Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2020

Articles 1 - 30 of 53

Full-Text Articles in Entire DC Network

Effect Of Different Static Surgical Guided Systems On The Accuracy Of Implant Position In Esthetic Zone, Arissa Amnuaychottawe Jan 2020

Effect Of Different Static Surgical Guided Systems On The Accuracy Of Implant Position In Esthetic Zone, Arissa Amnuaychottawe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives To evaluate the effect of different surgical guided systems on the accuracy of single implant placement in the anterior zone. Methods Twenty operators were divided into two groups by the system they performed in the experiment (Straumann Guided Surgery®; SG and Astra Tech Guide Surgery®; AG). One operator placed one implant on the right central incisor using a computer-guided template that had been planned with 3Shape Implant Studio® program. After the implant installation process was completed, all models were scanned and determined the placed implant position. The amount of coronal, horizontal, vertical, and angular deviation of planned and placed …


Analysis Of Chewing Efficiency In Dementia Patients Using Two-Color Chewing Gum Test And The Viewgum Software, Chawisa Thangjittiporn Jan 2020

Analysis Of Chewing Efficiency In Dementia Patients Using Two-Color Chewing Gum Test And The Viewgum Software, Chawisa Thangjittiporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to analyze the relationship between chewing efficacy and severity level of cognitive impairment in dementia patients using a smartphone with ViewGum software for chewing efficiency analysis. Participants (n=70) from the Dementia Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital, included 38 dementia patients (76.1±9.0 years) and 32 patients (71.8±9.9Years) with mild cognitive impairment (MCI), diagnosed by the medical specialists. The cognitive impairment was assessed by the TMSE (Thai Mental State Examination), and then scored. Participants were assessed for chewing efficacy using the mixing ability test of the two-color chewing gum, followed by an analysis using the ViewGum …


Stress Of Thai Dentists During Covid-19 Pandemic In Thailand, Athikhun Praditpapha Jan 2020

Stress Of Thai Dentists During Covid-19 Pandemic In Thailand, Athikhun Praditpapha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: COVID-19 pandemic is a public health emergency of international concern with many countries affected including Thai. Due to the nature of the work, dental practitioner is a high-risk professional to contract the disease. Many studies were conducted to study the impact of the situation on mental health of both general population and health care personnel. However, there are scant data about the stress of Thai dental practitioner caused by COVID-19 and the associated factors. Objectives: The primary aims of this study were to investigate the prevalence and level of stress, along with its risk/protective factors. The secondary aim was …


Effect Of Vitamin C Solution On Microtensile Bond Strength And Fracture Resistance Of Non-Vital Bleached Tooth Restored With Resin Composite, Pimduean Sivavong Jan 2020

Effect Of Vitamin C Solution On Microtensile Bond Strength And Fracture Resistance Of Non-Vital Bleached Tooth Restored With Resin Composite, Pimduean Sivavong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to evaluate the effect of vitamin C containing sodium ascorbate prepared solution on dentin bond strength of resin composite to non-vital bleached tooth and on fracture resistance of restored non-vital bleached tooth. Sixty (30 pairs, left and right) extracted sound human maxillary premolar teeth were collected from 30 patients. All teeth were endodontically treated and each pair was randomized assigned into microtensile bond strength and fracture resistance tests. The teeth were divided into 3 groups for each test which were 1) non-bleach tooth, 2) bleached with 35% hydrogen peroxide and immediately restored with resin …


The Influence Of Fatigue Load To Various Adhesive Resin Luting Agents In A Zirconia-Reinforced Lithium Silicate Ceramic Bonded To Dentin, Ratikorn Watananiyom Jan 2020

The Influence Of Fatigue Load To Various Adhesive Resin Luting Agents In A Zirconia-Reinforced Lithium Silicate Ceramic Bonded To Dentin, Ratikorn Watananiyom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose. To examine fatigue failure load value of etch-and-rinse and self-adhesive luting systems used to bond ZLS to dentin. Moreover, this study seeks to evaluate whether the application of unfilled resin on silanated ceramic intaglio surface could improve fatigue failure load value. Methods. Vita Suprinity (VS, Vita Zahnfabrik) blocks were sectioned into cylindrical shape (5 mm in diameter and 1.5 mm in height). All VS were crystallized, and bonded surfaces were treated as followed: Heliobond (HB, Ivoclar Vivadent) application after silanization and non-application of HB. Each VS was cemented to each flat occlusal dentin surface of extracted human molar, following …


Retention Force And Wear Characteristic Of Ball And O-Ring Attachment In Chulalongkorn Mini-Implant Overdenture System., Thanakorn Thimkam Jan 2020

Retention Force And Wear Characteristic Of Ball And O-Ring Attachment In Chulalongkorn Mini-Implant Overdenture System., Thanakorn Thimkam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this experimental study was to evaluate wear characteristics and retention force of the RetenDent mini-implant overdenture system (Chulalongkorn product) after the insertion-removal fatigue test. One-piece mini-implants attachment system for overdenture, Osstem MS denture® type implant (OSSTEM, Germany GmbH), and RetenDent mini-implant were tested. All samples were subjected to repeated insertion and removal fatigue cycles by the universal testing machine (E1000, INSTRON Instrument, England). Subjected fatigue cycles were 5500 with 1.00Hz frequency to mimic a 5-year insertion and removal three times per day. The retention force was measured by separating the O-ring from the abutment and recorded with …


Bcl-Xl Expression In Osteoclasts Of Patients With Medication-Related Osteonecrosis Of The Jaw: A Comparison With Osteoradionecrosis And Osteomyelitis, Vy Tran Ngoc Thuy Jan 2020

Bcl-Xl Expression In Osteoclasts Of Patients With Medication-Related Osteonecrosis Of The Jaw: A Comparison With Osteoradionecrosis And Osteomyelitis, Vy Tran Ngoc Thuy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: The pathological mechanism of medication-related osteonecrosis of the jaw (MRONJ) is still unknown now. Osteoclasts are cells directly influenced by MRONJ, which might be the key mediator of pathological mechanism. This study aimed to evaluate the histological features of MRONJ, investigate the morphology and quantity of osteoclasts in MRONJ as well as expression of Bcl-xl, and compare it with ORN, OM, and normal jaw bone. Methods: In this study, 57 subjects, including patients with MRONJ, osteoradionecrosis of the jaw (ORN), osteomyelitis of the jaw (OM), and normal jaw bone were studied. Hematoxylin and eosin-stained slides of these diagnosed cases …


Study Of Platelet Production From Megakaryocyte By Using Induced Pluripotent Stem Cell, Jaturawat Pawinwongchai Jan 2020

