฟมนั้นคือ สูตรน้ำยาโฟม ซึ่งประกอบด้วย 1) น้ำยาโฟม PA ที่มีส่วนผสมระหว่าง Polyol น้ำ สารลดแรงตึงผิว สารฟู เจล และซิลิโคน ในสัดส่วนเท่ากัน 2) น้ำยาโฟม PC ที่มีส่วนผสมระหว่าง โคพอลิเมอร์ (ระหว่าง Polyoxyalkylenepolol กับ styrene-acrylonitrile polymer) สารลดแรงตึงผิว สารฟู เจล และซิลิโคน ในสัดส่วนเท่ากัน 3) น้ำยาโฟม ISO หรือ ที่เรียกว่า ไอโซไซยาเนต ออกแบบการทดลองโดยมีสูตรน้ำยาโฟมเป็น 3 ปัจจัย และ ระดับของปัจจัยละ 3 ระดับ ทั้งหมด 27 การทดลอง ภายใต้ข้อจำกัดของ ระยะเวลาในการบ่ม 6 นาที และ อุณหภูมิของแม่พิมพ์ 65 องศาเซลเซียส วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยโปรแกรม Minitab โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณและการถดถอยแบบขั้นตอนผสมระหว่างการเลือกแบบก้าวหน้าและการตัดทิ้งแบบถอยหลัง ซึ่งพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % นั้น PA, PC, ISO, ISO*ISO และ ISO*PC มีผลต่อค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญโดยที่ค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์มีทิศทางเพิ่มขึ้นนั้นเมื่อ น้ำยาโฟม PC และ น้ำยาโฟม ISO เพิ่มปริมาณขึ้น ขณะที่เมื่อเพิ่มปริมาณ น้ำยาโฟม PA นั้นมีผลต่อค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์ในทิศทางลดลง โดยค่าความแข็งและปัจจัยต่างๆมีความสัมพันธ์กันดังสมการ ค่าความแข็งของโฟม = 4551 - 2.991 PC - 30.70 ISO - 0.2407 PA + …


การคัดแยกของเสียอัตโนมัติในกระบวนการผลิตหัวอ่านเขียนด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอลและการจดจำรูปแบบ, พลวุฒิ จตุราวิชานันท์ Jan 2019

การคัดแยกของเสียอัตโนมัติในกระบวนการผลิตหัวอ่านเขียนด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอลและการจดจำรูปแบบ, พลวุฒิ จตุราวิชานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาอัลกอริทึมที่ใช้ในการตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในสายการผลิต ปัจจุบันนี้กระบวนการตรวจสอบคัดแยกชิ้นงานดำเนินงานโดยพนักงานที่มีทักษะในการตรวจสอบชิ้นงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของพนักงานโดยตรง และทำให้เกิดความผิดพลาดจากการตัดสินโดยพนักงานที่ไม่มีทักษะในการตรวจสอบชิ้นงาน จึงมีการพัฒนาการตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพชิ้นงาน โดยการประยุกต์ใช้กล้องถ่ายภาพและเทคนิคการประมวลผลภาพดิจิตอลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลภาพ โดยพิจารณาจำนวนแผ่นอิเล็กโทรด ค่าพื้นที่นูนและค่าความเยื้องศูนย์ จากนั้นใช้คุณสมบัติการวัดของขอบเขตภาพเพื่อปรับปรุงอัลกอริทึมตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพของหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในกระบวนการผลิต โดยทำการทดลองกับหัวอ่านเขียนทั้งหมด 30 ชิ้น เพื่อเก็บข้อมูลและ นำข้อมูลที่เก็บมาได้ไปวิเคราะห์หาค่าเป้าหมายของ 1. จำนวนแผ่นอิเล็กโทรด มีค่าเป้าหมายเท่ากับ 9 แผ่น 2. ค่าพื้นที่นูน มีค่าเป้าหมายอยู่ระหว่าง 3906 - 5590 และ 3. ค่าความเยื้องศูนย์ มีค่าเป้าหมายอยู่ระหว่าง 7.89 - 8.40 เพื่อใช้ในการฝึกอัลกอริทึม (Training) ให้เกิดการรู้จำค่าเป้าหมาย และ ขั้นตอนสุดท้ายคือการทดลองอัลกอริทึม โดยการตรวจสอบชิ้นงาน 10 ชิ้น หลังผลการทดลองพบว่า อัลกอริทึมสามารถตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพชิ้นงานได้ถูกต้อง 100%


ผลกระทบของสัดส่วนการผสมน้ำมันเตาที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุน, อภิชญา คชาสถาพร Jan 2019

