Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 124

Full-Text Articles in Entire DC Network

"Train To Busan" Movie : A Reflection Of Social Problems In South Korea, Souwaluck Sungnoi Jan 2019

"Train To Busan" Movie : A Reflection Of Social Problems In South Korea, Souwaluck Sungnoi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to analyze a reflection of social problems in “Trian to Busan” movie. The study is a qualitative research that uses Roland Barthes’s semiology to analyze the social problems which are reflected in the movie through elements such as scenes, dialogues of characters The results from this study show that “Train to Busan” movie reflects the social problems in contemporary South Korean society through scenes, dialogue of characters. These problems are family problems, social class and inequality, environmental problems and political problems. The problems which occur in South Korea are a result of the rapid …


ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า, กาญจนาภรณ์ พ่วงสุวรรณ Jan 2019

ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า, กาญจนาภรณ์ พ่วงสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ประกอบด้วยคำศัพท์ในส่วนที่เป็นลักษณะทั่วไป หลักเกณฑ์การพิจารณาการกำหนดตลาด ผู้ที่มีส่วนในตลาด โครงสร้างตลาด และพฤติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงและแหล่งที่รวบรวมความรู้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษากฎหมายฉบับนี้ ในการจัดทำประมวลศัพท์ฉบับนี้ ได้ศึกษาและนำทฤษฎีและแนวทางการจัดทำประมวลศัพท์ของนักศัพทวิทยาและสำนักต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ 1) การกำหนดหัวข้อ ขอบเขตการศึกษา แลวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลศัพท์ 2) การศึกษาทฤษฎีและระเบียบวิธีในการจัดทำประมวลศัพท์ 3) การรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำคลังข้อมูลภาษา และการดึงคำศัพท์เฉพาะทาง 4) การสร้างมโนทัศน์สัมพันธ์ 5) การจัดทำบันทึกข้อมูลศัพท์เบื้องต้นและบันทึกข้อมูลศัพท์เพื่อกำหนดนิยามและคำศัพท์เทียบเคียงในภาษาไทย ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งทางการค้านี้ประกอบด้วยคำศัพท์ทั้งหมด 36 คำ ซึ่งนำเสนอตามการจัดกลุ่มและลำดับของมโนทัศน์สัมพันธ์ การนำเสนอคำศัพท์แต่ละคำนั้น ประกอบด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษ คำศัพท์เทียบเคียงในภาษาไทย คำนิยาม ประเภททางไวยากรณ์ หมวดหมู่ บริบทอ้างอิงที่พบคำศัพท์ รูปทางภาษาอื่นของคำศัพท์ ความสัมพันธ์กับคำศัพท์อื่น เป็นต้น


The Roles Of Animals And Plants In Linda Hogan's Solar Storms, Thammika Sawaengsri Jan 2019

The Roles Of Animals And Plants In Linda Hogan's Solar Storms, Thammika Sawaengsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper aims to examine the role of animals and plants in Linda Hogan’s Solar Storms (1995). It investigates how the lives of animals and plants have been intertwined with the Native Americans in their plight and struggle against the whites’ colonization from the pre-Columbian time to the present. It examines Hogan’s unique characterization of animals and plants. This paper argues that Hogan portrays as sentient agents with mysterious, transgressive, and creative qualities that are incomprehensible to human beings. Furthermore, the paper also discusses the non-humans’ roles in shaping the identity and history of the indigenous characters. In addition, the …


An Analysis Of A Digital Game As Resource Of Autonomous English Language Learning, Panich Wongkhwansane Jan 2019

An Analysis Of A Digital Game As Resource Of Autonomous English Language Learning, Panich Wongkhwansane

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The research aims to analyze an online digital game features and investigate students’ perceptions toward the game; whether or not they think the game is a context where the opportunities of English language learning and practicing could be provided. Five main game features were analyzed based on the games’ characteristics promoting language learning. In addition, in order to investigate the students’ perceptions, three participants were interviewed as a group. The data were collected through the semi-structured and individual follow-up interview, and analyzed using qualitative approach. The findings indicated that, provided int the game, there are five major features which could …


The Relationship Between The ‘Banality Of Evil’ And The Nuremberg Trials, Ananya Charoenwong Jan 2019

The Relationship Between The ‘Banality Of Evil’ And The Nuremberg Trials, Ananya Charoenwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nazi Germany gave the history of human the dark period from their crimes against humanity, the Holocaust, in which 6 million Jews were murdered. To provide justice for victims after Nazi Germany’s defeat in World War II, Nazi officials were brought to the International Courts of Justice (ICJ), such as the Nuremberg Trials, which lasted from 1945 to 1946, and the Eichmann Trial in 1961. The Eichmann trial provided a fertile ground for the concept called the Banality of Evil developed by Hannah Arendt. The concept shows that one’s inability to think and blind obedience to duty can lead to …


The Normative Influence Of The North Atlantic Treaty Organization On The European Union's Common Security And Defence Policy, Xiaofei Yan Jan 2019

The Normative Influence Of The North Atlantic Treaty Organization On The European Union's Common Security And Defence Policy, Xiaofei Yan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

After the Cold War, NATO did not only disappear, but it also enlarged. Although the CSDP is on the agenda, it has not made significant progress in terms of assets and capabilities. For the study on the relationship between the two, most current studies are based on realism. Starting from the perspective of constructivism, this paper used documentary analysis to review the normative history of NATO and the history of the normative development of the CSDP, and found that the core political norms and security norms of the two are completely consistent. Finally, it concludes that the NATO norms influence …


Management For Publicizing Thai Dance In A Foreign Country : The Case Study Of Lor (Love, Obsession, Revenge) Performed At Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Canada, Nawarit Rittiyotee Jan 2019

Management For Publicizing Thai Dance In A Foreign Country : The Case Study Of Lor (Love, Obsession, Revenge) Performed At Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Canada, Nawarit Rittiyotee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study and to shape concepts in the management for publicizing Thai dance in a foreign country. This study employed Love, Obsession, Revenge, or shortly, LOR as a case study and this Thai dance had already been performed at the Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Simon Fraser University, Canada. Autoethnography methodology was applied as the research method in this study as the researcher was part of the team. Nineteen observations were conducted and analyzed by comparing and contrasting theories and personal experiences. The findings revealed that partnership with international organization facilitated management for …


การจำลองการเสื่อมสภาพของสารสีในพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เกิดจากแสงและความชื้น, เดือนเต็มดวง เดชสุภา Jan 2019

