Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Elementary Education

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา, วรรณวรางค์ รักษทิพย์ Jan 2018

ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา, วรรณวรางค์ รักษทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนห้อง 5/1 กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเพลินพัฒนา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมประชาธิปไตย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกันโดยใช้สถิติ Wilcoxon Singed Rank Test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมประชาธิปไตยหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะการทํางานร่วมกันของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, วราพร สิทธิ์พรสุวรรณ Jan 2018

ผลการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะการทํางานร่วมกันของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, วราพร สิทธิ์พรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการทำงานร่วมกันก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาของนักเรียนกลุ่มทดลอง และการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียวของนักเรียนกลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบทักษะการทำงานร่วมกันหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาของนักเรียนกลุ่มทดลอง และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียวของกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่กำลังศึกษาภาคปลาย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตทักษะการทำงานร่วมกัน แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกัน (ประเมินตนเองและประเมินโดยเพื่อน) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิล ร่วมกับเกมการศึกษา และแผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษา และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียว มีทักษะการทำงานร่วมกันหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษามีทักษะการทำงานร่วมกันหลังการทดลองทั้ง 3 ด้าน สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา, อภิญญา สุขช่วย Jan 2018

แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา, อภิญญา สุขช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษากับพฤติกรรมการสอนของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา และ 3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา มีแบบแผนการวิจัยเป็นวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาประถมศึกษา จำนวน 274 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยประจำสาขาวิชาประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษามีแนวโน้มไปทางความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยมมากที่สุด อันดับรองลงมา ได้แก่ อัตถิภาวนิยม นิรันตรนิยม ปฏิรูปนิยม และสารัตถนิยม ตามลำดับ 2) ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาในแต่ละสาขาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาในสาขาเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม มีความสัมพันธ์ในทางลบกับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) พบว่า มีการนำแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยมมาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา โดยหล่อหลอมผ่านกิจกรรมการลงมือปฏิบัติจริง ผลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตรและความคาดหวังของรายวิชา ซึ่งถือว่าได้ผลสำเร็จในภาพรวม