Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Computer Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 30 of 65

Full-Text Articles in Entire DC Network

Developing An Area Classification System From Mobile Phone Usage Data, Naruethai Thongphasook Jan 2017

Developing An Area Classification System From Mobile Phone Usage Data, Naruethai Thongphasook

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since human activities are vary by time and place, there have been many attempts to extract social behavior in spatial studies which included area use in the city. This information helps gaining advantages in city and facilities planning. Nowadays, many people carry mobile phone with them for communication purpose. This motivates us to analyze mobile phone usage in different area types. This thesis proposes method of an analysis for area use classification from mobile phone usage pattern. CDR data was used to define mobile phone usage pattern by hour from 1:00 to 24:00 and day of week from Monday to …


High Capacity Image Steganography Tolerating Image Compression, Eittipat Kraichingrith Jan 2017

High Capacity Image Steganography Tolerating Image Compression, Eittipat Kraichingrith

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, data privacy becomes more important. Most of the existing data protection schemes based on cryptography cannot hide the existence of secret data. Thus, a steganography approach plays an important role to handle this problem. Image steganography can be categorized into two methods which are baesd on spatial domain and transform domain. Methods using spatial domain have high embedding capacity but they are not robust to image compression. On the other hand, methods using transform domain usually work with image compression but have low embedding capacity. In recent image steganography research, many transform domain methods are based on JPEG format …


ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน, ชนินทร์ ตั้งพานทอง Jan 2017

ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน, ชนินทร์ ตั้งพานทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน โดยศึกษาปัจจัยความสำเร็จของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน ประชากรของงานวิจัยนี้คือประชากรไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนออนไลน์ อายุระหว่าง 17-36 ปี ผู้วิจัยกำหนดหน่วยตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 300 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multistage Sampling) จากการเลือก 5 รายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชนแห่งชาติ (Thai MOOC) ดังนี้ การผลิตรายการโทรทัศน์ (Television Program Production) แอนิเมชันสามมิติขั้นเริ่มต้น-ขั้นกลาง (3Ds Animation Foundation) การถ่ายภาพขั้นสูงเพื่องานโฆษณา (Advanced Photography for Advertising) การถ่ายภาพทางอากาศยานโดยอากาศยานไร้คนขับ (Aerial Photography by Drone) และการออกแบบกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Based Graphics Design) และคัดเลือกหน่วยตัวอย่างที่ลงทะเบียนเรียนทั้งในรูปแบบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional Classroom) และเรียนผ่านหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชนในแต่ละรายวิชาด้วยการสุ่มอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) รายวิชาละ 60 คน งานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's Correlation) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ใช้งานบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอนผ่านหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุณภาพ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพสารสนเทศ และด้านคุณภาพการบริการ มีอิทธิพลต่อการใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งานบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอนผ่านหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน การใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก การใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ใช้งานบทเรียนออนไลน์แต่มีความสัมพันธ์กันน้อย และยังพบอีกว่าความพึงพอใจของผู้ใช้งานเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ใช้งานบทเรียนออนไลน์ แต่การใช้งานไม่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ใช้งานบทเรียนออนไลน์


การระบุตัวคนขับรถโดยใช้ฮิสโทแกรมและโครงข่ายประสาทเทียมจากข้อมูลความเร่ง, ณัฐธัญ วิโรจน์บุญเกียรติ Jan 2017

การระบุตัวคนขับรถโดยใช้ฮิสโทแกรมและโครงข่ายประสาทเทียมจากข้อมูลความเร่ง, ณัฐธัญ วิโรจน์บุญเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จนถึงปัจจุบันจำนวนตัวรับรู้ในรถยนต์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ภายในรถยนต์ ข้อมูลจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากตัวรับรู้เหล่านี้ส่งผลให้เกิดการศึกษาในการพยายามใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยขน์ งานวิจัยอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคือการศึกษาพฤติกรรมการขับรถ เนื่องจากคนขับรถแต่ละคนมีพฤติกรรมต่างกัน การรู้ถึงพฤติกรรมการขับรถจึงทำให้สามารถระบุตัวคนขับรถได้ การทราบถึงบุคคลที่กำลังขับรถทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย การประกันภัย หรือการอำนวยความสะดวก สิ่งนี้เองทำให้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการระบุตัวคนขับรถเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อไม่นานมานี้ งานวิจัยที่ผ่านมาส่วนมากมักใช้ข้อมูลจากตัวรับรู้จำนวนมากเพื่อระบุตัวคนขับรถและสามารถทำได้โดยมีความแม่นยำสูง อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยจำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการระบุตัวคนขับรถสามารถทำได้โดยใช้ตัวรับรู้เพียงตัวเดียว แต่ค่าความแม่นยำของงานเหล่านี้ยังสามารถพัฒนาต่อได้ งานวิจัยนี้ได้เสนอระบบการระบุตัวคนขับรถโดยใช้เพียงข้อมูลจากตัวรับรู้ความเร่ง โดยมีการใช้ฮิสโทแกรมของความเร่งเป็นข้อมูลนำเข้าสู่โครงข่ายประสาทเทียม สถาปัตยกรรมระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบระบุตัวคนขับรถอื่นในอนาคต ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบนี้สามารถระบุตัวคนขับรถได้แม่นยำสูงสุดถึง 99 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ทดสอบประสิทธิภาพในหลายแง่มุมซึ่งที่ผ่านมามีหลายงานวิจัยที่มองข้ามบางแง่มุมไป ดังนั้นการวัดผลในงานวิจัยนี้จึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการวัดผลการระบุตัวคนขับรถอื่นในอนาคตได้เช่นกัน


การขยายตัวจัดเก็บบันทึกจราจรเครือข่ายด้วยสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส, ชาคริต ผาอินทร์ Jan 2017

การขยายตัวจัดเก็บบันทึกจราจรเครือข่ายด้วยสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส, ชาคริต ผาอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา องค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากได้วิวัฒนาการเทคโนโลยีสแต็คองค์กรไปสู่ไมโครเซอร์วิส หรือที่รู้จักกันว่า สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมโมโนลิทิกยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับแอปพลิเคชันจำนวนมาก แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการขยายตัวของระบบ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในแอปพลิเคชันสามารถทำให้ต้องพัฒนาซ้ำระบบโมโนลิทิกทั้งระบบ ส่งผลให้ยากต่อการบำรุงรักษาโครงสร้างความเป็นมอดูลที่ดีในระยะยาว งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอการใช้สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสสำหรับการออกแบบตัวจัดเก็บบันทึกจราจรเครือข่าย บนพื้นฐานของแบบจำลองขยายตัวที่เรียกว่า ลูกบาศก์การขยายตัว แต่ละเซอร์วิสสามารถขยายตัวได้แบบปัจเจก ส่งผลให้แอปพลิเคชันขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาเบื้องต้นเพื่อประเมินสมรรถนะแนวทางการออกแบบที่นำเสนอ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ล็อกเกอร์ที่พัฒนาบนพื้นฐานไมโครเซอร์วิสใช้เวลาค้นถามข้อมูลบนเรเดียสล็อกน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับล็อกเกอร์ที่พัฒนาแบบโมโนลิทิก


แบบจำลองการสูญหายของการแพร่กระจายในมุมอับสายตาสำหรับมาตรฐานไอทริปเปิ้ลอี 802.11 พี, สัญชัย จักรธีรังกูร Jan 2017

