Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architectural Technology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

774 Full-Text Articles 949 Authors 416,481 Downloads 67 Institutions

All Articles in Architectural Technology

Faceted Search

774 full-text articles. Page 19 of 38.

Vivienda En Centro Histórico De La Ciudad De Bogotá. Revitalización Del Triángulo De Fenicia, Yessica Lorena Martínez Páez 2019 Universidad de La Salle, Bogotá

Vivienda En Centro Histórico De La Ciudad De Bogotá. Revitalización Del Triángulo De Fenicia, Yessica Lorena Martínez Páez

Arquitectura

No abstract provided.


Biblioteca Chuniza Como Escenario Del Conocimiento E Integración Upz 58 Comuneros, Camilo Abril Martínez 2019 Universidad de La Salle, Bogotá

Biblioteca Chuniza Como Escenario Del Conocimiento E Integración Upz 58 Comuneros, Camilo Abril Martínez

Arquitectura

No abstract provided.


Vi Mod - Vivienda Modular Progresiva Valoración De Los Potenciales Del Sector Las Delicias Del Carmen Que Logren Articular En Barrio Con Las Dinámicas De Usaquén Centro, Juliana Reyes Villamil 2019 Universidad de La Salle, Bogotá

Vi Mod - Vivienda Modular Progresiva Valoración De Los Potenciales Del Sector Las Delicias Del Carmen Que Logren Articular En Barrio Con Las Dinámicas De Usaquén Centro, Juliana Reyes Villamil

Arquitectura

No abstract provided.


การสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาล กรณีระบบลิฟต์ในอาคารสูงของโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน, พิมพ์ชนก อร่ามเจริญ 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาล กรณีระบบลิฟต์ในอาคารสูงของโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน, พิมพ์ชนก อร่ามเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันโรงพยาบาลมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นประกอบกับพื้นที่มีจำกัด ทำให้โรงพยาบาลถูกออกแบบให้มีความสูงและจำนวนชั้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การสัญจรทางตั้งมีความสำคัญ โดยลิฟต์ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่ใช้ในการสัญจรทางตั้งภายในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งการออกแบบลิฟต์ภายในโรงพยาบาล มีความซับซ้อนของการใช้งาน โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเพียงเกณฑ์ขั้นต้นเพื่อความปลอดภัยที่บ่งบอกถึงลักษณะทั่วไปเท่านั้น ทำให้ไม่ได้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของการใช้งานในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเป็นอาคารที่มีความแตกต่างจากอาคารประเภทอื่นๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการออกแบบลิฟต์ภายในโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน ปัญหาและลักษณะการใช้งานของอาคารกรณีศึกษาในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของกลุ่มลิฟต์ภายในโรงพยาบาล โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยคือ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทางสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาลจากแบบทางสถาปัตยกรรม จำนวน 21 อาคาร ประกอบกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน สัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้อาคารและสำรวจการใช้งานจริงของอาคารกรณีศึกษา 6 อาคารเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย จากการศึกษาพบว่าการออกแบบกลุ่มลิฟต์ในเส้นทางสัญจรทางตั้ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวางตำแหน่งของกลุ่มลิฟต์ ได้แก่ การเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรหลักภายในโรงพยาบาลและแนวทางการขยายทางสัญจรหลักในอนาคต รูปแบบของอาคาร เส้นทางการอพยพในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และการออกแบบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลิฟต์ภายในอาคารโรงพยาบาลถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยเริ่มต้นจาก ลิฟต์เตียง ลิฟต์ดับเพลิงที่ส่วนใหญ่จะออกแบบให้เป็นลิฟต์สกปรกในเวลาปกติและลิฟต์สะอาด หากอาคารมีความซับซ้อนมากขึ้นอาจมีการเพิ่มลิฟต์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ ลิฟต์โดยสาร ลิฟต์ฉุกเฉิน ลิฟต์ที่จอดรถ เป็นต้น ในการใช้งานจริงพบว่าจำนวนลิฟต์ในอาคารส่วนใหญ่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อมีการซ่อมบำรุง และมีการกำหนดลักษณะการใช้งานของลิฟต์เพิ่มเติมจากที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ เนื่องจากการใช้งานอาคารโรงพยาบาลต้องคำนึงถึงมาตรฐานการให้บริการ จึงเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้ตอบสนองต่อเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการในระดับสากล ยกตัวอย่างเช่น มีการกำหนดการใช้ลิฟต์บริการให้ขนส่งได้ทั้งของสะอาดและของสกปรกโดยการแบ่งเวลาการใช้งาน และมีการกันลิฟต์บริการให้เป็นลิฟต์ฉุกเฉิน เป็นต้น โดยผลการวิจัยจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบเส้นทางสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาลได้ในอนาคต


ต้นไม้ใหญ่ทีมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สุเมทิน สมวันไช 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ต้นไม้ใหญ่ทีมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สุเมทิน สมวันไช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในพื้นที่เมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีต้นไม้ใหญ่เก่าแก่ ที่ปลูกมาตั้งแต่สมัยของฝรั่งเศสปกครอง ปัจจุบันมีปัญหาตายและหักโค่น เป็นอันตรายต่อผู้คนและทรัพย์สินโดยรอบ จึงควรมีการตรวจสอบและวางแผนดูแลรักษา โดยการประเมินระดับความเสี่ยงในการหักโค่นของต้นไม้ใหญ่ แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ การศึกษาครั้งนี้ จึงทำการสำรวจสภาพต้นไม้ใหญ่ฯ และจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐาน ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ใช้ประเมินความเสี่ยงและวางแผนจัดการดูแลรักษาต่อไป จากการสำรวจพบว่า ต้นไม้ใหญ่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในพื้นที่เมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีจำนวน 331 ต้น ประกอบด้วยมะฮอกกานี 265 ต้น จามจุรี 36 ต้น และสัก 30 ต้น อยู่บนถนนฟ้างุ่ม ขุนบูลม คูเวียง สามแสนไท เสดถาทิลาด สักกะลิน มะโหสด และจันทะกุมมาน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 40-176 ซม. มีความสูง 4.5 - 27 ม. และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 0-28 ม. ในเรื่องสภาพต้นไม้ ปัญหารากที่พบมากสุดคือ รากงัดผิวดิน แตกฉีก ขดรัดรอบต้น เปลือกแหว่งหาย ถูกตัดฟัน/เสียดสี และคอรากจมดิน ปัญหาลำต้นที่พบมากสุดคือ ลำต้นถูกเจาะทำลาย เปลือกแหว่งหาย ปูดบวม แตกฉีก เอียง และผุ และปัญหากิ่งที่พบมากสุดคือ กิ่งตาย แตกกิ่งกระโดง ผุ แตกฉีก หักห้อยคาต้น และขึ้นเบียดกัน ปัญหาอื่น ประกอบด้วย ปัญหาใบคือ ใบเหี่ยว และใบเหลือง ปัญหาศัตรูพืช คือ กาฝาก และแมลง และปัญหาทรงพุ่มคือ ทรงพุ่มเบี้ยว และถูกบั่นยอด นอกจากนี้ ในการสำรวจลักษณะโดยรวมของต้นไม้ พบว่าส่วนใหญ่มีสัดส่วนความสูงทรงพุ่มมากกว่า 70% มีความแน่นพุ่มใบในระดับปกติ เช่นเดียวกับปริมาณกิ่งในทรงพุ่ม ที่ส่วนใหญ่มีปริมาณอยู่ในระดับปกติ ในเรื่องสภาพพื้นที่ ส่วนใหญ่มีปัญหาสภาพดินอัดแน่น วัสดุดาดแข็งปูทับและร่องละบายน้ำใต้ดิน อันเป็นสิ่งกีดขวางการขยายตัวของระบบรากต้นไม้ ส่วนการใช้พื้นที่ พบว่ามีผู้คน สิ่งก่อสร้าง และยานพาหนะ ที่เสี่ยงจะได้รับความเสียหายจากการหักโค่นของต้นไม้ รวมทั้งระบบวิศวกรรม อาคาร และอื่น …


Ua3/2/3 President's Office-Garrett Building File, WKU Archives 2019 Western Kentucky University

Ua3/2/3 President's Office-Garrett Building File, Wku Archives

WKU Archives Collection Inventories

Artificial collection related to the construction of Cherry Hall and the Kentucky Building using Works Progress Administration funds.


แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต, นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต, นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคตในหลากหลายแขนง รวมถึงที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในปัจจุบันและอนาคต รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลโดยใช้วิธีการถอดความ (Coding data) จากบทความทางอินเทอเน็ต งานวิจัย บทความวิชาการ โดยผู้วิจัยพิจารณาคำ วลี และประโยค ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน และอนาคต จากนั้นนำมาจัดหมวดหมู่ (Categories) เพื่อกำหนดตัวแปรเบื้องต้นสำหรับตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 5 ปัจจัยคือ 1) Service 2) Control 3) Visualize 4) Personalize 5) Communicate และจำแนกประเภทของกิจกรรมสำหรับการอยู่อาศัยออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมทางชีวภาพ 2) กิจกรรมทางการผลิต 3) กิจกรรมทางการปฏิสัมพันธ์ 4) กิจกรรมทางนันทนาการ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผ่าน 3 องค์ประกอบของกิจกรรมได้แก่ 1) กริยาขั้นตอน 2) เครื่องมือ 3) พื้นที่ เพื่อศึกษาช่องว่างและนำเสนอแนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยก่อนและหลังการบูรณาการภายใต้แนวคิดของตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาโดยใช้กรณีศึกษากลุ่มกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต ทั้งหมด 17 กิจกรรม ทำการจำแนกองค์ประกอบของกิจกรรมตามกริยาขั้นตอน เครื่องมือ และพื้นที่ จากนั้นวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง เมื่อนำตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเข้าไปแทนหรือเสริมในองค์ประกอบเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนของที่อยู่อาศัยในเชิงขั้นตอนและกายภาพ 3 ลักษณะได้แก่ 1. ลักษณะลดลง 2. ลักษณะเพิ่มขึ้น 3. ลักษณะไม่เปลี่ยนแปลง การทำงานของตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเชิงขั้นตอนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ 1. ทำงานส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล 3 ปัจจัยคือ Control Visualize และService 2. ทำงานส่งผลทางอ้อมต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล Personalize และCommunicate ทางด้านกายภาพการออกแบบที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มการใช้งานพื้นที่เพิ่มขึ้นทางด้านผนัง (แนวตั้ง) และเพดาน (แนวนอน) การใช้งานพื้นที่ลดลงทางด้านพื้น (แนวนอน) ประมาน 40 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการสร้างแนวทางการพัฒนาการการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต


การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนริมน้ำประแสเป็นย่านประวัติศาสตร์ อันเป็นพื้นที่ที่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน มาตั้งรกรากอยู่ในกลุ่มเรือนแถวไม้ริมแม่น้ำนานกว่าหนึ่งร้อยปี อาชีพหลักของคนในท้องถิ่นคือการจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค และทำการประมงพื้นบ้าน ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนจะตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม และต้องการที่จะรักษาคุณค่าเหล่านั้น แต่พวกเขาไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ระบบการขนส่ง ตลอดจนวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับแม่น้ำ ได้ส่งผลให้อัตลักษณ์ของชุมชนค่อยๆ สูญหายไป จากผลการสำรวจพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์ชาวบ้าน และกระบวนการประเมินคุณค่า สามารถสรุปได้ว่า เป้าหมายในการอนุรักษ์เรือนแถวเก่าริมน้ำประแส คือการรักษาลักษณะสำคัญของพื้นที่ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม บนฐานของการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและสงบสุข ดังนั้นการอนุรักษ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ควรครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมดุล ในการรองรับคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ส่งเสริมการปรับการใช้สอยตามความต้องการในปัจจุบัน คุณค่าสำคัญที่ควรรักษาไว้ ประกอบด้วย 1) คุณค่าจากภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ที่รวมถึง องค์ประกอบของเมือง และการตั้งถิ่นฐานบริเวณปากแม่น้ำ ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และพืชพรรณ เครือข่ายของถนนสายหลักและตรอก ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร และพื้นที่สาธารณะริมน้ำ การเชื่อมต่อที่ดีระหว่างกิจกรรมภายในอาคารและทางเดินสาธารณะ และทัศนียภาพอันงดงามของเรือนแถวแบบดั้งเดิม ที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างเหมาะสม 2) คุณค่าที่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสถาปัตยกรรม รูปแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างตามช่วงเวลาก่อสร้าง 4 ช่วง (40-100 ปี) แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่มีลักษณะเฉพาะ และแสดงฝีมือช่างในท้องถิ่นแต่ละยุคสมัย และ 3) คุณค่าตามการใช้งานของเรือนแถว อันประกอบด้วยการอยู่อาศัยและการทำงานในร้านค้า และการใช้งานแบบใหม่ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของกิจกรรมการท่องเที่ยว


Vivienda Multifamiliar En Altura Enfocado A La Relación Espacio Público Y Usuario Barrio La Igualdad, Eliana Carolina Vélez Bernal, Rafael Augusto Perdomo Rodríguez 2019 Universidad de La Salle, Bogotá

Vivienda Multifamiliar En Altura Enfocado A La Relación Espacio Público Y Usuario Barrio La Igualdad, Eliana Carolina Vélez Bernal, Rafael Augusto Perdomo Rodríguez

Arquitectura

No abstract provided.


Centro De Innovación Para El Reciclaje Transformando El Archipiélago, Paula Fernanda Barrios Torres 2019 Universidad de La Salle, Bogotá

Centro De Innovación Para El Reciclaje Transformando El Archipiélago, Paula Fernanda Barrios Torres

Arquitectura

No abstract provided.


Eje Del Mar Diseño Del Eje Costero De Playa Blanca, San Antero - Córdoba, Laila Yaniela Lara Padilla 2019 Universidad de La Salle, Bogotá

Eje Del Mar Diseño Del Eje Costero De Playa Blanca, San Antero - Córdoba, Laila Yaniela Lara Padilla

Arquitectura

No abstract provided.


Centro De Desarrollo Infantil, Diseño A Través De La Etnoeducación, Andrés Augusto Concha Piñeros 2019 Universidad de La Salle, Bogotá

Centro De Desarrollo Infantil, Diseño A Través De La Etnoeducación, Andrés Augusto Concha Piñeros

Arquitectura

El presente artículo se basa en la investigación que se llevó a cabo en el marco de nuestro proyecto de grado y que tomó como objeto de estudio: el desarrollo y fortalecimiento estructural de un Centro de Desarrollo Infantil para niños de 0 a 5 años, pertenecientes a diversos grupos étnicos de la zona suburbana del municipio de Mocoa Putumayo, y que se encuentran en situación de alta vulnerabilidad debido al conflicto armado. El propósito esencial de este trabajo es el diseño de infraestructura sostenible para el desarrollo infantil orientado hacia la etnoeducación y a los principios de integralidad, autonomía, …


Three Forms, Howard Salgado Cartagena 2019 Universidad de La Salle, Bogotá

Three Forms, Howard Salgado Cartagena

Arquitectura

Situaciones de emergencia y desastres de diferentes índoles son acontecimientos que ocurren eventualmente, afectando en la mayoría de los casos a las personas más vulnerables. Con el desarrollo de este proyecto se pretende facilitar el acceso a vivienda emergente en situaciones de déficit habitacional surgido tras una emergencia. Para tal fin, fue diseñado un Objeto Arquitectónico capaz de responder al volumen de personas que requieren un albergue temporal. La investigación realizada estuvo basada en la revisión documental de los registros periodísticos encontrados acerca de la atención de Desastres Naturales más destacados en el ámbito Nacional e Internacional, en un periodo …


Architectural Joinery Design To Prevent Water Leakage In A Precast Concrete Detached House, Prokchol Vataniyobol 2019 Faculty of Architecture

Architectural Joinery Design To Prevent Water Leakage In A Precast Concrete Detached House, Prokchol Vataniyobol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The precast concrete construction is widely used in Thailand by customers and developers for residential development. For many decades of building with the precast concrete wall system, the common problems of water leakage are the most pressing concerns. This thesis aims to find the issues that lead to the causes of water penetration and propose a solution to prevent water leakage. From the literature review, the sources of water leakage are at the connection location between the precast modules. The water can penetrate through the opening with the four forces: a momentum of the raindrop, capillary action, gravity, and air …


สถานภาพปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์กลางใน สปป.ลาว, ไชยะลาด ลาชาวะดี 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

สถานภาพปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์กลางใน สปป.ลาว, ไชยะลาด ลาชาวะดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพกายภาพของโรงพยาบาล 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก โดยมีกระบวนการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลในผังสถาปัตยกรรม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่กรณีศึกษา สำรวจ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้พื้นที่ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษา และอภิปราย ผลการศึกษาพบว่า ในปีพ.ศ. 2561 โรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ และโรงพยาบาลเชษฐาธิราช มีสภาพอาคารส่วนใหญ่ก่อสร้างมานานประมาณ 20 ปีขึ้นไป มีการออกแบบให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีอาคารในยุคนั้น ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้งานตามสภาพมาเป็นระยะ ๆ และอยู่ในระหว่างการวางแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ในพื้นที่โรงพยาบาลเดิม เพื่อรองรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ส่วนโรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก อาคารที่ใช้งานอยู่ก่อสร้างมาได้ประมาณ 10 ปี มีการออกแบบอาคารโดยใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ยังไม่มีแผนในการปรับปรุงอาคาร และแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงสรุปได้ว่า สภาพกายภาพโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว ขนาดใหญ่ 3 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช อยู่ระหว่างการพัฒนาก่อสร้างอาคาร ที่ทันสมัยมากขึ้น ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็ก 2แห่ง ได้แกโรงพยาบาลได้แก่ โรงพยาบาลแม่และเด็กเกิดใหม่ และโรงพยาบาลเด็ก ยังมีสภาพที่ตอบสนองบริการได้


การออกแบบอาคารชุดพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, ผาไช แสงจะเลีน 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การออกแบบอาคารชุดพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, ผาไช แสงจะเลีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีความนิยมก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เพราะมีแบบห้องชุดพักอาศัยซ้ำกัน ในแต่ละโครงการ หลังจากสถาปนิกออกแบบแล้ว ทางโรงงานจะนำแบบไปปรับแก้ ให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงมีวัตถุประสงค์จะออกแบบอาคารชุดพักอาศัย สำหรับก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกเอาโครงการ พลัมคอนโด ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการใช้ระบบประสานพิกัดและกำหนดขนาดช่องเปิดมาตรฐาน ทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นระบบมากขึ้น การเพิ่มระยะริมช่องเปิดให้มีระยะมากกว่า 60 เซนติเมตร ทำให้ไม่ต้องปรับระยะตะแกรงเหล็กเสริม และลดความเสี่ยง ที่จะเกิดปัญหาในการขนส่งและประกอบติดตั้ง นอกจากนั้นการยื่นแผ่นพื้นผนังสามารถลดปัญหารอยแตกร้าวบริเวณรอยต่อ และทำให้รูปด้านมีความหลากหลาย ปัจจุบันโครงการ พลัมคอนโด มี 13 แห่ง แต่ละแห่งมีผังพื้นแบบ Double Loaded Corridors ประกอบด้วยห้องชุดพักอาศัยแบบ STUDIO 1 รูปแบบ 1 BEDROOM 6 รูปแบบ 2 BEDROOM 5 รูปแบบ และมีขนาดพื้นที่ต่างกันในแต่ละโครงการ สำหรับข้อพิจารณาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากเป็นอาคารสูงไม่เกิน 15 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 2000 ตรม. ไม่ต้องจัดเตรียมที่จอดรถ ในขณะที่อาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 4000ตรม. จะต้องจัดเตรียมที่จอดรถ หากมีจำนวนห้องไม่เกิน 80 ห้อง ก็ไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงเสนอแบบห้องชุดพักอาศัย ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีรูปแบบ และจำนวนที่เหมาะสม มีผังพื้นห้องชุดที่มีรูปแบบและขนาดพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งทางเดินภายในอาคารแบบ Double Loaded Corridors, Single Loaded Corridor และ Open Loaded Corridor สำหรับอาคารชุดพักอาศัยที่มีพื้นที่อาคารไม่เกิน 2000 ตาราเมตร และ 4000 ตารางเมตร สำหรับอาคารชุดพักอาศัย 5 ชั้น (15 เมตร) และ 8 ชั้น (23 …


การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม กรณีศึกษาโรงเรียนและมหาวิทยาลัย, วรรณจิต จันทร์เสละ 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม กรณีศึกษาโรงเรียนและมหาวิทยาลัย, วรรณจิต จันทร์เสละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารสนามกีฬาในร่ม เป็นอาคารช่วงกว้างที่มีศักยภาพในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและเปรียบเทียบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาคารประเภทสนามกีฬาในร่มร่วมกับการใช้แสงธรรมชาติและไม่ใช้แสงธรรมชาติ และทำการคำนวณการสำรองพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ โดยทำการเก็บข้อมูลลักษณะทางสถาปัตยกรรม สำรวจการใช้พลังงานไฟฟ้าจริงของอาคารและตารางการใช้อาคารสนามกีฬาในร่ม โดยเก็บข้อมูลอาคารสนามกีฬาในร่มจากภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 22 อาคาร เพื่อสร้างแบบจำลองอาคารต้นแบบในการทดลอง โดยได้ทำการคำนวณพลังงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรม System Advisor Model 2018.11.11 และประเมินศักยภาพการนำแสงธรรมชาติมาใช้ภายในอาคารด้วยโปรแกรม DIALux evo 8.2 โดยกำหนดอาคารจำลองทั้งสิ้น 3 ขนาด และ 4 รูปแบบหลังคาอาคารที่หันไปยังทิศทางต่างๆ ทั้งหมด 8 ทิศทาง จากผลการศึกษา พบว่า หลังคาทรงเพิงหมาแหงน มุมเอียงหลังคาที่ 15 องศา หลังคาอาคารหันไปทางทิศใต้ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงที่สุด จากข้อมูลพบว่า การติดตั้งช่องแสงธรรมชาติเพียงอย่างเดียวประหยัดไฟฟ้าได้ 20-32% ของการใช้พลังงานต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ผลอื่นๆ เพิ่มเติม พบว่า การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์หรือการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับการติดตั้งช่องแสงธรรมชาติประหยัดไฟฟ้าได้ 60-75% ของการใช้พลังงานต่อวัน การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมร่วมกับแบตเตอรี่ประหยัดไฟฟ้าได้ 100% ของการใช้พลังงานต่อวัน ในส่วนของระยะเวลาคืนทุน พบว่า การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับการติดตั้งช่องแสงธรรมชาติ มีระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุดเท่ากับ 5.1-7.8 ปี ท้ายที่สุดงานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอแนวทางการออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม โดยคาดการณ์พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในอาคาร ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและระยะเวลาคืนทุนจากขนาดพื้นที่ของอาคาร


คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจความงามมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้บริษัทเครื่องสำอางต่างพัฒนารูปแบบเคาน์เตอร์เครื่องสำอางเพื่อดึงดูดผู้บริโภค การออกแบบแสงก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีรวมไปถึงการออกแบบแสงกับกระจกให้ลูกค้าได้ลองใช้สินค้าร่วมกับการประเมินรูปลักษณ์ตนเองเพื่อพิจารณาการซื้อเครื่องสำอาง การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาคุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของในเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง จากผู้เข้าร่วม 60 คน เข้าทดสอบแบบจำลองเคาน์เตอร์เครื่องสำอางจุดแต่งหน้าที่จัดแสงด้วยลักษณะอุณหภูมิสีของแสง 2700 และ 6500 เคลวิน โดยใช้สีผนังที่แตกต่างกัน 4 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว และสีดำ เพื่อศึกษาผลต่อความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมและการประเมินรูปลักษณ์ตนเองด้วยการให้คะแนนจากคู่คำความหมายตรงข้ามทั้งหมด 8 คู่ ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้หญิงพบว่าลักษณะอุณหภูมิสีของแสงและสีของสภาพแวดล้อมมีผลต่อความพึงพอใจของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเคาน์เตอร์เครื่องสำอางที่ใช้ลักษณะอุณหภูมิสีของแสงที่ 6500 เคลวิน ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมผนังสีขาว รองลงมาคือผนังสีแดง งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าคุณลักษณะของสีในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิสีของแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบที่มีส่วนสร้างอารมณ์ในเชิงบวกต่อการประเมินรูปลักษณ์ตนเองและสภาพแวดล้อมเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ จึงควรพิจารณารูปแบบการตกแต่งภายในร้าน โดยเลือกใช้สีโทนธรรมชาติและสีแท้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และเลือกใช้แสงทีมีอุณหภูมิสีเหมาะสมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริบทของร้านค้า


เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ใน สปป ลาว มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 10 ฉบับ ประกอบด้วย กดหมายว่าด้วยกานปกปักฮักสาสิ่งแวดล้อม ดำลัด ข้อตกลง คำแนะนำ และละเบียบกาน ส่วนในประเทศไทย มีมาตั้ง แต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 60 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ใน สปป ลาว กำหนดเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กานปะเมินผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และกานสึกสาเบื้องต้นเกี่ยวกับผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (IEE) เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยกำหนด 2 ประเภท ได้แก่ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เดิมเรียกว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เมื่อเปรียบเทียบด้านเนื้อหาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พบว่า ใน สปป ลาว กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 95 วัน ไม่กำหนดจำนวนครั้งในการแก้ไขรายงานฯ กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ เฉพาะในช่วงก่อสร้าง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ ไม่มีโทษปรับ ส่วนประเทศไทย กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม 5 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 75 วัน การแก้ไขรายงานฯ ทำได้เพียงครั้งเดียว กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ มีโทษปรับ ส่วนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ใน สปป ลาว กำหนดประเภท และขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานฯ 4 ประเภท แต่ในประเทศไทย กำหนด 5 ประเภท และบังคับให้จัดทำรายงานฯ เฉพาะในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ทั้งนี้ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ …


การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ 2019 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาความต้องการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ในการบริหารจัดการอาคารชุด (Condominium) จากปัญหาปัจจุบันในการกำหนดระดับการพัฒนาตามทฤษฎีจะเป็นแบบจำลองที่มีความละเอียดสูงสุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อสรุปความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการอาคารชุด เพื่อทราบลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้จริง และเป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดการข้อมูลด้วยกระบวนการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารที่คาดว่าเหมาะสมกับการบริหารจัดการอาคารประเภทอาคารชุด ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีลักษณะงานการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด และทฤษฎีการใช้ประโยชน์แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Uses) ในช่วงการบริหารจัดการอาคาร เพื่อใช้ในการสร้างแบบสอบถามและนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างในองค์กรที่มีแนวโน้มใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการบริหารจัดการอาคารชุด โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี จาก ผู้จัดการอาคารชุด จำนวน 35 คน และผู้จัดการวิศวกรรม จำนวน 30 คน เพื่อทราบถึงลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้เพื่อการบริหารจัดการอาคาร รวมถึงได้ทำการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคารจำนวน 5 คน เพื่อทราบถึงแนวทางการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารในช่วงการบริหารจัดการอาคารชุด ผลการศึกษา ชี้ว่าผู้จัดการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญมากกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอาคารชุด โดยมีมุมมองที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในเรื่องการวางแผนการซ่อมบำรุง ลักษณะข้อมูลที่ผู้จัดการอาคารเลือกใช้ในวางแผนการบริหารจัดการอาคารชุดมากที่สุดคือเรื่อง กราฟิกในแบบ 2 มิติ ส่วนผู้จัดการวิศวกรรมอาคารเลือกลักษณะข้อมูลในวางแผนการปฏิบัติงานมากที่สุดคือเรื่อง ที่ไม่ใช่กราฟิก คือเอกสารข้อมูล และผลจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคาร พบว่าการจัดการข้อมูลในช่วงบริหารจัดการอาคารควรมีลักษณะที่ต้องลดทอนข้อมูลให้น้อยเฉพาะที่ต้องการใช้ เพื่อการจัดการข้อมูลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Digital Commons powered by bepress