Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 72

Full-Text Articles in Entire DC Network

พฤติกรรมผู้อยู่อาศัยในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ติดตั้งมากับคอนโดมิเนียมของบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน): กรณีศึกษาโครงการ เดอะโมนูเมนต์ สนามเป้า , โครงการเดอะไลน์ อโศก-รัชดาฯ , โครงการ โมริ เฮ้าส์ สุขุมวิท77 และ โครงการ เดอะเบส การ์เด้น พระราม9, กชกร พรธนาชัย Jan 2019

พฤติกรรมผู้อยู่อาศัยในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ติดตั้งมากับคอนโดมิเนียมของบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน): กรณีศึกษาโครงการ เดอะโมนูเมนต์ สนามเป้า , โครงการเดอะไลน์ อโศก-รัชดาฯ , โครงการ โมริ เฮ้าส์ สุขุมวิท77 และ โครงการ เดอะเบส การ์เด้น พระราม9, กชกร พรธนาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ริเริ่มนำเทคโนโลยีมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยตั้งแต่ในปี 2560 ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีในโครงการคอนโดมิเนียมเพื่อส่งเสริมการอยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปแบบอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ติดตั้งในคอนโดมิเนียมของบริษัท แสนสิริ ในกรุงเทพมหานคร ศึกษาคอนโดมิเนียมที่แตกต่างกัน 4 ระดับราคา โดยรวบรวมข้อมูลแนวคิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยของบริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) จากการศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ จำนวน 3 ท่าน ศึกษาอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ติดตั้งในคอนโดมิเนียม จากการค้นคว้าทางเว็บไซต์กับการสัมภาษณ์นิติบุคคลในโครงการ และศึกษาพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีของผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมทั้ง 4 ระดับราคา ด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้อยู่อาศัย 229 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบความความแตกต่างในโครงการกรณีศึกษาทั้ง 4 โครงการ ผลการวิจัยพบว่า 1) อุปกรณ์เทคโนโลยีในคอนโดมิเนียมของ บริษัท แสนสิริ มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ ประเภทความปลอดภัย ประเภทสนับสนุนการดำเนินชีวิต เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานที่มีการติดตั้งในโครงการทุกระดับราคา เช่น ระบบคีย์การ์ดเข้า-ออกและแท่นชาร์จรถไฟฟ้า และ ประเภทการจัดการพลังงานและทรัพยากรที่ติดตั้งเฉพาะโครงการระดับหรูราขึ้นไป ทั้งนี้พบว่า โครงการระดับหรูหราพิเศษติดตั้งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสำหรับมากที่สุด มีสัดส่วนอุปกรณ์สำหรับรักษาความปลอดภัย 1.56 เครื่องต่อห้อง และ ติดตั้งอุปกรณ์ในห้องพัก 2 เครื่องต่อห้อง ขณะที่โครงการระดับหรูหรา ติดตั้งอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินชีวิตมากที่สุด ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด 13 เครื่องและ ติดตั้งในหน่วยพัก 1เครื่องต่อห้อง 2) พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีของผู้อยู่อาศัยทั้ง 4 โครงการ มีความถี่ในการใช้งานอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเป็นประจำ(ค่าเฉลี่ย 3.28-4.41) ขณะที่ไม่ค่อยมีการใช้งานอุปกรณ์ด้านสนับสนุนการดำเนินชีวิต(ค่าเฉลี่ย 1.61-2.10) ทั้งนี้ผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจในอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย 3.73-4.06) ขณะที่ความพึงพอใจอุปกรณ์ด้านสนับสนุนการดำเนินชีวิตในระดับน้อย(ค่าเฉลี่ย 2.93-3.21) ซึ่งผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่พบปัญหาอุปกรณ์ไม่ทำงาน อุปกรณ์ทำงานล่าช้า มีความซับซ้อนในการใช้งาน และอุปกรณ์ไม่เพียงพอในโครงการที่มีหน่วยพักมาก 3) ความแตกต่างในพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีพบว่า ผู้อยู่อาศัยอายุ31-50ปี มีความถี่และความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยมากที่สุด ขณะที่ผู้อยู่อาศัยอายุ 21-30ปี และผู้เช่าอาศัยในโครงการที่มีหน่วยพักมาก มีความถี่และความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินชีวิตมากที่สุด งานวิจัยแสดงให้เห็นถึงการติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีและพฤติกรรมการใช้งานของผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมในระดับราคาที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่ติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีส่งเสริมการอยู่อาศัยโดยมีความคุ้มค่าและตอบโจทย์แก่ผู้อยู่อาศัยต่อไป


แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคาร ตามนโยบายกำลังพลของกองทัพบก:กรณีศึกษา โครงการอาคารสงเคราะห์กองทัพบก (ส่วนกลาง) พื้นที่สามเสน และ พื้นที่พญาไท, ภิญญวัฒน์ รุ่งสิตา Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคาร ตามนโยบายกำลังพลของกองทัพบก:กรณีศึกษา โครงการอาคารสงเคราะห์กองทัพบก (ส่วนกลาง) พื้นที่สามเสน และ พื้นที่พญาไท, ภิญญวัฒน์ รุ่งสิตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการอาคารสงเคราะห์กองทัพบก (ส่วนกลาง) นอกจากเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อสภาพการอยู่อาศัยของกำลังพลและครอบครัวแล้ว ยังมีความสำคัญต่อการเอื้อให้เกิดการใช้พื้นที่เพื่อตอบสนองต่อนโยบายกำลังพลของกองทัพบกที่กำหนดทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพการอยู่อาศัยของกำลังพลทุกระดับชั้นและครอบครัว 2) ด้านสมรรถภาพทางกายของกำลังพล และ 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ และการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการในปัจจุบันกับความสอดคล้องกับนโยบายที่กำหนด เพื่อนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการต่อไป โดยคัดเลือกกรณีศึกษา 2 พื้นที่ซึ่งมีขนาดพื้นที่โครงการใกล้เคียงกัน แต่มีรูปแบบพื้นที่ภายนอกอาคารต่างกัน ได้แก่ พื้นที่สามเสน และ พื้นที่พญาไท โดยรวบรวมข้อมูลลักษณะทางกายภาพจากการสำรวจ รวบรวมข้อมูลการใช้พื้นที่จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการสอบถาม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยหลักเกณฑ์การประเมินลักษณะทางกายภาพ การแจกแจงจำนวนผู้ใช้พื้นที่ และโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการพื้นที่สามเสนเป็นรูปแบบคอร์ทล้อมด้วยอาคารพักอาศัย ส่วนลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการพื้นที่พญาไทเป็นรูปแบบเส้นแนวยาว โดยผลการประเมินพบว่า โครงการพื้นที่สามเสนมีคะแนนลักษณะทางกายภาพมากกว่าพื้นที่พญาไท คิดเป็น 91 คะแนนต่อ 81 คะแนน โดยเฉพาะปัจจัยด้านขนาด และที่ตั้งขององค์ประกอบต่าง ๆ ของพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการ อีกทั้งผลการศึกษาเรื่องการใช้พื้นที่พบว่า จำนวนผู้ใช้พื้นที่ภายนอกอาคารทั้งหมดเฉลี่ยในหนึ่งวันในโครงการพื้นที่สามเสนมีมากกว่าพื้นที่พญาไท คิดเป็นร้อยละ 9.69 ต่อร้อยละ 8.41 ของจำนวนผู้พักอาศัยโดยประมาณในแต่ละโครงการ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่าพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการพื้นที่สามเสนมีลักษณะทางกายภาพ และการใช้พื้นที่สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนดทั้ง 3 ด้าน แต่พื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการพื้นที่พญาไทมีลักษณะทางกายภาพ และการใช้พื้นที่สอดคล้องกับนโยบายเพียง 2 ด้านเท่านั้น ได้แก่ ด้านคุณภาพการอยู่อาศัย และด้านความสัมพันธ์ฯ โดยไม่สอดคล้องกับนโยบายด้านสมรรถภาพทางกายของกำลังพล เนื่องจากไม่พบการใช้พื้นที่เพื่อการออกกำลังกายสำหรับการทดสอบสมรรถภาพทางกายรายการลุกนั่ง อีกทั้งกำลังพลของโครงการพื้นที่สามเสนรู้จักกำลังพลต่างชั้นยศใหม่เพิ่มเติมจากการใช้พื้นที่โดยเฉลี่ยมากกว่ากำลังพลของพื้นที่พญาไท คิดเป็นจำนวน 3.21 คน ต่อ 3.02 คน แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนดมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ การจัดระบบการสัญจรเพื่อเพิ่มเส้นทางออกกำลังกายโดยรอบโครงการ การปรับปรุงพื้นที่เดิมให้เอื้อต่อการใช้ที่สอดคล้องกับนโยบายมากยิ่งขึ้น และการติดตั้งอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกให้ครอบคลุมพื้นที่ประกอบกิจกรรม ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการทั้งด้านการดูแลรักษาสภาพทางกายภาพ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมนโยบาย ตลอดจนด้านคุณภาพการอยู่อาศัยภายในโครงการ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาด้านงบประมาณในการดำเนินการ การเงินการลงทุนเพิ่มเติม และควรศึกษาพื้นที่อื่น ๆ ในโครงการอาคารสงเคราะห์กองทัพบก (ส่วนกลาง) เพิ่มเติมเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และหรือมาตรฐานในการออกแบบพื้นที่ภายนอกอาคารส่วนกลางในอนาคตให้สมบูรณ์และตอบสนองนโยบายได้ดีที่สุด


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และทัศนคติต่อที่พักอาศัยรวม เพื่อการเช่าระยะยาว : กรณีศึกษาโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์, รุ่งกานต์ ภู่หอมเจริญ Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และทัศนคติต่อที่พักอาศัยรวม เพื่อการเช่าระยะยาว : กรณีศึกษาโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์, รุ่งกานต์ ภู่หอมเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครมีราคาที่ดินที่สูงขึ้นมาก และส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมในการพัฒนาโครงการปรับตัวสูงขึ้น ผนวกกับพื้นที่ดินแบบได้กรรมสิทธิ์ในย่านใจกลางเมืองมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ ในขณะที่ความต้องการพื้นที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองยังคงมีมาก การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประเภทที่พักอาศัยรวมเพื่อการเช่าระยะยาว จึงเกิดขึ้นมากในบริเวณใจกลางเมือง โดยส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัยแนวสูง ในรูปแบบให้เช่ากรรมสิทธิ์เป็นระยะเวลา 30 ปี และมักจะมีราคาขายต่ำกว่าคอนโดมิเนียมแบบขายขาดประมาณร้อยละ 30 ถึง 40 ของราคาขายบนทำเลเดียวกัน ในงานวิจัยนี้ได้เลือกโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์ซึ่งเป็นโครงการกรณีศึกษา สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2562 ตั้งอยู่บนที่ดินทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากทำเลที่ตั้งนี้มีโครงการคอนโดมิเนียมแบบขายขาดเป็นทางเลือกเปรียบเทียบมากกว่าทำเลที่ตั้งโครงการคอนโดมิเนียมแบบเช่าระยะยาวแห่งอื่นๆ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ซื้อคอนโดมิเนียมประเภทเช่าระยะยาว ความเกี่ยวข้องของตัวแปรต่างๆ กับการตัดสินใจซื้อ และทัศนคติ ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ แล้วนำมาวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยมีมุ่งเน้นการประมวลผลจากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 75 ฉบับ จากประชากรผู้ซื้อโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์ ซึ่งผลของงานวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้ร่วมตัดสินใจซื้อโครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเดนซ์ เป็นเพศหญิงมากถึงร้อยละ 64 และมีอายุส่วนมากอยู่ที่ 46-55 ปี หรือร้อยละ 42.7 โดยที่มีสถานภาพสมรสถึงร้อยละ 60 และเป็นกลุ่มคนมีบุตรถึงร้อยละ 62.7 นอกจากนี้บุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหรือเป็นเหตุให้เกิดการตัดสินใจซื้อส่วนมากเป็นบุตร-ธิดา อยู่ที่ร้อยละ 42.7 โดยมีวัตถุประสงค์การซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองถึงร้อยละ 84 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัวกำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 35 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ทั้งนี้ปัจจัยที่ค้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ อายุ สถานภาพของผู้ซื้อ บุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย โดยมีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านส่งเสริมการขาย เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ในขณะที่มีปัจจัยด้านทัศนคติความพึงพอใจในระยะเวลาของสัญญาเช่า 30 ปี เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดเห็นภายหลังการซื้อ ทั้งความรู้สึกคุ้มค่า และความต้องการบอกต่อ


