Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

The Thai Journal of Veterinary Medicine

1984

Articles 1 - 30 of 34

Full-Text Articles in Entire DC Network

Observations On General Circulation And Renal Hemodynamics Of Experimental Dogs Given Russell's Viper Venom, Narangsak Chaiyabutr, Prapaporn Tungthanathanich, Prapa Loypetjra, Ayus Pichaicharnarong, Visith Sitprija Dec 1984

Observations On General Circulation And Renal Hemodynamics Of Experimental Dogs Given Russell's Viper Venom, Narangsak Chaiyabutr, Prapaporn Tungthanathanich, Prapa Loypetjra, Ayus Pichaicharnarong, Visith Sitprija

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Intravenous administration of Russell's viper venom (0.1 mg/kg b.w.) resulted in marked changes in general circulation and renal hemodynamics in 7 anaesthetized male mongrel dogs. During initial postinjection period, mean arterial blood pressure, pulse pressure and heart rate showed to decrease significantly, thereafter it returned to the control level in a short period of 2 h after injection. Cardiac output decreased while packed cell volume significantly increased after venom injection. Renal plasma flow, renal blood flow, glomerular filtration rate, renal fraction and the rate of urine flow decreased over the period of 2 h after venom injection. Total peripheral resistance …


รายงานสัตว์ป่วย : Granulosa Cell Tumour ในม้า, อติชาต พรหมาสา, วิทยา ธรรมวิทย์ Dec 1984

รายงานสัตว์ป่วย : Granulosa Cell Tumour ในม้า, อติชาต พรหมาสา, วิทยา ธรรมวิทย์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ตรวจพบ granulosa cell tumour ของรังไข่ในม้าสองรายซึ่งเคยได้รับฮอร์โมนเพศมาเป็นเวลานาน ให้การรักษาโดยทําศัลยกรรมตัดรังไข่ข้างที่เป็นเนื้องอกออก แม่ม้าทั้งสองเริ่มมีวงจรการเป็นสัดที่ปกติในเดือนที่ 7 และ 10 หลังการผ่าตัด ผสมลูกติด และคลอดปกติในเวลาต่อมา


การระบาดของโรค Aujeszky's Disease ในสุกรทางภาคใต้ของประเทศไทย, พิพล สุขสายไทยชะนะ, นพ สุขปัญญาธรรม, นิวัฒน์ สินสุวงศ์, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, ผตุม ขุนจันทร์, มาซูโอะ อูชิมูระ, ชิเจอร์รุ คิชิ Dec 1984

การระบาดของโรค Aujeszky's Disease ในสุกรทางภาคใต้ของประเทศไทย, พิพล สุขสายไทยชะนะ, นพ สุขปัญญาธรรม, นิวัฒน์ สินสุวงศ์, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, ผตุม ขุนจันทร์, มาซูโอะ อูชิมูระ, ชิเจอร์รุ คิชิ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

นับตั้งแต่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าเทียม (Aujeszky's disease) ใน สุกรในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 ในแถบภาคกลางของประเทศและมีการระบาดเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในภาคเดียวกัน แต่ยังไม่เคยมีรายงานการเกิดระบาดของโรคนี้ ในแถบภาคใต้ รายงานนี้จึงเป็นรายงานการระบาดของโรค Aujeszky's disease ที่เกิด ครั้งแรกในภาคใต้ของประเทศ โดยมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้ายสุกรที่ป่วยมาจากทาง ภาคกลางของประเทศ การระบาดเกิดขึ้นในฟาร์มแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทําให้ ลูกสุกรที่กำลังอยู่ในระยะดูดนมมีอัตราการป่วยและอัตราการตายค่อนข้างสูง ลูกสุกรป่วยจะแสดงอาการทางประสาท ชัก ล้มลงนอนสั่นและตาย และแม่สุกรก็แสดงอาการป่วย ด้วย อาการซึม เบื่ออาหาร จากการตรวจชันสูตรซากสุกรป่วยที่ตาย พบวิการของจุดเนื้อตายขนาด เล็กบนต่อมทอนซิล ปอดบวม จุดเลือดออกขนาดปลายเข็มหมุดบนเนื้อไต ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา พบมีการอักเสบของสมอง บางรายจะพบเยื่อหุ้มสมองมีการอักเสบร่วมด้วย และพบ Intranuclear inclusion body, Cowdry type A ในเซลล์ประสาทสมองและที่ต่อมทอนซิล และยังพบว่าที่อัณฑะมีจุดเนื้อตายและมี Intranuclear inclusion body ชนิดเดียวกับที่สมองและต่อมทอนซิล ได้ทําการชันสูตรยืนยันโรคโดยการทํา Fluorescent antibody test, ฉีดเชื้อไวรัสเข้ากระต่ายทดลอง, และเพาะแยกเชื้อไวรัสโดย Tissue culture method


