Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 57

Full-Text Articles in Entire DC Network

การพัฒนาวิธีการตรวจยีนดื้อยาคาร์บาพีเนม ของเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ด้วยวิธี Recombinase Polymerase Amplification ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, สุธาวรรณ มุทิตานนท์ Jan 2019

การพัฒนาวิธีการตรวจยีนดื้อยาคาร์บาพีเนม ของเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ด้วยวิธี Recombinase Polymerase Amplification ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, สุธาวรรณ มุทิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อ Klebsiella pneumoniae ที่สร้างเอนไซม์ carbapenemases (KPCs) เป็นปัญหาสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาลโดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากมักดื้อยาหลายขนาน ทำให้มียาที่ใช้รักษาได้จำกัด เป็นสาเหตุทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิค multiplex Recombinase Polymerase Amplification (multiplex RPA) สำหรับตรวจหายีนที่สร้างเอนไซม์ carbapenemase ของเชื้อ K. pneumoniae และเปรียบเทียบความไวและความจำเพาะกับ วิธี Modified Carbapenem Inactivation Method Test (mCIM) และ วิธี nucleotide sequencing กับตัวอย่างเชื้อ K. pneumoniae ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ธันวาคม 2018 โดยเก็บเชื้อที่ผลการคัดกรองพบดื้อยา carbapenem แบ่งเป็นจาก perianal ในงานเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา จำนวน 129 ตัวอย่าง และจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยเด็ก จำนวน 21 ตัวอย่าง พบให้ผลบวกกับวิธี mCIM จำนวน 149 ตัวอย่าง (99.3%) และพบเป็นยีน blaNDM-1 สูงสุดถึงร้อยละ 89.3 รองลงมาคือยีน blaOXA-232 ร้อยละ 8 และยีน blaNDM-1 ร่วมกับ blaOXA-232 ร้อยละ 2 ตามลำดับ เชื้อที่แยกได้จากสิ่งตรวจพบมีการดื้อยาหลายขนาน โดยดื้อยา carbapenem ร่วมกับ gentamicin, trimethoprim/sulfamethoxazole, ciprofloxacin ขณะที่เชื้อที่แยกจากแผนกผู้ป่วยต่าง ๆ ในงานเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา พบการแพร่กระจายของยีน blaNDM-1 สูงสุดใน 4 แผนก จาก 9 แผนก การพัฒนาเทคนิค multiplex RPA พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณยีน blaKPC, blaNDM, …


Effects And Mechanisms Of Caesalpinia Mimosoides Leaf Extract On Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Activity In Caenorhabditis Elegans And Neurite Outgrowth Activity In Neuro2a Cells, Panthakarn Rangsinth Jan 2019

Effects And Mechanisms Of Caesalpinia Mimosoides Leaf Extract On Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Activity In Caenorhabditis Elegans And Neurite Outgrowth Activity In Neuro2a Cells, Panthakarn Rangsinth

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

World’s population of older people is rising, dietary supplements promoting healthy lifespan are needed. Moreover, Alzheimer’s disease (AD), an age-related degenerative disease, becomes a public health problem in aging society. Recent reports using cell culture models of AD suggest that amyloid precursor protein (APP), a protein causally related to AD, plays an important role as an inhibitor of neurite outgrowth. Medicinal herbs with neurite outgrowth stimulatory effect may help to prevent and cure AD. Moreover, studies suggest that dietary supplements from plant sources act in preventive nutrition, since they provide antioxidant action against oxidative stress, promote healthspan and prolong lifespan. …


Screening Development For Anti-Hemotoxic Activity Of Thai Herbs Against Eastern Russell’S Viper Daboia Siamensis (Smith, 1917) Venom, Patchara Sittishevapark Jan 2019

Screening Development For Anti-Hemotoxic Activity Of Thai Herbs Against Eastern Russell’S Viper Daboia Siamensis (Smith, 1917) Venom, Patchara Sittishevapark

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The eastern Russell’s viper, Daboia siamensis, is one of the important venomous snakes in Thailand. Its venom possesses hematotoxin causing pathological alterations to circulatory and renal systems. Although antivenom serum is used for standard medical treatment, its cost per dose, ineffectiveness for some symptoms, and potential to develop allergic reactions in patients has called attention to an alternative remedy including the medicinal herb. To find effective herbs, appropriate screening assays are needed. This study aims to develop in vitro and in vivo screening assays and use for screening Thai herbs with anti-hematotoxic activity against D. siamensis venom. For in vitro …


สมบัติเชิงหน้าที่ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเมลาโนซิสในกุ้งขาวแปซิฟิก Litopenaeus Vannamei, จันทร์วรางค์ เรืองปัถย์ Jan 2019

สมบัติเชิงหน้าที่ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเมลาโนซิสในกุ้งขาวแปซิฟิก Litopenaeus Vannamei, จันทร์วรางค์ เรืองปัถย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฟีนอลออกซิเดส เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการเมลาไนเซชัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดในสิ่งมีชีวิตกลุ่มครัสเตเชียน ฟีนอลออกซิเดสจัดอยู่ในกลุ่มโปรตีนที่จับจำเพาะกับทองแดง สามารถเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนสารประกอบฟีนอลให้เป็นควิโนน ซึ่งสามารถเกิดพอลิเมอไรเซชันต่อไปและกลายเป็นเมลานินซึ่งจุดดำเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเลได้ ส่วนฮีโมไซ ยานินเป็นโปรตีนในกลุ่มที่จับจำเพาะกับทองแดงเช่นเดียวกับฟีนอลออกซิเดส มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนในเลือด ของครัสเตเชียน และมีรายงานว่าหน่วยย่อยของฮีโมไซยานินมีกิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่มีการระบุแน่ชัดว่าหน่วยย่อยใดของฮีโมไซยานินที่มีความสามารถดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษา ลักษณะสมบัติและหน้าที่ของหน่วยย่อยฮีโมไซยานินชนิดใหม่ในกุ้ง Litopenaeus vannamei คือ LvHcB จาก การศึกษาด้านชีวสารสนเทศ พบว่า open reading frame ของยีน LvHcB ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 2004 คู่เบสถอดรหัสเป็นเพปไทด์ที่มีกรดอมิโน 650 ตัว โดยกรดอะมิโน 17 ตัว เป็นเพปไทด์ส่งสัญญาณ ลำดับกรดอะมิ โน ขอ ง LvHcB มีความ คล้าย กับ LvHcL แล ะ LvHcS เท่ากับ 69% แล ะ คล้าย LvproPO1 เท่ากับ 44% LvproPO2 เท่ากับ 45% และ LvproPO3 เท่ากับ 41% นอกจากนี้ LvHcB ยังมีลักษณะของโปรตีนใน กลุ่มโปรตีนที่จับจำเพาะกับทองแดงเช่นกัน จากการศึกษาหน้าที่ของยีน LvHcB ในกุ้งขาวด้วยเทคนิคอาร์เอ็นเอ อินเตอร์เฟียเรนซ์ พบว่าการลดการแสดงออกของยีน LvHcB ในกุ้งขาวด้วยการฉีด อาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อ ยีน LvHcB เข้าสู่กุ้ง ทำให้ปริมาณทรานสคริปต์ของยีน LvHcB ลดลงโดยไม่ลดปริมาณทรานสคริปต์ของยีนอื่นที่ เกี่ยวข้องกับเมลาโนซิส และยังพบว่ากุ้งที่มีการแสดงออกของยีน LvHcB ลดลงมีกิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสน้อยกว่ากุ้งกลุ่มควบคุมที่ฉีดด้วยอาร์เอ็นเอสายคู่ของยีน GFP เมื่อตรวจสอบการเกิดเมลาโนซิสโดยการวัดสี ด้วยระบบ CIE L* a* b* พบว่า ΔE value ของกุ้งที่ถูกลดการแสดงออกของยีนด้วย LvHcB dsRNA มีค่าสูงกว่า กุ้งในกลุ่ม …