Study Of Platelet Production From Megakaryocyte By Using Induced Pluripotent Stem Cell, Jaturawat Pawinwongchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thrombopoiesis is the process of platelet production from hematopoietic stem cells (HSCs). Glycoproteins (GP) Ib-IX-V that is expressed on the surface of megakaryocytes and platelets binds von Willebrand factor (VWF) plays roles in platelet production. Either the GPIb deficiency or hyper-function can cause macrothrombocytopenia, the molecular mechanisms remain unclear. In this study, the pathogenesis investigations were performed in the human induced pluripotent stem cell (hiPSC) model. CRISPR-Cas9 was used to generate the hiPSCs carrying a gain-of-function GP1BA p.M255V mutation which was described in platelet-type von Willebrand disease (PT-VWD). The GPIb deficiency hiPSCs were previously derived from a Bernard Soulier syndrome …


Over-Expression Of Mir-223 Induces M2 Macrophage Through Glycolysis Alteration And Attenuates Lipopolysaccharide-Induced Sepsis Mouse Model, A Proposal Sepsis Cell-Based Therapy, Dang Phi Cong Jan 2020

Over-Expression Of Mir-223 Induces M2 Macrophage Through Glycolysis Alteration And Attenuates Lipopolysaccharide-Induced Sepsis Mouse Model, A Proposal Sepsis Cell-Based Therapy, Dang Phi Cong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sepsis, a systemic infection with excessive inflammatory symptoms due to dysregulation of immune responses, remains the most concerned health-care problem worldwide with the mortality rate critically beyond the number of death cases in HIV, cancers or stroke. While it is well documented that pathogenesis of sepsis is intimately involved in dysregulation of macrophages, great effort has been made to discover efficacious therapy to control macrophage responses. However, macrophages are the most versatile immune cells with large spectrum of heterogeneous phenotypes and functions. Recently, collection of insights unravel the crucial role of metabolism as an orchestrator of immune regulation, intervention on …


การประเมินการสึกของแปรงสีฟันและผลต่อผิวเคลือบฟันน้ำนมด้วยเครื่องแปรงฟันในห้องปฏิบัติการ, ตวงสิน พฤกษสุวรรณ Jan 2020

การประเมินการสึกของแปรงสีฟันและผลต่อผิวเคลือบฟันน้ำนมด้วยเครื่องแปรงฟันในห้องปฏิบัติการ, ตวงสิน พฤกษสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันมีหลายยี่ห้อซึ่งมีคุณสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป การศึกษานี้ต้องการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีจำหน่ายในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบการสึกของขนแปรงและปลายขนแปรงสีฟัน และการสึกของผิวเคลือบฟันน้ำนม เมื่อถูกแปรงโดยเครื่องแปรงฟันในห้องปฏิบัติการ นำชิ้นฟันที่ตัดจากด้านแก้มของฟันกรามน้ำนมขนาด 2 x 2 ตารางมิลลิเมตร จำนวน 42 ชิ้นมาฝังในอะคริลิกแล้วนำมาแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ตามยี่ห้อของแปรงสีฟัน 1) CUdent (7mm), 2) CUdent (8mm), 3) Berman®, 4) Colgate®, 5) Fluocaril® และ 6) Kodomo® ทดสอบโดยการแปรงฟันร่วมกับสารละลายยาสีฟันด้วยเครื่อง V8 cross – brushing machine ทั้งหมด 100,000 รอบ จากนั้นนำหัวแปรงสีฟันมาหาค่าดัชนีการสึกของแปรงสีฟัน ตัดขนแปรงมาเพื่อพิจารณาลักษณะปลายขนแปรงสีฟันตามมาตรฐาน มอก. และนำผิวเคลือบฟันน้ำนมมาหาค่าเฉลี่ยความขรุขระและค่าเฉลี่ยความลึกการสึกของผิวเคลือบฟันน้ำนม ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีการสึกของขนแปรงสีฟันทุกยี่ห้อก่อนการทดสอบอยู่ในช่วง 0.035±0.003 ถึง 0.038±0.004 โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าเฉลี่ยดัชนีการสึกของขนแปรงสีฟันหลังการทดสอบอยู่ในช่วง 0.088±0.014 ถึง 0.245±0.028 โดยพบว่าแปรงสีฟันยี่ห้อ Fluocaril® และ CUdent (8mm) มีค่าเฉลี่ยดัชนีการสึกของขนแปรงสีฟันสูงกว่ายี่ห้ออื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001) ร้อยละของลักษณะปลายขนแปรงสีฟันที่ยอมรับได้ก่อนการทดสอบอยู่ในช่วงร้อยละ 90.67 ถึง 94.67 หลังการทดสอบอยู่ในช่วงร้อยละ 78.29 ถึง 96.00 และค่าเฉลี่ยความขรุขระและค่าเฉลี่ยความลึกการสึกของผิวเคลือบฟันน้ำนมก่อนการทดสอบใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 9.054±2.006 ถึง 10.563±3.342 และ 0.021±0.008 ถึง 0.028±0.010 ตามลำดับ และหลังการทดสอบยังคงมีค่าใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 9.638±1.694 ถึง 10.792±0.889 และ 0.032±0.012 ถึง 0.058±0.042 ตามลำดับ โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งก่อนและหลังทดสอบ จากการศึกษานี้สรุปว่าแปรงสีฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีคุณสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงกัน โดยแปรงสีฟันยี่ห้อ Fluocaril® และ CUdent (8mm) มีการสึกของขนแปรงสีฟันหลังการทดสอบมากกว่ายี่ห้ออื่น ร้อยละของลักษณะของปลายขนแปรงที่ยอมรับได้ก่อนและหลังการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกยี่ห้อที่นำมาทดสอบ และแปรงสีฟันทั้งหมดที่ทดสอบทำให้ผิวเคลือบฟันน้ำนมสึกได้ไม่แตกต่างกัน


ผลของฟลูออไรด์วาร์นิชต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลัง โดยติดตามผลด้วยภาพรังสีซ้อนทับชนิดดิจิทัล: การทดสอบแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม, รินรดา ภิรมย์ภักดิ์ Jan 2020