รายงานการระบาดของโรคซัลโมเนลล่าที่จังหวัดอุดรธานีเนื่องจากการบริโภคเนื้อกระบือป่วย, บัญชร ลิขิตเดชาโรจน์, เกษม จงเสถียร, นิมิต ลีสิริกุล, วิมลพร ธิติศักดิ์, สมใจ ศรีหาคิม Dec 1984

รายงานการระบาดของโรคซัลโมเนลล่าที่จังหวัดอุดรธานีเนื่องจากการบริโภคเนื้อกระบือป่วย, บัญชร ลิขิตเดชาโรจน์, เกษม จงเสถียร, นิมิต ลีสิริกุล, วิมลพร ธิติศักดิ์, สมใจ ศรีหาคิม

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ได้เกิดการระบาดของโรค Salmonellosis ในคน 2 ครั้ง ที่จังหวัดอุดรธานี ในเดือนกรกฎาคม 2525 การระบาดครั้งแรกเกิดที่ ตําบลปะโคและตําบลห้วยเกิ้ง อําาเภอ กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 374 คน เนื่องจากเชื้อ Salmonella java group B ส่วนการระบาดครั้งที่ 2 เกิดที่ ตําบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 134 คน เนื่องจากเชื้อ Salmonella bovis-morbificans การระบาดทั้ง 2 ครั้ง ล้วนมีสาเหตุ มาจากการกินเนื้อกระบือป่วย นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างดินและน้ำมาตรวจหาเชื้อจากการระบาดครั้งแรกด้วย


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Dec 1984

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ความเข้มข้นต่ำสุดของยาคลอเตตราวัยคลินต่อเชื้อ แอร์โรโมนาส ไฮโดรฟิล่า, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, เกรียงศักดิ์ สายธนู, โสมทัต วงศ์สว่าง Dec 1984

ความเข้มข้นต่ำสุดของยาคลอเตตราวัยคลินต่อเชื้อ แอร์โรโมนาส ไฮโดรฟิล่า, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, เกรียงศักดิ์ สายธนู, โสมทัต วงศ์สว่าง

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการศึกษาหาความเข้มข้นต่ำสุดของยาคลอเตตราซัยคลิน ไฮโดรคลอไรด์ ต่อเชื้อ แอร์โรโมนาส ไฮโดรฟิล่า จำนวน 90 สเตรน ซึ่งแยกได้จากปลาช่อนป่วยเป็นโรคแผล จากจังหวัดสมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ สุพรรณบุรี พบว่า เชื้อที่แยกได้จากจังหวัด สมุทรสาคร มีความไวต่อยานี้เป็นอย่างมาก โดยแสดงได้จากค่าความเข้มข้นต่ำสุดของยาใน ขนาด 0.186-1.49 มคก. เชื้อจากจังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรีมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดของยา ขนาด 0.37-13.92 มคก. ส่วนเชื้อจากจังหวัดสุพรรณบุรี มีความทนต่อยานี้ค่อนข้างมาก โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดของยาในขนาด 0.186-95.7 มคก. และจากการวิเคราะห์หา Percent cumulative ของเชื้อที่มีความไวต่อยาในความเข้มข้นต่าง ๆ กัน พบว่าเชื้อจาก จังหวัดสมุทรสาคร ร้อยละ 76.9 และ 92 มีความไวต่อยาที่มีความเข้มข้น 0.37 และ 0.74 มอก. ตามลำดับ เชื้อจากจังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรี ร้อยละ 80.9 และ 88 มีความไว ต่อยาที่ความเข้มข้น 0.74 และ 1.49 มคก. และเชื้อจากจังหวัดสุพรรณบุรี ร้อยละ 88.5 และ 97 มีความไวต่อยาที่ความเข้มข้น 29.9 และ 47.8 มคก.