ผลกระทบของสัดส่วนการผสมน้ำมันเตาที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุน, อภิชญา คชาสถาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบของสัดส่วนการผสมน้ำมันเตาที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุนโดยการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยหุคูณ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ใช้ในการผสมเป็นน้ำมันเตามีทั้งหมด 4 ชนิดได้แก่ กากของหน่วยแยกความหนืด น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน และกากบรรยากาศหน่วยแยกกากคอนเดนเสท คุณสมบัติน้ำมันเตาที่บริษัทกรณีศึกษาให้ความสำคัญในการพิจารณาส่งมอบ มีทั้งหมด 4 คุณสมบัติ ได้แก่ จุดวาบไฟ ปริมาณกำมะถัน จุดไหลเท และค่าความหนืด โดยพบว่าคุณสมบัติน้ำมันเตาอยู่ในค่ามาตรฐานอุตสาหกรรมแต่มีความคลาดเคลื่อนไปจากค่ามาตรฐานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันเตาจึงไม่ใช่ต้นทุนที่ต่ำที่สุด งานวิจัยนี้ใช้สมการถดถอยหลายรูปแบบในการวิเคราะห์พิจารณาหาสัดส่วนการผสมน้ำมันเตาที่เหมาะสม พบว่าการใช้สมการถดถอยแบบวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน มีค่าแม่นยำมากที่สุดโดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจปรับค่า (R2-adj) อยู่ระหว่าง 83-99% และค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์มีค่าต่ำที่สุดอยู่ระหว่าง 1-12% เมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์การถดถอยตัวแปรแบบพหุคูณและการเลือกตัวแปรโดยเพิ่มตัวแปรแบบขั้นตอน เมื่อนำข้อมูลจริงของการผสมน้ำมันเตาในปี 2017-2019 จำนวน 40 ชุดข้อมูล มาใช้กับสมการถดถอยของสัดส่วนการผสมน้ำมันเตาแบบวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน เพื่อวิเคราะห์หาสัดส่วนการผสมน้ำมันเตาที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรมการแก้ปัญหาเชิงเส้นโดยฟังก์ชัน Solver ของ Microsoft Excel พบว่าต้นทุนการผลิตน้ำมันเตาลดลงทั้งหมดรวม 2.4 ล้านบาท หรือ 6 หมื่นบาทต่อชุดข้อมูล คิดเป็นอัตราส่วนลดลงร้อยละ 23% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด


การพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงานสำหรับการกลึงซีเอ็นซีโดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม, อริชยา เผือกหอม Jan 2019

การพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงานสำหรับการกลึงซีเอ็นซีโดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม, อริชยา เผือกหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงาน ภายใต้กระบวนการการควบคุมด้วยเงื่อนไขการตัดและอัตราส่วนแรงตัดที่เกิดขึ้นในขณะกลึงซีเอ็นซีของชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอน S45C ด้วยมีดคาร์ไบด์เคลือบผิว โดยมีเงื่อนไขการตัดที่ความเร็วตัด 100 - 260 เมตร/นาที อัตราการป้อนตัด 0.1 - 0.3 มิลลิเมตร/รอบ ความลึกในการตัด 0.2 - 0.8 มิลลิเมตร รัศมีจมูกมีดตัด 0.4 และ 0.8 มิลลิเมตร และมุมคายเศษวัสดุ -6 และ +11 องศา การแปลงฟูเรียร์อย่างเร็วถูกใช้เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงตัดและความขรุขระผิวในโดเมนความถี่ โดยพบว่ามีความถี่ที่ตรงกัน อัตราส่วนแรงตัดจึงถูกประยุกต์ใช้เพื่อพยากรณ์ความขรุขระผิวชิ้นงานเฉลี่ย (Ra), ความขรุขระผิวชิ้นงานสูงสุด (Rz) และความตรงผิวชิ้นงาน (St) ในกระบวนการโดยที่เงื่อนไขการตัดไม่เปลี่ยนแปลงไป ค่าความตรงและความขรุขระผิวถูกคำนวณด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบสองชั้นป้อนไปข้างหน้า ซึ่งได้รับการฝึกฝนโดยใช้การเรียนรู้แบบแพร่ค่าย้อนกลับของเลเวนเบิร์ก-มาร์ควอร์ด จากการเปรียบเทียบผลการทดลอง พบว่าวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดให้การพยากรณ์ที่มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 67.96%, 69.50% และ 59.29% ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความแม่นยำสูง เมื่อทำการเปรียบเทียบกับโครงข่ายประสาทเทียมที่มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 61.19%, 67.96% และ 40.71% ตามลำดับ สำหรับชิ้นงานอะลูมิเนียม (Al 6063) อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์ชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอน (S45C) โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่ได้รับการฝึกสอนแล้วของค่าความขรุขระผิวชิ้นงานเฉลี่ย ค่าความขรุขระผิวชิ้นงานสูงสุด และค่าความตรงเบี่ยงหนีศูนย์มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 88.78%, 92.51% และ 91.89% ตามลำดับ ส่วนวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดให้ค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 91.89%, 91.79% and 91.85% ตามลำดับ