ผลของฟลูออไรด์วาร์นิชต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลัง โดยติดตามผลด้วยภาพรังสีซ้อนทับชนิดดิจิทัล: การทดสอบแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม, รินรดา ภิรมย์ภักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาทางคลินิกแบบแบ่งส่วนช่องปากซึ่งมีการจัดกลุ่มด้วยวิธีสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลังแท้ที่ระยะเวลา 6 เดือนภายหลังการทาฟลูออไรด์วาร์นิชและคาวิตี้วาร์นิช ในอาสาสมัครจำนวน 30 คนที่มีรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มที่ระดับความลึกไม่เกินรอยต่อเนื้อฟัน-เคลือบฟันอย่างน้อย 1 คู่ที่อยู่คนละจตุภาค ซึ่งไม่เป็นรูทางคลินิกและมีการดำเนินโรค อาสาสมัครได้รับการถ่ายภาพรังสีดิจิทัลชนิดกัดปีกที่ระยะเริ่มต้น รอยผุดังกล่าวได้รับการจัดกลุ่มโดยการสุ่มเพื่อทาฟลูออไรด์วาร์นิช หรือคาวิตี้วาร์นิช (กลุ่มควบคุม) อาสาสมัครได้รับการถ่ายภาพรังสีดิจิทัลชนิดกัดปีกอีกครั้งที่ระยะ 6 เดือน เพื่อติดตามการลุกลามของรอยผุ โดยใช้วิธีการวัดผล 2 วิธี ได้แก่ การวัดความหนาแน่นแร่ธาตุของรอยผุจากภาพรังสีซ้อนทับชนิดดิจิทัลระหว่างภาพรังสีที่ระยะเริ่มต้นกับที่ระยะ 6 เดือน และการวัดความลึกรอยผุโดยตรงจากภาพรังสีดิจิทัลชนิดกัดปีกที่ระยะเริ่มต้นและที่ระยะ 6 เดือนด้วยโปรแกรม Image-Pro Plus พบว่าค่าเฉลี่ยความหนาแน่นแร่ธาตุระหว่างรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มกลุ่มที่ได้รับการทาฟลูออไรด์วาร์นิช (125.38 ± 6.9) และคาวิตี้วาร์นิช (132.63 ± 8.59) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) เมื่อใช้สถิติ paired-T test ตรงข้ามกับค่าเฉลี่ยผลต่างความลึกรอยผุกลุ่มที่ได้รับการทาฟลูออไรด์วาร์นิช (-0.0078 ± 0.13) และคาวิตี้วาร์นิช (-0.0227 ± 0.11) ที่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.525) เมื่อใช้สถิติ paired-T test ดังนั้นจึงยังไม่สามารถสรุปผลของฟลูออไรด์วาร์นิชต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลังแท้ได้ และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวต่อไป


Microrna Profiles Associated With Bone Healing Of The Extraction Socket In Bisphosphonate Related Osteonecrosis Of The Jaw In Rat Model, Thapakorn Surajkulwatana Jan 2020

Microrna Profiles Associated With Bone Healing Of The Extraction Socket In Bisphosphonate Related Osteonecrosis Of The Jaw In Rat Model, Thapakorn Surajkulwatana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bisphoshonates (BPs) are widely used for treating osteoporosis, multiple myeloma, breast cancer, and bone metastasis cancer. Trauma or tooth extraction in patients treated with BPs can lead to MRONJ development because of its mechanism of action by which interferes bone homeostasis and angiogenesis. Once MRONJ has occurred, this hard-to-cure disease posed the risk of having poor quality of life to the patients. The application of miRNA for curing the diseases is now being of interest in medical field. Aiming at elucidating the role of miRNAs in the pathogenesis of MRONJ, a rat model was used in creating MRONJ and the …


Gene Expression And Immunohistochemistry Analysis Of Xenograft And Allograft In Maxillary Sinus Floor Augmentation, Isaya Kungvarnchaikul Jan 2020

Gene Expression And Immunohistochemistry Analysis Of Xenograft And Allograft In Maxillary Sinus Floor Augmentation, Isaya Kungvarnchaikul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Quality of bone is an important factor contributing to the success of dental implants. The bone height in maxillary posterior area sometimes is not enough and might pose risks for placing dental implants. Maxillary sinus augmentation with bone substitutes is used for filling and correcting bony defects. This study aims to determine the differences in gene expressions of TNF-alpha, RUNX2, COL1A1, ALP between xenograft (Bio-Oss®) and allograft (SureOss®). Patients who needed two-stage maxillary sinus floor augmentation were included (n=13). Patient who had dental implant at posterior maxilla without bone substitutes was also used in immunohistochemistry analysis (IHC) (n=1). Bone samples …


The Immunomodulatory Roles Of Supracrestal Gingival Connective Tissue-Derived Human Mesenchymal Stromal Cells In The Polarization Of Macrophages, Jirawit Inthayat Jan 2020

The Immunomodulatory Roles Of Supracrestal Gingival Connective Tissue-Derived Human Mesenchymal Stromal Cells In The Polarization Of Macrophages, Jirawit Inthayat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

MSCs exert their immunomodulatory effects on various immune cells by cell-cell contact and cytokines secretion. Our previous study has demonstrated that supracrestal gingival connective tissue-derived mesenchymal stem cells (SG-MSCs) were recognized to be a good candidate for periodontal regeneration. SG-MSCs showed the similar potential to PDL-MSCs and held significant advantage over PDL-MSCs by which a tooth extraction is not required. In terms of immunomodulatory properties, the effect of SG-MSCs on macrophage has never been explored. This study was aimed to investigate the effects of SG-MSCs on macrophages by cocultured SG-MSCs and THP-1-derived macrophages (THP-1-MPs) in direct cell-cell contact condition. Briefly, …


The Effect Of Laser Power On Mechanical And Physical Properties Of Ti-6al-4v Eli Fabricated By Selective Laser Melting, Pajaree Termrungruanglert Jan 2020

The Effect Of Laser Power On Mechanical And Physical Properties Of Ti-6al-4v Eli Fabricated By Selective Laser Melting, Pajaree Termrungruanglert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to examine the differences in mechanical and physical properties of Ti-6Al-4V extra low interstitial (ELI) fabricated by selective laser melting (SLM) between different laser power. The Ti-6Al-4V ELI alloy samples were printed in dumbbell shape by SLM machine (Trumpf/TruPrint 1000, Germany) with 3 laser powers (75, 100 and 125 W), 8 samples for each group. And the other parameters (spot size 30 µm, scanning speed 600 mm/s, layer thickness 30 µm) were kept constantly. All samples were performed under tensile test with universal testing machine. Moreover, The microhardness test was performed. All data were statistically analyzed with …


Comparative Study Of Tensile Bond Strength Between Resin Cements And Hybrid Materials, Chakriya Donpinprai Jan 2020