นิ่วในทางเดินปัสสาวะแมวเพศผู้, ไพวิภา สุทธิพงศ์ Dec 1984

นิ่วในทางเดินปัสสาวะแมวเพศผู้, ไพวิภา สุทธิพงศ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

รายงานการพบก้อนนิ่วขนาด 10 x 14 x 3 มม. ในกระเพาะปัสสาวะแมวเพศผู้ ร่วมกับก้อนนิ่วในท่อนำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะขนาดเท่ากับเม็ดทราย หลังจาก ผ่าตัดรักษาแล้วประมาณ 6 เดือน แมวกลับแสดงอาการขึ้นมาใหม่อีกและตรวจพบก้อนนิ่วขนาด 4 X 4 X 3 - 5 X 5 X 3 มม. ในกระเพาะปัสสาวะโดยไม่พบนิ่วในท่อนำน้ำปัสสาวะเลย จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าก้อนนิ่วประกอบด้วยสารจำพวกฟอสเฟท และไม่พบเชื้อแบคทีเรียในน้ำปัสสาวะทั้งสองครั้ง


โรคมาเร็กซ์ในไก่ไข่: ลักษณะทางพยาธิวิทยาจากการศึกษาโดยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาและกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน, ศุภกิจ อังศุภากร, สมพงศ์ สหพงศ์, ศุภชัย อังศุภากร, สุดา เรียงโรจน์พิทักษ์ Sep 1984

โรคมาเร็กซ์ในไก่ไข่: ลักษณะทางพยาธิวิทยาจากการศึกษาโดยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาและกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน, ศุภกิจ อังศุภากร, สมพงศ์ สหพงศ์, ศุภชัย อังศุภากร, สุดา เรียงโรจน์พิทักษ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ในรายงานนี้กล่าวถึงโรคมาเร็กซ์ที่เกิดขึ้นในไก่ไข่อายุราว 18 สัปดาห์ ในฟาร์มแห่งหนึ่งซึ่งมีไก่ราว 5 พันตัว มีอัตราตายราวร้อยละ 20 ได้ทําการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา โดยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาและกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนในอวัยวะต่าง ๆ ของไก่กลุ่มนี้


Project Of Investigation On Infertile Dairy Cattle At Dfpo, Muak-Lek 1. Artificial Induction Of Lactation, Dumrong Leenanuruksa, Peerasak Chantaraprateep, Chainarong Lohachi, Somkiat Timpatpong, Somkiat Prasarnpanich, Kaset Vittayanupabyuenyong, Anucha Siri Sep 1984

Project Of Investigation On Infertile Dairy Cattle At Dfpo, Muak-Lek 1. Artificial Induction Of Lactation, Dumrong Leenanuruksa, Peerasak Chantaraprateep, Chainarong Lohachi, Somkiat Timpatpong, Somkiat Prasarnpanich, Kaset Vittayanupabyuenyong, Anucha Siri

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Twenty one infertile crossbred dairy cattle were divided into three groups and treated as below. The first group (5 cows) was treated with 17 B-estradiol (10 mg) and progesterone (50 mg) twice a day for 7 consecutive days. The second (5 cows) and third (11 heifers) groups received 17B- estradiol (20 mg) and progesterone (50 mg) twice a day for 3.5 consecutive days (7 doses). After steroid treatment, 5 injections of 2 mg of reserpine were given subcutaneously every second day to each of all treated animals. In response to the treatments, there were 4, 2, and 8 animals from …


การศึกษาหาปริมาณเอ็นซามย์โฆลีนเอสเตอเรสในซีรั่มของวัวที่สัมผัสยาฆ่าแมลงชนิดออแกโนฟอสเฟต, ดาณิศ ทวีติยานนท์, สมเกียรติ ทาจำปา, วรา พานิชเกรียงไกร, สุพัตรา ศรีไชยรัตน์, ประชุม อินทรโชติ, ธวัชชัย สุวรรณกำจาย Sep 1984

การศึกษาหาปริมาณเอ็นซามย์โฆลีนเอสเตอเรสในซีรั่มของวัวที่สัมผัสยาฆ่าแมลงชนิดออแกโนฟอสเฟต, ดาณิศ ทวีติยานนท์, สมเกียรติ ทาจำปา, วรา พานิชเกรียงไกร, สุพัตรา ศรีไชยรัตน์, ประชุม อินทรโชติ, ธวัชชัย สุวรรณกำจาย

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาหาระดับของเอ็นซามย์โฆลีนเอสเตอเรสในซีรั่มวัวก่อนและหลังสัมผัสยาฆ่าแมลงชนิดออแกโนฟอสเฟต พบว่าค่าเอ็นซามย์จะลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในวันที่ 1 และ 2 หลังจากวัวสัมผัสยา โดยลดลงจาก 191.7 ±11.3 I.U. เหลือ 152.3 ±9.2 และ 147.0 ±9.2 1.U. ตามลำดับ และค่าของเอ็นซามย์จะเริ่มสูงขึ้นจนถึงระดับปกติใน วันที่ 3 หลังจากสัมผัสยาจนเสร็จสิ้นการทดลองในวันที่ 7 การนำวิธีการหาระดับเอ็นซามย์มาใช้ในทางคลีนิคน่าจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของโรคได้วิธีหนึ่ง


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Sep 1984

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การศึกษาระดับ Glutathione Peroxidase และเปอร์เซนต์ Se75-Uptake ของเม็ดเลือดแดงของโคและกระบือ, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ชลลดา บูรณกาล, สมชาย ผลดีนานา, ประภา ลอยเพ็ชร, อายุส พิชัยชาญณรงค์ Sep 1984

การศึกษาระดับ Glutathione Peroxidase และเปอร์เซนต์ Se75-Uptake ของเม็ดเลือดแดงของโคและกระบือ, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ชลลดา บูรณกาล, สมชาย ผลดีนานา, ประภา ลอยเพ็ชร, อายุส พิชัยชาญณรงค์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาตัวอย่างเลือดโคและกระบือที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ โดยการวัดเปอร์เซ็นต์ Se75 -uptake ของเม็ดเลือดกระบือและโค เมื่อ incubate ที่ 37⁰ซ. นาน 15 นาที พบว่า เปอร์เซนต์ของ Se75 -uptake ในเม็ดเลือดโคจะสูงกว่ากระบือ ซึ่งผลดังกล่าว จะเป็นสัดส่วนผกผันกับระดับ glutathione peroxidase activity (GSHPx) ของโคมีค่า เท่ากับ 21.3 ± 17 units/ml cells และของกระบือมีค่าเท่ากับ 31.4 ± 2.4 units/ml cells


การศึกษา Rodlet Cells ในปลาช่อน, ระบิล รัตนพานี Sep 1984

การศึกษา Rodlet Cells ในปลาช่อน, ระบิล รัตนพานี

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษา rodlet cells ซึ่งพบตามเยื่อบุของอวัยวะต่าง ๆ ในปลาช่อน โดย กล้องจุลทัศน์แสงสว่างพบเซลล์ดังกล่าวตามเยื่อบุของหัวใจ หลอดเลือดแดงของเหงือก ม้าม ตับ ไขมันในช่องท้อง และพบตามเยื่อบุเมือกของลําไส้ ไต เหงือก และรังไข่ การมีและการ จัดตัวเป็นกลุ่มและร่างแหของ rodlet cells ในหลอดเลือดแดง แสดงถึงความผิดปกติ ทั้งในด้านชนิดและการจัดตัวของเซลล์ ซึ่งในลักษณะดังกล่าวจะมีผลกระทบต่ออัตราและปริมาณการไหลเวียนของเลือด


Short Communications การติดโรคออเจสกี้โดยธรรมชาติในสุนัขที่กินซากลูกสุกรป่วย (Natural Infection Of Aujesky's Disease In Dogs), สุรพล เลื่องยศลือชากุล, วรรณี สันตมนัส, พรเทพ จุลละทรัพย์ Sep 1984

Short Communications การติดโรคออเจสกี้โดยธรรมชาติในสุนัขที่กินซากลูกสุกรป่วย (Natural Infection Of Aujesky's Disease In Dogs), สุรพล เลื่องยศลือชากุล, วรรณี สันตมนัส, พรเทพ จุลละทรัพย์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Analgesics For Equine Colic : A Literature Review And Chinical Experience, Marissak Kalpravidh Sep 1984

Analgesics For Equine Colic : A Literature Review And Chinical Experience, Marissak Kalpravidh

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ซูโดโมนาส แอร์รูจิโนซ่าในประเทศไทย 3. พัยโอซินทัยป์, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, เกรียงศักดิ์ สายธนู Sep 1984

ซูโดโมนาส แอร์รูจิโนซ่าในประเทศไทย 3. พัยโอซินทัยป์, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, เกรียงศักดิ์ สายธนู