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งาน และทัศนคติที่มีต่ออาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง : กรณีศึกษา ผู้เข้าชมงานสภาสถาปนิก'19, อภิวัฒน์ กิจมานะวัฒน์ Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งาน และทัศนคติที่มีต่ออาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง : กรณีศึกษา ผู้เข้าชมงานสภาสถาปนิก'19, อภิวัฒน์ กิจมานะวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การก่อสร้างระบบโครงสร้างสำเร็จรูป เป็นทางเลือกหนึ่งที่เข้ามามีบทบาท และช่วยทำให้การก่อสร้างมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้ระบบก่อสร้างแบบดั้งเดิม และในปัจจุบัน ได้มีการประยุกต์นำระบบกล่องเข้ามาใช้ร่วมกับโครงสร้างสำเร็จรูป โดยมีจุดเด่นสำคัญ คือ ช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างในพื้นที่ก่อสร้าง และยังเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง ทำให้ภาคเอกชน หรือผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงแนวโน้มการเติบโต จึงมีการดำเนินกิจการผลิตอาคารโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูประบบกล่องเพื่อใช้งานทั้งในประเทศ และส่งออกเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้งานที่หลากหลาย และปัจจัยมี่ต้องพิจารณามากยิ่งขึ้น งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งาน รวมไปถึงการศึกษาทัศนคติที่มีต่ออาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ผู้เข้าชมงานสภาสถาปนิก’19 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 14-17 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า อิมแพ็ค เมืองทองธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จากนั้นจึงนำข้อมูลที่รวบรวมได้ มาวิเคราะห์เชิงสถิติ สรุปผล และอภิปรายผล ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนใช้งานอาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง คิดเป็นร้อยละ 67.00 และกลุ่มที่มีแผนใช้งาน ส่วนใหญ่มีแผนใช้ในระยะเวลา 12 เดือนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 50.00 โดยมีวัตถุประสงค์ใช้งานในเชิงที่พักอาศัย คิดเป็นร้อยละ 60.40 กำหนดงบประมาณไว้ที่ 250,001-500,000 บาท ในขณะที่ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 84.75 ยังไม่เคยมีประสบการณ์การใช้งานมาก่อน นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยความมั่นคง และความแข็งแรงของโครงสร้างอาคารในระดับสำคัญมากที่สุด มีทัศนคติต่อจุดเด่นสำคัญ เป็นอันดับ 1 คือ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อยกว่าการก่อสร้างระบบดั้งเดิม และมีทัศนคติต่อจุดด้อยสำคัญ อันที่ 1 คือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการขนส่ง จากการอภิปรายผล ปัจจัยด้านราคา เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานอาคารโครงสร้างสำเร็จรูประบบกล่อง เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่มีแผนใช้งานส่วนใหญ่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบเลือกผู้ประกอบการ และการควบคุมงบประมาณก่อสร้าง ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึงการให้ความสำคัญกับโปรโมชั่นส่วนลดเงินสด ซึ่งปัจจัยทั้งหมดสอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น นอกจากนี้ ด้านช่องทางที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการรับรู้ข้อมูล หรือใช้ในการสืบค้นข้อมูล ส่วนใหญ่จะเป็นช่องทางแบบออฟไลน์ เช่น งานมหกรรม หรือสอบถามข้อมูลจากพนักงานขายประจำอาคารตัวอย่าง ดังนั้น ภาคเอกชน หรือผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางแบบออนไลน์ ในการสื่อสารไปยังผู้บริโภคได้อีกมาก เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเห็นถึงศักยภาพของการก่อสร้างระบบสำเร็จรูปมากขึ้น


สถานภาพปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์กลางใน สปป.ลาว, ไชยะลาด ลาชาวะดี Jan 2019

สถานภาพปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์กลางใน สปป.ลาว, ไชยะลาด ลาชาวะดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพกายภาพของโรงพยาบาล 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก โดยมีกระบวนการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลในผังสถาปัตยกรรม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่กรณีศึกษา สำรวจ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้พื้นที่ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษา และอภิปราย ผลการศึกษาพบว่า ในปีพ.ศ. 2561 โรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ และโรงพยาบาลเชษฐาธิราช มีสภาพอาคารส่วนใหญ่ก่อสร้างมานานประมาณ 20 ปีขึ้นไป มีการออกแบบให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีอาคารในยุคนั้น ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้งานตามสภาพมาเป็นระยะ ๆ และอยู่ในระหว่างการวางแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ในพื้นที่โรงพยาบาลเดิม เพื่อรองรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ส่วนโรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก อาคารที่ใช้งานอยู่ก่อสร้างมาได้ประมาณ 10 ปี มีการออกแบบอาคารโดยใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ยังไม่มีแผนในการปรับปรุงอาคาร และแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงสรุปได้ว่า สภาพกายภาพโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว ขนาดใหญ่ 3 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช อยู่ระหว่างการพัฒนาก่อสร้างอาคาร ที่ทันสมัยมากขึ้น ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็ก 2แห่ง ได้แกโรงพยาบาลได้แก่ โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก ยังมีสภาพที่ตอบสนองบริการได้


ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงอาคารสำนักงานแนวตั้งให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Leed O+M V.4.1 : กรณีศึกษาอาคารซันทาวเวอร์ส, ณัฐวิชช์ ชูเกียรติ์ธนากิจ Jan 2019

ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงอาคารสำนักงานแนวตั้งให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Leed O+M V.4.1 : กรณีศึกษาอาคารซันทาวเวอร์ส, ณัฐวิชช์ ชูเกียรติ์ธนากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาอาคารสำนักงานเดิมให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED O+M V.4.1 จะต้องมีการศึกษาลักษณะทางกายภาพของอาคารสำนักงานโดยรวมก่อน เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล หาจุดบกพร่อง ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมินจริง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงอาคารสำนักงานเก่าตามมาตรฐานอาคารเขียว LEED O+M V.4.1 และศึกษามาตรฐานอาคารเขียว LEED O+M V.4.1 เพื่อนำมาปรับใช้กับอาคารสำนักงานเก่า ผลการศึกษาพบว่า อาคารสำนักงานที่เปิดใช้งานก่อนปี พ.ศ.2540 ที่ผู้วิจัยได้คัดเลือกมาจำนวน 21 อาคาร มีลักษณะเด่นโดยรวมคือ เป็นอาคารที่สูงเกิน 100 เมตรขึ้นไป มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 80,000 - 100,000 ตารางเมตร จำนวนชั้นอย่างน้อย 20 ชั้น ภายในตัวอาคารจะมีร้านค้าหรือร้านอาหาร เปลือกอาคารมักเลือกใช้กระจกสะท้อนแสง ผนังอาคารส่วนทึบกรุหินแกรนิต หรือปิดผิวด้วยอลูมิเนียมคอมโพสิต ระบบปรับอากาศเลือกใช้ระบบ Water Cooled Package ด้วยลักษณะร่วมที่เด่นชัดดังกล่าวจึงได้เลือกอาคารซันทาวเวอร์สมาเป็นอาคารกรณีศึกษา ผลการประเมินก่อนการปรับปรุงอาคารได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 74/100 คะแนน ซึ่งจะได้รับการรับรองในระดับ GOLD แสดงให้เห็นว่าถึงแม้อาคารจะไม่มีการปรับปรุง แต่ถ้าหากอาคารมีการบริหารจัดการที่ดีพอ ดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอก็สามารถได้รับการรับรองเกณฑ์ LEED O+M V.4.1 ในระดับ GOLD ได้ ดังนั้น การปรับปรุงเพื่อให้ได้การรับรองในระดับ PLATINUM จึงมีความเป็นไปได้เป็นทางเลือกที่น่าจะทำ หลังการปรับปรุงในระดับ PLATINUM อาคารซันทาวเวอร์สได้คะแนนทั้งสิ้น 81/100 คะแนน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงทั้งสิ้น 12,309,824.00 บาท คิดเป็น 100.11 บาท/ตร.ม. การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (เปลี่ยนหลอดไฟ, ปรับปรุงหอทำความเย็น) สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้จริง แต่จะไม่ได้คะแนน LEED เพิ่ม เนื่องจากส่วนที่ปรับปรุงเป็นสัดส่วนการใช้พลังงานที่น้อยมากเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ดังนั้น การปรับปรุงอาคารเพื่อทำคะแนนในหัวข้อคะแนน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าการทำคะแนนในข้อประสิทธิภาพ


สภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุไทยสำหรับศูนย์ผู้สูงอายุแบบปรับอากาศ, ช่อเพชร พานระลึก Jan 2019

สภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุไทยสำหรับศูนย์ผู้สูงอายุแบบปรับอากาศ, ช่อเพชร พานระลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมการทำนายความรู้สึกเชิงความร้อนส่วนใหญ่จะพัฒนาเพื่อใช้กับคนทั่วไป แต่ไม่มีสมการใดที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีสมการทำนายค่าความรู้สึกเชิงความร้อน (Thermal Sensation Vote, TSV) สำหรับผู้สูงอายุไทยเพื่อใช้งานในศูนย์ผู้สูงอายุของรัฐบาลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเชิงอุณหภาพในอาคารให้น่าสบายและประหยัดพลังงาน ซึ่งงานวิจัยได้ดำเนินการในตัวเมืองพิษณุโลกในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยใช้การศึกษาทั้งภาคสนามและห้องปฏิบัติการ ในภาคสนามได้เก็บข้อมูลจากศูนย์ผู้สูงอายุ 3 แห่ง ในขณะเดียวกันก็ได้นำผู้สูงอายุผลัดเปลี่ยนกันเข้าทดสอบในสภาพแวดล้อมเชิงอุณหภาพที่มีการปรับได้ 144 ลักษณะในห้องปฏิบัติการ โดยให้ผู้สูงอายุได้สวมใส่เสื้อผ้าตามปกติ (ในฤดูหนาวมีค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้าที่สวมใส่ที่ 0.64 clo ในฤดูร้อนที่ 0.50 clo) และทำกิจกรรมที่มีค่า 65-70 W / m2 การเก็บข้อมูลได้ใช้ระยะเวลา 7 เดือน ทำให้ได้ข้อมูลกลับมาจากศูนย์ผู้สูงอายุ 192 ข้อมูล และจากห้องปฏิบัติการ 8,640 ข้อมูล ข้อมูลนี้ได้ถูกวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อสร้างสมการทำนายค่าความรู้สึกเชิงความร้อนมีผลดังนี้: สมการสำหรับใช้ในฤดูหนาว (ที่ R2 = 0.707) คือ TSVNfieldW = 0.531To –0.767Va +0.011RH –14.489 สมการสำหรับใช้ในฤดูร้อน (ที่ R2 = 0.844) คือ TSVNfieldS = 0.330To –0.496Va +0.007RH –9.646 [เมื่อ TSVNfieldW คือ ค่าความรู้สึกเชิงความร้อนของผู้สูงอายุฤดูหนาว, TSVNfieldS คือ ค่าความรู้สึกเชิงความร้อนของผู้สูงอายุฤดูร้อน, To คือ อุณหภูมิโอเปอเรทีพ (°C), RH คือ ความชื้นสัมพัทธ์ (%), Va คือ ความเร็วลม (m/s)] สมการที่ได้ถูกนำเข้าในโปรแกรม scSTREAM เพื่อจำลองผลค่า TSV ในผู้สูงอายุ ขณะเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ปรับสภาวะน่าสบาย ผลจากการปรับที่ทำให้ค่า TSV แสดงค่าความรู้สึกว่า “พอดี” จะได้ใช้เป็นมาตรฐานในการพัฒนาศูนย์ผู้สูงอายุซึ่งมีดังนี้ 8.00 น.–13.00 น. ฤดูหนาว และ 8.00 น.-12.00 …


อิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ซื้อ, ชโลทร สุขเกษม Jan 2019

อิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ซื้อ, ชโลทร สุขเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกของผู้ซื้อต่อเครื่องประดับอัญมณีและบรรยากาศภายในตู้ โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 33 คน อายุระหว่าง 23-40 ปี ด้วยแบบสอบถามการจำแนกความหมายของคำ 6 คู่คำตรงข้าม ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยภายในตู้จำลอง 18 สภาวะแสง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านอุณหภูมิสีของแสง 4000K 6000K และแสงผสมระหว่าง 4000K และ 6000K ปัจจัยด้านสีภายในตู้โชว์ ได้แก่ สีขาวและสีดำ ทำการศึกษากับเครื่องประดับอัญมณีเทียม ทับทิม ไพลิน และเพชร จากผลการวิจัยพบว่าอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้ซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อุณหภูมิสีของแสง 6000K และอุณหภูมิสีของแสงผสมระหว่าง 4000K และ 6000K เมื่อจัดแสดงร่วมกับเครื่องประดับไพลินและเพชร ตัวอย่างวิจัยมีการรับรู้ความรู้สึกเชิงบวก ส่วนสีภายในตู้โชว์ ตัวอย่างวิจัยรับรู้ความรู้สึกเชิงบวกกับสีดำในด้านบรรยากาศ และกับสีขาวในด้านเครื่องประดับ และยังพบว่าปัจจัยด้านสีภายในตู้โชว์ไม่มีอิทธิพลต่อความเป็นประกายของเครื่องประดับ งานวิจัยนี้มีข้อสรุปว่าอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์มีส่วนสร้างการรับรู้ความรู้สึกเชิงบวกต่อเครื่องประดับอัญมณีและบรรยากาศภายในตู้โชว์


การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสีภายในร้านเสื้อผ้ากีฬา, พิรัญญา อิทธิสุริยะ Jan 2019

การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสีภายในร้านเสื้อผ้ากีฬา, พิรัญญา อิทธิสุริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจตลาดเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี การสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับร้านค้า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการภายในร้านค้า การใช้สีในการออกแบบเป็นปัจจัยสิ่งเร้ารูปแบบหนึ่งที่ช่วยดึงดูดสายตาและสร้างความน่าสนใจให้กับผู้คนที่ผ่านไปมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะสีที่แตกต่างกันภายในสภาพแวดล้อมร้านค้าเสื้อผ้ากีฬาที่มีผลต่ออารมณ์ของผู้บริโภค โดยกำหนดตัวแปร ได้แก่ สี 10 รูปแบบ ที่มีความแตกต่างของสีและความอิ่มตัวของสี จากการทดสอบมีผู้เข้าร่วมการทดสอบจำนวน 83 คน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า คุณลักษณะสีที่แตกต่างกัน ส่งผลต่ออารมณ์ PAD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สีดำ (B) ส่งผลต่อมิติความพึงพอใจและความโดดเด่นมากที่สุด สีแดง (R-50) ส่งผลต่อมิติความตื่นตัวมากที่สุด ความอิ่มตัวของสีต่ำส่งผลเชิงบวกมากกว่าความอิ่มตัวของสีสูงในทุกมิติ งานวิจัยนี้สรุปได้ว่า ความอิ่มตัวของสีเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบ ดังนั้น การเลือกใช้สีในสภาพแวดล้อมร้านเสื้อผ้ากีฬา ควรพิจารณาความอิ่มตัวของสีเป็นลำดับแรกควบคู่กับการพิจารณาการเลือกใช้สีแต่ละสี


ต้นไม้ใหญ่ทีมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สุเมทิน สมวันไช Jan 2019

ต้นไม้ใหญ่ทีมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สุเมทิน สมวันไช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในพื้นที่เมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีต้นไม้ใหญ่เก่าแก่ ที่ปลูกมาตั้งแต่สมัยของฝรั่งเศสปกครอง ปัจจุบันมีปัญหาตายและหักโค่น เป็นอันตรายต่อผู้คนและทรัพย์สินโดยรอบ จึงควรมีการตรวจสอบและวางแผนดูแลรักษา โดยการประเมินระดับความเสี่ยงในการหักโค่นของต้นไม้ใหญ่ แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ การศึกษาครั้งนี้ จึงทำการสำรวจสภาพต้นไม้ใหญ่ฯ และจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐาน ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ใช้ประเมินความเสี่ยงและวางแผนจัดการดูแลรักษาต่อไป จากการสำรวจพบว่า ต้นไม้ใหญ่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในพื้นที่เมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีจำนวน 331 ต้น ประกอบด้วยมะฮอกกานี 265 ต้น จามจุรี 36 ต้น และสัก 30 ต้น อยู่บนถนนฟ้างุ่ม ขุนบูลม คูเวียง สามแสนไท เสดถาทิลาด สักกะลิน มะโหสด และจันทะกุมมาน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 40-176 ซม. มีความสูง 4.5 - 27 ม. และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 0-28 ม. ในเรื่องสภาพต้นไม้ ปัญหารากที่พบมากสุดคือ รากงัดผิวดิน แตกฉีก ขดรัดรอบต้น เปลือกแหว่งหาย ถูกตัดฟัน/เสียดสี และคอรากจมดิน ปัญหาลำต้นที่พบมากสุดคือ ลำต้นถูกเจาะทำลาย เปลือกแหว่งหาย ปูดบวม แตกฉีก เอียง และผุ และปัญหากิ่งที่พบมากสุดคือ กิ่งตาย แตกกิ่งกระโดง ผุ แตกฉีก หักห้อยคาต้น และขึ้นเบียดกัน ปัญหาอื่น ประกอบด้วย ปัญหาใบคือ ใบเหี่ยว และใบเหลือง ปัญหาศัตรูพืช คือ กาฝาก และแมลง และปัญหาทรงพุ่มคือ ทรงพุ่มเบี้ยว และถูกบั่นยอด นอกจากนี้ ในการสำรวจลักษณะโดยรวมของต้นไม้ พบว่าส่วนใหญ่มีสัดส่วนความสูงทรงพุ่มมากกว่า 70% มีความแน่นพุ่มใบในระดับปกติ เช่นเดียวกับปริมาณกิ่งในทรงพุ่ม ที่ส่วนใหญ่มีปริมาณอยู่ในระดับปกติ ในเรื่องสภาพพื้นที่ ส่วนใหญ่มีปัญหาสภาพดินอัดแน่น วัสดุดาดแข็งปูทับและร่องละบายน้ำใต้ดิน อันเป็นสิ่งกีดขวางการขยายตัวของระบบรากต้นไม้ ส่วนการใช้พื้นที่ พบว่ามีผู้คน สิ่งก่อสร้าง และยานพาหนะ ที่เสี่ยงจะได้รับความเสียหายจากการหักโค่นของต้นไม้ รวมทั้งระบบวิศวกรรม อาคาร และอื่น …


สัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย กรณีศึกษา: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, พิชญา โคอินทรางกูร Jan 2019

สัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย กรณีศึกษา: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, พิชญา โคอินทรางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมไทย โดยมีกลุ่มอาคารพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ซึ่งประกอบไปด้วย พระอุโบสถ พระวิหารทิศ พระระเบียงคดชั้นใน และพระระเบียงคดชั้นนอก เป็นกรณีศึกษา การวิจัยมุ่งถอดรูปแบบความสัมพันธ์หรือฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนที่กำกับการก่อรูปทรงและการปิดล้อมที่ว่างของสถาปัตยกรรม โดยตั้งต้นศึกษาสัดส่วนหน้าจั่วเป็นสำคัญ แล้วจึงลำดับไปยังองค์ประกอบอื่น ๆ ตามกระบวนการออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทย กระบวนการศึกษามุ่งเน้นหาลักษณะร่วมเชิงสัดส่วนของอาคารทั้งสี่หลัง โดยวิเคราะห์ผ่านแบบรังวัดทางสถาปัตยกรรมเป็นหลัก เริ่มจากหน้าจั่ว สู่เครื่องบนหลังคา องค์ประกอบปิดล้อม พื้น ฝาผนัง ฝ้าเพดาน และวิเคราะห์ถอดฉันทลักษณ์ที่กำกับสัดส่วนในทั้งสี่อาคาร ในกรณีของพระอุโบสถ ซึ่งเป็นอาคารประธาน การศึกษาได้ลงรายละเอียดต่อไปยังองค์ประกอบซุ้มช่องเปิดและการประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างสัดส่วนในกายภาพของสถาปัตยกรรมภายนอก สู่สัดส่วนของพื้นที่ว่างภายในห้องพระอุโบสถซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มอาคาร ผลการศึกษาพบว่า ฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนปรากฏอยู่ในรูปตั้งด้านสกัด หน้าจั่วที่มีสัดส่วนความกว้าง : ความสูง ประมาณ 1 : 0.7 มีบทบาทสำคัญในการกำกับทรงของสถาปัตยกรรม การแบ่งผืนตับหลังคาอ้างอิงสัดส่วนต่อเนื่องจากความสูงของตับหลังคาด้านบน และตับหลังคาสุดท้ายอ้างอิงสัดส่วนคงที่จากความสูงของหน้าจั่ว ระบบของตับในเครื่องบนหลังคากำหนดตำแหน่งขององค์ประกอบปิดล้อมทั้งทางตั้งและทางนอน กล่าวคือ องค์ประกอบเสาและผนังจะวางตัวตามแนวตับหลังคา ส่วนองค์ประกอบฝ้าจะอ้างอิงระดับจากเชิงกลอนของตับหลังคา การก่อรูปสถาปัตยกรรมด้วยฉันทลักษณ์ดังกล่าวส่งผลให้พระวิหารทิศ พระระเบียงคดชั้นใน และพระระเบียงคดชั้นนอก ซึ่งเป็นอาคารจั่วเปิดและมีรูปแบบความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 2 กับองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้งเหมือนกัน มีสัดส่วนเดียวกันทั้งในรูปตั้งด้านสกัดและระนาบที่ว่างภายใน ในขณะที่พระอุโบสถซึ่งเป็นอาคารจั่วปิดและมีรูปแบบความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 4 กับองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้ง มีสัดส่วนและทรงแผ่ออกไป โดดเด่นขึ้นมาในฐานะอาคารประธาน ความสัมพันธ์ของสัดส่วนยังเชื่อมโยงไปยังองค์ประกอบย่อย พระพุทธรูปภายในห้องพระอุโบสถปรากฏสัดส่วน 1 : 0.75 ทั้งในสัดส่วนขององค์พระพุทธรูปเองและสัดส่วนในการประดิษฐาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวใกล้เคียงกับสัดส่วนของหน้าจั่วที่ 1 : 0.7 และสัดส่วนในการยกของหน้าจั่วเหนือจากระดับพื้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนปรากฏอยู่ ณ ที่ว่างภายในอาคารศูนย์กลางเช่นกัน การก่อรูปสถาปัตยกรรมด้วยรูปแบบความสัมพันธ์ของสัดส่วนดังกล่าวส่งผลให้เกิดลักษณะร่วมทางกายภาพของอาคารทั้งสี่ ไม่เพียงแต่ทรงของรูปตั้งด้านสกัดที่ปรากฏชัดด้วยชุดความสัมพันธ์ของตับหลังคาที่ 2 และองค์ประกอบปิดล้อมทางตั้ง แต่ยังรวมถึงระนาบที่ว่างที่เกิดขึ้นภายใน ซึ่งเกิดจากการอ้างอิงระดับฝ้าจากระดับชายคาตับที่ 2 เช่นกัน ตลอดจนในการประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน ดังนั้น ฉันทลักษณ์เชิงสัดส่วนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดเอกภาพภายในกลุ่มอาคารพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนฯ ทั้งในระดับรูปทรงของสถาปัตยกรรมภายนอก และในระดับการเชื่อมโยงเข้าสู่พื้นที่ว่างภายในสถาปัตยกรรม


องค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดพักอาศัยแบบ 1 ห้องนอนที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย: กรณีศึกษาโครงการอาคารชุด บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), เมธาวี อื้ออารีย์กุล Jan 2019