Reducing The Defects Of A-Pillar Stamping Partin Automotive Assembly Process, Hassakorn Rojpitinithikorn Jan 2019

Reducing The Defects Of A-Pillar Stamping Partin Automotive Assembly Process, Hassakorn Rojpitinithikorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The goal of this research is to minimize defects in the process of automotive assembly. Regarding the one-year defect and value; the biggest defect cost come from portion of the A-Pillar stamping parts. Therefore, by using Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) to examine it and perform experiments using the Design of Experiment (DOE), we investigated the production process as well as figuring out the cause of the problems that happen in the stamping process. The results found that the issue arose from the design of stamping die, which is the risk of springback problems of parts, is not good …


Utilizing User-Generated Content To Analyze Tours And Activities In Bangkok: A Tripadvisor Case Study, Naina Chugh Jan 2019

Utilizing User-Generated Content To Analyze Tours And Activities In Bangkok: A Tripadvisor Case Study, Naina Chugh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The overarching goal of this paper is to gain visibility on tourist preferences and whether or not the needs of tourists are being met. With the Travel and Tourism (T&T) sector being the backbone to the global economy and the sector becoming more saturated and competitive, insights on T&T are vital now, more than ever. The rise of social media and user-generated content has effectuated the opportunity for a systematic analysis of tourist preferences via user-generated content. This paper is focused on gaining insights into tourism in Bangkok, Thailand through user-generated content scraped from TripAdvisor’s online reviews of tours and …


Forecasting Daily Foreign Tourists For A Tour Operator In Thailand, Pornpawit Niamjoy Jan 2019

Forecasting Daily Foreign Tourists For A Tour Operator In Thailand, Pornpawit Niamjoy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tour operators are playing an important role in the tourism industry which is an essential part of industries for Thailand's economy. Accurate tourist forecasting of daily tourist demands for tour operators is very important in revenue management and planning of tour operators, such as providing a guide or vehicle for each day. This research has presented and compared the forecasting models that will be selected to be suitable for the tour operator for a case-study company. The forecasting models used in this research consist of Seasonal Autoregressive Integrated Moving Average model (SARIMA), Seasonal Autoregressive Integrated Moving Average model with exogenous …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้านทานแรงดึงในการเชื่อมพลาสติกพอลิโพพิลีน(Pp)แบบอัลตราโซนิกของชิ้นส่วนยานยนต์, กมลพรรณ เชิดสูงเนิน Jan 2019

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้านทานแรงดึงในการเชื่อมพลาสติกพอลิโพพิลีน(Pp)แบบอัลตราโซนิกของชิ้นส่วนยานยนต์, กมลพรรณ เชิดสูงเนิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้านทานของดึงของการเชื่อมพลาสติกพอลิโพพิลีน(PP)แบบอัลตราโซนิก (PP-APBP-31 และ PP-APBP-2) เนื่องจากต้องการลดเวลาการทำงานของกระบวนการเชื่อมและรักษาค่าความต้านทานแรงดึงของจุดเชื่อมแต่ละจุดให้มีค่ามากกว่า 60 นิวตัน จึงต้องทำการควบคุมปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาคุณภาพของจุดเชื่อมไว้ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้านทานแรงดึงของจุดเชื่อมพลาสติกด้วยแผนภูมิก้างปลาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้านทานแรงดึงของจุดเชื่อมพลาสติก ได้แก่ ความหนาของผิวเชื่อม เวลาในการเชื่อมและแรงกดหัวเชื่อม ข้อกำหนดในการเชื่อมคือกำหนดความถี่ของเครื่องเชื่อมไว้ที่ 28.5 กิโลเฮิร์ต จากนั้นทำการทดลองโดยใช้การออกแบบการทดลองโดยวิธีบ๊อกซ์-เบห์นเคน(Box-Behnken) โดยกำหนดระดับปัจจัยปัจจัยละ 3 ระดับซึ่งทำการทดลองทั้งหมด 15 การทดลอง จากผลการทดลองพบว่าปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยมีอิทธิพลต่อความต้านทานแรงดึงของจุดเชื่อมพลาสติกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจอยู่ที่ 98.60 % จากนั้นทำการหาสภาวะที่เหมาะสม (Response Optimizer) จากผลการทดลองที่ได้พบว่าค่าที่เหมาะสมของปัจจัยแต่ละปัจจัยได้แก่ ความหนาของผิวเชื่อมอยู่ที่ 2.5 มิลลิเมตร เวลาที่ใช้ในการเชื่อม 3 วินาที และแรงกดหัวเชื่อม 10 นิวตัน และสามารถสรุปได้ว่ากระบวนการเชื่อมชิ้นงานในกรณีศึกษานี้สามารถลดเวลาในการเชื่อม 2 วินาทีต่อจุด (จาก 5 วินาทีเป็น 3 วินาทีต่อจุด) หรือลดได้ 30 วินาทีต่อชิ้นงาน จากการลดเวลาในกระบวนการเชื่อมพลาสติกทำให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในกรณีศึกษาสามารถผลิตชิ้นงานได้มากขึ้น 41 ชิ้นต่อวันหรือ 820 ชิ้นต่อเดือนจากปัจจุบัน


การจัดทำแผนพัฒนาด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล, ชนิกานต์ มุสิกทอง Jan 2019

การจัดทำแผนพัฒนาด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล, ชนิกานต์ มุสิกทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กร ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบรับนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ในการช่วยขับเคลื่อนประเทศ และเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจนอกเหนือจากการค้า อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ โรงงานกรณีศึกษา (ธุรกิจสิ่งพิมพ์ปลอดการปลอมแปลง) จึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาและวิเคราะห์ และจัดทำแผนพัฒนาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำงานระบบดิจิทัล (Digital Transformation) ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญในฐานะองค์กรรัฐวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิต คือการเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักรอัตโนมัติ เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่ทันสมัย ด้วยรากฐานของระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น โดยมุ่งเน้นที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้สู่รูปแบบโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ซึ่งเป็นการผสานการทำงานโดยเครื่องจักรอัตโนมัติและพนักงานผู้ควบคุมเครื่องจักร โดยมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านทางเครือข่ายซึ่งครอบคลุมการเก็บรวบรวมข้อมูล การควบคุม การสื่อสาร และการบริหารจัดการระบบ ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาข้อมูลที่กระจัดกระจายในแผนกต่างๆ ของโรงงาน สามารถเฝ้าติดตามสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ งานวิจัยนี้จึงได้จัดทำแผนพัฒนาด้านเครื่องจักรและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในองค์กร ได้แก่ ระบบสารสนเทศการผลิต ระบบเชื่อมโยงข้อมูล ระบบการตรวจติดตามสถานะ ระบบ RFID เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระบบการผลิตและระบบการบริหารสินค้าคงคลังของโรงงานให้สามารถรองรับระบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงในตลาดทั้งในด้านการให้บริการที่รวดเร็วและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างความอยู่รอดในอนาคตให้กับองค์กรได้อย่างมั่นคง


การจัดตารางทรัพยากรสำหรับระบบโลจิสติกส์ขาเข้าแบบบูรณาการของโรงงานน้ำตาล, ธารินทร์ โชติวนิช Jan 2019

การจัดตารางทรัพยากรสำหรับระบบโลจิสติกส์ขาเข้าแบบบูรณาการของโรงงานน้ำตาล, ธารินทร์ โชติวนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบโลจิสติกส์ขาเข้าของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยประกอบไปด้วยเกษตรกรไร่อ้อยอยู่เป็นจำนวนมาก หากแต่มีทรัพยากรการเก็บเกี่ยวที่จำกัด อีกทั้งยังขาดการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องแย่งชิงการใช้ทรัพยากรการเก็บเกี่ยวในบางช่วงเวลา ส่งผลทำให้เกิดปัญหาการเผาอ้อยก่อนตัด ตลอดจนการสูญเสียคุณภาพน้ำตาลจากการรอเทอ้อยตามมา ผู้วิจัยได้ทำการแก้ปัญหาดังกล่าวผ่านตัวแบบจำลองการจัดตารางทรัพยากรการเก็บเกี่ยวแบบหลายวัตถุประสงค์ (MOHRSP) อีกทั้งยังได้ทำการพัฒนาวิธีการทางฮิวริสติกส์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอ้างอิงจากวิธีการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดด้วยการเคลื่อนที่ของกลุ่มอนุภาค (PSO) ในวิธีการดังกล่าว ผู้วิจัยยังได้สอดแทรกวิธีการค้นหาเฉพาะที่อีก 3 รูปแบบ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการค้นหาคำตอบ ผู้วิจัยได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของฮิวริสติกส์ที่พัฒนาขึ้น โดยทำการเปรียบเทียบคำตอบที่ได้กับคำตอบจาก CPLEX ที่มีการจำกัดระยะเวลาในการคำนวณบนปัญหาที่สุ่มสร้างขึ้นจำนวน 30 ปัญหา ทั้งนี้ ผู้วิจัยพบว่า วิธีการค้นหาคำตอบที่ออกแบบขึ้น ให้ผลการค้นหาที่ดีทั้งในปัญหาแบบวัตถุประสงค์เดี่ยว และหลายวัตถุประสงค์ โดยคุณภาพของคำตอบที่ได้มีค่าใกล้เคียง หรือดีกว่าคำตอบของ CPLEX ในขณะที่ใช้เวลาในการค้นหาคำตอบที่สั้นกว่ามาก อย่างไรก็ดี ในการค้นหาคำตอบครั้งหนึ่ง ๆ ฮิวริสติกส์อาจให้กลุ่มคำตอบซึ่งไม่ถูกครอบงำเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอวิธีการในการคัดเลือกคำตอบ เพื่อช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจสามารถเลือกตารางการทำงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยยังสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมได้