การจำลองการเสื่อมสภาพของสารสีในพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เกิดจากแสงและความชื้น, เดือนเต็มดวง เดชสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของงานศิลปะ ภายในพิพิธภัณฑ์จึงมีข้อกำหนดเพื่อควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพ อย่างไรก็ตามยังมีงานศิลปะจำนวนมากที่ไม่ได้ถูกเก็บรักษาภายในสถานที่ที่มีการควบคุม ดังนั้นหากสามารถทำนายกระบวนการเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นและมีการป้องกันแก้ไขทันที จะสามารถช่วยรักษางานศิลปะนั้นให้อยู่ในสภาพดีและยืดเวลาที่ต้องบูรณะออกไปได้ งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาผลของการจำลองการเสื่อมสภาพที่มีสาเหตุจากแสงและความชื้นต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีของสารสี เพื่อใช้ในการติดตามการเสื่อมสภาพขององค์ประกอบของชิ้นงานศิลปะ โดยทดลองกับสารสีจำลองที่พบในพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ประการแรกคือการวิเคราะห์สารสีที่ใช้ในพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยการถ่ายภาพเชิงเทคนิคและเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรสโกปี ประการที่สองคือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารสีในแผ่นสีตัวอย่าง เมื่อผ่านการจำลองการเสื่อมสภาพที่ระยะเวลาการเร่งการเสื่อมสภาพด้วยแสงที่ 5, 30, 50, 70 และ 100 ชั่วโมง และที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ 55% และ 75% ตรวจสอบผลด้วยอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและรามานสเปกโทรสโกปี ร่วมกับการวิเคราะห์ความต่างสีระหว่างแผ่นสีตัวอย่างภายใต้สภาวะควบคุมและแผ่นสีตัวอย่างที่ผ่านการเร่งการเสื่อมสภาพ ประการสุดท้ายคือการทำนายการเสื่อมสภาพของพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างสเปกตรัมการสะท้อนที่ได้จากสีในพระบรมสาทิสลักษณ์และแผ่นสีตัวอย่าง จากผลการวิจัยที่เทียบกับแผ่นชาร์ทสารสี CHSOS คาดว่ามีการใช้สารสีจำนวน 12 ชนิดในพระบรมสาทิสลักษณ์ เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารสีในแผ่นสีตัวอย่างที่ผ่านการเร่งการเสื่อมสภาพและแผ่นสีตัวอย่างภายใต้สภาวะควบคุม พบว่าสารสีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมอินฟราเรด ได้แก่ สารสีสีดำงาช้าง สารสีสีน้ำตาลอัมเบอร์ สารสีสีแดงอะลิซาริน สารสีจากดินแดง สารสีสีเหลืองโครเมียม สารสีจากดินเหลือง และสารสีสีน้ำเงินมายา และสารสีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมรามาน ได้แก่ สารสีสีขาวไททาเนียมและสารสีสีขาวสังกะสี เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างสี พบว่าตัวอย่างสีที่ความชื้นสัมพัทธ์ 75% มีแนวโน้มที่จะให้ความแตกต่างสีมากกว่าตัวอย่างสีที่ความชื้นสัมพัทธ์ 55% อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงจากการจำลองการเสื่อมสภาพนี้ยังไม่มากพอที่จะใช้ทำนายการเปลี่ยนแปลงในภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ได้อย่างแม่นยำ เพียงแต่ระบุได้ว่าการเสื่อมสภาพของสารสีในพระบรมสาทิสลักษณ์เทียบได้กับการเสื่อมสภาพมากกว่า 20 ปี ของการเก็บรักษางานศิลปะไว้ในพิพิธภัณฑ์


กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์, พรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค Jan 2019

กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์, พรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องกรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทเกี่ยวกับบัณเฑาะว์ ชีวประวัติครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรี ด้านประวัติศาสตร์ ดนตรีพระราชพิธี และใช้การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมเป็นเวลา 10 เดือน ผลการวิจัยพบว่าบัณเฑาะว์ปรากฏในคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์พระศิวะ จึงใช้ในพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น บัณเฑาะว์มีส่วนประกอบทั้งหมด 9 ส่วน วิธีการบรรเลงแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือการไกวสำหรับการประโคมและการไกวสำหรับวงขับไม้ ในด้านการศึกษาประวัติชีวิตของครูบุญรัตน์พบว่าท่านเป็นชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด เริ่มฝึกหัดการสร้างเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือตั้งแต่อายุ 20 ปีโดยได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ได้รับมอบกระสวนเครื่องดนตรีราชสำนักภาคกลางจากอาจารย์ภาวาส บุนนาค เสาบัณเฑาะว์เป็นผลงานการออกแบบที่ใช้เวลาศึกษาและพัฒนาด้วยตนเอง กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ เริ่มจากการคัดเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ และปรับวัสดุให้มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนการสร้างบัณเฑาะว์เริ่มด้วยขั้นตอนการเตรียมขอบบัณเฑาะว์ ทำโครงบัณเฑาะว์ ทำหัวขุน ทำเสาบัณเฑาะว์ ทำขันชะเนาะ และประกอบบัณเฑาะว์ การกลึงบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ มีรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ การกลึงลวดลายต่าง ๆ คมชัดเปี่ยมด้วยสุนทรียะในเชิงช่างเป็นความประณีตในงานประณีตศิลป์ และการเก็บรายละเอียดที่งดงามชัดเจน จึงสร้างความเป็นอัตลักษณ์เชิงช่างของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์อย่างแท้จริง


การสืบทอดความรู้ด้านซอสามสายของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน, วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ Jan 2019

การสืบทอดความรู้ด้านซอสามสายของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน, วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังสายการสืบทอดความรู้ วิธีการถ่ายทอดความรู้ และการสืบทอดความรู้ของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ผลการศึกษาพบว่า (1) ครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) และครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล มาบูรณาการเข้ากับความรู้ด้านขับร้องและบุคลิกเฉพาะตน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเน้นความเรียบง่ายและความพอดี (2) ขั้นตอนการถ่ายทอดความรู้ประกอบด้วยการฝากตัว การถ่ายทอดความรู้ การวัดประเมินผล และการฝึกฝนเรียนรู้จากสถานการณ์จริง (3) การสืบทอดความรู้ประกอบด้วยการถ่ายทอดความรู้ 3 รูปแบบ ได้แก่ ถ่ายทอดโดยยึดหลักความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ถ่ายทอดโดยเลือกเฉพาะบางส่วนของวิชาความรู้ และถ่ายทอดโดยบูรณาการตามแนวทางของตนเอง ทั้งนี้ยังมีการสืบทอดความรู้โดยการเผยแพร่ผ่านการจัดการแสดง งานวิชาการ และสื่อรูปแบบต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการสืบทอดความรู้ซอสามสายของครูเจริญใจ สุนทรวาทิน คงแพร่หลายอยู่ในกลุ่มศิษย์ที่ศึกษาซอสามสายกับครูเจริญใจ สุนทรวาทินโดยตรง


การแสดงเดี่ยวดับเบิลเบสโดย แพรววนิตสิตา ณีศะนันท์, แพรววนิตสิตา ณีศะนันท์ Jan 2019