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการศึกษาเพื่อจำแนกชนิดพัยโอซีนทัยป์ของเชื้อซูโดโมนาส แอร์รูจิโนซ่า จำนวน 401 สเตรน ซึ่งเป็นเชื้อจากคน 359 สเตรน และจากสัตว์ 42 สเตรน โดยวิธีของ Gillies และ Gowan ผลปรากฏว่าพบพัยโอซินทัยป์ 1 (P1) มากที่สุด และพบว่า P1b และ P1h เป็นสเตรนที่พบมากที่สุดในคนและสัตว์ตามลำดับ


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Jun 1984

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Anthelmintic Activity Of Thiophanate Against Nematodes In Swine, Vichitr Sukhapesna Jun 1984

Anthelmintic Activity Of Thiophanate Against Nematodes In Swine, Vichitr Sukhapesna

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Anthelmintic activity of single doses of thiophanate at the rates of 70, 100, and 200 milligrams per kilogram of body weight were determined by the field trial against nematodes in 40 pigs. Thiophanate at a dose rate of 70 milligrams per kilogram was highly effective (90.2 to 98.4 percent) in reducing Ascaris suum and Strongyloides ransomi eggs from the first week to the twelth week posttreatment. The drug was 100 per cent effective in reducing Oesophagostomum spp. and Trichuris suis eggs throughout the twelve experimental weeks. Thiophanate at a dose rate of 100 milligrams per kilogram was highly effective (91.4 …


องค์ประกอบในเม็ดเลือดแดงของกระบือปลัก, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ประภา ลอยเพ็ชร, อายุส พิชัยชาญณรงค์ Jun 1984

องค์ประกอบในเม็ดเลือดแดงของกระบือปลัก, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ประภา ลอยเพ็ชร, อายุส พิชัยชาญณรงค์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาหาองค์ประกอบภายในเม็ดเลือดแดงของกระบือปลักเพศผู้จำนวน 28 ตัว และโคเพศผู้ จำนวน 17 ตัว พบว่าในกระบือระดับความเข้มข้นของโซเดียมอิออนเท่ากับ 19.2 ± 8.4 mEq/L red cell โปตัสเซียมอิออน 84.9 ± 8.0 mEq/L red cell คลอไรด์อิออน 69.8 ± 16.4 mEq/L red cell ระดับโปรตีน 84.6 ± 9.9 gm/100 ml red cell ฟอสฟอรัส 3.90 ± 2.12 mg/100 ml red cell และระดับแคลเซียมอิออน มีน้อยกว่า 0.1 mg/100 ml red cell จากการเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของโซเดียม อิออนและโปตัสเซียมอิออนระหว่างกระบือและโค ปรากฏว่าความเข้มข้นของโซเดียมอิออน ในเม็ดเลือดกระบือมีปริมาณน้อยกว่าของโคประมาณ 5 เท่า ส่วนความเข้มข้นของโปตัสเซียม ในเม็ดเลือดแดงกระบือมีปริมาณมากกว่าโคประมาณ 5 เท่า ความแตกต่างดังกล่าวเชื่อว่าเป็นผลจากพันธุกรรมซึ่งเป็นตัวควบคุม


