Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities

Journal of Letters

Journal

1984

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Entire DC Network

ปัญหาการควบคุมกำลังคน และแง่หนึ่งของการเมืองเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาตอนปลาย, บุษกร ลายเลิศ กาญจนจารี Jul 1984

ปัญหาการควบคุมกำลังคน และแง่หนึ่งของการเมืองเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาตอนปลาย, บุษกร ลายเลิศ กาญจนจารี

Journal of Letters

ในช่วงเวลาประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา การศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลายแนวจารีต ถูกท้าทาย ด้วยแนวการศึกษาใหม่ ๆ มีการศึกษาโดยยึดปัจจัยเศรษฐกิจเป็นหลัก และมีการเสนอภาพอยุธยาตอนปลายใน ลักษณะสังคมที่ "ปั่นป่วน" และ "ขัดแย้ง" อย่างรุนแรง ภาพดังกล่าวจะเป็นความจริงที่ถูกขยายเป็นสัดส่วน หรือภาพหักเหหรือไม่ก็ตามการเสนอก็เป็นการทดลองที่น่าสนใจ บทความนี้มีจุดมุ่งหมายหมายที่จะเสนอแนวทางศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลายอีกแนวหนึ่ง โดยอาศัยการทำความเข้าใจกับลักษณะการควบคุมกำลังคนในทางปฏิบัติของอยุธยาตอนปลาย ความเข้าใจพื้นฐาน ในประเด็นนี้น่าจะมีส่วนอธิบายจุดบอดในประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลายได้หลายจุด ทั้งน่าจะมีส่วนเติมช่องโหว่ในภาพอยุธยาตอนปลายได้ด้วย


ในแวดวงอักษรศาสตร์, ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน Jul 1984

ในแวดวงอักษรศาสตร์, ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน

Journal of Letters

No abstract provided.


นิตยสารการ์ตูน : อาหารสมองของเยาวชนไทย, เรื่องสิริ นิชรัตน์ Jul 1984

นิตยสารการ์ตูน : อาหารสมองของเยาวชนไทย, เรื่องสิริ นิชรัตน์

Journal of Letters

No abstract provided.


แนะนำหนังสือ : อักษรศาตร์นิพนธ์ 3, สุภาพรรณ ณ บางช้าง Jul 1984

แนะนำหนังสือ : อักษรศาตร์นิพนธ์ 3, สุภาพรรณ ณ บางช้าง

Journal of Letters

No abstract provided.


ภาพสะท้อนประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1848-1851 ในนวนิยายเรื่อง บทเรียนชีวิต, ทัศนีย์ นาควัชระ Jul 1984

ภาพสะท้อนประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1848-1851 ในนวนิยายเรื่อง บทเรียนชีวิต, ทัศนีย์ นาควัชระ

Journal of Letters

นวนิยายเรื่องบทเรียนชีวิต (L'Education sentimentale) มีแก่นสาระสองประการควบคู่กันไป คือ ความล้มเหลวในชีวิตของชายหนุ่มผู้หนึ่งกับความล้มเหลวในอุดมการณ์ทางการเมืองของคนหนุ่มในยุคนั้น กระบวนการค้นคว้าหาข้อมูลตลอดจนการวางตนเป็นกลางของผู้ประพันธ์ทำให้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในนวนิยายเรื่องนี้มีความชัดเจนละเอียดลออ และตรงตามข้อเท็จจริงจนเราสามารถนำมาเป็นเอกสาร อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ นอกจากนั้น กลวิธีการเขียนอันเป็นอัจฉริยภาพเฉพาะตนของโฟลแบรต์ทำให้ผู้อ่านไม่อาจปฏิเสธคุณค่าอันสูงส่งทางวรรณศิลป์ของนวนิยายเรื่องนี้ได้


บทสัมภาษณ์พิเศษ : อักษรศาสตร์ในสายตาของสี่ศาสตราจารย์, ปราณี กุลละวนิชย์, สมฤดี วิศทเวทย์, สุรางค์ศรี ตันเสียงสม, ภาวรรณ หมอกยา Jul 1984

บทสัมภาษณ์พิเศษ : อักษรศาสตร์ในสายตาของสี่ศาสตราจารย์, ปราณี กุลละวนิชย์, สมฤดี วิศทเวทย์, สุรางค์ศรี ตันเสียงสม, ภาวรรณ หมอกยา

Journal of Letters

No abstract provided.