การศึกษาการเกิดเศษโลหะของเหล็กกล้าไร้สนิม ในกระบวนการผลิตวาล์วควบคุมแรงดัน สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์, พยุห์ เกิดจงรักษ์ Jan 2019

การศึกษาการเกิดเศษโลหะของเหล็กกล้าไร้สนิม ในกระบวนการผลิตวาล์วควบคุมแรงดัน สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์, พยุห์ เกิดจงรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดเศษโลหะของเหล็กกล้าไร้สนิม เนื่องจากพบปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูของชิ้นงาน จากการเก็บข้อมูลของเสียระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ.2562 ในไลน์การผลิตที่ 1 และไลน์การผลิตที่ 2 พบว่าทั้งสองไลน์การผลิตมีสัดส่วนของเสียเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.11 หรือคิดเป็น 1,130 PPM ต่อเดือน ในการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยในระยะที่ 1 ทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่าปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูชิ้นงานเกิดในกระบวนการกลึงปาดหน้าด้วยมีดตัดหยาบเนื่องจากลักษณะของเศษโลหะที่เกิดปัญหากับเศษโลหะในกระบวนการมีความใกล้เคียงกันทั้งขนาดและรูปร่าง ระยะที่ 2 ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเศษโลหะ โดยพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแตกหักและทิศทางของเศษโลหะคือเงื่อนไขการตัด ที่ประกอบด้วย ความลึกตัด อัตราป้อนตัดและความเร็วรอบสปินเดิล ระยะที่ 3 กำหนดขั้นตอนในวิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปัจจุบันเศษโลหะมีโอกาสตกลงไปในรูของชิ้นงานทุกระยะตัด จากผลการเปลี่ยนเงื่อนไขการตัด พบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมคือเงื่อนไขที่ 1 คือการเพิ่มความลึกตัดให้มากสุดที่ไม่ส่งผลต่อขนาดของชิ้นงาน เนื่องจากเศษโลหะจะมีความหนาเพิ่มขึ้นทำให้แตกหักง่าย มีความโค้งงอที่ลดลง จาก 2.04-3.12 มิลลิเมตร เป็น 0.56-1.48 มิลลิเมตร ทิศทางการแตกหักจะชนกับชิ้นงานทำให้กระเด็นไปทางอื่น ผลทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ข้อมูล ไม่พบปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูชิ้นงานเนื่องจากขนาดของเศษโลหะที่เล็กลง สรุปได้ว่าเงื่อนไขการตัดหลังปรับปรุงมีความเหมาะสมในการลดโอกาสที่ทำให้เศษโลหะติดค้างในรูชิ้นงานได้ และระยะที่ 5 สรุปผลการทดลอง ข้อเสนอแนะและอุปสรรคในการทดลอง


การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาของเครื่องจักรกลหนักสำหรับการก่อสร้างถนน, ปาริสา ศิริพันธุ์ Jan 2019

การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาของเครื่องจักรกลหนักสำหรับการก่อสร้างถนน, ปาริสา ศิริพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักสำหรับงานก่อสร้างถนน เครื่องจักรกลหนักในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ รถเกลี่ยดิน รถบดสั่นสะเทือน รถบรรทุกน้ำ รถขุดไฮดรอลิก รถบรรทุกสิบล้อ รถบดล้อยางและรถตักล้อยาง หากเครื่องจักรใดเสียหรือทำงานผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องจักรอื่น ๆ ในขั้นตอนต่อไปและทำให้การก่อสร้างถนนอาจเกิดความล่าช้า จากกรณีศึกษานี้พบว่าเครื่องจักรมีความล้มเหลวเรื้อรังและเกิดลุกลามจนทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน ในขณะเดียวกันพบว่ามีการรั่วไหลของของเหลวและมีสัดส่วนการเสียของเครื่องจักรสูง เมื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าเกิดจากสามสาเหตุหลักได้แก่ (1) ขาดการจัดการการบำรุงรักษาในการปฏิบัติงาน (2) ขาดทัศนคติที่ดีต่อการบำรุงรักษาและ (3) ขาดระบบรายงานการบำรุงรักษา การดำเนินงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาระบบการบำรุงรักษาด้วยการนำการบำรุงรักษาด้วยตนเองและระบบรายงานการบำรุงรักษามาประยุกต์ใช้ ได้มีการนำวงจรเดมมิ่งและการมีส่วนร่วมของบุคลากรมาใช้เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุง มีผลทำให้บุคลากรในองค์กรมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีทัศนคติต่องานบำรุงรักษาที่ดีขึ้น เมื่อดำเนินการระบบการบำรุงรักษานี้เป็นเวลาหนึ่งปีกับหกเดือน พบว่าการรั่วไหลของของเหลวลดลง 84% ประสิทธิภาพการใช้ของเหลวเพิ่มขึ้นจาก 22% เป็น 70% และสัดส่วนการเสียของเครื่องจักรลดลง 53% นอกจากนี้ค่าบำรุงรักษาสามารถลดลงได้ 34-86%


การออกแบบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง, จินตชาติ ชาติพาณิชย์ Jan 2019

การออกแบบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง, จินตชาติ ชาติพาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศูนย์กระจายสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการควบคุมการไหลของสินค้าในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ในระดับค่าใช้จ่ายกับค่าแรงงานที่เหมาะสมศูนย์กระจายสินค้าจึงต้องทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการลูกค้าจากข้อมูลในอดีตดังเช่นศูนย์กระจายสินค้าไฟฟ้าแสงสว่างของบริษัทกรณีศึกษาที่ทำหน้าที่จัดเก็บและกระจายสินค้าที่มีขนาดน้ำหนักและรูปทรงที่แตกต่างกันอีกทั้งยังแตกหักง่ายจึงต้องอาศัยความระมัดระวังในการขนย้าย จากสภาพและธรรมชาติของสินค้าที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้กิจกรรมการหยิบเป็นกิจกรรมที่อาศัยชั่วโมงแรงงาน-คนมากที่สุดโดยสูญเสียไปกับการเดินทางและการค้นหาสินค้า นอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลของศูนย์กระจายสินค้าที่ศึกษาเบื้องต้นพบว่ารูปแบบคำสั่งซื้อส่วนใหญ่ของลูกค้ามีลักษณะที่มีจำนวนรายการต่อคำสั่งซื้อและปริมาณสินค้าอยู่ในระดับที่ต่ำในขณะที่อาศัยนโยบายการจัดเก็บแบบสุ่มและจัดเก็บในหน่วยของพาเลทความไม่สอดคล้องกันของรูปแบบความต้องการและวิธีการจัดเก็บส่งผลให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบต่อคำสั่งซื้ออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ผู้บริหารกำหนดไว้ที่ 10 นาทีต่อคำสั่งซื้อ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอการประยุกต์ใช้ Fast Picking Area (FPA) เพื่อลดเวลาในการเดินทางลงสำหรับการออกแบบการทดลองจะพิจารณาปัจจัยด้านขนาดพื้นที่ของ FPA, การจัดอันดับสินค้า, การปันส่วนพื้นที่สินค้า และ การจัดวางสินค้าโดยอาศัยการนำข้อมูลในอดีตไปทดสอบแบบจำลองสถานการณ์แบบ Monte Carlo เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลการออกแบบซึ่งผลการออกแบบที่ดีที่สุดสามารถลดเวลาการทำงานเฉลี่ยรวมต่อปีลงได้ 2768 ชั่วโมงเทียบเท่ากับการลดแรงงานคนลง 1.33 FTE ส่งผลให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบต่อคำสั่งซื้ออยู่ที่ 7.9 นาทีต่อคำสั่งซื้อซึ่งเร็วกว่าเวลาที่ทำได้ในปัจจุบันที่ 10 นาทีต่อคำสั่งซื้อ


การปรับปรุงกระบวนการผสมยางมาสเตอร์แบท Epdm ไม่มีน้ำมัน โดยใช้หลักการซิกซ์ ซิกมา, นภนิกันติ์ วงศ์ทรัพย์สกุล Jan 2019