การแสดงเดี่ยวดับเบิลเบสโดย แพรววนิตสิตา ณีศะนันท์, แพรววนิตสิตา ณีศะนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวดับเบิลเบสครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาทักษะการบรรเลงดับเบิลเบสให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และต้องการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบทประพันธ์ที่นำมาใช้ในการแสดง รวมถึงศึกษาประวัติผู้ประพันธ์เพลงและวิเคราะห์องค์ประกอบในบทเพลง ค้นคว้าเทคนิคการบรรเลงเพื่อเพิ่มความเข้าใจในตัวบทเพลงซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้สามารถสื่อสารภาษาดนตรีสู่ผู้ฟังได้ตรงกับสิ่งที่ผู้ประพันธ์ต้องการ การแสดงครั้งนี้ผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงบรรเลงทั้งหมด 2 บทเพลง ได้แก่ (1) Divertimento Concertante for Double Bass and Piano ผลงานของ Nino Rota และ (2) Passione Amorosa for Two Double Basses and Piano ผลงานของ Giovanni Bottesini จัดแสดงในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 15.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรีธงสรวง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 54/1 ถนนสุขุมวิทซอย 3 กรุงเทพมหานคร รวมเวลาที่ใช้ในการแสดงทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง


กลวิธีการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ร.น., ศิริชัยวัตร ซ้ายสุข Jan 2019

กลวิธีการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตของเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ร.น., ศิริชัยวัตร ซ้ายสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิต กลวิธีการขับร้องเพลงแขกสาย เถา และเพลงแขกสี่เกลอ เถา สำหรับวงโยธวาทิตของเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ร.น. สำหรับมูลบทที่เกี่ยวข้องกับการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิต พบว่า มีจุดเริ่มต้นจากการรวมวงโยธวาทิตของเหล่าทหารแตร จวบจนปี พ.ศ. 2447 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำเพลงไทยสองชั้นของเก่ามาพระนิพนธ์แยกเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิต เพื่อบรรเลงรับส่งการขับร้องเพลงไทยที่ทรงบรรจุไว้เฉพาะด้วยพระองค์เอง โดยมีครูเจริญ พาทยโกศล เป็นผู้ประพันธ์ทางขับร้อง ส่วนกลวิธีการขับร้องปรากฏ 7 กลวิธี คือ การลักจังหวะ การย้อยจังหวะ การลอยจังหวะ การผันเสียง การกระทบเสียง การสะบัดเสียง และการปั้นคำ กลวิธีที่พบมากที่สุด คือ การกระทบเสียง ส่วนกลวิธีการลอยจังหวะพบเฉพาะเพลงแขกสี่เกลอ เถา ทั้งนี้พบสำนวนการขับร้องเฉพาะปรากฏ 3 สำนวน โดยขับร้องในจังหวะที่กระชับและมีระดับเสียงการขับร้องที่สูงกว่าวงเครื่องสายแต่ไม่สูงถึงวงปี่พาทย์ไม้แข็ง สำหรับเรือโทหญิง เลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ร.น.ยังคงรักษาแนวทางการขับร้องเพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตที่ได้รับการถ่ายทอดจากคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) ตามแบบฉบับของครูเจริญ พาทยโกศล ไว้อย่างเคร่งครัด


จันทบุรี : จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ, พิพัฒน์ บุญอภัย Jan 2019

จันทบุรี : จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ, พิพัฒน์ บุญอภัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและถ่ายทอดความสำคัญของความคิดถึง ความรัก ความอบอุ่นภายในครอบครัวในแง่ของจิตวิญญาณและความผูกพันระหว่างบุคคล วิเคราะห์และตีความเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบ 2) ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบที่ถ่ายทอดออกมาจากความคิดถึง ความรักและความอบอุ่นภายในครอบครัว จากและสบการณ์ของศิลปินในยุคสมัยต่างๆ 3) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาจากประสบการณ์ตรง “จันทบุรี: จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ” เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความตั้งใจที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความสำคัญและความผูกพันของครอบครัว โดยถ่ายทอดเรื่องราวของวิถีชีวิตความเป็นอยู่และ อัตลักษณ์ของคนในครอบครัวที่เป็นคนพื้นถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ผ่านผลงานจิตกรรมบนผืนผ้าใบ กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นความคิดถึง ความรัก และความอบอุ่นภายในครอบครัว ทั้งในแง่ของจิตวิทยาสังคมและสุนทรียศาสตร์ จากการศึกษาค้นคว้าและจากประสบการณ์ในอดีต โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัวที่ผู้วิจัยรักและผูกพัน เมื่อศึกษาข้อมูลดังกล่าวแล้ว พบว่าความรู้สึกรักและคิดถึงเป็นเพียงกระบวนการหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและยึดติดอยู่กับมัน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและความสบายใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ไม่ได้คำนึงว่าความรู้สึกสบายใจนั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดไป จึงทำให้ผู้วิจัยเข้าใจกระบวนการความคิดที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้และได้ถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกสู่ผลงานจิตรกรรมบนผืนผ้าใบ


Conceptual Metaphors Of Womanhood In English Literary Works By Indian Authors, Atula Ahuja Jan 2019

Conceptual Metaphors Of Womanhood In English Literary Works By Indian Authors, Atula Ahuja

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Conceptual Metaphor Theory (CMT) established the pervasiveness of metaphor in thought and language and provided evidence that metaphor is, in fact, deeply embedded in our conceptual system. Contrary to the original claim that conceptual metaphors are largely universal, in almost four decades after its inception, the CMT researchers including George Lakoff and Mark Johnson have advanced the idea of cultural influence on metaphorical conceptualisation. In recent years, the trend in metaphor research has been to study how metaphor behaves in naturally occurring discourse. It is in this context that the current study explores conceptual metaphors in India’s rich cultural …


Effects Of Oracy Building Instruction Via Blended Learning Environment On Eil Students’ Metacognitive Awareness, Kusuma Bangkom Jan 2019

Effects Of Oracy Building Instruction Via Blended Learning Environment On Eil Students’ Metacognitive Awareness, Kusuma Bangkom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aim (1) to develop oracy skills instruction in a blended-learning environment, (2) to investigate the effects of students’ metacognitive awareness after implementing the oracy building instruction via blended-learning environment, (3) and to investigate the students’ opinion towards using blended-learning environment. Twenty- nine high school students in Rayong were chosen as the sample group. The findings revealed that 1) there was a significant improvement of the participants’ metacognitive awareness after taking OBIBLE, 2) there was a significant improvement of the participants’ oracy skills after taking OBIBLE, 3) the students had positive opinions towards blened-learning environment. This research provides empirical …


Out-Of-Class Language Learning Strategies Of Thai University Students During Participant In The Summer Work And Travel Program, Thunyaporn Thanasumbun Jan 2019

Out-Of-Class Language Learning Strategies Of Thai University Students During Participant In The Summer Work And Travel Program, Thunyaporn Thanasumbun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

It has long believed that in-class instruction alone is not sufficient to promote language skill development of second and foreign language learners, so spending time during school break in a country where the target language is spoken is one way to further increase their language proficiency outside classes. The present study aimed to investigate out-of-class language learning strategies and intercultural competence skills of 353 Thai undergraduate students who participated in the Summer Work and Travel Program in the United States in the year 2018. Quantitative data were collected using the Strategy Inventory for Language Learning (SILL) developed by Oxford (1990) …


The Factors That Influencing To Thai's Free Independent Travelers Decision To Travel In South Korea, Onjira Kumboosya Jan 2019

The Factors That Influencing To Thai's Free Independent Travelers Decision To Travel In South Korea, Onjira Kumboosya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the Korea tourism industry has a popular to Thai's free independent travelers to visit South Korea. The objective of this study was the various factors that influencing to Thai’s Free Independent Travelers decision to travel in South Korea and to study behavior of Thai’s Free Independent Traveler to decide to travel in South Korea including to study principles of Korea Tourism Organization’s marketing that affect to decision of independent Thai travelers. The sample size is Thai’s Free Independent Travelers by using questionnaires 78 people consists were an online survey and in-depth interviews with bloggers 4 people and who’s don’t …


Impact Of Covid-19 Outbreak On Tourism Business In Thailand Targeting Korean Tourists, Phreeda Thadaopas Jan 2019

Impact Of Covid-19 Outbreak On Tourism Business In Thailand Targeting Korean Tourists, Phreeda Thadaopas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The spread of Coronavirus (COVID-19) temporarily stops the global travelling which decreases almost 100 percent of the tourists' number. The situation directly affects Thai tourism industry which is one of the significant industries in Thailand that generates large amount of income each year. This is because Thailand is very popular among international tourists, especially Korean tourists, Korea is ranked one of the top five countries base on the number of tourists entering Thailand with more than a year annd Korean tourists spend more than 80,000 million baht each year. There is a variety of services in Thailand for Korean tourists, …


โขนสมัครเล่น, ปิยะพล รอดคำดี Jan 2019

โขนสมัครเล่น, ปิยะพล รอดคำดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิวัฒนาการและคุณูปการของโขนสมัครเล่นในกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-2561) และ ศึกษากระบวนการจัดการองค์กรโขนสมัครเล่น ผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ในการค้นคว้าและรวบรวมเอกสารทั้งชั้นต้น และชั้นรอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสังเกตการณ์ และสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิตามศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า กลุ่มคนที่เป็นปัจจัยในวิวัฒนาการของโขนสมัครเล่น คือ ผู้จัดการแสดง ผู้แสดง ครูผู้สอน และผู้สนับสนุน และพิจารณาการวิวัฒนาการของโขนสมัครเล่นได้จากการจัดการแสดง คือ วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน โอกาสในการจัดการแสดง งบประมาณ บทโขน และเครื่องแต่งกาย วิวัฒนาการและคุณูปการของโขนสมัครเล่นแบ่งได้เป็น 4 ยุค ยุคที่ 1 อยุธยา และธนบุรี พ.ศ. 1893-2325 วิวัฒนาการ : ยุคกำเนิดวางรากฐาน บทโขน และรูปแบบการแสดง คุณูปการ : ด้านพิธีกรรม การปกครอง และการทหาร ยุคที่ 2 รัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2452 วิวัฒนาการ : ด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบ เนื้อเรื่องรามเกียรติ์ บทพากย์ และเทคโนโลยีการจัดการแสดงคุณูปการ : การพัฒนารูปแบบ บทโขนโรงในยุคต่อมา โอกาสในการแสดง และสร้างงาน ยุคที่ 3 รัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2452-2488 วิวัฒนาการ : ครูโขนมีบรรดาศักดิ์ ผลิตทั้งศิลปินโขนอาชีพกับโขนสมัครเล่น เล่นตามสมัครใจ บทสั้นกระชับ และชุดราชประดิษฐ์ คุณูปการ : ต้นแบบของการอนุรักษ์ การศึกษานาฎศิลป์ บทโขนโรงใน และรูปแบบการจัดการแสดงยุคต่อมา ยุคที่ 4 รัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2488-2561 วิวัฒนาการ : โขนย้ายจากหลวงมาสู่รัฐ บทโขนโรงในแบบกรมศิลปากร และเกิดโขนสมัครเล่นในหลายองค์กรคุณูปการ : ยกย่องพระมหากษัตริย์ เป็นสื่อในเรื่องการเมือง การทูต และเป็นส่วนสำคัญทำให้โขนไทยได้รับการยอมรับในระดับโลก กระบวนการจัดการองค์กรโขนสมัครเล่น สามารถแบ่งได้ 5 รูปแบบ 1) โขนสมัครเล่นหลวง …


คติชนกับการสร้างอัตลักษณ์ทหาร : กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาและการฝึกทางทหารกองทัพอากาศไทย, พริมรตา จันทรโชติกุล Jan 2019

คติชนกับการสร้างอัตลักษณ์ทหาร : กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาและการฝึกทางทหารกองทัพอากาศไทย, พริมรตา จันทรโชติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดในการสร้างคติชนทหารอากาศไทย อัตลักษณ์ของทหารอากาศไทยที่ประกอบสร้างจากคติชนทหารอากาศไทย และวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของคติชนทหารอากาศไทยในสถาบันการศึกษาและการฝึกทางทหาร กองทัพอากาศไทย 3 แห่ง คือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช โรงเรียนการบิน และหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน โดยเก็บข้อมูลระหว่างปี พ.ศ.2557-2561 ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์และแนวคิดเรื่องบทบาทหน้าที่ของคติชนเป็นแนวคิดหลักในการศึกษา ผลการศึกษาพบคติชนทหารอากาศไทยจำนวน 5 ประเภท ได้แก่ 1) ประเพณีและพิธี 2) วิถีปฏิบัติ 3) บทเพลง 4) เรื่องเล่า และ 5) ความเชื่อและวัตถุมงคล และจัดกลุ่มตามผู้สร้างคติชนได้ 2 กลุ่มสำคัญ คือ คติชนสถาบันกองทัพอากาศ และคติชนกลุ่มทหารอากาศ จากการวิเคราะห์แนวคิดในการสร้างคติชนทหารอากาศไทยพบว่าสถาบันกองทัพอากาศและกลุ่มทหารอากาศมีแนวคิดในการสร้างคติชน 10 แนวคิด คือ 1) แนวคิดเรื่องความเข้มแข็งอดทนของร่างกายและจิตใจ 2) แนวคิดเรื่องความกล้าหาญและเสียสละ 3) แนวคิดเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และความรักชาติ ศาสนา 4) แนวคิดเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกันและความผูกพัน 5) แนวคิดเรื่องการมีเกียรติศักดิ์และวินัยทหาร 6) แนวคิดเรื่องการลำดับชั้นและอาวุโสทางทหาร 7) แนวคิดเรื่องการรับวัฒนธรรมทหารอากาศสากล 8) แนวคิดเรื่องการมีศักยภาพสูงและความภาคภูมิใจในความเป็นทหารอากาศ 9) แนวคิดเรื่องการสร้างขวัญและกำลังใจ และ 10) แนวคิดเรื่องการแหวกกฎ ข้อบังคับ และขนบจารีต ซึ่งเป็นแนวคิดที่พบเฉพาะในการสร้างคติชนกลุ่มทหารอากาศ การวิเคราะห์อัตลักษณ์ของทหารอากาศไทยที่ประกอบสร้างจากคติชนชนทหารอากาศไทยพบว่ามีด้วยกัน 5 ประการ คือ 1) ทหารอากาศผู้เข้มแข็งอดทนและกล้าหาญเสียสละที่ควรแก่การภาคภูมิใจ 2) ทหารอากาศผู้จงรักภักดีและมีความผูกพันต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 3) ทหารอากาศผู้มีเพื่อนและพี่น้อง 4) ทหารอากาศผู้ชาญฉลาดและเป็นนักรบปกป้องน่านฟ้าไทย และ 5) ทหารอากาศผู้มีศักยภาพทัดเทียมทหารอากาศสากล ทั้งนี้ อัตลักษณ์ของผู้เข้มแข็งอดทน อัตลักษณ์ของผู้จงรักภักดีและผูกพันต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และอัตลักษณ์ของผู้มีเพื่อนและพี่น้องเป็นอัตลักษณ์ที่ทหารอากาศไทยมีร่วมกับทหารเหล่าทัพอื่น ส่วนอัตลักษณ์ของผู้ชาญฉลาดและเป็นนักรบปกป้องน่านฟ้าไทยเป็นอัตลักษณ์ที่พบเฉพาะกลุ่มทหารอากาศไทย อัตลักษณ์ของผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ทำให้ทหารอากาศไทยมีความแตกต่างจากทหารอากาศสากล นอกจากนี้คติชนทหารอากาศไทยมีบทบาทในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันจากการมีความทรงจำร่วมกัน บทบาทในการสร้างความมั่นคงทางใจในช่วงการเปลี่ยนผ่านและการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัย และบทบาทในการปลดปล่อยความตึงเครียดและเติมเต็มความต้องการทางใจ การศึกษาคติชนกับการสร้างอัตลักษณ์ของทหารอากาศไทยนอกจากทำให้เห็นการผสมผสานระหว่างความเป็นนักรบไทยและความเป็นทหารในกองทัพสมัยใหม่ ยังทำให้เห็นบทบาทหน้าที่สำคัญของคติชนต่อการสร้างทหารของกองทัพอากาศไทยที่มีลักษณะพึงประสงค์


พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ในสังคมไทยร่วมสมัย, พลกฤษณ์ วสีวิวัฒน์ Jan 2019

พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ในสังคมไทยร่วมสมัย, พลกฤษณ์ วสีวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ในสังคมไทยร่วมสมัย ศึกษาปัจจัยและบริบททางสังคมที่มีผลต่อพลวัตของ คติชน รวมทั้งวิเคราะห์พลวัตของคติชนและวิธีคิดในการนำคติชนมาใช้ในสังคมไทยร่วมสมัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วง พ.ศ. 2559-2562 ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร กระบี่ สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง และตรัง ผลการศึกษาพบว่า บริบทสังคมนครศรีธรรมราช บริบทสังคมไทย และบริบทสังคมโลกเป็น “ปัจจัยเร่ง” ที่กระตุ้นให้มีการนำคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์มาใช้ในบริบทใหม่ ๆ ขณะที่ลักษณะเด่นของคติชนในเรื่องความชัดเจนและความคลุมเครือของตำนานพระบรมธาตุเจดีย์ รวมทั้ง การผสมผสานคติการบูชาพระธาตุกับความเชื่อในท้องถิ่น เป็น “ปัจจัยเอื้อ” ต่อการเลือกนำส่วนใดส่วนหนึ่งของคติชนมาใช้ประโยชน์ เมื่อปัจจัยทั้งสองสอดรับกันจึงเกิดการนำคติชนในสังคมประเพณีมาปรับใช้ในสังคมปัจจุบันหลายลักษณะ ทั้งการสืบทอด การรื้อฟื้น การผลิตซ้ำ การประยุกต์ รวมถึงการตีความและสร้างความหมายใหม่ ทำให้เกิดคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ ในสังคมไทยร่วมสมัยหลายประเภท ได้แก่ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ที่สืบทอดจากคติชนเดิม รื้อฟื้นจากคติชนเดิม ประยุกต์จากคติชนเดิม ผลิตซ้ำจากบางส่วนของคติชนเดิม และคติชนที่สร้างขึ้นใหม่ การนำคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์มาใช้ในบริบทใหม่ ๆ ดังกล่าว ส่งผลให้คติชนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตในหลายมิติ คือ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์มีการนำเสนอผ่านกระบวนการวิชาการ มีการกลายเป็นสินค้าวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือในการจัดการความสัมพันธ์เชิงอำนาจและช่วยขยายความศรัทธาต่อพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งทำให้เกิดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใหม่ ตลอดจนเกิดศิลปะรูปแบบใหม่ ๆ นอกจากนี้พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ยังสะท้อนให้เห็นวิธีคิดของกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังการนำคติชนมาใช้ในสังคมปัจจุบัน คือ การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้ที่มีความศรัทธาต่อพระบรมธาตุเจดีย์ การเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในภาคใต้ การดัดแปลงให้เป็นของท้องถิ่นและการอนุรักษ์เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงวัฒนธรรมอีกด้วย การศึกษาครั้งนี้จึงทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับ “คติชนสร้างสรรค์” พระธาตุศึกษา และมรดกโลกศึกษาซึ่งจะเป็นแนวทางในการศึกษาการนำ คติชนในสังคมประเพณีมาใช้ในบริบทใหม่ ๆ ในแง่ของการเป็น “คติชนสร้างสรรค์” การเปลี่ยนแปลงของคติการบูชาพระธาตุในสังคมไทยร่วมสมัย และกระบวนการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในเชิงคติชนวิทยา


สำนวนภาษาในวรรณคดีไทยที่สัมพันธ์กับสำนวนภาษาในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต, อัสนี พูลรักษ์ Jan 2019

สำนวนภาษาในวรรณคดีไทยที่สัมพันธ์กับสำนวนภาษาในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต, อัสนี พูลรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาสำนวนภาษาในวรรณคดีไทยที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจากวรรณคดีบาลีและสันสกฤต โดยใช้วรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เป็นข้อมูลในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า วรรณคดีไทยมีสำนวนภาษาบาลีเป็นจำนวนมาก และสำนวนภาษาสันสกฤตจำนวนหนึ่ง จำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ สำนวนไวยากรณ์ และสำนวนเนื้อหา กวีไทยรับสำนวนภาษาเหล่านี้มาใช้ 2 ลักษณะ ได้แก่ การแปลและการดัดแปลง เมื่อสำนวนภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาสู่วรรณคดีไทยแล้วได้คลี่คลายไปตามปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ขนบวรรณศิลป์และความคิดสร้างสรรค์ของกวีไทย ปริบทสังคมวัฒนธรรมไทย และสากลลักษณ์ของการรับอิทธิพลภาษาต่างประเทศและการแปล สำนวนภาษาบาลีและสันสกฤตนับว่ามีความสำคัญต่อวัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดีไทยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในฐานะที่เป็นองค์ประกอบของภาษาทำเนียบพิเศษ เป็นต้นเค้าของขนบการแต่งวรรณคดีไทยส่วนใหญ่และจารีตวรรณคดีไทยบางประเภท รวมทั้งเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดีไทยขึ้นใหม่โดยไม่รู้สิ้นสุด โดยนัยนี้ สำนวนภาษาบาลีและสันสกฤตจึงสะท้อนให้เห็นว่า วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดีไทยมีลักษณะเป็นวัฒนธรรม ภารตานุวาท ซึ่งหมายความว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ความเจริญงอกงามของภาษาและวรรณคดีไทยส่วนหนึ่งเกิดจากการที่กวีไทยได้แปลและดัดแปลงสำนวนภาษาจากวรรณคดีภารตะ คือ บาลีและสันสกฤต แล้วนำมาสร้างสรรค์วรรณคดีไทยได้อย่างวิจิตรบรรจง


การสร้างสรรค์เพลงกลองอาเซียน, รังสรรค์ บัวทอง Jan 2019

การสร้างสรรค์เพลงกลองอาเซียน, รังสรรค์ บัวทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์เพลงกลองอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เพลงสำเนียงต่าง ๆ สร้างองค์ความรู้กระบวนการสร้างสรรค์เพลงกลองอาเซียนและจัดแสดงเพลงกลองอาเซียน โดยใช้กระสวนจังหวะกลองเป็นหลักในการประพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า การสร้างสรรค์เพลงกลองอาเซียน ที่ผู้วิจัยได้เลือกกลอง 10 ประเทศ มาเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง ได้แก่ 1.กลองมือ (สะโกไฎ) ราชอาณาจักรกัมพูชา 2.กลองสะบัดชัย ประเทศไทย 3.กลองเรอบานา อานัค (Rebana Anak) ประเทศบรูไน 4.กลองปัตวาย (Patwaing) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 5.กลองดีบากัน (Debakan) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 6.กลองเรอบานา อีบู (Rebana Ibu) สาธารณรัฐมาเลเซีย 7.กลองปิง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 8.กลองเตยเซิน (Trong Tay Son) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 9.กลองไชนิสดรัม (Chinese Drums) และกลองทับบล้า (Tabla) สาธารณรัฐสิงคโปร์ 10.กลองเกินดัง (Kendang) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยใช้หลักแนวคิดและทฤษฎีทางดนตรีมากำหนดรูปแบบในการประพันธ์ ทำให้เกิดผลงานการประพันธ์เพลงสำเนียงต่าง ๆ จำนวน 10 เพลง ได้แก่ เพลงสะโกไฎ เพลงเบิกชัย เพลงเรอบานาอานัค เพลงปัตวาย เพลงดีบากัน เพลงเรอบานาอีบู เพลงลาวปิง เพลงเตยเซิน เพลงจีนแขกสัมพันธ์ และ เพลงเกินดัง ซึ่งเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจในการศึกษารูปแบบการประพันธ์ในลักษณะนี้ การจัดการแสดงผลงานการสร้างสรรค์เพลงกลองอาเซียน ผู้วิจัยใช้วงดนตรีไทย 3 ประเภท เป็นหลัก ได้แก่ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ และวงรองเง็ง อีกทั้งนำเครื่องดนตรีชาติต่าง ๆ มาผสมผสาน และนำเครื่องดนตรีไทยบางชนิดมาประยุกต์ใช้ในบทเพลงเพื่อสร้างสีสัน และสร้างสำเนียงเพลงภาษาต่าง ๆ ได้แก่ สำเนียงจีน ลาว พม่า เขมร ญวน แขกอินเดีย แขกชวา และฝรั่ง โดยจัดแสดง ณ โรงละคร 150 ปี ศรีสุริยวงศ์ …


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ, วณิชชา ภราดรสุธรรม Jan 2019

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ, วณิชชา ภราดรสุธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และเกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ มีรูปแบบในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ทั้งสิ้น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง ออกแบบบทการแสดงโดยวิเคราะห์จากระบบของทฤษฎีไร้ระเบียบ แบ่งออกเป็น 4 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ที่ 1 ตัวดึงดูด (Attractor) องก์ที่ 2 ผลกระทบผีเสื้อ (Butterfly Effect) องก์ที่ 3 ไร้เสถียรภาพ (Unstable) และองก์ที่ 4 เรขาคณิตแบบเศษส่วน (Fractal) 2) นักแสดง ใช้การคัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะในการแสดงที่หลากหลายรวมทั้งรูปร่าง สีผิว เพศ ที่หลากหลายในการแสดง 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลาการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) การด้นสด (Improvisation) ตามหลักของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ และลีลาการเคลื่อนไหวเชิงละคร 4) เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า ใช้เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันมาออกแบบให้มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิมและใช้การแต่งหน้าขาวเพื่อลดทอนการแสดงสีหน้าของนักแสดง 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่พบเห็นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน 6) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ออกแบบเสียงและดนตรีให้มีความสอดคล้องกับบทการแสดงและใช้วิธีการบันทึกเสียงและตัดต่อเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 7) ฉากและพื้นที่การแสดง ออกแบบฉากโดยใช้การฉายภาพเคลื่อนไหวผ่านเครื่องฉายวีดิทัศน์ลงบนพื้นหลังของเวทีและตัวนักแสดง พื้นที่การแสดงใช้โรงละครประเภทแบล็คบ๊อคเธียเตอร์ (Black Box Theatre) ในการจัดการแสดง 8) แสง ใช้แสงเพื่อกำหนดพื้นที่ในแสดงเป็นหลักและสร้างอารมณ์ร่วมในการแสดง นอกจากนี้พบว่ามีแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ 5 ประการ ได้แก่ 1) ทฤษฎีไร้ระเบียบ 2) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 3) แนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) ความหลากหลายในงานนาฏยศิลป์ 5) แนวคิดนาฏยศิลป์สร้างสรรค์สะท้อนสังคม ทั้งนี้งานวิจัยฉบับนี้เป็นวิทยานิพนธ์เชิงสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ที่มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงอื่น ๆ เพื่อก่อเกิดความรู้และสามารถเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่จะศึกษางานทางด้านนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: 'ไตรศร' เดอะซินเธติคแจ๊สโพเอ็ม สำหรับวงดนตรีโมเดิร์นแจ๊สอองซอมเบิล, เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร Jan 2019