อุบัติการของโรค "หนอนในจมูกแกะ" ในประเทศไทย, มานพ ม่วงใหญ่ Jun 1984

อุบัติการของโรค "หนอนในจมูกแกะ" ในประเทศไทย, มานพ ม่วงใหญ่

The Thai Journal of Veterinary Medicine

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525 ได้มีผู้นำแกะและแพะจำนวนกว่า 100 ตัว จากประเทศ พม่าเข้ามาในไทย โดยผ่านทาง อ.แม่สอด จ.ตาก ส่วนหนึ่งได้นำมาฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร และอีกส่วนหนึ่งได้ปล่อยเลี้ยงรวมฝูงกับแกะและแพะพื้นเมืองที่เลี้ยงอยู่ที่ อ.ปากช่อง ราชสีมา ในสัตว์ที่ฆ่านั้นได้ตรวจพบตัวอ่อนของแมลง Destrus ovis ในช่องจมูกแกะ และ frontal sinus ต่อมาแกะและแพะที่เลี้ยงอยู่ในฝูงที่ อ.ปากช่องทั้งที่เลี้ยงอยู่ที่เดิมและนำมา จากประเทศพม่าได้แสดงอาการของโรคนี้ ซึ่งสันนิษฐานว่าตัวอ่อนของแมลงที่ติดเข้ามากับสัตว์ฝูงนี้จะเจริญเป็นตัวแก่ได้และทําให้เกิดการติดโรคในสัตว์พื้นเมือง จึงได้ทําการทดลองในห้อง ปฏิบัติการของหน่วยปรสิตฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2526 ถึงเดือน มีนาคม 2527 รวม 5 ครั้ง โดยใช้ตัวอ่อนระยะที่ 3 ที่เจริญเต็มที่จำนวน 27 ตัวปล่อยลงดินปนทราย หรือทราย ตัวอ่อน เหล่านั้นใช้เวลาเจริญนอกตัวโฮสต์ (host) 15 - 21 วัน (ค่าเฉลี่ย 17.36 วัน) และให้แมลงตัวแก่ 22 ตัว (ตัวเมีย 15 ตัว ตัวผู้ 7 ตัว) ตัวแก่เหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน 5 - 13 วัน (ค่าเฉลี่ย 8.07 วัน) ผลที่ได้แสดงว่าแมลงชนิดนี้สามารถเจริญและมีชีวิตอยู่ได้ดีในประเทศไทย


รายงานสัตว์ป่วย : ท้องนอกมดลูกในโคนม, ธเนศร ทิพยรักษ์, พิภพ จาริกภกร, เกรียวศักดิ์ ศิริแสงเลิศ Jun 1984

รายงานสัตว์ป่วย : ท้องนอกมดลูกในโคนม, ธเนศร ทิพยรักษ์, พิภพ จาริกภกร, เกรียวศักดิ์ ศิริแสงเลิศ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

แม่โคนมในฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมบริเวณมวกเหล็ก ได้ตั้งท้องนอกมดลูกขึ้น โดยเป็นลูกโคตัวผู้ น้ำหนักประมาณ 30 กก. แต่ตายก่อนหน้าเปิดผ้าช่องท้องช่วยเหลือ แม่โค ปกติและมดลูกเข้าอู่ปกติดีขณะตรวจเมื่อครบ 50 วัน


ย่อเอกสาร, N/A Jun 1984

ย่อเอกสาร, N/A

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


รายงานโรคฝีดาษในห่านและการรักษา, นิยมศักดิ์ อุปทุม, นิมิต ลีสิริกุล, วิมลพร ธิติศักดิ์, สุรัตน์ สมสถิตกุล Jun 1984

รายงานโรคฝีดาษในห่านและการรักษา, นิยมศักดิ์ อุปทุม, นิมิต ลีสิริกุล, วิมลพร ธิติศักดิ์, สุรัตน์ สมสถิตกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ท่านเพศเมีย พันธุ์จีน อายุ 6เดือนตัวหนึ่ง พบว่ามีก้อนเนื้อเยื่อคล้ายเนื้องอก ขนาดประมาณ 1.5 x 1.5 x 1 นิ้ว อยู่บริเวณจมูกและจงอยปากด้านซ้าย จากการตัดออก มาตรวจทางจุลพยาธิวิทยาพบ lipophilic intracytoplasmic inclusion bodies ซึ่งติดสีแดงโดยการย้อมสีพิเศษ (Sudan staining) ใน epithelial cells ตรวจทาง จุลชีววิทยาพบเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium spp. และ Streptococcus spp. การตัดก้อนเนื้อนี้ออกไปเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผล


การแยกเชื้อและการติดเชื้อฝีดาษไก่โดยการทดลองในไก่พื้นเมือง, รื่นฤดี บุณยะโหตระ, เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล, พรทิพย์ ศิริวรรณ์, นิมิต ลีสิริกุล Jun 1984

การแยกเชื้อและการติดเชื้อฝีดาษไก่โดยการทดลองในไก่พื้นเมือง, รื่นฤดี บุณยะโหตระ, เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล, พรทิพย์ ศิริวรรณ์, นิมิต ลีสิริกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การแยกเชื้อไวรัสจากไก่ที่ตายโดยส่งสัยว่าเป็นโรคฝีดาษไก่จากเขตจังหวัดทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการนำเนื้อเยื่อที่มีรอยโรคมาบดฉีดไข่ไก่ฟักอายุระหว่าง 10 - 11 วัน พบลักษณะของจุดเนื้อตาย (pox lesions) กระจายทั่วไปบน chorioallantoic membrane (CAM) และพบ cytoplasmic inclusion bodies ในเซลล์ของผนัง CAM เมื่อนำ pox lesions ที่พบบน CAM นี้บดแทงผนังปีกไก่ทดลองพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แท้และ ลูกผสม ปรากฏรอยโรคของฝีดาษไก่ตรงบริเวณนั้นอย่างชัดเจน ผลเหล่านี้ยืนยันว่าเชื้อไวรัสที่แยกได้เป็นเชื้อไวรัสฝีดาษไก่


พยาธิวิทยาของโรคหลังคดในปลาดุกด้าน, ระบิล รัตนพานี, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ Jun 1984

พยาธิวิทยาของโรคหลังคดในปลาดุกด้าน, ระบิล รัตนพานี, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

พยาธิสภาพของโรคหลังคดในปลาดุกด้าน แสดงถึงความผิดปกติในการเจริญของกระดูกสันหลังโดยกลุ่มเซลล์สร้างกระดูกที่เจริญใหม่ไม่มีความแข็งแรงพอ เนื่องจากการเจริญ รวดเร็วและไม่มีแคลเซียมเกาะ ประกอบกับการแตกของกระดูกสันหลังและ notochord ทําให้กระดูกสันหลังบิดคด จากการศึกษาจากภาพรังสี ปรากฏว่าความยาวของปลาที่เป็นโรคจะลดลงถึง 32.73%


การสำรวจหาเชื้อวิบริโอในสัตว์ทะเล, สงคราม เหลืองทองคำ, เกรียงศักดิ์ สายธนู, เกรียงศักดิ์ พูนสุข Jun 1984

การสำรวจหาเชื้อวิบริโอในสัตว์ทะเล, สงคราม เหลืองทองคำ, เกรียงศักดิ์ สายธนู, เกรียงศักดิ์ พูนสุข

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการสำรวจหาเชื้อวิบริโอในทะเล (marine vibrios) ที่มีอยู่ในสัตว์ทะเล ชนิดต่าง ๆ จำนวน 52 ตัวอย่าง จำแนกเป็นปลา (21 ชนิด) จำนวน 38 ตัวอย่าง ปลาหมึก 8 ตัวอย่าง กุ้ง 2 ตัวอย่าง และปูม้า 4 ตัวอย่าง โดยวิธี direct plating บน TCBS พบว่าสามารถแยกเชื้อและนับปริมาณของเชื้อ Vibrio parahaemolyticus, Vibrio alginolyticus และ marine vibrios ชนิดอื่น ๆ ที่ยังไม่สามารถแยกชนิดได้ ในการตรวจหาเชื้อ V.parahaemolyticus นั้น ได้ทดลองศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างวิธี direct plating กับการใช้ enrichment "Sakazaki medium ด้วย ผลการศึกษาพบว่า การใช้ direct plating ให้เปอร์เซนต์การตรวจพบเชื้อสูงกว่าสองเท่า (ร้อยละ 79 ต่อร้อยละ 31) เชื้อ V. parahaemolyticus ที่แยกได้จากสัตว์ทะเลในครั้งนี้จำนวน 58 isolates ได้นำมาทดสอบ Kanagawa Phenomenon พบว่า 22 isolates ให้คานากาวา บวกหรือคิดเป็นร้อยละ 37.9 ของเชื้อที่แยกได้ทั้งหมด


ค่าระดับ Electrolyte ปกติในเลือดของกระบือปลักไทย, ปราณี ตันติวนิช, ไพวิภา สุทธิพงศ์ Mar 1984

ค่าระดับ Electrolyte ปกติในเลือดของกระบือปลักไทย, ปราณี ตันติวนิช, ไพวิภา สุทธิพงศ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการศึกษาค่าระดับ electrolyte ในเลือดของกระบือปลักไทยปกติ พบว่าระดับของ sodium, potassium, bicarbonate, chloride, calcium และ inorganic phosphorus เท่ากับ 138.6 ± 4.3 mEq/L, 4.8 ± 0.4 mEq/L, 23.1 ± 3.8 mEq/L, 97.0 ± 4.5 mEq/L, 8.9 ± 1.4 mg% และ 6.5 ± 1.5 mg% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าระดับ electrolyte ของกระบือในต่างแหล่งท้องที่กัน มีค่าต่างกัน เฉพาะค่าระดับ sodium (p < 0.005), bicarbonate (p < 0.001), calcium (p < 0.001) และ inorganic phosphorus (p < 0.001)


การตรวจปลาช่อนป่วยระหว่างเกิดโรคระบาดโดยการใช้กล้องจุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบสแกนและลำแสงผ่าน, วัฒนา วัฒนวิจารณ์, ระบิล วัฒนวิจารณ์, เทอด เทศประทีป, จิระศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, ธีรพงศ์ ธีรภัทรสกุล, ศิริเพ็ญ เวชชการัณย์, อัมพร อึ้งปกรณ์แก้ว Mar 1984

การตรวจปลาช่อนป่วยระหว่างเกิดโรคระบาดโดยการใช้กล้องจุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบสแกนและลำแสงผ่าน, วัฒนา วัฒนวิจารณ์, ระบิล วัฒนวิจารณ์, เทอด เทศประทีป, จิระศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, ธีรพงศ์ ธีรภัทรสกุล, ศิริเพ็ญ เวชชการัณย์, อัมพร อึ้งปกรณ์แก้ว

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ได้นำปลาช่อนป่วยด้วยโรคระบาดในต้นปี พ.ศ. 2527 จากจังหวัดสุพรรณบุรี และสมุทรปราการ มาตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบสแกนและลําแสงผ่าน โดยกล้อง จุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบสแกน พบรา และแบคทีเรียอยู่บนผิวของแผล โดยกล้องจุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบลําแสงผ่านพบไวรัสอยู่ในเซลล์มามและเม็ดเลือดแดงของปลาป่วย ส่วนปลาปกติไม่พบอนุภาคเหล่านี้เลย รายงานนี้เป็นรายงานแรกที่พบไวรัสในเม็ดเลือดแดงของปลาช่อนป่วยในประเทศไทย


รายงานเบื้องต้นการสำรวจ Neutralizing Antibody ต่อโรค Bovine Ephemeral ในภาคใต้ของประเทศไทย, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, ช้องมาศ ชัยโภคา, Shigeru Kishi Mar 1984

รายงานเบื้องต้นการสำรวจ Neutralizing Antibody ต่อโรค Bovine Ephemeral ในภาคใต้ของประเทศไทย, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, ช้องมาศ ชัยโภคา, Shigeru Kishi

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การสำรวจ neutralizing antibody ต่อโรค Bovine ephemeral fever (BEF)จากซีรั่มของโคและกระบือที่ได้จากการสำรวจโรคในปี 2525 ของศูนย์วินิจฉัยและ ชันสูตรโรคสัตว์ภาคใต้ โดยใช้ HmLu-l cell line และ YHL strain virus ปรากฏ ว่าตรวจพบ antibody ดังกล่าวถึง 70.0% ในโค 11 จังหวัด และ 47.5% ในกระบือ 4 จังหวัด แสดงให้เห็นว่าทางภาคใต้ของประเทศไทยมีโรค BEF แพร่อยู่ทั่วไป


การตรวจปลาดุกป่วยด้วยกล้องจุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบสแกนและลำแสงผ่าน, วัฒนา วัฒนวิจารณ์, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, ระบิล รัตนพานี, วราภรณ์ ศุกลพงศ์, อัมพร อึ้งปกรณ์แก้ว, ศิริเพ็ญ เวชชการัณย์ Mar 1984

การตรวจปลาดุกป่วยด้วยกล้องจุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบสแกนและลำแสงผ่าน, วัฒนา วัฒนวิจารณ์, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, ระบิล รัตนพานี, วราภรณ์ ศุกลพงศ์, อัมพร อึ้งปกรณ์แก้ว, ศิริเพ็ญ เวชชการัณย์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ได้นำปลาดุกป่วยด้วยโรคระบาดในต้นปี พ.ศ. 2527 จากจังหวัดนครปฐมและ สมุทรปราการมาตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบสแกนและลําแสงผ่าน โดยกล้องจุลทัศน์ อีเล็คทรอนแบบสแกนพบลักษณะแผลเรื้อรัง พร้อมทั้งเชื้อรา แบคทีเรียรูปแท่งและทรงกลม แทรกอยู่บริเวณแผลและแอ่งหลุมของแผล สำหรับกล้องจุลทัศน์อีเล็คทรอนแบบลําแสงผ่าน พบ ไวรัสในตับและม้ามของปลาดุกป่วย รายงานนี้เป็นรายงานแรกที่พบไวรัสในปลาดุกของประเทศไทย