Comparative Study Of Tensile Bond Strength Between Resin Cements And Hybrid Materials, Chakriya Donpinprai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To compare tensile bond strength among the hybrid materials (VITA ENAMIC®, SHOFU Block HC, Katana AVENCIA and Experimental material) using two primers (Universal ceramic primer and RelyX ceramic primer) and two resin cements (Super-Bond C&B and RelyXTM U200). Methods: Twenty blocks of 4×4×1 mm3 were prepared from each material type. In VITA ENAMIC® group, specimens were conditioned with 5% Hydrofluoric acid and primer. In SHOFU Block HC and Katana AVENCIA groups, specimens were treated with 50µm alumina and primer. In experimental material, specimens were etched with 65% Phosphoric acid. Ten specimens were randomly assigned to each group for different …


Histone Deacetylase Inhibitor Induces The Odontogenic Differentiation In Human Dental Pulp Cells: Comparison Of Trichostatin A (Tsa) And Suberoylanilide Hydroxamic Acid (Saha), Indrani Sulistyowati Jan 2020

Histone Deacetylase Inhibitor Induces The Odontogenic Differentiation In Human Dental Pulp Cells: Comparison Of Trichostatin A (Tsa) And Suberoylanilide Hydroxamic Acid (Saha), Indrani Sulistyowati

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human dental pulp cells (hDPCs) have shown their plasticity to differentiate into odontoblast-like cell lineages under the treatment of two-members of hydroxamates HDAC inhibitors (HDACis), Trichostatin A (TSA) and Suberoylanilide hydroxamic acid (SAHA). However, a comparison of the potency for stimulating odontoblast-like differentiation and mineralization process among these two HDACis has not been reported. Therefore, we aimed to confirm and compare the stimulatory effect of TSA and SAHA in inducing odontoblast-like differentiation and promoting mineralized-nodule formation. The primary cultured hDPCs was used for MTT assay, ALP activity assay, and alizarin red staining in the presence and absence of TSA and …


สหสัมพันธ์ของมิติข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างในผู้ป่วยสบฟันผิดปกติประเภทที่สามในภาพรังสีโคนบีมซีที, ยศพล สงพุ่ม Jan 2020

สหสัมพันธ์ของมิติข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างในผู้ป่วยสบฟันผิดปกติประเภทที่สามในภาพรังสีโคนบีมซีที, ยศพล สงพุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดและมุมของข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างในคนไทยที่มีการสบฟันผิดปกติประเภทที่สาม การศึกษาทำในภาพรังสีโคนบีมซีทีของข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างชาวไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 42 ภาพ แบ่งเป็นเพศชาย 10 คน อายุ 20-37 ปี อายุเฉลี่ย 23.40 ± 5.10 ปี จำนวน 20 ภาพ เพศหญิง 11 คน อายุ 20-42 ปี อายุเฉลี่ย 28.18 ± 6.10 จำนวน 22 ภาพ ความแตกต่างระหว่างฝั่งซ้ายและฝั่งขวาวิเคราะห์โดยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ paired t-test ความแตกต่างระหว่างเพศวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Independent t-test และ Mann-Whitney U test สหสัมพันธ์ระหว่างขนาดและมุมของข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างวิเคราะห์โดย Pearson correlation และ Spearman correlation ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบระหว่างฝั่งซ้ายและขวา พบว่ามุมระหว่างส่วนยื่นคอนดายล์และระนาบแบ่งซ้ายขวาด้านซ้ายมีค่ามากกว่าด้านขวา (p= 0.024) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ พบว่า ความลึกแอ่งข้อต่อขากรรไกร (p= 0.034) ความกว้างส่วนยื่นคอโรนอยด์ (p <0.001) ความสูงของขากรรไกรล่าง (p= 0.002) ความสูงของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม (p= 0.003) ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม (p= 0.020) ความยาวของขากรรไกรล่างในเพศชายมีค่ามากว่าเพศหญิง (p= 0.007) ส่วนมุมส่วนยื่นคอนดายล์ในระนาบแบ่งหน้า-หลัง (p= 0.021) และความชันผนังหลังแอ่งข้อต่อขากรรไกร (p= 0.026) ในเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย สหสัมพันธ์ระหว่างข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่าง พบว่า ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความยาวของขากรรไกรล่าง (r= 0.754) ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความกว้างส่วนยื่นคอโรนอยด์ (r=0.733) ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความสูงของขากรรไกรล่าง (ρ=0.802) ความสูงของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความสูงของขากรรไกรล่าง (ρ=0.759) มีสหสัมพันธ์ในระดับสูง สรุปผลการศึกษา ในผู้ใหญ่ชาวไทยที่มีลักษณะสบฟันประเภทที่สามมีความสัมพันธ์ระหว่าง ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความยาวของขากรรไกรล่าง ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความกว้างส่วนยื่นคอโรนอยด์ ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความสูงของขากรรไกรล่าง รวมทั้ง ความสูงของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความสูงของขากรรไกรล่าง ในระดับสูง


ผลลัพธ์ของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมและการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจในผู้ป่วย ลิ้นไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากการติดตาม 10 ปี, วศินี พรหมรัตน์พรรณ์ Jan 2020

ผลลัพธ์ของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมและการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจในผู้ป่วย ลิ้นไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากการติดตาม 10 ปี, วศินี พรหมรัตน์พรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงด้วยวิธีการใช้บอลลูนถ่างขยายและการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วิธีการวิจัย: ทำการเก็บข้อมูลเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2553-2563 โดยมีผู้ป่วยในกลุ่มที่ใช้บอลลูนถ่างขยาย 164 รายและผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 100 ราย ผลลัพธ์หลักในการวิจัย (primary outcome) คือผลลัพธ์รวมของอัตราการเสียชีวิต การทำหัตถการซ้ำ การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดภาวะน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา: ผลลัพธ์หลักในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจ แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002) (37.2% และ 22% ตามลำดับ) โดยปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักมาจากการอัตราการทำหัตถการซ้ำ ซึ่งพบมากในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (18.3% และ 0% ตามลำดับ (p=0.000)) ในขณะที่อัตราการเสียชีวิต การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันในสองกลุ่ม สรุป: การรักษาโรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงด้วยวิธีการใช้บอลลูนถ่างขยายมีอัตราการทำหัตถการซ้ำมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่อัตราการเสียชีวิต การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันในสองกลุ่ม


ผลของวัสดุบูรณะที่สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ต่อความแข็งระดับจุลภาคที่พื้นผิวในรอยผุระยะเริ่มต้นของฟันซี่ข้างเคียง : การทดลองในห้องปฏิบัติการ, ทิพย์ธิดา ธีรรัฐ Jan 2020

ผลของวัสดุบูรณะที่สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ต่อความแข็งระดับจุลภาคที่พื้นผิวในรอยผุระยะเริ่มต้นของฟันซี่ข้างเคียง : การทดลองในห้องปฏิบัติการ, ทิพย์ธิดา ธีรรัฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแข็งระดับจุลภาคที่พื้นผิวในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันที่ติดกับวัสดุบูรณะอัลคาไซต์ แก้วไอโอโนเมอร์ และคอมโพสิตเรซินชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ วิธีการวิจัย: นำชิ้นฟันที่ตัดจากด้านประชิดของฟันกรามน้อยแท้บน จำนวน 30 ชิ้นมาฝังในอะคริลิกแล้ววัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิวด้วยหัวกดนูป เพื่อบันทึกเป็นค่าตั้งต้นและแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม (1)กลุ่มวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์ 10 ชิ้น (2)กลุ่มวัสดุอัลคาไซต์ 10 ชิ้น (3)กลุ่มวัสดุคอมโพสิตเรซินชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ 10 ชิ้น แล้วจึงนำชิ้นฟันมาสร้างรอยผุจำลอง ทำการวัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิวของรอยผุจำลอง จากนั้นนำชิ้นฟันไปติดกับบล็อกอะคริลิกที่ทำการบูรณะด้านประชิดด้วยวัสดุบูรณะตามกลุ่ม แล้วนำไปผ่านกระบวนการเลียนแบบสภาวะการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างในช่องปากเป็นเวลา 7 วันแล้วจึงนำมาวัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิว คำนวณหาร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวแล้วเปรียบเทียบระหว่าง 3 กลุ่มด้วยสถิติ Kruskal-Wallis Test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และทดสอบความแตกต่างในแต่ละคู่ด้วยสถิติ Mann-Whitney Test โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.017 ซึ่งเป็นระดับนัยสำคัญที่ผ่านการทดสอบ Bonferroni multiple testing correction ผลการศึกษา: ค่าร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวระดับจุลภาคของกลุ่มวัสดุอัลคาไซต์มีค่าเฉลี่ยอันดับมากที่สุดเป็น 25.5 ส่วนกลุ่มแก้วไอโอโนเมอร์และกลุ่มคอมโพสิตเรซินเป็น 15.5 และ 5.5 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อทำการเปรียบเทียบค่าร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวระดับจุลภาคระหว่าง 3 กลุ่มพบว่าทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.017) สรุป: การบูรณะด้วยวัสดุอัลคาไซค์ให้ผลการคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันได้มากกว่าวัสดุบูรณะแก้วไอโอโนเมอร์และคอมโพสิตเรซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในห้องปฏิบัติการ วัสดุอัลคาไซต์จึงถือเป็นวัสดุหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ในกรณีที่ต้องบูรณะฟันคลาสทู ในกรณีที่ฟันซี่ข้างเคียงมีรอยผุระยะเริ่มต้นเพื่อยับยั้งการลุกลามของรอยโรคฟันผุ


การประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการดำเนินกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชเพื่อป้องกันฟันผุ สำหรับเด็กอายุ 9 – 30 เดือน ในคลินิกเด็กดี: กรณีศึกษาใน 3 จังหวัด, รติชนก นันทนีย์ Jan 2020

การประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการดำเนินกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชเพื่อป้องกันฟันผุ สำหรับเด็กอายุ 9 – 30 เดือน ในคลินิกเด็กดี: กรณีศึกษาใน 3 จังหวัด, รติชนก นันทนีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและประเมินต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนผลได้ของกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชเพื่อป้องกันฟันผุ ในคลินิกเด็กดี 3 จังหวัด การศึกษาประสิทธิผลเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลังและไปข้างหน้าในเด็กอายุ 15 - 22 เดือน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 460 คน ได้รับการสอบถามข้อมูลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนฟันผุ ถอน อุด และวัดระดับคราบจุลินทรีย์ ดูประวัติบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชระหว่างอายุ 9 – 30 เดือน และได้รับการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากและความจำเป็นต้องได้รับการรักษาเมื่อสิ้นสุดการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการ Quadratic regression ระหว่างจำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมและจำนวนฟันผุ ถอน อุด และควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประมาณค่าต้นทุนและผลลัพธ์ทำโดยสอบถามข้อมูลจากทันตบุคลากร ใช้ข้อมูลการจัดซื้อของโรงพยาบาล และสอบถามผู้ปกครองที่พาเด็กมาร่วมกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชและพาเด็กมารับการรักษา ผลการศึกษาพบว่า เมื่อควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การเข้าร่วมกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชมีความสัมพันธ์กับจำนวนฟันผุ ถอน อุด (p=0.036) และการเข้าร่วมกิจกรรม 1, 2, 3 และ 4 ครั้งมีจำนวนฟันผุ ถอน อุด เฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [-1.31 (95% CI: -2.39, -0.23), -2.08 (95% CI: -3.73, -0.42), -2.31 (95% CI: -4.14, -0.48) และ -2.01 (95% CI: -3.93, -0.09) ซี่ตามลำดับ] และกิจกรรมมีความคุ้มค่าโดยการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มและการวิเคราะห์ผลได้ส่วนเพิ่ม ในมุมมองผู้ให้และผู้รับบริการ (ICER = -427.81 และ -416.56 ผลได้ส่วนเพิ่ม 543.32 และ 529.03 บาท ตามลำดับ) ผู้วิจัยจึงแนะนำให้มีการดำเนินกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชเพื่อป้องกันฟันผุในคลินิกเด็กดีให้เด็กและผู้เลี้ยงดูเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วงอายุ 9 – 30 เดือน ในวันเดียวกับการมารับวัคซีน


Osteogenic Differentiation Potential By Mouse Bone Marrow-Derived Mesenchymal Stemcells (Mbm-Mscs) Derived From Gut Leak-Induced Diabetes Type Ii Mouse Model, Nabila Syarifah Jamilah Jan 2020

Osteogenic Differentiation Potential By Mouse Bone Marrow-Derived Mesenchymal Stemcells (Mbm-Mscs) Derived From Gut Leak-Induced Diabetes Type Ii Mouse Model, Nabila Syarifah Jamilah

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Diabetes type II were known to affect several organs in the body including bone, thus diabetes type II patients have higher risk of bone fracture. One of the important features in diabetes type II is low level of anti-inflammatory cytokine Interleukin-10 (IL-10) and gut leak condition. Both of these conditions have the role in diabetes induction, progression and exacerbation. Autogenous Mesenchymal stem cells (MSCs) have been widely utilized for enhancing bone healing treatment. Due to the diabetes condition affecting one of the most common and widely used MSCs source, the bone, this study was done to investigate the effect of …


การรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ, วิวรรณ ทิพยางกูร Jan 2020

การรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ, วิวรรณ ทิพยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากในปัจจุบันผู้ป่วยจำนวนมากได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันตั้งแต่อายุยังน้อย การเลือกแผนการรักษาจึงทำโดยผู้ปกครองเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงความเห็นของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองสามารถทำได้โดยการจัดฟันร่วมกับการดัดแปลงการเจริญเติบโตหรือการผ่าตัดขากรรไกร หรือการจัดฟันเพียงอย่างเดียวเพื่ออำพรางความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก โดยทั้งสองวิธี้นี้ให้ผลการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะใบหน้าที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ การศึกษาทำโดยการใช้วิชวลอนาล็อกสเกลและการเรียงลำดับความสวยงาม โดยให้บุคคลอายุต่าง ๆ 3 กลุ่มอายุ คือ 12-15 ปี 22-32 ปี และ 44-54 ปี จำนวนกลุ่มละ 60 คน (เพศชาย 30 คนและเพศหญิง 30 คน) ประเมินความสวยงามของภาพใบหน้าด้านข้างทั้งหมด 7 ภาพของหญิงไทยที่มีลักษณะโครงสร้างใบหน้าแบบที่สอง โดยมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากและค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ต่าง ๆ กัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติทดสอบครัสคาล-วัลลิส สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบวิลค็อกซันชนิดอันดับที่มีเครื่องหมาย ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนในการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลและคะแนนลำดับความสวยงาม รวมไปถึงใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว ในการวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ คือ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประวัติการรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ที่อาจส่งผลต่อการให้คะแนนความสวยงาม ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอายุต่าง ๆ กัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลและคะแนนลำดับความสวยงามเพียงบางภาพ โดยมีแนวโน้มของการให้คะแนนในกลุ่มอายุ 12-15 ปีและ 44-54 ปีที่มีความคล้ายคลึงกัน ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลในกลุ่มอายุเดียวกัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเพียงบางภาพ นอกจากนี้พบความความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลกับคะแนนลำดับความสวยงามอย่างมีนัยสำคัญเพียงบางภาพ ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่น ๆ ต่อการให้คะแนนความสวยงามพบเพียงบางปัจจัยในบางภาพเช่นเดียวกัน สรุปผลการศึกษา กลุ่มอายุ 12-15 ปีและ 44-54 ปี มีความพึงพอใจในลักษณะใบหน้าที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน คือใบหน้าด้านข้างที่อูมเล็กน้อยและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากปกติ (ค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ 11 องศาและค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 91 องศา) เป็นภาพที่สวยที่สุด และใบหน้าด้านข้างที่อูมมากและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากมากที่สุด (ค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ 17 องศาและค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 115 องศา) เป็นภาพที่มีความสวยงามน้อยที่สุด ส่วนกลุ่มอายุ 22-32 ปี พึงพอใจมากในใบหน้าด้านข้างที่อูมกว่าค่าปกติและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากปกติ (ค่ามุมเฟเชียล-คอนทัวร์ 11 องศาและ 13 องศา และค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 91 องศา) …


Comparing Patient-Reported Outcome Measures Among 3 Methods Of Dental Implant Placement, Sunida Engkawong Jan 2020

Comparing Patient-Reported Outcome Measures Among 3 Methods Of Dental Implant Placement, Sunida Engkawong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to compare patient-reported outcome measures including post-operative pain, swelling, patient's expectation and satisfaction among 3 techniques of dental implant placement including a) conventional freehand, b) dynamic, and c) static Computer-Aided Implant Surgery. Ninety patients were randomly assigned to receive dental implant placement with one of the 3 protocols. Participants were asked to fill in a series of self-administered questionnaires assessing 1) pre-operative expectations, 2) post-operative healing events during the first week after surgery, and 3) overall satisfaction with the procedures at two weeks. Eighty-eight patients completed the study, 2 patients in dynamic CAIS group …


Cost Effectiveness Of Oral Health Care Program Implementation In Primary School In Bangkok, Thailand, Nicha Luksamijarulkul Jan 2020

Cost Effectiveness Of Oral Health Care Program Implementation In Primary School In Bangkok, Thailand, Nicha Luksamijarulkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dental caries are common oral diseases in schoolchildren. This retrospective cohort analysis was done to assess caries prevalence, risk and protective factors associated permanent caries among 433 children profiles of school children in selected primary school in Bangkok who received or did not receive a preventive program. Additionally, a cost effectiveness of the program was analyzed. Result revealed that there was high caries prevalence in deciduous teeth (1st grade) 87.2% and mean dmft 6.44 (± 4.4) and caries prevalence in permanent teeth (6th grade) 51.7% and mean DMFT 1.37 (± 1.84). Risk and protective factors associated permanent caries, after logistic …


ความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงในการวัดสีฟันของสเปคโทรโฟโตมิเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปาก : การศึกษาทางคลินิก, ธัญชนก ปุรณะภักดี Jan 2020

ความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงในการวัดสีฟันของสเปคโทรโฟโตมิเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปาก : การศึกษาทางคลินิก, ธัญชนก ปุรณะภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในคลินิกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงในการวัดสีฟันธรรมชาติของมนุษย์ด้วยเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปาก โดยมีผู้ร่วมในการศึกษาจำนวน 50 คน ใช้ฟันตัดซี่กลางด้านขวาบน (ซี่ 11) ในการทดสอบ ทำความสะอาดฟันด้วยผงพัมมิส ล้างด้วยน้ำจากที่เป่าลมและน้ำ บ้วนปากด้วยน้ำเปล่า ซับให้แห้งด้วยผ้าก๊อซ แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ตามเครื่องที่ใช้ในการวัดสี ได้แก่ กลุ่มเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเตอร์วีต้าอีซี่เฉดไฟ้ว์ (VITA Easyshade® V) กลุ่มเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากทรีออสทรีเชฟ (TRIOS 3shape) และกลุ่มเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากซีเล็คออมนิแคม (CEREC Omnicam) ทำการวัดสีฟันที่ตำแหน่งกึ่งกลางคอฟัน กึ่งกลางตัวฟัน และ กึ่งกลางปลายฟัน บันทึกสีที่วัดได้เป็นค่าสีของวิต้าทรีดีมาสเตอร์ (Vita 3D-MASTER) นำค่าที่บันทึกได้มาทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สถิติแลนดอร์ฟคัปปา (Randolph kappa) และใช้สถิติไคว์สแควร์ (Chi’s square) เปรียบเทียบความเที่ยงตรงจากร้อยละของความถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเชื่อมั่นในการวัดสีฟันของเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเมอร์และเครื่องสแกนเนอร์ในช่องปากทรีออสทรีเชฟ อยู่ในระดับดี (อยู่ในช่วง0.61-0.80) และเครื่องสแกนเนอร์ในช่องปากซีเล็คออมนิแคม อยู่ในระดับปานกลาง (อยู่ในช่วง 0.41-0.60) สำหรับความเที่ยงตรงในการวัดสีฟันเมื่อเทียบกับเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเมอร์พบว่า เครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากทรีออสทรีเชฟ มีค่าถูกต้องร้อยละ 28.2 และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากซีเล็คออมนิแคม มีค่าความถูกต้องร้อยละ 27.7 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p= 0.210) สรุปได้ว่า ความเชื่อมั่นในการวัดสีฟันของเครื่องสเปคโทโฟโตมิเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากทรีออสทรีเชฟ อยู่ในระดับดี เครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปาก ซีเล็คออมนิแคมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความเที่ยงตรงของเครื่องสแกนเนอร์ภายในช่องปากทั้งสองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเมอร์


ผลของสารผสมระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระและกรดซิตริกต่อความแข็งแรงยึดเฉือนของสารยึดติดกับฟันมนุษย์ที่ถูกฟอกสีฟัน, พิชนี แซ่อาวเอี้ยง Jan 2020

ผลของสารผสมระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระและกรดซิตริกต่อความแข็งแรงยึดเฉือนของสารยึดติดกับฟันมนุษย์ที่ถูกฟอกสีฟัน, พิชนี แซ่อาวเอี้ยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของกรดเอทิลแอสคอร์บิกความเข้มข้นร้อยละ 35 ที่ถูกนำมารวมกับกรดซิตริกความเข้มข้นร้อยละ 50 ต่อความแข็งแรงพันธะยึดเฉือนของแบร็กเกตที่ยึดติดกับเรซินคอมโพสิตและฟันมนุษย์หลังจากการฟอกสี วัสดุและวิธีการ: งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ฟันกรามน้อยบนจำนวน 40 ซี่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (10 ซี่ต่อกลุ่ม) โดยกลุ่มควบคุมใช้กรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 กัดบนผิวเคลือบฟันที่ไม่ได้ฟอกสีฟันเป็นระยะเวลา 15 วินาที สําหรับกลุ่มทดลองที่ 1 ใช้กรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37% กัดบนผิวฟันที่ถูกฟอกสีฟันเป็นระยะเวลา 15 วินาที กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้โซเดียมแอสคอร์เบตความเข้มข้นร้อยละ 35 เตรียมผิวเคลือบฟันก่อนเป็นระยะเวลา 5 นาที แล้วจึงตามด้วยการใช้กรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 กัดบนผิวเคลือบฟันที่ฟอกสีฟันเป็นระยะเวลา 15 วินาที ส่วนกลุ่มทดลองที่ 3 นั้น ได้ใช้กรดที่ผสมด้วยกรดเอทิลแอสคอร์บิกความเข้มข้นร้อยละ 35 รวมกับกรดซิตริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 กัดบนผิวฟันที่ถูกฟอกสีฟันเป็นระยะเวลา 5 นาที จากนั้นได้ทำการยึดแบร็กเกตโลหะบนผิวเคลือบฟันของฟันทุกกลุ่มและนำฟันไปฝังในท่อพีวีซีโดยใช้อุปกรณ์ชี้นำเพื่อให้ผิวเคลือบฟันด้านแก้มขนานกับแรงที่ใช้ในระหว่างการทดสอบความแข็งแรงของพันธะเฉือน และนำชิ้นงานไปทดสอบความแข็งแรงของพันธะเฉือนโดยเครื่องทดสอบอเนกประสงค์ ความเร็วของหัวตัด 1 มิลลิเมตรต่อนาที จนกว่าแบร็กเกตหลุดจากผิวเคลือบฟัน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และศึกษาดัชนีการเหลืออยู่ของสารยึดติด โดยดูจากภาพถ่ายที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอภายใต้กำลังขยาย 20 เท่า ด้วยสถิติการทดสอบไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา: ความแข็งแรงของพันธะเฉือนมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 3 เท่ากับ 23.30±3.02 14.03±3.13 20.09±2.48 และ 18.24±4.25 เมกะปาสคาลตามลำดับ โดยพบว่าค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือนของกลุ่มที่มีการใช้กรดเอทิลแอสคอร์บิกผสมกับกรดซิตริกเป็นสารกัด (กลุ่มทดลองที่ 3) และกลุ่มที่ใช้โซเดียมแอสคอร์เบตปรับสภาพผิวเคลือบฟันก่อนการกัดด้วยกรดฟอสฟอริก (กลุ่มทดลองที่ 2) มีค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือนที่มากกว่ากลุ่มที่ใช้กรดฟอสฟอริกอย่างเดียว (กลุ่มทดลองที่ 1) อย่างมีนัยสําคัญ (p=0.03) และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือนของกลุ่มที่มีการใช้กรดเอทิลแอสคอร์บิกผสมกับกรดซิตริก (กลุ่มทดลองที่ 3) มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.008) เช่นกัน และพบว่าค่าการกระจายของดัชนีการเหลืออยู่ของสารยึดติดทั้ง 4 กลุ่มมีความแตกต่างกัน สรุป: การใช้กรดเอทิลแอสคอร์บิกความเข้มข้นร้อยละ …


การคืนกลับของแร่ธาตุในรอยผุจำลองระยะเริ่มต้น ระหว่างการใช้ฟลูออไรด์เจลโดยการทาด้วยพู่กันและการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช, กีรติพร กีรติบำรุงพงศ์ Jan 2020

