Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Construction Engineering and Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

3,204 Full-Text Articles 3,246 Authors 1,731,332 Downloads 111 Institutions

All Articles in Construction Engineering and Management

Faceted Search

3,204 full-text articles. Page 87 of 117.

การประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตโดยวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, กานต์ จันทร์ประสิทธิ์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตโดยวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, กานต์ จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินคุณสมบัติของการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยวิธีการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ หรือวิธีเอ็มไอซีพี (Microbially induced calcium carbonate precipitation; MICP) โดยใช้แบคทีเรียชนิดบาซิลลัส สฟีรีคัส สายพันธุ์ ATCC22257 ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกลุ่มที่สามารถตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตได้ การเตรียมสารเคมีทำโดยการแยกสารละลายออกเป็น 2 ส่วน ประกอบไปด้วย ยูเรีย และสารละลายซึ่งมีส่วนผสมของเชื้อจุลินทรีย์ แคลเซียมคลอไรด์ และสารอาหารสำหรับเชื้อแบคทีเรีย ในการซ่อมแซมคอนกรีตนั้นจะใช้การหยอดสารเคมีทุก 24 ชม. เป็นเวลา 20 วัน ในการศึกษานี้จะเตรียมตัวอย่างมอร์ตาร์ขนาด 15 ลบ.ซม. โดยตัวอย่างที่มีรอยร้าวจะเตรียมโดยใช้แผ่นทองแดงความหนา 0.4 มม. ใส่ไว้ที่ความลึก 2 ซม. ระหว่างการหล่อก้อนตัวอย่าง ทำการประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมด้วย 1) การวัดขนาดของรอยร้าวโดยใช้เลนส์ขยายขนาด 40 เท่าด้วยกล้องถ่ายรูปโทรศัพท์มือถือ 2) การทดสอบค่ากำลังรับแรงอัด 3) การทดสอบความสามารถในการซึมผ่านของน้ำ และ 4) การวัดคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิค โดยเปรียบเทียบผลการประเมินระหว่างตัวอย่างควบคุม ตัวอย่างที่มีรอยร้าว และตัวอย่างที่ซ่อมแซม ผลการทดลองพบว่าขนาดของรอยร้าวลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากทำการซ่อมแซมไปทั้งสิ้น 6 วัน และการเปลี่ยนแปลงขนาดรอยร้าวเริ่มคงที่เมื่อผ่านไป 12 วัน โดยหลังทำการซ่อมแซมทั้งสิ้น 20 วัน พบว่าสามารถลดขนาดรอยร้าวได้ถึงร้อยละ 84.87 ซึ่งสอดคล้องกับการวัดค่าความเร็วคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิคที่ส่งผ่านตัวอย่าง โดยความเร็วคลื่นความถี่หลังผ่านการซ่อมแซมมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.06 อีกทั้งหลังการซ่อมแซมพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นกว่าตัวอย่างแบบมีรอยร้าวร้อยละ 27 และคิดเป็นร้อยละ 89.4 จากตัวอย่างแบบไม่มีรอยร้าว นอกจากนั้นหลังการซ่อมแซมยังพบว่าระยะการซึมของน้ำลดลงจากตัวอย่างที่มีรอยร้าวร้อยละ 27.21 และมากกว่าตัวอย่างแบบไม่มีรอยร้าวร้อยละ 108.86 จึงสรุปได้ว่าการซ่อมแซมโดยวิธีวิธีการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์นั้นสามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการซ่อมแซมรอยร้าวได้


กรอบการประเมินผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงสำหรับการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในสถานที่บริการทางหลวงบนโครงข่ายทางหลวงพิเศษ, วัชรพล วิศาลบรรณวิทย์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

กรอบการประเมินผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงสำหรับการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในสถานที่บริการทางหลวงบนโครงข่ายทางหลวงพิเศษ, วัชรพล วิศาลบรรณวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นโครงการที่ภาครัฐให้สิทธิ์ในการบริหารจัดการแก่ภาคเอกชนเพื่อดำเนินการในโครงการของรัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนและการดึงความสามารถในการบริหารจัดการของภาคเอกชนเพื่อการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐจึงมีบทบาทสำคัญในการออกแบบข้อกำหนดให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพต่อทั้งสองฝ่าย โดยสำหรับสถานที่บริการทางหลวงบนโครงข่ายทางหลวงพิเศษ (MSA) เป็นหนึ่งในโครงการของรัฐที่มีการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการให้การกำหนดระยะเวลาและค่าสัมปทาน งานวิจัยนี้จึงเสนอแนวคิดในการกำหนดระยะเวลาสัมปทานจากการวิเคราะห์ของโครงการโดยการจำลองสมมติฐาน (Scenario) ผ่านการวิเคราะห์บนแบบจำลองทางการเงินด้วยวิธี Monte Carlo ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ เพื่อให้ได้ระยะเวลาสัมปทานต่ำสุดที่ทำให้อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Internal Rate of Return; IRR) ทั้งในกรณีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าค่าความคาดหวังทางธุรกิจของภาคเอกชน (Minimum Attractive Rate of Return; MARR) และกรณีที่เลวร้ายที่สุดไม่ต่ำกว่าค่าต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชน (Weighted Average Cost of Capital; WACC) รวมทั้งการกำหนดรูปแบบการเก็บค่าสัมปทานในแบบค่าสัมปทานคงที่ (Fixed Fee) และแบบอัตราส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) ในส่วนที่เกินกว่าการวิเคราะห์ระดับรายได้เฉลี่ยที่ทำให้ IRR ไม่ต่ำกว่า MARR ของโครงการ (Revenue Threshold) เพื่อทำให้อัตราค่าสัมปทานไม่ก่อความเสี่ยงต่อการลงทุนและเพิ่มโอกาสให้ค่าสัมปทานมากขึ้นตามรายได้ของโครงการที่มากขึ้นของภาคเอกชน นอกจากนี้การศึกษาปัจจัยเสี่ยงในโครงการจะทำให้ภาครัฐสามารถกำหนดกรอบความคิดในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประเมินมูลค่าความเสี่ยงด้วยวิธี Entropy ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชน นอกจากนี้เพื่อทดสอบการประยุกต์ใช้แนวคิดที่นำเสนอ งานวิจัยนี้จึงได้นำกรอบการประเมินนี้มาใช้กับโครงการสถานที่บริการทางหลวงชลบุรี-พัทยา เพื่อแสดงเป็นกรณีศึกษาด้วย


แบบจำลองเพื่อประเมินสมรรถนะสำหรับองค์กรซึ่งใช้การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร, ธนิต อภิวรกุลพัฒน์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

แบบจำลองเพื่อประเมินสมรรถนะสำหรับองค์กรซึ่งใช้การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร, ธนิต อภิวรกุลพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจาก BIM เป็นเทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการงานก่อสร้างโดยสร้างแบบจำลองดิจิตอลอาคารก่อนการสร้างจริงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ วิศวกรรม และการก่อสร้าง (Architecture Engineering and Construction, AEC) ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ BIM สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ ประโยชน์ที่สามารถวัดค่าได้ และ ประโยชน์ที่ไม่สามารถวัดค่าได้ การประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ BIM ในองค์กรมักจะยุ่งยากและซับซ้อน อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กร AEC อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่มีกรอบการประเมินประสิทธิภาพจากการนำ BIM มาใช้ที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กร โดยอาศัยตัวชี้วัดที่สำคัญในการดำเนินงาน (Critical Performance Indicator, CPI) ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์องค์กร AEC นอกจากนั้นยังได้นำแนวคิดการประเมินองค์กรแบบสมดุล (Balanced Scorecard, BSC) มาเป็นพื้นฐานในการสร้างแบบจำลองการประเมินนี้ ในแบบจำลองที่เสนอ CPI ประกอบด้วย 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต ผลลัพธ์เบื้องต้นได้จากการตอบแบบสอบถามเชิงลึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ตัวชี้วัดในการดำเนินงาน (Key Performance Indicator, KPI) ที่ใช้สำหรับในการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM ในองค์กร AEC จำนวน 30 ตัว ตัวชี้วัดเหล่านี้ได้ถูกนำไประยุกต์ใช้จริงกับองค์กรกรณีศึกษาเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแบบการประเมิน ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นตอนนี้ คือ CPIs ที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กรจำนวน 25 CPIs เช่น การเปลี่ยนแปลงของแบบก่อสร้าง ความพึงพอใจและการรักษาลูกค้า ความสามารถในการเตือนและการเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดจากสิ่งก่อสร้าง และความสามารถต่อการใช้เครื่องมือ BIM ช่วยในการนำเสนอลูกค้า/ผู้ว่าจ้าง เป็นต้น นอกจากนั้นงานวิจัยยังได้เสนอคำแนะนำสำหรับการสร้างรูปแบบการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กร เพื่อให้องค์กรที่สนใจสามารถสร้างแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการประเมินของตนเองได้อย่างเหมาะสม


การกำหนดแนวทางของไทยเพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้าน, ฐิฏิพัศถ์ ทรัพย์สอาด 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การกำหนดแนวทางของไทยเพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้าน, ฐิฏิพัศถ์ ทรัพย์สอาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการทบทวนและวิเคราะห์แนวทางการให้ความช่วยเหลือโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศพม่า, สปป.ลาวและกัมพูชาที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุน โดยได้ศึกษาข้อมูลหลักเกณฑ์ของโครงการที่ให้ความช่วยเหลือ, ข้อมูลการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ รวมถึงการพิจารณาการประเมินความช่วยเหลือ จากรายงานต่างๆและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือจากทั้งหน่วยงานในไทยและต่างประเทศ หลังจากนั้นจึงสรุปภาพรวมโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่ทำการคัดเลือก และการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์เชิงลึกโครงการตัวอย่างทั้ง 7 โครงการ พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นหลัก ได้แก่ การพิจารณาเป็นรายโครงการโดยไม่ได้มองภาพรวมของอนุภูมิภาค การเน้นก่อสร้างโครงการใหม่มากกว่าบำรุงเส้นทางเดิม การขาดความร่วมมือแบบพหุภาคีกับประเทศผู้ให้ทุนอื่นๆ รวมถึงความช่วยเหลือที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่าประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ อีกทั้งยังขาดการใช้มาตรฐานในระดับสากลโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม และขาดการวางแผนการบำรุงรักษาโครงการเมื่อสร้างแล้วเสร็จ จากปัญหาข้างต้น งานวิจัยนี้ได้เสนอให้ไทยต้องกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งผลประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทยและอนุภูมิภาค โดยเสนอให้มีการประยุกต์มาตรฐาน OECD/DAC เพื่อตรวจสอบโดยมีการประเมินหลักเกณฑ์แบ่งเป็น 5 ด้านคือ 1) ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 2) ด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ 3) ด้านประสิทธิผลโดยดูผลประโยชน์ของการลงทุนต่อเงินทุน 4) ด้านสิ่งแวดล้อม เสนอให้ใช้มาตรฐานสากลเพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว และ 5) ด้านความยั่งยืน เสนอให้มีข้อกำหนดในสัญญาเกี่ยวกับการดูแลและรับผิดชอบโครงการ เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพตลอดการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ประเทศไทยควรใช้เพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต


การวิเคราะห์คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ธีร์ธวัช โกยแก้วพริ้ง 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การวิเคราะห์คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ธีร์ธวัช โกยแก้วพริ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังรับแรงของคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กโดยการวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยทำการสร้างแบบจำลองคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนโดยใช้อิพอกซีและสลักเกลียวเพื่อยึดแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กด้านข้างคานทั้งสองด้าน จากนั้นวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ และเปรียบเทียบการวิเคราะห์กับผลการทดลองจากงานวิจัยในอดีต จากผลการวิเคราะห์พบว่าแบบจำลองสามารถให้ค่ากำลังรับแรงเฉือนของคานได้ใกล้เคียงกับผลการทดลอง โดยมีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด 6% เมื่อเปรียบเทียบผลการทดลองแล้วจึงทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก ได้แก่ ความหนาของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก กำลังรับแรงอัดของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก ค่าพลังงานการแตกหัก (Gf) ของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก จำนวนสลักเกลียว และการจัดเรียงตัวของสลักเกลียว แล้วเปรียบเทียบผลกับคานคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง จากการวิเคราะห์พบว่าการเสริมกำลังด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีความหนา 10 15 และ 20 มิลลิเมตร ทำให้คานสามารถรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้น 101% 106% และ 110% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก พบว่ากำลังรับแรงเฉือนมีค่าเพิ่มขึ้น 87% 101% และ 104% เมื่อกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 50 70 และ 90 MPa ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่าเมื่อแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยมีค่า Gf เท่ากับ 4.04 8.82 และ 9.66 N/mm สามารถเพิ่มกำลังรับแรงเฉือน 100% 101% และ 106% เมื่อเทียบกับคานคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสลักเกลียว พบว่าการใช้สลักเกลียวจำนวน 4 6 8 และ 10 สลักเกลียว ทำให้กำลังรับแรงเฉือนมีค่าสูงขึ้น 71% 88% 101% และ 92% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการจัดเรียงตัวของสลักเกลียว พบว่าการจัดเรียงตัวสลักเกลียวแบบสมมาตรทำให้คานรับแรงเฉือนได้น้อยกว่าการจัดเรียงตัวของสลักเกลียวแบบทแยง


อัตราส่วนการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยเถ้าถ่านหินบิทูมินัสคัดขนาด, นารีมาลย์ สกุลดีเย๊าะ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

อัตราส่วนการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยเถ้าถ่านหินบิทูมินัสคัดขนาด, นารีมาลย์ สกุลดีเย๊าะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการพัฒนากำลังของมอร์ตาร์โดยการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยวัสดุปอซโซลาน ได้แก่ เถ้าถ่านหินบิทูมินัสคัดขนาด เถ้าถ่านหินลิกไนต์จากแม่เมาะ ในอัตราร้อยละ 20,40,60,80 โดยน้ำหนัก และซิลิกาฟูมในอัตราร้อยละ 5,7,9,11 โดยน้ำหนัก โดยเปรียบเทียบกับมอร์ตาร์ธรรมดา ศึกษาถึงคุณสมบัติทางกายภาพและส่วนประกอบทางเคมี รวมทั้งทำการทดสอบสมบัติของปูนซีเมนต์ผสมวัสดุปอซโซลานแต่ละชนิด เช่น ระยะเวลาก่อตัว การพัฒนากำลังรับแรงอัด การใช้หลักการเลี้ยวเบนโดยรังสีเอ็กซ์ (X-Ray Diffraction) เพื่อวิเคราะห์ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในซีเมนต์เพสต์ที่ผสมวัสดุปอซโซลาน รวมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงความร้อนด้วยวิธีไอโซเทอร์มอลคอนดักชันแคลอรีมิเตอร์ ผลการทดสอบสรุปได้ว่า เถ้าถ่านหินบิทูมินัสคัดขนาด สามารถจัดเป็นวัสดุปอซโซลานตามข้อกำหนดใน ASTM C618 เป็น Class F มีลักษณะรูปร่างกลม มีผลึกเป็นแบบอสัณฐาน และเมื่อนำมาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ พบว่า กำลังรับแรงอัดของมอร์ตาร์ลดลงในช่วงอายุต้นและมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น สามารถใช้แทนที่ได้ถึงร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก โดยใช้สัดส่วนระหว่างวัสดุประสานต่อทรายเท่ากับ 1 ต่อ 2.75 และปริมาณน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.485 และปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์ลดลง เนื่องจากถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาปอซโซลาน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากผล Reitveld Refinement สนับสนุนว่าเกิดสารประกอบแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตอยู่ในรูปอสัณฐานที่ส่งผลต่อความแข็งแรงและกำลังอัดที่มากกว่าซีเมนต์เพสต์ธรรมดา อีกทั้งการใช้เถ้าถ่านหินบิทูมิมัสคัดขนาดสามารถลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาไฮเดรชันได้ ช่วยเพิ่มระยะเวลาก่อตัวให้นานขึ้น เหมาะกับการงานโครงสร้างคอนกรีตหลา ที่ต้องการลดความร้อนเพื่อป้องกันการแตกร้าวของโครงสร้าง


การวิเคราะห์ผลตอบสนองของชั้นดินกรุงเทพต่อแผ่นดินไหวโดยคำนึงถึงความแปรปรวนของความเร็วคลื่นเฉือนในดิน, ภาณุสรณ์ เปล่งสิริ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การวิเคราะห์ผลตอบสนองของชั้นดินกรุงเทพต่อแผ่นดินไหวโดยคำนึงถึงความแปรปรวนของความเร็วคลื่นเฉือนในดิน, ภาณุสรณ์ เปล่งสิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงบ่อยครั้งขึ้น เช่นในปี พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2557 เกิดแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร ผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในอาคารสูงสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นไหวได้อย่างชัดเจน เนื่องจากชั้นดินเหนียวอ่อนหนาสามารถขยายกำลังคลื่นสั่นไหวได้ แม้จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวจะอยู่ไกลก็ตาม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผลตอบสนองของชั้นดินกรุงเทพจากคลื่นสั่นไหวโดยคำนึงถึงความแปรปรวนของความเร็วคลื่นเฉือนของชั้นดิน ใช้แบบจำลองมอนติคาลโลเพื่อวิเคราะห์ผลเชิงสถิติของผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหว ด้วยการสุ่มข้อมูลชั้นดินจากแบบจำลองทางธรณีวิทยา 3 มิติของชั้นดินกรุงเทพและประยุกต์ใช้สมการความสัมพันธ์ของความเร็วคลื่นเฉือนกับกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำและจำนวนครั้งการตอกมาตรฐาน อีกทั้งใช้ค่าคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของชั้นดินเหนียวที่ประมาณได้จากค่าดัชนีพลาสติก การวิเคราะห์จะใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ที่สถานีตรวจวัดแม่สายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวทาร์เลย์ในปี พ.ศ.2554 ส่งผ่านมาถึงชั้นดินกรุงเทพด้วยแบบจำลองการลดทอนพลังงานคลื่นรุ่นใหม่ ในการวิเคราะห์หาผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวด้วยวิธีหนึ่งมิติแบบไม่เชิงเส้นด้วยโปรแกรม DEEPSOIL และแสดงผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวของชั้นดินกรุงเทพในรูปของ ความเร่งงผิวดินสูงสุด ความเร่งเชิงสเปคตรัม และแฟกเตอร์กำลังขยายของชั้นดิน อีกทั้งยังหาความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยความเร็วคลื่นเฉือน 30 เมตรแรก (VS30) และความหนาของชั้นดินอ่อน ที่มีต่อแฟกเตอร์กำลังขยายของชั้นดิน นอกจากนี้ยังสามารถนำผลตอบสนองเชิงสเปคตรัมจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวทาร์เลย์มาเปรียบเทียบกับกฎหมายการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถแสดงผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวได้คลอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และแสดงให้เห็นว่าชั้นดินอ่อนสามารถขยายกำลังของคลื่นสั่นไหวได้อย่างชัดเจน อีกทั้งเสนอผลทางสถิติของการวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อแผ่นดินไหวเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการออกแบบอาคารรับแรงแผ่นดินไหวในอนาคตได้อย่างเหมาะสม


พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้งคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปที่เสริมด้วยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค, วริศร์ ศิริโสม 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้งคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปที่เสริมด้วยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค, วริศร์ ศิริโสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์ใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในงานก่อสร้างประเภทช่วงยาวให้ผลที่ดีมาก ทั้งในด้านความประหยัด คุณภาพงานที่สูง การก่อสร้างที่รวดเร็วและผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อย ในอดีตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปแต่ละชิ้นจะเชื่อมต่อกันโดยอาศัยอีพ็อกซีเป็นตัวเชื่อมประสาน แต่การใช้อีพ็อกซีจะทำให้การก่อสร้างเสียเวลามาก ต่อมาจึงได้มีการใช้งานรอยต่อแบบแห้งขึ้น ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม รอยต่อแบบแห้งก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน นั่นคือผิวสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นหรือบริเวณสลักรับแรงเฉือนไม่สามารถต่อเข้ากันได้อย่างแนบสนิทพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอยต่อประเภทหลายสลัก ส่งผลให้รอยต่อไม่สามารถรับแรงเฉือนได้อย่างเต็มที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกำลังรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้ง โดยอาศัยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค และได้ทำการทดสอบชิ้นส่วนตัวอย่าง เปรียบเทียบกับรอยต่อแบบแห้ง ผลการทดสอบเปรียบเทียบกำลังรับแรงเฉือนและพฤติกรรมขณะรับแรงของรอยต่อ การใช้ยางอีลาสโตเมอริคช่วยลดความเข้มข้นของความเค้นและช่วยกระจายแรงได้ดีขึ้นจากพฤติกรรมการวิบัติของสลักรับแรงเฉือนแต่มีกำลังรับแรงเฉือนน้อยกว่ารอยต่อแบบแห้งประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ผลการปรับเปลี่ยนใช้ยางอีลาสโตเมอริค 60IRHD และ 70IRHD รอยต่อมีพฤติกรรมรับแรงคล้ายกัน และตำแหน่งการใส่ยางกับสลักรับแรงเฉือน ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมขณะรับแรงของรอยต่อ


การพัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดของแบบรูปและรายการประกอบแบบที่ไม่สมบูรณ์ในโครงการก่อสร้างอาคารสูง, สิรีธร นะมะมุติ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การพัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดของแบบรูปและรายการประกอบแบบที่ไม่สมบูรณ์ในโครงการก่อสร้างอาคารสูง, สิรีธร นะมะมุติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบที่ผิดพลาดส่งผลกระทบต่อโครงการในหลายด้าน เช่น ต้นทุน, ระยะเวลา, คุณภาพ และความปลอดภัย โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างอาคารสูงที่มีความซับซ้อนอาจพบปัญหาการขาดรายละเอียดของแบบรูปและรายการประกอบแบบจากความผิดพลาดของมนุษย์ งานวิจัยในอดีตพยายามเสนอการลดข้อผิดพลาดโดยเน้นกรณีศึกษาของการออกแบบไม่สมบูรณ์ที่เคยเกิดขึ้นในโครงการ แต่ยังขาดการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุในเอกสารการออกแบบที่ไม่สมบูรณ์ และพัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับสนับสนุนการตรวจสอบเอกสารการออกแบบที่ไม่สมบูรณ์ของผู้ออกแบบ งานวิจัยนี้แบ่งการศึกษาและเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การสำรวจจากแบบสอบถามเกี่ยวกับสาเหตุเรื่องแบบรูปและรายการประกอบแบบผิดพลาด และการสัมภาษณ์สาเหตุและปัญหาจากเอกสารการออกแบบที่ไม่สมบูรณ์เพื่อนำมาพัฒนาระบบฐานความรู้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 1 พบว่าเอกสารการออกแบบไม่สมบูรณ์เป็นรูปแบบที่พบมาก และช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการยังพบการปรับปรุงและแก้ไขเอกสารการออกแบบจำนวนมาก ซึ่งคำแนะนำของผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับการแก้ปัญหาการออกแบบผิดพลาดคือการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดจากกรณีศึกษาในโครงการก่อสร้างที่ผ่านมา และการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานก่อสร้างเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความผิดพลาด รวมถึงการหาแนวทางป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ผลการสัมภาษณ์ส่วนที่ 2 เรื่องการออกแบบไม่สมบูรณ์ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพงานในโครงการก่อสร้างอาคารสูงพบว่า สาเหตุเกิดจากแบบรูปขาดรายละเอียดต่างๆของวัสดุ และรายการประกอบแบบขาดรายละเอียดขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนสุดท้ายคือการสร้างระบบฐานความรู้จากแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจ โดยแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจถูกพัฒนาจากข้อมูลกรณีศึกษาการออกแบบไม่สมบูรณ์ที่ส่งผลกระทบด้านคุณภาพจากการสัมภาษณ์ หลังจากนั้นนำแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจมาประเมินค่าความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง ซึ่งแผนภาพที่ผ่านเกณฑ์จะถูกนำมาพัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับตรวจสอบแบบรูปและรายการประกอบแบบที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งระบบนี้สามารถสนับสนุนผู้ออกแบบที่ขาดประสบการณ์เพื่อลดข้อผิดพลาดในการออกแบบ


Influence Of Crumbed Para Rubber Modifier In Aggregate Blend On Deformation Resistance Properties Of Hot Mix Asphalt, Hatthaphone Silimanotham 2017 Faculty of Engineering

Influence Of Crumbed Para Rubber Modifier In Aggregate Blend On Deformation Resistance Properties Of Hot Mix Asphalt, Hatthaphone Silimanotham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research presents the influence of crumbed para rubber which is added into a portion of aggregate in hot mix asphalt (HMA) during the batch mixing process or called "Dry Process". The dry process has an advantage on its simplicity of quality inspection and less modification in the hot mix plant production process. This study has investigated the effects of adding crumbed para rubber particles on the engineering properties related to permanent deformation resistance of asphalt concrete. In this study, the asphalt mixture is prepared via Marshall Mix design, which contained with limestone and asphalt cement of Pen 60/70 at …


Optimum Patch Design For Repairing Cracked Steel Plates Using Genetic Algorithm, Bach Kim Do 2017 Faculty of Engineering

Optimum Patch Design For Repairing Cracked Steel Plates Using Genetic Algorithm, Bach Kim Do

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research presents a design optimization process that combines the finite element (FE) method, genetic programming (GP), and optimization solvers, i.e., genetic algorithm (GA) and nonlinear programming, for double-sided fiber-reinforced polymer (FRP) patches used to repair center-cracked steel plates under tension fatigue. An optimization statement is to minimize the patch volume and reduce the stress intensity factor (SIF) range at crack tips below the fatigue threshold range. A detailed three-dimensional (3D) FE model of patch-repaired cracked plates is developed to compute SIF. A total of 864 FE models of patch-repaired cracked plates with different combinations of design parameters are then …


Factors Affecting Building Damage And People's Preparedness For Earthquake In Chiang Rai, Narongdej Intaratchaiyakit 2017 Faculty of Engineering

Factors Affecting Building Damage And People's Preparedness For Earthquake In Chiang Rai, Narongdej Intaratchaiyakit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

On May 5, 2014, an earthquake with a magnitude of 6.3 on the Richter scale occurred in Chiang Rai, Thailand. This earthquake was the strongest earthquake in Thailand at the Mae Lao District region. It also caused building damage and casualties. In this research, 277 participants living in village no.2 and village no.7 of Dong Mada, a sub-district at Mae Lao district in Chiang Rai, were selected. A questionnaire was used to interview these participants, and the data were analyzed by Chi-square, Fisher's exact test, a Mann-Whitney U test, and a Kruskal-Wallis test. The objective of this study was to …


Study Of Liquefaction Mechanism In Chiang Rai Province, Lindung Zalbuin Mase 2017 Faculty of Engineering

Study Of Liquefaction Mechanism In Chiang Rai Province, Lindung Zalbuin Mase

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เผชิญภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งคือ แผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางอยู่ ที่เมืองทาร์เลย์ในประเทศเมียนมาปี ค.ศ. 2011 และแผ่นดินไหว ที่อ.แม่ลาว จ.เชียงรายในปี ค.ศ. 2014 งานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาการเกิดทรายเหลวระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เริ่มจากการวิเคราะห์ด้วยสูตรเชิงประสบการณ์โดยใช้ข้อมูลในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ การศึกษาผลตอบสนองแผ่นดินไหวสามารถนำไปใช้ประเมินผลของการแผ่ขยายของคลื่นแผ่นดินไหวในชั้นดินได้ นอกเหนือจากนี้ มีการสำรวจพื้นที่ด้วยการทดสอบไมโครทริมเมอร์และการวิเคราะห์สเปกตรัมคลื่นผิวดินบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดทรายเหลวในระหว่างแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อการเกิดทรายเหลวแบบหนึ่งมิติเพื่อสังเกตพฤติกรรมพลศาสตร์ของชั้นดินพบว่า ชั้นทรายชั้นแรกและชั้นที่สองของบริเวณที่ทำการศึกษามีโอกาสการเกิดทรายเหลวค่อนข้างสูง นอกเหนือจากนี้ ผลวิเคราะห์การแผ่ขยายของคลื่นพบว่า ที่บริเวณอ.แม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา อาจเกิดความเสียหายต่ออาคารความสูงปานกลางจากการขยายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากการสั่นพ้องระหว่างดินและโครงสร้าง ส่วนผลการสำรวจพื้นที่ยังพบว่าสภาพทางธรณีวิทยาประกอบไปด้วยชั้นดินตะกอนของแม่น้ำที่มีความต้านทานต่อแรงเฉือนค่อนข้างต่ำ พฤติกรรมของดินพวกนี้ระหว่างการแผ่ขยายคลื่นน่าจะโอกาสเกิดทรายเหลวได้ง่าย การศึกษานี้น่าใช้แนะนำวิศวกรท้องถิ่นเพื่อให้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยต่อแผ่นดินไหวและการเกิดทรายเหลวในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายได้


An Application Of Geosynthetic Cementitious Composite Mat For Slope Stabilization, Phong Tan Ngo 2017 Faculty of Engineering

An Application Of Geosynthetic Cementitious Composite Mat For Slope Stabilization, Phong Tan Ngo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, soil erosion and slope instability caused by seepage and rainfall are major problems, especially in the mountain area. Many research studies have focused on finding a new technology or material to stabilize the soil slope. In this study, a novel material called geosynthetic cementitious composite mat (GCCM) is selected to study its performance on soil slope stabilization. A series of 1-g physical model tests and numerical simulation (Plaxis 2D) on sandy soil slopes stabilized with and without GCCM are performed under seepage condition. In addition, centrifuge modeling of soil slopes is performed under 25-g in seepage and …


Quantification Of Seismic Performance Factors For Circular Concrete-Filled Steel Tube Diagrid Structures, Nattanai Kuangmia 2017 Faculty of Engineering

Quantification Of Seismic Performance Factors For Circular Concrete-Filled Steel Tube Diagrid Structures, Nattanai Kuangmia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In 21st century, diagrid structures become more popular lateral force-resisting systems for high-rise buildings world-wide. It consists of several grids of diagonal members on building perimeter serving as both lateral bracing and vertical-load carrying members. Since the diagrid structure is a relatively new type of lateral force-resisting system, current building codes do not explicitly provide the seismic performance factors (SPFs) for this system to use in design process. This thesis aims to determine appropriate SPFs for the diagrid structure incorporating circular concrete-filled steel tube to enable structural engineers to design this system according to seismic performance expected in building codes. …


Analysis Of Near Interface Cracks By Weakly Singular Boundary Integral Equation Method, Pisit Watanavit 2017 Faculty of Engineering

Analysis Of Near Interface Cracks By Weakly Singular Boundary Integral Equation Method, Pisit Watanavit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents a weakly singular boundary integral equation method for analysis of sub-interface cracks in a three-dimensional, linearly elastic, multi-material domain. The formulation is established in a general framework allowing finite bodies, general material anisotropy and loading conditions, arbitrarily shaped cracks, and curved material interface to be treated. A system of integral equations governing the unknown data on the boundary, the crack surface and the material interface are established using a pair of weakly singular, weak-form displacement and traction integral equations and the continuity along the material interface. A symmetric Galerkin boundary element method together with the standard finite …


Contact Problems With Surface Stress Effects, Supakorn Tirapat 2017 Faculty of Engineering

Contact Problems With Surface Stress Effects, Supakorn Tirapat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation presents a theoretical study of contact problems with consideration of surface energy effects by adopting a complete Gurtin-Murdoch theory of surface elasticity. The fundamental solution of a layered elastic half-space subjected to axisymmetric surface loading is obtained by using Love's representation and the Hankel integral transform. The analytical solutions for both displacement and stress fields are expressed in terms of semi-infinite integrals, which can be accurately evaluated by employing a numerical quadrature scheme. The obtained solutions are employed as the required influence functions in the investigation of axisymmetric indentation on a layered elastic medium with frictionless and adhesive …


Life-Cycle Reliability Assessment Of Existing Rc Bridge Structures Under Multiple Hazards Using Inspection Data, Thanapol Yanweerasak 2017 Faculty of Engineering

Life-Cycle Reliability Assessment Of Existing Rc Bridge Structures Under Multiple Hazards Using Inspection Data, Thanapol Yanweerasak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study presented a novel methodology to estimate the life-cycle reliability of existing reinforced concrete (RC) corroded bridges under multiple hazards. The life-cycle reliability of a bridge girder under traffic load and airborne chloride hazards was compared with that of a bridge pier under seismic ground motion and airborne chloride hazards. When predicting the life-cycle reliability of existing RC corroded bridges, inspection results could be used to estimate the current material corrosion level. Random variables associated with the estimation of time-variant steel weight loss will be updated to be consistent with the given inspection results by using Sequential Monte Carlo …


A Case Study Of Student Veteran Efficacy In The College Of Engineering And Information Technology At Georgia Southern University, Kevin G. Finley 2017 Georgia Southern University

A Case Study Of Student Veteran Efficacy In The College Of Engineering And Information Technology At Georgia Southern University, Kevin G. Finley

Electronic Theses and Dissertations

This thesis addresses the issues student veterans face in their transition from military to academic life while pursuing an undergraduate degree in the STEM fields (Science, Technology, Engineering, Math) at Georgia Southern University’s College of Engineering and Information Technology (CEIT). Historically this transition has been a difficult one. Through the implementation of a mentorship program comprised of military veterans on the staff and faculty of Georgia Southern University as well as assistance and participation from members of the case study researcher team and primary researcher this program assisted incoming military student veterans as they assimilated into the collegiate atmosphere. The …


Audio-Based Productivity Forecasting Of Construction Cyclic Activities, Chris A. Sabillon 2017 Georgia Southern University

Audio-Based Productivity Forecasting Of Construction Cyclic Activities, Chris A. Sabillon

Electronic Theses and Dissertations

Due to its high cost, project managers must be able to monitor the performance of construction heavy equipment promptly. This cannot be achieved through traditional management techniques, which are based on direct observation or on estimations from historical data. Some manufacturers have started to integrate their proprietary technologies, but construction contractors are unlikely to have a fleet of entirely new and single manufacturer equipment for this to represent a solution. Third party automated approaches include the use of active sensors such as accelerometers and gyroscopes, passive technologies such as computer vision and image processing, and audio signal processing. Hitherto, most …


Digital Commons powered by bepress