Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities

PDF

Chulalongkorn University

Journal of Letters

2003

Articles 1 - 28 of 28

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผู้หญิงอินเดียกับการศึกษาสมัยใหม่ อะไรคืออุปสรรค, บรรจบ บรรณรุจิ Jun 2003

ผู้หญิงอินเดียกับการศึกษาสมัยใหม่ อะไรคืออุปสรรค, บรรจบ บรรณรุจิ

Journal of Letters

การศึกษาสมัยใหม่พัฒนาผู้หญิงอินเดียได้อย่างแท้จริงใน ทุกด้านรวมทั้งพัฒนาให้เกิดจิตสำนึกทางการเมืองการปกครองจนเกิด การรวมตัวทำงานร่วมกับผู้ชายเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพื่อให้อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษที่ปกครองอินเดียมายาวนาน เราอาจคิดไม่ถึงว่า ผู้หญิงอินเดียในยุคเรียกร้องเอกราชจะทำอะไรได้บ้าง แต่จากหลักฐานที่พบ ผู้หญิงทำงานได้ไม่ต่างจากผู้ชายไม่ว่าจะเป็นการแสดง ความคิดเห็น การกล้าเผชิญกับความยากลำบากซึ่งบางครั้งต้อง เสี่ยงชีวิต การเป็นสายลับ ผู้หญิงเหล่านี้ล้วนเป็นผลิตผลของการ ศึกษาสมัยใหม่ทั้งสิ้น


มีอะไรอยู่ใน โพรงมะเดื่อ, นพพร ประชากุล Jun 2003

มีอะไรอยู่ใน โพรงมะเดื่อ, นพพร ประชากุล

Journal of Letters

นวนิยายเรื่อง โพรงมะเดื่อ ของประมวล ดาระดาษ หนึ่ง ในเจ็ดเล่มที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบตัดสินรางวัลซีไรต์ประจําปี พ.ศ. 2546 เป็นวรรณกรรมที่สามารถอ่านได้อย่างน้อยจาก 3 แง่ มุม ได้แก่ แง่มุมของนวนิยายแนว "ลูกทุ่ง" ที่รื้อฟื้นขนบเดิมขึ้นมา ใหม่ แง่มุมของนวนิยาย "สัจนิยม" ที่มีมิติของการวิจารณ์สังคมอัน ลึกซึ้งกว่าสัจนิยมโดยทั่วไป และแง่มุมของนวนิยาย "สร้างสรรค์" ที่ เล่นกับกลวิธีการใช้เสียงพูดอันซับซ้อนแยบยล


สนทนาภาษาหนังสือ : ทุกข์-สุขในยุคไซเบอร์สเปซ : ภาพสะท้อนจาก โลกของจอม, พรวิภา วัฒรัชนากูล Jun 2003

สนทนาภาษาหนังสือ : ทุกข์-สุขในยุคไซเบอร์สเปซ : ภาพสะท้อนจาก โลกของจอม, พรวิภา วัฒรัชนากูล

Journal of Letters

No abstract provided.


พิณสายร่ายลำนำ: กู่ฉินในวรรณคดีจีน, จินตนา ธันวานิวัฒน์ Jun 2003

พิณสายร่ายลำนำ: กู่ฉินในวรรณคดีจีน, จินตนา ธันวานิวัฒน์

Journal of Letters

กู่ฉินเป็นเครื่องดนตรีจีนโบราณที่ขงเบ้งใช้บรรเลง บนกำแพงเมืองจีนเพื่อลวงสุมาอี้ในวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก กู่ฉินยังเป็นดนตรีประกอบการต่อสู้ฉากสำคัญในภาพยนตร์ จีนกำลังภายในเรื่อง HERO บทความวิจัยนี้ศึกษากู่ฉินที่ปรากฏในวรรณคดีจีน สมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณก่อนราชวงศ์ฉิน จนถึง ราชวงศ์ชิง รูปแบบของวรรณคดีที่นํามาศึกษา ได้แก่ บทกวี บทละคร นิยาย และบทความ นอกจากนี้ยัง ศึกษาบทเพลงกู่ฉินที่มีความสัมพันธ์กับวรรณคดีจีน ได้แก่ บทเพลงกู่ฉินที่ได้รับแรงบันดาลใจ หรือได้อิทธิพลมาจาก วรรณคดี และการนำบทกวีในวรรณคดีมาเป็นเนื้อร้องเพลงกู่ฉิน