แบบจำลองการสูญหายของการแพร่กระจายในมุมอับสายตาสำหรับมาตรฐานไอทริปเปิ้ลอี 802.11 พี, สัญชัย จักรธีรังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครือข่ายแอดฮอกสำหรับยานพาหนะถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพการคมนาคมทางถนน ไอทริปเปิ้ลอี 802.11 พีเป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารระหว่างยานพาหนะ ซึ่งจะทำให้เกิดแอพพลิเคชันของยานพาหนะที่เชื่อมต่อกัน หนึ่งในแอพพลิเคชันคือแอพพลิเคชันเพื่อความปลอดภัย ที่จะสามารถลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการสื่อสารเกิดขึ้นที่บริเวณมุมอับสายตา ประสิทธิภาพของการสื่อสารอาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะนำมาซึ่งการลดลงของประสิทธิภาพของแอพพลิเคชัน หลังจากการสร้างแอพพลิเคชัน และโปรโตคอลแล้ว ประสิทธิภาพจะต้องถูกประเมินด้วย โปรแกรมจำลองเครือข่ายเป็นหนึ่งในวิธีสำหรับการประเมินประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแบบจำลองการสูญหายของการแพร่กระจายที่สามารถแสดงคุณลักษณะของการสื่อสารที่บริเวณมุมอับสายตาได้ใกล้เคียงกับการทดลองจริง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงเสนอแบบจำลองการสูญหายของการแพร่กระจายในมุมอับสายตาสำหรับมาตรฐานไอทริปเปิ้ลอี 802.11 พี ระยะทางที่สั้นที่สุดถูกใช้เป็นตัวประกอบหลักในแบบจำลอง นอกจากนั้น ยังมีตัวประกอบที่ใช้สำหรับปรับปริมาณการกีดขวางในแบบจำลองได้อีกด้วย การทดลองจริงจำนวนมากได้ทำขึ้นเพื่อประเมินแบบจำลอง ผลการทดลองแสดงว่าแบบจำลองที่เสนอสามารถแสดงคุณลักษณะของการสื่อสารในการทดลองจริงได้อย่างใกล้เคียง แบบจำลองสำหรับมุมอับสายตาสามารถนำไปใช้จำลองในโปรแกรมจำลองเครือข่ายได้อย่างสมจริง


ผลของความถี่ และจังหวะของดนตรีพื้นหลังต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลา, ปวีย์ เพชรรักษ์ Jan 2017

ผลของความถี่ และจังหวะของดนตรีพื้นหลังต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลา, ปวีย์ เพชรรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างไม่ชอบการรอคอยที่ต้องใช้เวลานาน เสียงดนตรีสามารถเข้ามาช่วยทำผู้ใช้รู้สึกใช้เวลารอคอยสั้นกว่าเดิม โดยการศึกษานี้นำเสียงมาใช้ร่วมกับแถบแสดงความก้าวหน้ามุ่งศึกษาไปที่เรื่องของความถี่และจังหวะของดนตรีพื้นหลัง การศึกษานี้ประกอบด้วยการทดลองสองการทดลอง โดยการทดลองแรกเป็นการประเมินเวลา และในการทดลองที่สอง เป็นการเปรียบเทียบการรับรู้ถึงระยะเวลาในการรอคอย การทดลองทั้งสองแสดงให้เห็นว่าเสียงดนตรีทำให้การรับรู้การผ่านไปของเวลาแตกต่างกันเมื่อทำการเปรียบเทียบ เช่น เสียงดนตรีทำให้คนรู้สึกว่ารอคอยสั้นกว่าการไม่ใช้เสียงอะไรเลย เป็นต้น นอกจากนั้นแสดงให้เห็นว่าการนำความถี่และจังหวะของเสียงมาช่วยในการออกแบบเสียงดนตรีมีผลต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลาแตกต่างกันหลายระดับ


Biological-Like Memory Allocation Scheme Simulation, Gasydech Lergchinnaboot Jan 2017

Biological-Like Memory Allocation Scheme Simulation, Gasydech Lergchinnaboot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

When Gordon Moore observed the number of transistor increasing pattern while memory bandwidth could not catch up with processing unit performance, this diverging rate kept stretching out to create what eventually transpired to be “Memory Wall.” This consequence becomes a major performance bottleneck. Many bottleneck elimination approaches have been attempted. They incorporate considerable overhead and high complexity. This research proposes a novel memory allocation scheme that employs biological behavioral principles of the living creatures. At the principal construct of their life form lives the cells having limited resources, yet passively operates with little overhead. The proposed method imitates this unicellular …


การหาโมทีฟและดิสคอร์ดสำหรับอนุกรมเวลา โดยใช้เมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณ, กรกฎ ปริวัฒนศักดิ์ Jan 2017

การหาโมทีฟและดิสคอร์ดสำหรับอนุกรมเวลา โดยใช้เมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณ, กรกฎ ปริวัฒนศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การค้นพบโมทีฟคือการค้นหารูปแบบซึ่งเป็นลำดับย่อยที่อยู่ในข้อมูลอนุกรมเวลา การค้นพบโมทีฟเป็นปัญหาที่สำคัญในการทำเหมืองข้อมูลอนุกรมเวลาเนื่องจากสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลาย ๆ ขอบเขตความรู้ ในขณะเดียวกันการค้นพบดิสคอร์ดซึ่งก็เป็นวิธีการที่นิยมในการค้นหาความผิดปกติในข้อมูลอนุกรมเวลาด้วยเช่นกัน วิธีการหนึ่งที่ให้ผลลัพธ์สำหรับปัญหาการค้นพบโมทีฟและดิสคอร์ดได้ดีคือเมทริกซ์โพรไฟล์ เนื่องจากสามารถแก้ทั้งสองปัญหาได้โดยง่ายเพียงแค่คำนวณเมทริกซ์โพรไฟล์เท่านั้น อย่างไรก็ตามเวลาที่ใช้ในการคำนวณมีค่าสูงเมื่อข้อมูลอนุกรมเวลาใหญ่ขึ้น นอกจากนั้นเมทริกซ์โพรไฟล์ยังต้องการการกำหนดค่าพารามิเตอร์ความยาวของโมทีฟและดิสคอร์ดซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถทราบได้แน่นอน งานวิจัยนี้จึงนำเสนอเมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณสำหรับทั้งสองปัญหาซึ่งลดเวลาในการคำนวณและยังคงให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงเดิมและนำเสนออัลกอริทึมสำหรับการค้นพบโมทีฟที่ไม่ต้องกำหนดค่าพารามิเตอร์ความยาวของโมทีฟอีกด้วย จากผลการทดลองบนข้อมูลสังเคราะห์และข้อมูลจริงพบว่า เมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณสามารถลดเวลาในการคำนวณได้เป็นจำนวนมากและยังคงได้โมทีฟและดิสคอร์ดผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับเมทริกซ์โพรไฟล์ นอกจากนั้นอัลกอริทึมการค้นพบโมทีฟที่นำเสนอยังให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องบนความยาวที่เหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องกำหนดค่าพารามิเตอร์ความยาวของโมทีฟก่อน


การจัดกลุ่มทับซ้อนที่มีพื้นฐานมาจากการจัดกลุ่มแบบแบ่งส่วนโดยใช้ความสัมพันธ์ของกลุ่มข้อมูล, ธนวัต ลิมังกูร Jan 2017