องค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดพักอาศัยแบบ 1 ห้องนอนที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย: กรณีศึกษาโครงการอาคารชุด บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), เมธาวี อื้ออารีย์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวคิดสุขภาวะทางใจหรือความสุขเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจมายาวนาน แต่การศึกษาเรื่องสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัยนั้นยังมีการศึกษาไม่มากนัก ในปัจจุบันการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมีจํานวนอาคารชุดที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ประเด็นเรื่องสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัยในอาคารชุดจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับการคํานึงถึงอย่างยิ่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดและสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัย เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัย และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุด โดยใช้การรวบรวมแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ในการพัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้อยู่อาศัยในรูปแบบห้องชุด 1 ห้องนอนของโครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา, ลุมพินี เพลส รัชโยธิน และลุมพินี เพลส พระราม4 – กล้วยน้ำไท รวมจํานวน 146 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติร่วมกับการวิเคราะห์ผังห้องชุด ผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะทางกายภาพของรูปแบบห้องชุด 4 รูปแบบ ในรูปแบบ B1 จากโครงการลุมพินี เพลส รัชโยธินและรูปแบบ C1 จากโครงการลุมพินี เพลส กล้วยน้ำไท มีรูปแบบการวางผังเหมือนกัน ส่วนในรูปแบบ A1 และ A2 จากโครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา มีความแตกต่างกันที่รูปแบบ A2 มีระเบียงบริเวณส่วนนอน ทั้งนี้รูปแบบ A1 และ A2 นั้นจะแตกต่างจากรูปแบบ B1 และ C1 อย่างชัดเจนในลักษณะการวางผัง, ลำดับการเข้าถึง, การกำหนดขอบเขตและการเชื่อมต่อในแต่ละพื้นที่ (2) ลักษณะครัวเรือน ลักษณะการอยู่อาศัยและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 รูปแบบห้องชุด พบว่ามีความแตกต่างกันในบางหัวข้อ ได้แก่ อาชีพหลัก ในรูปแบบ B1 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา ส่วนรูปแบบอื่น ๆ เป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน, ระดับรายได้ มีความหลากหลายในแต่ละรูปแบบ โดยจะอยู่ในช่วง ต่ำกว่า 20,000 – 60,000 บาท, ผู้อยู่อาศัยร่วมกัน ในรูปแบบ C1 ส่วนใหญ่อยู่อาศัยคนเดียว ส่วนรูปแบบอื่น ๆ อยู่อาศัยร่วมกับครอบครัว และลักษณะที่อยู่อาศัยเดิม ในรูปแบบ …


การพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับชุมชนแวดล้อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา : กรณีศึกษา โครงการเดวารีสอร์ท โครงการสวนปาล์มฟาร์มนกรีสอร์ท และโครงการบางปะกงโบ๊ทคลับแอนด์รีสอร์ท, เสาวลักษณ์ ลิ้มสวัสดิ์ Jan 2019

การพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับชุมชนแวดล้อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา : กรณีศึกษา โครงการเดวารีสอร์ท โครงการสวนปาล์มฟาร์มนกรีสอร์ท และโครงการบางปะกงโบ๊ทคลับแอนด์รีสอร์ท, เสาวลักษณ์ ลิ้มสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวพร้อมกับจัดกิจกรรมเรียนรู้ธรรมชาติและวิถีชุมชน เป็นแนวทางพัฒนาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพอย่างจังหวัดฉะเชิงเทรา งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาแนวคิดและกระบวนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักนักท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับวิถีชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยคัดเลือกกรณีศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ โครงการเดวารีสอร์ท โครงการสวนปาล์มฟาร์มนกรีสอร์ท และโครงการบางปะกงโบ๊ทคลับแอนด์รีสอร์ท รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้นำในการจัดกิจกรรมของชุมชน และนักท่องเที่ยว ประกอบการสำรวจโครงการ และรวบรวมความคิดเห็นผู้เข้าพักจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการจองที่พัก สิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 วิเคราะห์ผลโดยถอดความสำคัญจากบทสัมภาษณ์ และสรุปความคิดเห็นการเข้าพักของนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดสำคัญของผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการทั้ง 3 แห่ง มีความคล้ายคลึงกัน คือ มีแนวคิดการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่คำนึงถึงสภาพพื้นที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีวัฒนธรรมชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ริมแม่น้ำที่มีชุมชนแวดล้อม ทำให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักนักท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม 2) กระบวนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การออกแบบที่สอดคล้องกับธรรมชาติแวดล้อม การเลือกใช้ทรัพยากรและแรงงานท้องถิ่นในการก่อสร้างและการให้บริการ 3) การให้บริการผู้เข้าพักในโครงการโดยการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน พบว่าโครงการที่มีระดับการมีส่วนร่วมกับชุมชนสูง ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีและนำมาซึ่งความพึงพอใจของชุมชนในระดับสูง 4) ผู้ประกอบการเห็นว่าการจัดกิจกรรมของโครงการเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเข้าพักซ้ำและทำให้อัตราการเข้าพักสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในความเห็นของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเรื่องทัศนียภาพและการบริการ ส่วนเรื่องกิจกรรมเป็นความพึงพอใจในระดับรองลงมา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นบทเรียนที่สำคัญว่า การพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับชุมชนควรพิจารณาการนำแนวความคิดทั้งเชิงธุรกิจและแนวคิดการมีส่วนร่วมกับชุมชนมาใช้ร่วมกับการพัฒนาโครงการ ที่ตั้งอยู่ในทำเลที่มีคุณค่าทั้งในด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมชุมชน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรพิจารณาศึกษาคือการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้ งานวิจัยฉบับนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะนี้ รวมถึงการวางแผนบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป


การปรับปรุงวิธีการออกแบบทาวน์เฮาส์ที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, จุฬาลักษณ์ อมรเศรษฐพงศ์ Jan 2019

การปรับปรุงวิธีการออกแบบทาวน์เฮาส์ที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, จุฬาลักษณ์ อมรเศรษฐพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อให้แบบทาวน์เฮาส์ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ในแต่ละโครงการมีลักษณะเฉพาะ ทำให้ขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปปัจจุบัน ใช้ระยะเวลานานถึง 63 วัน ในขณะที่การก่อสร้างทาวน์เฮาส์พร้อมกัน 7 คูหา ใช้ระยะเวลาเพียง 50 วัน จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะลดเวลาและขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โครงการทาวน์เฮาส์พฤกษาวิลล์ ที่ใช้เป็นกรณีศึกษา มีขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และที่จอดรถ 1 คัน ประกอบด้วยชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจำนวน 29 ชิ้น 29 รูปแบบ จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า เมื่อใช้ระบบประสานพิกัด ลดรูปแบบช่องเปิด และเพิ่มระยะริมช่องเปิด สามารถลดรูปแบบชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เหลือเพียง 20 ชิ้น 11 รูปแบบเท่านั้นแต่ทาวน์เฮาส์จะมีแบบเรียบๆเหมือนกันหมด แต่ละโครงการไม่มีลักษณะเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดการใช้วิธียื่นครีบผนัง เปลี่ยนตำแหน่งผนัง และเชื่อมระนาบแผ่นผนัง ที่นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอยต่อของผนังแล้ว ยังช่วยให้แบบทาวน์เฮาส์มีความแตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงออกแบบชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจำนวน 87 ชิ้น 16 รูปแบบ มาใช้ทดลองออกแบบทาวน์เฮาส์ ได้ 4 แบบ ที่แตกต่างกัน จึงเสนอให้ฝ่ายสถาปนิกและฝ่ายโรงงาน ประชุมจัดทำแบบทาวน์เฮาส์มาตรฐาน โดยให้สถาปนิกใช้วิธีดังกล่าว ออกแบบทาวน์เฮาส์เพิ่มเติม ให้ได้หลากหลายแบบ และเก็บเป็นคลังแบบ ส่วนฝ่ายโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เตรียมไว้ในคลัง เมื่อมีโครงการใหม่ ทางโครงการใช้วิธีเลือกแบบทาวน์เฮาส์ และเลือกชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป จากคลัง ไปก่อสร้างได้ทันทีเป็นการลดเวลาและขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปลงได้ ทั้งนี้การพัฒนาคลังรูปแบบและชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่เสนอนี้ ยังสามารถพัฒนาเข้าสู่ แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling-BIM) ได้ต่อไป


ปรากฎการณ์การเกิดห้องชุดขนาดเล็กในอาคารชุดตามสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลระหว่างปี พ.ศ.2552-2564, ดนัยพร พงษ์อมรพรหม Jan 2019

ปรากฎการณ์การเกิดห้องชุดขนาดเล็กในอาคารชุดตามสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลระหว่างปี พ.ศ.2552-2564, ดนัยพร พงษ์อมรพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปรากฏการณ์ห้องชุดขนาดเล็กเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งกรุงเทพมหานครที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในพื้นที่อันจำกัด ทำให้เกิดห้องชุดขนาดเล็กในอาคารชุดขึ้น และปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มจำนวนสูงขึ้นในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปรากฏการณ์รวมถึงปัจจัยที่ส่งผล และสัมพันธ์ต่อห้องชุดขนาดเล็กเกิดขึ้นในอาคารชุดตามสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลระหว่างปี พ.ศ.2552-2564 ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณด้วยวิธีการทางสถิติ และเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบปรากฏการณ์อาคารชุดตามสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลระหว่างปี พ.ศ.2552-2564 ที่มีห้องชุดขนาดเล็กจำนวนหน่วยรวมทั้งสิ้น 14,576 หน่วย โดยสามารถแบ่งช่วงปรากฏการณ์ออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ช่วงเริ่มต้น (พ.ศ.2552-2555) จำนวนรวม 302 หน่วย ช่วงที่ 2 ช่วงเพิ่มขึ้นกระทันหัน (พ.ศ.2556-2557) จำนวนรวม 3,221 หน่วย ช่วงที่ 3 ช่วงปรับตัวลดลงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2558-2560) จำนวนรวม 9,424 หน่วย และช่วงที่ 4 ช่วงชะลอตัว (พ.ศ.2561-2564) จำนวนรวม 1,629 หน่วย โดยมีอัตราการเติบโตของจำนวนหน่วยเฉลี่ยที่ร้อยละ 34 ต่อปี สัดส่วนปริมาณของห้องชุดขนาดเล็กต่อห้องชุดทั้งหมดในโครงการเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 30 และมีอัตราการเติบโตของสัดส่วนเฉลี่ยที่ร้อยละ 10 ต่อปี ที่ตั้งของโครงการที่มีห้องชุดขนาดเล็กมีการกระจายตัวออกไปรอบชานเมืองมากขึ้น เนื่องจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าออกไป ด้านรูปแบบของห้องชุดขนาดเล็กมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 22.0-22.5 ตารางเมตร พบว่าจำแนกได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่ ห้องหน้ากว้าง และห้องหน้าแคบ และพบว่าห้องหน้าแคบเริ่มเป็นที่นิยมในการพัฒนาโครงการมากขึ้นในปัจจุบัน ขนาดห้องมีแนวโน้มปรับลดลงเรื่อยๆโดยในช่วงชะลอตัวเหลือขนาดเฉลี่ยที่ 21.58 ตารางเมตรเท่านั้น ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดขึ้นของห้องชุดขนาดเล็กพบปัจจัย 3 อันดับแรกที่ส่งผล และสัมพันธ์ต่อปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของห้องชุดขนาดเล็กในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้แก่ ปัจจัยขนาดที่ดิน ปัจจัยราคาขายเริ่มต้น และปัจจัยดัชนีราคาที่ดินเปล่า จากการศึกษาที่พบว่าแนวโน้มขนาดห้องชุดจะเล็กลงอีกในอนาคต จึงเสนอแนะให้ทั้งภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐตระหนักในเรื่องนี้ และมุ่งหาแนวทางในการที่จะพัฒนาอาคารชุดขนาดเล็กให้ตอบสนองคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย โดยมีมาตรการต่างๆ เช่น การเพิ่ม และให้ความสำคัญต่อพื้นที่ส่วนกลางในโครงการ และพื้นที่ส่วนกลางในพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งควรมีมาตรการการลดอัตรการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินซึ่งส่งผลถึงราคาขายของอาคารชุด


การดัดแปลงอาคารประเภทตึกแถวเก่าตามข้อกฎหมายเพื่อใช้ประโยชน์เป็นโฮสเทล : กรณีศึกษา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร, ณัฏฐ์ชยกร ภัทราศิริธนิศร Jan 2019

การดัดแปลงอาคารประเภทตึกแถวเก่าตามข้อกฎหมายเพื่อใช้ประโยชน์เป็นโฮสเทล : กรณีศึกษา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร, ณัฏฐ์ชยกร ภัทราศิริธนิศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันพบว่ามีการนำตึกแถวเก่ามาดัดแปลงเป็นโฮสเทลจำนวนมากโดยภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการผ่อนปรนข้อกำหนดบางข้อในการดัดแปลงอาคารจากข้อกำหนดที่บังคับใช้อยู่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อกฎหมายที่ใช้ในการดัดแปลงอาคารตึกแถวเก่าให้เป็นโฮสเทลและศึกษาปัญหาตลอดจนแนวทางการแก้ไขในการดัดแปลงอาคารตึกแถวเก่าให้เป็นโฮสเทล โดยวิจัยนี้ใช้วิธีการสำรวจและการสัมภาษณ์โฮสเทลที่เปิดให้บริการในเขตพื้นที่บางรัก จากผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นตึกแถวเก่าที่ดัดแปลงเป็นโฮสเทลในเขตบางรัก จำนวน 22 อาคาร พบว่า ตึกแถวส่วนใหญ่มีความสูงที่ 4 ชั้นขึ้นไป มีขนาด 1 คูหาและเดิมเคยเป็นที่พักอาศัย รองลงมาเป็นร้านค้าและสำนักงาน นอกจากนี้ยังพบว่าในธุรกิจโฮสเทลมีทั้งที่เป็นเจ้าของตึกและผู้เช่า โดยมีระยะเวลาการเช่าในช่วง 3 ปีมากที่สุด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายดัดแปลงอาคาร แต่เพื่อให้การดัดแปลงเหมาะสมกับการใช้งานจึงมีการให้สถาปนิกหรือวิศวกรทำการออกแบบมากกว่าที่จะออกแบบเอง จากผลสำรวจลักษณะทางกายภาพภายนอกในเรื่องของความสูงพบว่าในบางอาคารมีการต่อเติมโครงสร้างในชั้นดาดฟ้าหลังจากเปลี่ยนมาเป็นโฮสเทลและที่ว่างด้านหลังอาคาร ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่มีการต่อเติมใช้งานที่ว่างดังกล่าวมาตั้งแต่แรกและในบางอาคารมีการต่อเติมพื้นที่นี้ทีหลัง และการดัดแปลงพื้นที่ภายในอาคารพบว่ามีทั้งหมด 15 รายการได้แก่ ห้องน้ำ กั้นผนังห้อง ผนังภายนอก บันไดหนีไฟ พื้น ดาดฟ้า ช่องแสง ผนังภายใน บันไดหลัก เสา ระเบียง ลิฟต์ ผนังบันไดหนีไฟภายนอก และพื้นที่ทางเดินภายใน โดยพบว่าห้องน้ำมีการดัดแปลงมากที่สุด พบในทุกโฮสเทล รองลงมาเป็นการกั้นผนังห้อง ซึ่งจากข้อมูลมีทั้งส่วนที่ตรงและไม่ตรงตามกฎหมาย ผู้วิจัยแบ่งผลการศึกษาได้ดังนี้ 1) ส่วนที่ตรงตามกฎหมายทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน 5 รายการได้แก่ ห้องน้ำ กั้นผนังห้อง หลังคา เสา ลิฟต์ 2) ส่วนที่มีทั้งตรงและไม่ตรงตามกฎหมายมีอยู่ด้วยกัน 6 รายการได้แก่ ช่องแสง ความสูง บันไดหนีไฟภายนอก บันไดหลัก พื้นที่ทางเดิน 3) ส่วนที่ไม่ตรงตามกฎหมาย มีอยู่ด้วยกัน 2 รายการได้แก่ การใช้บันไดหลักหนีไฟแต่ไม่ปิดล้อมพื้นที่ด้วยวัสดุทนไฟ และการต่อเติมที่ว่างด้านหลังอาคาร จากข้อมูลส่วนที่ไม่ตรงตามกฎหมาย ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการตรวจสอบและการดัดแปลงอาคารถึงแนวทางปฏิบัติและแนวทางแก้ไขพบว่า 1) เรื่องความสูงของอาคาร กรณีที่มีการต่อเติมความสูงจากเดิมหรือที่ว่างด้านหลังอาคารที่มีการต่อเติมใช้งานพื้นที่ที่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อพบว่าขัดต่อข้อกำหนดจะแจ้งให้ผู้ประกอบการทำการรื้อในส่วนที่นั้นออก 2) เรื่องขนาดช่องทางเดิน บันไดหลักและการใช้บันไดหลักเป็นบันไดหนีไฟ ในส่วนนี้ได้มีการออกกฎหมายผ่อนปรนข้อกำหนดจากข้อกฎหมายควบคุมอาคารที่บังคับใช้อยู่ ซึ่งกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2559และ2561(ฉบับที่2) แต่พบว่าส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมาย คือ ความกว้างทางเดินภายในและบันไดหลักกว้างไม่ถึง 1.2 เมตรตามที่กำหนด และการไม่ปิดล้อมบันไดหลักที่ใช้เป็นบันไดหนีไฟ ทางเจ้าหน้าที่แนะนำให้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถทนไฟได้ 30 นาทีตามกฎหมายผ่อนปรนปิดล้อมพื้นที่บันไดหลัก ซึ่งในปัจจุบันมีวัสดุหลากหลายชนิดที่ทนไฟและผู้ประกอบการสามารถปรึกษากับทางผู้ออกแบบเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่ต้องดำเนินการภายใน 18 สิงหาคม 2564 เพราะกฎหมายผ่อนปรนมีอายุการบังคับใช้แค่ …


แนวทางการปรับปรุงทางกายภาพโครงการอาคารชุดให้เป็นโรงแรม กรณีศึกษาโครงการโรงแรมระดับ 4 ดาว ในพื้นที่พัทยา, ทวีศักดิ์ ฤกษ์สวัสดิ์ถาวร Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงทางกายภาพโครงการอาคารชุดให้เป็นโรงแรม กรณีศึกษาโครงการโรงแรมระดับ 4 ดาว ในพื้นที่พัทยา, ทวีศักดิ์ ฤกษ์สวัสดิ์ถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการอาคารชุด ในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างพัทยามีการเกิดขึ้นใหม่มากมาย ทำให้จำนวนห้องชุดมีมากขึ้น และเกิดการแข่งขันทางธุรกิจ ประกอบกับ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เป็นเหตุทำให้ผู้ประกอบการหลายรายมีการปรับแผนกลยุทธทางธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคารชุดที่มีอยู่แล้วให้เป็นโรงแรมที่มีมาตรฐานตามข้อกำหนด อย่างไรก็ตามหลายโครงการประสบปัญหาเรื่องข้อจำกัดทางกายภาพที่เกิดขึ้น หรือดำเนินการโดยไม่ได้อ้างอิงข้อกฎหมาย จึงเกิดปัญหาที่ทำให้เป็นโรงแรมที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการกิจการอย่างถูกต้อง รวมทั้งอาจเกิดปัญหาบานปลายภายหลัง เช่น ปัญหาด้านโครงสร้างที่ต้องปรับปรุง เพิ่มเติม ปัญหาด้านงานระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาด้านการใช้งานพื้นที่ส่วนกลางระหว่างแขกผู้เข้าพัก พนักงาน ดังนั้นแนวทางการปรับปรุงทางด้านกายภาพของโครงการอาคารชุดให้เป็นโรงแรมจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาว่ามีข้อกฏหมายใดบ้างที่เป็นหลักเกณฑ์ที่ต้อง ดำเนินการในการปรับปรุงโครงการ และทำให้เกิดผลอย่างไรต่อกายภาพโครงการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ คือ โครงการโรงแรมระดับ 4 ดาว จำนวน 2 แห่งในพื้นที่ พัทยา ที่เคยเป็นโครงการอาคารชุดมาก่อน และทั้ง 2 โครงการอาคารชุด ได้ทำการซื้อคืนห้องชุดทั้งหมดจากเจ้าของร่วมเดิมทั้งหมด เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงการใช้งานอาคารชุดให้เป็นโรงแรม ผลจากการศึกษาจำแนกข้อกฎหมาย รวมถึงแนวทางการปรับปรุงอาคารชุดให้เป็นโรงแรม ที่มีผลจากข้อกฎหมาย ข้อกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ 1) ข้อกฎหมายผังเมืองรวมพื้นที่เฉพาะ เพื่อใช้ตรวจสอบว่าพื้นที่สามารถดำเนินกิจการโรงแรมได้หรือไม่ ควบคุมขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร และพื้นที่ว่างภายนอกอาคาร 2) ข้อกฎหมายสิ่งแวดล้อมของเขตพื้นที่เฉพาะเพื่อควบคุมมิให้มีผลกระทบกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงข้อกำหนดพื้นที่สีเขียว 3) ข้อกฎหมายสำหรับควบคุมอาคารชุดในส่วนที่ยังคงบังคับใช้ในกรณีปรับปรุงการใช้งานเป็นโรงแรม เช่น สภาพแวดล้อม สถานที่ตั้งโครงการ พื้นที่ว่างนอกอาคาร ระยะร่นอาคาร ความสูงอาคาร ขนาดทางสัญจร ลิฟต์ บันไดหนีไฟ 4) ข้อกฏหมายสำหรับควบคุมโรงแรมที่จะต้องปรับปรุง เช่น ความชัดเจนของส่วนบริการโรงแรม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับโรงแรม ระบบความปลอดภัยทางด้านอัคคีภัย ระบบพลังงานสำรอง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ได้แก่ ที่จอดรถ ห้องพัก ห้องน้ำสาธารณะ ทางสัญจร ลิฟต์ บันได ป้ายสัญลักษณ์ และ 5) ข้อกำหนดมาตรฐานโรงแรมที่เป็นตัวบ่งชี้ระดับของโรงแรม เช่น จำนวนที่จอดรถ ลักษณะโถงต้อนรับ แยกการใช้ทางสัญจรชัดเจน แยกการใช้งานลิฟต์ชัดเจน ห้องพักมีทางเลือกหลากหลายแบบ ห้องอาหาร ห้องครัว ห้องประชุม สระว่ายน้ำ ห้องน้ำสาธารณะ ส่วนพื้นที่บริการของพนักงาน ส่วนสันทนาการต่างๆ จากผลการศึกษาทำให้ทราบถึงแนวทางการปรับปรุงโครงการที่ใช้การอ้างอิงจากข้อกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่แนวทางการปรับปรุง พัฒนาโครงการได้อย่าง เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อโครงการที่ต้องการปรับปรุงการใช้งานอาคาร


กลยุทธ์การตลาดกับการกำหนดค่าใช้จ่ายการตลาดของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561, นิอาซีร่า นิสาเฮาะ Jan 2019

กลยุทธ์การตลาดกับการกำหนดค่าใช้จ่ายการตลาดของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561, นิอาซีร่า นิสาเฮาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กลยุทธ์การตลาดเป็นแผนสำคัญที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องกำหนดเพื่อการดำเนินงาน กลยุทธ์ที่มีเป้าหมายและใช้ในช่วงเวลาต่างกันย่อมส่งผลต่อค่าใช้จ่ายการตลาดที่ต่างกันด้วย ทั้งนี้ การปรับกลยุทธ์และค่าใช้จ่ายถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จของบริษัท งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากลยุทธ์การตลาดและค่าใช้จ่ายการตลาดของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บริษัท) รวมถึงวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายการตลาดกับกลยุทธ์ช่วงพ.ศ. 2557-2561 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญช่วงหนึ่ง รวบรวมข้อมูลจากแบบรายงานประจำปีและงบการเงินของ 20 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ 3 แห่ง ขนาดกลาง 5 แห่ง และขนาดเล็ก 12 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลกลยุทธ์โดยการถอดความ หาคำสำคัญ และเปรียบเทียบแต่ละช่วงปี รวมถึงวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายการตลาดตามช่วงเวลา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์และค่าใช้จ่ายโดยการพิจารณาเงื่อนไขแวดล้อมของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) การที่เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้บริษัทปรับกลยุทธ์ ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กที่เน้นโครงการแนวราบ (กลุ่ม A) มีกลยุทธ์ที่ใกล้เคียงกันคือ การขยายฐานโครงการแนวราบระดับกลาง-บน ขณะที่บริษัทขนาดเล็กที่เน้นโครงการแนวสูง (กลุ่ม B) เน้นพัฒนาโครงการแนวสูงระดับกลาง-ล่างถึงบนเป็นหลัก 2) ประเภทกลยุทธ์ที่นำมาใช้ พบว่า ทุกขนาดบริษัทมีการใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมือนกัน โดยใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด รองลงมาใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวคิดการพัฒนาที่ให้ความสำคัญด้านอุปสงค์ความต้องการที่อยู่อาศัย โดยมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ทำเล ตลอดจนทำการสื่อสารถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มให้เหมาะสม สำหรับกลยุทธ์ด้านราคา บริษัทขนาดใหญ่ใช้มากเป็นอันดับที่ 4 ขณะที่บริษัทขนาดกลางและบริษัทขนาดเล็กใช้มากเป็นอันดับที่ 3 3) การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การตลาดในช่วงปี 2557-2561 พบว่า ทุกบริษัทมีการใช้กลยุทธ์ที่สำคัญคือ การขยายฐานกลุ่มลูกค้าครอบคลุมทุกระดับราคา และการพัฒนาโครงการแนวราบเพิ่มขึ้น ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง และเน้นใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายการตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเช่นกัน 4) อัตราค่าใช้จ่ายการตลาดต่อรายได้ พบว่า ทุกขนาดบริษัทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทขนาดใหญ่มีอัตราค่าใช้จ่ายการตลาดต่อรายได้น้อยที่สุดเฉลี่ย 7.80% รองลงมาคือบริษัทขนาดเล็ก กลุ่ม B เฉลี่ย 8.75%, บริษัทขนาดกลางเฉลี่ย 9.08% และบริษัทขนาดเล็ก กลุ่ม A เฉลี่ย 9.62% ตามลำดับ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของโครงการแนวราบมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการตลาด ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นการกำหนดกลยุทธ์การตลาดของบริษัทที่แตกต่างกันในแต่ละปีส่งผลต่อค่าใช้จ่ายการตลาด โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวบริษัทใช้กลยุทธ์ขยายตลาดกรุงเทพฯปริมณฑล ต่างจังหวัด ในระดับกลาง-บน ขณะที่ช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจะเริ่มใช้กลยุทธ์การขยายตลาดต่างชาติ ตลาดระดับบน และล่าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในการนำไปพิจารณาวางแผนกลยุทธ์และค่าใช้จ่ายการตลาดตามความเหมาะสมของการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย


กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน), พรรณรัตน์ หะรารักษ์ Jan 2019

กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน), พรรณรัตน์ หะรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีความสำเร็จของภาคเอกชนเป็นรากฐานที่สำคัญ แต่ก็เป็นธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาคารชุดมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กรของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงวิธีการในการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละปีที่ส่งผลถึงกลยุทธ์ระดับผลิตภัณฑ์ และแนวคิดในการพัฒนาของอาคารชุดแต่ละแบรนด์ที่มีในปัจจุบัน จากการเลือกกรณีศึกษาที่มีความโดดเด่นด้านรายได้ คือบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารเผยแพร่ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานข้อมูลประจำปี (56-1) และเอกสารอ้างอิงต่างๆ จากนั้นจึงเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) แบ่งโครงสร้างบริษัทเป็นฝั่งแวลูและพรีเมียม ซึ่งมีกลยุทธ์และแนวคิดที่แตกต่างกัน โดยฝั่งแวลูเน้นการสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่เป็นหลัก ไม่ซับซ้อน เน้นราคาและทำเล ส่วนฝั่งพรีเมียมเน้นการสร้างความแตกต่างจากไลฟ์สไตล์ลูกค้า ในส่วนของเป้าหมายและการกำหนดทิศทางของแต่ละปีนั้น บริษัทคำนึงถึงการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยการสร้างแบรนด์ให้เกิดความหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด เพื่อที่จะสามารถปรับตัวให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ผลการศึกษาสรุปว่า กลยุทธ์การพัฒนาสำหรับอาคารชุดพักอาศัยของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) คือการขยายพอร์ทให้เติบโตและยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด โดยการสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละปี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 (พ.ศ.2550-2553) เริ่มพัฒนาโครงการอาคารชุด ใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุนและกระจายการลงทุน สอดคล้องกับนโยบาย BOI ของรัฐบาล ช่วงที่ 2 (พ.ศ.2554-2557) เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่และปัญหาการเมือง จึงยังคงเน้นกลยุทธ์การบริหารต้นทุนเป็นหลัก โดยมีกลยุทธ์สร้างเสร็จไว เร่งการรับรู้รายได้และสร้างความแข็งแรงในองค์กรเป็นกลยุทธ์รอง และช่วงที่ 3 (พ.ศ.2558-2562) ตลาดบนเป็นที่ต้องการ เริ่มมีการแข่งขันด้านนวัตกรรม การพัฒนาโครงการแบบมิกซ์ยูส ทำให้เกิดแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ลูกค้ามากขึ้น เน้นกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และการตลาดแบบออนไลน์ โดยที่กลยุทธ์หลักยังคงเป็นเรื่องของการบริหารต้นทุน


ความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย ของกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา โครงการเดอะทรี สุขุมวิท 71 และโครงการพลัม คอนโด รามคำแหง สเตชั่น, ปานประดับ สังเขป Jan 2019

ความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย ของกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา โครงการเดอะทรี สุขุมวิท 71 และโครงการพลัม คอนโด รามคำแหง สเตชั่น, ปานประดับ สังเขป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการจัดรายการส่งเสริมการขายหลายรูปแบบเพื่อเร่งระบายสินค้าคงเหลือ เครื่องเรือนพร้อมการขายเป็นรายการส่งเสริมการขายลักษณะหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้ที่มีกำลังซื้อและสนใจครอบครองห้องชุด ให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมการใช้งาน และความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดการเลือกและการจัดเครื่องเรือนในพื้นที่ขนาดเล็ก แนวคิดความพึงพอใจของมนุษย์ เพื่อสรุปรูปแบบเครื่องเรือนที่สอดคล้องกับพฤติกรรม และลักษณะผู้ซื้อห้องชุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 21 – 40 ปี มีราคาห้องชุดส่วนใหญ่ในระดับราคาปานกลางตั้งแต่ 2,000,001 – 2,500,000 บาท รายได้ครัวเรือนต่อเดือนตั้งแต่ 25,001 บาทขึ้นไป รายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท รายจ่ายห้องชุดต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มีงบประมาณในการซื้อเครื่องเรือนส่วนใหญ่ 50,001 – 100,000 บาท จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานเครื่องเรือนพบว่า เครื่องเรือนบางชนิดมีการใช้งานมากกว่า 1 รูปแบบเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดและขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการอยู่อาศัย เช่น โซฟา ใช้เพื่อนั่งเล่นและนอนหลับ, โต๊ะกลาง ใช้เพื่อพักผ่อนและทำงาน เป็นต้น มีความพึงพอใจเครื่องเรือนพร้อมการขายที่มีลักษณะติดตายมากกว่าเครื่องเรือนลอยตัว บางชนิดมีที่เก็บของน้อยเกินไป บางชนิดมีขนาดไม่เหมาะสมกับพื้นที่ บางชนิดวัสดุไม่มีความแข็งแรงทนทาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกห้องชุดแบบเครื่องเรือนบางส่วน เนื่องจากอยู่อาศัยเองและต้องการตกแต่งเอง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เลือกห้องชุดแบบเครื่องเรือนพร้อมอยู่ เนื่องจากสะดวกพร้อมอยู่ ต้องการประหยัดงบประมาณ และต้องการปล่อยเช่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้งานพบว่า เครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขายในห้องชุดขนาดเล็กสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานน้อย จึงควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่น รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ควรออกแบบเครื่องเรือนควบคู่กับการวางผังห้องชุด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า สอดคล้อง และเหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้องชุด ควรเพิ่มที่เก็บของทั้งแนวตั้งและแนวนอนให้ได้มากที่สุด จึงไม่ควรจัดเครื่องเรือนพร้อมการขายแบบสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด และมุ่งเน้นการจัดเครื่องเรือนที่จำเป็นต่อการใช้งานมากไปน้อยตามลำดับ โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นที่ในแต่ละอิริยาบทพื้นฐานตามหลักการเทียบส่วนมนุษย์ (Human Scale) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ขนาดของพื้นที่ภายในห้องชุดมีผลต่อการจัดวางผังเครื่องเรือน และจุดประสงค์การครอบครองห้องชุดมีผลต่อความต้องการได้รับเครื่องเรือนพร้อมการขาย ข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการ คือ ควรจัดกลุ่มเครื่องเรือนออกเป็น 3 กลุ่ม แบบ “Typical Priority” เพื่อให้ผู้ซื้อห้องชุดสามารถเลือกรับเครื่องเรือนในรูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรม


พฤติกรรมด้านการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : พาต้า ปิ่นเกล้า, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์, จัตุรัสจามจุรี และเทสโก้ โลตัส พระราม 1, ภัสร์นลิน เลิศดำรงค์ไชย Jan 2019

พฤติกรรมด้านการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : พาต้า ปิ่นเกล้า, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์, จัตุรัสจามจุรี และเทสโก้ โลตัส พระราม 1, ภัสร์นลิน เลิศดำรงค์ไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุ นำไปสู่การจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้าที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ผ่านการใช้วิธีสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้สูงอายุภายที่มาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้า สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในด้านการจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้า (ผู้ประกอบการ) จากผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้สูงอายุเลือกใช้พื้นที่ของห้างสรรพสินค้าเป็นสถานที่ที่มานอกเหนือจากบ้านหรือ Second place โดยพฤติกรรมการมาใช้พื้นที่แตกต่างกันตามจุดเด่นและจุดขายของแต่ละสถานที่ ปัจจัยเรื่องทำเลที่ตั้งของห้างฯ มีผลต่อรูปแบบการเดินทางมาของผู้สูงอายุ ทำให้วัตถุประสงค์ของการมาใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถานที่ 2) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นว่าควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า โดยจัดให้เป็นพื้นที่สำหรับนั่งมากที่สุด และเป็นพื้นที่ทางสังคมรองลงมาเพื่อลดความเหงา และโดดเดี่ยว ดังนั้นการจัดการพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้าควรพิจารณาประเด็นของพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงอายุควบคู่ไปกับจุดเด่น จุดขายของสถานที่นั้นๆ ผู้ประกอบการตระหนักถึงประเด็นการมาของสังคมสูงวัยและพฤติกรรมนิยมมาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้าของผู้สูงอายุ แต่ยังไม่เห็นถึงความสำคัญหรือแรงจูงใจในการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ภาครัฐจึงควรออกนโยบายผลักดันและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเห็นถึงความสำคัญ สร้างแรงจูงใจในการจัดเตรียมพื้นที่ให้เป็นสวัสดิการพื้นที่ทางสังคมในเมือง ด้วยการรณรงค์ขอความร่วมมือ ลดอัตราภาษีแก่ห้างสรรพสินค้าที่พัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุ ให้รางวัล เพื่อดึงดูดให้พื้นที่ห้างสรรพสินค้าอื่นๆ นำไปปฏิบัติตาม เพื่อสวัสดิการด้านพื้นที่ทางสังคมนี้จะได้ครอบคลุมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน


รูปแบบการบริหารจัดการอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร ในเขตกรุงเทพมหานคร, วันฟ้า ศรีพวงเพิศ Jan 2019

รูปแบบการบริหารจัดการอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร ในเขตกรุงเทพมหานคร, วันฟ้า ศรีพวงเพิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการบ้านเอื้ออาทรในรูปแบบอาคารชุดเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งการเคหะแห่งชาติก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ศึกษาความพอพึงใจของผู้อยู่อาศัย และวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในแต่ละรูปแบบ โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ ศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรอาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 นิติบุคคล 4 โครงการ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคล การศึกษารายงานประจำปี และแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด แบ่งเป็นนิติบุคคลละ 50 ชุด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีรูปแบบการบริหารจัดการอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ การบริหารโดยเจ้าของร่วมและการบริหารโดยบริษัท และมีโครงสร้างการบริหารจัดการทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ที่ไม่มีผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคล ผู้จัดการนิติบุคคลจะควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงานเอง รูปแบบที่ 2 มีผู้จัดการนิติบุคคลและผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคลควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงานร่วมกัน และรูปแบบที่ 3 มีผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคลควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงาน ผู้จัดการนิติบุคคลจะดูแลเพียงการวางนโยบายการบริหารเท่านั้น ด้านการจัดจ้างฝ่ายปฏิบัติงาน พบว่า มีรูปแบบการจัดจ้างฝ่ายปฏิบัติการ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดจ้างบริษัท จัดจ้างผู้อยู่อาศัยในนามบริษัท และจัดจ้างผู้อยู่อาศัย ด้านการวางแผนนโยบาย พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมส่วนใหญ่เน้นการบริหารทางด้านกายภาพ ซึ่งรูปแบบการบริหารโดยบริษัทจะมีนโยบายที่ครอบคลุมมากกว่า ด้านการวางแผนดูแลชุมชน พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมส่วนใหญ่จะมีการวางแผนการงานเป็นรายปีแต่ไม่ระบุเดือนในการทำงาน ต่างจากรูปแบบการบริหารโดยบริษัทที่มีแผนการทำงานเป็นรายปีและระบุเดือนในการทำงาน ซึ่งการบริหารมีเพียงการบริหารตามนโยบาย ไม่มีคู่มือการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย (ขาดทุน) แต่รูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีรายรับมากกว่ารายจ่าย (กำไร) และในด้านการจัดเก็บค่าส่วนกลาง พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีหนี้ค้างชำระต่อเดือนเฉลี่ยร้อยละ 20-40 แต่รูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีหนี้ค้างชำระต่อเดือนเฉลี่ยร้อยละ 2-5 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชน พบว่า ทั้ง 2 รูปแบบไม่แตกต่างกันมากนักเพราะทั้ง 2 รูปแบบต่างมีการพัฒนาคุณชีวิตของสมาชิกชุมชนไม่ครบทุกด้าน ด้านความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในการบริหารทั้ง 2 รูปแบบ ซึ่งแยกการบริหารเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านกายภาพ ด้านความสะอาด ด้านความปลอดภัย ด้านสาธารณูปโภค และด้านการดูแลทรัพย์สิน ระหว่างรูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมและรูปแบบการบริหารโดยบริษัท พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนข้างต่ำ ต่างกับรูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนข้างสูง เมื่อแยกรูปแบบการบริหาร พบว่า ด้านที่ระดับความพึงพอใจแตกต่างกัน …


ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ:กรณีศึกษา สวนสันติภาพ, สัณฑศักย์ ตันติเมฆบุตร Jan 2019

ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ:กรณีศึกษา สวนสันติภาพ, สัณฑศักย์ ตันติเมฆบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สวนสาธารณะเป็นพื้นที่สีเขียวที่สำคัญของเมือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อประชาชน โดยสวนสาธารณะก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้านต่อประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้ใช้บริการสวนสาธารณะ และวิเคราะห์ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เลือก สวนสันติภาพ ที่ตั้งอยู่ในเขตราชเทวี เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นสวนประเภทสวนละแวกบ้าน ซึ่งมีขนาดและระยะรัศมีบริการเหมาะสมแก่การศึกษา รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งและบริบทโดยรอบที่มีอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท โดยมีระเบียบวิธีในการศึกษาคือ 1) ทบทวนเอกสาร หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และ 3) วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ โดยในงานวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ จำนวน 286 คน และผู้จัดการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบภายในโครงการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบสวนสันติภาพ จำนวน 13 คนจาก 13 โครงการ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้ใช้บริการสันติภาพที่มีการใช้งานอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ และข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายในพื้นที่โดยรอบสวนสาธารณะของผู้ใช้บริการสันติภาพ รวมถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆ ของสวนสันติภาพที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ โดยจากการศึกษาสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1) ข้อมูลด้านประชากรและข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานสวนสาธารณะของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ จากกลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ พบว่า ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 41-50 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ในช่วง 15,001-30,000 บาทต่อคนต่อเดือน โดยส่วนมากอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยแนวสูง และเป็นประเภทเช่า มีลักษณะการใช้งานเป็นการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มาใช้งานคนเดียว ในช่วงเวลา 15.00-21.00 น. มีระยะเวลาการใช้งานต่ำกว่า 60 นาที โดยมาใช้งานสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง เดินทางโดยการเดินเท้า และใช้ระยะเวลาต่ำกว่า 15 นาที โดยส่วนมากเดินทางมาจากที่อยู่อาศัย และกลับที่อยู่อาศัยหลังใช้งานเสร็จ 2) ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพที่มีการใช้จ่ายในพื้นที่โดยรอบคิดเป็นร้อยละ 70.63 ของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพทั้งหมด ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมี 2 ประเภท ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประเภทซื้อสินค้า และค่าใช้จ่ายประเภทอาหารและเครื่องดื่ม โดยส่วนใหญ่ของค่าใช้จ่ายจะเป็นประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งอยู่ที่ 107 บาท โดยผู้ใช้บริการสวนสันติภาพกลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่มีอาชีพธุรกิจส่วนตัวและทำงานอิสระ กลุ่มที่มีรายได้ 15,000 บาท ขึ้นไป กลุ่มที่มาใช้งานเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ กลุ่มที่มาใช้งานในช่วงเวลา 15:00-18:00 …


ปัจจัยทำเลที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา โครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สุพัชฌาย์ ศรีสมบูรณ์ Jan 2019

ปัจจัยทำเลที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา โครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สุพัชฌาย์ ศรีสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากแนวโน้มการพัฒนาโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยข้อมูลในปีพ.ศ. 2561 มีการขออนุญาตโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์มากถึง 55,812 แปลง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.72 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 จากโครงการจัดสรรประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมด 99,311 แปลง ทำให้เกิดการแข่งขันของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น และเมื่อศึกษางานวิจัยถึงปัจจัยที่ผู้บริโภคเลือกซื้อที่อยู่อาศัย พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ ราคา ประกอบกับการสังเกตุถึงราคาขายของโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์พบว่ามีราคาขายที่แตกต่างกันทั้งที่ขนาดแปลงใกล้เคียงกันและแบบบ้านเหมือนกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านตำแหน่งที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาทั้งในด้านบวกและด้านลบ โดยมีขั้นตอนการศึกษา คือ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูล 2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3) กำหนดตัวแปร 4) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 5) วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาในครั้งนี้เป็นโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาทในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมด 15 โครงการ จำนวน 4,541 แปลง จากผู้ประกอบการจำนวน 3 ราย โดยทำการศึกษา 5 กลุ่มปัจจัย 27 ตัวแปร ประกอบด้วยปัจจัยด้านตำแหน่งที่ตั้ง 2 ตัวแปร ปัจจัยด้านลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริม 10 ตัวแปร ปัจจัยด้านทิศ 4 ตัวแปร ปัจจัยด้านถนนด้านหน้าแปลง 4 ตัวแปร และปัจจัยด้านวิวทิวทัศน์ 7 ตัวแปร แล้วนำตัวแปรมาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิสมการการถดถอย (Regression Analysis) เพื่อหาความมีนัยสำคัญต่าง ๆ ของตัวแปร จากการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยราคาขายของกลุ่มตัวอย่าง 5 ลำดับแรก ได้แก่ ตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับช่องกลับรถ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.900 ตัวแปรตำแหน่งแปลงกลาง ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.794 ตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับสวนหย่อม ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.484 ตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นสวนสาธารณะ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.283 และตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นสโมสรสระว่ายน้ำ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.190 ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลส่งผลให้ราคาลดลงมี 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นที่พักขยะ ส่งผลต่อราคาลดลงร้อยละ 17.957 และตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับหลังบ้านอื่น ส่งผลต่อราคาลดลงร้อยละ …


การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร, อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์ Jan 2019

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร, อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณเป็นสิ่งที่ควรมีการวางแผนทันทีที่มีโอกาส จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าคนไทยเริ่มวางแผนเกษียณในวัย 42 ปี และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเพื่อเกษียณเมื่ออายุมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจ สังคม และที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปี แนวคิดต่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ และการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณของกลุ่มคนดังกล่าว โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 400 คน ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ผู้ที่มีแนวคิดในการวางแผนฯต่อผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯในสัดส่วนประมาณร้อยละ 66 : 34 ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ประจำ (ต่อเดือน) รูปแบบที่อยู่อาศัย-ทำเลที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยในวัยเกษียณ 2) การวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีการวางแผนฯ ร้อยละ 57.3 มีแนวคิดที่จะย้ายที่อยู่อาศัย รูปแบบบ้านปลูกเองเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.1) ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯร้อยละ 55.1 ต้องการอาศัยอยู่ที่เดิม และกว่าร้อยละ 79.8 ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับวัยเกษียณ 3) การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณพบว่าคนวัยก่อนเกษียณเลือกที่จะวางแผนโดยการออมเงิน (ร้อยละ 70) ในสัดส่วนร้อยละ 21 ของรายได้และเริ่มออมเมื่ออายุเฉลี่ย 32 ปี ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯ ให้เหตุผลที่ยังไม่วางแผนเนื่องจากยังมีภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่ายมาก และมีเงินไม่พอที่จะออม (ร้อยละ 55) และจากการประมาณค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อเดือน จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปีมีการเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณแต่ยังขาดการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเป็นวัยเกษียณ อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ยังไม่วางแผนอีกกว่าร้อยละ 35 ที่มีรายได้ต่อเดือนที่ไม่มากพอ ความมั่นคงในอาชีพ ประกอบกับหนี้สินจากที่อยู่อาศัยส่งผลให้การเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณยังรวมถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณน้อยเกินจริง ส่งผลให้ภาครัฐยังต้องมีบทบาทในการในการสนับสนุนกลุ่มคนวัยเกษียณในด้านการวางแผนดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุตรหลาน และส่งเสริมด้านที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินในวัยเกษียณ


การพัฒนาโครงการอาคารชุดตากอากาศแบบขายแล้วรับเช่ากลับคืนเพื่อปล่อยเช่าระยะยาวในจังหวัดภูเก็ตกรณีศึกษา โครงการ แคสเซีย ภูเก็ต และ โครงการ แซทเทอร์เดย์ เรสซิเดนซ์, อลิสา เลื่อนลอย Jan 2019

การพัฒนาโครงการอาคารชุดตากอากาศแบบขายแล้วรับเช่ากลับคืนเพื่อปล่อยเช่าระยะยาวในจังหวัดภูเก็ตกรณีศึกษา โครงการ แคสเซีย ภูเก็ต และ โครงการ แซทเทอร์เดย์ เรสซิเดนซ์, อลิสา เลื่อนลอย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาโครงการอาคารชุดตากอากาศแบบขายแล้วรับเช่ากลับคืนได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการและมีผู้สนใจซื้อเพื่อการลงทุน วิธีการคือผู้ประกอบการขายห้องชุดให้กับผู้ซื้อ แล้วทำสัญญาขอเช่ากลับคืนมาดำเนินกิจการที่พักเพื่อปล่อยเช่าระยะยาว แล้วจ่ายผลตอบแทนแก่เจ้าของห้องชุดตามสัญญา งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวคิด กระบวนการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการประเภทดังกล่าว รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการพัฒนา โดยทำการศึกษาผ่านกรณีศึกษาในจังหวัดภูเก็ต 2 แห่งที่มีรูปแบบการบริหารที่แตกต่างกัน รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้บริหารโครงการ การสำรวจพื้นที่ และรวบรวมความคิดเห็นของผู้เช่าจากเว็ปไซด์การท่องเที่ยว แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความเหมือนและต่างเพื่อสรุปบทเรียนสำคัญในการพัฒนาโครงการ ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะและองค์ประกอบทางกายภาพของโครงการ มีความคล้ายคลึงกับอาคารชุดเพื่อพักอาศัย ที่สามารถแยกทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลางได้ ซึ่งภายในห้องชุดนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมแก่การเช่าระยะยาว ในขณะเดียวกันพื้นที่ส่วนกลางก็มีความคล้ายคลึงกับที่พักเพื่อการท่องเที่ยวด้วย 2) พบรูปแบบการบริหารจัดการ 2 รูปแบบ ได้แก่ บริหารจัดการโดยผู้ประกอบการ และ บริหารจัดการร่วมกับเครือโรงแรม โดยที่ทั้ง 2 รูปแบบ จำเป็นต้องมีส่วนงานที่สำคัญ 2 ส่วนได้แก่ ส่วนงานดูแลผู้เช่าที่ให้บริการคล้ายโรงแรม และส่วนงานดูแลลูกค้าผู้ซื้อในด้านผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ 3) สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาโครงการ คือ รูปแบบโครงการที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า การควบคุมต้นทุน บริหารจัดการบุคลากร และที่สำคัญคือการบริหารจัดการโครงการที่ดี การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาโครงการอาคารชุดตากอากาศแบบขายแล้วรับเช่ากลับคืนเพื่อปล่อยเช่าระยะยาวนั้น ถือเป็น “กลยุทธ์การบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์” ให้ก่อให้เกิดรายได้ โดยใช้หลักการบริหารจัดการทั้งด้านกายภาพ การเงินและการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าทั้งกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้เช่าได้เป็นอย่างดี โดยผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจพัฒนาโครงการ และผู้ที่สนใจซื้อให้เข้าใจโครงการประเภทนี้มากยิ่งขึ้น


