Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผงยางรถยนต์เหลือทิ้งดัดแปรด้วยแอมีนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์, ณภัสร์จิรา จารี Jan 2021

ผงยางรถยนต์เหลือทิ้งดัดแปรด้วยแอมีนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์, ณภัสร์จิรา จารี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมวัสดุดูดซับจากผงยางรถยนต์เหลือทิ้ง (WR) โดยการดัดแปรด้วยแอมีนเพื่อเพิ่มความจำเพาะต่อการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ศึกษาได้แก่ อัตราการไหลของแก๊สขาเข้า (50 70 และ 100 มิลลิลิตรต่อนาที) ขนาดอนุภาคของผงยาง (20 40 และ 60 เมช) ผงยางก่อนและหลังการบำบัดด้วยสารละลายกรด ชนิดของแอมีน (เตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนและพอลิเอทิลีนไดอิมีน) ความเข้มข้นของสารละลายแอมีน (ร้อยละ 2.5 5 และ 10 โดยน้ำหนัก) และอุณหภูมิในการดูดซับ (30 45 และ 60 องศาเซลเซียส) วัสดุดูดซับถูกพิสูจน์เอกลักษณ์ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะพื้นที่ผิวจำเพาะ หมู่ฟังก์ชัน ร้อยละของธาตุ และลักษณะสัณฐานวิทยา ความสามารถการดูดซับของผงยางเหลือทิ้งถูกทดสอบโดยเครื่องปฏิกรณ์แสตนเลสภายใต้ภาวะอุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ผงยางเหลือทิ้งขนาดเมช 60 มีค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นหลังบำบัดด้วยสารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 1 โมลาร์ (WR60A) เทียบกับผงยางเหลือทิ้งขนาด 60 เมชก่อนบำบัดด้วยสารละลายกรด (WR60) โดยใช้อัตราการไหลของแก๊สขาเข้าในการดูดซับ 70 มิลลิลิตรต่อนาที เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของแอมีนที่เหมาะสม ผงยางเหลือทิ้งขนาด 60 เมชก่อนการบำบัดด้วยสารละลายกรด (WR60) ถูกนำมาดัดแปรเพื่อทดสอบหาค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า การดัดแปรด้วยเตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนักช่วยเพิ่มค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับ WR60 ได้มากที่สุด (10.41 มิลลิกรัมต่อกรัม) หลังจากนั้นนำ WR60A ซึ่งเป็นวัสดุที่เตรียมจากผงยางเหลือทิ้งหลังบำบัดด้วยสารละลายกรดมาดัดแปรด้วยเตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก (WR60A_10T) พบว่า ค่าการดูดซับมีค่าเพิ่มขึ้น (11.64 มิลลิกรัมต่อกรัม) ที่ภาวะอุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศโดยใช้อัตราการไหลของแก๊สขาเข้า 70 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า WR60A_10T มีค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาความสามารถในดูดซับหลังจากการฟื้นฟูสภาพและจลนพลศาสตร์ของวัสดุดูดซับ พบว่า WR60A_10T มีค่าความจุในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงเพียงร้อยละ 4.02 หลังจากผ่านการดูดซับ-คายซับทั้งหมด 10 ครั้ง แบบจำลองจลนพศาสตร์แบบอาฟรามี (Avrami’s model) สามารถอธิบายกลไกการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้


Lamellar Inorganic Solids And Biochar Nanocomposites For Sorptive Removal Of Metal Ions And Nitrophenol, Sutasinee Sutthiklub Jan 2021

Lamellar Inorganic Solids And Biochar Nanocomposites For Sorptive Removal Of Metal Ions And Nitrophenol, Sutasinee Sutthiklub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, the adsorbents of ternary-component composites were developed to remove various types of toxic chemicals. The selected three components are clay, MgAl-layered double hydroxide (MgAl-LDH) and biochar because they are nontoxic and low cost and also possess high adsorption capacity and high surface area. The composites were synthesized by the combination of post-pyrolysis and co-precipitation methods, and characterized by XRD and SEM-EDS. The result shows that clay and LDH particles distributed and deposited on the biochar matrix, confirming the coexistence of three phases in micrometer and nanometer scales. Ni2+, CrO42- and 4-Nitrophenol were chosen as the representatives of …


ผลของชาร์จากไม้ไผ่และกะลาปาล์มที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, ณัฐชนน นิลอ่อน Jan 2021

ผลของชาร์จากไม้ไผ่และกะลาปาล์มที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, ณัฐชนน นิลอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันแหล่งพลังงานหลักคือก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบจากกระบวนการขุดเจาะน้ำมันของโลก การใช้วัสดุข้างต้นทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นจำนวนมาก และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การลดการปล่อย CO2 ทำได้โดยการใช้ชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานแทนการขุดเจาะน้ำมัน กระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันเป็นกระบวนการที่น่าสนใจที่สามารถแปลงชีวมวลเป็นผลิตภัณฑ์เหลวหรือผลิตภัณฑ์ชีวภาพ การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมในกระบวนการช่วยปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตของผลิตภัณฑ์ของเหลวจากกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน ชาร์ถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการที่มีราคาถูกและสามารถผลิตได้ง่ายจากชีวมวล นอกจากนี้การกระตุ้นชาร์ด้วยไอน้ำยังช่วยเพิ่มสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ดีขึ้น ในงานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาผลของชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำต่อผลผลิตและคุณภาพของน้ำมันดิบชีวภาพ โดยการทำไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงแบบแบตช์ที่อุณหภูมิ 300-350 องศาเซลเซียส ที่ความดันเริ่มต้น 2 เมกะพาสคัล โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที ชาร์ถูกกระตุ้นโดยไอน้ำที่อุณหภูมิ 800-900 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการกระตุ้น 120 นาที จากผลการทดลองพบว่า ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ชาร์กะลาปาล์มและชาร์ไม้ไผ่ร่วมด้วย เนื่องจากชาร์มีผลในการเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของชีวมวล ในส่วนของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่ 300 และ 350 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อใช้อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่สูงขึ้น ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบจะลดลงในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊สเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อใช้ชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำร่วมในกระบวนการกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน จะส่งผลช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันชีวภาพโดยพิจารณาจากค่าความร้อนสูง