ความงามของบทโศก: บทวิเคราะห์ "แวร์เธอร์" ของเกอเธ่, ถนอมนวล โอเจริญ Jun 2003

ความงามของบทโศก: บทวิเคราะห์ "แวร์เธอร์" ของเกอเธ่, ถนอมนวล โอเจริญ

Journal of Letters

ในนวนิยายเรื่อง "แวร์เธอร์ระทม" ผู้ประพันธ์ได้นำเสนอ ความทุกข์ของตัวละครในฐานะปัจเจกชน และความทุกข์ของตัวละครที่มีต่อสภาวะการดำรงอยู่ของตนเองที่แปลกแยกกับสังคม อย่างงดงามและเป็นเอกภาพกับรูปแบบสุนทรียะด้านการประพันธ์ ซึ่งตรงกับแนวคิดเรื่องความงามของอิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant ) อันมุ่งเน้น "ความพึงพอใจอย่างไม่มุ่งผลประโยชน์" ของงาน ความงามของบทโศกของแวร์เธอร์เร้าอารมณ์สะเทือนใจ ศิลปะ และกระตุ้นอารมณ์ร่วมแก่ผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านสำนึกและประจักษ์ใน ชะตากรรมอันน่าเศร้าของมนุษย์ จึงก่อให้เกิดสุนทรียะแห่งการรับรสผลงานขึ้นอีกระดับหนึ่ง


สุนทรียศาสตร์แห่งความพ่ายแพ้ : การศึกษาเปรียบเทียบนวนิยาย ของ กึนเทอร์ กราสส์ (Günter Grass) กับชาติ กอบจิตติ, อรพินท์ คำสอน Jun 2003

สุนทรียศาสตร์แห่งความพ่ายแพ้ : การศึกษาเปรียบเทียบนวนิยาย ของ กึนเทอร์ กราสส์ (Günter Grass) กับชาติ กอบจิตติ, อรพินท์ คำสอน

Journal of Letters

จากการศึกษานวนิยายของกินเทอร์ กราสส์เรื่อง Katz und Maus และ Hundejahre และนวนิยายของชาติ กอบจิตติเรื่อง จนตรอก คําพิพากษา พันธุ์หมาบ้า หมาเน่าลอยน้ำ และเรื่อง เวลา ผู้วิจัยพบว่าสุนทรียศาสตร์แห่งความพ่ายแพ้ คือ ความจริง และความถูกต้องในสังคมที่ถูกนำเสนอโดยไม่บิดเบือน หรือปกปิด สภาพความพ่ายแพ้ของตัวละคร และความล้มเหลวของสังคมด้วย ความงาม นอกจากนี้ สุนทรียศาสตร์แห่งความพ่ายแพ้ที่ปรากฏ ในนวนิยาย ได้เปลี่ยนแปลงความคิดและรูปแบบมาจากทั้งบท ละครโศกนาฏกรรมกรีก และบทละครเอพิคทั้งในเรื่องตัวละครเอก ข้อบกพร่องของตัวละครและตอนจบของเรื่อง


เมื่อทุกข์ของประชาชนคือทุกข์ของนักเขียน: "จี๋แป๋ว" โดย นามกาว, มนธิรา ราโท Jun 2003

เมื่อทุกข์ของประชาชนคือทุกข์ของนักเขียน: "จี๋แป๋ว" โดย นามกาว, มนธิรา ราโท

Journal of Letters

"จี้แป๋ว"เป็นเรื่องสั้นที่ประสบความสําเร็จมากเรื่องหนึ่ง ของนักเขียนนามกาวและได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของเวียดนาม เรื่องสั้นสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่และสภาพ จิตใจของชาวนาเวียดนามในสังคม "กึ่งศักดินาถึงอาณานิคม" และนามกาวได้เสนอประเด็นที่สําคัญและน่าสนใจยิ่งคือระบบศักดินา และอาณานิคมนั้นไม่ได้สร้างความทุกข์ยากให้แก่ประชาชนเวียด นามในเรื่องของปากท้องและความหิวโหยเท่านั้นแต่ยังได้ลิดรอน สิทธิความเป็นมนุษย์ของพวกเขาอีกด้วย