บทบาทของรถกับข้าวในการทำให้ชุมชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชน “หมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ” ในเขตลาดพร้าว, ณฐมน พุ่มงาม Jan 2019

บทบาทของรถกับข้าวในการทำให้ชุมชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชน “หมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ” ในเขตลาดพร้าว, ณฐมน พุ่มงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ ปี 2553-2544 ส่งผลให้จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในอนาคต เนื่องจากยังขาดองค์ประกอบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยอยู่หลายประการ โดยเฉพาะตลาดสดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตในระยะละแวกบ้าน จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการค้ารถกับข้าวเกิดขึ้นในชานเมืองทำหน้าที่เหมือนตลาดสดเคลื่อนที่เข้าหาผู้สูงอายุ นำมาสู่คำถามงานวิจัยที่ว่า รถกับข้าวทำให้ชานเมืองเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุหรือไม่? ปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้รถกับข้าวมีบทบาทต่อเมืองและผู้สูงอายุ? งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฎการณ์รถกับข้าวที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในชานเมืองกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ปัจจัยและบทบาทของรถกับข้าวที่ทำให้เมืองเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ อภิปรายผลการศึกษาและเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาเมือง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ ผลจากการทบทวนวรรณกรรมและการสังเกตการณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการค้ารถกับข้าวที่ตลาดบางกะปิจะถูกนำไปใช้ในการสร้างกรอบวิจัย ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลการค้ารถกับข้าวในชุมชนหมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ เขตลาดพร้าว ในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยใช้แบบสังเกตการณ์ แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจำนวน 3-5 ตัวอย่างและแบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์ผู้บริโภคสูงอายุ 60-65 ตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ และการบอกต่อ ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสังคมเชิงกายภาพ ผลการศึกษาพบว่ารถกับข้าวมีรูปแบบการให้บริการไม่แตกต่างกับรูปแบบการให้บริการรถกับข้าวเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ในปัจจุบันพบว่าบริบททางกายภาพเมืองและความต้องการรถกับข้าวของผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลอิทธิพลต่อการคงอยู่ของการค้ารถกับข้าวในชานเมือง ในทางตรงกันข้ามรถกับข้าวก็ส่งอิทธิพลต่อเมืองและผู้สูงอายุในลักษณะของการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายและเป็นที่ต้องการสำหรับคนสูงอายุในย่านชานเมืองซึ่งก็คือ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือแหล่งซื้อกับข้าวที่อยู่ในละแวกบ้าน อาจสรุปได้ว่ารถกับข้าวเป็นองค์ประกอบที่ไม่เป็นทางการของเมืองที่เปลี่ยนชานเมืองกรุงเทพมหานครให้เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ ด้วยการเคลื่อนที่เข้าหาผู้สูงอายุและความยืดหยุ่นตอบรับกับความต้องการของผู้สูงอายุทั้งในด้านสินค้าและบริการ ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างสะดวก นอกจากนั้น การค้ารถกับข้าวก่อให้เกิดพื้นที่ทางสังคมในชั่วขณะเอื้อให้ผู้สูงอายุออกมาทำกิจกรรมทางสังคม พบปะผู้คน อันส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ ในสถาการณ์ โควิด-19 รถกับข้าวช่วยให้ผู้คนในชุมชนสามารถกักกันตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยไม่ได้รับผลกระทบด้านการเข้าถึงอาหาร


คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ Jan 2019

คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจความงามมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้บริษัทเครื่องสำอางต่างพัฒนารูปแบบเคาน์เตอร์เครื่องสำอางเพื่อดึงดูดผู้บริโภค การออกแบบแสงก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีรวมไปถึงการออกแบบแสงกับกระจกให้ลูกค้าได้ลองใช้สินค้าร่วมกับการประเมินรูปลักษณ์ตนเองเพื่อพิจารณาการซื้อเครื่องสำอาง การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาคุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของในเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง จากผู้เข้าร่วม 60 คน เข้าทดสอบแบบจำลองเคาน์เตอร์เครื่องสำอางจุดแต่งหน้าที่จัดแสงด้วยลักษณะอุณหภูมิสีของแสง 2700 และ 6500 เคลวิน โดยใช้สีผนังที่แตกต่างกัน 4 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว และสีดำ เพื่อศึกษาผลต่อความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมและการประเมินรูปลักษณ์ตนเองด้วยการให้คะแนนจากคู่คำความหมายตรงข้ามทั้งหมด 8 คู่ ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้หญิงพบว่าลักษณะอุณหภูมิสีของแสงและสีของสภาพแวดล้อมมีผลต่อความพึงพอใจของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเคาน์เตอร์เครื่องสำอางที่ใช้ลักษณะอุณหภูมิสีของแสงที่ 6500 เคลวิน ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมผนังสีขาว รองลงมาคือผนังสีแดง งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าคุณลักษณะของสีในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิสีของแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบที่มีส่วนสร้างอารมณ์ในเชิงบวกต่อการประเมินรูปลักษณ์ตนเองและสภาพแวดล้อมเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ จึงควรพิจารณารูปแบบการตกแต่งภายในร้าน โดยเลือกใช้สีโทนธรรมชาติและสีแท้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และเลือกใช้แสงทีมีอุณหภูมิสีเหมาะสมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริบทของร้านค้า


สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม Jan 2019

สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพความคงทนต่อการกัดกร่อน การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นเหล็กเคลือบสีที่มีระบบสีแตกต่างกัน รวมทั้งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร แผ่นเหล็กเคลือบสีใช้ในการทดสอบประกอบด้วยระบบสีโพลีเอสเตอร์ชั้นเดียวและสองชั้น และแบ่งตามโทนสี ทำการทดสอบแบบเร่งสภาวะในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความคงทนต่อการกัดกร่อนด้วยการพ่นละอองน้ำเกลือเป็นเวลา 1,000 ชั่วโมง และความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมเป็นเวลา 2,000 ชั่วโมง จากนั้นทำวัดค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์และจำลองการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม VisualDOE 4.1 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าระบบปรับอากาศก่อนและหลังการทดสอบดังกล่าว ผลทดสอบพบว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นมีความคงทนต่อการกัดกร่อนดีกว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีชั้นเดียว ชั้นเคลือบโลหะอะลูมิเนียมผสมสังกะสีจะมีความคงทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าชั้นเคลือบสังกะสี สังเกตได้จากลักษณะการกัดกร่อนที่มีการพองตัวของสีและการเกิดสนิมขาวตามรอยกรีดผิวหน้าของชิ้นงานทดสอบ การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมีระยะเวลาการทดสอบนานขึ้น สีโทนอ่อนจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงสูงสุด แผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นที่มีชั้นเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับชิ้นงานอื่น หากประเมินเทียบกับมาตรฐานแล้ว สีโทนกลางทุกตัวอย่างทดสอบมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไม่เกิน 5 หน่วย การสะท้อนรังสีอาทิตย์หลังการทดสอบความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมมีค่าลดลงระหว่างร้อยละ 0.10 ถึง 3.30 แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีเคลือบสีสองชั้น สีโทนกลาง มีค่าลดลงสูงสุดร้อยละ 7.80 และแผ่นเหล็กเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีเคลือบสีสองชั้น โทนเข้ม มีค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์สูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากการเสื่อมสภาพของชั้นเคลือบสีภายนอก ทำให้เกิดไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีส่วนประกอบเป็นผงสีขาวบนผิวตัวอย่างทดสอบ การจำลองการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ แผ่นเหล็กเคลือบสีโทนอ่อนมีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำสุด หากพิจารณาตลอดปี เดือนมีนาคมมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุดในเดือนธันวาคม การใช้พลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้านค้าเปิดเวลา 7:00 น. เวลา 14:00 น. ที่มีการใช้พลังงานสูงสุดและจะลดลงมาจนกระทั่งปิดร้านเวลา 21:00 น. การเลือกแผ่นหลังคาเหล็กสีโทนอ่อนเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีและเคลือบสีสองชั้นจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานทางด้านสมรรถะของวัสดุ ทั้งยังลดการถ่ายเทความร้อนสู่ตัวอาคาร ประหยัดพลังงานที่ใช้กับระบบปรับอากาศภายในอาคารได้ถึงร้อยละ 34 หากเทียบกับการใช้สีโทนเข้ม หรือร้อยละ 18 หากเป็นสีโทนอ่อนเหมือนกัน


การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง Jan 2019

การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนริมน้ำประแสเป็นย่านประวัติศาสตร์ อันเป็นพื้นที่ที่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน มาตั้งรกรากอยู่ในกลุ่มเรือนแถวไม้ริมแม่น้ำนานกว่าหนึ่งร้อยปี อาชีพหลักของคนในท้องถิ่นคือการจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค และทำการประมงพื้นบ้าน ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนจะตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม และต้องการที่จะรักษาคุณค่าเหล่านั้น แต่พวกเขาไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ระบบการขนส่ง ตลอดจนวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับแม่น้ำ ได้ส่งผลให้อัตลักษณ์ของชุมชนค่อยๆ สูญหายไป จากผลการสำรวจพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์ชาวบ้าน และกระบวนการประเมินคุณค่า สามารถสรุปได้ว่า เป้าหมายในการอนุรักษ์เรือนแถวเก่าริมน้ำประแส คือการรักษาลักษณะสำคัญของพื้นที่ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม บนฐานของการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและสงบสุข ดังนั้นการอนุรักษ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ควรครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมดุล ในการรองรับคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ส่งเสริมการปรับการใช้สอยตามความต้องการในปัจจุบัน คุณค่าสำคัญที่ควรรักษาไว้ ประกอบด้วย 1) คุณค่าจากภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ที่รวมถึง องค์ประกอบของเมือง และการตั้งถิ่นฐานบริเวณปากแม่น้ำ ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และพืชพรรณ เครือข่ายของถนนสายหลักและตรอก ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร และพื้นที่สาธารณะริมน้ำ การเชื่อมต่อที่ดีระหว่างกิจกรรมภายในอาคารและทางเดินสาธารณะ และทัศนียภาพอันงดงามของเรือนแถวแบบดั้งเดิม ที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างเหมาะสม 2) คุณค่าที่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสถาปัตยกรรม รูปแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างตามช่วงเวลาก่อสร้าง 4 ช่วง (40-100 ปี) แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่มีลักษณะเฉพาะ และแสดงฝีมือช่างในท้องถิ่นแต่ละยุคสมัย และ 3) คุณค่าตามการใช้งานของเรือนแถว อันประกอบด้วยการอยู่อาศัยและการทำงานในร้านค้า และการใช้งานแบบใหม่ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของกิจกรรมการท่องเที่ยว