กำเนิดกวีนิพนธ์อเมริกันสมัยใหม่, สุรภีพรรณ อุไรเลิศ Jul 1984

กำเนิดกวีนิพนธ์อเมริกันสมัยใหม่, สุรภีพรรณ อุไรเลิศ

Journal of Letters

กวีนิพนธ์อเมริกันแนวใหม่ในต้นศตวรรษที่ 20 เป็นการเคลื่อนไหวต่อต้านกวีนิพนธ์แบบโรแมนติกและวิคตอเรียน ซึ่งเฟื่องฟูในช่วงศตวรรษที่ 19 กวีนิพนธ์แนวใหม่นี้เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ และเชื่องช้า ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 โดยมีกวีอเมริกันหลายคน เช่น วิทแมน และ ดิกคินสัน เริ่มประพันธ์งานในแนวใหม่ ขบวนการเคลื่อนไหวที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของกวีนิพนธ์อเมริกันมาสู่สมัยใหม่ ได้แก่ ขบวนการเคลื่อนไหวซิมบัลลิสท์ และขบวนการเคลื่อนไหวอิมเมจิสท์ ลักษณะสําคัญของกวีนิพนธ์อเมริกัน สมัยใหม่ คือ มีเนื้อหาสาระกว้างขึ้น ใช้ภาษาพูดในบทร้อยกรอง ไม่มีโครงเรื่องและดําเนินเรื่องไม่ติดต่อกัน และใช้รูปแบบกลอนอิสระ


เพเธอร์ ฮันเค : "การบริภาษมหาชน" - ละครแนวใหม่จริงหรือ, พรสรรค์ ถมังรักษ์สัตว์ Jul 1984

เพเธอร์ ฮันเค : "การบริภาษมหาชน" - ละครแนวใหม่จริงหรือ, พรสรรค์ ถมังรักษ์สัตว์

Journal of Letters

บทละครเรื่อง "การบริภาษมหาชน" ของเพเธอร์ ฮันเค นักเขียนร่วมสมัยชาวเยอรมันนับเป็นวรรณกรรมเยอรมันสมัยใหม่ที่มีรูปแบบและเนื้อหาแปลกออกไปจากวรรณกรรมเยอรมันชิ้นอื่น ๆ ในยุคหลัง สงคราม ในงานประพันธ์ชิ้นนี้ อันเค เสนอ "ละคร" ในโฉมหน้าใหม่ ซึ่งต่างไปจากละครในความหมาย เดิมโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ชมเข้าถึงตนเองและตระหนักถึงความจริงแห่งชีวิต เป็นความพยายามของผู้เขียนที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมโดยอาศัยละครเป็นเครื่องมือ แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎี ละครเอพิค ของแบร์โทล เบรชท์ (1898-1956) จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าละครของฮันเคเมื่อเปรียบเทียบ กับละครของเบรชท์แล้ว เป็นละครแนวใหม่จริงหรือไม่


หน้าบรรณาธิการ, ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน Jul 1984

หน้าบรรณาธิการ, ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน

Journal of Letters

No abstract provided.