การปรับปรุงกระบวนการผสมยางมาสเตอร์แบท Epdm ไม่มีน้ำมัน โดยใช้หลักการซิกซ์ ซิกมา, นภนิกันติ์ วงศ์ทรัพย์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผสมซึ่งจะสื่อออกมาในรูปของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ของบริษัทกรณีศึกษาและปรับปรุงกระบวนการผสม EPDM ที่ไม่ใช่น้ำมัน โดยใช้แนวคิด ซิกซ์ ซิกมา ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนหลักที่สำคัญที่เรียกว่า DMAIC ได้แก่ ขั้นตอนกำหนดปัญหา (Define phase) , ขั้นตอนการวัดเพื่อใช้หาสาเหตุของปัญหา (Measure phase) , ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา (Analyze phase) ,ขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการ (Improve phase) และสุดท้ายคือขั้นตอนการควบคุมกระบวนการ (Control phase) หลังจากใช้ขั้นตอน DMAIC ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าความหนืดมูนนี่เฉลี่ยที่ได้จากกระบวนการหลังปรับปรุง มีค่าเข้าใกล้ค่าที่คาดหวังหรือค่าเป้าหมายมากขึ้นและได้สะท้อนไปยังดัชนีความสามารถในกระบวนการที่เพิ่มขึ้น (Cpk) จาก -1.25 ถึง 3.92 นอกจากนี้ผลลัพธ์ของวิธี Response Surface Design เผยให้เห็นถึงการตั้งค่าสภาวะกระบวนการผสมยาง EPDM non-oil มาสเตอร์แบทที่เหมาะสมดังนี้: เวลาผสม ~ 14 (นาที), ระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง (nip gap) ~ 1.10 (มิลลิเมตร) และจำนวนรอบของการรีดผ่าน nip gap ~ 9 (รอบ) ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ลดลงจาก 0.45 เป็น 0.30


การกำหนดเวลาในขั้นทำแห้งทุติยภูมิของกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็งเพื่อควบคุมความชื้นคงเหลือของเภสัชภัณฑ์รูปแบบยาฉีด, ธราวิชญ์ ศุภคติสันติ์ Jan 2019

การกำหนดเวลาในขั้นทำแห้งทุติยภูมิของกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็งเพื่อควบคุมความชื้นคงเหลือของเภสัชภัณฑ์รูปแบบยาฉีด, ธราวิชญ์ ศุภคติสันติ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในฐานะคุณสมบัติด้านคุณภาพที่สำคัญ ความชื้นคงเหลือของเภสัชภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็งส่งผลโดยตรงต่อความคงตัวของผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามความแปรปรวนของความชื้นในแต่ละรอบการผลิตเกิดขึ้นเสมอเนื่องจากการตั้งสภาวะของขั้นทำแห้งทุติยภูมิคงที่โดยไม่พิจารณาลักษณะผลึกน้ำแข็งในขั้นเยือกแข็งที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงกำหนดแนวทางการหาค่าสภาวะที่เหมาะสมกับลักษณะผลึกน้ำแข็งในแต่ละรอบการผลิตจากความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น ณ จุดเริ่มต้นของขั้นทำแห้งทุติยภูมิและอุณหภูมิที่เกิดผลึกน้ำแข็ง ค่าความชื้น ณ จุดเริ่มต้นถูกกำหนดโดยวิธีการความผิดพลาดตกค้างน้อยที่สุดระหว่างค่าอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ที่วัดได้จริงตลอดขั้นทำแห้งทุติยภูมิและค่าที่ได้จากการคำนวณโดยสมการทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ตลอดขั้นทำแห้งทุติยภูมิด้วยความชื้น ณ เริ่มต้น เพื่อนำเสนอแนวทางดังกล่าว ข้อมูลการทดลองกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็งจำนวน 4 รอบการผลิตจากโรงงานเภสัชภัณฑ์กรณีศึกษาถูกใช้ในการหาค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องและสร้างสมการทำนายค่าความชื้น ณ จุดเริ่มต้นด้วยอุณหภูมิที่เกิดผลึกของผลิตภัณฑ์ จากนั้นประสิทธิภาพของสมการทำนายถูกประเมินด้วยชุดข้อมูลทดลอง ผลการประเมินยืนยันว่าสมการดังกล่าวสามารถใช้ทำนายความชื้นเริ่มต้นของขั้นทำแห้งทุติยภูมิจากอุณหภูมิที่เกิดผลึกน้ำแข็งระหว่าง -12.9°C และ -4.0°C ได้ และนำไปสู่แนวทางการปรับเวลาของขั้นทำแห้งทุติยภูมิในแต่ละรอบการผลิต เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมความชื้นคงเหลือของเภสัชภัณฑ์รูปแบบยาฉีดที่ผลิตด้วยกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็งในระดับอุตสาหกรรมต่อไป


การปรับปรุงค่าความแข็งของเบาะรถยนต์เพื่อลดแรงกดที่ก้นของผู้ขับขี่, ณัฐพงค์ ลี้วุฒิวิชัย Jan 2019