The Left Ventricular Functions And Heart Rate Variability In Dogs With Pulmonic Valvular Stenosis, Ploypanut Trikhun Jan 2019

The Left Ventricular Functions And Heart Rate Variability In Dogs With Pulmonic Valvular Stenosis, Ploypanut Trikhun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pulmonic valvular stenosis (PS) is one of the most common congenital heart diseases in dogs that can lead to the cardiac maladaptation. Also, PS can affect the cardiac autonomic nervous system (ANS). However, clinical information regarding to systolic function and cardiac ANS alteration in PS dogs had not been fully elucidated. The objectives of this study were to evaluate cardiac electrical property, left ventricular (LV) function, and to assess cardiac ANS from heart rate variability (HRV) analysis in PS dogs compared with healthy dogs. The dogs in this study were divided into 2 groups, PS dogs (n=13) and healthy control …


Co-Expression Of Feedback Resistant Enzymes In Phenylalanine Biosynthesis Pathway To Increase Phenylalanine Production, Charintip Yenyuvadee Jan 2019

Co-Expression Of Feedback Resistant Enzymes In Phenylalanine Biosynthesis Pathway To Increase Phenylalanine Production, Charintip Yenyuvadee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

L-Phenylalanine (L-Phe) is an important commercial amino acid. It is widely used in food and pharmaceutical industries. Currently, the requirement of L-Phe is increased according to the great demand for the low-calorie sweetener, aspartame. In Escherichia coli, the synthesis of L-Phe is controlled by the multi-hierarchical regulations. AroG isoform of 3-deoxy- D-arabino-heptulosonate-7-phosphate synthase (DAHP synthase) and chorismate mutase/prephenate dehydratase (PheA), two important enzymes, are feedback inhibited by LPhe. Co-expression of feedback-resistant pheA (pheA[superscript L359D]) with other pivotal genes in L-Phe biosynthesis pathway: aroB, aroL, phedh, tktA, aroG, pheA, yddG, and glpF in pRSFDuet-1 (pPTFBLYA[superscript L359D]) elevated L-Phe production of E. …


Fructooligosaccharide Synthesis By Immobilized Inulosucrase From Lactobacillus Reuteri 121 And Improvement Of Product Pattern Using Site-Directed Mutagenesis, Thanapon Charoenwongpaiboon Jan 2019

Fructooligosaccharide Synthesis By Immobilized Inulosucrase From Lactobacillus Reuteri 121 And Improvement Of Product Pattern Using Site-Directed Mutagenesis, Thanapon Charoenwongpaiboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Inulin-type fructooligosaccharides (IFOS) are well-known prebiotics which can be produced from sucrose using bacterial inulosucrase (E.C. 2.4.1.9). However, the use of inulosucrase for IFOS synthesis has some limitations because it also synthesizes some polysaccharides and exhibits lower stability than the fungal enzymes. To overcome these limitations, improvement of inulosucrase was made by using enzyme immobilization and enzyme engineering. First, inulosucrase from Lactobacillus reuteri 121 was immobilized on a novel, high capacity core-shell chitosan beads using glutaraldehyde as a cross-linker. The results showed that both immobilized and free inulosucrase had the same optimum pH (5.5), while the optimum temperature was shifted …


Screening And Identification Of Probiotic Lactic Acid Bacteria From Plant Samplesd, Ratthanatda Nuhwa Jan 2019

Screening And Identification Of Probiotic Lactic Acid Bacteria From Plant Samplesd, Ratthanatda Nuhwa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Seventy lactic acid bacteria (LAB) were isolated from flowers (17 strains), 3 tree barks (7 strains), one fruit (2 strains), ten fermented tea leaves (31 strains) and two silage (13 strains). They were identified as Lactobacillus pentosus (12 strains), L. plantarum subsp. plantarum (9 strains), L. paracasei subsp. tolerans (5 strains), L. brevis (1 strain), L. silagincola (1 strain), L. kunkeei (1 strain), and L. formosensis (1 strain), Enterococcus durans (3 strains), E. lactis (2 strains), E. faecalis (1 strain), E. faecium (1 strain), E. gallinarum (1 strain) and E. gilvus (1 strain), Pediococcus acidilactici (1 strain) and P. pentosaceus …


การต้านการเจริญและการผลิตสารพิษจากราของ Aspergillus Flavus และ Aspergillus Carbonarius โดยยีสต์ปฏิปักษ์, พิชามญชุ์ โสมา Jan 2019

การต้านการเจริญและการผลิตสารพิษจากราของ Aspergillus Flavus และ Aspergillus Carbonarius โดยยีสต์ปฏิปักษ์, พิชามญชุ์ โสมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกสำคัญในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 และโอคราทอกซินเอของ Aspergillus flavus และ Aspergillus carbonarius ตามลำดับ โดยใช้ยีสต์ปฏิปักษ์สามชนิด ได้แก่ Wickerhamomyces anomalus MSCU 0652, Saccharomyces cerevisiae MSCU 0654 และ Kluyveromyces marxianus MSCU 0655 จากผลการวิจัยพบว่า ยีสต์ปฏิปักษ์ทั้งสามชนิดสามารถยับยั้งการเจริญและการผลิตสารพิษจากราได้อย่างมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน โดยมีกลไกสำคัญ ได้แก่ การสร้างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่มีผลต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นใยรา และเมื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสารประกอบอินทรีย์เหยง่ายของยีสต์ปฏิปักษ์พบว่า W. anomalus MSCU 0652 มีประสิทธิภาพในการสร้างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายเพื่อยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ของ A. flavus M3T8R4G3 ได้ดีที่สุดเมื่อเจริญบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (81.27±1.23 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (81.38±1.80 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (82.86±1.14 เปอร์เซ็นต์) และลดการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ได้ดีที่สุดเมื่อเจริญบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 4.5 (99.91±0.01 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่ 25 องศาเซลเซียส (99.73±0.21 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ 0.5 เท่า (99.67±0.12 เปอร์เซ็นต์) สำหรับ A. carbonarius TK4.2 พบว่า W. anomalus MSCU 0652 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญและการผลิตสารพิษจากราได้ดีที่สุดเมื่อเลี้ยงบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (82.42±2.76 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (81.20±2.65 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (83.88±0.32 เปอร์เซ็นต์) และลดการผลิตโอคราทอกซินเอได้ดีที่สุดเมื่อเลี้ยงบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (99.91±0.07 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (99.92±0.01 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (99.97±0.01 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ เมื่อทดสอบความสามารถในการลดการปนเปื้อนสารพิษจากราพบว่า ตะกอนเซลล์ยีสต์ที่ไม่มีชีวิตของ S. cerevisiae …


การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Bacillus Velezensis B49 และการยับยั้งราก่อโรคพืช, สิรภพ ภูมิภูติกุล Jan 2019

การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Bacillus Velezensis B49 และการยับยั้งราก่อโรคพืช, สิรภพ ภูมิภูติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ราก่อโรคพืชสามารถทำลายผลผลิตทางการเกษตรได้ทั่วโลก การใช้วิธีทางชีวภาพสามารถลดการใช้สารเคมีในการกำจัดราก่อโรคพืชได้ ราก่อโรคพืชที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ Acremonium furcatum, Colletotrichum gloeosporioides, Fusarium moniliforme, Fusarium proliferatum, Fusarium solani, Phytophthora palmivora และ Pyricularia oryzae การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า Bacillus velezensis B49 สามารถยับยั้งราที่ก่อโรคในพืช และสามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก B. velezensis B49 และทดสอบการยับยั้งราก่อโรคพืชด้วยสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้ ผลการทดสอบการยับยั้งการเจริญของราก่อโรคพืชโดยใช้เทคนิคการขีดเชื้อและเทคนิคผสมน้ำเลี้ยงเชื้อของ B. velezensis B49 แสดงความสามารถในการยับยั้งการเจริญของราต่อโรคพืชทั้ง 7 ชนิด ทดสอบสมบัติการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของ B. velezensis B49 โดยใช้ 4 วิธีที่แตกต่างกัน ได้แก่ การทดสอบการยุบตัวของน้ำเลี้ยงเชื้อบนฟิล์มน้ำมัน, การทดสอบการแตกของเม็ดเลือดแดง, การทดสอบการกระจายตัวของน้ำมัน และการทดสอบการเกิดอิมัลชัน พบว่า B. velezensis B49 ให้ผลบวกกับทั้ง 4 วิธี ซึ่งยืนยันได้ว่า B. velezensis B49 สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพได้ การทดสอบผลของความเป็นกรดเบสที่มีต่อสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ พบว่าที่ความเป็นกรดเบสระหว่าง pH 2 – 10 ทำให้เกิดอิมัลชันไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อความเป็นกรดเบสสูงขึ้น ส่งผลทำให้การเกิดอิมัลชันลดลงจนกระทั่งไม่เกิดอิมัลชันเลย ส่วนการทดสอบผลของอุณหภูมิที่มีต่อสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของ B. velezensis B49 พบว่า อุณหภูมิไม่มีผลต่อสมบัติการเกิดอิมัลชัน การทดสอบผลของแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนที่มีต่อการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพในอาหาร Mineral salt solution พบว่า B. velezensis B49 สามารถเจริญได้ในแหล่งคาร์บอน ได้แก่ กลูโคส, ฟรุกโทส และซูโครส ส่วนแหล่งไนโตรเจน ได้แก่ แอมโมเนียมไนเตรต และแอมโมเนียมซัลเฟต อย่างไรก็ตาม อาหารสูตรสมบูรณ์ให้ผลการเกิดอิมัลชันสูงกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญและการเกิดอิมัลชันต่อเวลา พบว่า B. velezensis B49 …


Development Of Functional Foods Based On Anthocyanin-Rich Riceberry Rice Extract (Oryza Sativa L.) And Its Effects On Postprandial Biochemical Parameters In Human., Tanisa Anuyahong Jan 2019

Development Of Functional Foods Based On Anthocyanin-Rich Riceberry Rice Extract (Oryza Sativa L.) And Its Effects On Postprandial Biochemical Parameters In Human., Tanisa Anuyahong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Riceberry rice (Oryza sativa L.), is a crossbreed of Kao Hom Nin, a local non-glutinous purple rice and Khoa Dawk Mali 105. Its pigment contains high amount of antioxidant compounds, especially anthocyanins. Previously, riceberry rice exhibited its food application with high antioxidant activity. However, the potential of food application of riceberry rice extract (RBE) in yogurt and beverage products and its postprandial effect on humans remains unknown. In this study, RBE was prepared from a mixture of riceberry rice and distilled water in 1:2 w/v ratio following the freeze-drying process. The results showed that RBE contained phenolic compounds and anthocyanins …


การทดสอบความไวต่อยาไพราซินาไมด์ของเชื้อวัณโรคอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนสีบนชุดทดสอบ Biphasic Media, วราภรณ์ เถื่อนสุวรรณ Jan 2019

การทดสอบความไวต่อยาไพราซินาไมด์ของเชื้อวัณโรคอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนสีบนชุดทดสอบ Biphasic Media, วราภรณ์ เถื่อนสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทดสอบความไวต่อยา Pyrazinamide (PZA) ด้วยวิธีมาตรฐาน (culture-based susceptibility tests) นั้นทำได้ยาก เนื่องจากสภาวะเป็นกรดในอาหารเลี้ยงเชื้อสามารถทำให้เกิดผลลบและผลบวกลวง การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาและพัฒนาชุดทดสอบสำหรับใช้วินิจฉัยเชื้อดื้อต่อยา PZA ในเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ด้วยชุดทดสอบ colorimetric biphasic medium assay ที่ผสม Nicotinamide (NIC-CBMA) ความเข้มข้น 250, 500, 1000 และ 2000 µg/mL และวิเคราะห์การกลายพันธุ์ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา PZA ในยีน pncA, rpsA และ panD ผลการทดสอบในเชื้อวัณโรคดื้อยาทั้งหมด 150 สายพันธุ์ แบ่งเป็นเชื้อดื้อต่อยา PZA 40 สายพันธุ์ และเชื้อไวต่อยา PZA 110 สายพันธุ์ เมื่อทดสอบด้วยวิธี BACTEC MGIT 960 พบว่าความเข้มข้นของ NIC ≥ 1000 µg/mL เหมาะสำหรับใช้วินิจฉัยเชื้อดื้อยา PZA ด้วยวิธี NIC-CBMA ซึ่งมีความไวของชุดทดสอบเท่ากับ 100% ความจำเพาะเท่ากับ 96.36% เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน BACTEC MGIT 960 นอกจากนี้พบการกลายพันธุ์ในยีน pncA ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา PZA จำนวน 28 แบบ ในเชื้อจำนวน 37 จาก 40 สายพันธุ์ที่ดื้อยา PZA เป็นการกลายพันธุ์แบบ Nonsynonymous 57.89% การกลายพันธุ์แบบ Indels 21.05% การกลายพันธุ์บริเวณ Promoter 13.16% การกลายพันธุ์แบบ Nonsense 5.26% และการกลายพันธุ์แบบ Double mutation 2.63% นอกจากนี้พบการกลายพันธุ์ใหม่จำนวน 4 แบบ …


พฤติกรรมการเรียนรู้และการตอบสนองต่อ 2,4-ไดไนโตรโทลูอีนในผึ้งพันธุ์ Apis Mellifera Linnaeus, 1758 และผึ้งโพรง Apis Cerana Fabricius, 1793, ศิรัช เลิศจินตนากิจ Jan 2019

พฤติกรรมการเรียนรู้และการตอบสนองต่อ 2,4-ไดไนโตรโทลูอีนในผึ้งพันธุ์ Apis Mellifera Linnaeus, 1758 และผึ้งโพรง Apis Cerana Fabricius, 1793, ศิรัช เลิศจินตนากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผึ้งให้น้ำหวานเป็นสิ่งมีชีวิตต้นแบบสําหรับการศึกษาการตอบสนองต่อกลิ่นโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบมี เงื่อนไข (classical conditioning) ผ่านทางพฤติกรรมการแลบลิ้นหรือ Proboscis Extension Response (PER) ซึ่งมีรายงานอย่างกว้างขวางในผึ้งพันธุ์หรือผึ้งให้น้ำหวานสายพันธุ์ยุโรป (A. mellifera) ในขณะที่การศึกษาในผึ้งโพรงหรือผึ้งให้น้ำหวานสายพันธุ์เอเชีย (A. cerana) กลับยังมีการศึกษาอยู่น้อยมาก ทั้งที่มีความสําคัญในการเป็นแมลงผสมเกสรในภูมิภาคเอเชียและในประเทศไทย ในการศึกษาครั้งนี้ วิธีการ PER ถูกนํามาใช้เพื่อเป็นตัวประเมินความสามารถในการเรียนรู้และตอบสนองต่อสาร 2,4–ไดไนโตรโทลูอีน (DNT, สารตั้งต้นวัตถุระเบิด) โดยทําการเปรียบเทียบความสามารถของการเรียนรู้และตอบสนองระหว่างผึ้งทั้งสองชนิด การศึกษานี้ทดลองในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 ผึ้งที่มีหน้าที่หาอาหารจะถูกจับและนําไปฝึกให้เกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างสารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 50% w/v (ใช้เป็นรางวัล) และ DNT ความเข้มข้น 25 มิลลิกรัมต่อลิตร (ใช้เป็นสิ่งเร้าเงื่อนไข) การฝึกให้ผึ้งเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขนั้นจะทําการฝึกผึ้งทั้งหมด 6 ครั้ง ในช่วงเวลา 13:00–15:00 น. เพื่อที่จะสามารถประเมินได้ว่าผึ้งมีความสามารถในการเรียนรู้และจดจํากลิ่น DNT ได้หรือไม่ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผึ้งพันธุ์ (N=61) สามารถเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างกลิ่นและน้ำตาลซูโครสได้ โดยมีการแสดงพฤติกรรม PER เพิ่มขึ้นจาก 9.84±3.84% (การฝึกครั้งที่ 1) เป็น 47.54±6.44% (การฝึกครั้งที่ 6) ในขณะที่ผึ้งโพรง (N=36) สามารถเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างกลิ่นและน้ำตาลซูโครสได้เช่นกัน เกิดการแสดงพฤติกรรม PER เพิ่มขึ้นจาก 2.78±2.78% (การฝึกครั้งที่ 1) เป็น 47.22±8.44% (การฝึกครั้งที่ 6) จากผลการศึกษายังระบุอีกว่า ผึ้งพันธุ์มีความสามารถในการเรียนรู้และตอบสนองต่อ DNT (49.18±6.45%) ได้ดีกว่าผึ้งโพรง (16.67±6.30%) ในช่วงที่สองของการฝึก (P<0.01) สําหรับการทดสอบความสามารถในการจดจํา (memory retention test) พบว่า ผึ้งพันธุ์ยังคงสามารถตอบสนองต่อ DNT และแสดงพฤติกรรม PER ได้ 46.00±3.68%, 67.34±4.83% และ 52.03±3.77% ในขณะที่ผึ้งโพรงก็สามารถแสดงพฤติกรรม PER ได้ 55.50±6.10%, 50.50±7.09% และ 44.50±6.37% หลังจากที่เวลาผ่านไป 10 นาที 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงหลังการฝึกตามลําดับ อย่างไรก็ตามความสามารถในการจดจําต่อกลิ่น DNT ของผึ้งทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P>0.05) จากผลการศึกษานี้ ผู้วิจัยพบว่าผึ้งทั้งสองชนิดมีความจําระยะยาว (long-term memory) ที่ยังคงสามารถแสดงพฤติกรรม PER และตอบสนองต่อกลิ่น DNT ได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมงก็ตาม ความสามารถในการเรียนรู้และจดจําที่แตกต่างกันระหว่างผึ้งให้หวานทั้งสองชนิดนี้อาจจะเป็นผลมาจากคัดเลือกทางธรรมชาติเนื่องจากผึ้งทั้งสองชนิดมีถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกัน การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินความสามารถในการเรียนรู้และการจดจําของผึ้งให้น้ําหวานสายพันธุ์เอเชียชนิดอื่น ๆ จะช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างผึ้งที่อาศัยในเขตอบอุ่นกับในเขตร้อนชื้น


ผลการปกป้องของสารสกัดใบรางจืดจากการเหนี่ยวนำความเป็นพิษด้วยกลูตาเมตในเซลล์ประสาท Ht-22 ผ่านวิถีออโตฟาจี, วุฒิพงษ์ วงศ์ทิพย์ Jan 2019

ผลการปกป้องของสารสกัดใบรางจืดจากการเหนี่ยวนำความเป็นพิษด้วยกลูตาเมตในเซลล์ประสาท Ht-22 ผ่านวิถีออโตฟาจี, วุฒิพงษ์ วงศ์ทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคความเสื่อมของระบบประสาทนั้นเกิดได้จากภาวะเครียดออกซิเดชันภายในเซลล์ประสาท โดยพบว่าสารสื่อประสาทชนิดกลูตาเมตเมื่อมีระดับสูงผิดปกติสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระและภาวะเครียดออกซิเดชันนำไปสู่การสูญเสียและการตายของเซลล์ประสาทได้ โดยเฉพาะการตายของเซลล์จากการเกิดกระบวนการออโตฟาจีมากเกินไป ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการตายของเซลล์ผ่านวิถีอื่นๆ รางจืด (Thunbergia laurifolia) เป็นพืชสมุนไพรไทยมีสรรพคุณในการถอนพิษ ต้านการอักเสบ และ ต้านอนุมูลอิสระได้ดี จุดประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบรางจืด และการปกป้องการตายของเซลล์ประสาทผ่านวิถีออโตฟาจี จากการเหนี่ยวนำภาวะเครียดออกซิเดชันด้วยกลูตาเมตโดยทดสอบในเซลล์ประสาทส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูชนิด HT-22 ใบรางจืดถูกนำมาสกัดด้วยเอทานอล จากผลการทดสอบพบว่าสารสกัดหยาบจากใบรางจืดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และมีปริมาณสารประกอบ ฟลาโวนอยด์และฟีนอลิกสูง โดยจากการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง LC-MS และเปรียบเทียบผลที่ได้กับฐานข้อมูล METLIN-(CA, USA) พบสารออกฤทธิ์สำคัญที่ยังไม่มีรายงานในสารสกัดเอทานอลของใบรางจืด ได้แก่ Apigenin 7-O-glucoside และ 7-Hydroxycoumarin ยิ่งไปกว่านั้นสารสกัดหยาบจากใบรางจืดยังสามารถลดการตายของเซลล์ประสาทจากการเหนี่ยวนำความเป็นพิษด้วยกลูตาเมต โดยสามารถยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระภายในเซลล์ และเพิ่มการแสดงออกของยีนต้านอนุมูลอิสระที่ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ได้แก่ superoxide dismutase 1 และ 2 (SOD1 and SOD2) catalase (CAT) และ glutathione peroxidase (GPx) ซึ่งสัมพันธ์กับการลดการเกิดกระบวนการออโตฟาจีภายในเซลล์และเพิ่มปริมาณ ไมโตคอนเดรียโปรตีน โดยพบว่าสารสกัดหยาบจากใบรางจืดสามารถลดอัตราส่วนการแสดงออกของโปรตีน LC3B-II/LC3B-I และเพิ่มการแสดงออกของไมโตคอนเดรียโปรตีน TOM20 เมื่อทำการตรวจหาตำแหน่งที่จำเพาะต่อการแสดงออกของโปรตีนในกระบวนการออโตฟาจี (LC3B) และไมโตคอนเดรียด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดคอนโฟคอล พบว่า สารสกัดหยาบจากใบรางจืดสามารถลดการเกิด LC3-puncta ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของการเกิดกระบวนการออโตฟาจี นอกจากนี้สารสกัดหยาบจากใบรางจืดยังลดการ colocalization ของ LC3B และไมโตคอนเดรีย จากผลการศึกษานี้เราพบสารออกฤทธิ์สำคัญใหม่ที่ยังไม่มีรายงานมาก่อนของใบรางจืด โดยสารออกฤทธิ์นี้มีความสามารถในการปกป้องเซลล์ประสาทชนิด HT-22 จากภาวะเครียดออกซิเดชันและเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สารสกัดจากใบรางจืดมีความสามารถลดการตายของเซลล์ประสาทผ่านวิถีออโตฟาจีได้ ซึ่งอาจสามารถนำไปพัฒนาเป็นสมุนไพรทางเลือกหรือยาเพื่อใช้ในการป้องกันหรือรักษาการเกิดโรคความเสื่อมของระบบประสาทได้ในอนาคต


การชักนำแคลลัสและผลของเอลิสิเทอร์ต่อฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าวMomordica Cochinchinensis (Lour.) Spreng. ที่เลี้ยงในอาหารเหลว, สุพรรษา พลายเปี่ยม Jan 2019

การชักนำแคลลัสและผลของเอลิสิเทอร์ต่อฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าวMomordica Cochinchinensis (Lour.) Spreng. ที่เลี้ยงในอาหารเหลว, สุพรรษา พลายเปี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฟักข้าว (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng) หรือแก็ก (gac) เป็นพืชไม้เลื้อยที่อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae โดยฟักข้าวนั้นมีสารปฐมภูมิและสารทุติยภูมิสะสมอยู่ในทุกส่วนของต้น ประกอบไปด้วยแคโรทีนอยด์ กรดไขมัน วิตามินอี โพลีฟีนอล และ ฟลาโวนอยด์ ซึ่งทำให้การใช้ประโยชน์ของฟักข้าวถูกบันทึกลงในการแพทย์แผนโบราณของหลายประเทศ ในปัจจุบันมีการใช้เอลิสิเทอร์หลากหลาย เช่น ไคโทซาน และ เมทิลแจสโมเนต (MeJA) เพื่อเพิ่มปริมาณสารทุติยภูมิในพืช ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการชักนำแคลลัสฟักข้าวและศึกษาผลของไคโทซานน้ำหนักโมเลกุลสูง (HMC) ไคโทซานน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (LMC) ความเข้มข้น 10 และ 20 mg/l MeJA ความเข้มข้น 100 และ 150 µM ต่อฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าวที่เลี้ยงในอาหารเหลว สำหรับการทดลองชักนำการเกิดแคลลัส ได้นำส่วนยอดและส่วนข้อของต้นฟักข้าวปลอดเชื้อมาเลี้ยงในอาหารแข็งสูตร MS ที่ประกอบไปด้วย 2,4-D และ BA พบว่าในสูตรอาหารที่ประกอบด้วย 0.8 mg/l 2,4-D + 0 mg/l BA 0.8 mg/l 2,4-D + 0.4 mg/l BA และ 0.8 mg/l 2,4-D + 0.8 mg/l BA สามารถชักนำการเกิดแคลลัสได้ดีที่สุด ในส่วนของการศึกษาผลของเอลิสิเทอร์ต่อฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าว HMC, LMC หรือ MeJA ถูกเติมลงในอาหารวันที่ 18 ของการเพาะเลี้ยงแคลลัสในอาหารเหลว และเก็บตัวอย่างแคลลัสในวันที่ 20 และ 22 ของการเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ผลการทดลองพบว่าเอลิสิเทอร์ไม่มีผลเพิ่มฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าวที่เวลาดังกล่าว ยกเว้นในชุดการทดลองที่เติม 150 µM MeJA พบว่าในวันที่ 22 ของการเพาะเลี้ยงแคลลัสมีปริมาณของแคโรทีนอยด์มากกว่าชุดควบคุมและชุดทดลองอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ


การพัฒนาเทคนิค Recombinase Polymerase Amplification และ Helicase Dependent Isothermal Amplification สำหรับตรวจจีโนไทป์ของเอนไซม์ Extended-Spectrum Β-Lactamase ที่สร้างจากเชื้อ Escherichia Coli ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศไทย, ธัชภร อัศวคงคารัตน์ Jan 2019

การพัฒนาเทคนิค Recombinase Polymerase Amplification และ Helicase Dependent Isothermal Amplification สำหรับตรวจจีโนไทป์ของเอนไซม์ Extended-Spectrum Β-Lactamase ที่สร้างจากเชื้อ Escherichia Coli ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศไทย, ธัชภร อัศวคงคารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อ Escherichia coli ที่สร้างเอนไซม์ Extended-spectrum β-lactamase (ESBLs) เป็นปัญหาสำคัญที่พบในโรงพยาบาลทั่วโลก การตรวจจีโนไทป์ของเอนไซม์ ESBLs เป็นวิธีที่สำคัญและมีประโยชน์ในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาและการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม การศึกษานี้มุ่งหวังจะพัฒนาเทคนิค Multiplex Recombinase polymerase amplification (Multiplex RPA) และ Helicase dependent amplification (HDA) สำหรับตรวจหายีนดื้อยา blaCTX-M, blaOXA, blaSHV และ blaTEM ในเชื้อ E. coli ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศไทย เชื้อ E. coli จำนวน 144 ตัวอย่างที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจภายในงานจุลชีววิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ถึงเดือนกันยายน 2018 ถูกนำมาทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพและตรวจคัดกรองการสร้างเอนไซม์ ESBLs ด้วยวิธี Disk diffusion ตามวิธีมาตรฐานของ CLSI ปี ค.ศ. 2017 เชื้อที่สร้างเอนไซม์ ESBLs จำนวน 95 ตัวอย่าง พบดื้อยาสูงสุดในยา Ampicillin (100%), Cefotaxime (100%), Cefdinir (100%) และ Ceftriaxone (99.9%) และเชื้อ E. coli จำนวน 144 ตัวอย่าง มียีน blaCTX-M (100%) รองลงมาคือ blaTEM (42.1%), blaOXA (30.5%) และ blaSHV (2.1%) ตามลำดับ โดยเป็นยีน ESBLs ชนิด CTX-M-15 สูงสุด (51.1%) รองลงมาคือ CTX-M-55 (18.1%), CTX-M-27 (17.0%), CTX-M-14 …


การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของส่วนประกอบเลือดจากตัวเงินตัวทอง (Varanus Salvator), นันทวัฒน์ โฆษา Jan 2019

การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของส่วนประกอบเลือดจากตัวเงินตัวทอง (Varanus Salvator), นันทวัฒน์ โฆษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก จึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อพัฒนาสารทดแทนยาปฏิชีวนะ ตัวเงินตัวทอง (Varanus salvator) เป็นสัตว์เลื้อยคลานมีความสามารถในการอยู่รอดจากสภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาจเนื่องจากสัตว์เหล่านี้มีระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดซึ่งมีวิวัฒนาการมาแต่โบราณจึงเป็นจุดเด่นที่น่าศึกษาวิจัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียขององค์ประกอบเลือดจากตัวเงินตัวทองและโปรตีนหรือเปปไทด์ที่มีคุณสมบัติต้านจุลชีพ ซึ่งข้อมูลของลำดับกรดอะมิโนของตัวเงินตัวทองที่ได้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญใน โดยนำพลาสมาและซีรัมจากตัวเงินตัวทองมาทดสอบคุณสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคด้วยเทคนิค agar diffusion พบว่าพลาสมาสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ดีที่สุดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสยับยั้งเชื้อ (inhibition zone) เท่ากับ 17-20 มิลลิเมตร เมื่อทำการทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของพลาสมาและซีรัมที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (minimal inhibitory concentration, MIC) ด้วยวิธี broth dilution พบว่าสารสกัดหยาบพลาสมาให้ผลการทดสอบกับเชื้อได้ดีที่สุดโดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) เท่ากับ 125 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลของการแยกบริสุทธิ์บางส่วนของพลาสมาและซีรัมโดยเทคนิค ion exchange chromatography ด้วย Q - sepharose คอลัมน์ พบว่าทั้งพลาสมาและซีรัมสามารถแยกโปรตีนแฟรคชันได้ 5 แฟรคชันเท่ากัน เมื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิค sodium dodecyl sulfate polyacrylamide gel electrophoresis (SDS-PAGE) พบขนาดโมเลกุลอยู่ระหว่าง 16 – 200 กิโลดัลตัน แต่เมื่อทดสอบคุณสมบัติการต้านเชื้อ พบบางแฟรกชันจากพลาสมา (P) และซีรั่ม (S) ซึ่งกำหนดเป็น P1 / P2 / P5 และ S1 / S2 / S4 ตามลำดับ ที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยเทคนิค liquid chromatography mass spectrometry (LC-MS) สามารถระบุชนิดโปรตีนได้ทั้งหมด 33 ชนิดและพบโปรตีนที่มีศักยภาพเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพ 15 ชนิด มีเพียง 3 ชนิด จากส่วนของพลาสมา (P1) 2 ชนิด และ (P2) 1 ชนิด ที่มีโครงสร้างเป็น α-helical peptide …


การพัฒนาเทคนิค Helicase Dependent Amplification ควบคู่กับการอ่านผลด้วยตาเปล่าโดยใช้สี Sybr Green I (Hda/Sybr Green I) สำหรับการตรวจการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิต, วรางคณา แย้มเกต Jan 2019

การพัฒนาเทคนิค Helicase Dependent Amplification ควบคู่กับการอ่านผลด้วยตาเปล่าโดยใช้สี Sybr Green I (Hda/Sybr Green I) สำหรับการตรวจการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิต, วรางคณา แย้มเกต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิตที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย อาจก่อให้การติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รุนแรงและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงมีการกำหนดมาตรฐานให้งานธนาคารโลหิต ทำการตรวจการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิตก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วย เพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น วิธีการตรวจการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิตในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดที่พบได้บางประการ อาทิเช่น การเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ในห้องปฏิบัติการทางธนาคารโลหิต การทดสอบที่ใช้ระยะเวลานาน ซึ่งไม่เหมาะสมกับอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิตที่สั้นประมาณ 5 วัน และต้นทุนของการทดสอบที่มีราคาแพง วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาเทคนิค Helicase dependent amplification ควบคู่กับการอ่านผลด้วยตาเปล่าโดยใช้สี SYBR Green I (HDA/SYBR Green I) สำหรับตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิต โดยใช้ Primer ที่ถูกออกแบบให้จำเพาะต่อยีน 16s rRNA ซึ่งเป็น Universal gene ของเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดสอบกับตัวอย่างผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิตที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียแบบจำลอง ณ วันต่าง ๆ จำนวน 96 ตัวอย่าง พบว่าเทคนิค HDA/SYBR Green I มีความไวและความจำเพาะสูง เท่ากับ 96% และ 100% ตามลำดับ และมีความสอดคล้องกันในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค HDA/AGE เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค PCR การนับจำนวนโคโลนี และเครื่องอัตโนมัติ BacT/Alert System พบว่าเทคนิค HDA/SYBR Green I มีความจำเพาะสูงเท่ากับ 100% แต่มีความไวอยู่ในช่วงระหว่าง 63-76% จึงทำให้มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลางถึงดี อย่างไรก็ดี เมื่อนำเทคนิค HDA/SYBR Green I ตรวจการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิตเฉพาะวันที่ 2 ถึง 5 ของการเก็บรักษา พบว่ามีความไวที่สูงขึ้น เท่ากับ 88% และมีความสอดคล้องกันในระดับดีมาก เทคนิค HDA/SYBR Green I มีค่าความเข้มข้นน้อยที่สุดของ DNA ต้นแบบที่สามารถตรวจได้ เท่ากับ 1 ng และไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่มีโอกาสพบการปนเปื้อนได้ในผลิตภัณฑ์เกล็ดโลหิต เทคนิค HDA/SYBR Green I …


Nutritional Status And Dietary Perceptions In Colorectal Cancer Patients Undergoing Adjuvant Chemotherapy, Wipapak Raksawongsa Jan 2019

Nutritional Status And Dietary Perceptions In Colorectal Cancer Patients Undergoing Adjuvant Chemotherapy, Wipapak Raksawongsa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Colorectal cancer treatment usually involves surgical resection following by adjuvant chemotherapy. Pathology and treatment are major causes of malnutrition. Therefore, this group of patients should receive specific nutritional counseling. Changes in eating behavior occur when the patients perceive the benefits of changes. Dietary perceptions information is useful in nutrition care. The aim of this prospective study was to examine the effect of individualized nutritional counseling on the nutritional status and dietary perceptions of 35 colorectal cancer patients receiving adjuvant chemotherapy at King Chulalongkorn Memorial Hospital from March to November 2019. The data were collected during the first to the third …


Characterization Of Bacillus Isolates Using Whole Genome Sequencing Analysis And Application As A Potential Food Probiotic, Gauri Khullar Jan 2019

Characterization Of Bacillus Isolates Using Whole Genome Sequencing Analysis And Application As A Potential Food Probiotic, Gauri Khullar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Whole-genome sequencing (WGS) performed to evaluate potential probiotic properties of Bacillus species (6-2, 63-11 & 78-1) pre-reflecting antimicrobial properties, identified them as Bacillus velezensis (98.16%), Bacillus infantis (91.21%) and Bacillus amyloliquefaciens (99.06%) respectively. It also predicted K-mer resistance to cfr(B) and tet(L) proteins (6-2 & 78-1); bacteriocin and metabolite synthesis (6-2 & 78-1), terpenoid gene (63-11); hemolysin III (6-2 & 78-1) and hlyIII homolog (63-11); extracellular protease (6-2 & 63-11) and cell-bound protease (78-1) genes. WGS gut adaption F1F0 ATP, chaperonin (groEL, groES) and general stress response proteins (DnaK); EAL domain protein (biofilm), flagellin synthesis, and putative integral membrane proteins …


Characteristics And Mechanisms Of Coastal Upwelling In The Gulf Of Thailand, Pacharamon Sripoonpan Jan 2019

Characteristics And Mechanisms Of Coastal Upwelling In The Gulf Of Thailand, Pacharamon Sripoonpan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The characteristics and mechanisms of coastal upwelling in the Gulf of Thailand was investigated through 2 approaches; 1) Ekman transport upwelling index (UIET) and sea surface temperature upwelling index (UISST), and 2) Hydrodynamics model DELFT3D-FLOW under the influences of tide, spatially varying wind, water temperature, salinity and river discharge. The UIET indicated favorable upwelling conditions along the west coast of the GoT mostly during northeast monsoon in January and 1st inter-monsoon in March, while the favorable upwelling condition indicated by UISST was found along the east coast during southwest monsoon in August and 2nd inter-monsoon in October. The model expressed …


Taxonomy Of Nocturnal Parasitic Wasps Family Braconidae (Hymenoptera: Ichneumonoidea) In Doi Phu Kha National Park, Thailand, Marisa Raweearamwong Jan 2019

Taxonomy Of Nocturnal Parasitic Wasps Family Braconidae (Hymenoptera: Ichneumonoidea) In Doi Phu Kha National Park, Thailand, Marisa Raweearamwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Parasitoid wasps of the family Braconidae are classified in the order Hymenoptera, same as bees, ants and other wasps. The Braconidae is one of the most species-rich families in the Insecta. Doi Phu Kha National Park (DPKNP) has highly diverse organisms, both flora and fauna reflecting the great varieties of habitat types, however, there is very little information on the taxonomy of Braconidae in this national park. Therefore, the aim of this research is to establish the taxonomy of nocturnal parasitic wasps in the family Braconidae within the DPKNP using light trapping technique. A total of 846 specimens, 177 morphospecies …


Optimized Light Sources For Enhancing Color Discrimination In People With Low Vision, Anukul Radsamrong Jan 2019

Optimized Light Sources For Enhancing Color Discrimination In People With Low Vision, Anukul Radsamrong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research was divided into 2 parts. The aim of the first part was to investigate if illuminance level and correlated color temperature (CCT) had an effect on mobility performance in people with low vision compared to the elderly wearing simulated low vision glasses and the elderly with naked eyes. We also compared their mobility in pouring liquid to a specified level. The second part’s aim was to optimize combinations of light emitting diode (LED) channels that increased the discrimination of color in people with low vision. The research procedure of the first part involved 7 lighting conditions, with different …


Studies Of Beta-Cardiotoxin From King Cobra Venom On Rat Cardiac Functions: Effect On Isolated Single Cardiomyocyte, Tuchakorn Lertwanakarn Jan 2019

Studies Of Beta-Cardiotoxin From King Cobra Venom On Rat Cardiac Functions: Effect On Isolated Single Cardiomyocyte, Tuchakorn Lertwanakarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Beta-cardiotoxin (ß-CTX), a novel protein isolated from the King cobra (Ophiophagus hannah) venom has previously been proposed as a beta-blocker candidate. However, cellular mechanisms of ß-CTX on cardiomyocyte is unknown. This study aimed to evaluate the impact of ß-CTX on isolated rat cardiomyocyte function and the cardiac myofibrillar activity, and to explore involvement of ß-adrenergic receptor (ß-AR) signaling pathway. ß-CTX was isolated and purified using two-step chromatographic method and confirmed by N-terminal sequencer. The function of ß-CTX on cardiomyocyte was compared to propranolol in 3 conditions, basal state, with isoproterenol (ISO), and with forskolin (FSK). ß-CTX exhibited more potency than …


Antioxidant And Antibacterial Agents From Parmotrema Dilatatum (Vainio) Hale, Knema Angustifolia (Roxb.) Warb. And Persicaria Odorata Lour, Asshaima Paramita Devi Jan 2019

Antioxidant And Antibacterial Agents From Parmotrema Dilatatum (Vainio) Hale, Knema Angustifolia (Roxb.) Warb. And Persicaria Odorata Lour, Asshaima Paramita Devi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the search of antioxidant and antibacterial agents, the extracts and isolated compounds from lichen Parmotrema dilatatum, Knema angustifolia full name, Persicaria odorata and Mansonia gagei. were examined. Nine compounds were isolated from lichen P. dilatatum including (E)-2,4-dihydroxy-6-methyl-3-(3-oxobut-1-en-1-yl)benzoate (PD.1), hopane-16ß,22-diol (PD.2), methyl orsellinate (PD.3), methyl haemmatomate (PD.4), methyl ß-orcinolcarboxylate (PD.5), 2-hydroxy-4-methoxy-3,6-dimethylbenzoic acid (PD.6), atranol (PD.7), atranorin (PD.8) and lecanorin (PD.9). The dichloromethane and acetone fractions, and atranol (PD.7) gave excellent activities as antioxidants. While in tyrosinase activity the dichloromethane fraction and atranorin (PD.8) showed the highest inhibition. For α-glucosidase inhibition activity, the methanol fraction and methyl haemmatommate (PD.4) revealed the …


Ecosystem Service Assessment Of Green Roofs In Bangkok, Rattanapan Phoomirat Jan 2019

Ecosystem Service Assessment Of Green Roofs In Bangkok, Rattanapan Phoomirat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Green roofs are constructed ecosystems that can provide four main types of ecosystem services (regulating, provisioning, cultural, and supporting services). However, most green roof studies have focused on the regulating services and each ecosystem service type was usually evaluated separately. Moreover, there is a lack of assessment tool that can provide comparable outputs of total and different ecosystem services on green roofs, resulting in the difficulty to improve ecosystem service provision by green roofs. Therefore, this research aimed to (i) assess four main categories of ecosystem services provided by seven green roofs in Bangkok using direct measurement techniques and a …