กำเนิดและวิวัฒนาการของวรรณยุกต์ ในภาษามอญ-เขมร, ธีระพันธ์ ล. ทองคำ Jul 1984

กำเนิดและวิวัฒนาการของวรรณยุกต์ ในภาษามอญ-เขมร, ธีระพันธ์ ล. ทองคำ

Journal of Letters

ภาษาในตระกูลมอญ-เขมรส่วนใหญ่เป็นภาษาไม่มีวรรณยุกต์ อย่างไรก็ตาม ภาษาในตระกูลนี้ บางภาษา เช่น ภาษาเวียดนาม ภาษาขมุ (บางถิ่น) ภาษาสัมเต้า (ปลั่ง) ฯลฯ ได้กลายเป็นภาษามีวรรณยุกต์ และบางภาษา เช่น ภาษาญัฮกุร (ชาวบน) ภาษาชอง ฯลฯ กำลังจะกลายเป็นภาษามีวรรณยุกต์ ขบวนการ เปลี่ยนแปลงจากการไม่มีวรรณยุกต์ไปสู่การมีวรรณยุกต์กำลังดำเนินอยู่ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในภาษาตระกูลมอญ-เขมร ช่วยยืนยันความถูกต้องของสมมติฐานเกี่ยวกับ กำเนิดและวิวัฒนาการของวรรณยุกต์ในภาษาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนักภาษาศาสตร์ อาทิเช่น โอดริกุรต์ เมทิซ็อฟ ฯลฯ ได้ตั้งไว้ นั่นคือสมมติฐานที่ว่า พยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย ลักษณะน้ำเสียงและระดับเสียงมี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้วรรณยุกต์ปฏิสนธิ กำเนิด และเจริญเติบโต


การใช้คำเสริมกริยาบางคำ, พันเต๋อติ่ง Jul 1984

การใช้คำเสริมกริยาบางคำ, พันเต๋อติ่ง

Journal of Letters

ในภาษาไทยมีคำไวยากรณ์ชนิดหนึ่งใช้หลังคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ทำหน้าที่เสริมความหมายของกริยาหรือคุณศัพท์ที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ความสมบูรณ์โดยแสดงทิศทาง บอกการณ์ลักษณะ หรือคุณลักษณะ เน้นน้ำหนักหรือแสดงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี คำชนิดนี้มีรูป เหมือนคำกริยา แต่ตำแหน่งและหน้าที่ต่างกัน ความหมายก็ต่างกัน แม้จะยังเกี่ยวโยงกันอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย คำชนิดนี้เรียกว่า "คำเสริมกริยา" ในบทความบทนี้ได้วิเคราะห์ถึงรายละเอียดของ การใช้และความหมายของคำเสริมกริยา 5 คํา คือ "ไป" "เข้า" "ขน" "ลง" และ "เสีย" คำเสริมกริยาเป็นคําไวยากรณ์ชนิดหนึ่ง ใช้หลังกริยาหรือคุณศัพท์ ทำหน้าที่เสริม ความหมายของกริยาหรือคุณศัพท์ที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ความสมบูรณ์โดยแสดงทิศทาง ลักษณะหรือคุณลักษณะ เน้นน้ำหนัก หรือแสดงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี เช่น คำว่า "ไป" "มา" "ขน" "ลง" "เข้า" "ออก" "อยู่" "แล้ว" "ไว้" "เสีย" "ดู" "เอา" "ให้" ฯลฯ


ระหว่างชีวิตกับวัฒนธรรม, โกวิท เอนกชัย Jul 1984

ระหว่างชีวิตกับวัฒนธรรม, โกวิท เอนกชัย

Journal of Letters

บทความ "ระหว่างชีวิตกับวัฒนธรรม" นี้ถอดมาจากคำบรรยายของอาจารย์โกวิท เอนกชัยใน รายการบรรยายทางวิชาการที่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมโครงการทะนุบํารุงศิลปวัฒนธรรมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2528 การบรรยายครั้งนี้เป็นการตอบคําถามที่ว่าเราจะทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างไร โดยการ "ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เข้าใจได้ยากยิ่งสองอย่าง" คือ ชีวิตซึ่งเป็น "สิ่งเคลื่อนไหวอยู่จริง" กับ วัฒนธรรม ซึ่งเป็น "แบบแผนชีวิต" และโดยการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับวัฒนธรรม


ละครประวัติศาสตร์ ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 (1757-1800) ในประเทศฝรั่งเศส, วัลยา วิวัฒน์ศร Jan 1984

ละครประวัติศาสตร์ ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 (1757-1800) ในประเทศฝรั่งเศส, วัลยา วิวัฒน์ศร