การจัดกลุ่มทับซ้อนที่มีพื้นฐานมาจากการจัดกลุ่มแบบแบ่งส่วนโดยใช้ความสัมพันธ์ของกลุ่มข้อมูล, ธนวัต ลิมังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดกลุ่มแบบดั้งเดิมตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าข้อมูลหนึ่งตัวอย่างสามารถถูกจัดให้อยู่ได้เพียงกลุ่มเดียว อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มประเภทนี้ไม่สามารถครอบคลุมข้อมูลได้หมดทุกประเภท สำหรับข้อมูลประเภทหลายหมวดหมู่จำเป็นที่จะต้องใช้การจัดกลุ่มอีกแบบที่อนุญาตให้ข้อมูลหนึ่งตัวอย่างสามารถอยู่ได้หลายกลุ่มข้อมูล และเนื่องจากข้อมูลหนึ่งตัวอย่างสามารถอยู่ได้หลายกลุ่ม ดังนั้นกลุ่มข้อมูลที่เกิดขึ้นจึงสามารถทับซ้อนกัน การจัดกลุ่มประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า "การจัดกลุ่มทับซ้อน" งานวิจัยนี้ให้ความสนใจที่การจัดกลุ่มทับซ้อนแบบแบ่งส่วนซึ่งเป็นการจัดกลุ่มทับซ้อนที่มีประสิทธิภาพและสามารถประยุกต์ใช้ได้กับชุดข้อมูลส่วนใหญ่ การจัดกลุ่มทับซ้อนแบบแบ่งส่วนนั้นมักมีพัฒนาการมาจากขั้นตอนวิธี K-Means ซึ่งมีปัญหาสำคัญคือมีการเริ่มต้นกระบวนการโดยการสุ่มเซนทรอยด์ ซึ่งหากเซนทรอยด์ที่ได้จากการสุ่มนี้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ประสิทธิภาพทางด้านความถูกต้องแม่นยำของการจัดกลุ่มจะถูกอิงอยู่กับค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชันต้นทุน ซึ่งทำให้ความถูกต้องแม่นยำมีโอกาสที่จะออกมาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การจัดกลุ่มทับซ้อนที่พัฒนามาจากขั้นตอนวิธี K-Means ก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกันเนื่องจากมีการเริ่มต้นกระบวนการที่เหมือนกัน นอกจากนี้งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดกลุ่มทับซ้อนแบบแบ่งส่วนที่ผ่านมายังไม่มีการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูลซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญตัวแปรหนึ่งที่มีผลต่อรูปแบบของกลุ่มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์หลักสองประเด็นคือเพื่อแก้ปัญหาเซนทรอยด์ที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม โดยการประยุกต์ใช้ขั้นตอนวิธี K-Harmonic-Means และขั้นตอนวิธี ELBG อีกประเด็นหนึ่งคือนำองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดกลุ่มในด้านความถูกต้องแม่นยำ หลังจากค้นคว้าวิจัยจนได้ขั้นตอนวิธีใหม่และทดสอบกับชุดข้อมูล 20 ชุดข้อมูลพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดกลุ่มด้านความถูกต้องแม่นยำได้จริง โดยความถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25.68% จากขั้นตอนวิธี OKM ซึ่งนำมาเป็นขั้นตอนวิธีพื้นฐานในการวัดด้วยค่า F1


การวิเคราะห์ทวิตเตอร์ในเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, อารยา พุดตาล Jan 2017

การวิเคราะห์ทวิตเตอร์ในเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, อารยา พุดตาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อคนไทยเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในทวิตเตอร์หลายประการ ทั้งในด้านปริมาณการทวีตและรีทวีต ข้อความในทวีตซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเหตุการณ์อื่น ๆ ลักษณะการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ย่อยต่าง ๆ ลักษณะของพฤติกรรมการรีทวีตของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม รวมไปถึงลักษณะของการกระจายข้อมูลของผู้ใช้โดยพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้ง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ งานวิจัยนี้จึงถูกออกแบบขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านเว็บไซต์ (Web Crawler) ร่วมกับ ฟังก์ชันค้นหาขั้นสูงของทวิตเตอร์ (https://twitter.com/search-advanced) ผ่านการค้นหาจากคำสำคัญและแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ โดยพิจารณาจากจำนวนรีทวีต คำ และแฮชแท็กที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังพบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยตรง ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีที่จะสามารถสกัดและค้นหาเหตุการณ์ย่อย ๆ จากทวิตเตอร์ และนอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เปรียบเทียบกับการทวีตตามปกติ และวิเคราะห์การกระจายข้อมูลโดยพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย


Robust Scale-Invariant Normalization And Similarity Measurement For Time Series Data, Ariyawat Chonbodeechalermroong Jan 2017

Robust Scale-Invariant Normalization And Similarity Measurement For Time Series Data, Ariyawat Chonbodeechalermroong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Classification is one of the most prevalent tasks in time series mining. Dynamic Time Warping and Longest Common Subsequence are well-known and widely used algorithms to measure similarity between two time series sequences using non-linear alignment. However, these algorithms work best when the time series pair has similar amplitude scaling. Unfortunately, sensor data and most real-world time series data usually contain noise, missing values, outlier, and variability or scaling in both axes, which is not suitable for the widely used Z-normalization. This research introduces the Local Feature Normalization (LFN) and its Local Scaling Feature (LSF), which can be used to …


Automatic 3d Hair Model From Small Set Of Images, Nuttapon Vanakittistien Jan 2017

Automatic 3d Hair Model From Small Set Of Images, Nuttapon Vanakittistien

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

We present a system for creating hair model that matches a user's hairstyle from images. The model consists of guide hair strands and can be used in a real-time hair simulator. Our goal differs from most previous work which aims to create realistic high resolution hair for off-line applications or create mesh of the exterior of the hair volume for image manipulation. Our primary aim is for user to be able to put his/her hairstyle into game or other real-time applications. By taking photos in 8 views of the user's head using a smart phone camera and segmenting images with …


Efficient And Robust Grasp Planning Based On Independent Contact Region And Caging, Teesit Makapunyo Jan 2017

Efficient And Robust Grasp Planning Based On Independent Contact Region And Caging, Teesit Makapunyo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A conventional way to find a proper grasp to grab and hold any object is to measure its stability which usually is based on physical constraint called force-closure. This execution works well from the theoretical point of view but often fails on an actual robot due to many reasons such as intrinsic errors in robot's system and a disparity between real and simulated physics. Several research works introduced methods to alleviate those issues and increase the success rate of grasping for a real robot. Caging and Independent Contact Region are ones of them. In this work, we investigate a method …


Discovery Of Relation Between Listeria And Other Bacterial Contamination Using Classification Refinement Technique, Napas Jeamchotpatanakul Jan 2017

Discovery Of Relation Between Listeria And Other Bacterial Contamination Using Classification Refinement Technique, Napas Jeamchotpatanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

People often use chicken to prepare their diary meal which creates a great demand for food producers and exporters in Thai food industry. Thailand is ranked fourth in chicken exporters in the world. Standards on chicken meat regulations differ from country to country. One commonality remains: controlling the bacteria that can affect human life, particularly pregnant women and the unborn. One of the important bacteria is called Listeria which receives high attention for the industry to prevent their contamination in chicken. A microbiological test is usually conducted to analyze the data from industry. However, the microbiological test is incapable of …


Factors Influencing Intention To Purchase Local Community Product On E-Commerce Website: Case Of One Tambon One Product (Otop) In Thailand, Krittika Akasarakul Jan 2017

Factors Influencing Intention To Purchase Local Community Product On E-Commerce Website: Case Of One Tambon One Product (Otop) In Thailand, Krittika Akasarakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Thailand, ICT and e-Commerce are using for supporting rural community people refer to Thailand policy framework which has the policy to expand the market and create opportunities in business. However, these communities mostly do not have their website to sell their products. They still have to rely on a web portal. Therefore, having the rural community official website and e-Commerce would expect to gain more attention and would be advantages to the community. Thus, in this research, we would like to study factors influencing customer's purchasing intention through internet shopping of One Tambon One Product (OTOP), derived from the …


การสร้างแบบจำลองด้วยโพรเมลาเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในการสร้างวงจรอสมวาร, คณุตม์ บุญเรืองขาว Jan 2017

การสร้างแบบจำลองด้วยโพรเมลาเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในการสร้างวงจรอสมวาร, คณุตม์ บุญเรืองขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบวงจรอสมวารนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในขั้นตอนการออกแบบเพื่อความถูกต้องในการทำงานของสัญญาณ โดยวงจรจะถูกออกแบบในขั้นต้นด้วยซิกแนลแทรนซิชันกราฟ วิทยานิพนธ์ใช้ประโยชน์จากเทคนิคการตรวจสอบแบบจำลองเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในคุณสมบัติซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติไลฟ์เนส คุณสมบัติความทนทาน คุณสมบัติความต้องกัน และคุณสมบัติการกำหนดสถานะสมบูรณ์ ซึ่งซิกแนลแทนซิชันกราฟประกอบด้วยประเภทวัฏจักรเชิงเดี่ยว และประเภทวัฏจักรหลากหลาย ในขั้นแรกซิกแนลแทรนซิชันกราฟจะถูกแปลงเป็นรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน จากนั้นจึงนำซิกแนลแทรนซิชันกราฟไปแปลงเป็นตรรกะเวลาเชิงเส้นซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติไลฟ์เนส คุณสมบัติความทนทาน คุณสมบัติความต้องกัน และคุณสมบัติการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์ จากนั้นคุณสมบัติความปลอดภัยจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความปลอดภัยไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติไลฟ์เนสจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติไลฟ์เนสไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติความทนทานจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความทนทานไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติความต้องกันจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความต้องกันไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ ในขั้นสุดท้ายคุณสมบัติการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์จะนำรหัสโพรเมลาแบบแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน และตรรกะเวลาเชิงเส้นของการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์มาเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงล็อคและทวนสอบโดยเครื่องมือสปิน จากนั้นจึงนำผลที่ได้จากการจำลองมาตรวจสอบในเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นจึงได้คำตอบของการทวนสอบคุณสมบัตินี้ อย่างไรก็ตามเทคนิคของงานวิจัยนี้ยังไม่เป็นอัตโนมัติในบางคุณสมบัติ


โพรโทคอลการแพร่กระจายข้อมูลโดยคำนึงถึงตำแหน่งที่มีความน่าเชื่อถือในระบบการสื่อสารไร้สายแบบแอดฮอกบนยานพาหนะ, ณัฐกานต์ ประมวลญาติ Jan 2017

โพรโทคอลการแพร่กระจายข้อมูลโดยคำนึงถึงตำแหน่งที่มีความน่าเชื่อถือในระบบการสื่อสารไร้สายแบบแอดฮอกบนยานพาหนะ, ณัฐกานต์ ประมวลญาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบการขนส่งอัจฉริยะได้เพิ่มความหลากหลายให้กับแอปพลิเคชันประเภทความปลอดภัยและเหตุการณ์เร่งด่วนบนท้องถนนที่ใช้หลักการติดต่อแบบแอดฮอกไร้สาย แอปพลิเคชันเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อที่จะกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือและจำกัดขอบเขตการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญเหล่านั้นเข้าถึงได้ถึงยานพาหนะที่สมควรจะได้รับ ดังนั้นแล้วงานต่างๆก่อนหน้านี้ที่ทำ จึงมีการใช้ระบบจีพีเอสในการระบุตำแหน่งและกำหนดขอบเขต ในทางปฏิบัติแล้วการใช้ระบบจีพีเอสนั้น มักจะมีความคลาดเคลื่อนในตำแหน่งที่เป็นพื้นที่ปิด เช่น ท่ามกลางตึกสูงล้อมรอบ หรือแม้แต่พื้นที่ใต้สะพานต่างๆ เพื่อที่จะเข้าใจและเข้าถึงสถานะการณ์ต่างๆ ในการเลือกที่จะส่งข้อมูล แอปพลิเคชันที่เราทำนั้นจะทำการส่งบีคอนในการรวบรวมข้อมูลของยานพาหนะรอบข้าง เพื่อที่จะใช้ในการจำกัดขอบเขตวงกว้างในการส่งข้อมูล แอปพลิเคชันที่ทำขึ้นนั้นจะใช้ข้อมูลความหนาแน่นเพื่อใช้ในการกำหนดจำนวนฮอพสูงสุดที่จะทำการส่งต่อข้อมูลหรือข้อความให้ได้ตามระยะขอบเขตที่กำหนด จากการทดสอบบนระบบการจำลองแสดงให้เห็นว่าโพรโทคอลของเราสามารถที่จะทำงานได้ดีกว่าโพรโทคอลอื่นๆที่ใช้จีพีเอสในแง่ของการครอบคลุมพื้นที่ที่กำหนด โดยแสดงให้เห็นว่าโพรโทคอลของเราสามารถส่งข้อความให้กับยานพาหนะที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดได้ 100%


อัลกอริทึมในการหาเส้นทางที่พิจารณาปริมาณการเข้าคิวของข้อมูล บนระบบเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์, ภควัต ชุ่มเจริญ Jan 2017

อัลกอริทึมในการหาเส้นทางที่พิจารณาปริมาณการเข้าคิวของข้อมูล บนระบบเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์, ภควัต ชุ่มเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อัลกอริทึมการหาเส้นทางเป็นกลไกที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจในการเลือกเส้นทางในการส่งของข้อมูลในระบบเครือข่ายโดยที่ผ่านมาได้มีอัลกอริทึมการหาเส้นทางต่างๆ มากมายที่พัฒนามาจากทฤษฎีกราฟพื้นฐานด้วยคำนึงถึงการเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดหรือ shortest path และนอกจากนั้นตัวชี้วัดของระบบเครือข่ายจำนวนมากได้ถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพของการควบคุมคุณภาพการให้บริการ (QoS) ที่อุปกรณ์ปลายทาง แต่อย่างไรตามการเลือกเส้นทางจากอัลกอริทึมการหาเส้นทางที่มีอยู่เดิมนั้น เมื่อมีปริมาณการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นยังทำให้เกิดเวลาแฝง (Lantency) ของการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์จุดปลายหนึ่ง ไปยังอุปกรณ์จุดปลายอีกจุดหนึ่ง และเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ในระบบเครือข่าย โดยปัญหาดังกล่าวจะเรียกว่า ปัญหาปริมาณข้อมูลเกินขนาดบัฟเฟอร์ หรือ Bufferbloat Problem ซึ่งเกิดจากการที่มีปริมาณข้อมูลในบัฟเฟอร์เกินขนาดของบัฟเฟอร์ งานวิจัยนี้จึงได้เสนออัลกอริทึมในการหาเส้นทางที่พิจารณาปริมาณการเข้าคิวของข้อมูล บนระบบเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์โดยใช้ความสามารถของระบบแบบรวมศูนย์กลาง เพื่อรวบรวมข้อมูลขนาดบัฟเฟอร์โดยตรงตามเวลาจริง เพื่อคำนวณเส้นทางที่มีระยะที่สั้นที่สุดที่มีระดับค่าการครอบครองพื้นที่ในบัฟเฟอร์ที่ยอมรับได้ โดยผลประสิทธิภาพของอัลกอริทึม ที่ได้จากทดลองแสดงให้เห็นว่าอัลกอริทึมที่เสนอในงานวิจัยนี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าอัลกอริทึมที่หาเส้นทางที่ระยะทางที่สั้นที่สุด ในแง่ของผลรวมของปริมาณงาน (Overall Throughput) ช่วงเวลาในการเดินทางของข้อมูล (Round Trip Time) และความสูญเสียสะสมของกลุ่มข้อมูล (Packet Loss) ที่เกิดในระบบเครือข่ายเป็นอย่างมาก


การวิเคราะห์รูปแบบการจราจรบนถนนโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากซีดีอาร์และจีพีเอส, ล่ำซำ ทองสีนุช Jan 2017

การวิเคราะห์รูปแบบการจราจรบนถนนโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากซีดีอาร์และจีพีเอส, ล่ำซำ ทองสีนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหนึ่งที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง การทราบถึงปริมาณความต้องการในการเดินทางระหว่างพื้นที่และเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนระบบขนส่งภายในเมือง ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้อยู่มากมายเช่น โปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ, จีพีเอสที่ติดบนรถแท็กซี่ (GPS), บันทึกการใช้งานเครือข่ายไวไฟ (Wi-Fi Log) และบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ (CDR) โดยข้อมูลที่นักวิจัยนิยมใช้ในการหาปริมาณความต้องการในการเดินทางระหว่างพื้นที่คือข้อมูลจากจีพีเอสที่ติดบนรถแท็กซี่และบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ ซึ่งข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันโดยข้อมูลจีพีเอสเป็นข้อมูลที่รายงานตำแหน่งของผู้ใช้งานอย่างแม่นยำและมีรอบการส่งตำแหน่งที่แน่นอนแต่ข้อมูลมีขนาดเล็กไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนประชากรทั้งเมืองได้ แต่ข้อมูลจากซีดีอาร์เป็นข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานขนาดใหญ่แต่ตำแหน่งที่ได้เป็นตำแหน่งของเสากระจายสัญญาณเท่านั้น ผู้วิจัยจึงนำข้อดีของข้อมูลจากทั้งสองแหล่งมาใช้ในการสร้างเครื่องมือ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการในการสร้างเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของประชากรระหว่างบ้านและสถานที่ทำงาน โดยใช้ข้อมูลจากบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ในการหาบ้านและสถานที่ทำงานของประชากรทำให้ทราบถึงปริมาณความต้องการในการทางระหว่างพื้นที่ และใช้ข้อมูลจีพีเอสจากรถแท็กซี่ในการหาเส้นทางบนถนนที่เป็นที่นิยมในการเดินทางระหว่างพื้นที่ และผู้วิจัยได้วิเคราะห์ในหลาย ๆ พื้นที่ยกตัวอย่างเช่น ประชากรที่ทำงานในพื้นที่สีลมและช่องนนทรี ,การเดินทางระหว่างสีลมกับอนุสาวรีชัยสมรภูมิ และการเดินทางจากฝั่งธนบุรีไปฝั่งพระนคร


การปรับปรุงแบบจำลองเสียงเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมชาติของเสียงสังเคราะห์ภาษาไทย, ศุภเดช ฉันจรัสวิชัย Jan 2017

การปรับปรุงแบบจำลองเสียงเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมชาติของเสียงสังเคราะห์ภาษาไทย, ศุภเดช ฉันจรัสวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เสียงสังเคราะห์เป็นเทคโนโลยีทางเลือกสำหรับการรับรู้ข้อมูลประเภทข้อความ ความชัดเจน และความเป็นธรรมชาติของเสียงสังเคราะห์ส่งผลโดยตรงกับความเข้าใจของผู้ฟังที่มีต่อข้อมูลในสัญญาณเสียง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาด้านความเป็นธรรมชาติ และความชัดเจนของเสียงสังเคราะห์ที่สร้างมาจากค่าพารามิเตอร์ของตัวเข้ารหัสเสียง STRAIGHT ซึ่งค่าพารามิเตอร์เหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมาจากแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก โดยการนำเสนอแนวคิด 3 แนวคิด ได้แก่ 1) แนวคิดการแยกกันของแบบจำลองคุณลักษณะความถี่มูลฐาน และค่าคุณลักษณะสเปกตรัม โดยทั้งสองแบบจำลองถูกฝึกฝนแยกกันเพื่อสร้างเป็นแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟสำหรับสร้างค่าพารามิเตอร์ของตัวเข้ารหัสเสียง STRAIGHT ที่สอดคล้องกับแบบจำลองดังกล่าว ในวิทยานิพนธ์นี้ได้นำเสนอขั้นตอนวิธีในการปรับแนวเวลาของค่าพารามิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาจากการใช้สองแบบจำลอง 2) เสนอการปรับเปลี่ยนค่าคุณลักษณะส่วนรับเข้าของโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกที่ถูกใช้ในการสร้างค่าพารามิเตอร์ของตัวเข้ารหัสเสียง STRAIGHT จากเดิมที่ใช้ค่าคุณลักษณะทางบริบท เป็นแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟที่เป็นผลลัพธ์จากต้นไม้ตัดสินใจที่ใช้ในการจัดกลุ่มบริบท 3) นำเสนอวิธีการนอร์มัลไลเซชันค่าคุณลักษณะส่วนส่งออกของแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก ที่ใช้ค่ากลาง และค่าความแปรปรวนจากแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟที่เป็นผลลัพธ์จากต้นไม้ตัดสินใจ ในการทดสอบได้ทำการทดสอบ 2 รูปแบบ คือ 1) การทดสอบปรนัยที่ใช้ตัวชี้วัดค่าความเพี้ยนของเซปตรัลในระดับเมลของค่าสัมประสิทธิ์เมลเคปสตรัม (MGC_MCD) ค่าความเพี้ยนของเซปตรัลในระดับเมลของค่าแถบคลื่นความถี่ของความไม่เป็นคาบ (BAP_MCD) ความไม่สอดคล้องกันของสถานะความก้องของเสียง (LF0_UVU) และความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยของค่าความถี่มูลฐาน (LF0_RMSE) 2) การทดสอบอัตนัยที่ใช้ผู้ทดสอบ 9 คน โดยวัดในด้านของความชัดเจน และความเป็นธรรมชาติของเสียงสังเคราะห์ ผลการทดสอบปรนัยการใช้แนวคิดที่ 2 และ 3 กับแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก สามารถสังเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ของตัวเข้ารหัสเสียง STRAIGHT ได้ใกล้เคียงกับเสียงต้นฉบับมากกว่าการใช้แนวคิดที่ 1 กับแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ และแบบจำลองดั้งเดิมทั้งในส่วนของแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก สำหรับในการทดสอบอัตนัยพบว่าการใช้แนวคิดที่ 1 กับแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟสามารถสังเคราะห์ค่าคุณลักษณะที่มีความเป็นธรรมชาติ และชัดเจนมากกว่าการใช้แนวคิดอื่น และแบบจำลองดั้งเดิมทั้งสองแบบจำลอง


การแปลงเว็บแอปพลิเคชันบนพื้นฐานจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปข้ามแพลตฟอร์มด้วยอิเล็กตรอน, กิตติ เกร็ดพัฒนกุล Jan 2017

การแปลงเว็บแอปพลิเคชันบนพื้นฐานจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปข้ามแพลตฟอร์มด้วยอิเล็กตรอน, กิตติ เกร็ดพัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีหลายแนวทางได้เกิดขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันที่มีอยู่ไปสู่โปรแกรมที่มีฐานร่วมกัน ในบรรดาแนวทางต่างๆ อิเล็กตรอนเป็นกรอบงานหนึ่งที่แพร่หลายรู้จักกันดีสำหรับนักพัฒนาเว็บเพื่อใช้สร้างเดสก์ท็อปแอปลิเคชันข้ามแพลตฟอร์ม ด้วยเว็บเทคโนโลยีต่างๆ ที่คุ้นเคย ได้แก่ เอชทีเอ็มแอล ซีเอสเอส และจาวาสคริปต์ งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอแนวทางสำหรับการแปลงเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาด้วยจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปแอปพลิเคชันที่สามารถประมวลผลได้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แม็คโอเอส และลินุกซ์ เดสก์ท็อปแอปพลิเคชันที่เป็นผลลัพธ์จากการแปลงจะยังคงประกอบด้วยซอร์สโค้ดชุดเดิมที่สามารถพัฒนาได้ต่อไป


การวิเคราะห์ผลกระทบอินสแตนซ์ฐานข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน, กฤษฎา แก่นเฉลียว Jan 2017

การวิเคราะห์ผลกระทบอินสแตนซ์ฐานข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน, กฤษฎา แก่นเฉลียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความต้องการเชิงฟังก์ชันถูกนำมากำหนดฟังก์ชันการทำงานของซอฟต์แวร์ ซึ่งความต้องการดังกล่าวสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทุกช่วงของการพัฒนาซอฟต์แวร์ บางฟังก์ชันสัมพันธ์ฐานข้อมูล หากข้อมูลนำเข้าของฟังก์ชันเกิดการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบไปยังสคีมาฐานข้อมูล เมื่อสคีมาฐานข้อมูลได้รับผลกระทบอาจจะเกิดผลกระทบกับอินสแตนซ์ฐานข้อมูลด้วย ในการทดสอบฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล กรณีทดสอบจะถูกสร้างขึ้นโดยมีรายการข้อมูลนำเข้าเป็นไปตามฟังก์ชัน และมีค่าข้อมูลทดสอบที่มาจากอินสแตนซ์ฐานข้อมูล และตารางการตามรอยจะถูกนำมาใช้เพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการเชิงฟังก์ชันกับกรณีทดสอบ ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าข้องความต้องการเชิงฟังก์ชัน จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ผลกระทบต่อสคีมาฐานข้อมูล อินสแตนซ์ฐานข้อมูล ความต้องการเชิงฟังก์ชัน กรณีทดสอบ และตารางการตามรอยความต้องการ วิทยานิพนธ์จึงเสนอวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสคีมาฐานข้อมูล อินสแตนซ์ฐานข้อมูล ความต้องการเชิงฟังก์ชัน กรณีทดสอบ และตารางการตามรอยความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน 3 ประเภทคือ เพิ่ม ลบ แก้ไข โดยผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์ผลกระทบตามที่นำเสนอ โดยเครื่องมือมีความสามารถนำเข้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน ซึ่งเครื่องมือสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและสามารถปรับปรุงสิ่งที่กระทบได้อย่างอัตโนมัติ สุดท้ายเครื่องมือถูกนำไปทดสอบความถูกต้องกับกรณีศึกษาที่แบ่งการทดสอบออกเป็น 4 กรณี ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือเครื่องมือสามารถวิเคราะห์ผลกระทบและปรับปรุงสิ่งที่ได้รับผลกระทบได้อย่างถูกต้อง


อัลกอริทึมการอนุมานไวยากรณ์สม่ำเสมอเชิงความน่าจะเป็นด้วยเทคนิคการเพิ่มขึ้น, ต่อศักดิ์ เพ็ญภินันท์ Jan 2017

อัลกอริทึมการอนุมานไวยากรณ์สม่ำเสมอเชิงความน่าจะเป็นด้วยเทคนิคการเพิ่มขึ้น, ต่อศักดิ์ เพ็ญภินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุมานไวยากรณ์เป็นเรื่องที่ได้รับการศึกษามาเป็นเวลานาน ซึ่งไวยากรณ์จะถูกแสดงในรูปของกฎการสร้างใหม่ ๆ พร้อมด้วยความน่าจะเป็นที่สนับสนุนกฎการสร้างไวยากรณ์นั้น งานวิจัยนี้สนใจในรูปแบบของไวยากรณ์ทั่วไปที่ได้รับการยอมรับผ่านเครื่องจักรแบบจำกัดสถานะ เทคนิคการอนุมานไวยากรณ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคืออัลกอริทึมอัลเลอเจียร์ (Alergia) ซึ่งวิธีการคือสร้างเครื่องจักรแบบจำกัดสถานะเชิงความน่าจะเป็นจากตัวอย่างเชิงบวกพร้อมกับหาค่าความน่าจะเป็น ซึ่งงานวิจัยนี้นำเสนออัลกอริทึมการอนุมานไวยากรณ์เชิงความน่าจะเป็นจากการพิจารณาตัวอย่างเชิงบวกเริ่มต้นจากความยาวน้อยไปหาความยาวที่มากที่สุดตามลำดับ กำหนดรูปแบบให้กับไวยากรณ์ที่เกิดขึ้น และนำเสนอในรูปแบบของเครื่องจักรแบบจำลองสถานะเชิงความน่าจะเป็น


ระบบจัดเก็บชิ้นส่วนโครงแบบของทรัพยากรการบริการไอทีโดยใช้อาร์ดีเอฟ, นราทิช ณ ลำปาง Jan 2017

ระบบจัดเก็บชิ้นส่วนโครงแบบของทรัพยากรการบริการไอทีโดยใช้อาร์ดีเอฟ, นราทิช ณ ลำปาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอทางเลือกของการจัดเก็บชิ้นส่วนโครงแบบของทรัพยากรการบริการไอที เพื่อให้การจัดการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้กับการจัดการโครงแบบ ซึ่งผู้บริหารจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมและถูกต้องเพื่อการตัดสินใจ โดยนำเสนอการเก็บข้อมูลลงฐานความรู้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับปัญหาเชิงกลยุทธ์ ซึ่งโครงร่างออนโทโลยีได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาโครงแบบของทรัพยากรการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของอาร์ดีเอฟเอ็นทริปเปิล คลาสและลำดับชั้นของโครงร่างถูกออกแบบให้แสดงความสัมพันธ์ของซีไอได้อย่างเหมาะสม การออกแบบการสืบค้นใช้ภาษาสปาควอลเพื่อรองรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การคำนวณงบประมาณในการบำรุงรักษาประจำปี เป็นต้น โปรแกรมโพรเทเจถูกเลือกมาเพื่อใช้ในการออกแบบโครงร่างออนโทโลยี จากนั้นพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยภาษาจาวาที่ใช้กรอบงานของจีนาผ่านทางอาปาเชจีนาฟุเซกิเซิร์ฟเวอร์ และเว็บแอปพลิเคชันสามารถทำงานได้สำเร็จตามแนวทางการใช้ออนโทโลยี


การจำแนกคุณภาพการใช้งานและปัญหาของเกมแอ็คชัน จากบทวิจารณ์ของผู้ใช้ด้วยการทำเหมืองข้อความ, อตินัติ์ วัฒนบุรานนท์ Jan 2017

การจำแนกคุณภาพการใช้งานและปัญหาของเกมแอ็คชัน จากบทวิจารณ์ของผู้ใช้ด้วยการทำเหมืองข้อความ, อตินัติ์ วัฒนบุรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อเกมคือบทวิจารณ์เกมที่ปรากฏบนเว็บไซต์ต่างๆ จากผู้ใช้เกม สามารถระบุถึงความพึงพอใจของผู้ใช้ในการใช้ซอฟต์แวร์เกม และนำมาช่วยในการระบุความต้องการเชิงคุณภาพของซอฟต์แวร์เกม อย่างไรก็ตามบทวิจารณ์เกมจากผู้ใช้เกมนั้นมีจำนวนมากตามความนิยมของเกม รวมทั้งมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นภาษาธรรมชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกันตามแต่ลักษณะการเขียนของผู้เขียนบทวิจารณ์ มักไม่มีการสรุปว่าเป็นประโยคที่กล่าวถึงประเภทของคุณภาพและปัญหาของเกมในเรื่องใด และมีความคิดเห็นเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ การที่จะจำแนกประโยคจากบทวิจารณ์เกมในด้านคุณภาพและปัญหาจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรด้านมนุษย์และเวลา งานวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอวิธีการจำแนกประโยคของบทวิจารณ์เกมแอ็คชันด้วยวิธีการทำเหมืองข้อความ ซึ่งบทวิจารณ์เกมประเภทแอ็คชันได้ถูกเลือกมาใช้เพราะเกมแอ็คชันเป็นประเภทของเกมที่ได้รับความนิยมสูง โดยงานวิทยานิพนธ์นี้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1) การระบุและนิยามปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของเกมและปัญหาของเกม 2) การสร้างคลังคำศัพท์ของปัจจัยที่นิยามไว้ด้วย การสกัดคำอธิบายการระบุและนิยามปัจจัย การสกัดจากบทวิจารณ์เกม และการใช้เครื่องมือเวิร์ดเน็ตในการขยายคลังคำศัพท์ 3) การวิเคราะห์เพื่อจำแนกประโยคของบทวิจารณ์ทั้งในด้านความคิดเห็นเชิงบวกและเชิงลบ และด้านปัจจัยที่นิยามไว้ 4) การพัฒนาเครื่องมือตามแนวคิดที่นำเสนอ 5) การประเมินประสิทธิผลของเครื่องมือด้วยการทดลองจากการคำนวณค่าความแม่นยำ โดยการตรวจสอบการจำแนกประโยคของบทวิจารณ์เกมโดยเครื่องมือเปรียบเทียบกับการจำแนกโดยผู้เชี่ยวชาญ ประสิทธิผลของเครื่องมือในการจำแนกได้เหมือนกันทั้งหมดกับผู้เชี่ยวชาญในรูปของค่าความแม่นยำเฉลี่ย ของการจำแนกความคิดเห็นเชิงบวกและเชิงลบมีค่าร้อยละ 59.51 ของการจำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของเกมและปัญหาของเกมมีค่าร้อยละ 64.46 และ 81.01 ตามลำดับ


ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อของแอพพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษา: แอพพลิเคชันอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศในอาเซียน, ปุณพีร์ สิทธิกิจ Jan 2017

ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อของแอพพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษา: แอพพลิเคชันอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศในอาเซียน, ปุณพีร์ สิทธิกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อของแอพพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ได้แก่ (1) การรับรู้ความง่าย (2) การรับรู้ประโยชน์ (3) การรับรู้ความสนุกสนาน (4) การรู้สึกจดจ่อ (5) การมีปฏิสัมพันธ์ โดยมีตัวแปรกำกับคือ เจเนอเรชัน และเพศ เพื่อให้ได้ผลที่ครอบคลุมและหลากหลายงาน วิจัยนี้ได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษา ออกเป็น เพศชายและเพศหญิง และ แบ่งตามเจเนอเรชันซึ่งได้แก่ เจเนอเรชัน X, เจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ โมไบล์แอพพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ข้อมูลเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน ที่ได้ทดลองใช้แอพพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดเตรียมไว้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสนุกสนาน การรู้สึกจดจ่อและการมีปฏิสัมพันธ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อ โดยในภาพรวมพบว่า การรับรู้ความง่ายมีความสัมพันธ์มากที่สุดกับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำ การรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับความตั้งใจในการบอกต่อ ในกรณีที่เพศและเจเนอเรชันของผู้ใช้ต่างกันพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อเช่นกัน สำหรับเพศชาย พบว่าการรับรู้ความง่ายมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำมากที่สุด และการมีปฏิสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการบอกต่อมากที่สุด ในกรณีเพศหญิงพบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์มากที่สุดทั้งกับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อ ในแง่ของเจเนอเรชันผู้ใช้พบว่า เจเนอเรชัน X และเจเนอเรชัน Y การรับรู้ความสนุกสนานมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อมากที่สุด เจเนอเรชัน Z พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อมากที่สุด


ผลของระยะห่างระหว่างอักษร ความหนาของเส้นรบกวน และเงื่อนไขการใช้สี ต่ออัตรายืนยันความเป็นมนุษย์และอัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความ, ศุภาพิชญ์ ชูชาติ Jan 2017

ผลของระยะห่างระหว่างอักษร ความหนาของเส้นรบกวน และเงื่อนไขการใช้สี ต่ออัตรายืนยันความเป็นมนุษย์และอัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความ, ศุภาพิชญ์ ชูชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แคปท์ชาข้อความเป็นเครื่องมือที่ใช้ทดสอบว่าผู้ใช้งานเป็นมนุษย์จริงหรือไม่ ดังนั้นแคปท์ชาข้อความที่ดีควรป้องกันการโจมตีจากโปรแกรมอัตโนมัติได้ แต่มนุษย์ยังคงเข้าใจได้ง่าย การวัดความสามารถของแคปท์ชาข้อความคือ (1) การวัดอัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์ อันหมายถึงอัตราที่ผู้ใช้สามารถระบุอักษรที่ปรากฏในแคปท์ชาข้อความได้ถูกต้อง และ (2) การวัดอัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความ อันหมายถึงอัตราที่แคปท์ชาข้อความสามารถป้องกันการโจมตีของโปรแกรมอัตโนมัติได้ ดังนั้นจึงน่าสนใจที่จะวิเคราะห์ผลของ (1) ระยะห่างระหว่างอักษร (2) ความหนาของเส้นรบกวน และ (3) สีของเส้นรบกวน ต่ออัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์ และอัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กับหน่วยทดลองจำนวน 360 คน การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ระยะห่างระหว่างอักษร และความหนาของเส้นรบกวนมีผลต่ออัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์ ทว่าผลของสีของเส้นรบกวนต่ออัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์ไม่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าระยะห่างระหว่างอักษร และความหนาของเส้นรบกวนมีผลต่ออัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความ ทว่าผลของสีของเส้นรบกวนต่ออัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความไม่มีนัยสำคัญ ข้อสรุปที่ได้จากงานวิจัยนี้เป็นการต่อยอดองค์ความรู้สำหรับพัฒนาแคปท์ชาข้อความ อีกทั้งผู้พัฒนาแคปท์ชาข้อความสามารถใช้ข้อค้นพบนี้ในเลือกระยะห่างระหว่างอักษร และเส้นรบกวน เพื่อออกแบบแคปท์ชาข้อความให้ง่ายต่อการใช้งานของมนุษย์ และยากต่อการโจมตีของโปรแกรมอัตโนมัติ


การจัดวางองค์ประกอบของส่วนแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ให้บริการจองโรงแรมออนไลน์: การศึกษาเชิงประจักษ์โดยใช้การติดตามการมอง, สกลพร โนรี Jan 2017

การจัดวางองค์ประกอบของส่วนแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ให้บริการจองโรงแรมออนไลน์: การศึกษาเชิงประจักษ์โดยใช้การติดตามการมอง, สกลพร โนรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่ารูปแบบการจัดวางองค์ประกอบของส่วนแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ให้บริการจองโรงแรมออนไลน์ควรมีลักษณะอย่างไร ตามความชอบหรือความพึงพอใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต การเก็บข้อมูลของงานวิจัยนี้ถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยในการเก็บข้อมูลช่วงที่หนึ่ง ผู้วิจัยเลือกองค์ประกอบของส่วนแสดงความคิดเห็นมาจากเว็บไซต์ให้บริการจองโรงแรมออนไลน์ที่มีความนิยมในปัจจุบัน เช่น agoda.com booking.com เป็นต้น เพื่อให้หน่วยตัวอย่างของงานวิจัยทำการทดลอง โดยหน่วยตัวอย่างจะจัดวางองค์ประกอบเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่หน่วยตัวอย่างต้องการเห็นมากที่สุด โดยรูปแบบของการจัดวางองค์ประกอบส่วนแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นผลสรุปของการเก็บข้อมูลช่วงที่หนึ่งจะถูกสร้างโดยใช้องค์ประกอบและตำแหน่งที่มีหน่วยตัวอย่างเลือกมากที่สุด ในการเก็บข้อมูลช่วงที่สอง ส่วนแสดงความคิดเห็นที่เป็นผลมาจากเก็บข้อมูลช่วงที่หนึ่งจะถูกนำมาวัดความสามารถในการใช้งาน โดยพิจารณาการรับรู้ความง่ายในการใช้งานและการรับรู้อรรถประโยชน์ และนำค่าเหล่านี้ไปเปรียบเทียบความสามารถในการใช้งานกับส่วนแสดงความคิดเห็นของเว็บไซต์ agoda.com ในการเก็บข้อมูลช่วงที่สอง จะมีการใช้เครื่องมือติดตามการมองเพื่อบันทึกและวิเคราะห์เส้นทางการมองของหน่วยตัวอย่าง ผลจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้ผลสรุปว่า รูปแบบการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นผลของการเก็บข้อมูลช่วงที่หนึ่งของงานวิจัยมีความแตกต่างจาก agoda.com การรับรู้ความง่ายในการใช้งานของส่วนแสดงความคิดเห็นทั้งสองรูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การรับรู้อรรถประโยชน์ของส่วนแสดงความคิดเห็นทั้งสองรูปแบบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเส้นทางการมองส่วนแสดงความคิดเห็นทั้งสองรูปแบบ มีความแตกต่างกัน คำศัพท์สำคัญ: ส่วนแสดงความคิดเห็นโรงแรมออนไลน์, ความสามารถในการใช้งาน, การติดตามการมอง, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


จุดพร้อมโยงที่ปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัยผ่านเอ็นเอฟซีบนสมาร์ตโฟน, วิภพ โพธิ์มาก Jan 2017

จุดพร้อมโยงที่ปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัยผ่านเอ็นเอฟซีบนสมาร์ตโฟน, วิภพ โพธิ์มาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายเป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจ สถานที่ทำงานบางแห่งมีนโยบายให้พนักงานนำอุปกรณ์ที่เป็นของตนเองเพื่อเข้าถึงสารสนเทศและใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆของบริษัท หลายองค์กรได้จัดเตรียมระบบเครือข่ายไร้สายภายในองค์กร เพื่อสนับสนุนการเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กและความสะดวกในการจัดการ อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยของเครือข่ายองค์กรจำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิ์ที่เข้มงวด เนื่องจากข้อมูลสำคัญจำนวนมากจะถูกถ่ายโอนผ่านเครือข่ายไร้สาย ดังนั้น การพิสูจน์ตัวจริงถูกมองว่าเป็นหน้าด่านแรกของการป้องกันการเข้าถึงที่ไม่มีสิทธิซึ่งสามารถลดภัยคุกคามต่อเครือข่ายไร้สายได้ WPA2 Enterprise กับมาตรฐาน 802.1X มักถูกนำมาใช้เพื่อจัดการขั้นตอนพิสูจน์ตัวจริงบนเครือข่ายด้วยกรอบงาน EAP โดยเฉพาะกรอบงานประเภท EAP-TLS ที่ใช้ใบรับรองในการพิสูจน์ตัวจริงร่วมกัน ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงแต่การใช้งานจริงมีความยุ่งยาก เนื่องจากการจัดการใบรับรองลูกข่าย ด้วยเหตุนี้ การจัดการข้อมูลใบรับรองสำหรับผู้ใช้ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องยุ่งยากต่อผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้มักจะประสบกับกระบวนการพิสูจน์ตัวจริงที่ซับซ้อน เช่น การติดตั้งใบรับรอง การกำหนดการตั้งค่าเครือข่าย เป็นต้น เพื่อลดภาระในการจัดการใบรับรองของผู้ดูแลระบบ และเพื่อสนับสนุนนโยบายความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายระดับสูง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอแนวทางการพิสูจน์ตัวจริงกับจุดพร้อมโยงเครือข่ายไร้สายในองค์กรด้วยการใช้เทคโนโลยีเอ็นเอฟซีร่วมกับการพิสูจน์ตัวจริงแบบหลายปัจจัย สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลใบรับรองและข้อมูลการตั้งค่าเครือข่าย ระบบถูกพัฒนาบนสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์ที่สนับสนุนเอ็นเอฟซีโดยใช้งานร่วมกับสถาปัตยกรรมเครือข่ายไร้สายจำลองที่ใช้การตรวจสอบสิทธิ์แบบ WPA2-802.1X กับ EAP-TLS ทั้งนี้ แนวทางที่นำเสนอได้ถูกประเมินด้วย ตัววัดเวลาใช้งานจริงในการติดต่อเข้าถึงเครือข่ายไร้สาย และแบบสอบถามการประเมินประสบการณ์การใช้งานจากผู้ใช้