Encapsulation Of Adzuki Bean Vigna Angularis Hydrolysate By Alginate-Based Beads, Thasanporn Sangsukiam Jan 2019

Encapsulation Of Adzuki Bean Vigna Angularis Hydrolysate By Alginate-Based Beads, Thasanporn Sangsukiam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aims of this research were to study the effect of different cooking conditions on bioactive compounds and biological activities of cooked adzuki beans and cooking water. The different encapsulation methods to entrap adzuki beans hydrolysate were investigated. The release characteristics of different freeze-dried alginate particles were investigated after in vitro simulated gastrointestinal digestion. The results showed that all cooking conditions (60-min boiling, 10-min autoclaving and 60-min autoclaving) caused a significant reduction in crude protein, TCA-soluble peptides, free amino groups, total phenolic content (TPC) and total flavonoid content (TFC) in cooked adzuki beans (p ≤ 0.05). Meanwhile, cooking resulted in …


การผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขมันอิสระของน้ำมันปาล์มโดยปฏิกิริยาสองขั้นตอนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพทั้งเซลล์, ฐนิสา หวั่งประดิษฐ์ Jan 2019

การผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขมันอิสระของน้ำมันปาล์มโดยปฏิกิริยาสองขั้นตอนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพทั้งเซลล์, ฐนิสา หวั่งประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตไบโอดีเซลสามารถผลิตได้จากกรดไขมันอิสระของน้ำมันปาล์มโดยปฏิกิริยาสองขั้นตอนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพทั้งเซลล์ ในการศึกษานี้ได้ใช้ยีสต์ Candida rugosa เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพทั้งเซลล์ เนื่องจากเชื้อยีสต์ดังกล่าวมีความสามารถในการไฮโดรไลซ์น้ำมันปาล์มไปเป็นกรดไขมันอิสระ โดยพบว่าได้กรดไขมันอิสระสูงสุดเท่ากับ 82.61 เปอร์เซ็นต์ หลังจากทำการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นกรดไขมันอิสระที่ผลิตโดย C. rugosa จะถูกนำไปใช้เป็นตัวเหนี่ยวนำในการผลิตเอนไซม์ลิเพสจากเชื้อ Aureobasidium pullulans var. melanogenum SRY 14-3 ซึ่งหลังจากการหาภาวะที่เหมาะสมพบว่าสามารถผลิตเอนไซม์ลิเพสที่มีค่าแอกทิวิตีและค่าแอกทิวิตีจำเพาะของเอนไซม์สูงสุด คือ 1.18 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และ 17.28 ยูนิตต่อมิลลิกรัมโปรตีน ตามลำดับ โดยใช้ความเข้มข้นของกรดไขมันอิสระ 3 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 ชั่วโมง การศึกษาการผลิตไบโอดีเซลจากปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันที่เร่งปฏิกิริยาด้วย A. pullulans var. melanogenum SRY 14-3 พบว่าสามารถผลิตไบโอดีเซลได้สูงสุดเท่ากับ 21.39 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้อัตราส่วนโดยโมลของกรดไขมันอิสระต่อเมทานอลเท่ากับ 1:1 ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 72 ชั่วโมง สำหรับการศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพทั้งเซลล์ด้วยการใช้เทคนิคการแสดงออกที่ผิวเซลล์ยีสต์ เอนไซม์ลิเพส 1 และเอนไซม์ลิเพส 3 จาก C. rugosa (CRL1 และ CRL3) และเอนไซม์ลิเพส จาก A. pullulans var. melanogenum SRY 14-3 (AML) ได้ถูกนำมาเชื่อมต่อกับโปรตีนฐาน PpPIR1 แล้วทำการโคลนเข้าสู่ยีสต์เจ้าบ้าน Pichia pastoris KM 71 ได้เป็นยีสต์ Pp-CRL1, Pp-CRL3 และ Pp-AML ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่ายีสต์สายพันธุ์รีคอมบิแนนท์ Pp-CRL1 และ Pp-CRL3 สามารถผลิตเอนไซม์ลิเพสที่ผิวเซลล์สูงสุดเท่ากับ 1,499.9 มิลลิยูนิตต่อOD600 และ 181.96 มิลลิยูนิตต่อOD600 …


Not Available, Not Available Jan 2019

Not Available, Not Available

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ทรานสคริปโทมของข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยภายใต้ภาวะเครียดจากความเค็ม, พีรวัธน์ จันทนกูล Jan 2019

ทรานสคริปโทมของข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยภายใต้ภาวะเครียดจากความเค็ม, พีรวัธน์ จันทนกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้าว (Oryza sativa L.) เป็นพืชอาหารสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนั้นถือเป็นแหล่งผลิตข้าวสำคัญที่มีคุณภาพดีแต่มีผลผลิตต่ำเนื่องจากภาวะดินเค็มที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและความสามารถในการติดเมล็ด จากการประเมินการตอบสนองต่อภาวะเค็มในกล้าข้าวพบว่าข้าวพันธุ์หลวงประทานซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยแสดงลักษณะการทนเค็ม ดังนั้น จึงทำการศึกษาทรานสคริปโทมที่เวลา 0 3 6 12 24 และ 48 ชั่วโมง หลังจากได้รับภาวะเค็มเพื่อศึกษากลไกการทนเค็มของข้าวพันธุ์นี้โดยใช้เทคนิค 3’-Tag RNA-seq ผลการศึกษาพบว่ามียีนที่แสดงออกอย่างแตกต่างเป็นครั้งแรกภายหลังเผชิญกับภาวะเค็มเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ได้แก่ OsRCI2-5 ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณ และเมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงพบว่า OsRMC ซึ่งเป็นยีนที่สามารถตอบสนองต่อภาวะเครียดจากความเค็มแสดงออกมาอย่างแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อพืชเผชิญกับภาวะเค็มเป็นเวลา 48 ชั่วโมงพบว่ามียีนที่แสดงออกอย่างแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 63 ยีน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทนเค็ม ผลการวิเคราะห์โครงข่ายการแสดงออกร่วมของยีนที่ภาวะเค็มทั้ง 63 ยีน จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพลวัตบางส่วน พบว่า OsRCI2-5 และ OsRMC มีการแสดงออกร่วมกับยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของยีนอื่น ๆ ประกอบด้วย Transcription factor และ Ubiquitin ligase enzyme โดยในภาวะเค็ม OsRMC มีส่วนทำให้มีการแสดงออกมากขึ้นของยีนที่เกี่ยวกับการตอบสนองเพื่อป้องกันตนเองของพืชจากปัจจัยทางชีวภาพ จากการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลกระทบของภาวะเค็มต่อการแสดงออกของยีนที่ระบุได้ ด้วย qRT-PCR ในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ พบว่า OsRCI2-5 และ OsRMC เป็นยีนที่พืชตอบสนองต่อภาวะเค็มและเกี่ยวข้องกับกลไกการทนเค็มในข้าวพันธุ์หลวงประทาน