Journal of Letters

ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 จาก 1757 ถึง 1800 ละครเป็นมหรสพที่แพร่ หลายอย่างกว้างขวางในประเทศฝรั่งเศส แทบทุกชั้นวรรณะมีโอกาสได้ดูละครเหมือน คนในสมัยปัจจุบันไปดูภาพยนตร์ ลักษณะนี้ แตกต่างไปจากศตวรรษก่อน ซึ่งละครเป็น ความบันเทิงของชนชั้นขุนนางเท่านั้น เป็นที่ คาดคะเนได้ว่าในช่วงเวลา 43 ปีดังกล่าว ละครเล่นหรือตีพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 2000 เรื่อง ในจำนวนนี้มีบทละคร ไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสี่ใช้ประวัติศาสตร์เป็นแก่นเรื่อง ละครประวัติ ศาสตร์นี้ทั้งในเนื้อหาและรูปแบบเป็นบ่อเกิด ของดีตละคร (melodrame) ซึ่งเกิดขึ้นในปลาย ศตวรรษที่ 18


หน้าบรรณาธิการ, ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน Jan 1984

หน้าบรรณาธิการ, ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน

Journal of Letters

No abstract provided.


อ็องเดร จีด นักเขียนนวนิยายวิจารณ์สังคมฝรั่งเศส ต้นศตวรรษที่ 20, รัตนาภรณ์ ธรานุรักษ์ Jan 1984

อ็องเดร จีด นักเขียนนวนิยายวิจารณ์สังคมฝรั่งเศส ต้นศตวรรษที่ 20, รัตนาภรณ์ ธรานุรักษ์

Journal of Letters

ผลงานทางด้านวรรณกรรมของอ็องเดร จืด (Andre Gide) ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็นนักอักษรศาสตร์ ชั้นนำของฝรั่งเศสในต้นศตวรรษที่ 20 ความยิ่งใหญ่ของฉีดนั้นมิได้มีเฉพาะในทางด้านอักษรศาสตร์เท่านั้น หากแต่เขายังเป็นบุรุษผู้มีบทบาททางการปฏิรูปสังคมในยุคสมัยของเขาอย่างแข็งขันด้วย งานเขียนและโดยเฉพาะนวนิยายของจุดชี้ให้เพื่อนร่วมสมัยเห็นข้อบกพร่องของสังคมได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังให้ข้อเสนอ แนะและทางออกที่เขาคิดว่าควรจะเป็นแก่คนในสังคมฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 20 อีกด้วย


การวิจารณ์สังคมในบทละครเรื่อง วอยเช็ค (Woyzeek) ของเกออร์ก บืชเนอร์ (Georg Buchner), ชูศรี ภักดีเจริญชัย Jan 1984

การวิจารณ์สังคมในบทละครเรื่อง วอยเช็ค (Woyzeek) ของเกออร์ก บืชเนอร์ (Georg Buchner), ชูศรี ภักดีเจริญชัย

Journal of Letters

เกออร์ก บืชเนอร์ (Georg Buchner : 1813-1837) กวีสำคัญคนหนึ่งของเยอรมันในสมัย ศตวรรษที่ 19 เป็นนักปฏิวัติหัวรุนแรง ก่อนที่จะเป็นนักประพันธ์ ด้วยจิตใจที่ผูกพันกับการเมืองอย่างลึกซึ้ง บืชเนอร์อดที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนในงานประพันธ์ไม่ได้ และงานประพันธ์ที่แสดงความคิดทาง การเมืองของเขาอย่างเด่นชัดที่สุดคือ บทละครเรื่อง "วอยเช็ค" (Woyzeek) ซึ่งบีชเนอร์ได้วิจารณ์สังคม อย่างเต็มที่เขาใช้ภาพล้อ (Karikatur) เสียดสีและถากถางชนชั้นกลาง และ "จัดการ" ด้วยเสียงหัวเราะของคนอ่าน


แนะนำหนังสือ : ปมอสรพิษ, วัลยา รุกขพันธ์, ขจิตรา ภังคานนท์ Jan 1984

แนะนำหนังสือ : ปมอสรพิษ, วัลยา รุกขพันธ์, ขจิตรา ภังคานนท์

Journal of Letters

No abstract provided.