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: 'ไตรศร' เดอะซินเธติคแจ๊สโพเอ็ม สำหรับวงดนตรีโมเดิร์นแจ๊สอองซอมเบิล, เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: ‘ไตรศร’ เดอะซินเธติคแจ๊สโพเอ็ม สำหรับวงดนตรีโมเดิร์นแจ๊สอองซอมเบิล เป็นบทประพันธ์ที่ประพันธ์ขึ้นจากการศึกษาลักษณะเฉพาะตัว ทั้งด้านการประพันธ์ เทคนิคการอิมโพรไวส์เซชัน และบริบทของนักดนตรีแจ๊ส 3 คนที่โดดเด่นในศตวรรษที่ 20 นักดนตรีทั้ง 3 คนประกอบด้วย ชาร์ลี ปาร์คเกอร์ โดดเด่นด้านดนตรีบีบ็อพ ไมล์ส เดวิส โดดเด่นด้านดนตรีโมดัลแจ๊ส และจอห์น โคลเทรน โดดเด่นด้านดนตรีฟรีแจ๊สรวมถึงแนวคิด Coltrane Changes บทประพันธ์แบ่งรายละเอียดเป็น Episode I: ‘Kwan’ Introduction เป็นการนำชื่อเล่นของผู้ประพันธ์มาใช้เป็นตัวแทนสื่อถึงจินตนาการในการประพันธ์ โดยแนวทางการประพันธ์ได้หยิบยกวัตถุดิบในดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลงมาสร้างสรรค์ Episode II: ‘Red Bird’ เป็นการนำความประทับใจในบริบทของ ชาร์ลี ปาร์คเกอร์ มาสร้างสรรค์ Episode III: ‘Pedal Trane’ ประพันธ์ขึ้นจากแนวคิดที่ซับซ้อนของ จอห์น โคลเทรน Episode IV: ‘My Modal’ แรงบันดาลใจจากมิติเสียงอันทันสมัยของ ไมล์ส เดวิส และ Episode V: ‘Sinsiri’ Final บทประพันธ์ที่เป็นบทสรุปจากการศึกษานักดนตรีทั้ง 3 คน บทประพันธ์ทั้งหมดได้ถูกจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ ณ ห้อง Black Box Theater วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งการแสดงบทประพันธ์ได้รับเกียรติจากนักดนตรี 12 คน นำโดยผู้ควบคุมวง ดร.วานิช โปตะวนิช ผู้ควบคุมวงที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการดนตรีประเทศไทย และนักดนตรีชั้นนำอีก 11 คน จากวง Rangsit University Jazz Ensemble


การสร้างสรรค์บทและดนตรีสำหรับละครร้องเรื่อง เจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไล, สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์ Jan 2019

การสร้างสรรค์บทและดนตรีสำหรับละครร้องเรื่อง เจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไล, สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประวัติ แนวคิดและคุณค่าของนวนิยายเรื่อง เจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไล สร้างองค์ความรู้และการสร้างสรรค์บทและการประพันธ์ทำนองทางร้อง ดนตรีและกลวิธีการขับร้องสำหรับละครร้องโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสร้างสรรค์วิเคราะห์ข้อมูลตามหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ นวนิยายเรื่องเจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไลประพันธ์โดยวรมัย กบิลสิงห์ระหว่างปี พ.ศ. 2495-2496 เชิดชูผู้นำที่เป็นวีรสตรีที่ปรากฏอยู่ในความพยายามพิสูจน์ตนเองของตัวละครเพื่อต้องการสื่อสารด้านความหลากหลายทางเพศที่เกินขอบข่ายพื้นที่ตามโครงสร้างที่สังคมกำหนดและพิจารณาความไม่ยุติธรรมของสังคมที่อยู่ภายใต้อุดมการณ์ปิตาธิปไตย ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีเควียร์วิเคราะห์คุณค่าของนวนิยายเพื่อสื่อสารและแสวงหาคำตอบการไม่จำกัดกรอบทัศนคติทางเพศโดยนำต้นทุนและแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์มาจากแบบแผนการแสดงและการบรรเลงดนตรีละครร้องปรีดาลัย บทสำหรับละครร้องเรื่อง เจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไลมีจำนวน 7 ฉากและกำหนดแก่นของเรื่องคือ คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศสภาพ ตัวละครที่นำมาใช้ในการเล่าเรื่องจำนวน 4 ตัวละคร โดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครเอกคือเจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไล กำหนดให้มีลูกคู่ทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่องโดยยึดตามโครงสร้างเดิมของบทนวนิยายและตีความตามแก่นของเรื่องที่ผู้ที่วิจัยต้องการสื่อสาร การสร้างสรรค์ดนตรีและการขับร้องผู้วิจัยกำหนดแนวคิดการประพันธ์เพลงสำเนียงแขกโดยศึกษาและวิเคราะห์จากบทเพลงไทยสำเนียงแขกที่ใช้ในโขนละครไทยและนำดนตรีโนรา ดนตรีรองเง็งนำมาใช้เป็นต้นทุนการประพันธ์เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะตัวละคร สถานที่ที่ตัวละครอาศัยอยู่ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจ, ขวัญใจ สุขก้อน Jan 2019

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจ, ขวัญใจ สุขก้อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้บริโภคกลุ่มแมสทีจ (Masstige Consumer) คือ กลุ่มผู้บริโภคที่อยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มคนที่ต้องการสินค้าหรูหรา (Prestige) และสินค้าทั่วไป (Mass) กล่าวได้ว่า ผู้บริโภคกลุ่มแมสทีจ เป็นผู้บริโภคที่มีรสนิยมสูง แต่รายได้ไม่สูงเท่ากลุ่มผู้บริโภคชนชั้นสูง และยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าดูดีมีระดับเพื่อแลกกับการได้ประสบการณ์ในการได้ใช้สินค้าหรู เป็นการตอบสนองความพึงพอใจด้านจิตใจ แม้จะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าหรือใช้บัตรเครดิต ซึ่งถือว่าคนกลุ่มนี้มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และมีมูลค่าทางการตลาดที่นักการตลาดกำลังจับตามอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและหาแนวทางในการสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจ 2) หาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจ 3) ประยุกต์ใช้ผลการวิจัยสู่การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าไทยที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริโภคแมสทีจ การดำเนินการวิจัยใช้วิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) โดยนำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและแบรนด์ 15 คน ด้านการออกแบบเรขศิลป์ 15 คน ตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่เข้าข่ายผู้บริโภคแมสทีจ จำนวน 405 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเบื้องต้น คิดเป็นร้อยละ (Percentage) แล้วทำการสรุปผลออกมาเป็นลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์งานวิจัยพบว่า แนวทางในการสร้างแบรนด์สำหรับผู้บริโภคแมสทีจสามารถทำได้ 3 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1) แบรนด์ที่มีลักษณะเฉพาะตน มีความเป็นตัวของตัวเองสูง นำเสนอความรู้สึกถึงความมีคุณสมบัติอันยอดเยี่ยม แนวทางที่ 2) แบรนด์ที่แสดงความมีสถานะ มีหน้ามีตาในสังคม ได้รับการยอมรับ มีสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าคนทั่วไป และน่าเชื่อถือด้วยคุณสมบัติอันยอดเยี่ยม แนวทางที่ 3) แบรนด์ที่มอบความรู้สึกมีระดับ และคุณภาพที่ดีเหนือแบรนด์ทั่วไป รวมทั้งเป็นแบรนด์ที่มีสถานะมีหน้ามีตา เป็นที่ยอมรับในสังคม ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้คำตอบถึงแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าเปรียบเทียบซื้อสำหรับผู้บริโภคแมสทีจได้ทั้งหมด 3 แนวทาง และยังสามารถแบ่งลักษณะของผู้บริโภคแมสทีจได้ 3 กลุ่ม ตามลักษณะการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกัน โดยองค์ความรู้ที่ค้นพบนี้เป็นต่อยอดจากศาสตร์ทางด้านการตลาดไปสู่งานวิจัยทางด้านการออกแบบ ซึ่งปัจจุบันนั้นการออกแบบถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในโลกของการแข่งขันทางด้านการตลาด อีกทั้งเรื่องของผู้บริโภคแมสทีจเริ่มเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกระแสหรือเทรนด์ที่นักการตลาดกำลังให้ความสนใจ


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: คีตคณิตแห่งแสง สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา, ธัญวรรษ สนธิรัตน Jan 2019

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: คีตคณิตแห่งแสง สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา, ธัญวรรษ สนธิรัตน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์เพลง ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: คีตคณิตแห่งแสง สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา เป็นบทประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแสงในรูปแบบและประเภทต่าง ๆ โดยตีความเสียงของแสง ผ่านหลักการทางดนตรี และประพันธ์ขึ้นสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตราที่มาจากสมมติฐานของผู้วิจัยว่ารูปแบบของคลื่นแสงและความถี่เสียงสามารถนำเสนอให้อยู่ในหลักการทางคณิตศาสตร์ได้ ดังนั้นแสงและเสียงจึงมีความสัมพันธ์ที่ประพันธ์เป็นเพลงได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังเป็นการต่อยอดงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากการคิดค้นแปรค่าคลื่นแสงกับความถี่เสียงของนักวิทยาศาสตร์หลายคน และต่อยอดผลงานประพันธ์เพลงที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องแสงจากนักประพันธ์อีกหลายคนเช่นเดียวกัน บทเพลงนี้แบ่งเป็น 3 กระบวน โดยนำเสนอตามลักษณะของแสงอันได้แก่ การสะท้อนแสง การหักเหแสงและการเลี้ยวเบนแสง มีความยาวประมาณ 30 นาที ใช้นักดนตรีทั้งหมด 14 คนในการบรรเลง บทเพลงนี้มีการสื่อความระหว่างความเข้มเสียงกับความเข้มแสงเป็นหลัก มีลักษณะเด่นคือการใช้เทคนิคการบรรเลงของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทให้สื่อออกมาเป็นแสงอย่างเหมาะสม จากการศึกษาวิจัยทั้งเรื่องของแสง ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ และงานประพันธ์ดั้งเดิมของดนตรี บทประพันธ์ชิ้นนี้ได้นำองค์ความรู้ทั้งหมดมาถ่ายทอดเป็นงานประพันธ์เพลงที่พัฒนาจากแนวคิดดั้งเดิม และประยุกต์ใช้กับบริบทในปัจจุบันได้อย่างสร้างสรรค์ ทำให้เกิดผลงานใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกได้


ดุษฎีนิพนธ์การแสดงดนตรี: สุนทรียะเพลงร้องโรแมนติกแห่งตำนาน, กรวิช เทพหัสดิน ณ อยุธยา Jan 2019

ดุษฎีนิพนธ์การแสดงดนตรี: สุนทรียะเพลงร้องโรแมนติกแห่งตำนาน, กรวิช เทพหัสดิน ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์การแสดงดนตรี: สุนทรียะเพลงร้องโรแมนติกแห่งตำนาน เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงร้อง ศิลป์โรแมนติกอันเป็นอมตะสังคีตวรรณคดีของศตวรรษที่ 20 โดยนำเสนอรูปแบบแนวคิด เทคนิคการร้อง การตีความร่วมสมัย และบูรณาการที่ผสมผสานความโดดเด่นระหว่างดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก ขณะเดียวกัน ในส่วนของงานสร้างสรรค์ ยังประกอบด้วยการประดิษฐ์และเรียบเรียงดนตรีที่เต็มไปด้วยสีสันและลีลาเสียงใหม่ และความวิจิตรของการประดิษฐ์คำร้องภาษาไทย ผลงานถูกนำเสนอต่อสาธารณชน ในรูปแบบการแสดง คอนเสิร์ตใน 3 รายการสำคัญ โดยเป็นการขับร้องเดี่ยวร่วมกับวงออร์เคสตราและนักร้องประสานเสียง ร้องเดี่ยวกับเปียโนและร้องเดี่ยวร่วมกับดนตรีวงเชมเบอร์ อำนวยเพลงโดยวาทยกรระดับนานาชาติ เช่น ดนู ฮันตระกูล และ จารุณี หงส์จารุ เพลงร้องศิลป์ของประเทศสยาม เริ่มความรุ่งเรืองเป็นส่วนหนึ่งของอารยะธรรมดนตรีของประเทศตั้งแต่ในรัชสมัย ของรัชกาลที่ 6 วิวัฒนาการของการผสมผสานรูปแบบและลีลาระหว่างดนตรีไทยและตะวันตกมีพัฒนาการ อย่างมีเอกลักษณ์และมีองค์ประกอบ สังคีตภาษาถูกประดิษฐ์และออกแบบให้เหมาะสมกับเทคนิคการร้องและ อักขระการออกเสียงภาษาไทยอย่างลงตัว การวิจัยนี้ยังได้นำเสนอแบบแผนการสร้างโปรแกรมการแสดงเพลงร้องศิลป์ ที่แสดงประวัติและสังคีตอารยธรรมของวรรณคดีเพลงร้องศิลป์อย่างสมบูรณ์แบบ


ดุษฎีนิพนธ์การวาทยกร : วรรณกรรมดนตรีสำหรับวงเครื่องลมร่วมสมัย, ธนัช ชววิสุทธิกูล Jan 2019

ดุษฎีนิพนธ์การวาทยกร : วรรณกรรมดนตรีสำหรับวงเครื่องลมร่วมสมัย, ธนัช ชววิสุทธิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวาทยกรมีบทบาทสำคัญกับวงดนตรีออร์เคสตรามาตั้งแต่ในยุคบาโรก (1600-1750) เมื่อ ฌอง-บาติสต์ ลูว์ลี (1632-1687) ผู้อำนวยการดนตรีในราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นวาทยกรคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ใช้ไม้บาตอง ศิลปะการวาทยกรเป็นศิลปะที่สืบทอดกันมากว่า 3 ทศวรรษ จนมีการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบ บทบาทที่สำคัญของวาทยกรประกอบด้วย 4 ประการดังนี้ 1) การตีความบทเพลงด้วยความประณีต 2) การแสดงดนตรีด้วยความรู้สึกที่ลึกซึ้ง 3) การแสดงดนตรีที่เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก 4) การสื่อสารระหว่างผู้ชมและวงออร์เคสตรา นอกจากนี้การวาทยกรยังเป็นศิลปะที่ประกอบด้วยจินตนาการระดับสูงเพื่อการเข้าถึงบทประพันธ์ อีกทั้งเป็นการสรรค์สร้างท่าทางการเคลื่อนไหวที่สร้างแรงบัลดาลใจให้นักดนตรี และที่สำคัญยิ่ง การเป็นวาทยกรที่ดีจะต้องมีทักษะทางด้านดนตรีที่ดี สามารถจำและอ่านโน้ตเพลงด้วยความเข้าใจดนตรีในระดับสูง ซึ่งความสามารถเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนอย่างมืออาชีพ ผลงานวิจัยดนตรีเชิงสร้างสรรค์นี้ ประกอบด้วยการแสดงหลัก 3 การแสดง และการแสดงเสริมอีก 4 การแสดง สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมและวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จของงานวิจัยนี้