Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Administration and Supervision

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 26 of 26

Full-Text Articles in Entire DC Network

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย, จิตรวรรณ เอกพันธ์ Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย, จิตรวรรณ เอกพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนและกรอบแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาระดับนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยและสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และ 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 – 6 ปี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนทั่วประเทศ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 357 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน รวม 1,071 คน และศึกษาโรงเรียนที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินระดับนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรปฐมวัย ด้านการจัดประสบการณ์ ด้านสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ และด้านประเมินพัฒนาการ และกรอบนักคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย 11 คุณลักษณะ ได้แก่ ช่างสำรวจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมใหม่ กล้าซักถามข้อสงสัย กล้าตัดสินใจ มีจินตนาการ พยายามทดลองสิ่งใหม่ สื่อสารและการแสดงออก มีความพยายาม กล้าเสี่ยง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความคล่องแคล่วและว่องไว 2) เด็กปฐมวัยมีระดับนักคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยคุณลักษณะนักคิดสร้างสรรค์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความคล่องแคล่วว่องไว และมีคุณลักษณะการกล้าซักถามข้อสงสัยต่ำที่สุด ส่วนสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการด้านการจัดประสบการณ์มีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด และด้านหลักสูตรปฐมวัยมีระดับการปฏิบัติต่ำที่สุด โดยมีการเสริมสร้างคุณลักษณะนักคิดสร้างสรรค์ด้านการทำงานร่วมกันสูงที่สุด และความกล้าเสี่ยงต่ำที่สุดในทุก ๆ ด้าน และเมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์พบว่าด้านสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับระดับนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด และ 3) นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดนักคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชื่อ “นวัตกรรมเด็กช่างคิด CHANGE KID Innovation” ประกอบด้วย นวัตกรรมหลักสูตรเด็กช่างคิด นวัตกรรมการจัดประสบการณ์เชิงรุกขั้นสูง นวัตกรรมการสร้างสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์สำหรับเด็กช่างคิด จำนวน …


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อรพิน รอว์ลี่ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อรพิน รอว์ลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารโรงเรียน และแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิต 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนเอกชนที่ตั้งในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 438 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) การบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และงานกิจการนักเรียน 2) การพัฒนาทักษะชีวิต ประกอบด้วย ด้านจิตใจ (Heart) ด้านสมอง (Head) ด้านการปฏิบัติการ (Hands) และด้านสุขภาพ (Health) (2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีการปฏิบัติสูงที่สุด ในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านจิตใจเรื่องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ในขณะที่ด้านการวัดผลและประเมินผล มีการปฏิบัติน้อยที่สุดในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสมองเรื่องการคิด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีความต้องการสูงที่สุดในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสุขภาพเรื่องสุขภาพจิต ในขณะที่ด้านงานกิจการนักเรียนมีความต้องการน้อยที่สุด ในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสมองเรื่องการจัดการ (3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC: กล้าคิดกล้าทำ สุขภาพจิตดี มีน้ำใจเอื้ออาทร กลยุทธ์หลักที่ 2. ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC: กล้าคิด สุขภาพแข็งแรง กล้าทำ มีน้ำใจเอื้ออาทร กลยุทธ์หลักที่ 3 เร่งพัฒนารูปแบบการวัดผลและประเมินผลนักเรียนโดยเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC : กล้าคิด กล้าทำ สัมพันธภาพดี …


Early Childhood Learning Management Policy On Bilingual Proficiency, Methavee Chotchaipong Jan 2019

Early Childhood Learning Management Policy On Bilingual Proficiency, Methavee Chotchaipong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were: 1) to explore the current state and the desirable state of early childhood learning management policy on bilingual proficiency to identify the policy areas or identifying the problems and the priority needs; 2) to investigate school best practices on bilingual proficiency to identify various alternative policies as well as to assess the alternatives, applies each of the decision criteria to each alternative and considering the benefits and drawbacks of each alternative; and 3) to develop the proposed policy for Early Childhood Learning Management on Bilingual Proficiency by selecting the most appropriate or suitable and …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน, ศักดิ์ดนัย โรจน์สราญรมย์ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน, ศักดิ์ดนัย โรจน์สราญรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลและการบริหารวิชาการ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียนและ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed methods design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และวิธีการผสมวิธี (Mixed methods research) กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เปิดสอนชั้น ม.1-ม.6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 400 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 6 ด้านและความฉลาดรู้ทางดิจิทัลนักเรียน 3 ด้าน 2) ความต้องการจำเป็นของความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน มีลำดับดังนี้ (1) ด้านเครื่องมือดิจิทัล (2) ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต (3) ด้านการใช้งานอย่างปลอดภัย ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการมีลำดับ ดังนี้ (1) การจัดการเรียนการสอน (2) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (3) การวัดและประเมินผล (4) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (5) การพัฒนาและใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (6) การนิเทศ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน มี 31 วิธีดำเนินการ 13 กลยุทธ์รอง และ 6 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พลิกโฉมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นความฉลาดรู้ในการใช้เครื่องมือดิจิทัล (2) ผลักดันการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการคิดเชิงคำนวณที่เน้นความฉลาดรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตและ เครื่องมือดิจิทัล (3) ปฏิรูปการวัดและประเมินผลที่เน้นความฉลาดรู้ด้านทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัล (4) เร่งรัดการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการเน้นความฉลาดรู้ในการใช้เครื่องมือดิจิทัล (5) ปฏิรูปการออกแบบและใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านความฉลาดรู้ในการใช้เครื่องมือดิจิทัล (6) …


นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์, ประภัสสร ดิษสกุล Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์, ประภัสสร ดิษสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ ประชากร คือ โรงเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative Based Learning) ของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 82 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 246 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน และกลุ่มครูผู้สอน โรงเรียนละ 2 คน และศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีจากโรงเรียนกรณีศึกษาจำนวน 5 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย นโยบาย การบริหารจัดการ สภาพแวดล้อมการ เรียนรู้ หลักสูตรและการสอน การพัฒนาครู มาตรฐานและการประเมินผล และการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนกรอบแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจ การฝึกใช้จินตนาการ การค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การกระตุ้นความคิดและการแก้ปัญหา กิจกรรมการเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน และการประเมินผลงาน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์พบว่า สภาพปัจจุบันที่มีค่าเฉลี่ยอยู่สูงที่สุดคือ การพัฒนาครู รองลงมาคือ มาตรฐานและการประเมินผล และหลักสูตรและการสอน ตามลำดับ ในขณะที่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่มีค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันสูงที่สุดคือ กิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาคือการค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ร่วมกันตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีส่วนร่วมของชุมชน รองลงมาคือ การพัฒนาครู และหลักสูตรและการสอน ตามลำดับ สำหรับการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดคือ กิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาคือการเรียนรู้ร่วมกัน และการกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ การบริหารโรงเรียนที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การมีส่วนร่วมของชุมชน รองลงมาคือ นโยบาย และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ …


กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21, วลีรัตน์ ฉิมน้อย Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21, วลีรัตน์ ฉิมน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาและกรอบแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Collect) ร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Collection) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่มีการเปิดการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 353 โรงเรียนทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา และกรอบแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย คุณลักษณะความเป็นพลเมือง 4 ด้าน คือ 1) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี 2) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลก 3) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัล และ 4) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 พบว่า การบริหารงานวิชาการ จุดแข็งคือการกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จุดอ่อนคือ การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการจัดการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพพบว่า จุดแข็งคือการบริหารวิชาการด้านคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จุดอ่อนคือการบริหารวิชาการด้านคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลก โอกาสคือเทคโนโลยี และการเมืองและนโยบายของรัฐ ภาวะคุกคามคือ สภาพเศรษฐกิจและสังคม 3. กลยุทธ์หลักการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ …


นวัตกรรมการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะการทำงานในอนาคต, กรณัฏฐ์ สกุลกฤติ Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะการทำงานในอนาคต, กรณัฏฐ์ สกุลกฤติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และทักษะการทำงานในอนาคต 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะการทำงานในอนาคต และ 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะการทำงานในอนาคต ใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi – phase Mixed Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อยแบบ Focus Group และการวิจัยเชิงปริมาณจากการประเมินความเป็นไปได้ การสำรวจสภาพ และการประเมินความเหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิดการวิจัย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินกรอบแนวคิด 5 คน ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 192 คน จากจำนวน 49 แห่ง ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมกลุ่มย่อย 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ใช้นวัตกรรมในการประเมินนวัตกรรม จำนวน 17 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodifed และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ (1) การบริหารด้านการผลิตบัณฑิต (2) การบริหารด้านการวิจัย (3) การบริหารด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และ (4) การบริหารด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกรอบแนวคิดทักษะการทำงานในอนาคต ประกอบด้วย ทักษะหลัก 4 กลุ่ม ดังนี้ (1) ทักษะส่วนบุคคล (2) ทักษะด้านคน (3) ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ และ (4) ทักษะที่ใช้ในการทำงาน มีองค์ประกอบทักษะ 18 ทักษะ 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะการทำงานในอนาคต พบว่า ด้านการผลิตบัณฑิตเป็นด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และในการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกด้าน มีทักษะที่ใช้ในการทำงานเป็นความต้องการจำเป็นสูงสุด 3) นวัตกรรมการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะการทำงานในอนาคต คือ …


รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา, กฤชณรงค์ ด้วงลา Jan 2019

รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา, กฤชณรงค์ ด้วงลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดรูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา 2) สภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาและ 3) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed methods design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และ วิธีการผสมวิธี (Mixed methods research) กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 295 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการจัดอันดับความสำคัญสภาพที่พึงประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดรูปแบบการบริหารโรงเรียน 6 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการบริหารแบบทางการ 2) รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน 3) รูปแบบการบริหารแบบการเมือง 4) รูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย 5) รูปแบบการบริหารแบบกำกวมและ 6) รูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม โดยมีองค์ประกอบของการบริหาร 8 องค์ประกอบคือ 1) ระดับของการกำหนดเป้าประสงค์ 2) กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ 4) ลักษณะของกระบวนการตัดสินใจ 5) ลักษณะของโครงสร้าง 6) ความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก 7) ลักษณะของผู้นำและ 8) รูปแบบของภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง 2) เกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา มี 7 หมวด คือ 1) การนำองค์กร 2) กลยุทธ์ 3) การมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้เสีย 4) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร 6) การมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน …


กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต, กษิฎิฏฏ์ มีพรหม Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต, กษิฎิฏฏ์ มีพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการ กรอบแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ประชากรที่ศึกษาคือ โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 49 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระ และครูแนะแนว รวมทั้งสิ้น 363 คนจากทั้งหมด 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดพหุปัญญา ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ (1) ความฉลาดทางปัญญาด้านภาษา (2) ความฉลาดทางปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (3) ความฉลาดทางปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (4) ความฉลาดทางปัญญาด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (5) ความฉลาดทางปัญญาด้านดนตรี (6) ความฉลาดทางปัญญาด้านการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น (7) ความฉลาดทางปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (8) ความฉลาดทางปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (9) ความฉลาดทางปัญญาด้านการเข้าใจการมีชีวิต กรอบแนวคิดอาชีพในอนาคต ประกอบด้วย 6 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มงานเกษตรกรรม และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ (2) กลุ่มงานศิลปะ การแสดง และเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) กลุ่มงานอุตสาหกรรมและวิศวกรรม (4) กลุ่มงานการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (5) กลุ่มงานพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ (6) กลุ่มงานธุรกิจ การตลาดและการจัดการ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, อภิรดี จริยารังษีโรจน์ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, อภิรดี จริยารังษีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการ และครูผู้สอนในสาขาวิชา รวมจำนวน 104 คน ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนใน 3 จังหวัด จังหวัดชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา รวมจำนวน 25 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 ด้านคือ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง กรอบแนวคิดคุณลักษณะแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ใช้กรอบแนวคิดคุณลักษณะแรงงานที่มีนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วย 9 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) กล้ารับความเสี่ยง จากการดำเนินการที่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ 2) เชื่อมั่นในตนเอง และแสดงออกถึงศักยภาพของตัวเอง 3) สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และไม่กลัวปัญหาที่ซับซ้อน 4) มีแรงกระตุ้นในการทำงานจากภายใน และสามารถจูงใจหรือชักนำผู้อื่นให้เกิดการทำงานร่วมกันได้ 5) สามารถวิเคราะห์ตนเองได้ว่าไม่รู้อะไร ใฝ่รู้ และเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดชีวิต 6) อดทน มุ่งมั่น และพากเพียรในการทำงาน 7) มีจินตนาการและคิดสร้างสรรค์ 8) สามารถควบคุมอารมณ์ และมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ 9) มีภาวะผู้นำในการทำงานและสามารถเป็นผู้นำทีมได้ และกรอบแนวคิดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 10 อุตสาหกรรมดังนี้ 1) ยานยนต์สมัยใหม่ 2) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3) การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว, อานนท์ ธิติคุณากร Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว, อานนท์ ธิติคุณากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา และทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-phase Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวน 1,203 คน สุ่มตัวอย่างโรงเรียนและผู้ให้ข้อมูลแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วยงาน 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว ประกอบด้วย 8 ทักษะ คือ (1) ทักษะการปรับตัว การเรียนรู้ และการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีความตระหนักถึงสภาพแวดล้อม (2) ทักษะความเป็นผู้นำสำหรับเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (3) ทักษะการประสานงานและการบริหารจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม (4) ทักษะเชิงระบบและการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อความยั่งยืน (5) ทักษะการออกแบบและใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (6) ทักษะผู้ประกอบการ การตลาด และทักษะทางธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม (7) ทักษะภาษา การสื่อสารและเจรจาต่อรองเพื่อคุณค่าของการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ (8) ทักษะเครือข่าย เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงการสร้างงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียวที่สูงที่สุด คือ การวัดและประเมินผล เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ ทักษะที่มีความต้องกรจำเป็นสูงที่สุด คือ ทักษะเชิงระบบและการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อความยั่งยืน 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาทักษะสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก …


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อรพิน รอว์ลี่ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อรพิน รอว์ลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารโรงเรียน และแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิต 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนเอกชนที่ตั้งในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 438 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) การบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และงานกิจการนักเรียน 2) การพัฒนาทักษะชีวิต ประกอบด้วย ด้านจิตใจ (Heart) ด้านสมอง (Head) ด้านการปฏิบัติการ (Hands) และด้านสุขภาพ (Health) (2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีการปฏิบัติสูงที่สุด ในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านจิตใจเรื่องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ในขณะที่ด้านการวัดผลและประเมินผล มีการปฏิบัติน้อยที่สุดในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสมองเรื่องการคิด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีความต้องการสูงที่สุดในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสุขภาพเรื่องสุขภาพจิต ในขณะที่ด้านงานกิจการนักเรียนมีความต้องการน้อยที่สุด ในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสมองเรื่องการจัดการ (3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC: กล้าคิดกล้าทำ สุขภาพจิตดี มีน้ำใจเอื้ออาทร กลยุทธ์หลักที่ 2. ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC: กล้าคิด สุขภาพแข็งแรง กล้าทำ มีน้ำใจเอื้ออาทร กลยุทธ์หลักที่ 3 เร่งพัฒนารูปแบบการวัดผลและประเมินผลนักเรียนโดยเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC : กล้าคิด กล้าทำ สัมพันธภาพดี …


นวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว, จารุวรรณ ไบรัม Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว, จารุวรรณ ไบรัม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย และกรอบแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว 2) ตรวจสอบความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว และ3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนที่เป็นสมาชิกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 97 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูใหญ่ฝ่ายไทย หัวหน้าหมวดภาษาไทย หรือครูภาษาไทยที่สอนในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวนทั้งสิ้น 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิด แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล และกรอบแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่วประกอบด้วย 3 กลุ่มคุณลักษณะหลักดังนี้ (1) กลุ่มคุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยคือ (1.1) ความมุ่งมั่นในเป้าหมาย (1.2) การคิดวิเคราะห์ (2) กลุ่มคุณลักษณะด้านจิตพิสัย ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยคือ (2.1) ความใฝ่รู้ใคร่เรียนเรื่องใหม่ๆ (2.2) การยอมรับฟังคำวิจารณ์ (3) กลุ่มคุณลักษณะด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยคือ (3.1) การมองหาโอกาสที่ท้าทาย (3.2) ความมีไหวพริบ (3.3) ความไวและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (3.4) การสื่อสารคล่อง 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมฯสูงสุดตามลำดับดังนี้ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล คุณลักษณะคล่องแคล่วที่จำเป็นต้องพัฒนามากที่สุดคือ การมองหาโอกาสที่ท้าทาย การคิดวิเคราะห์ ความมีไหวพริบและการยอมรับฟังคำวิจารณ์ 3) นวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว คือ นวัตกรรมการบริหารโปรแกรมไทยสว็อบค์ (SWABK) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะการมองหาโอกาสที่ท้าทาย การคิดวิเคราะห์ ความมีไหวพริบและการยอมรับฟังคำวิจารณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) การพัฒนาหลักสูตรที่มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยและสังคมโลกและมีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยกับสภาวการณ์โลก (2) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการจัดทำสื่อการเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (3) การประเมินผล ที่เน้นการนำผลการประเมินหลักสูตรไปพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีความพร้อมต่อโลกอนาคต


กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดการเสริมสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก, นวพร กาญจนศรี Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดการเสริมสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก, นวพร กาญจนศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์และกรอบแนวคิดความเป็นธรรมทางการศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 490 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบศึกษากรอบแนวคิดในการวิจัย 2) แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย 3) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก ดังนี้ (1) การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การกำหนดคุณสมบัติ และการสรรหาและคัดเลือก (2) การประเมินผลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรมและพัฒนา และ (3) การธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การให้รางวัล และการบริหารเส้นทางอาชีพ และกรอบแนวคิดความเป็นธรรมทางการศึกษา ประกอบด้วย ความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวนอนที่เป็นไปตามมาตรฐาน และความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวตั้งที่คำนึงถึงความแตกต่างและความต้องการของโรงเรียน โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย จำนวนครูต่อนักเรียน คุณภาพครู และแรงจูงใจในการทำงานของครู 2) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวตั้งที่คำนึงถึงความแตกต่างและความต้องการของโรงเรียนขนาดเล็ก ในทุกกระบวนหลักและกระบวนการย่อย มีความต้องการจำเป็นสูงกว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวนอนที่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์มีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือ การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ และการประเมินผลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามลำดับ และ 3) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 6 …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา, พวงสุรีย์ วรคามิน Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา, พวงสุรีย์ วรคามิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชน และกรอบแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา โดยเป็นการวิจัยแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ โรงเรียนเอกชนโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา จำนวน 345 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระ ครูประจำชั้น และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การวัดและประเมินผล (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กรอบแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ (1) การมีอัตลักษณ์ทางดิจิทัล (2) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงาน (3) ความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (4) ความฉลาดทางอารมณ์ในโลกดิจิทัล (5) การติดต่อสื่อสารทางโลกดิจิทัล (6) การรู้เท่าทันสื่อในโลกดิจิทัล (7) การรู้สิทธิในโลกดิจิทัล 2) ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา คือ การพัฒนาหลักสูตร รองลงมาคือ การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในขณะที่ด้านความปลอดภัยในโลกดิจิทัลและความฉลาดทางอารมณ์ในโลกดิจิทัล มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด จุดแข็งของการบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่วนจุดอ่อนของการบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล จุดแข็งของอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา คือ การใช้งานในโลกดิจิทัล และการติดต่อสื่อสารทางโลกดิจิทัล ส่วนจุดอ่อนของอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา คือ …


อนาคตภาพของการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตามแนวคิดทักษะที่จําเป็นสําหรับการทำงานในอนาคต, ยุทธชัย ดำรงมณี Jan 2019

อนาคตภาพของการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตามแนวคิดทักษะที่จําเป็นสําหรับการทำงานในอนาคต, ยุทธชัย ดำรงมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนและทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต 2) เพื่อศึกษาอนาคตภาพของการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตามแนวคิดทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคต (Ethnographic Delphi Future Research: EDFR) ทำการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาท อำนาจ หน้าที่ในการกำหนดนโยบายของโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม จำนวน 8 ท่าน 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาท หน้าที่ในการดำเนินงานสนองตอบนโยบายในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย จำนวน 10 ท่าน 3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นนักวิชาการ จำนวน 3 ท่าน รวม 21 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาฉันทามติด้วยค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดของการบริหารโรงเรียนประกอบด้วย การบริหารวิชาการและการบริหารกิจการนักเรียน ส่วนทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคตประกอบด้วย 3 กลุ่มทักษะคือ ทักษะด้านความคิด 6 ทักษะ ทักษะด้านความสามารถ 7 ทักษะ และทักษะด้านศักยภาพส่วนตน 7 ทักษะ (2) อนาคตภาพของการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยคือการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต 2 ด้านคือทักษะด้านความคิด 6 ทักษะ ทักษะด้านศักยภาพส่วนตน 7 ทักษะ และการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต 3 ด้านคือทักษะด้านความคิด 6 ทักษะ ทักษะด้านความสามารถ 7 ทักษะ และทักษะด้านศักยภาพส่วนตน 7 ทักษะ


นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน, รัสวดี ควรทรงธรรม Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน, รัสวดี ควรทรงธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน แนวคิดคุณภาพจากภายในและการสร้างนวัตกรรม 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ กลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 222 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 222 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ จำนวน 11 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินกรอบความคิด แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ประกอบด้วยการบริหารบุคคลด้านการพัฒนาครูและการบริหารวิชาการด้านการพัฒนานักเรียน การบริหารบุคคลด้านการพัฒนาครูประกอบด้วย การพัฒนาระหว่างการปฏิบัติงานและการพัฒนานอกสภาพแวดล้อมการทำงาน การบริหารวิชาการด้านการพัฒนานักเรียน ประกอบไปด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดคุณภาพจากภายใน ประกอบไปด้วย การรับรู้สิ่งแวดล้อมที่ท้าทายความสามารถ พฤติกรรมในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย สมรรถนะที่แท้จริง มุมมองภายใต้สถานการณ์ ความเชื่อในความสามารถของตนและการยึดมั่นในภาระหน้าที่ การสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย การระบุปัญหา การค้นหาแนวทางแก้ปัญหา และการพัฒนานวัตกรรม 2) ความต้องการจำเป็นพบว่าการบริหารบุคคลด้านการพัฒนาครู ในส่วนของการพัฒนานอกสภาพแวดล้อมการทำงาน ในรูปแบบของการฝึกอบรมออนไลน์นั้นมีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ในขณะที่การบริหารวิชาการด้านการพัฒนานักเรียนนั้น การวัดและประเมินผลมีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด 3) นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน ประกอบด้วย 2 นวัตกรรม คือ (1) “นวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพภายในของครูแบบ 2 วงรอบด้วยระบบออนไลน์” เพื่อผลลัพธ์การยกระดับคุณภาพจากภายในของครูที่เป็นจุดอ่อน 5 ด้าน คือ พฤติกรรมในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย สมรรถนะที่แท้จริง มุมมองภายใต้สถานการณ์ ความเชื่อในความสามารถของตนและการยึดมั่นในภาระหน้าที่ และ (2) “นวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพภายในของนักเรียนแบบ 2 วงรอบด้วยการวัดและประเมินผล” เพื่อผลลัพธ์การยกระดับคุณภาพจากภายในของนักเรียนที่เป็นจุดอ่อน 4 ด้าน คือ พฤติกรรมในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย สมรรถนะที่แท้จริง …


Private School Teacher Development Model Based On The Concepts Of Tpack And Productive Pedagogies, Natthawut Katechaiyo Jan 2019

Private School Teacher Development Model Based On The Concepts Of Tpack And Productive Pedagogies, Natthawut Katechaiyo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research is to 1) study conceptual frameworks of teacher development, TPACK, and productive pedagogies. 2) study the current and desirable states of private school teacher development model based on the concepts of TPACK and productive pedagogies. And 3) develop a private school teacher development model based on the concepts of TPACK and productive pedagogies. This research applied multiphase mixed methods design. The population was 3,776 schools under the office of private education commission and the sample were 163 schools chosen through multi-stages random sampling method based on geographical locations, urban and rural areas, and school size. …


Development Of School Teacher Career Pathway In Cambodia Based On The Concept Of Authentic Student Achievement, Chantheng Meak Jan 2019

Development Of School Teacher Career Pathway In Cambodia Based On The Concept Of Authentic Student Achievement, Chantheng Meak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this research study were 1) to examine the conceptual framework of teacher career pathway and authentic student achievement, 2) to explore the desirable states of school teacher career pathway in Cambodia based on the concept of authentic student achievement, and 3) to develop school teacher career pathway in Cambodia based on authentic student achievement. A multi-phase mixed methods research design was applied. The informants of this study were 491 people consisting of 40 school administrators and 451 teachers of pre-school, primary, and secondary school under the supervision of Ministry of Education, Youth and Sport, Kingdom of Cambodia. …


กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล, กรุณา วงษ์เทียนหลาย Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล, กรุณา วงษ์เทียนหลาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวง และกรอบแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) ประชากรในการวิจัย ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ ผู้ให้ข้อมูล คือผู้บริหาร และอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย การบริหารหลักสูตร การบริหารการจัดการเรียนการสอน การบริหารแหล่งเรียนรู้ การบริหารการวัดประเมินผล และการบริหารงานวิจัย และ กรอบแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล ประกอบด้วย สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม สมรรถนะการคิดเชิงนวัตกรรม และสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ 2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จุดแข็ง ได้แก่ การบริหารหลักสูตร การบริหารการจัดการเรียนการสอน การบริหารงานวิจัย จุดอ่อน ได้แก่ การบริหารแหล่งเรียนรู้ และการวัดประเมินผล โอกาส ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านเทคโนโลยี และภาวะคุกคาม ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 3) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ยกระดับการบริหารการวัดประเมินผล ที่มุ่งเน้นสมรรถนะนวัตกรด้านการเป็นผู้ประกอบการ (2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ที่มุ่งเน้นสมรรถนะนวัตกรด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (3) เสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารงานวิจัยที่มุ่งเน้นสมรรถนะนวัตกรด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (4) เพิ่มขีดความสามารถการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นสมรรถนะนวัตกรด้านการเป็นผู้ประกอบการ โดยมีกลยุทธ์รอง 8 กลยุทธ์ และวิธีดำเนินการ 32 …


แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์, พชร สินสมรส Jan 2019

แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์, พชร สินสมรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ เอกสารสำคัญของโรงเรียนเทพศิรินทร์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1) แผนปฏิบัติการโรงเรียนเทพศิรินทร์ ปี 2558-2560 2) รายงานประจำปี 2558-2560 โรงเรียนเทพศิรินทร์ และ 3) งบเดือนประจำเดือนเมษายน 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 รายการ ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของผลผลิตและกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) แบบคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และฐานนิยม (Mode) ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์จำแนกผลผลิตตามแผนการเรียน แบ่งออกเป็น 11 ผลผลิต ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมี 4 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตแผนทั่วไป ผลผลิตแผนGifted ผลผลิตแผนEP และผลผลิตแผนMEP และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี 7 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตแผนวิทย์ทั่วไป ผลผลิตแผนวิทย์Gifted ผลผลิตแผนวิทย์IEP ผลผลิตแผนศิลป์คำนวณ ผลผลิตแผนศิลป์ภาษาจีน ผลผลิตแผนศิลป์ภาษาที่ 3 อื่น และผลผลิตแผนศิลป์ทั่วไป โดยที่ผลผลิตทุกผลผลิตจะต้องผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ สามารถจัดประเภทได้ 3 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมหลักทางตรง กิจกรรมหลักทางอ้อม และกิจกรรมสนับสนุน ซึ่งขั้นตอนการคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม สามารถดำเนินการได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ …


กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, มนรัตน์ แก้วเกิด Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, มนรัตน์ แก้วเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา และความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการงานบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีพหุระยะ (Multi phase mixed method research) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการ และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล มี 4 กลุ่มองค์ประกอบหลัก 15 ทักษะ ได้แก่ (1) ความฉลาดรู้ดิจิทัล มี 3 ทักษะ (2) ความปลอดภัยทางดิจิทัล มี 4 ทักษะ (3) การมีส่วนร่วมทางดิจิทัล มี 5 ทักษะ และ (4) ความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัล มี 3 ทักษะ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดของการบริหารวิชาการ ในขณะที่ด้านความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดของแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จุดอ่อน คือ การวัดและประเมินผล ความฉลาดรู้ดิจิทัล เป็นจุดแข็งของการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และเป็นจุดอ่อนของการวัดและประเมินผล ความปลอดภัยทางดิจิทัล และการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลเป็นจุดอ่อนของทุกด้าน ความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัลเป็นจุดแข็งของทุกด้าน โอกาส คือ การเมืองและนโยบายของรัฐ และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม …


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม-อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ​, รัฐณีรนุช นามแก้ว Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม-อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ​, รัฐณีรนุช นามแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 2) เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูการศึกษาพิเศษหรือครูแนะแนว และครูกลุ่มสากะกรเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสม และเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนจุดแข็ง คือ การเตรียมความพร้อมนักเรียนและการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ และ จุดอ่อน คือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและ การดำเนินการด้านเครื่องมือในการสนับสนุน โอกาส คือ สภาพการเมืองนโยบายรัฐบาลต่อการเตรียมความพร้อมของนักเรียนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในส่วนสภาพเทคโนโลยีเป็นภาวะคุกคามต่อการดำเนินการด้านเครื่องมือในการสนับสนุนและการเตรียมความพร้อมของนักเรียน สำหรับกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ มี 2 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาการดำเนินการด้านเครื่องมือในการสนับสนุนการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และกลยุทธ์ที่ 2 สร้างประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ


รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้, ศนิชา ภาวโน Jan 2019

รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้, ศนิชา ภาวโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 415 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินกรอบความคิด แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1. กรอบแนวคิดรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาตามแนวราบและรูปแบบการพัฒนาตามแนวดิ่ง และ แนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้จำนวน 8 องค์ประกอบ คือ โรงเรียนที่มี 1) การสร้างวิสัยทัศน์ของโรงเรียนร่วมกัน 2) การรับฟังซึ่งกันและกัน สร้างความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้บริหาร ครู และผู้เรียน 3) การสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงานและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ให้กับครู 4) การสร้างครูและผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5) การสนับสนุนให้ครูและผู้เรียนมีการทำงานร่วมกันแบบร่วมมือรวมพลังและเป็นประชาธิปไตย 6) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของครูและผู้เรียน 7) การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดคุณภาพการศึกษาแก่ผู้เรียนและครู และ 8) การเผยแพร่องค์ความรู้ของโรงเรียนทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่สำหรับชุมชน 2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวดิ่งด้านการคิดและการปฏิบัติในการบริหารโรงเรียนตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และวิเคราะห์สังเคราะห์เชิงระบบในการแสวงหาทางเลือกใหม่ มีค่าสูงที่สุด ซึ่งเลือกพัฒนา 3 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงกว่าค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบทั้งหมด ได้แก่ (1) การสร้างวิสัยทัศน์ของโรงเรียนร่วมกัน (2) การรับฟังซึ่งกันและกัน และสร้างความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้บริหาร ครู และผู้เรียน และ (3) การสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 3. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า "รูปแบบการพัฒนาแนวดิ่งเพื่อสร้างผู้นำแห่งอนาคตในการพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้" ซึ่งเน้นการพัฒนาตนเองด้านการคิดและการปฏิบัติในการบริหารโรงเรียนตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และวิเคราะห์สังเคราะห์เชิงระบบในการแสวงหาทางเลือกใหม่ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามวิธีการลีน ซิกซ์ ซิกมา, สุธารัตน์ แถวโสภา Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามวิธีการลีน ซิกซ์ ซิกมา, สุธารัตน์ แถวโสภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาและแนวคิดลีน ซิกซ์ ซิกมา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามวิธีการลีน ซิกซ์ ซิกมา 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามวิธีการลีน ซิกซ์ ซิกมาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ(Multiphase mixed methods design)ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quatitative research)และวิธีการผสมวิธี(Mixed methods research) กลุ่มตัวอย่างเป็น โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีจำนวนนักเรียน 1-120 คน จำนวน 395 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีPNIModified ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 งาน และแนวคิดลีน ซิกซ์ ซิกมา มี 5 ขั้นตอน 2) สภาพปัจจุบันส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์สภาพภายในการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคลเป็นจุดอ่อน และสภาพภายนอกปัจจัยด้านสังคมและปัจจัยด้านเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม ในส่วนปัจจัยทางด้านการเมืองและปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นโอกาส สภาพปัจจุบันส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารตามวิธีการลีน ซิกซ์ ซิกมา มี ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดปัญหาและการควบคุมระบบ เป็นจุดอ่อน 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามวิธีการลีน ซิกซ์ ซิกมา มี 48 วิธีดำเนินการ 8 กลยุทธ์รองและ 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) พัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการกำหนดปัญหาให้สอดคล้องกับความต้องการมี 2 กลยุทธ์รอง และ 12 วิธีดำเนินการ 2) เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบควบคุมการใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่ามี 2 กลยุทธ์รอง และ12 วิธีดำเนินการ3) ปรับกระบวนการมอบหมายงานครูและบุคลากรเพื่อส่งเสริมการทำงานตามขอบข่ายงานและสอดคล้องกับความถนัดและความสามารถในการปฏิบัติงาน มี 2 กลยุทธ์รอง …


นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ, สุภัชชา โพธิ์เงิน Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ, สุภัชชา โพธิ์เงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและกรอบแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ประชากรคือ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 290 โรงเรียน และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลคือ บุคลากรภายในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนละ 11 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและวิธีการเก็บข้อมูลคือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรม และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 ด้าน (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การวัดผลประเมินผลการเรียน และ (4) การแนะแนว ส่วนกรอบแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ (1) ความตระหนักในงานอาชีพ (2) การสำรวจโลกของงานอาชีพ (3) การสัมผัสงานอาชีพ และ (4) การเตรียมตัว เข้าสู่งานอาชีพ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยทั้งสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เหมือนกันจากมากไปน้อย คือ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการแนะแนว และด้านการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ เมื่อพิจารณาร่วมกับองค์ประกอบด้านการศึกษาเพื่ออาชีพพบว่า ทุกด้านของการบริหารวิชาการมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนักในงานอาชีพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนการมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เตรียมตัวเข้าสู่งานอาชีพมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นคือ “สร้างความพร้อมเข้าสู่งานอาชีพ” (Creating Career Readiness : CCR) ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ …