Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

PDF

Chulalongkorn University Dental Journal

1999

Calcium hydroxide

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Entire DC Network

การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่างของผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์หลังการเผยต่ออากาศปกติของห้องและอากาศที่มีความชื้น, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, สุพินดา สาทรกิจ Jul 1999

การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่างของผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์หลังการเผยต่ออากาศปกติของห้องและอากาศที่มีความชื้น, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, สุพินดา สาทรกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าความเป็นกรด-ด่างของผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์หลังจากการเผยต่ออากาศปกติของห้องและอากาศที่มีความชื้น วัสดุและวิธีการ ตัวอย่างผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์ของแต่ละกลุ่มที่ใช้ศึกษาในช่วงเวลาและภายใต้สถานการณ์เดียวกันมีจํานวน 10 ตัวอย่าง แต่ละตัวอย่างประกอบด้วยผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์จํานวน 0.2 กรัม โดยนําผงออกมาจากภาชนะบรรจุที่เพิ่งเปิดใช้ ใส่และเกลี่ยให้แผ่กระจายในจานแก้ว แล้วนําไปวางให้เผยต่ออากาศปกติของห้อง (25± 2°C, ความชื้นสัมพัทธ์ 50%) และเผยต่ออากาศชื้นในตู้ควบคุมความชื้น (25 ± 2°C, ความชื้นสัมพัทธ์ 100%) เป็นระยะ เวลา 1, 2, 4, 6, 8, 10 และ 12 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดแต่ละช่วงเวลา นําผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์แต่ละตัวอย่าง ไป ผสมกับน้ํากลั่นจํานวน 50 มิลลิลิตร กวนให้เข้ากันเป็นเวลา 5 นาที แล้ววัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ด้วยเครื่องวัดความ เป็นกรด-ด่าง ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของค่าความเป็นกรด-ด่างของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ของกลุ่มที่เผยต่ออากาศปกติของห้อง และกลุ่มที่เผยต่ออากาศชื้น มีค่าลดลงทุกช่วงเวลา ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับ ค่าที่วัดได้จากผงที่นําออกมาจากภาชนะบรรจุใหม่ๆ เมื่อพิจารณาในช่วงเวลาเดียวกันพบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าความเป็น กรด-ด่าง ของแคลเซียมไฮดรอกไซด์กลุ่มที่เผยต่ออากาศชื้น มีค่าต่ํากว่ากลุ่มที่เผยต่ออากาศปกติของห้อง อย่างมีนัย สําคัญทางสถิติ (p<0.05) ตั้งแต่สัปดาห์ที่สองเป็นต้นไป สรุป ภายใต้สถานการณ์ของการทดลองนี้ พบว่าผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่มีการเผยต่ออากาศปกติของห้อง หรือ เผยต่ออากาศที่มีความชื้นสูง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีค่าความเป็นกรด-ด่างที่วัดได้หลังการผสมกับน้ํากลั่นเสร็จใหม่ ๆ ลดลง


ผลของ Smear Layer ต่อการเปลี่ยนแปลงพีเอชของเนื้อฟันส่วนราก หลังจากใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์, เมตตจิตต์ นวจินดา, อมรรัตน์ บุญศิริ Jul 1999

ผลของ Smear Layer ต่อการเปลี่ยนแปลงพีเอชของเนื้อฟันส่วนราก หลังจากใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์, เมตตจิตต์ นวจินดา, อมรรัตน์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของซีเมีย เลเยอะ smear layer) ต่อการเปลี่ยนแปลงของ พีเอช (pH) ในท่อเนื้อฟันที่บริเวณ 4 มิลลิเมตร จากปลายรากและลึก 1 มิลลิเมตรจากผิวของรากฟัน วัสดุและวิธีการ ฟันมนุษย์รากเดียวจํานวน 22 ปี ทําการขยายคลองรากฟันด้วยเคไฟล์ (K-file) จนเอ็มเอเอฟไฟล์ (MAF) ขนาด 40 แบ่งฟันออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 11 ซี่ โดยกลุ่มที่ 1 ไม่จํากัดซีเมีย เลเออะ โดยล้างคลอง รากฟันสุดท้ายด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Soldiumhypochlorite) 5.25% 20 มิลลิเมตร และน้ํากลั่น 5 มิลลิเมตร กลุ่มที่ 2 กําจัดซีเมีย เลเยอะ โดยล้างคลองรากฟันสุดท้ายด้วยอีดีทีเอ (EDTA) 17% 10 มิลลิเมตร โซเดียม ไฮโปคลอไรด์ 5.25% 10 มิลลิเมตร และน้ํากลั่น 5 มิลลิเมตร นํากลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม เคลือบยาทาเล็บ 2 ชั้น บนผิวรากฟัน รวมทั้งรูเปิดปลายราก อุดคลองรากฟันด้วยส่วนผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในฟันกลุ่มที่ 1 และ 2 กลุ่มละ 10 ปี ส่วนฟัน 1 ซี่ของแต่ละกลุ่ม จะเป็นกลุ่มควบคุม โดยปล่อยคลองรากฟันให้ว่างเปล่า นําฟันทั้ง 22 เจาะรูที่ผิวรากฟันห่างปลายรากฟัน 4 มิลลิเมตร และลึกจากผิวรากฟัน 1 มิลลิเมตร เก็บฟันไว้ในที่ความชื้นสัมพัทธ์ 100% อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นํามาวัดพีเอช ที่ 0, 7, และ 14 วัน …


การเปรียบเทียบวิธีกําจัดแคลเซียมไฮดรอกไซด์ออกจากคลองรากฟัน, เมตตจิตต์ นวจินดา, สงวนศรี ธาตรีนรานนท์ Jan 1999

การเปรียบเทียบวิธีกําจัดแคลเซียมไฮดรอกไซด์ออกจากคลองรากฟัน, เมตตจิตต์ นวจินดา, สงวนศรี ธาตรีนรานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการกําจัดแคลเซียมไฮดรอกไซด์ออกจากคลองรากฟัน ด้วยวิธีต่างๆ 6 วิธี วัสดุและวิธีการ นําฟันรากเดียวที่เจริญเต็มที่ จํานวน 65 ซี่ มาขยายคลองรากฟันจนขนาดของเอ็มเอเอฟไฟล์มี ขนาด 40 แล้วทําการผายคลองรากฟันด้วยวิธีสเทพแบค อุดคลองรากฟันจํานวน 60 ซี่ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ยกเว้นกลุ่มควบคุมจํานวน 5 ซี่ คลองรากฟันจะไม่ใส่อะไรเลย เก็บฟันทั้งหมดที่ความชื้นสัมพัทธ์ 100% อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นรื้อเอาแคลเซียมไฮดรอกไซด์ออกจากคลองรากฟันด้วยวิธีต่างๆ 6 แล้วนําฟันทั้งหมด ผ่าแบ่งครึ่งตามแนวยาว ใช้น้ํากลั่นจํานวน 30 มิลลิลิตรชะล้างเอาแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ตกค้าง ออก หาปริมาณแคลเซียมด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer (Shimadsu AA-630) ผลการทดลอง พบว่าวิธีที่ใช้ไฟล์ใหญ่กว่าเอ็มเอเอฟไฟล์ 1 ขนาด ร่วมกับน้ํายาล้างอีดีทีเอ 17% 5 มิลลิลิตร และโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 2.5% 5 มิลลิลิตร โดยใส่เข็มน้ํายาล้างห่างจากปลายราก 3 มิลลิลิตร เป็นวิธีที่กําจัดที่ดีที่สุด โดยจะมีแคลเซียมตกค้าง 4.78 ppm ส่วนวิธีที่ใช้เอ็มเอเอฟไฟล์ร่วมกับน้ํายาล้างโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 2.5% จํานวน 10 มิลลิลิตร โดยใส่เข็มน้ํายาล้างห่างจากปลายราก 6 มิลลิลิตร เป็นวิธีที่กําจัดแคลเซียมไฮดรอกไซด์ออกได้น้อย ที่สุด เหลือแคลเซียมตกค้าง 11.06 ppm ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยใช้ Kruskal -Wallis test เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มโดยใช้ Mann-Whitney U test พบว่าวิธี 1 กับ 3, 2 กับ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.01) สรุป วิธีที่ใช้กําจัดแคลเซียมไฮดรอกไซด์ทั้ง 6 วิธี ไม่มีวิธีใดสามารถกําจัดออกได้หมด ชนิดของน้ํายาล้างหรือการ เพิ่มขนาดของไฟล์ให้ใหญ่ขึ้น 1 ขนาดจากเอ็มเอเอฟไฟล์ จะไม่มีผลต่อการกําจัดแคลเซียมไฮดรอกไซด์ แต่ถ้าการ ล้างใส่เข็มน้ํายาล้างที่ระยะห่างจากปลายราก 3 มิลลิเมตร จะช่วยกําจัดได้ดีขึ้น