Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 6 of 6

Full-Text Articles in Entire DC Network

A Mixed-Methods Analysis Of Biofuels, Teresa Cristina Garcia Dec 2020

A Mixed-Methods Analysis Of Biofuels, Teresa Cristina Garcia

Graduate Theses and Dissertations

Brazil has the largest sugarcane acreage in the world (FAOSTAT, 2020) and is the world leader in the production of sugarcane-based ethanol (Sousa Junior et al., 2017). Due to the technical experience in the production of biofuels and the availability of sugarcane straw and bagasse, the country has a great potential to commercially produce second-generation ethanol (E2G) (Nyko et. al., 2010). In 2017, Brazil enacted a new National Biofuels Policy, called RenovaBio, to expand the production and use of biofuels in the country. This dissertation combines three essays that explore biofuels law and policy with a special focus on Brazil. …


มาตรการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของนักธุรกิจในธุรกิจขายตรงที่มีรูปแบบหลายชั้น, มนธิดา อัครสามารถ Jan 2020

มาตรการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของนักธุรกิจในธุรกิจขายตรงที่มีรูปแบบหลายชั้น, มนธิดา อัครสามารถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาการดำเนินธุรกิจขายตรงที่มีรูปแบบหลายชั้นของนักธุรกิจผ่านกิจกรรมที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในมุมมองของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยศึกษาประกอบกับกฎหมาย General Data Protection Regulation ของสหภาพยุโรป จากการสัมภาษณ์นักธุรกิจพบว่านักธุรกิจปฏิบัติไม่สอดคล้องกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ดังนี้ นักธุรกิจไม่ได้แจ้งรายละเอียดการเก็บรวบรวมข้อมูลและช่องทางการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งไม่ทราบวิธีการจัดการคำร้องขอนั้น ไม่มีรูปแบบและวิธีการขอความยินยอม ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล นิยามคำว่ากิจการขนาดเล็กไม่ครอบคลุมถึงบุคคลธรรมดาที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ไม่มีบทบัญญัติเรื่องการจัดทำประมวลแนวปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้เพื่อแก้ไขความไม่สอดคล้องมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐออกประกาศหรือภาคเอกชนโดยสมาคมวิชาชีพร่วมกับบริษัทกำหนดแนวทางให้นักธุรกิจนำไปปฏิบัติ คือ กำหนดขอบเขตและรูปแบบของการแจ้งรายละเอียดการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดรูปแบบและวิธีการขอความยินยอม กำหนดระยะเวลาการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดช่องทางการใช้สิทธิและวิธีการจัดการคำร้องขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพิ่มเติมนิยามให้บุคคลธรรมดาที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกิจการขนาดเล็กที่ได้รับยกเว้นการจัดทำบันทึกรายการของกิจกรรม และตราบทบัญญัติเรื่องการจัดทำประมวลแนวปฏิบัติ นอกจากนี้ต้องพัฒนาความรู้ทางด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและวิธีปฏิบัติแก่นักธุรกิจ


การแบ่งปันข้อมูลในบริบทการต่อต้านการก่อการร้ายของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ, ธีรพันธุ์ แก้วคง Jan 2020

การแบ่งปันข้อมูลในบริบทการต่อต้านการก่อการร้ายของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ, ธีรพันธุ์ แก้วคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแบ่งปันข้อมูลเป็นวิธีการหนึ่งเพื่อการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่มีความมุ่งหมายให้บรรดารัฐอาศัยบทบาทของความร่วมมือและการสานงานระหว่างกันทั้งระดับระหว่างประเทศและระดับภายในรัฐ แม้ว่าการแบ่งปันข้อมูลเป็นมาตรการที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วในตราสารระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายก็ตาม แต่ยังขาดความชัดเจนในเนื้อหาและการกำหนดกระบวนการแบ่งปันข้อมูล ในบริบทของการปราบปรามการก่อการร้ายภายใต้สหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงได้รับรองบรรดาข้อมติกำหนดขอบเขตของพันธกรณีในเนื้อหาของข้อมูลที่จะต้องแบ่งปันให้ชัดเจน กำหนดกระบวนการของการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นขั้นตอน และกลไกของการบังคับที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการบูรณาการทำงานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศอื่น จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าการแบ่งปันข้อมูลนั้นเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยเสริมให้เกิดการบังคับใช้มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายต่างๆของคณะมนตรีความมั่นคง อาทิ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม ข้อมูลของกิจกรรมการเงินที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายเพื่อดำเนินมาตรการปราบปรามและอายัดทรัพย์สิน ข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสารเพื่อดำเนินมาตรการตรวจจับและยับยั้งการเดินทางของผู้ก่อการร้าย ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินมาตรการบังคับทางกฎหมาย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการปราบปรามการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของการก่อการร้าย อย่างไรก็ตามการแบ่งปันข้อมูลอันนำไปสู่การบังคับใช้มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินการภายในของรัฐในการกำหนดกระบวนการทางกฎหมายและกลไกความร่วมมือ รวมไปถึงการมีความสามารถและองค์ความรู้ของรัฐในการปฏิบัติตามพันธกรณีในการแบ่งปันข้อมูลเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย


การวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายในการผลิตและนำเข้าเครื่องมือแพทย์ตามระดับความเสี่ยง, นันทฉัตร เงินจันทร์ Jan 2019

การวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายในการผลิตและนำเข้าเครื่องมือแพทย์ตามระดับความเสี่ยง, นันทฉัตร เงินจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาแนวทางของกฎหมายในการควบคุมการผลิตและนำเข้าเครื่องมือแพทย์ตามระดับความเสี่ยง โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายและวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุน-ประโยชน์เพื่อประเมินวิถีทางการควบคุมเครื่องมือแพทย์ตามระดับความเสี่ยงโดยใช้ระบบความมุ่งหมายในการจัดประเภทความเสี่ยงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดประเภทเครื่องมือแพทย์ตามระดับความเสี่ยง พ.ศ. 2562 ตลอดจนศึกษาถึงการควบคุมเครื่องมือแพทย์ตามระดับความเสี่ยงโดยใช้ระบบพิจารณาผลกระทบจากการใช้ในการจัดประเภทความเสี่ยงของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาโดยวิเคราะห์ประสิทธิภาพในเชิงต้นทุน พบว่า การควบคุมเครื่องมือแพทย์ตามระดับความเสี่ยงโดยใช้โดยใช้ระบบพิจารณาผลกระทบในการจัดประเภทความเสี่ยงของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นแนวทางที่คุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคและก่อให้เกิดต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ประกอบการที่ผลิตและนำเข้าเครื่องมือแพทย์ต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบความมุ่งหมายในการใช้ของประเทศไทย นอกจากนี้ แม้ว่าแนวทางดังกล่าวจะก่อให้เกิดต้นทุนการใช้ทรัพยากรของรัฐในการจัดประเภทความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์มากกว่า อย่างไรก็ตาม การจัดประเภทความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์โดยกำหนดระบบเครื่องมือแพทย์ต้นแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการเทียบประเภทความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์แต่ละกรณีอาจเป็นการลดต้นทุนการใช้ทรัพยากรของรัฐลงได้ ด้วยเหตุนี้ แนวทางในการควบคุมเครื่องมือแพทย์ตามระดับความเสี่ยงโดยระบบพิจารณาผลกระทบจากการใช้ของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นแนวทางที่ได้รับการนำเสนอให้ปรับใช้ตามสภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทย


ความรับผิดทางกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มึนเมา, ธัญวรัตน์ ดุลยพงศ์พันธ์ Jan 2019

ความรับผิดทางกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มึนเมา, ธัญวรัตน์ ดุลยพงศ์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่ผู้มึนเมาในประเทศไทยและในต่างประเทศ และเสนอแนวทางในการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับความรับผิดสำหรับผู้ประกอบการที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่ผู้มึนเมา จากการศึกษาพบว่า สถิติอุบัติเหตุและคดีที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการให้คำนิยามบางประการจึงทำให้ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กฎหมายได้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดความรับผิดสำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการในธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ไว้เป็นการเฉพาะทั้งที่บุคคลเหล่านี้ควรที่จะมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าบุคคลทั่วไปด้วย เมื่อได้ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศพบว่า รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ประเทศสกอตแลนด์ ดินแดนออสเตรเลียนแคพิทอล ประเทศออสเตรเลีย และรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ต่างก็มีมาตรการในการกำหนดความรับผิดสำหรับผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ให้แก่ผู้มึนเมา ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์จึงขอเสนอให้ประเทศไทยแก้ไขความรับผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่ผู้มึนเมาให้มีบทลงโทษที่เหมาะสมตามความร้ายแรงของการกระทำความผิด พร้อมทั้งกำหนดความรับผิดสำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการในธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้เป็นการเฉพาะให้ชัดเจนด้วย โดยนำแนวทางในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวในต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแนวนโยบายของประเทศไทย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและคดีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ต่อไป


The Estimated Value Of A Premium Division One Football Player: The Argument Supporting Pay For Play, Travis S. Roher Jan 2011

The Estimated Value Of A Premium Division One Football Player: The Argument Supporting Pay For Play, Travis S. Roher

CMC Senior Theses

Abstract

The gap between the revenue generated by division one football players and the value of an athletic scholarship is the marginal revenue product of these athletes. Because of the monopsonistic behavior of the NCAA, division one institutions capture an economic rent from their student athletes. This paper measures the rents generated by NCAA division one football players in the six powerhouse conferences by using linear regressions based on variables such as university revenue, future NFL draft picks, undergraduate population, and weekly AP Top-25 rankings. This paper will inform its readers on how much money these student athletes are generating …