การคืนกลับของแร่ธาตุในรอยผุจำลองระยะเริ่มต้น ระหว่างการใช้ฟลูออไรด์เจลโดยการทาด้วยพู่กันและการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช, กีรติพร กีรติบำรุงพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์: เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลโดยการทาด้วยพู่กันต่อรอยผุจำลองบนชิ้นฟันน้ำนมเมื่อเปรียบเทียบการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบไขว้ โดยใช้ฟันน้ำนม 50 ชิ้นมาสร้างรอยผุจำลอง และแบ่งเป็น 3 กลุ่มเพื่อทาสาร ได้แก่ (1) เจล หลอกที่ไม่มีฟลูออไรด์ ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร เป็นกลุ่มควบคุม (2) แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล ความเข้มข้นร้อยละ 1.23 ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร ทาด้วยพู่กัน (3) ฟลูออไรด์วาร์นิช ความเข้มข้นร้อยละ 5 ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร ชิ้นฟันตัวอย่างจะถูกติดกับเครื่องมือถอดได้ในขากรรไกรล่างสำหรับอาสาสมัครทั้งหมด 25 คน เพื่อรับสารทั้ง 3 ชนิดตามลำดับการสุ่ม หลังจากใส่เครื่องมือเป็นเวลา 1 ชั่วโมงจึงทำการถอดเครื่องมือและนำชิ้นฟันไปผ่านกระบวนการจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาวะความเป็นกรดด่างในช่องปากเป็นเวลา 14 วัน นำค่าเฉลี่ยร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์เริ่มต้น (△F0) และหลังการทดลอง (△F1) ที่วัดผลโดยใช้เครื่องคิวแอลเอฟ-ดี มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการศึกษา: กลุ่มชิ้นฟันที่ได้รับเจลหลอกมีค่า △F1 ลดลง แสดงให้เห็นว่ามีการสูญเสียแร่ธาตุเกิดขึ้น กลุ่มที่ได้รับแอซิดูเลทเลตฟอสเฟตฟลูอไรด์เจลและฟลูออไรด์วาร์นิชมีค่า △F1 เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่ามีการคืนกลับแร่ธาตุเกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างระหว่าง △F0 และ △F1 พบว่า ฟลูออไรด์วาร์นิชสามารถคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุจำลองได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.0001) สรุป: การใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช ความเข้มข้นร้อยละ 5 สามารถคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุจำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล ความเข้มข้นร้อยละ 1.23 โดยการทาด้วยพู่กัน


ผลการคืนกลับแร่ธาตุของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ต่อรอยผุชั้นเนื้อฟันภายหลังการฉายแสง: การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ, จุฑามาศ กาลเนาวกุล Jan 2020

ผลการคืนกลับแร่ธาตุของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ต่อรอยผุชั้นเนื้อฟันภายหลังการฉายแสง: การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ, จุฑามาศ กาลเนาวกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการคืนกลับแร่ธาตุของรอยผุชั้นเนื้อฟันภายหลังการทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) ความเข้มข้นร้อยละ 38 ที่ใช้ระยะเวลาในการทาสาร 10 วินาที และ 60 วินาที ร่วมกับการฉายแสงหรือไม่ฉายแสง วัดความลึกรอยผุเริ่มต้น (lesion depth) และความหนาแน่นแร่ธาตุ (mineral density) ของฟันกรามน้ำนมมนุษย์ที่มีรอยผุในชั้นเนื้อฟันจำนวน 40 ชิ้น แบ่งชิ้นฟันตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มย่อยที่มีการเรียงลำดับ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ทา SDF 10 วินาที, กลุ่มที่ 2 ทา SDF 60 วินาที, กลุ่มที่ 3 ทา SDF 10 วินาที ร่วมกับฉายแสง, กลุ่มที่ 4 ทา SDF 60 วินาที ร่วมกับฉายแสง นำไปผ่านกระบวนการสลับกรด-ด่างโดยใช้เชื้อแบคทีเรียเพื่อจำลองสภาวะในช่องปากเป็นเวลา 7 วัน วัดผลการคืนกลับแร่ธาตุของรอยผุด้วยการซ้อนทับภาพรังสีดิจิทัล (digital subtraction radiography) แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุ (mMDD) จากการวิเคราะห์ผลด้วยสถิติความแปรปรวนแบบสองทางด้วยโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป พบว่าการฉายแสงเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลให้ mMDD แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.007) โดยการฉายแสงหลังทา SDF 10 วินาที และ 60 วินาที ให้ผล mMDD มากกว่าการทา SDF 10 วินาที และ 60 วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.041 และ 0.041 ตามลำดับ) และการทา SDF 60 วินาที ร่วมกับการฉายแสงให้ผล mMDD มากกว่าการทา SDF 10 วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.010) …


คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ชนิดก่อตัวเร็วสำหรับงานสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทางวิทยาเอ็นโดดอนต์, คงธรรม วิมลสุทธิกุล Jan 2020

คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ชนิดก่อตัวเร็วสำหรับงานสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทางวิทยาเอ็นโดดอนต์, คงธรรม วิมลสุทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของ ไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ชนิดก่อตัวเร็วที่สังเคราะห์ขึ้นจากห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในสำหรับงานทันตกรรม สังเคราะห์ไตรแคลเซียมซิลิเกตโดยการเผาซิลิกา (SiO2) กับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ที่อุณหภูมิ 1450 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ทดสอบส่วนประกอบทางเคมีของไตรแคลเซียมซิลิเกตที่สังเคราะห์ได้โดยวิธีการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ (XRD) และเอกซเรย์ฟลูโอเรสเซนส์ (XRF) จากนั้นนำผงไตรแคลเซียมซิลิเกตผสมกับเซอร์คอนในสัดส่วนร้อยละ 10 20 และ 30 เพื่อเป็นความทึบรังสี และใช้lสารละลายแคลเซียมคลอไรด์เข้มข้นร้อยละ 20 เพื่อเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้เป็นไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ชนิดก่อตัวเร็ว จากนั้นทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพได้แก่เวลาแข็งตัวขั้นต้นและสมบูรณ์ ความทนแรงกด ความทึบรังสี และความเป็นกรด-ด่าง โดยอ้างอิงจากมาตรฐานไอเอสโอ 6876 (2012) และ 9917 (2007) จากการทดสอบส่วนประกอบทางเคมีพบว่าส่วนผงของไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์มีส่วนประกอบหลักเป็นไตรแคลเซียมซิลิเกตเช่นเดียวกับไบโอเดนทีน ไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์มีเวลาแข็งตัวที่นานขึ้นเมื่อมีสัดส่วนของเซอร์คอนมากขึ้น โดยมีเวลาแข็งตัวไม่แตกต่างจากไบโอเดนทีนอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีเซอร์คอนร้อยละ 20 เมื่อผสมเซอร์คอนมากกว่าร้อยละ 10 ส่งผลให้ไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์มีความทนแรงกดมากขึ้นและไม่แตกต่างจาก ไบโอเดนทีน ไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ที่มีเซอร์คอนร้อยละ 20 และ 30 มีความทึบรังสีมากกว่า ไบโอเดนทีน (5.64 และ 6.47 มิลลิเมตรของอะลูมิเนียม) ปริมาณเซอร์คอนที่ต่างกันไม่ส่งผลทำให้ความเป็นกรด-ด่างของไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์เปลี่ยนแปลง โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างมากกว่าไบโอเดนทีนในช่วงเวลา 3 ชั่วโมงถึง 3 สัปดาห์ (ประมาณ 21.1 ถึง 12.8) ดังนั้นไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ที่มีเซอร์คอนร้อยละ 20 มีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานทางทันตกรรม