Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Administration and Supervision

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 30 of 45

Full-Text Articles in Entire DC Network

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 13 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคมที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.278) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.260) และ (PNI [modified] = 0.258) ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6แนวทางย่อย และ 16 วิธีดำเนินการ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ทางสังคมด้านการเห็นคุณค่าของความหลากหลาย (3) การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม


Approaches For Developing Management Towards Excellence Of Schools In Banteay Meanchey Based On The Concept Of Creative Self-Efficacy, Dalin Lim Jan 2021

Approaches For Developing Management Towards Excellence Of Schools In Banteay Meanchey Based On The Concept Of Creative Self-Efficacy, Dalin Lim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were to 1) study the conceptual framework for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy, 2) study the priority needs for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy, and 3) propose approaches for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy. The study employed descriptive research approaches. The study sample was the 28 public high schools in Banteay Meanchey province. They were selected using simple random sampling. The informants …


Approaches To The Development Of Universal Design For Learning To Promote Children's Holistic Development In Private Kindergartens, Rattanatorn Kerdduayboon Metzger Jan 2021

Approaches To The Development Of Universal Design For Learning To Promote Children's Holistic Development In Private Kindergartens, Rattanatorn Kerdduayboon Metzger

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This survey research aimed to, first, study the current and desirable levels of practice regarding the development of Universal Design for Learning (UDL) to promote children’s holistic development in private kindergartens and, second, to recommend approaches to the development of UDL to promote children’s holistic development in private kindergartens. It employed Block Two: Inclusive Instructional Practice by Katz (2012) as a research framework. The research population were 581 private kindergartens in Bangkok. The informants were 379 private kindergarten administrators, heads of the academics, and teachers obtained through random sampling. The research instruments were a questionnaire and a feasibility assessment form. …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน, มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน, มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน และ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงบรรยาย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูระดับประถมศึกษา และครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 ที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งสิ้น 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในลำดับแรก คือ การวัดและประเมินผล รองลงมา คือ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ สมรรถนะการเสริมสร้าง ขีดความสามารถชุมชนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในลำดับแรก คือ สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ 2) จุดแข็งของ การบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตร จุดอ่อนของการบริหารวิชาการ คือ การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล สมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชนที่เป็นจุดแข็งมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการสร้างความรู้ สมรรถนะที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ โอกาส คือ ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรม และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านความเป็นผู้นำ การเป็นผู้ประกอบการ และการระดมทรัพยากรของผู้เรียน มี 2 กลยุทธ์รอง 16 วิธีดำเนินการ (2) พลิกโฉมการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในชุมชน การเป็นผู้ประกอบการ และการระดมทรัพยากรของผู้เรียน มี 2 กลยุทธ์รอง 10 วิธีดำเนินการ และ (3) พลิกโฉมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในชุมชน …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, ระวีวรรณ ทิพยานนท์ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, ระวีวรรณ ทิพยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-phase Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนชั้นปฐมวัย รวมจำนวน 832 คน สุ่มตัวอย่างโรงเรียนและผู้ให้ข้อมูลแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์หา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัย ประกอบด้วยงาน 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ (4) การวัดและประเมินผล (5) การนิเทศการศึกษา และกรอบแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) ความจำขณะใช้งาน (2) การยั้งคิดไตร่ตรอง (3) การยืดหยุ่นทางความคิด (4) การควบคุมอารมณ์ (5) การวางแผนและการจัดการ 2) ความต้องการจำเป็น สูงสุดอันดับหนึ่ง คือ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินพัฒนาการ การนิเทศการศึกษา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การยั้งคิดไตร่ตรอง รองลงมาคือ การยืดหยุ่นทางความคิด ความจำขณะใช้งาน การควบคุมอารมณ์ การวางแผนและการจัดการ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ปฏิรูปหลักสูตร …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้, สุวนิตย์ ยงค์กมล Jan 2021

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้, สุวนิตย์ ยงค์กมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-Phase Mixed Methods) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการภาษาต่างประเทศ และครูผู้สอน จำนวนทั้งหมด 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (3) การพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้และการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (4) การนิเทศการสอน (5) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ประกอบด้วยทักษะดังนี้ (1) ทักษะการพูดด้านกายภาพ (2) ทักษะการพูดด้านภาษาศาสตร์ (3) ทักษะการพูดด้านการคิด (4) ทักษะการพูดด้านสังคมและอารมณ์ 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในเครือสารสาสน์ตามแนวคิดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดสำหรับการสื่อสารและการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.170) เมื่อจำแนกตามการบริหารวิชาการรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล (ค่าเฉลี่ย = 4.226) ด้านการนิเทศการสอน (ค่าเฉลี่ย = 4.225) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.184) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย = 4.123) และด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้และการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 4.092) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด พบว่าสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.170) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะการพูดด้านสังคมและอารมณ์ (ค่าเฉลี่ย = 4.270) ทักษะการพูดด้านการคิด (ค่าเฉลี่ย = 4.250) ทักษะการพูดด้านภาษาศาสตร์ (ค่าเฉลี่ย …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ, ภัทรรัตน์ เหลือบเหลือง Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ, ภัทรรัตน์ เหลือบเหลือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 12 คน และครู จำนวน 91 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทาง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.56) และมากที่สุด (x = 4.80) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.367) รองลงมา คือ การวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.356) การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (PNI [Modified] = 0.335) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.330) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 2 ตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพประด้วยด้วย 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย และ 18 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางสุขภาพด้านการทำความเข้าใจข้อมูลทางสุขภาพแนวทางที่ 2 …


แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะ, จิรวรรณ จอมศิลป์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะ, จิรวรรณ จอมศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ 2) นำเนอแนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดลพบุรีจำนวน 6 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล เลือกโดยกำหนดคุณสมบัติประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู ผู้เรียน และเจ้าของสถานประกอบการ จำนวน 96 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (ร่าง) แนวทางฯสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดผู้ประกอบการอัจฉริยะที่มีค่าสูงสุด คือด้านผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNI [modified] =0.513) รองลงมา ได้แก่ ด้านผู้ปฏิบัติงาน (PNI [modified] =0.484) ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการบริหารจัดการความรู้ (PNI [modified] =0.482) ด้านกลยุทธ์ (PNI [modified] =0.416) ด้านการนำองค์กร (PNI [modified] =0.412) ด้านผลลัพธ์ (PNI [modified] =0.403) และด้านการปฏิบัติการ (PNI [modified] =0.391) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 6 แนวทาง12 แนวทางย่อย 45 วิธีการดำเนินการ เรียงตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1) พัฒนาผู้ให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ ด้านการคำนึงถึงผลกระทบของธุรกิจ และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยยึดโยงกับความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) เสริมสร้างศักยภาพครู และวิทยากรจากสถานประกอบการ ในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีสมรรถนะผู้ประกอบการอัจฉริยะ ด้านการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรม และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (3) พลิกโฉมระบบการวัด การวิเคราะห์ …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม, สโรชา เอี่ยมสุรนันท์ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม, สโรชา เอี่ยมสุรนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวมผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คนและครูผู้สอน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม และแบบประเมินควาเมหาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม ด้านที่มีความจำเป็นสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.341) รองลงมา คือ การประเมินผล (PNI [Modified] = 0.323) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.319) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม มีทั้งสิ้น 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อยและ 24 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการจัดสภาพบรรยากาศ สื่อ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติร่วมกัน แนวทางที่ 2 พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติงานร่วมกัน แนวทางที่ 3 พัฒนาการประเมินผลเพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการทำให้เป็นปกติอย่างมีความรับผิดชอบและด้านการจิตนาการใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และแนวทางที่ 4 พัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะการหลอมรวมด้านการฝึกปฏิบัติงานร่วมกันและด้านการทำให้เป็นปกติอย่างมีความรับผิดชอบ


แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตราชบุรี 2 ตามแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรม, จิตสุภา สง่าแสง Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตราชบุรี 2 ตามแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรม, จิตสุภา สง่าแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตราชบุรี 2 ตามแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหางานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตราชบุรี 2 ตามแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรม ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 5 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 11 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 48 คน และครูผู้สอนจำนวน 167 คน รวมจำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เรื่องแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตราชบุรี 2 ตามแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรมและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยเขตราชบุรี 2 ตามแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรม โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modify Priority Needs Index: PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตราชบุรี 2 ตามแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.85) และมากที่สุด (X=4.56) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.61) รองลงมาอันดับที่สอง คือ สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.60) รองลงมาอันดับที่สาม คือ การจัดการเรียนการสอน (PNI [modified] = 0.593) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การวัดและประเมินผล (PNI [modified] = 0.588) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดตามขอบข่ายแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรม …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน, อริญชยา ตะพังพินิจการ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน, อริญชยา ตะพังพินิจการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารจำนวน 20 คน ครูจำนวน 198 คน และนักเรียนจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีตามแนวคิดทักษะนวัตกรพลิกผัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทักษะนวัตกรพลิกผันของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก (x= 3.73) โดยทักษะการสังเกตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x = 3.91) และทักษะการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (x = 3.73) 2) การพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การประเมินผล รองลงมาคือ การพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายและการตั้งคำถาม แนวทางที่ 2 พัฒนาหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการสร้างเครือข่ายความคิด การเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายและการตั้งคำถาม และแนวทางที่ 3 พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะนวัตกรพลิกผันด้านการสังเกต การเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลาย และการตั้งคำถาม


แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล, อิสราภรณ์ ณ อุบล Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล, อิสราภรณ์ ณ อุบล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 11 แห่ง กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 6 แห่ง โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงจากผลการประเมินระดับคุณภาพการศึกษา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 48 คน ครู จำนวน 100 คน รวมทั้งหมด 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ตามแนวคิดความฉลาดรู้ดิจิทัล ที่มีค่าสูงสูด คือด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] =0.375) รองลงมา ได้แก่ ด้านการวัดและการประเมินผล (PNI [modified] =0.330) ด้านสื่อและนวัตกรรม (PNI [modified] =0.317) และด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [modified] =0.305) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม ประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก 7 แนวทางย่อย 14 วิธีการดำเนินการ เรียงตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1) พลิกโฉมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัลด้านการคิดและ สร้างสรรค์ข้อมูลและการใช้งานที่ปลอดภัย (2) ปฏิรูประบบการวัดผลและการประเมินผลโดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความฉลาดรู้ดิจิทัลด้านการคิดและสร้างสรรค์ข้อมูลและการใช้งานที่ปลอดภัย (3) ยกระดับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมให้เอื้อต่อการเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัลด้านการใช้งานที่ปลอดภัยของผู้เรียน (4) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัลด้านการคิดและสร้างสรรค์ข้อมูลและการใช้งานที่ปลอดภัยของผู้เรียน


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง, สุทธญา นิศากร Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง, สุทธญา นิศากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการ พัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูจำนวน 76 คน และนักเรียนจำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายาในพระสังฆราชูปถัมภ์ แบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.20) โดยด้านการตระหนักรู้ทางสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและการรับรู้ความสามารถตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลังที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.25) รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.23) และการประเมินผล (PNI [Modified] = 0.21) ตามลำดับ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลังโดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ มีทั้งสิ้น 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ความสามารถในการฟื้นพลังด้านความสามารถในการแก้ปัญหา การมีเป้าหมาย การรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง (2) ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน ด้านการรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง (3) พัฒนาระบบการประเมินผลที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ความสามารถในการฟื้นพลังของผู้เรียน ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา การรับรู้ความสามารถตนเองและการกำกับตนเอง


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณะทักษะ, ศิริพร ศรีวงษ์ญาติดี Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณะทักษะ, ศิริพร ศรีวงษ์ญาติดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู โรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร รวมทั้งสิ้นจำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยมและใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักรตามแนวคิดจรณทักษะ ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร และ การวัดและประเมินผล ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบจรณทักษะที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การคิดขั้นสูง 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตธรรมจักร ตามแนวคิดจรณทักษะ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 4 อันดับ มีทั้งหมด 4 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา โดยวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งเน้นส่งเสริมจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการสื่อสาร (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้ โดยบูรณาการแนวคิดจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และ การสื่อสาร ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (3) ยกระดับการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการเพิ่มพื้นที่นักประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจรณทักษะด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการจัดการเวลา และ (4) ปรับปรุงการดำเนินการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาให้เป็นไปตามสภาพจริง มุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ตามแนวคิดจรณทักษะ ด้านการคิดขั้นสูง ภาวะผู้นำ และการจัดการเวลา


นวัตกรรมการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม, น้ำอ้อย สุขเสนา Jan 2021

นวัตกรรมการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม, น้ำอ้อย สุขเสนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารคุณภาพหลักสูตรและทักษะการค้นหานวัตกรรม 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 มหาวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูลคือ ประธานสาขาวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินกรอบแนวคิดการวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม 3) แบบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยที่มีแนวปฏิบัติที่ดี 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ(ร่าง)นวัตกรรมการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยด้วย ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารคุณภาพหลักสูตร ประกอบด้วย (1) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (2) โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา (3) การจัดการเรียนการสอน (4) การประเมินผู้เรียน (5) บุคลากรฝ่ายวิชาการ (6) การบริการช่วยเหลือสนับสนุนผู้เรียน (7) สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน(8) ผลผลิตและผลลัพธ์ กรอบแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม ประกอบด้วย (1) ทักษะการตั้งคำถาม (2) ทักษะการสังเกต (3) ทักษะเครือข่ายความคิด (4) ทักษะการทดลอง (5) ทักษะการคิดเชื่อมโยง 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นพบว่า การบริหารคุณภาพหลักสูตรที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน (PNI Modified = 0.068) รองลงมา คือด้านผลผลิตและผลลัพธ์ (PNI Modified = 0.068) เมื่อพิจารณาทักษะการค้นหานวัตกรรม พบว่า ทักษะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือทักษะการทดลอง (PNI Modified = 0.068) รองลงมา คือทักษะเครือข่ายความคิด(PNI Modified = 0.064) …


กลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการสอนตามแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน, วีรยศ เอกรัตน์ Jan 2021

กลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการสอนตามแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน, วีรยศ เอกรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนาครู ประสิทธิผลการสอน และความเจริญงอกงามของนักเรียน 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของโรงเรียนมัธยมศึกษาในการพัฒนาประสิทธิผลการสอนตามแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน 3) พัฒนากลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการสอนตามแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed methods design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เปิดสอนชั้น ม.1 - ม.6 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 258 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครู 516 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการพัฒนาครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) การอบรม (2) การใช้ระบบพี่เลี้ยง (3) การชี้แนะ (4) การนิเทศติดตามและประเมินผล กรอบแนวคิดประสิทธิผลการสอน มี 5 ด้าน คือ (1) การใช้วิธีการสอนที่เหมาะสม (2) การเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ (3) การติดตามกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างใกล้ชิด (4) การจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ (5) ความรอบรู้ในเรื่องที่สอน และกรอบแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน ประกอบไปด้วย 2 ด้านคือ (1) ความก้าวหน้าด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) ความก้าวหน้าด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 9 องค์ประกอบ คือ (1) รักชาติ …


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม, สุปัญญา ปักสังคะเณย์ Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม, สุปัญญา ปักสังคะเณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม ผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน 1 คน หัวหน้างานหอพักหรือครูผู้ดูแลนักเรียนประจำ 2 คน ครูผู้สอน 2 คน รวมจำนวน 114 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนของโรงเรียนประจำ โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 รวมจำนวน 228 คน และผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม คือ งานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย รองลงมา คือ งานบริการและสวัสดิการ และงานกิจกรรเสริมหลักสูตร ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การเปิดใจ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม นำเสนอไว้ 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนางานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย ด้วยการใช้ข้อมูลต่างๆ ของนักเรียน ในการเสริมสร้างทักษะทางพฤติกรรมด้านการเปิดใจ (2) พัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยมุ่งเน้นนักเรียน ด้านการมีความมั่นคงทางอารมณ์ โดยการจัดกิจกรรมที่นอกเหนือจากงานสอนปกติ เพื่อพัฒนาการด้านสติ …


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม, สริญณพัชร์ ธรรมบุศย์ Jan 2021

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม, สริญณพัชร์ ธรรมบุศย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวมและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างวิจัย ได้แก่ โรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ซึ่งจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 84 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้าระดับ ครูประจำชั้น และประธานสภานักเรียน จำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดการวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม ประกอบด้วย สมรรถนะทางเทคนิคหรือทักษะการทำงาน สมรรถนะทางมนุษย์หรือทักษะมนุษย์ และสมรรถนะแห่งตนหรือทักษะตนเอง กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล 2) จุดอ่อนของการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม (โรงเรียนทุกขนาด) คือ การวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.271) และการพัฒนาสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ (PNImodified = 0.261) ตามลำดับ จุดแข็งของการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม (โรงเรียนทุกขนาด) คือ การจัดการเรียนการสอน (PNImodified = 0.244) และการพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.232) ตามลำดับ ภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม (โรงเรียนทุกขนาด) คือ สภาพเศรษฐกิจ (PNImodified = 0.274) …


นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต, สุจิตรา พิพัฒนพงษ์ Jan 2021

นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต, สุจิตรา พิพัฒนพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและสมรรถนะผู้นำในอนาคต 2) สภาพที่พึงประสงค์ของเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต และ 3) ออกแบบนวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างจำนวน 481 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 692 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) แบบสอบถามที่พึงประสงค์ 3) แบบสัมภาษณ์แนวปฏิบัติที่ดี 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย (1) โปรแกรมการพัฒนา 3 โปรแกรม ได้แก่ (1.1) โปรแกรมการพัฒนาก่อนการปฏิบัติงาน (1.2) โปรแกรมการพัฒนาเมื่อเริ่มปฏิบัติงาน และ (1.3) โปรแกรมการพัฒนาขณะปฏิบัติงาน (2) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 3 รูปแบบ ได้แก่ (2.1) การพัฒนาระหว่างเวลาปฏิบัติงาน (2.2) การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (2.3) การพัฒนาแบบผสมผสาน70:20:10 กรอบแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย 12 สมรรถนะ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (2) การสื่อสารอย่างชัดเจน (3) การมีวิสัยทัศน์ (4) การขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง (5) การเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างฉับไว (6) การปรับตัวและยืดหยุ่น (7) การยอมรับความแตกต่างและความหลากหลาย (8) การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ (9) การสร้างแรงบันดาลใจและความผูกพัน (10) การพัฒนาผู้มีศักยภาพสูงสำหรับอนาคต (11) ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล และ(12) ความซื่อสัตย์สุจริต 2) สภาพที่พึงประสงค์ของเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย 2.1) โปรแกรมการพัฒนา …


Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach Jan 2021

Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1. to examine the exemplary leadership level of Cambodian secondary school students in Battambang Province and to study the priority needs of academic management development of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership, 2. to develop the approaches for developing the academic management of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership. The data were collected from 12 sample schools, choosing one school to represent one district. The study informants included school principals, vice-principal, teachers, and students in Battambang province accounting for 169. The research instrument used …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทน: พลังของความใฝ่ฝันและความบากบั่นพากเพียร, สายถวิล แซ่ฮ่ำ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทน: พลังของความใฝ่ฝันและความบากบั่นพากเพียร, สายถวิล แซ่ฮ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Collect) ร่วมกับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Collection) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 272 โรงเรียนทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ 1) คุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest) 2) คุณลักษณะด้านการฝึกฝน (Practice) 3) คุณลักษณะด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (Purpose) และ 4) คุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความกล้าหาญอดทนฯ พบว่า การบริหารงานวิชาการ จุดแข็งคือ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ตามลำดับ จุดอ่อนคือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เมื่อพิจารณาคุณลักษณะความกล้าหาญอดทนฯ พบว่า จุดแข็งคือ ด้านคุณลักษณะด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย (Purpose) และคุณลักษณะด้านการฝึกฝน (Practice) จุดอ่อนคือ ด้านคุณลักษณะด้านความสนใจ (Interest) และคุณลักษณะด้านความมุ่งหวัง (Hope) โอกาสที่เอื้อในการบริหารวิชาการ คือ เทคโนโลยี …


แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีแบบ mixed-methods sequential explanatory design ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูฝึกในสถานประกอบการในเครือข่ายร่วมกับ 18 วิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ครูฝึกในสถานประกอบการและครูนิเทศจากสถานอาชีวศึกษา รวม 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วยกลุ่มสมรรถนะสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มสมรรถนะด้านวิชาชีพ (2) กลุ่มสมรรถนะด้านเจตคติ (3) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (4) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และกรอบแนวคิดวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนา 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน (2) การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (3) การพัฒนาในรูปแบบผสมผสาน 2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการสำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทั้ง 4 กลุ่มสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบการพัฒนาที่มีต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน รองลงมาคือ การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน และการพัฒนาแบบผสมผสาน ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีทั้งหมด 7 แนวทาง ดังนี้ สำหรับกลุ่มสมรรถนะทางวิชาชีพ (1) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะวิชาชีพสู่การปฏิบัติ (2) พัฒนาความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือ แหล่งเรียนรู้ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และสำหรับกลุ่มสมรรถนะทางการจัดการเรียนรู้ (3) พัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (4) พัฒนาความความสามารถในการวิเคราะห์ผู้เข้ารับการฝึกอบรม (5) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (6) …


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง Jan 2021

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ศึกษา (สพฐ.) ในจังหวัดสระแก้ว รวม 161 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) กลยุทธ์ฯการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ด้านการเป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตรที่สำคัญของประเทศ และด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชื่อมโยงอารยธรรมขอม กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การแนะแนว และการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับองค์กรอื่น 2) จุดแข็งของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ การแนะแนว (PNImodified =0.4535) และการวัดและประเมินผล (PNImodified =0.4715) ตามลำดับ จุดอ่อน คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified =0.5035) การประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (PNImodified =0.4848) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ (PNImodified =0.4837) และการจัดการเรียนการสอน (PNImodified =0.4823) ตามลำดับ โอกาสของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ สภาพนโยบายของรัฐ (PNImodified =0.4740) และสังคม (PNImodified =0.4780) ภาวะคุกคามคือสภาพเทคโนโลยี (PNImodified =0.4861) และเศรษฐกิจ (PNImodified =0.4832) ตามลำดับ 3) …


การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา, ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่ Jan 2021

การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา, ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ การประเมินแบบร่วมมือ และเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ศึกษาในประชากรโรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายสะเต็มศึกษาจำนวน 26 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาจับประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล กรอบแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือ ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในหลักการเกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมิน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในเรื่องข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวม วิธีการ และเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จัดทำรายงานการประเมินและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และจัดส่งข้อมูลย้อนกลับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนด้วยการประชุมปฏิบัติการเชิงปฏิสัมพันธ์ พร้อมทั้งวางแผนการประเมินระยะต่อไป และกรอบแนวคิดเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย การบูรณาการความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน พัฒนาการประกอบอาชีพ และสร้างนวัตกรรม 2) การบริหารวิชาการด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือด้านการประเมินผล และด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์มากที่สุดคือด้านการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 3) แนวปฏิบัติที่ดีประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 16 แนวปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 12 แนวปฏิบัติ และการประเมินผล 20 แนวปฏิบัติ และ 4) นวัตกรรมการบริหารวิชาการ คือ “นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลแบบร่วมมือสู่เป้าหมายของสะเต็มศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา” ประกอบด้วย 3 นวัตกรรมย่อย คือ นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ นวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมการประเมินผล


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม, ศศิกิติยา เทพเสนา Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม, ศศิกิติยา เทพเสนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาและทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed methods design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 341 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ และการประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล การใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ส่วนกรอบแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม ประกอบด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการสังเกต ทักษะการสร้างเครือข่ายทางความคิด ทักษะการทดลอง และทักษะการคิดเชื่อมโยง 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนความต้องการจำเป็นสูงที่สุดในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม คือ การสร้างเครือข่ายทางความคิด รองลงมาคือ การคิดเชื่อมโยง การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ การสังเกต และการทดลอง ตามลำดับ และ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมมี 4 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์หลักที่ 1 เร่งรัดการพัฒนาหลักสูตรเน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม กลยุทธ์หลักที่ 2 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม กลยุทธ์หลักที่ 3 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการวัดและประเมินผลที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม และกลยุทธ์หลักที่ 4 ยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี, ศิริปัญญ์กรณ์ แซ่เจี่ย Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี, ศิริปัญญ์กรณ์ แซ่เจี่ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ผู้ให้ข้อมูล คือ คณะผู้บริหารและครู จำนวน 57 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane (1973) ที่ความเชื่อมั่น 95% โดยระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินระดับสมรรถนะ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประเมินค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ฐานนิยม (Mode) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรเชิงชีววิถี ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ (1) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (PNI [Modified] = 0.140) (2) การจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.132) (3) การวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.128) (4) การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.123) และ (5) การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.115) ตามลำดับ ความต้องการจำเป็นในภาพรวม คือ 0.128 (PNI [Modified] = …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ, กิจธนะ รักษ์ธนธัช Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ, กิจธนะ รักษ์ธนธัช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการในโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คน และครู 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม เรื่อง แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ({u1D465}̅ = 2.81) และมากที่สุด ({u1D465}̅ = 4.65) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.77) รองลงมา คือ การวัดผลประเมินผล (PNI [Modified] = 0.63) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.56) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนก้องฟ้าวัฒนาวิทย์ ตามแนวคิดการสร้างแรงบันดาลใจ มีทั้งสิ้น 3 แนวทางหลัก ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สภาพบรรยากาศ สื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจจากเป้าหมาย แนวทางที่ 2 พัฒนาระบบการวัดผลประเมินผลให้เป็นตามสภาพจริง ด้านการสร้างแรงบันดาลใจจากการขับเคลื่อน และแนวทางที่ 3 พัฒนาและบูรณาการหลักสูตรโดยการดำเนินการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น โดยเน้นในด้านการสร้างแรงบันดาลใจจากการกระตุ้น


แนวทางการพัฒนาครู โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ, ชัยรัตน์ อินทวงศ์ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครู โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ, ชัยรัตน์ อินทวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะ การชี้แนะ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของร่างแนวทาง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [Modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะการชี้แนะในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.092, S.D. = 0.670) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.704, S.D. = 0.481) ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูสูงที่สุดคือ ด้านทักษะการถาม (PNI [modified] = 0.571) และต่ำที่สุดคือ ด้านทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (PNI [modified] = 0.481) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนปากพลีวิทยาคาร จังหวัดนครนายก ตามแนวคิดทักษะ การชี้แนะ มี 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาทักษะการถามของครูผ่านการปฏิบัติงาน ตามโครงการที่รับมอบหมาย การได้รับการชี้แนะ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การพัฒนาทักษะ การให้ข้อมูลย้อนกลับของครูผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการที่ได้รับมอบหมาย การได้รับการชี้แนะ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) การพัฒนาทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งของครู …


แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล, ธัมมธาดา อู่วิเชียร Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล, ธัมมธาดา อู่วิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากลผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 11 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 33 คน และครู 277 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิด จิตสำนึกสากล โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.803) และมากที่สุด (M = 4.568) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.230) รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.205) รองลงมา คือ การวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.188) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ งานกิจกรรมนักเรียน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.182) และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตชลบุรี 1 ตามแนวคิดจิตสำนึกสากล มีทั้งหมด 2 แนวทางย่อย และ 25 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามลำดับความต้องการจำเป็นดังนี้ แนวทางที่ 1 พลิกโฉมหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยเน้นการส่งเสริมจิตสำนักสากลด้านความตระหนักในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกันและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นในโลก ประกอบด้วย 3 …


แนวทางการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร, สิทธิศักดิ์ สิทธิจินดา Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร, สิทธิศักดิ์ สิทธิจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 โรงเรียน ปีการศึกษา 2564 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ครูผู้สอนวิชาแนะแนว ครูผู้สอนวิชาลูกเสือ-เนตรนารี จำนวนทั้งหมด 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modify Priority Needs Index:PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ความสามารถของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ สุดคือ ด้านการไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมุ่งเน้นวิชาการของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง ลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการไว้วางใจของครูต่อนักเรียนและผู้ปกครอง (PNI [modified] = 0.411) ด้านการมุ่งเน้นวิชาการของครู (PNI [modified] = 0.301) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านการรับรู้ความสามารถของครู (PNI [modified] = 0.280) 2) แนวทางการการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร …