Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 155

Full-Text Articles in Entire DC Network

Effects Of Extensive Reading On English Reading Comprehension Of Thai Vocational Students, Runyarut Singkum Jan 2019

Effects Of Extensive Reading On English Reading Comprehension Of Thai Vocational Students, Runyarut Singkum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) investigate the effects of extensive reading on English reading comprehension of Thai vocational students, 2) explore the opinions of Thai vocational students toward extensive reading. Fifty-one students majoring in Computer, Information Technology, and General Management from a public college in Thailand participated in this study for 12 weeks. The instruments used to collect data were the Test of English for International Communication (TOEIC) reading test, and extensive reading motivation questionnaire. The TOEIC reading test was used to investigate students’ reading while the extensive reading motivation questionnaire was used to explore their motivation toward Extensive Reading. …


รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์, เทพยพงษ์ เศษคึมบง Jan 2019

รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์, เทพยพงษ์ เศษคึมบง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเอกสารและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ในโลกเสมือน การคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน และส่วนประกอบที่สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ของทีมเสมือน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ฯ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 33 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 67 คน และจัดทีมแบบคละความสามารถออกเป็น 14 ทีม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ ระบบการจัดการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3 มิติ (โลกเสมือน) และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน แบบสังเกตการมีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน แบบประเมินคุณภาพของผลงานการจัดนิทรรศการทางการศึกษาในโลกเสมือนของนักศึกษา และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โลกเสมือน 2) การจัดสภาพแวดล้อม 3 มิติ 3) เครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 4) กิจกรรมการเรียนรู้ในโลกเสมือน 5) บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง 6) ส่วนประกอบที่สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ของทีมเสมือน และ 7) การประเมินผล และประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) เตรียมการในชั้นเรียนปกติ 2) ร่วมเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 2.1) ร่วมสำรวจตรวจตราสถานการณ์ 2.2) ร่วมคิดร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ 2.3) ร่วมค้นคว้าสืบเสาะข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ 2.4) ร่วมเสนอแนวทางในการแก้ไขสถานการณ์ 2.5) ร่วมคัดร่วมเลือกวิธีการแก้ไขสถานการณ์ และ 2.6) ร่วมสรุปแนวคิดการแก้ไขสถานการณ์ …


มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่21, ทองจันทร์ เติมจิตร Jan 2019

มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่21, ทองจันทร์ เติมจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ มาตรฐาน ตัวชี้วัด การจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อจัดทำและนำเสนอมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 วิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสาร วรรณกรรม งานวิจัย และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ระยะที่2 จัดทำมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ระยะที่3 การศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 255 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า (1) มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มี 4 มาตรฐาน 13 องค์ประกอบ 43 ตัวชี้วัด ประกอบด้วยมาตรฐานที่ 1) ด้านการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 มี 4 องค์ประกอบ 1) กระบวนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 2) ความรู้ ทักษะ คุณธรรม 3) การพัฒนาผู้สอน 4) การพัฒนาผู้เรียน มี 14 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 2) ด้านการใช้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) การใช้สื่อการเรียนรู้ 2) เทคโนโลยีการเรียนรู้ 3) การประเมินสื่อการเรียนรู้ มี 12 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่3) ด้านการจัดการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ในประเทศไทย : การวิเคราะห์อภิมาน, ธนกร ชัยสิทธิ์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ในประเทศไทย : การวิเคราะห์อภิมาน, ธนกร ชัยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์สรุปผลเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของการวิจัยทางด้านการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) เพื่อวิเคราะห์หาค่าขนาดอิทธิพลจากปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ของงานวิจัยทางด้านการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ และ 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อสรุปการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ จากการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยตามองค์ประกอบกรอบแนวคิดพื้นฐานของการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยงานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ตีพิมพ์ระหว่างปี 2552-2562 จำนวน 66 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า 1.งานวิจัยทางด้านการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่นำมาวิเคราะห์ครั้งนี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2552-2562 ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ผลิตและเผยแพร่ในปี พ.ศ.2558 มากที่สุด (21.2%) ด้านสถาบันที่ผลิตงานวิจัยพบว่า เป็นงานวิจัยที่ผลิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากร มากที่สุด (19.7%) ด้านระดับงานวิจัย พบว่าเป็นงานวิจัยที่ทำขึ้นในรูปแบบวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญามหาบัณฑิตมากที่สุด (69.7%) 2. งานวิจัยที่มีข้อมูลเพียงพอในการนำมาวิเคราะห์หาค่าขนาดอิทธิพล จำนวน 66 เรื่อง มีจำนวนค่าขนาดอิทธิพลจากระดับชุดการทดสอบสมมติฐาน 149 ค่า มีค่าเฉลี่ยของค่าขนาดอิทธิพลโดยรวมที่มีผลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้โดยรวมในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ( d = 1.50) 3.ผลการสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตามองค์ประกอบแนวคิดพื้นฐาน 3 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านศาสตร์การสอนหรือวิธีการสอนพบว่า ศาสตร์การสอนที่นำมาใช้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้มากที่สุดคือ รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ ซึ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับสูงมาก 2)ด้านเนื้อหาวิชาที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ คือ มีการใช้เนื้อหาวิชาในกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับที่สูงมาก 3)ด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านระบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีการใช้ระบบปฏิบัติการ Android ในการจัดระบบการเรียนการสอนมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ด้านเทคโนโลยีด้านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีการใช้ VDO ในการเรียนการสอนมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง ด้านระดับขั้นของการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ช่วง 30–79% ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง และรูปแบบเนื้อหาบทเรียนที่เรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในระดับปานกลาง


การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นลิน คำแน่น Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นลิน คำแน่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนฯ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาและเกมิฟิเคชัน และผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงคำนวณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบฯ เว็บการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบการคิดเชิงคำนวณ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เป้าหมายการเรียน 4) เกมิฟิเคชัน 5) แหล่งเรียนรู้และเครื่องมือ และ 6) การวัดและประเมินผล โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดปัญหา 2) การทำความเข้าใจปัญหา 3) การดำเนินการค้นคว้าข้อมูล 4) การวางแผนและร่างแบบจำลอง 5) การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม และ 6) การนำเสนอผลงานและสะท้อนผล ผลการทดลองการใช้รูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคำนวณก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น, ภัทรา จันทร์เกิด Jan 2019

การพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น, ภัทรา จันทร์เกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดการสอนงานฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาผลการใช้ชุดการสอนงาน คือ หัวหน้างานระดับปฏิบัติการส่วนงานคลังสินค้า เขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองจำนวน 20 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดการสอนงาน แบบทดสอบวัดความสามารถในการตัดสินใจ แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน แบบประเมินตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนงานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) คู่มือ (2) สื่อ (3) เนื้อหา (4) กิจกรรม (5) แบบวัด มีขั้นตอนกิจกรรม 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) นำเสนอสถานการณ์ (2) ระบุปัญหาและขอบเขตที่ศึกษา (3) รวบรวมข้อมูล (4) สร้างทางเลือก (5) วิเคราะห์ทางเลือก (6) ตัดสินใจเลือก นอกจากนี้พบว่า ประสบการณ์การทำงานและพื้นฐานด้านสื่อเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรม โดยผลการใช้ชุดการสอนงานฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตัดสินใจหลังใช้ชุดการสอนสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา, สุธิดา การีมี Jan 2019

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา, สุธิดา การีมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่เอื้ออำนวยและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ มีตัวอย่างวิจัยดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และคุณครูระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 17 คน 2) ครูระดับประถมศึกษา จำนวน 8 คน เข้าร่วมวิจัยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น รวม 32 สัปดาห์ และ 3) ครู 84 คน จากโรงเรียนที่ทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 2) แบบทดสอบวัดความรู้ 3) แบบประเมินตรวจสอบรายการฯ 4) แบบประเมินรูบริกส์ และ 5) แบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ทีมเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวก ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ปฏิสัมพันธ์และบริบทของโรงเรียน การดำเนินกิจกรรมของชุมชน แรงจูงใจ และแหล่งเรียนรู้ และมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อม 2) วางแผนร่วมกัน 3) วิเคราะห์และออกแบบร่วมกัน 4) นำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) จัดการเรียนรู้และสังเกตการสอน และ 6) สะท้อนคิด 2. คะแนนประเมินหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษาจากแบบประเมินรูบริกส์ระหว่างรอบที่ 1 และรอบที่ 2 พบว่า คุณครูที่เข้าร่วมวิจัยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงสมรรถนะทางด้านการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาและบางสมรรถนะมีผลคะแนนเฉลี่ยทั้งที่ลดลงและคงเดิม รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ส่งผลให้คุณครูในระดับชั้นเดียวกันได้มีปฎิสัมพันธ์กันที่มีการผสมผสานทั้งแบบเผชิญหน้าร่วมกับการใช้ระบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหา อีกทั้งช่วยให้คุณครูมีเพื่อนร่วมปรึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการระหว่างวิชา 3. ปัจจัยทางด้านโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่เอื้อให้ผู้สอนรวมกลุ่มเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาทางวิชาชีพ การให้ความร่วมมือกับเพื่อนครูในระดับชั้นเดียวกันเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2) ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีที่มีต่อชุมชนแห่งการเรียนรูทางวิชาชีพแบบออนไลน์ ได้แก่ การใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการเรียนรู้ระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับการเอื้ออำนวยและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดของการพัฒนาบทเรียนร่วมกันภายในโรงเรียน …


การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแบบช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสถานการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการทางการเงินสำหรับเยาวชน, อลิษา เมืองผุด Jan 2019

การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแบบช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสถานการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการทางการเงินสำหรับเยาวชน, อลิษา เมืองผุด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นและองค์ประกอบเชิงยืนยันของการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ 2) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ และ 4) เพื่อนำเสนอโมบายแอปพลิเคชันฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโมบายฯ คือผู้ทรงคุณวุฒิ 18 ท่าน ครู 10 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 980 คน ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนทั่วพื้นที่ 5 ภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินคุณภาพระบบ กลุ่มทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรับรองระบบฯ โมบายแอปพลิเคชันฯ แบบวัดสมรรถนะการจัดการทางการเงิน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การจัดลำดับความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล และการทดสอบค่าที (T-Test) ผลการวิจัยพบว่า ระบบโมบายแอปพลิเคชันฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ 2) กลยุทธ์เสริมการเรียนรู้ผ่านโมบาย 3) การติดต่อสื่อสารสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ 4) กิจกรรมและสื่อการเรียนการสอน และ 5) แหล่งข้อมูลการเรียนรู้ โดยมี 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) เกริ่นนำและให้ความรู้ 2) ศึกษาสถานการณ์เรียนรู้ตามสภาพจริง 3) ศึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหา 4) เสริมความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญผ่านโมบายโดยการเสริมศักยภาพแบบยืดหยุ่น (Soft Scaffolding) และแบบคงที่ (Hard Scaffolding) 5) แบ่งปันในสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ 6) อภิปรายและสรุปผลบนสื่อสังคม และ 7) การวัดและประเมินผล ผลการทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการทางการเงินหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการทางการเงินก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และหลังจากการวิเคราะห์ระดับความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการทางการเงิน พบว่า ผู้ที่มีจำนวนความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้น้อยก็จะส่งผลให้มีคะแนนสมรรถนะการจัดการทางการเงินน้อยไปด้วย แต่ในทางกลับกันผู้เรียนที่มีจำนวนความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้มากส่งผลให้มีคะแนนสมรรถนะการจัดการทางการเงินมากไปด้วย


โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ, อัญญารัตน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา Jan 2019

โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ, อัญญารัตน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ (NADDIA Model) โดยกลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาความคิดเห็น ได้แก่ ผู้บริหาร หรือผู้จัดการฝ่ายการบริการบนเครื่องบินจำนวน 5 คน หัวหน้าฝ่ายการบริการบนเครื่องบิน หรือผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 39 คน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 296 คนและผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 18 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมฯ ได้แก่ ผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจากบริษัทการบินไทย สายการบินเดลต้าแอร์ไลน์ และลุฟท์ฮันซ่า จำนวนทั้งหมด 6 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับทดลองออกแบบแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเครื่องมือวัด ตามโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์ฯ จำนวน 1 คน ทดลองฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมฯ กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จำนวน 12 คน ระยะเวลา 7 สัปดาห์ วิเคราะห์ผลด้วยค่าเฉลี่ยของคะแนน (Paired Samples t-Test) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ทีม มุ่งเน้นการออกแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ (2) กลยุทธ์ ประกอบด้วยการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเขียนแผนภูมิวงจรปัญหา การตั้งคำถามตามกฎพื้นฐานการคิดดีเอสอาร์พี (DSRP) และการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ (3) ระบบจัดการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์สำหรับจัดการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ (4) สื่อและเนื้อหา สื่อสำหรับการฝึกอบรมทั้งในชั้นเรียนและผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ ห้องเรียนออนไลน์ ห้องสนทนาเฉพาะกลุ่ม จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เว็บสำเร็จรูปสำหรับการสื่อสารและประกาศข้อมูลเฉพาะกลุ่ม และทรัพยากรการเรียนรู้ที่เอื้อต่อทักษะการคิดเชิงระบบ และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ แผนการฝึกอบรม สไลด์ประกอบการฝึกอบรม เอกสารการฝึกอบรม คู่มือการใช้งานโปรแกรม ภาพประกอบ ใบงานสรุปประเด็น แบบฝึกหัดวัดความเข้าใจผ่านระบบออนไลน์ ลิงก์เกี่ยวกับแนวคิดของกฎพื้นฐานการคิดดีเอสอาร์พี (DSRP) ลิงก์เกี่ยวกับแนวคิดการเขียนแผนภูมิวงจรปัญหา เว็บการสร้างวีดิทัศน์อิงกรณีศึกษา แบบประเมินรูบริกในการออกแบบแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเครื่องมือวัดสำหรับวัดผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และแบบประเมินตนเองก่อนและหลังการฝึกอบรมเกี่ยวกับความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ สำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และขั้นตอนการออกแบบโมเดลฯ 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การจัดการความจำเป็น (N) …


การพัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, จิราภรณ์ มีสง่า Jan 2019

การพัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, จิราภรณ์ มีสง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา 2) พัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา 3) ประเมินประสิทธิภาพคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 1,631 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบหลายตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ตรวจสอบโมเดลการวัด ได้แก่ Chi-Square, GFI, AGFI และ RMSEA สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก, ค่าพารามิเตอร์ความยาก, INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, G2, AIC, และ BIC ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษามี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square= 22.23, df=16, p=0.14, GFI=0.99, AGFI=0.98, RMSEA=0.02) 2. คลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1. การจัดการผู้ใช้งาน 2. การจัดการข้อสอบ 3. การจัดการการสอบ 4. การประเมินผลการสอบ และ 5. การจัดการคะแนน ซึ่งคลังข้อสอบมีข้อสอบจำนวน 279 ข้อ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 มีค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์ความยากเท่ากับ 0.069 และค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์อำนาจจำแนกเท่ากับ 0.862 เมื่อสุ่มข้อสอบมาจากคลังข้อสอบเพื่อจัดชุด และตรวจสอบคุณภาพแบบวัด มีจำนวน 78 ข้อ มีค่า MNSQ อยู่ระหว่าง .75 ถึง 1.19 อยู่ในเกณฑ์ทุกข้อ มีค่าความเที่ยงแบบ EAP ทั้งฉบับเท่ากับ 0.707 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์พหุมิติ พบว่า โมเดลการวัดแบบพหุมิติ (G2 = 53729.526, …


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศิรดา กันอ่ำ Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศิรดา กันอ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 5) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ กรุงเทพมหานคร จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการมีเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทเศรษฐกิจและสังคมไทยและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย (2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยและเสนอผลการทดลองใช้ (3) นำเสนอปัจจัยเงื่อนไขและแนวทางในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้ในอนาคต โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมจากผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นจำนวน 124 คน (2) ศึกษาสภาพเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยประกอบด้วยนักศึกษาคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 1,000 คน และ 1,650 คน ตามลำดับ (3) ทดลองใช้โปรแกรมและศึกษาปัจจัยเงื่อนไขและนำเสนอแนวทางในการนำโปรแกรมไปใช้ในอนาคต ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) องค์ประกอบของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทสังคมไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 2) องค์ประกอบด้านความรู้สึกต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และ 4) องค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อม ในส่วนของแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จมีลักษณะร่วมกันที่ชัดเจน คือ มีการเรียนรู้จากตัวแบบที่เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองและนำภาพลักษณ์เชิงบวกของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาใช้เป็นแรงผลักดันตนเองให้ได้เป็นอย่างตัวแบบนั้น และใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เนื่องจากเป็นช่องทางข่าวสารที่สำคัญและทันสมัย (2) ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ กลุ่มทดลองมีระดับเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในองค์ประกอบด้านความรู้สึกต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และองค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้พบว่า ปัจจัยได้แก่ 1) ผู้สอนเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสิ่งที่จะสอน 2) กลุ่มผู้เรียนมีความสนใจในกลุ่มวิสาหกิจที่คล้ายคลึงกัน 3) เนื้อหาต้องมีความทันสมัยตรงกับความสนใจของผู้เรียนและมีความยืดหยุ่น 4) กิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน 5) ระยะเวลาเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน และ เงื่อนไขได้แก่ 1) จำนวนผู้เรียนมีความเหมาะสมกับผู้สอน 2) ผู้สอนต้องประเมินตัดสินผู้เรียนในเชิงบวกมากกว่าตำหนิเชิงลบ


ผลการใช้กลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5e ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัตนเกล้า ประดิษฐ์ด้วง Jan 2019

ผลการใช้กลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5e ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัตนเกล้า ประดิษฐ์ด้วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้กลยุทธ์ด้วยแนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 53 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ที่มีค่าความเที่ยงฉบับก่อนเรียนเท่ากับ 0.64 ฉบับหลังเรียนเท่ากับ 0.67 และ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.46 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การศึกษาพัฒนาการ (normalized gain) และขนาดของผล (effect size) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง, ปณาลี สติคราม Jan 2019

การพัฒนาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง, ปณาลี สติคราม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นโดยมีรูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลความสามารถในการ การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมของความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี 2. คะแนนความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัด การเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน, ชัยณรงค์ ขำบัณฑิต Jan 2019

ผลการใช้โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน, ชัยณรงค์ ขำบัณฑิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่านในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายาม และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครองหลังจากการใช้โปรแกรมฯ การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดี่ยวแบบหลายเส้นฐานข้ามบุคคล แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเส้นฐาน และระยะได้รับการช่วยเหลือ รวมทั้งหมด 20 ครั้ง ครั้งละ 40 นาทีตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมสาธิตศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 คน ซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจากแบบวัดความสามารถในการอ่านและการเสนอชื่อจากครูประจำชั้นและครูสอนวิชาภาษาไทย เครื่องมือวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือทดลอง ได้แก่ โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายาม และเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น ใช้สถิติบรรยายวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนต่ำสุด-สูงสุด วิเคราะห์ด้วยกราฟเส้นเพื่อแสดงพัฒนาการของทักษะการอ่านสะกดคำ และวิเคราะห์ประเด็นความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวอย่างวิจัยทั้ง 3 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำเพิ่มขึ้นหลังได้รับโปรแกรมฯ ซึ่งในระยะได้รับการช่วยเหลือมีคะแนนการอ่านสะกดคำเพิ่มขึ้นสูงกว่าระยะเส้นฐาน และ 2) ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อโปรแกรมฯ คือ มีผลเชิงบวกต่อการใช้โปรแกรมฯ และเห็นสมควรนำไปใช้ต่อเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน


แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต, พงศกร จอมแก้ว Jan 2019

แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต, พงศกร จอมแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนจะเข้จำนวน 6 คน บัณฑิตเครื่องมือเอกจะเข้ จำนวน 14 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกประเภท การตีความ การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอน (1) ด้านวัตถุประสงค์ครอบคลุมตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในด้านทักษะพิสัย พุทธิพิสัย และจิตพิสัย (2) ด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วย ลักษณะการบรรเลง วิธีการบรรเลง บทเพลง การแสดง กระบวนการถ่ายทอด และบริบทด้านอื่น ๆ (3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้วิธีการที่หลากหลาย เชื่อมโยงระหว่างภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี และมีความยืดหยุ่น (4) ด้านสื่อการสอน ใช้เครื่องดนตรี สิ่งพิมพ์ สื่อผสมและเทคโนโลยี ห้องเรียนดนตรี และอื่น ๆ (5) ด้านการวัดและประเมินผลครอบคลุมในช่วงเวลาก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ด้วยวิธีการทดสอบทักษะปฏิบัติ การประเมินผลตามสภาพจริง และอื่น ๆ ประเมินผลแบบอิงเกณฑ์และเน้นทั้งกระบวนการและผลงาน 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ ควรพัฒนาทักษะการบรรเลงจะเข้และการแสดงดนตรี องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการสอนทักษะและความรู้ของจะเข้ และเจตคติต่อการเรียนทักษะปฏิบัติจะเข้ 2) เนื้อหาสาระควรกำหนดในด้านลักษณะการบรรเลงจะเข้ วิธีการบรรเลงจะเข้ บทเพลง การแสดง การสอนทักษะและความรู้ของจะเข้ และบริบทด้านอื่น ๆ 3) กิจกรรมการเรียนการสอน ควรใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย เชื่อมโยงระหว่างภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี มีความยืดหยุ่น และส่งเสริมให้ผู้เรียนจัดการแสดงดนตรีในเชิงวิชาการและกึ่งวิชาการ 4) สื่อการสอน ควรใช้เครื่องดนตรี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อผสมและเทคโนโลยี ห้องเรียนดนตรี และอื่น ๆ …


Private School Teacher Development Model Based On The Concepts Of Tpack And Productive Pedagogies, Natthawut Katechaiyo Jan 2019

Private School Teacher Development Model Based On The Concepts Of Tpack And Productive Pedagogies, Natthawut Katechaiyo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research is to 1) study conceptual frameworks of teacher development, TPACK, and productive pedagogies. 2) study the current and desirable states of private school teacher development model based on the concepts of TPACK and productive pedagogies. And 3) develop a private school teacher development model based on the concepts of TPACK and productive pedagogies. This research applied multiphase mixed methods design. The population was 3,776 schools under the office of private education commission and the sample were 163 schools chosen through multi-stages random sampling method based on geographical locations, urban and rural areas, and school size. …


Early Childhood Learning Management Policy On Bilingual Proficiency, Methavee Chotchaipong Jan 2019

Early Childhood Learning Management Policy On Bilingual Proficiency, Methavee Chotchaipong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were: 1) to explore the current state and the desirable state of early childhood learning management policy on bilingual proficiency to identify the policy areas or identifying the problems and the priority needs; 2) to investigate school best practices on bilingual proficiency to identify various alternative policies as well as to assess the alternatives, applies each of the decision criteria to each alternative and considering the benefits and drawbacks of each alternative; and 3) to develop the proposed policy for Early Childhood Learning Management on Bilingual Proficiency by selecting the most appropriate or suitable and …


นวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว, จารุวรรณ ไบรัม Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว, จารุวรรณ ไบรัม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย และกรอบแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว 2) ตรวจสอบความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว และ3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนที่เป็นสมาชิกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 97 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูใหญ่ฝ่ายไทย หัวหน้าหมวดภาษาไทย หรือครูภาษาไทยที่สอนในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวนทั้งสิ้น 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิด แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล และกรอบแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่วประกอบด้วย 3 กลุ่มคุณลักษณะหลักดังนี้ (1) กลุ่มคุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยคือ (1.1) ความมุ่งมั่นในเป้าหมาย (1.2) การคิดวิเคราะห์ (2) กลุ่มคุณลักษณะด้านจิตพิสัย ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยคือ (2.1) ความใฝ่รู้ใคร่เรียนเรื่องใหม่ๆ (2.2) การยอมรับฟังคำวิจารณ์ (3) กลุ่มคุณลักษณะด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยคือ (3.1) การมองหาโอกาสที่ท้าทาย (3.2) ความมีไหวพริบ (3.3) ความไวและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (3.4) การสื่อสารคล่อง 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมฯสูงสุดตามลำดับดังนี้ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล คุณลักษณะคล่องแคล่วที่จำเป็นต้องพัฒนามากที่สุดคือ การมองหาโอกาสที่ท้าทาย การคิดวิเคราะห์ ความมีไหวพริบและการยอมรับฟังคำวิจารณ์ 3) นวัตกรรมการบริหารโปรแกรมภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยตามแนวคิดคุณลักษณะผู้เรียนที่มีความคล่องแคล่ว คือ นวัตกรรมการบริหารโปรแกรมไทยสว็อบค์ (SWABK) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะการมองหาโอกาสที่ท้าทาย การคิดวิเคราะห์ ความมีไหวพริบและการยอมรับฟังคำวิจารณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) การพัฒนาหลักสูตรที่มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยและสังคมโลกและมีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยกับสภาวการณ์โลก (2) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการจัดทำสื่อการเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (3) การประเมินผล ที่เน้นการนำผลการประเมินหลักสูตรไปพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีความพร้อมต่อโลกอนาคต


แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์, พชร สินสมรส Jan 2019

แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์, พชร สินสมรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ เอกสารสำคัญของโรงเรียนเทพศิรินทร์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1) แผนปฏิบัติการโรงเรียนเทพศิรินทร์ ปี 2558-2560 2) รายงานประจำปี 2558-2560 โรงเรียนเทพศิรินทร์ และ 3) งบเดือนประจำเดือนเมษายน 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 รายการ ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของผลผลิตและกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ 2) แบบคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และฐานนิยม (Mode) ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์จำแนกผลผลิตตามแผนการเรียน แบ่งออกเป็น 11 ผลผลิต ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมี 4 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตแผนทั่วไป ผลผลิตแผนGifted ผลผลิตแผนEP และผลผลิตแผนMEP และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี 7 ผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตแผนวิทย์ทั่วไป ผลผลิตแผนวิทย์Gifted ผลผลิตแผนวิทย์IEP ผลผลิตแผนศิลป์คำนวณ ผลผลิตแผนศิลป์ภาษาจีน ผลผลิตแผนศิลป์ภาษาที่ 3 อื่น และผลผลิตแผนศิลป์ทั่วไป โดยที่ผลผลิตทุกผลผลิตจะต้องผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งกิจกรรมโรงเรียนเทพศิรินทร์ สามารถจัดประเภทได้ 3 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมหลักทางตรง กิจกรรมหลักทางอ้อม และกิจกรรมสนับสนุน ซึ่งขั้นตอนการคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม สามารถดำเนินการได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ …


นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์, ประภัสสร ดิษสกุล Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์, ประภัสสร ดิษสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ ประชากร คือ โรงเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative Based Learning) ของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 82 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 246 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน และกลุ่มครูผู้สอน โรงเรียนละ 2 คน และศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีจากโรงเรียนกรณีศึกษาจำนวน 5 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย นโยบาย การบริหารจัดการ สภาพแวดล้อมการ เรียนรู้ หลักสูตรและการสอน การพัฒนาครู มาตรฐานและการประเมินผล และการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนกรอบแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจ การฝึกใช้จินตนาการ การค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การกระตุ้นความคิดและการแก้ปัญหา กิจกรรมการเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน และการประเมินผลงาน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์พบว่า สภาพปัจจุบันที่มีค่าเฉลี่ยอยู่สูงที่สุดคือ การพัฒนาครู รองลงมาคือ มาตรฐานและการประเมินผล และหลักสูตรและการสอน ตามลำดับ ในขณะที่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่มีค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันสูงที่สุดคือ กิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาคือการค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ร่วมกันตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีส่วนร่วมของชุมชน รองลงมาคือ การพัฒนาครู และหลักสูตรและการสอน ตามลำดับ สำหรับการพัฒนานักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดคือ กิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาคือการเรียนรู้ร่วมกัน และการกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ การบริหารโรงเรียนที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การมีส่วนร่วมของชุมชน รองลงมาคือ นโยบาย และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ …


นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน, รัสวดี ควรทรงธรรม Jan 2019

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน, รัสวดี ควรทรงธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน แนวคิดคุณภาพจากภายในและการสร้างนวัตกรรม 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ กลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 222 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 222 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ จำนวน 11 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินกรอบความคิด แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ประกอบด้วยการบริหารบุคคลด้านการพัฒนาครูและการบริหารวิชาการด้านการพัฒนานักเรียน การบริหารบุคคลด้านการพัฒนาครูประกอบด้วย การพัฒนาระหว่างการปฏิบัติงานและการพัฒนานอกสภาพแวดล้อมการทำงาน การบริหารวิชาการด้านการพัฒนานักเรียน ประกอบไปด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดคุณภาพจากภายใน ประกอบไปด้วย การรับรู้สิ่งแวดล้อมที่ท้าทายความสามารถ พฤติกรรมในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย สมรรถนะที่แท้จริง มุมมองภายใต้สถานการณ์ ความเชื่อในความสามารถของตนและการยึดมั่นในภาระหน้าที่ การสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย การระบุปัญหา การค้นหาแนวทางแก้ปัญหา และการพัฒนานวัตกรรม 2) ความต้องการจำเป็นพบว่าการบริหารบุคคลด้านการพัฒนาครู ในส่วนของการพัฒนานอกสภาพแวดล้อมการทำงาน ในรูปแบบของการฝึกอบรมออนไลน์นั้นมีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ในขณะที่การบริหารวิชาการด้านการพัฒนานักเรียนนั้น การวัดและประเมินผลมีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด 3) นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน ประกอบด้วย 2 นวัตกรรม คือ (1) “นวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพภายในของครูแบบ 2 วงรอบด้วยระบบออนไลน์” เพื่อผลลัพธ์การยกระดับคุณภาพจากภายในของครูที่เป็นจุดอ่อน 5 ด้าน คือ พฤติกรรมในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย สมรรถนะที่แท้จริง มุมมองภายใต้สถานการณ์ ความเชื่อในความสามารถของตนและการยึดมั่นในภาระหน้าที่ และ (2) “นวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพภายในของนักเรียนแบบ 2 วงรอบด้วยการวัดและประเมินผล” เพื่อผลลัพธ์การยกระดับคุณภาพจากภายในของนักเรียนที่เป็นจุดอ่อน 4 ด้าน คือ พฤติกรรมในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย สมรรถนะที่แท้จริง …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, อภิรดี จริยารังษีโรจน์ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, อภิรดี จริยารังษีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการ และครูผู้สอนในสาขาวิชา รวมจำนวน 104 คน ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนใน 3 จังหวัด จังหวัดชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา รวมจำนวน 25 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 ด้านคือ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง กรอบแนวคิดคุณลักษณะแรงงานที่มีนวัตกรรมในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ใช้กรอบแนวคิดคุณลักษณะแรงงานที่มีนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วย 9 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) กล้ารับความเสี่ยง จากการดำเนินการที่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ 2) เชื่อมั่นในตนเอง และแสดงออกถึงศักยภาพของตัวเอง 3) สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และไม่กลัวปัญหาที่ซับซ้อน 4) มีแรงกระตุ้นในการทำงานจากภายใน และสามารถจูงใจหรือชักนำผู้อื่นให้เกิดการทำงานร่วมกันได้ 5) สามารถวิเคราะห์ตนเองได้ว่าไม่รู้อะไร ใฝ่รู้ และเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดชีวิต 6) อดทน มุ่งมั่น และพากเพียรในการทำงาน 7) มีจินตนาการและคิดสร้างสรรค์ 8) สามารถควบคุมอารมณ์ และมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ 9) มีภาวะผู้นำในการทำงานและสามารถเป็นผู้นำทีมได้ และกรอบแนวคิดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 10 อุตสาหกรรมดังนี้ 1) ยานยนต์สมัยใหม่ 2) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3) การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) …


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อรพิน รอว์ลี่ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อรพิน รอว์ลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารโรงเรียน และแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิต 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนเอกชนที่ตั้งในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 438 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) การบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และงานกิจการนักเรียน 2) การพัฒนาทักษะชีวิต ประกอบด้วย ด้านจิตใจ (Heart) ด้านสมอง (Head) ด้านการปฏิบัติการ (Hands) และด้านสุขภาพ (Health) (2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีการปฏิบัติสูงที่สุด ในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านจิตใจเรื่องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ในขณะที่ด้านการวัดผลและประเมินผล มีการปฏิบัติน้อยที่สุดในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสมองเรื่องการคิด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีความต้องการสูงที่สุดในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสุขภาพเรื่องสุขภาพจิต ในขณะที่ด้านงานกิจการนักเรียนมีความต้องการน้อยที่สุด ในการพัฒนาทักษะชีวิตด้านสมองเรื่องการจัดการ (3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC: กล้าคิดกล้าทำ สุขภาพจิตดี มีน้ำใจเอื้ออาทร กลยุทธ์หลักที่ 2. ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC: กล้าคิด สุขภาพแข็งแรง กล้าทำ มีน้ำใจเอื้ออาทร กลยุทธ์หลักที่ 3 เร่งพัฒนารูปแบบการวัดผลและประเมินผลนักเรียนโดยเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิตเยาวชน EEC : กล้าคิด กล้าทำ สัมพันธภาพดี …


แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากระดับประถมศึกษาสู่ระดับมัธยมศึกษา : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติ, โชติกา กังสนันท์ Jan 2019

แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากระดับประถมศึกษาสู่ระดับมัธยมศึกษา : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติ, โชติกา กังสนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาทางการเรียนที่เกิดขึ้นกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นนักเรียนไทย ในโรงเรียนนานาชาติ (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมแก่นักเรียนในรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากระดับประถมศึกษาสู่ระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างคำถาม (2) แบบประเมินรับรองแนวทางการส่งเสริมความพร้อมสำหรับผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่สอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนนานาชาติ ประกอบด้วย โรงเรียนนานาชาติระบบอังกฤษ 2 โรงเรียน โรงเรียนนานาชาติระบบอเมริกัน 2 โรงเรียน โรงเรียนนานาชาติระบบสิงคโปร์ 2 โรงเรียน และโรงเรียนนานาชาติระบบ International Baccalaureate 1 โรงเรียน จำนวนทั้งหมด 7 โรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาทางการเรียนที่เกิดขึ้นกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นนักเรียนไทย ในโรงเรียนนานาชาติ มี 3 ด้าน ได้แก่ (1) พื้นฐานทางวิชาการ (2) สังคมและวัฒนธรรม และ (3) สภาพอารมณ์และจิตใจของนักเรียน และแนวทางการส่งเสริมความพร้อมได้ดังนี้ (1) แนวทางในการส่งเสริมความพร้อมด้านพื้นฐานทางวิชาการ (2) แนวทางการส่งเสริมความพร้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม และ (3) แนวทางการส่งเสริมความพร้อมด้านสภาพอารมณ์และจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน และการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง


ผลการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา, พัฒนาภรณ์ มุสิกะสาร Jan 2019

ผลการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา, พัฒนาภรณ์ มุสิกะสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สะเต็มศึกษาเป็นแนวคิดที่เหมาะกับการเรียนรู้ของนักเรียนในยุคปัจจุบัน การให้ความรู้กับครูผ่านการอบรมเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวจึงมีความสำคัญในการช่วยให้นักเรียนได้ใช้ทั้งความรู้และทักษะควบคู่กันไป วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของมาตรฐานครูที่ได้รับหลังการอบรมที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ 2) เพื่อศึกษาผลของมาตรฐานครูจากการนำสิ่งที่ได้รับจากการอบรมของครูผู้สอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 คือ ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในประเทศไทย ที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 156 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าความถี่ (f ) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มที่ 2 คือ ครูผู้สอนที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ศูนย์สะเต็มศึกษาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา) จำนวน 2 โรงเรียน โดยสัมภาษณ์และสังเกตการสอนครูผู้สอนโรงเรียนละ 2 คน จำนวนทั้งสิ้น 4 คน รวมทั้งสัมภาษณ์นักเรียนโรงเรียนละ 5 คน จำนวนทั้งสิ้น 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา มีการปฏิบัติตามมาตรฐานครูของของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 (S.D.=0.76) 2) ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาหลังการนำสิ่งที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในชั้นเรียนประถมศึกษาตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา มีระดับการปฏิบัติปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.59 (S.D.=0.78)


ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษา, สุวิมล สาสังข์ Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษา, สุวิมล สาสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมีที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมแบ่งเป็น แผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมรวมกับเทคนิคการใช้คำถาม จำนวน 10 แผน และแผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพียงอย่างเดียว จำนวน 10 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม


การพัฒนาเครื่องมือวัด โมเดลเชิงสาเหตุ และแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่ม, กรวุฒิ แผนพรหม Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือวัด โมเดลเชิงสาเหตุ และแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่ม, กรวุฒิ แผนพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาครูมีสมรรถนะครูสะเต็มที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสะเต็มของนิสิตนักศึกษาครูให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งควรมีแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปปฏิบัติได้ การได้มาซึ่งแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มที่ดีสถาบันผลิตครูหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะครูสะเต็มตามกรอบ TPACK เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มให้มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็ม 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม 3) วิเคราะห์ระดับสมรรถนะครูสะเต็ม สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม และการสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 4) พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม จากผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็มตามกรอบ TPACK-STEM เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 310 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน และความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม SPSS, Mplus และ R ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาสภาพสมรรถนะครูสะเต็มของนิสิตนักศึกษาครู สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม การสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของสมรรถนะครูสะเต็ม เก็บรวบรวมข้อมูลพหุระดับจากนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจำนวน 537 คน ระดับหลักสูตรจากอาจารย์นิเทศก์แต่ละสาขาของนิสิตนักศึกษาครูจำนวน 401 คนจาก 37 มหาวิทยาลัย และระดับโรงเรียนจากครูพี่เลี้ยงของนิสิตนักศึกษาครูจำนวน 486 คนจาก 124 โรงเรียน เพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม และการสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้วยค่าสถิติบรรยาย สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม ด้วยโปรแกรม Mplus และระยะที่ 3 เป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการวิจัยในระยะที่ 2 มาใช้พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มให้มีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. เครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็มที่สร้างขึ้นตามโมเดลการวัดสมรรถนะครูสะเต็มแบบพหุมิติ (multidimensional) มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งความเที่ยง (Cronbach’s alpha= .938 - .953; Omega= .939 - .954) ความตรงเชิงเนื้อหา (IOC= 0.67-1.00) และความตรงเชิงโครงสร้าง (chi-square (93, N=310) …


ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษาสาขาวิจัยการศึกษา : การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความของฐานข้อมูลประเทศไทยและสากล, สุขุมาลย์ หนกหลัง Jan 2019

ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษาสาขาวิจัยการศึกษา : การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความของฐานข้อมูลประเทศไทยและสากล, สุขุมาลย์ หนกหลัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสอดคล้องหลักสูตร และวิทยานิพนธ์ไม่เพียงแต่จะสร้างความมั่นใจในการใช้หลักสูตร แต่จะช่วยปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย ทั้งนี้การวิเคราะห์ความสอดคล้องของหลักสูตรมีข้อมูลที่อยู่ในลักษณะข้อความจึงทำให้การวิเคราะห์มีความยุ่งยากและเสียเวลา การทำเหมืองข้อความจึงเหมาะกับการวิเคราะห์ในบริบทนี้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาของประเทศไทยด้วยทำเหมืองข้อความ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาของสากลด้วยการทำเหมืองข้อความ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์ของสาขาวิจัยการศึกษาประเทศไทยและสากล 4) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะด้านการสอนของอาจารย์ คุณลักษณะด้านการวิจัยของอาจารย์ และความสอดคล้องคุณลักษณะของหลักสูตรและคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษา ข้อมูลหลักสูตรและวิทยานิพนธ์ของประเทศไทยเก็บรวบรวมจากเอกสารกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในช่วงปี 2550-2561 และฐานข้อมูล THAILIS ในส่วนของข้อมูลสากลเก็บรวบรวมข้อมูลจากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1–10 ในสาขาจิตวิทยาการศึกษา จาก USNEWS 2019 ด้วยฐานข้อมูล ProQuest และข้อมูลจากเว็บไซต์แต่ละมหาวิทยาลัย การรวบรวมข้อมูลของประเทศไทยมีหลักสูตรที่มีข้อมูลครบถ้วน 8 แห่งและวิทยานิพนธ์ จำนวน 735 เล่ม นอกจานั้นสามารถรวบรวมหลักสูตรจิตวิทยาการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 10 อันดับของโลกได้จำนวน 7 หลักสูตรและวิทยานิพนธ์จำนวน 763 เล่ม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำเหมืองข้อความ การวิเคราะห์เครือข่ายข้อความ และการวิเคราะห์สมนัย ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ความสอดคล้องของหลักสูตรและวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาประเทศไทยแต่ละมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกันมากนัก (closeness= .092–.224) โดยมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ที่เน้นการสอนวัดผลและวิจัยการศึกษา มีคำสอดคล้องครอบคลุมระหว่างคำที่ปรากฏในหลักสูตรกับคำที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์มากที่สุด (closeness = .224) 2. ความสอดคล้องของหลักสูตรและวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาแต่มหาวิทยาลัยในสากลมมีค่าใกล้เคียงกัน (closeness = .197–.260) โดยมหาวิทยาลัยรัฐบาลตั้งอยู่ตอนกลางส่วนบนของสหรัฐอเมริกา เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคำที่ปรากฏในหลักสูตรกับคำที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ในโมเดลมากที่สุด 3. หลักสูตรวิจัยการศึกษาของ 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำมีความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์มากกว่า หลักสูตรวิจัยการศึกษาของประเทศไทย อีกทั้งพบข้อสังเกตได้ว่า มีคำที่เกี่ยวกับวิธีวิทยาขั้นสูงปรากฏในหลักสูตรวิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำแต่ไม่ค่อยพบในหลักสูตรไทย ยกเว้นในมหาวิทยาลัยในภาคกลาง เน้นวิจัยการศึกษา เช่น คำว่า grounded analysis, visual analysis, social network analysis, single case research, supervised machine learning 4. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน การใช้โปรแกรมทางสถิติที่ทันสมัย การตีพิมพ์ในระดับชาติน้อยกว่า 10 ฉบับ และการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติมีแนวโน้มที่จะมีความสอดคล้องคุณลักษณะของหลักสูตรและคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาอยู่ในระดับสูง


การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยการวิเคราะห์บทสนทนาในการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน, อภิสิทธิ์ ตามสัตย์ Jan 2019

การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยการวิเคราะห์บทสนทนาในการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน, อภิสิทธิ์ ตามสัตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพพยาบาล แต่นักศึกษาพยาบาลยังมีทักษะการแก้ปัญหาไม่ค่อยสูง แม้จะจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาล และความต้องการจำเป็นที่ควรพัฒนาของนักศึกษาพยาบาล 2) ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง และทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิด CSCL และการวิเคราะห์บทสนทนา และ 3) ประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CSCL กับนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาล และพัฒนาหลักการใหม่สำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ CSCL การวิจัยมี 3 ระยะ ระยะที่ 1 ขั้นวิเคราะห์และสำรวจความต้องการจำเป็น ตัวอย่างวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลที่ได้จากการสุ่มจำนวน 240 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามเพื่อวัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบทดสอบสถานการณ์เพื่อวัดทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และดัชนี PNImodified ระยะที่ 2 ขั้นการออกแบบและพัฒนากิจกรรม โดยอิงข้อมูลจากการสัมภาษณ์อาจารย์พยาบาล 3 คน และนักศึกษาพยาบาล 3 คน ระยะที่ 3 ขั้นการประเมินและสะท้อนผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CSCL กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน และอาจารย์พยาบาล 1 คน มีการสังเคราะห์บทเรียนที่เรียนรู้จากการทดลองเพื่อนำเสนอหลักการออกแบบใหม่สำหรับพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. โดยภาพรวมนักศึกษาพยาบาลมีการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังในระดับสูง และมีทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลในระดับน้อย โดยมีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนามากที่สุดในด้านการประเมินภาวะสุขภาพ รองลงมา คือ การระบุวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาลและการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการปฏิบัติการพยาบาล 2. ข้ออ้างเชิงเหตุผลที่ใช้ในการกำหนดหลักการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับแนวคิด CSCL และการวิเคราะห์บทสนทนา หลักการออกแบบกิจกรรม CSCL ประกอบด้วยหลักการเชิงสาระ ประกอบด้วย 1) การสร้างสถานการณ์ปัญหา 2) การฝึกใช้เครื่องมือ CSCL สม่ำเสมอ 3) การสนทนาเชิงสาระ ส่วนหลักการออกแบบเชิงกระบวนการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้กระบวนการพยาบาล 2) การฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการป้อนกลับและการสะท้อนคิด 3. ผลผลิตของการวิจัย คือ 1) …