Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Bioinformatics

PDF

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Entire DC Network

สังคมแบคทีเรียและเมแทบอโลมในทางเดินอาหารของหนอนพยาธิตัวกลม (Ascaris Lumbricoides) ในผู้ป่วยไทย, ปวิช กลมเกลียว Jan 2021

สังคมแบคทีเรียและเมแทบอโลมในทางเดินอาหารของหนอนพยาธิตัวกลม (Ascaris Lumbricoides) ในผู้ป่วยไทย, ปวิช กลมเกลียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคพยาธิไส้เดือน (Ascariasis) คือ การติดเชื้อพยาธิในลำไส้อันเกิดจากพยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides) ที่พบมากในประเทศกำลังพัฒนา และมีแนวโน้มต่อการดื้อยาต้านพยาธิในมนุษย์มากยิ่งขึ้น จากองค์ความรู้ในปัจจุบันพบว่าสังคมแบคทีเรียในลำไส้มีบทบาทสำคัญต่อสรีรวิทยา และภูมิคุ้มกันของมนุษย์ อย่างไรก็ตามพยาธิ และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ที่สภาพแวดล้อมเดียวกันกลับไม่พบรายงานปฏิสัมพันธ์อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้จึงทำการศึกษาสังคมแบคทีเรียในลำไส้ของพยาธิ และอุจจาระของมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่ (NGS; Next-generation sequencing) ผลการศึกษาพบว่าสถานะการติดเชื้อโรคพยาธิสัมพันธ์กับรูปแบบของสังคมแบคทีเรียในลำไส้หนอนพยาธิ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาเมตาโบโลมในลำไส้พยาธิผ่านการระบุชนิด และโครงสร้างของสารเมแทบอไลต์ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์อัลตราไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี-แมสส์สเปกโทรเมตรี (UHPLC-MS; Ultra-high performance liquid chromatography-mass spectrometry) พบระดับของสารชีวโมเลกุลที่จำเป็นอาทิ กรดอะมิโน ไขมัน และสารตั้งต้นของนิวคลีโอไทด์เพิ่มมากขึ้นในพยาธิที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรง ซึ่งสรุปได้ว่าสารเมแทบอไลต์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตไข่พยาธิและการเกิดโรคพยาธิไส้เดือน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการค้นพบนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้หนอนพยาธิ รวมถึงช่วยให้ค้นพบแนวทางในการรักษาโรคปรสิตแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


Analysis Of Protein-Protein Interaction Network From Leukocyte Transcriptomic Profiles In Severe Covid -19 Patients, Pakorn Sagulkoo Jan 2021

Analysis Of Protein-Protein Interaction Network From Leukocyte Transcriptomic Profiles In Severe Covid -19 Patients, Pakorn Sagulkoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Coronavirus disease 2019 (COVID-19) still provides global public health issues although several vaccines and antiviral agents have been developed. Some patients experience severe conditions needed medical intensive care, and some are dead due to the failure of treatments. Therefore, identifying the key genes and underlying molecular mechanisms is necessary to discover precisely targeted drugs. Analysis of protein-protein interaction (PPI) networks provides invaluable information to find disease mechanisms and effective alternative drugs. Hence, PPI network analysis based on leukocyte transcriptomic profiles of severe COVID-19 collected from Gene Expression Omnibus (GEO) DataSets was proposed for this study. A network diffusion method called …


การพัฒนากระแสงานเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการระบุอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิอะดีนีนในโพรคาริโอตจากข้อมูลลำดับเบสอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิยูรีดีนด้วยนาโนพอร์โดยตรง, จิรโชติ กรัณยากรณ์ Jan 2021

การพัฒนากระแสงานเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการระบุอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิอะดีนีนในโพรคาริโอตจากข้อมูลลำดับเบสอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิยูรีดีนด้วยนาโนพอร์โดยตรง, จิรโชติ กรัณยากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการเติมพอลิอะดีนีนเป็นการดัดแปรอาร์เอ็นเอที่ปลาย 3' หลังการถอดรหัสหรือเรียกว่าหางพอลิอะดีนีน ซึ่งหางพอลิอะดีนีนมีหน้าที่ในการควบคุมเสถียรภาพของอาร์เอ็นเอและนำไปสู่การควบคุมการแสดงออกของยีน ปัจจุบันการศึกษาความยาวและหน้าที่ของหางพอลิอะดีนีนในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอตมีน้อยมาก เนื่องจากความยาวของหางพอลิอะดีนีนในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอตสั้นมาก และทำหน้าที่เป็นสัญญาณการย่อยสลายอาร์เอ็นเอ ส่งผลให้ตรวจพบได้ยาก ในการศึกษานี้ได้ทำการพัฒนาวิธีทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาหางพอลิอะดีนีนความยาวสั้นในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอต โดยใช้ข้อมูลอาร์เอ็นเอจากการหาลำดับเบสยุคที่สามด้วยอ็อกซ์ฟอร์ดนาโนพอร์ที่สามารถหาลำดับเบสอาร์เอ็นเอสายยาวได้โดยตรง โดยทำการปรับปรุงขั้นตอนการเตรียมไลบรารี่สำหรับการหาลำดับเบสโดยใช้เอนไซม์เพื่อสังเคราะห์พอลิยูริดินที่ปลาย 3' ของสายลำดับเบส เพื่ออนุรักษ์ความยาวหางพอลิอะดีนีนดั้งเดิมไว้ และใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับพอลิอะดีนีนอะแดปเตอร์สำหรับการหาลำดับเบส วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม หรือถอดรหัสย้อนกลับ ที่อาจส่งผลต่อความยาวดั้งเดิมของหางพอลิอะดีนีน จากการศึกษาด้วยอาร์เอ็นเอสังเคราะห์ที่มีการกำหนดความยาวหางพอลิอะดีนีนไว้คงที่ พบว่าโปรแกรมสำหรับการประมาณความยาวหางพอลิอะดีนีน (nanopolish และ tailfindr) มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณความยาวของหางพอลิอะดีนีนสายสั้น โดยมีค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.33 ถึง 7.49 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ nanopolish และ 6.38 ถึง 16.89 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ tailfindr หลังจากการปรับปรุงข้อมูลด้วยการกำจัดสัญญาณไม่ปกติและใช้ข้อมูลจากการลำดับเบสเข้าช่วยพบว่าโปรแกรมสามารถหาความยาวของหางพอลิอะดีนีนสายสั้นได้ใกล้เคียงมากขึ้น โดยมีค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยลดลงอยู่ในช่วง 0.43 ถึง 7.28 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ nanopolish และ 3.28 ถึง 5.96 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ tailfindr และเมื่อนำวิธีการศึกษาดังกล่าวไปประยุกต์ในอาร์เอ็นเอของ Escherichia coli K-12 ได้ตรวจพบหางพอลิอะดีนีนในยีนซึ่งเคยมีรายงานจากงานวิจัยก่อนหน้า เช่น rpsO, rplQ และ ompA เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบยีนที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีหางพอลิอะดีนีน แต่ยังไม่มีรายงานมาก่อน เช่น apt และ ppa เป็นต้น การศึกษาความยาวหางพอลิอะดีนีนในโพรแคริโอตสามารถเชื่อมโยงกับการควบคุมการแสดงออกของยีนซึ่งจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการควบคุมการแสดงออกของยีนในแบคทีเรีย และสามารถนำไปประยุกต์ได้ในอนาคต