มหากาพย์นิเบลลุงเงิน (Das Nibelungenlied), ถนอมนวล โอเจริญ Jan 1984

มหากาพย์นิเบลลุงเงิน (Das Nibelungenlied), ถนอมนวล โอเจริญ

Journal of Letters

มหากาพย์นิเบลลุงเงิน เป็นวรรณกรรมชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของยุคกลาง ซึ่งสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ และลักษณะพิเศษของชนเผ่าเยอรมันสมัยอพยพได้เป็นอย่างดี เนื้อหาของวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการรบพุ่ง การแย่งชิงอำนาจ การยกย่องเจ้าเหนือหัว และการให้ความสำคัญแก่ความรักแบบชู้สาวเหนือกว่าความรักใน สายเลือด นอกจากนั้นผู้อ่านยังเห็นอิทธิพลของคริสตศาสนาที่มีต่อชนเผ่าเยอรมันในสมัยอพยพอีกด้วย ดังนั้น มหากาพย์นี้เบลลุงเงินจึงเป็นงานวรรณกรรมที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง


ส่วนประชิดของมนุษยคติในวรรณกรรม ของแซ็งเต๊กซูเปรี, โชติรส ลี Jan 1984

ส่วนประชิดของมนุษยคติในวรรณกรรม ของแซ็งเต๊กซูเปรี, โชติรส ลี

Journal of Letters

งานเขียนของแซงเต๊กซูเปรมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่มนุษยชาติ การดําเนินเนื้อเรื่องในงานเขียนของเขา มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติเป็นสําคัญโดยเฉพาะธรรมชาติในส่วนที่เป็นธาตุทั้งสี่ อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ


ในแวดวงอักษรศาสตร์, ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน Jan 1984

ในแวดวงอักษรศาสตร์, ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน

Journal of Letters

No abstract provided.


สังคมฟอนเฟะในนวนิยายของโมปัสซองต์, สุนิสา สุมิตร Jan 1984

สังคมฟอนเฟะในนวนิยายของโมปัสซองต์, สุนิสา สุมิตร

Journal of Letters

กีย์ เดอ โมปัสซองต์ ถ่ายทอดภาพชนชั้นมหาเศรษฐีของปารีส ผู้กุมอำนาจเศรษฐกิจและการเมือง ในช่วงสุดท้ายของศตวรรษ 19 ลงไว้ในนวนิยายเรื่อง Bel Ami ได้อย่างซื่อสัตย์ โดยเฉพาะ "เบื้องหลังภาพ" ของสังคมที่สวยงามหรูหรานั้น ด้วยการตีแผ่ชีวิตและกําเนิดของตัวละครผู้ไต่เต้าและต่อสู้จนประสบ ความสำเร็จในสังคม และทำให้ผู้อ่านเห็นธาตุแท้ของคนซึ่งเป็นที่อิจฉาของคนทั่วไป และผู้ซึ่งสังคมยกย่อง


ดอน กิโฆเต้, พรสม ศิริสัมพันธ์ Jan 1984

ดอน กิโฆเต้, พรสม ศิริสัมพันธ์

Journal of Letters

ในบรรดาวรรณกรรมทั้งหลายของสเปนที่มีอยู่มากมายนั้น ผลงานชิ้นที่ได้รับการยกย่อง และมี ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ได้แก่นวนิยายเรื่อง "ดอน กิโฆเต้ อัจฉริยบุรุษแห่งลามันชา" ("EI Ingenioso Hidalgo Don Quijote de la Mancha") แต่งโดย มิเกล เด เซรบันเตส ซาเบดรา (Miguel de Cervantes Saavedra) นักประพันธ์เอกชาวสเปน ผู้มีชีวิตอยู่ในระหว่างช่วงสุดท้ายของศตวรรษที่ 16 ถึง ต้นศตวรรษที่ 17 คุณค่าที่ได้รับจากการอ่านนวนิยายเรื่องนี้ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว หากวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งลงไปจะพบว่า เบื้องหลังความสนุกสนานและขบขันนั้น เซรบันเตสได้ตีแผ่ให้เห็นถึง ความขัดแย้งภายในตัวมนุษย์ ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงอุดมคติที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณมนุษย์ที่ควรค่าแก่การยกย่อง และมีลักษณะที่เป็นสากลได้อย่างดีเลิศ