โลกเศร้าแต่พวกเขายังยิ้ม ชีวิตสามัญของชุมชนห้องแถวคุณแม่ทองจันทร์ ใน ช่างสำราญ, อารียา หุตินทะ Jun 2003

โลกเศร้าแต่พวกเขายังยิ้ม ชีวิตสามัญของชุมชนห้องแถวคุณแม่ทองจันทร์ ใน ช่างสำราญ, อารียา หุตินทะ

Journal of Letters

บทความฉบับนี้วิเคราะห์นวนิยายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนประจำปีพุทธศักราช 2546 ของประเทศไทย ของเดือนวาด พิมวนา เรื่อง ช่างสำราญ โดยมุ่ง วิเคราะห์เนื้อหาและลักษณะการนำเสนอ ผลการศึกษาพบว่า ช่างสำราญ เลือกเสนอเนื้อหาชีวิต ของกลุ่มคนในชุมชมห้องแถวที่มีประสบการณ์ชีวิตธรรมดาสามัญ อันเป็นประสบการณ์ที่ได้รับการประเมินค่าว่าน่าสนใจน้อยกว่า ประสบการณ์ชีวิตกลางแจ้งที่เข้มข้นหรือประสบการณ์ชีวิตกลางคืนที่โชกโชน แต่ผู้เขียนเห็นว่าการค้นหาประเด็นและวิธีการใน การนำเสนอเป็นสิ่งที่สร้างความหมายให้กับประสบการณ์สามัญเหล่านี้ได้


สนทนาภาษาหนังสือ : หนังสือสองเล่มว่าด้วยทุกข์และการดิ้นรนเพื่อเอาชนะทุกข์ "กามนิต" และ "สิทธารถะ", สมภาร พรมทา Jun 2003

สนทนาภาษาหนังสือ : หนังสือสองเล่มว่าด้วยทุกข์และการดิ้นรนเพื่อเอาชนะทุกข์ "กามนิต" และ "สิทธารถะ", สมภาร พรมทา

Journal of Letters

No abstract provided.


นวนิยายเข้ารอบคัดเลือกซีไรต์ กับลักษณะคตินิยมหลังสมัยใหม่ (Postmodernism), อิราวดี ไตลังคะ Jun 2003

นวนิยายเข้ารอบคัดเลือกซีไรต์ กับลักษณะคตินิยมหลังสมัยใหม่ (Postmodernism), อิราวดี ไตลังคะ

Journal of Letters

นวนิยายเข้ารอบคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) ประจําปี พ.ศ. 2546 เรื่อง ช่างสําราญ ปีกแดง โลกของจอม เสียงเพรียกจากท้องน้ำ และ อ้วน มีลักษณะที่แตกต่างไปจากขนบการเขียนนวนิยายดังนี้คือ การทำลายขอบเขตของประเภทวรรณกรรม การทำลายเอกภาพของตัวบท การสร้างตัวบทจากข้อมูลประวัติศาสตร์ การนำเสนอ ปัญหาของคนชายขอบ ซึ่งลักษณะทั้งหมดนี้สอดคล้องกับลักษณะ ส่วนหนึ่งของวรรณกรรมคตินิยมหลังสมัยใหม่ (Postmodernism)


สนทนาภาษาหนังสือ : มองวรรณกรรมผ่านแว่นศาสนา "สี่แผ่นดิน", ภาวรรณ หมอกยา Jun 2003

สนทนาภาษาหนังสือ : มองวรรณกรรมผ่านแว่นศาสนา "สี่แผ่นดิน", ภาวรรณ หมอกยา

Journal of Letters

No abstract provided.


Abstracts Jun 2003

Abstracts

Journal of Letters

No abstract provided.


สนทนาภาษาหนังสือ : ชุดหนังสือหายาก โครงการมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย Jun 2003

สนทนาภาษาหนังสือ : ชุดหนังสือหายาก โครงการมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย

Journal of Letters

No abstract provided.


ความรักความรู้ในบทละครเรื่อง Wit ของมาร์กาเร็ต เอ็ดสัน, ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์ Jan 2003

ความรักความรู้ในบทละครเรื่อง Wit ของมาร์กาเร็ต เอ็ดสัน, ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์

Journal of Letters

บทความฉบับนี้วิเคราะห์บทละครรางวัลพูลลิตเซอร์ ปี ค.ศ.1999 ของ มาร์กาเร็ต เอ็ดสัน เรื่อง Wit โดยมุ่งศึกษาความคิดหลักที่ว่า ด้วยความรู้และความรักด้วยการสร้างโครงเรื่อง การเสนอภาพ ตัว ละคร และการใช้สหบท เอ็ดสันเสนอความคิดที่เรียบง่ายและสำคัญ แต่มักถูกละเลยไปที่ว่า ความรู้จำเป็นต้องควบคู่ไปกับความรัก ความเอื้ออาทร และความปรารถนาที่จะนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้อื่น ในโลกที่ความรู้ถูกใช้ไปในการแสวงหาอำนาจ เอ็ดสันพยายามสื่อความคิดที่ว่าการศึกษาหรือการแสวงหาความรู้ ควรมีจุดหมายสูงสุดในการบ่มเพาะคุณธรรมและการพัฒนาจิตวิญญาณของมนุษย์


ผู้หญิงกับการสร้างสรรค์ละครร่วมสมัยในเอเชีย, พรรัตน์ ดำรุง Jan 2003

ผู้หญิงกับการสร้างสรรค์ละครร่วมสมัยในเอเชีย, พรรัตน์ ดำรุง

Journal of Letters

บทความวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่าความเป็น "ผู้หญิง" ของ ผู้กำกับการแสดงละครเวทีมีส่วนสำคัญหรือไม่อย่างไรในการ กำหนดเรื่องราวและกลวิธีในการกำกับการแสดงละครเพื่อสื่อสาระ กับผู้ชมของตน ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากการชมละคร 20 เรื่องใน เทศกาล ละครนานาชาติ ที่กำกับโดยผู้กำกับการแสดงหญิงจากเอเชีย 6 ชาติ จากการวิเคราะห์สาระของละคร พบว่าการเป็น "ผู้หญิง" ของผู้กำกับการแสดงนั้นทั้งมีและไม่มีความสำคัญในการพัฒนา และสร้างสรรค์ผลงาน เพราะความเป็นผู้หญิงเป็นส่วนหนึ่งของ ภูมิหลังของผู้กำกับการแสดง การเลือกเรื่องและสาระที่นําเสนอนั้น สะท้อนความคิดที่ผู้กำกับการแสดงให้ความสนใจ อันได้แก่ตัวตน และคุณค่าของผู้หญิงในสังคม กฎเกณฑ์ที่สังคมใช้บังคับให้ผู้หญิง ปฏิบัติ แม้ว่าผลงานละครที่ผู้กำกับการแสดงหญิงนำเสนอนั้นมีความเฉพาะในสาระและตัวละครที่เป็นผู้หญิง แต่ประเด็นที่ นำเสนอนั้นมีความเป็นสากล ซึ่งผู้กำกับการแสดงไม่ว่าเพศใดควร ให้ความสำคัญเช่นกัน ส่วนการนำเสนอผลงานแก่ผู้ชมนั้น สะท้อนบริบทของสังคมและมีความหลากหลาย มีการค้นคว้าทดลอง รูปแบบการนําเสนอที่จะเชื่อมโลกของศิลปะแบบดั้งเดิมกับชีวิตปัจจุบัน


เรื่องเพศ ปกปิดและเปิดเผย : บทวิเคราะห์ วรรณกรรมกามารมย์ไทย, ศิริพร ศรีวรกานต์ Jan 2003

เรื่องเพศ ปกปิดและเปิดเผย : บทวิเคราะห์ วรรณกรรมกามารมย์ไทย, ศิริพร ศรีวรกานต์

Journal of Letters

บทความนี้ศึกษาการนําเสนอเรื่องเพศใน สรรพลี้หวน จัน ดารา และ อิสตรีอีโรติก ผลการวิจัยสรุปว่า สรรพลี้หวน นำเสนอเรื่องเพศโดยนัยในขณะที่ จัน ดารา และ อิสตรีอีโรติก นำเสนอเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมา สรรพลี้หวนใช้คำผวนเพื่อซ่อนเรื่องเพศและการร่วมประเวณี เมื่อผู้อ่านสามารถถอดรหัสคำผวนได้ เรื่องราวทางเพศก็ถูกเปิดเผยการตีแผ่เรื่องเพศในจัน ดารา และสตรีอีโรติกเปิดเผย ความสัมพันธ์เชิงกามารมย์ระหว่างชาย-หญิงที่แตกต่างกัน จัน ดารา สะท้อนภาพสังคมแบบปิตาธิปไตยที่ส่งผลให้เกิดการจ้องมองผู้หญิงในฐานะวัตถุทางเพศ หรือความรุนแรงทางเพศหรือการ คุกคามทางเพศ ในขณะที่อิสตรีอีโรติกสะท้อนภาพของผู้หญิงบาง กลุ่มที่ท้าทายขนบปฏิบัติของความสัมพันธ์เชิงกามารมย์ระหว่าง ชาย-หญิงและต่อต้านจริยธรรมทางเพศที่เป็นมาตรฐานเชิงซ้อน


จริยศาสตร์แห่งความอาทร, เนื่องน้อย บุณยเนตร Jan 2003

จริยศาสตร์แห่งความอาทร, เนื่องน้อย บุณยเนตร

Journal of Letters

จริยศาสตร์แห่งความอาทร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้รับแรง บันดาลใจจากงานเขียนเรื่อง "จากเสียงที่ต่างไป" ("In A Different Voice") ซึ่งเริ่มจากการ "ฟัง" เสียงผู้หญิงและประสบการณ์ทาง จริยธรรมของผู้หญิงกลับช่วยดึงจริยศาสตร์ให้ติดดิน หยั่งฐานจาก ความจริงของบริบทชีวิตมนุษย์ ซึ่งก็คือการอิงอาศัยซึ่งกันและกัน การที่จริยศาสตร์ดังกล่าวเน้นความสำคัญของบริบทและเรื่องเล่า ทำให้เราต้องทบทวนความเข้าใจจริยศาสตร์และปัญหาจริยศาสตร์ กันใหม่ ในกระบวนทัศน์ดังกล่าวทฤษฎีจริยศาสตร์ที่จะช่วยเป็น แนวทางการดำเนินชีวิตได้จะต้องมีที่มาจากประสบการณ์ทางจริยธรรมในบริบทชีวิตจริงของคนจริงๆ ที่มีอัตลักษณ์และดำรงอยู่ ในเครือข่ายแห่งความสัมพันธ์ ทฤษฎีจริยศาสตร์ดังกล่าวจะต้องมุ่งจุดสนใจสู่ความต้องการจริงและการสนองความต้องการนั้นๆ อย่างเหมาะสม นี่หมายความว่ามนุษย์จะต้องมีการคุยกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น นอกจากการพูดคุยกันจะถือเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่การตัดสินและการแก้ปัญหาจริยธรรมแล้วยังถือเป็นสาระสำคัญของผู้ที่มีจริยธรรมอย่างแท้จริง ที่สําคัญพอกันก็คือทฤษฎีจริยศาสตร์ที่ใช้ได้จะต้องเข้าใจปัญหาจริยธรรมว่าเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ และชีวิตที่ดีคือชีวิตในความสัมพันธ์ที่ส่งเสริมดุลยภาพของตัวตนสัมพันธ์


เพลโตกับธรรมชาติของผู้หญิง, สุภัควดี อมาตยกุล Jan 2003

เพลโตกับธรรมชาติของผู้หญิง, สุภัควดี อมาตยกุล

Journal of Letters

ในบทความนี้ ข้าพเจ้ากล่าวถึงแนวคิดและข้อโต้แย้งของเพลโตในเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงดังที่ปรากฏในบทที่ห้าของ Republic ข้าพเจ้าอภิปรายและวิจารณ์ข้อโต้แย้งดังกล่าวในงาน เขียนของซูซาน มอลเลอร์ โอคินจากหนังสือ Women in Western Political Thought ข้าพเจ้าต้องการแสดงให้เห็นว่าโอคินตีความข้อโต้แย้งของเพลโตที่ว่าด้วยเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงและผู้ชาย ผิดพลาด อันทำให้สมมติฐานของข้อสรุปของเธอผิดไปด้วย และทำให้ข้อสรุปของเธอไม่สมเหตุสมผล


ความรู้มีเพศด้วยหรือ : ญาณวิทยาสตรีนิยม, สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ Jan 2003

ความรู้มีเพศด้วยหรือ : ญาณวิทยาสตรีนิยม, สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ

Journal of Letters

ข้อเขียนนี้ต้องการตอบคำถามว่า นักญาณวิทยาควรทุ่มเทเวลาให้กับการอ่านและติดตามข้อถกเถียงในสาขาญาณวิทยาสตรี นิยมหรือไม่ คำตอบของดิฉันค่อนไปทางปฏิเสธ เมื่อดูแนวทางศึกษาของญาณวิทยาสตรีนิยมสองแบบ ได้แก่ ทฤษฎีจุดยืนนิยมและโพสโมเดิร์นแบบสตรีนิยมจะพบว่ามีความไม่คงเส้นคงวาบางอย่าง ขณะที่อีกแนวทางศึกษาหนึ่งคือประสบการณ์นิยมแบบสตรีนิยมจะประสบปัญหาในการแสดงว่าภายใต้กรอบเชิงบรรทัดฐานสามารถรับมโนทัศน์เรื่องการสังเกตกับความคิดที่ว่าญาณวิทยาเป็นโครงการหนึ่งในวิทยาศาสตร์ของไควน์ได้อย่างไร นอกจากนี้โครงการของญาณวิทยาสตรีนิยมในปรัชญาวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จใน การแสดงให้เห็นว่ามีอคติทางเพศในวิทยาศาสตร์ในระดับทฤษฎี


ผู้หญิงไทยในกฎหมายตราสามดวง : จากผู้หญิงเป็นใหญ่ ถึงผู้หญิงเป็นควายผู้ชายเป็นคน, พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล Jan 2003

ผู้หญิงไทยในกฎหมายตราสามดวง : จากผู้หญิงเป็นใหญ่ ถึงผู้หญิงเป็นควายผู้ชายเป็นคน, พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล

Journal of Letters

บทความนี้ให้ภาพประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสตรีไทย โดย สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของสตรีไทยในด้านต่างๆ คือ ด้านชีววิทยา ความสัมพันธ์กับครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง บทวิเคราะห์ นี้ใช้หลักฐานสำคัญ 2 อย่าง คือ 1. ภาษิตโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ไตหรือไทยในเวียดนาม ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาษิตไตหรือไทยดังกล่าวผู้เขียนอ่านจาก ภาษาเวียดนาม 2. กฎหมายตราสามดวง กฎหมายประเพณีของไทยนี้มี มาตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือก่อนหน้าขึ้นไป หลักฐานชิ้นแรกชี้ถึงโครงสร้างในอดีตที่ต่อเนื่องของสังคม เกษตรโบราณไทยโดยสังคมนี้ได้สืบทอดแนวคิดเรื่องความเสมอภาค ระหว่างชายหญิงจากพื้นฐานสังคมหมู่บ้านไทย แต่ในขณะเดียวกัน สังคมก็แสดงพัฒนาการอำนาจปิตาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัดแล้ว หลักฐานชิ้นที่สองทำให้เห็นสองรูปแบบของกฎเกณฑ์และกฎหมายของรัฐ ซึ่งได้ลดทอนสถานภาพและบทบาทของสตรีไทยลงไปเรื่อยๆ กฎหมายนี้แท้ที่จริงได้เปิดเผยให้เห็นถึงสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ชายอันมีมากกว่าผู้หญิงอย่างมาก นอกจากนี้ กฎหมายตราสามดวงได้บอกให้เรารู้ถึงปัญหาที่ รุนแรงบางอย่างในสังคมประเพณีไทย ดังนี้ 1. ความยากลำบากต่างๆ ของผู้หญิง โดยเฉพาะการ ทำงานหนักแทบทุกอย่างในครัวเรือน และการเอารัดเอาเปรียบ ต่าง ๆ ตามปกติของผู้ชาย 2. สิ่งที่เห็นชัดคือมีอาชญากรรมและการคุกคามทางเพศ การทะเลาะเบาะแว้งต่างๆ ภายในครอบครัว ปัญหาข้างต้นยังซ่อน ปัญหาสืบเนื่องไปถึงการแตกสลายของครอบครัวด้วย 3. ผู้หญิงไทยในสังคมประเพณีไร้ศักดิ์ศรีของตนเอง ไร้ อิสรภาพ และดูจะขาดความสุขที่แท้จริง


รัก(ทะ)ลวงตา ความจริง (ลวง)ในชีวิตและความลวง (จริง)ในละคร, ปวิตร มหาสารินันทน์ Jan 2003

รัก(ทะ)ลวงตา ความจริง (ลวง)ในชีวิตและความลวง (จริง)ในละคร, ปวิตร มหาสารินันทน์

Journal of Letters

บทความวิจัยประกอบงานสร้างสรรค์นี้อภิปรายแนวคิด เรื่องความจริงกับความลวงในละคร วิเคราะห์บทละครอเมริกัน ร่วมสมัยเรื่อง Private Eyes ของสตีเฟน ดีตส์ ละครซ้อนละครถึงสี่ ชั้น ซึ่งเนื้อหาและรูปแบบเต็มไปด้วยการโกหกและการหลอกให้หลงทาง และอธิบายการดัดแปลงบทละครและการจัดแสดงละคร เรื่องนี้ที่โรงละครอักษรศาสตร์เมื่อเดือนมกราคม 2546 โดยเน้น ประเด็นการควบคุมการนําเสนอความจริงและความลวงต่อผู้ชม และสรุปความคิดเห็นของผู้ชมและนักวิจารณ์ในประเด็นดังกล่าว


โลกแห่งกาย โลกนวนิยายของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์, วรุณี อุดมศิลป Jan 2003

โลกแห่งกาย โลกนวนิยายของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์, วรุณี อุดมศิลป

Journal of Letters

ในผลงานประพันธ์ประเภทนวนิยายของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ แก่นเรื่อง "กาย" เป็นแนวทางสำคัญในการถ่ายทอด แนวคิดเรื่องสกลภาวะ (luniversalite) ตัวละครมีลักษณะเป็นปัจเจก บุคคล แต่มีขั้นตอนและประสบการณ์ชีวิตร่วมกัน ต่างมุ่งมั่นที่จะแสวงหาแก่นแท้ของตนในตอนต้นโดยอาศัยการเดินทางท่องไปในโลกกว้าง พร้อมกับสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นผ่านอินทรียสัมผัส ได้ เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตอันหลากหลายก่อนที่จะยุติการแสวงหา จากภายนอก แล้วหันมาแสวงหาลึกลงไปภายในตนเองด้วยการ พิจารณาอินทรียสังขาร ทำให้เกิดความเข้าใจในสัมพันธภาพ ระหว่างมนุษย์กับจักรวาลซึ่งกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียว ปราศจาก การแบ่งแยกระหว่างคน สัตว์ พืช ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งมวลใน ธรรมชาติ ตัวละครประจักษ์ชัดว่าเรือนกายของตนประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเป็นธาตุของจักรวาล มีการสูญสลายแล้วเกิดขึ้น ใหม่ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และมีความตายเป็น ตัวกำหนดขีดจำกัดของสภาวะมนุษย์ ตัวละครตระหนักได้ว่า ความแปลกแยกของบุคคล ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เป็นเพียงสภาวะผิวเผิน เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้วก็จะพบเอก ภาวะที่โยงใยสรรพสิ่งทั้งปวงของจักรวาลไว้ด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ ตัวละครจึงสามารถละทิ้งวิถีชีวิตที่เคยมี เคยเป็น แล้วยอมรับครรลองชีวิตและความตายตามกฎแห่งธรรมชาติได้ในที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่ามาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ อาศัยแก่นเรื่อง "กาย" เป็น แนวทางในการสร้างตัวละครที่แสดงพัฒนาการของมนุษย์ด้วยการ เริ่มต้นจากสภาวะปัจเจกบุคคล (l'individuel) แล้วผ่านขั้นตอนการ เรียนรู้โลกและชีวิต จนบรรลุถึงสภาวะสากล (l'universel)


Abstracts Jan 2003

Abstracts

Journal of Letters

No abstract provided.


จาก "กะเทย" ถึง "เกย์" ประวัติศาสตร์ชายรักร่วมเพศในสังคมไทย, เทอดศักดิ์ ร่มจำปา Jan 2003

จาก "กะเทย" ถึง "เกย์" ประวัติศาสตร์ชายรักร่วมเพศในสังคมไทย, เทอดศักดิ์ ร่มจำปา

Journal of Letters

บทความเรื่องนี้ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมรักร่วมเพศชาย ในสังคมไทยว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร จากการศึกษาพบว่าในสมัยจารีต แม้ว่าสังคมจะมีอคติต่อพฤติกรรมรักร่วมเพศในลักษณะที่ "เป็นความแปลกแยก" มิใช่ "หญิง" หรือ "ชาย" แต่ก็ไม่ปรากฏ ความคิดว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นอันตรายต่อสังคมและไม่มีบทลงโทษอย่างรุนแรงดังเช่นในสังคมตะวันตก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริบททางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้เปลี่ยนไป กล่าวคือการรับวัฒนธรรมอเมริกันทำให้มีการรับความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกที่มองว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นโรคจิต ที่สามารถบำบัดรักษาให้หายได้


สนทนาภาษาหนังสือ : The Edible Woman, ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์ Jan 2003

สนทนาภาษาหนังสือ : The Edible Woman, ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์

Journal of Letters

No abstract provided.


การศึกษาเรื่องเพศทางคติชนวิทยาในประเทศญี่ปุ่น : ประเพณีโยะบะอิกับการแต่งงาน, ชมนาด ศีติสาร Jan 2003

การศึกษาเรื่องเพศทางคติชนวิทยาในประเทศญี่ปุ่น : ประเพณีโยะบะอิกับการแต่งงาน, ชมนาด ศีติสาร

Journal of Letters

ประเพณีโยะบะอิ (Yobai) เป็นหัวข้อสำคัญหัวข้อหนึ่งใน การศึกษาเรื่องเพศทางคติชนวิทยาในประเทศญี่ปุ่น นักคติชนรุ่น ก่อนมักมองว่า ประเพณีดังกล่าวจะนำไปสู่การแต่งงาน ซึ่งเป็นสิ่ง ที่ไม่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ของนักคติชนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ จะทำให้มองเห็นแนวโน้มและปัญหาของการศึกษาเรื่องเพศทางคติชนวิทยาในประเทศญี่ปุ่น


ความรักและปรัชญาชีวิตในกวีนิพนธ์ของสวีจื้อหมัว, จินตนา ธันวานิวัฒน์ Jan 2003

ความรักและปรัชญาชีวิตในกวีนิพนธ์ของสวีจื้อหมัว, จินตนา ธันวานิวัฒน์

Journal of Letters

สวีจื้อหมวกวีโรแมนติกในวรรณคดีสมัยใหม่ของจีน เขา เป็นทั้งกวี นักเขียนและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงและมีผลงานกวี นิพนธ์โดดเด่น สวีจื้อหมัวยังเป็นแกนนําในชุมนุมวรรณศิลป์ พระจันทร์ใหม่ ซึ่งเป็นชุมนุมวรรณศิลป์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น กวีนิพนธ์ของเขามีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก ธรรมชาติและปรัชญา การใช้ภาษามีลักษณะเฉพาะตัว เน้นการสร้างอลังการทางเสียง เน้นการใช้ภาพพจน์ที่งดงาม


สนทนาภาษาหนังสือ : สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคม แห่งศตวรรษที่ 20, ถนอมนวล หิรัญเทพ Jan 2003

สนทนาภาษาหนังสือ : สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคม แห่งศตวรรษที่ 20, ถนอมนวล หิรัญเทพ

Journal of Letters

No abstract provided.