การปรับปรุงค่าความแข็งของเบาะรถยนต์เพื่อลดแรงกดที่ก้นของผู้ขับขี่, ณัฐพงค์ ลี้วุฒิวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้เบาะนั่งรถยนต์ที่เหมาะสมสามารถช่วยแก้ปัญหาความล้าจากการขับรถยนต์เป็นเวลานาน โดยการปรับปรุงค่าความแข็งของโฟมเบาะรองนั่งรถยนต์ที่สามารถลดแรงกดทับซึ่งเกิดขึ้นจากการนั่งขับรถยนต์เป็นเวลานาน จากการทดลองนั่งเบาะรองนั่งรถยนต์ที่มี 3 ค่าความแข็ง ได้แก่ 235.4 N , 276.4 N และ 313.9 N ที่มีรูปร่างเหมือนกันกับผู้เข้าร่วมการทดลอง 15 คน ตลอด 3 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ 10 นาที , 20 นาที และ 30 นาที โดยเก็บข้อมูล 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ แรงดันสูงสุด พื้นที่แรงดันในช่วงสูง พื้นที่ผิวสัมผัส และแรงดันเฉลี่ย ทุก ๆ 1 นาที ด้วยเครื่องมือวัด Pressure Mapping System ผลการศึกษาพบว่าค่าความแข็งของโฟมและระยะเวลาในการนั่งขับรถยนต์ 30 นาทีมีผลต่อการทดลองที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่าค่าแรงดันสูงสุด พื้นที่แรงดันในช่วงสูง และแรงดันเฉลี่ย มีค่าลดลงตามค่าความแข็งที่ลดลง แต่พื้นที่ผิวสัมผัสมีค่าเพิ่มขึ้นตามค่าความแข็งที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงทำให้พื้นที่แรงดันในช่วงสูง พื้นที่ผิวสัมผัส และแรงดันเฉลี่ย มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตลอดระยะเวลา 30 นาที แต่ค่าแรงดันสูงสุดไม่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา สรุปผลการทดลองโฟมหมายเลขที่1 ที่มีค่าความแข็ง 235.4N จะทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก และค่าแรงดันสูงสุด พื้นที่แรงดันในช่วงสูง แรงดันเฉลี่ยน้อยตามไปด้วย เนื่องจากพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะเพิ่มประสิทธิภาพของเบาะรองนั่งในการกระจายน้ำหนักของผู้นั่งได้ดีซึ่งจะช่วยลดพื้นที่แรงดันในช่วงสูง แรงดันเฉลี่ยและแรงดันสูงสุดบริเวณปุ่มกระดูกก้นได้มาก จะได้ผลดีกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย


การบำรุงรักษาโดยยึดความเชื่อถือได้เป็นหลักสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม, ปุณณวิช ฤทธิเดช Jan 2019

การบำรุงรักษาโดยยึดความเชื่อถือได้เป็นหลักสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม, ปุณณวิช ฤทธิเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยมาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมมากกว่า 40 % ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด โรงไฟฟ้าประเภทนี้อาศัยการทำงานร่วมกันของระบบกังหันก๊าซและระบบกังหันไอน้ำ จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 2.5 ปี ของโรงไฟฟ้ากรณีศึกษาพบว่าระบบกังหันก๊าซทำให้โรงไฟฟ้าหยุดทำงานกะทันหันคิดเป็น 88.7% ของเวลาที่โรงไฟฟ้าหยุดกะทันหันทั้งหมด ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการปรับปรุงการบำรุงรักษาในระบบกังหันก๊าซ ทั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์หาระดับความวิกฤติของอุปกรณ์เพื่อกำหนดกลยุทธ์การบำรุงรักษาที่เหมาะสม ผลการวิเคราะห์ทำให้แบ่งระดับความวิกฤติได้เป็น 4 ระดับ ระดับ A มีจำนวนอุปกรณ์ 278 รายการ ระดับ B มีจำนวนอุปกรณ์ 94 รายการ ระดับ C มีจำนวนอุปกรณ์ 197 รายการ และระดับ D มีจำนวนอุปกรณ์ 267 รายการ คิดเป็น 33%, 11%, 24%, 32% ตามลำดับ อุปกรณ์ย่อยที่มีระดับความวิกฤติ A ให้เลือกใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาเชิงรุก (PaM) ระดับ B ให้เลือกใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ระดับ C และ D ใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (CM) หลังจากนั้นดำเนินกิจกรรมตามกลยุทธ์การบำรุงรักษาเป็นเวลาหนึ่งปี ผลการปรับปรุงพบว่าสามารถลดค่าเฉลี่ยของการหยุดกะทันหันของโรงไฟฟ้า 2,371.48 ชั่วโมงต่อปี ลงเหลือ 1,094 ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นลดลงได้ถึง 53.86% ของเวลาหยุดอย่างกะทันหันทั้งหมด และมีค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 86.18% เป็น 93.18%