Improvement Of Selection Criteria And Prioritisation For Neoantigen Prediction, Phorutai Pearngam Jan 2021

Improvement Of Selection Criteria And Prioritisation For Neoantigen Prediction, Phorutai Pearngam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A tumour-specific neoantigen-based cancer vaccine is a potentially powerful treatment option, which utilises unique mutated peptides from tumour cells to boost the immune response and selectively attack cancer cells. Thus, the characterisation of the specifically targeted peptides that can be selectively recognised by the immune system is essential for this approach. However, a major problem in neoantigen prediction is obtaining false positives, leading to poor outcomes in clinical research and practice. This thesis aims to address some of the computational issues in neoantigen prediction, including developing more reliable statistics for assessing peptide binding to a major histocompatibility complex (MHC) protein …


การทำนายรูปแบบการแปรผันทางพันธุกรรมของยีนที่มีผลต่อการตอบสนองต่อยา 51 ยีนในประชากรไทยโดยใช้รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม, ณัฐณิชา วันแก้ว Jan 2021

การทำนายรูปแบบการแปรผันทางพันธุกรรมของยีนที่มีผลต่อการตอบสนองต่อยา 51 ยีนในประชากรไทยโดยใช้รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม, ณัฐณิชา วันแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแปรผันทางพันธุกรรมในยีนที่เกี่ยวข้องต่อการตอบสนองต่อยามีบทบาทสำคัญต่อความหลากหลายของการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล รูปแบบของการแปรผันทางพันธุกรรมเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ star allele เป็นสิ่งที่ได้รับการศึกษาในหลาย ๆ ประชากร แต่อย่างไรก็ตามโปรไฟล์ของ star allele มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากร ซึ่งในกลุ่มประชากรเอเชียยังมีการศึกษาไม่มากนัก การศึกษาของเราได้อธิบายความถี่แอลลีล ความถี่จีโนไทป์ ลักษณะของฟีโนไทป์ที่ถูกทำนายในยีนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยา 51 ยีน ในคนไทยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน 171 คน และเปรียบเทียบความถี่ของการแปรผันทางพันธุกรรมที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อการแสดงออกของยีนระหว่างประชากรไทยและประชากรชาติต่าง ๆ งานวิจัยนี้ใช้โปรแกรม Stargazer เพื่อทำนาย star allele และลักษณะของฟีโนไทป์โดยใช้ข้อมูลจากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในคนหนึ่งคนมีอย่างน้อย 3 ยีนที่มีฟีโนไทป์แบบที่ไม่ใช่ฟีโนไทป์ปกติ เราพบว่า 40 จาก 51 ยีนจะมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีฟีโนไทป์แบบที่ไม่ใช่ฟีโนไทป์ปกติ และมีอย่างน้อย 25% ของกลุ่มตัวอย่างที่มีฟีโนไทป์แบบที่ไม่ใช่ฟีโนไทป์ปกติใน 13 ยีน ได้แก่ SLCO1B3 (97.08%), CYP3A5 (88.3%), CYP2C19 (60.82%), CYP2A6 (60.2%), SULT1A1 (56.14%), G6PD (54.39%), CYP4B1 (50.00%), CYP2D6 (48.65%), CYP2F1 (46.41%), NAT2 (40.35%), SLCO2B1 (28.95%), UGT1A1 (28.07%) และ SLCO1B1 (26.79%) นอกจากนี้เรายังระบุการแปรผันทางพันธุกรรม 20 ตัวที่มีผลกระทบต่อการทำงานของยีนในระดับสูง ซึ่งยังไม่มีการรายงานในฐานข้อมูลใด ๆ ภูมิทัศน์ทางเภสัชพันธุศาสตร์ในคนไทยจากการศึกษานี้อาจมีส่วนช่วยให้คำแนะนำสำหรับนโยบายการทำจีโนไทป์ในประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการนำพาประเทศเข้าใกล้สู่การรักษาแบบจำเพาะรายบุคคลไปอีกขั้น